› 日本が好き › 2015年11月
2015年11月04日
秋のお祭り「唐津くんち」で大きな曳山を引(ひ)く
เทศกาล [Karatsukunchi] ของเมือง Karatsu ในจังหวัด Saga คือเทศกาลที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกฤดูใบไม้ร่วงที่ ศาลเจ้า Karatsu ตั้งแต่วันที่ 2 -4 พฤศจิกายน และเทศกาลนี้ได้ถูกจัดต่อเนื่องกันมาาตั้งแต่สมัยเอโดะแล้ว ซึ่งยาวนานมากว่า 400 ปีแล้ว แล้วก็จะมีขบวนแห่ฮิคิยามะกว่า 14 ขบวน พร้อมใจกันแห่ไปในเมือง ประกอบการเล่นดนตรี ทั้งฟลุท กลองต่างๆ แล้วงานเทศกาลนี้ได้ถูกขึ้นให้เป็นงานเทศกาลสำคัญแห่งชาติ ตั้งแต่ปี 1980
จะมีขบวนแห่โครงรูปปลาสีแดงขนาดใหญ่ เทศกาลนี้เริ่มต้นด้วยพิธีขอบคุณเทพเจ้าสำหรับการเก็บเกี่ยวที่อุดมสมบูรณ์ตลอดปี ส่วนวันที่สองของเทศกาล มีการเดินขบวนแห่โครงปลาขนาดใหญ่ไปลงน้ำที่ชายหาด พร้อมด้วยการบรรเลงดนตรีด้วยปี่และกลอง
Hikiyama คือขบวนรถที่ตกแต่งอย่างยิ่งใหญ่ตระการตา ประกอบไปด้วยด้วยหมวกนักรบและสิงโตตัวใหญ่ (สัตว์ที่คล้ายกับสิงโต) บริเวณสถานที่ที่เรียกว่า “Otabisho” จะจัดเป็นประเพณีที่เรียกว่า “Hikikomi” ทุกคนจะร่วมแรงร่วมใจกันแบก Hikiyama แล้วบริเวณพื้นดินจะปูด้วยทรายราวกับชายหาด ถ้า Hikiyama ยังคงแห่ต่อไปเรื่อยๆ เหล่าคนที่กำลังดูจะคอยปรบมือ และส่งเสียงร้องพร้อมเพรียงกันว่า ไฮย่า ไฮย่า
ชายหนุ่มชาวอเมริกันที่มาท่องเที่ยวได้กล่าวว่า “รู้สึกได้ถึงพลังที่แข็งแกร่งของเหล่าคนที่อาศัยอยู่ในเมือง Karatsu”
Posted by mod at
23:14
│Comments(0)
2015年11月03日
東京の渋谷でたくさん出たハロウィーンのごみを拾う
ถึงแม้ว่าวันฮาโลวีนจะผ่านพ้นไปแล้ว แต่อันนี้ขอมาเก็บตกภาพเบื้องหลังความสนุกสนานในคืนวันที่ 31 ต.ค. กันสักนิด
Halloween (ハロウィン) ถึงแม้จะเป็นวันสำคัญของชาวคริสต์ แต่ชาวญี่ปุ่นเองก็คลั่งไคล้อยู่มิใช่น้อย ถ้าพูดถึงญี่ปุ่นแล้ว จะเป็นฮาโลวีนแบบธรรมดาได้ไง เมื่อเขาเป็นต้นแบบแห่งเมืองแฟชั่น เขาก็จัดเต็มล่ะคะ
แหล่งสร้างสีสันของฮาโลวีนก็หนีไม่พ้นย่านชิบูย่าของโตเกียว
จริงๆ แล้ว ประเทศญี่ปุ่นเองก็มีเทศกาลปล่อยผีเหมือนเทศกาล Halloween ของฝรั่งเหมือนกัน นั่นก็คือเทศกาลโอบง (Obon) ซึ่งเป็นเทศกาลเพื่อระลึกถึงบรรพบุรุษ หรือบุคคลที่ล่วงลับไปแล้ว โดยปกติจะจัดกันระหว่างวันที่ 13 – 15 กรกฏาคม หรือไม่ก็ 13 – 15 กันยายน แต่วันฮาโลวีนแบบฝรั่งก็ได้รับความนิยมจากชาวญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี เทศกาลนี้ก็จะมีคนแต่งผีมาร่วมสนุกกันอย่างคับคั่ง ทั้งชายและหญิง พร้อมกันนี้ก็ยังมีคุณตำรวจคอยตรวจดูความเรียบร้อยในบริเวณนั้นด้วย เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจนถึงเช้า
เมื่อเทศกาลนี้ได้รับความนิยมมากขึ้น สิ่งที่ตามมาในวันรุ่งขึ้นหลังจากงานนั่นก็คือขยะกองโตบริเวณรอบๆ สถานีรถไฟและในเมือง ส่วนใหญ่ขยะก็จะเป็นพวกเสื้อผ้า, อาหารและเครื่องดื่มต่างๆ บางแห่งก็ยังส่งกลิ่นเหม็นแปลกๆ อีกด้วย แต่เมื่อเป็นประเทศญีปุ่นที่มีระเบียบวินัยอย่างสูง บรรดาคนที่มาร่วมสนุกในงานเทศกาลฮาโลวีนก็ยังมีบางคนที่ช่วยกันเก็บขยะที่ตกอยู่เกลื่อนกลาดด้วย เหล่าอาสาสมัครเหล่านั้นจะใส่ขยะลงไปในถุงที่พวกเขาหิ้วมาด้วย บ้างก็ช่วยกันเก็บกวาด
หนุ่มๆ ที่ทำงานในย่านชิบูย่ากล่าวว่า “ในปีนี้มีคนมารวมตัวมากกว่าเมื่อปีที่แล้ว จึงทำให้มีขยะเพิ่มมากขึ้นด้วย มันก็ดีอยู่หรอกนะที่สร้างบรรยากาศครึกครื้น แต่อยากจะให้ช่วยกันรักษาความสะอาดในเมืองด้วย” ส่วนอาสาสมัครหนุ่มๆ ก็ยังกล่าวเสริมอีกด้วยว่า “ดูเหมือนในปีนี้จะมีคนที่ทิ้งขยะเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย”
อย่างนี้ต้องมีนโยบายรณรงค์ไม่ให้ทิ้งขยะกันเสียแล้วนะคะ
Halloween (ハロウィン) ถึงแม้จะเป็นวันสำคัญของชาวคริสต์ แต่ชาวญี่ปุ่นเองก็คลั่งไคล้อยู่มิใช่น้อย ถ้าพูดถึงญี่ปุ่นแล้ว จะเป็นฮาโลวีนแบบธรรมดาได้ไง เมื่อเขาเป็นต้นแบบแห่งเมืองแฟชั่น เขาก็จัดเต็มล่ะคะ
แหล่งสร้างสีสันของฮาโลวีนก็หนีไม่พ้นย่านชิบูย่าของโตเกียว
จริงๆ แล้ว ประเทศญี่ปุ่นเองก็มีเทศกาลปล่อยผีเหมือนเทศกาล Halloween ของฝรั่งเหมือนกัน นั่นก็คือเทศกาลโอบง (Obon) ซึ่งเป็นเทศกาลเพื่อระลึกถึงบรรพบุรุษ หรือบุคคลที่ล่วงลับไปแล้ว โดยปกติจะจัดกันระหว่างวันที่ 13 – 15 กรกฏาคม หรือไม่ก็ 13 – 15 กันยายน แต่วันฮาโลวีนแบบฝรั่งก็ได้รับความนิยมจากชาวญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี เทศกาลนี้ก็จะมีคนแต่งผีมาร่วมสนุกกันอย่างคับคั่ง ทั้งชายและหญิง พร้อมกันนี้ก็ยังมีคุณตำรวจคอยตรวจดูความเรียบร้อยในบริเวณนั้นด้วย เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจนถึงเช้า
เมื่อเทศกาลนี้ได้รับความนิยมมากขึ้น สิ่งที่ตามมาในวันรุ่งขึ้นหลังจากงานนั่นก็คือขยะกองโตบริเวณรอบๆ สถานีรถไฟและในเมือง ส่วนใหญ่ขยะก็จะเป็นพวกเสื้อผ้า, อาหารและเครื่องดื่มต่างๆ บางแห่งก็ยังส่งกลิ่นเหม็นแปลกๆ อีกด้วย แต่เมื่อเป็นประเทศญีปุ่นที่มีระเบียบวินัยอย่างสูง บรรดาคนที่มาร่วมสนุกในงานเทศกาลฮาโลวีนก็ยังมีบางคนที่ช่วยกันเก็บขยะที่ตกอยู่เกลื่อนกลาดด้วย เหล่าอาสาสมัครเหล่านั้นจะใส่ขยะลงไปในถุงที่พวกเขาหิ้วมาด้วย บ้างก็ช่วยกันเก็บกวาด
หนุ่มๆ ที่ทำงานในย่านชิบูย่ากล่าวว่า “ในปีนี้มีคนมารวมตัวมากกว่าเมื่อปีที่แล้ว จึงทำให้มีขยะเพิ่มมากขึ้นด้วย มันก็ดีอยู่หรอกนะที่สร้างบรรยากาศครึกครื้น แต่อยากจะให้ช่วยกันรักษาความสะอาดในเมืองด้วย” ส่วนอาสาสมัครหนุ่มๆ ก็ยังกล่าวเสริมอีกด้วยว่า “ดูเหมือนในปีนี้จะมีคนที่ทิ้งขยะเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย”
อย่างนี้ต้องมีนโยบายรณรงค์ไม่ให้ทิ้งขยะกันเสียแล้วนะคะ
Posted by mod at
19:48
│Comments(0)
2015年11月02日
Oseibo : お歳暮 ของขวัญสิ้นปี
อย่างที่เกริ่นไปแล้วเมื่อวันก่อน ว่าตอนนี้ก็เข้าสู่เดือนพฤศจิกายนแล้ว ใก้ลสิ้นปีเข้าไปทุกที นอกจากคนญี่ปุ่นจะส่งไปรษณียบัตรอวยพรปีใหม่คือ 年賀状 (Nengacho) แล้ว ยังต้องเตรียมของขวัญสิ้นปีด้วย ก่อนอื่นเรามารู้จักประเพณีการมอบของขวัญของคนญี่ปุ่นกัน
ประเพณีการมอบของขวัญของคนญี่ปุ่นนั้นจะมีการมอบขวัญปีละ 2 ครั้ง โดยจะมอบในช่วงฤดูร้อนซึ่งเรียกว่า「御中元」(Ochuugen เป็นการมอบของขวัญกลางปี จะเริ่มมอบของขวัญตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ไปจนถึง 15 สิงหาคม) และมอบในช่วงฤดูหนาวซึ่งเรียกว่า 「お歳暮」(Oseebo เป็นการมอบของขวัญในช่วงสิ้นปี จะเริ่มมอบของขวัญตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคมจนถึงสิ้นปี) นั้นเอง
ของขวัญสิ้นปี
เรียกว่า โอเซโบะ (Oseibo : お歳暮) เป็นธรรมเนียมการมอบของขวัญในช่วงสิ้นปีซึ่งอยู่ในช่วงฤดูหนาวของประเทศญี่ปุ่น โดยจะมอบของขวัญให้กับผู้มีพระคุณที่ช่วยเหลือเกื้อกูลมาตลอดปี อย่างเช่นให้พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย เจ้านาย เพื่อนร่วมงาน อาจารย์ เพื่อแสดงความขอบคุณต่อผู้มีอุปการะคุณสำหรับความช่วยเหลือในปีที่ผ่านมา มักจะเริ่มส่งตั้งแต่ต้นเดือนจนไปถึงวันที่ 20 ของเดือนธันวาคม หากเลยไปแล้วแต่ยังอยู่ในช่วงมัทสึโนะอุจิ (Matsu-no-Uchi : 松の内) คือช่วงวันที่ 1-7 มกราคมของปีถัดไป จะเขียนด้านหน้าว่าโอเนงกะ (Onennga : お年賀) คือของขวัญอวยพรปีใหม่ แต่ถ้าเลยวันที่ 7 ไปอีกก็ต้องเขียนว่าคันชูมิไม (Kanchumimai : 寒中見舞い) คือของขวัญอวยพรฤดูหนาว สำหรับคนที่ได้ของขวัญไปแล้วก็ไม่จำเป็นต้องมอบคืน เพียงแต่ส่งการ์ดขอบคุณก็พอ
ในปัจจุบันนี้การทำงานนั้นจะยุ่งเหยิง จึงไม่มีเวลามากพอที่จะมาซื้อของขวัญและห่อของขวัญเอง ดังนั้นจึงมอบหน้าที่นี้ให้กับ “ห้างสรรพสินค้า” เป็นธุระจัดการแพ็คกล่องส่งให้ถึงมือผู้รับ ซึ่งช่วงนี้บรรดาห้างสรรพสินค้า หรือร้านค้าทั่วไปจะเนื่องแน่นไปด้วยข้าวของสินค้าต่างๆและผู้คนที่มาจับจ่ายซื้อของเป็นอันมาก ปีนี้ก็เช่นกันพวกห้างสรรพสินค้าต่างๆ ก็ได้เริ่มต้นวางจำหน่ายของกำนัลนี้แล้ว ห้างสรรพสินค้าที่อยู่บริเวณ Ueno ในโตเกียวได้ตั้งแผนกพิเศษสำหรับจำหน่ายของขวัญนี้กันแล้วตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. นี้
ในปัจจุบันนี้ไม่เพียงแต่จะมอบของขวัญให้กับผู้มีพระคุณที่ช่วยเหลือเราในด้านการทำงานเท่านั้น แต่ห้างสรรพสินค้ายังคำนึงถึงว่าตอนนี้ผู้คนจะให้ความสำคัญกับคนในครอบครัวหรือเพื่อนเพิ่มขึ้นอีกมากมายอีกด้วย ดังนั้น ห้างสรรพสินค้าแห่งนี้ยังเตรียมของขวัญที่ถึงแม้ว่าจะมีราคาสูงสักหน่อยแต่ก็เปี่ยมไปด้วยคุณภาพที่ดีไว้ด้วย ก็จะมีของขวัญมากมายอย่างเช่นผลิตภัณฑ์ที่เป็นอาหารรสชาติแบบญี่ปุ่นแท้ๆ ที่ทำในเรียวคังหรือร้านอาหารชื่อดังด้วย
พนักงานที่อยู่ในแผนกขายของขวัญสิ้นปียังคุยให้ฟังว่า “ในกรณีที่จะมอบของขวัญให้คนในครอบครัวหรือเพื่อน เราจะรู้อยู่แล้วว่าเขาชอบอะไร จึงมีคนจำนวนมากที่พิถีพิถันคัดสรรของดีมีคุณภาพมากกว่าเดิมด้วย
แล้วสำหรับสินค้าที่นิยมซื้อให้กันนั้นมักจะเป็นของกิน เช่น บรรดาเครื่องดื่มต่างๆ กาแฟ นม น้ำผลไม้ เบียร์ หรือบางคนอาจจะให้พวกเนื้อหมู เนื้อวัว แฮม ไส้กรอก บะหมี่ ผลไม้สด ฯลฯ จะได้ให้ผู้รับสามารถทำ (おせちOsechi อาหารชุดปีใหม่แบบญี่ปุ่น) ได้ทานกันเพื่อฉลองปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง หรือของที่สามารถใช้ได้ถึงปีหน้าจะเป็นพวกของใช้ต่างๆ เช่น สบู่ ผงซักฟอก ผ้าเช็ดตัว ปากกา ฯลฯ
นอกจากนี้คนญี่ปุ่นยังให้ความสำคัญมากกับเรื่องรูปลักษณ์ของการห่อของขวัญด้วย การห่อของขวัญของคนญี่ปุ่นนั้นจะมีลักษณะแบบเรียบง่ายและประณีต แต่อีกนัยหนึ่งนั้นแฝงไปด้วยความรู้สึกที่มีให้ต่อผู้รับ ด้วยลักษณะนิสัยของคนญี่ปุ่นที่เป็นคนพิถีพิถันและเอาใจใส่ไปหมดซะทุกอย่าง และเป็นคนที่ไม่แสดงออกทางด้านความรู้สึกให้เห็นเด่นชัด แต่กลับกลายเป็นแสดงออกผ่านการ “ห่อหุ้มความรู้สึก” ที่พยายามห่อของขวัญนั้นๆให้ออกมาน่ารักสวยงาม
ที่ร้านค้าในประเทศญี่ปุ่น ถ้าขอให้พนักงานห่อสินค้าที่ซื้อจากทางร้านสำหรับให้เป็นของขวัญแล้วล่ะก็ ร้านส่วนใหญ่จะห่อได้อย่างสวยงาม เรียบร้อย และรวดเร็วมากค่ะ เรียกว่า 「斜め包み」 (Naname-zutsumi การห่อแบบเอียง) หรือที่เรียกอีกอย่างว่า 「デパート包み」 (Depaato-zutsumi การห่อแบบห้าง) นั้น
ประเพณีการมอบของขวัญของคนญี่ปุ่นนั้นจะมีการมอบขวัญปีละ 2 ครั้ง โดยจะมอบในช่วงฤดูร้อนซึ่งเรียกว่า「御中元」(Ochuugen เป็นการมอบของขวัญกลางปี จะเริ่มมอบของขวัญตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ไปจนถึง 15 สิงหาคม) และมอบในช่วงฤดูหนาวซึ่งเรียกว่า 「お歳暮」(Oseebo เป็นการมอบของขวัญในช่วงสิ้นปี จะเริ่มมอบของขวัญตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคมจนถึงสิ้นปี) นั้นเอง
ของขวัญสิ้นปี
เรียกว่า โอเซโบะ (Oseibo : お歳暮) เป็นธรรมเนียมการมอบของขวัญในช่วงสิ้นปีซึ่งอยู่ในช่วงฤดูหนาวของประเทศญี่ปุ่น โดยจะมอบของขวัญให้กับผู้มีพระคุณที่ช่วยเหลือเกื้อกูลมาตลอดปี อย่างเช่นให้พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย เจ้านาย เพื่อนร่วมงาน อาจารย์ เพื่อแสดงความขอบคุณต่อผู้มีอุปการะคุณสำหรับความช่วยเหลือในปีที่ผ่านมา มักจะเริ่มส่งตั้งแต่ต้นเดือนจนไปถึงวันที่ 20 ของเดือนธันวาคม หากเลยไปแล้วแต่ยังอยู่ในช่วงมัทสึโนะอุจิ (Matsu-no-Uchi : 松の内) คือช่วงวันที่ 1-7 มกราคมของปีถัดไป จะเขียนด้านหน้าว่าโอเนงกะ (Onennga : お年賀) คือของขวัญอวยพรปีใหม่ แต่ถ้าเลยวันที่ 7 ไปอีกก็ต้องเขียนว่าคันชูมิไม (Kanchumimai : 寒中見舞い) คือของขวัญอวยพรฤดูหนาว สำหรับคนที่ได้ของขวัญไปแล้วก็ไม่จำเป็นต้องมอบคืน เพียงแต่ส่งการ์ดขอบคุณก็พอ
ในปัจจุบันนี้การทำงานนั้นจะยุ่งเหยิง จึงไม่มีเวลามากพอที่จะมาซื้อของขวัญและห่อของขวัญเอง ดังนั้นจึงมอบหน้าที่นี้ให้กับ “ห้างสรรพสินค้า” เป็นธุระจัดการแพ็คกล่องส่งให้ถึงมือผู้รับ ซึ่งช่วงนี้บรรดาห้างสรรพสินค้า หรือร้านค้าทั่วไปจะเนื่องแน่นไปด้วยข้าวของสินค้าต่างๆและผู้คนที่มาจับจ่ายซื้อของเป็นอันมาก ปีนี้ก็เช่นกันพวกห้างสรรพสินค้าต่างๆ ก็ได้เริ่มต้นวางจำหน่ายของกำนัลนี้แล้ว ห้างสรรพสินค้าที่อยู่บริเวณ Ueno ในโตเกียวได้ตั้งแผนกพิเศษสำหรับจำหน่ายของขวัญนี้กันแล้วตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. นี้
ในปัจจุบันนี้ไม่เพียงแต่จะมอบของขวัญให้กับผู้มีพระคุณที่ช่วยเหลือเราในด้านการทำงานเท่านั้น แต่ห้างสรรพสินค้ายังคำนึงถึงว่าตอนนี้ผู้คนจะให้ความสำคัญกับคนในครอบครัวหรือเพื่อนเพิ่มขึ้นอีกมากมายอีกด้วย ดังนั้น ห้างสรรพสินค้าแห่งนี้ยังเตรียมของขวัญที่ถึงแม้ว่าจะมีราคาสูงสักหน่อยแต่ก็เปี่ยมไปด้วยคุณภาพที่ดีไว้ด้วย ก็จะมีของขวัญมากมายอย่างเช่นผลิตภัณฑ์ที่เป็นอาหารรสชาติแบบญี่ปุ่นแท้ๆ ที่ทำในเรียวคังหรือร้านอาหารชื่อดังด้วย
พนักงานที่อยู่ในแผนกขายของขวัญสิ้นปียังคุยให้ฟังว่า “ในกรณีที่จะมอบของขวัญให้คนในครอบครัวหรือเพื่อน เราจะรู้อยู่แล้วว่าเขาชอบอะไร จึงมีคนจำนวนมากที่พิถีพิถันคัดสรรของดีมีคุณภาพมากกว่าเดิมด้วย
แล้วสำหรับสินค้าที่นิยมซื้อให้กันนั้นมักจะเป็นของกิน เช่น บรรดาเครื่องดื่มต่างๆ กาแฟ นม น้ำผลไม้ เบียร์ หรือบางคนอาจจะให้พวกเนื้อหมู เนื้อวัว แฮม ไส้กรอก บะหมี่ ผลไม้สด ฯลฯ จะได้ให้ผู้รับสามารถทำ (おせちOsechi อาหารชุดปีใหม่แบบญี่ปุ่น) ได้ทานกันเพื่อฉลองปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง หรือของที่สามารถใช้ได้ถึงปีหน้าจะเป็นพวกของใช้ต่างๆ เช่น สบู่ ผงซักฟอก ผ้าเช็ดตัว ปากกา ฯลฯ
นอกจากนี้คนญี่ปุ่นยังให้ความสำคัญมากกับเรื่องรูปลักษณ์ของการห่อของขวัญด้วย การห่อของขวัญของคนญี่ปุ่นนั้นจะมีลักษณะแบบเรียบง่ายและประณีต แต่อีกนัยหนึ่งนั้นแฝงไปด้วยความรู้สึกที่มีให้ต่อผู้รับ ด้วยลักษณะนิสัยของคนญี่ปุ่นที่เป็นคนพิถีพิถันและเอาใจใส่ไปหมดซะทุกอย่าง และเป็นคนที่ไม่แสดงออกทางด้านความรู้สึกให้เห็นเด่นชัด แต่กลับกลายเป็นแสดงออกผ่านการ “ห่อหุ้มความรู้สึก” ที่พยายามห่อของขวัญนั้นๆให้ออกมาน่ารักสวยงาม
ที่ร้านค้าในประเทศญี่ปุ่น ถ้าขอให้พนักงานห่อสินค้าที่ซื้อจากทางร้านสำหรับให้เป็นของขวัญแล้วล่ะก็ ร้านส่วนใหญ่จะห่อได้อย่างสวยงาม เรียบร้อย และรวดเร็วมากค่ะ เรียกว่า 「斜め包み」 (Naname-zutsumi การห่อแบบเอียง) หรือที่เรียกอีกอย่างว่า 「デパート包み」 (Depaato-zutsumi การห่อแบบห้าง) นั้น
Posted by mod at
20:55
│Comments(1)