インバウンドでタイ人を集客! 事例多数で万全の用意 [PR]
ナムジャイブログ
ブログポータルサイト「ナムジャイ.CC」 › 日本が好き › 2015年11月05日

【PR】

本広告は、一定期間更新の無いブログにのみ表示されます。
ブログ更新が行われると本広告は非表示となります。
  

Posted by namjai at

2015年11月05日

 印刷で使う形以外の書き方もできることを紹介する

คนที่เรียนภาษาญี่ปุ่น ใครมีความรู้สึกอย่างเดียวกับฉันบ้างว่า ตัวอักษร "คันจิ" มันยาก แล้วก็ทำให้รู้สึกปวดใจมาก



แล้วคันจิที่เราต้องใช้กันบ่อยๆ นั้น ก็มีไม่ใช่น้อยเลยนะคะ อย่างที่เขาเรียกกันว่า "โจโยคันจิ"


โจโยกันจิ (ญี่ปุ่น: 常用漢字 Jōyō kanji ?) เป็นตัวอักษรคันจิ 2,136 ตัว (เดิม 1,945) ที่กระทรวงศึกษาของประเทศญี่ปุ่น กำหนดว่าเป็นตัวอักษรคันจิที่ใช้ในชีวิตประจำวันเป็นประจำ ประกอบด้วย

•คันจิที่เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาหรือเคียวอิกุกันจิ 1,006 ตัว
•คันจิที่เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษา 1,130 ตัว




อะไรมันจะเยอะอย่างนี้นะ




ตัวคันจินั้นมีทั้งตัวคันจิแบบพิมพ์และตัวคันจิแบบเขียน แม้ว่ารายละเอียดของตัวอักษรจะต่างกัน แต่รูปลักษณ์ส่วนใหญ่จะเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น คันจิคำว่า 「令(れい)」นั้นจะเขียนเป็นเส้นแนวตั้งตรงไว้ตรงกลางตัวอักษรที่ใช้การพิมพ์ แต่ในตอนเขียนจะเขียนคล้ายกับตัวอักษร Katakana ตัว 「マ」ไว้แทน ทั้ง 2 ตัวนั้นถูกทั้งคู่ไม่มีตัวไหนผิดเลย แต่ว่าตัวคันจิที่เขียนด้วยมือนั้นทางราชการและทางธนาคารจะไม่ใช้เพราะว่ารูปลักษณ์ที่ต่างกับตัวคันจิที่พิมพ์นั้นอาจสร้างปัญหาขึ้นได้



ดังนั้น ทางด้านสภาวัฒนธรรมจึงได้จัดทำการแนะนำตัวคันจิที่มีรูปลักษณ์ต่างๆ ที่เขียนด้วยมือเอาไว้ ในยุคปัจจุบันนี้จะมีตัวอักษณที่พิมพ์จะอยู่มากมาย จึงต้องให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมในการเขียนอักษรด้วยมือ และคิดว่าอยากจะให้กระตือรืนต้นในการเขียนตัวอักษรให้มากยิ่งขึ้น ดังนั้น กระทรวงวัฒนธรรมจึงได้วางแผนที่จะผลิตหนังสือเพื่อจะแนะนำวิธีการเขียนคันจิที่นอกเหนือจากรูปลักษณ์ที่ใช้ในการพิมพ์ภายในเดือนมีนาคม ปี 2017 ด้วย

อย่างไรก็ลองคอยติดตามกันต่อไปนะคะ ระหว่างนี้ก็ลองฝึกๆ เขียนกันไปพลางๆ ก่อนนะคะ  

Posted by mod at 20:18Comments(0)