› 日本が好き › 2015年11月23日
2015年11月23日
タイからもらった象「はな子」の絵をタイにプレゼント ภาพวาดช้างฮานาโกะคืนความสุขให้คนไทย
ถ้าเอ่ยชื่อว่า "ฮานาโกะ" เพื่อนๆ จะคิดถึงอะไรค่ะ คงเป็นนางเอกการ์ตูน หรือไม่ก็ดารา นักร้องสาว สินะคะ
แต่วันนี้ไม่ได้มาพูดถึงสาวคนใดนะคะ แต่เป็นช้างไทยที่เป็นทูตเชื่อมความสัมพันธ์ญี่ปุ่น-ไทยค่ะ
มาชมรูปโฉมของเธอกันก่อนนะคะ
こんにちは私は はなご です。
สวัสดีค่ะ ฉันชื่อ ฮานาโกะ ค่ะ
ก่อนอื่นมาดูกันก่อนนะคะว่า ชื่อ "ฮานาโกะ" มีความหมายอย่างไร
ฮานะ (花) แปลว่าดอกไม้ ส่วนโกะ (子)แปลว่าเด็กน้อย ชื่อน่ารักมากเลยนะคะ
เรามาดูประวัติกันนิดนึงนะคะว่า ฮานาโกะ ไปอยู่ที่ญี่ปุ่นได้อย่างไร
ย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่2 ไทยได้ส่งช้างไปให้ญี่ปุ่นเพื่อเจริญความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
หนึ่งในนั้นคือช้างพังวันดี* ไปถึงญี่ปุ่นตั้งแต่กลางปีพ.ศ. 2478 ตอนนั้นอายุ 18 ปีแล้ว
พังวันดีไปถึงญี่ปุ่นก็ถูกขนานนามใหม่ว่า "ฮานาโกะ" ต้องบอกว่าฮานาโกะดังมากในญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ต่างชื่นชอบและรักฮานาโกะมาก
แต่แล้วเมื่อพ.ศ.2486 ไม่นานก่อนฮานาโกะจะเสียชีวิต ฮานาโกะประจำการอยู่ ณ สวนสัตว์อุเอะโนะที่เมืองหลวงกรุงโตเกียว เป็นขวัญใจชาวประชาได้ไม่กี่ปีก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น (พ.ศ. 2482 - พ.ศ. 2488) ระหว่างสงครามนั้นเองฮานาโกะก็ได้ล้มลง(เสียชีวิต)
พอฮานาโกะตายไป ทางรัฐบาลจึงได้ติดต่อกับทางประเทศไทยเพื่อขอช้างเชือกใหม่ไปไว้ที่สวนสัตว์
ปี 2492 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ช้างพังไทยเชือกหนึ่งอายุ 2 ขวบมีชื่อว่า “คชา” ถูกส่งตัวจากประเทศไทยไปยังประเทศญี่ปุ่นเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมถึงเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้ชาวญี่ปุ่นทั้งประเทศในช่วงที่ย่ำแย่ที่สุดหลังแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 และเพื่อทดแทนช้างเชือกเดิมที่มีชื่อว่า ฮานาโกะ ซึ่งตายลงในช่วงที่เกิดสงคราม แล้วก็ไม่ทำให้ผิดหวังเลย เพราะทำให้คนญี่ปุ่นทั้งประเทศลืมทุกข์ คลายโศกกันได้ไม่น้อยในช่วงเวลานั้น
ที่ท่าเรือโกเบ คนมารอรับเป็นจำนวนมาก และมีการเฉลิมฉลองรับขวัญช้างกันอย่างเอิกเกริก
ขอบคุณภาพประกอบจาก - www.ehonnavi.net
ก้าวแรกที่คชาเหยียบลงบนแผ่นดินญี่ปุ่นคือที่ ท่าเรือโกเบ โดยมีพิธีต้อนรับกันอย่างเอิกเกริก เจ้าคชาเองก็แสดงความเป็นมิตรกับผู้คนที่ไปเฝ้ารอ เป็นสาเหตุให้มีคนรักและชื่นชอบเป็นอย่างมากและชาวญี่ปุ่นก็เรียกชื่อช้างตัวนี้ว่า “คชาโกะ” หลังจากนั้นคชาโกะก็ถูกส่งตัวไปที่สวนสัตว์ Ueno ทางสวนสัตว์ได้เปิดให้ประชาชนช่วยกันตั้งชื่อใหม่ให้กับ คชาโกะ โดยชื่อที่ได้รับการโหวตมากที่สุดก็คือ ฮานาโกะ (はな子 Hanako) ซึ่งเป็นชื่อเดียวกันกับช้างไทยเชือกวก่อนที่ตายลงในสงคราม หลังจากนั้นช้างเชือกนี้ก็มีชื่อว่าฮานาโกะจนถึงปัจจุบัน
ฮานาโกะอยู่ที่สวนสัตว์ Ueno ได้ 5 ปี จนในปี 2497 ก็ถูกย้ายไปอยู่ที่สวนสัตว์ Inokashira เมือง Kichijoji หลังจากย้ายมาอยู่ที่ใหม่ ฮานาโกะก็กลายเป็นขวัญใจประจำสวนสัตว์ เนื่องจากนิสัยที่ชอบให้คนมามุงดูเยอะ ๆ การหยิบสายยางมาฉีดน้ำเล่นกับเด็ก ๆ ที่มาเฝ้าชม ฯลฯ
แต่แล้วก็มีเหตุสะเทือนขวัญเกิดขึ้นในปี 2499 ฮานาโกะได้ทำร้ายชายคนหนึ่งซึ่งเมาเหล้าแล้วแอบเข้ามาในสวนสัตว์กลางดึกจนเสียชีวิต และในปี 2503 ก็ทำร้ายพี่เลี้ยงจนเสียชีวิตอีกคน ทำให้ทางสวนสัตว์มองว่าฮานาโกะเป็นตัวอันตราย จึงล่ามโซ่ไว้ทั้ง 4 ขา ทำให้ฮานาโกะมีสุขภาพย่ำแย่ลง ซึมเศร้า และร่างกายซูบผอมลงไปมาก ผู้คนที่มาเยี่ยมต่างก็สงสารและรับไม่ได้ จึงเขียนจดหมายขอร้องให้ทางสวนสัตว์ให้ปลดออกจากพันธนาการและดูแลให้ดีเหมือนเดิม
หลังจากมีผู้คนเขียนจดหมายเกี่ยวกับฮานาโกะไปทางสวนสัตว์มากขึ้น ๆ สุดท้ายทางสวนสัตว์ก็ปล่อยฮานาโกะเป็นอิสระและดูแลเหมือนเดิม และที่สำคัญได้พี่เลี้ยงคนใหม่ชื่อว่า เซโซ ยามากาวะ (山川清蔵 Yamakawa Seisou) ซึ่งดูแลฮานาโกะอย่างใกล้ชิด คอยฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจจนในที่สุดก็กลับมาเป็นช้างที่เชื่องและไว้วางใจคนอีกครั้ง ยิ่งไปกว่านั้น การดูแลอย่างใกล้ชิดของคุณเซโซยังทำให้ฮานาโกะติดคนเป็นอย่างมาก ชอบให้คนมาอยู่ใกล้ ๆ ตลอดเวลา โดยเฉพาะคุณเซโซนั่นเอง และในปี 2549 ลูกชายของคุณเซโซ ชื่อ โคอุจิ ยามากาวะ ได้แต่งหนังสือชื่อว่า “ฮานาโกะ : ช้างที่คุณพ่อรัก” (父が愛したゾウのはな子Chichi ga Aishita Zou no Hanako) เพื่อแสดงถึงความผูกพันและความจริงใจของพ่อเขาที่มีต่อเจ้าฮานาโกะ
แล้วก็ได้นำหนังสือเล่มดังกล่าวมาทำเป็นละครให้ได้ชมกันด้วย
จะว่าไปแล้ว ฮานาโกะได้เติบโตอยู่ในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน ได้ช่วยสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะให้กับชาวญี่ปุ่นมามากมาย คนญี่ปุ่นรักฮานาโกะมาก มีการจัดงานวันเกิดให้ทุกปี และเมื่อปี 2550 ก็จัดงานแซยิดให้เจ้าฮานาโกะอย่างยิ่งใหญ่
ฮานาโกะได้รับขนมเค้กด้วย
ปัจจุบัน (ปี 2558) ฮานาโกะมีอายุ 68 ปีถือเป็นช้างที่มีอายุยืนที่สุดในประเทศญี่ปุ่น แต่ร่างกายของฮานาโกะเองก็เริ่มหมดสมรรถภาพไปตามสังขาร ฟันเริ่มร่วงจนเกือบจะหมดปาก เรี่ยวแรงก็ไม่ค่อยมี งวงก็ยกไม่ค่อยขึ้น กินอาหารได้น้อยลง และโชว์ตัวในสวนสัตว์ได้เป็นระยะเวลาเพียงสั้น ๆ ต่อวันเท่านั้น
เมื่อฮานาโกะสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะให้กับชาวญี่ปุ่น คราวนี้ทางจิตกรสาวชาวญี่ปุ่น ชื่อคุณอะคิ ฟุเอะดะ ได้วาดภาพสีน้ำมันช้างไทย "ฮานาโกะ " ซึ่งเป็นภาพวาดที่มีขนาดใหญ่กว้าง 1 เมตร 62 เซนติเมตร และยาว 2 เมตร 60 เซนติเมตร โดยจัดแสดงในงาน Asian culture Arts Council ที่จัดขึ้นที่กรุงโตเกียว เพื่อปลอบขวัญชาวไทยบ้าง จากเหตุการณ์ก่อวินาศภัยระเบิดเมื่อเดือน ส.ค. ปีนี้ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย ทำให้มีคนจำนวนมากเสียชีวิต
โดยคุณ Fueda กล่าวว่า “พวกเด็กๆ ชาวญี่ปุ่นได้รับความสดใสร่าเริงจากนานาโกะ ถ้าได้ดูภาพนี้แล้วช่วยทำให้คนไทยรู้สึกยินดีปรีดา ก็จะรู้สึกดีใจมากเลยค่ะ”
ท่านทูตสีหศักดิ์ซึ่งเป็นท่านทูตของไทยก็ได้กล่าวขอบคุณว่า “คิดว่าคนไทยเองก็คงรู้สึกสดชื่นแจ่มใสขึ้นจากภาพวาดนี้ด้วยครับ”
แล้วเมื่อวันที่ 18 พ.ย. ที่ผ่านมา ทางญี่ปุ่นได้มอบภาพวาดของฮานาโกะให้เป็นของขวัญกับสถานเอกอัครราชทูตไทยฯ และถูกจัดแสดงไว้ที่ทางเข้าของอาคารสถานทูต
ขอบคุณข้อมูลจาก สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว / เฟสบุ๊ค สสท
แต่วันนี้ไม่ได้มาพูดถึงสาวคนใดนะคะ แต่เป็นช้างไทยที่เป็นทูตเชื่อมความสัมพันธ์ญี่ปุ่น-ไทยค่ะ
มาชมรูปโฉมของเธอกันก่อนนะคะ
こんにちは私は はなご です。
สวัสดีค่ะ ฉันชื่อ ฮานาโกะ ค่ะ
ก่อนอื่นมาดูกันก่อนนะคะว่า ชื่อ "ฮานาโกะ" มีความหมายอย่างไร
ฮานะ (花) แปลว่าดอกไม้ ส่วนโกะ (子)แปลว่าเด็กน้อย ชื่อน่ารักมากเลยนะคะ
เรามาดูประวัติกันนิดนึงนะคะว่า ฮานาโกะ ไปอยู่ที่ญี่ปุ่นได้อย่างไร
ย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่2 ไทยได้ส่งช้างไปให้ญี่ปุ่นเพื่อเจริญความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
หนึ่งในนั้นคือช้างพังวันดี* ไปถึงญี่ปุ่นตั้งแต่กลางปีพ.ศ. 2478 ตอนนั้นอายุ 18 ปีแล้ว
พังวันดีไปถึงญี่ปุ่นก็ถูกขนานนามใหม่ว่า "ฮานาโกะ" ต้องบอกว่าฮานาโกะดังมากในญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ต่างชื่นชอบและรักฮานาโกะมาก
แต่แล้วเมื่อพ.ศ.2486 ไม่นานก่อนฮานาโกะจะเสียชีวิต ฮานาโกะประจำการอยู่ ณ สวนสัตว์อุเอะโนะที่เมืองหลวงกรุงโตเกียว เป็นขวัญใจชาวประชาได้ไม่กี่ปีก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น (พ.ศ. 2482 - พ.ศ. 2488) ระหว่างสงครามนั้นเองฮานาโกะก็ได้ล้มลง(เสียชีวิต)
พอฮานาโกะตายไป ทางรัฐบาลจึงได้ติดต่อกับทางประเทศไทยเพื่อขอช้างเชือกใหม่ไปไว้ที่สวนสัตว์
ปี 2492 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ช้างพังไทยเชือกหนึ่งอายุ 2 ขวบมีชื่อว่า “คชา” ถูกส่งตัวจากประเทศไทยไปยังประเทศญี่ปุ่นเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมถึงเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้ชาวญี่ปุ่นทั้งประเทศในช่วงที่ย่ำแย่ที่สุดหลังแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 และเพื่อทดแทนช้างเชือกเดิมที่มีชื่อว่า ฮานาโกะ ซึ่งตายลงในช่วงที่เกิดสงคราม แล้วก็ไม่ทำให้ผิดหวังเลย เพราะทำให้คนญี่ปุ่นทั้งประเทศลืมทุกข์ คลายโศกกันได้ไม่น้อยในช่วงเวลานั้น
ที่ท่าเรือโกเบ คนมารอรับเป็นจำนวนมาก และมีการเฉลิมฉลองรับขวัญช้างกันอย่างเอิกเกริก
ขอบคุณภาพประกอบจาก - www.ehonnavi.net
ก้าวแรกที่คชาเหยียบลงบนแผ่นดินญี่ปุ่นคือที่ ท่าเรือโกเบ โดยมีพิธีต้อนรับกันอย่างเอิกเกริก เจ้าคชาเองก็แสดงความเป็นมิตรกับผู้คนที่ไปเฝ้ารอ เป็นสาเหตุให้มีคนรักและชื่นชอบเป็นอย่างมากและชาวญี่ปุ่นก็เรียกชื่อช้างตัวนี้ว่า “คชาโกะ” หลังจากนั้นคชาโกะก็ถูกส่งตัวไปที่สวนสัตว์ Ueno ทางสวนสัตว์ได้เปิดให้ประชาชนช่วยกันตั้งชื่อใหม่ให้กับ คชาโกะ โดยชื่อที่ได้รับการโหวตมากที่สุดก็คือ ฮานาโกะ (はな子 Hanako) ซึ่งเป็นชื่อเดียวกันกับช้างไทยเชือกวก่อนที่ตายลงในสงคราม หลังจากนั้นช้างเชือกนี้ก็มีชื่อว่าฮานาโกะจนถึงปัจจุบัน
ฮานาโกะอยู่ที่สวนสัตว์ Ueno ได้ 5 ปี จนในปี 2497 ก็ถูกย้ายไปอยู่ที่สวนสัตว์ Inokashira เมือง Kichijoji หลังจากย้ายมาอยู่ที่ใหม่ ฮานาโกะก็กลายเป็นขวัญใจประจำสวนสัตว์ เนื่องจากนิสัยที่ชอบให้คนมามุงดูเยอะ ๆ การหยิบสายยางมาฉีดน้ำเล่นกับเด็ก ๆ ที่มาเฝ้าชม ฯลฯ
แต่แล้วก็มีเหตุสะเทือนขวัญเกิดขึ้นในปี 2499 ฮานาโกะได้ทำร้ายชายคนหนึ่งซึ่งเมาเหล้าแล้วแอบเข้ามาในสวนสัตว์กลางดึกจนเสียชีวิต และในปี 2503 ก็ทำร้ายพี่เลี้ยงจนเสียชีวิตอีกคน ทำให้ทางสวนสัตว์มองว่าฮานาโกะเป็นตัวอันตราย จึงล่ามโซ่ไว้ทั้ง 4 ขา ทำให้ฮานาโกะมีสุขภาพย่ำแย่ลง ซึมเศร้า และร่างกายซูบผอมลงไปมาก ผู้คนที่มาเยี่ยมต่างก็สงสารและรับไม่ได้ จึงเขียนจดหมายขอร้องให้ทางสวนสัตว์ให้ปลดออกจากพันธนาการและดูแลให้ดีเหมือนเดิม
หลังจากมีผู้คนเขียนจดหมายเกี่ยวกับฮานาโกะไปทางสวนสัตว์มากขึ้น ๆ สุดท้ายทางสวนสัตว์ก็ปล่อยฮานาโกะเป็นอิสระและดูแลเหมือนเดิม และที่สำคัญได้พี่เลี้ยงคนใหม่ชื่อว่า เซโซ ยามากาวะ (山川清蔵 Yamakawa Seisou) ซึ่งดูแลฮานาโกะอย่างใกล้ชิด คอยฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจจนในที่สุดก็กลับมาเป็นช้างที่เชื่องและไว้วางใจคนอีกครั้ง ยิ่งไปกว่านั้น การดูแลอย่างใกล้ชิดของคุณเซโซยังทำให้ฮานาโกะติดคนเป็นอย่างมาก ชอบให้คนมาอยู่ใกล้ ๆ ตลอดเวลา โดยเฉพาะคุณเซโซนั่นเอง และในปี 2549 ลูกชายของคุณเซโซ ชื่อ โคอุจิ ยามากาวะ ได้แต่งหนังสือชื่อว่า “ฮานาโกะ : ช้างที่คุณพ่อรัก” (父が愛したゾウのはな子Chichi ga Aishita Zou no Hanako) เพื่อแสดงถึงความผูกพันและความจริงใจของพ่อเขาที่มีต่อเจ้าฮานาโกะ
แล้วก็ได้นำหนังสือเล่มดังกล่าวมาทำเป็นละครให้ได้ชมกันด้วย
จะว่าไปแล้ว ฮานาโกะได้เติบโตอยู่ในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน ได้ช่วยสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะให้กับชาวญี่ปุ่นมามากมาย คนญี่ปุ่นรักฮานาโกะมาก มีการจัดงานวันเกิดให้ทุกปี และเมื่อปี 2550 ก็จัดงานแซยิดให้เจ้าฮานาโกะอย่างยิ่งใหญ่
ฮานาโกะได้รับขนมเค้กด้วย
ปัจจุบัน (ปี 2558) ฮานาโกะมีอายุ 68 ปีถือเป็นช้างที่มีอายุยืนที่สุดในประเทศญี่ปุ่น แต่ร่างกายของฮานาโกะเองก็เริ่มหมดสมรรถภาพไปตามสังขาร ฟันเริ่มร่วงจนเกือบจะหมดปาก เรี่ยวแรงก็ไม่ค่อยมี งวงก็ยกไม่ค่อยขึ้น กินอาหารได้น้อยลง และโชว์ตัวในสวนสัตว์ได้เป็นระยะเวลาเพียงสั้น ๆ ต่อวันเท่านั้น
เมื่อฮานาโกะสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะให้กับชาวญี่ปุ่น คราวนี้ทางจิตกรสาวชาวญี่ปุ่น ชื่อคุณอะคิ ฟุเอะดะ ได้วาดภาพสีน้ำมันช้างไทย "ฮานาโกะ " ซึ่งเป็นภาพวาดที่มีขนาดใหญ่กว้าง 1 เมตร 62 เซนติเมตร และยาว 2 เมตร 60 เซนติเมตร โดยจัดแสดงในงาน Asian culture Arts Council ที่จัดขึ้นที่กรุงโตเกียว เพื่อปลอบขวัญชาวไทยบ้าง จากเหตุการณ์ก่อวินาศภัยระเบิดเมื่อเดือน ส.ค. ปีนี้ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย ทำให้มีคนจำนวนมากเสียชีวิต
โดยคุณ Fueda กล่าวว่า “พวกเด็กๆ ชาวญี่ปุ่นได้รับความสดใสร่าเริงจากนานาโกะ ถ้าได้ดูภาพนี้แล้วช่วยทำให้คนไทยรู้สึกยินดีปรีดา ก็จะรู้สึกดีใจมากเลยค่ะ”
ท่านทูตสีหศักดิ์ซึ่งเป็นท่านทูตของไทยก็ได้กล่าวขอบคุณว่า “คิดว่าคนไทยเองก็คงรู้สึกสดชื่นแจ่มใสขึ้นจากภาพวาดนี้ด้วยครับ”
แล้วเมื่อวันที่ 18 พ.ย. ที่ผ่านมา ทางญี่ปุ่นได้มอบภาพวาดของฮานาโกะให้เป็นของขวัญกับสถานเอกอัครราชทูตไทยฯ และถูกจัดแสดงไว้ที่ทางเข้าของอาคารสถานทูต
ขอบคุณข้อมูลจาก สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว / เฟสบุ๊ค สสท
Posted by mod at
12:42
│Comments(0)