› 日本が好き › 2017年02月
2017年02月16日
ヨン様はもう卒業したの!
เมื่อวันก่อนได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งเป็นการ์ตูนเกี่ยวกับธรรมเนียมญี่ปุ่น ไปเจอบทสนทนาที่ลูกชายพูดกับแม่ที่กำลังคลั่งไคล้ดาราเกาหลี
ลูก:あれ!?お母さんヨン様のフアンじゃなかったっけ
(เอ๊ะ แม่ไม่ได้เป็นแฟนคลับของเบยองจุนหรอกเหรอ)
แม่: ヨン様はもう卒業したの!
(เลิกเป็นแฟนคลับเบยองจุนแล้วล่ะ)
เพิ่งได้ความรู้ใหม่ว่า คำว่า “卒業” ไม่ได้มีความหมายเฉพาะว่าจบการศึกษาเท่านั้น แต่หมายความรวมถึงการเลิกทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ทำจนพอใจแล้วได้ด้วย อย่างเช่นในที่นี่ คุณแม่ติดตามเป็นแฟนคลับจนอิ่มตัวแล้ว ก็เลยเปลี่ยนไปชอบคนใหม่แทน
ลูก:あれ!?お母さんヨン様のフアンじゃなかったっけ
(เอ๊ะ แม่ไม่ได้เป็นแฟนคลับของเบยองจุนหรอกเหรอ)
แม่: ヨン様はもう卒業したの!
(เลิกเป็นแฟนคลับเบยองจุนแล้วล่ะ)
เพิ่งได้ความรู้ใหม่ว่า คำว่า “卒業” ไม่ได้มีความหมายเฉพาะว่าจบการศึกษาเท่านั้น แต่หมายความรวมถึงการเลิกทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ทำจนพอใจแล้วได้ด้วย อย่างเช่นในที่นี่ คุณแม่ติดตามเป็นแฟนคลับจนอิ่มตัวแล้ว ก็เลยเปลี่ยนไปชอบคนใหม่แทน
Posted by mod at
20:00
│Comments(0)
2017年02月15日
รถไฟเซบุ มีตู้สำหรับผู้ใช้รถเข็นโดยเฉพาะ
ถ้าเราพูดถึงความสะดวกสบายในการใช้รถไฟฟ้าในการเดินทางแล้วล่ะก็ หนึ่งในนั้นก็จะต้องมีรถไฟฟ้าของญี่ปุ่นรวมอยู่ด้วยอย่างแน่นอน
ในตอนนี้ทางรถไฟเซบุ (ญี่ปุ่น: 西武鉄道 Seibu Tetsudō) ที่วิ่งระหว่างโตเกียวกับไซตามะ
ได้สร้างรถไฟที่ช่วยให้คนที่ต้องใช้รถเข็นเด็กที่มีเด็กทารกนั่งอยู่หรือคนพิการที่ต้องใช้รถเข็นสามารถขึ้นรถไฟฟ้าได้อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น โดยในขบวนรถไฟที่มีทั้งหมด 10 ตู้นั้นจะมีอยู่ 1 ตู้ที่มีจำนวนเก้าอี้นั่งน้อยลงเพื่อทำให้มีพื้นที่ด้านในสำหรับการใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ไม่ต้องเคลื่อนย้ายรถเข็นคนพิการบ่อยๆ เพื่อความปลอดภัย
แล้วก็จะมีเก้าอี้ที่สร้างขึ้นสำหรับคนที่ใช้รถเข็นเด็กสามารถจะยืนหรือนั่งได้อย่างสะดวกง่ายดาย และจะมีห้องน้ำที่คนนั่งรถเข็นสามารถใช้งานได้ง่ายอยู่ในตู้อื่นอีกด้วย
การเดินรถของรถไฟฟ้าขบวนนี้มีหมายกำหนดการที่จะเริ่มใช้งานตั้งแต่วันที่ 25 เดือนมีนาคมเป็นต้นไป
ในตอนนี้ทางรถไฟเซบุ (ญี่ปุ่น: 西武鉄道 Seibu Tetsudō) ที่วิ่งระหว่างโตเกียวกับไซตามะ
ได้สร้างรถไฟที่ช่วยให้คนที่ต้องใช้รถเข็นเด็กที่มีเด็กทารกนั่งอยู่หรือคนพิการที่ต้องใช้รถเข็นสามารถขึ้นรถไฟฟ้าได้อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น โดยในขบวนรถไฟที่มีทั้งหมด 10 ตู้นั้นจะมีอยู่ 1 ตู้ที่มีจำนวนเก้าอี้นั่งน้อยลงเพื่อทำให้มีพื้นที่ด้านในสำหรับการใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ไม่ต้องเคลื่อนย้ายรถเข็นคนพิการบ่อยๆ เพื่อความปลอดภัย
แล้วก็จะมีเก้าอี้ที่สร้างขึ้นสำหรับคนที่ใช้รถเข็นเด็กสามารถจะยืนหรือนั่งได้อย่างสะดวกง่ายดาย และจะมีห้องน้ำที่คนนั่งรถเข็นสามารถใช้งานได้ง่ายอยู่ในตู้อื่นอีกด้วย
การเดินรถของรถไฟฟ้าขบวนนี้มีหมายกำหนดการที่จะเริ่มใช้งานตั้งแต่วันที่ 25 เดือนมีนาคมเป็นต้นไป
Posted by mod at
16:33
│Comments(0)
2017年02月08日
สัญลักษณ์ไปรษณีย์ญี่ปุ่น 〒
วันก่อนสอนนักเรียนในบทเรียนที่เกี่ยวกับสถานที่ แล้วตัวอย่างสถานที่ในหนังสือเรียนก็มีคำต่างๆ อย่างเช่น หอสมุด 図書館 (Toshokan)ที่ทำการไปรษณีย์ 郵便局 (yuubinkyoku)หอศิลป์ 美術館 (Bijyutsukan) เป็นต้น
แล้วก็ไปสะดุดตาสัญลักษณ์ของที่ทำการไปรษณีย์ เอ๋.....ทำไมคล้ายๆ ตัว T ในภาษาอังกฤษนะ มันมีความหมายว่าอย่างไรกันแน่ ก็เลยลองค้นหาดู
อ้อ.....มันมีประวัติมาจากการบริการไปรษณีย์ของญี่ปุ่นเกิดขึ้นครั้งแรกในวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ.1871 ซึ่งในเวลานั้น หน่วยงานที่ควบคุมคือกระทรวงคมนาคม (逓信省) ซึ่งอ่านออกเสียงว่า tenshinshou แล้วนำมาเขียนด้วยอักษรคาตาคานะได้เป็น テイシンショウ แล้วนำอักษรตัวแรกมาเป็นสัญลักษณ์ นั่นคือテ (te) นั่นเอง ดังนั้นก็เลยใช้สัญลักษณ์ตัว 〒 เรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้
วิธีอ่านสัญลักษณ์ 〒 ในภาษาญี่ปุ่นที่ถูกต้องคือ ยูบิงคิโก (yuubinkigou) (郵便記号) ค่ะ
แล้วก็ไปสะดุดตาสัญลักษณ์ของที่ทำการไปรษณีย์ เอ๋.....ทำไมคล้ายๆ ตัว T ในภาษาอังกฤษนะ มันมีความหมายว่าอย่างไรกันแน่ ก็เลยลองค้นหาดู
อ้อ.....มันมีประวัติมาจากการบริการไปรษณีย์ของญี่ปุ่นเกิดขึ้นครั้งแรกในวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ.1871 ซึ่งในเวลานั้น หน่วยงานที่ควบคุมคือกระทรวงคมนาคม (逓信省) ซึ่งอ่านออกเสียงว่า tenshinshou แล้วนำมาเขียนด้วยอักษรคาตาคานะได้เป็น テイシンショウ แล้วนำอักษรตัวแรกมาเป็นสัญลักษณ์ นั่นคือテ (te) นั่นเอง ดังนั้นก็เลยใช้สัญลักษณ์ตัว 〒 เรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้
วิธีอ่านสัญลักษณ์ 〒 ในภาษาญี่ปุ่นที่ถูกต้องคือ ยูบิงคิโก (yuubinkigou) (郵便記号) ค่ะ
Posted by mod at
13:49
│Comments(0)
2017年02月07日
“วันแม่บ้านพักผ่อน” (主婦休みの日)
จากแนวนโยบายของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น คุณชินโซ อาเบะที่ต้องการที่จะเสริมสร้างศักยภาพของสตรีและอยากสร้างสภาพแวดล้อมให้ผู้หญิงญี่ปุ่นสามารถทำงานต่อได้หลังจากแต่งงานหรือมีลูก โดยแนวคิดของท่านก็ได้รับการตอบสนองจากบริษัทหลายแห่งที่อนุญาตให้คุณพ่อบ้านเลิกงานเร็วในวันศุกร์เพื่อกลับไปช่วยคุณแม่บ้านดูแลบ้านและครอบครัว แต่สาวๆ ญี่ปุ่นก็ยังคงต้องรับภาระหนักทั้งการทำงานนอกบ้านและการทำงานบ้านอยู่ดี
คุณแม่บ้านญี่ปุ่นจึงลุกขึ้นมาเรียกร้องให้มีวันหยุดพิเศษสำหรับคุณแม่บ้าน คือ “วันแม่บ้านพักผ่อน” (主婦休みの日-shufu yasumi no hi) โดยขอหยุดปีละ 3 วันที่พวกเธอจะได้หยุดพักจากการทำงานบ้านให้คุณพ่อบ้านและคุณลูกๆ ได้ทำงานงานบ้านแทนในวันนั้นๆ
โดยเหล่าคุณแม่บ้านเสนอว่า วันหยุดพิเศษนี้ควรจะเป็นวันที่ 25 มกราคม, 25พฤษภาคม และ 25กันยายน โดยหากวันดังกล่าวตรงกับวันทำงานก็ให้เลื่อนเป็นวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ในสัปดาห์นั้นแทน
พวกเหล่าคุณแม่บ้านญี่ปุ่นดูเอาจริงเอาจังมากๆ เลยนะคะ เรียกได้ว่าขอเป็นวันหยุดราชการแบบมีชดเชยเสียด้วย สุดยอดจริงๆ ก็ขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่บ้านญี่ปุ่นนะคะ ขอให้ข้อเรียกร้องเป็นจริงขึ้นมาด้วย
คุณแม่บ้านญี่ปุ่นจึงลุกขึ้นมาเรียกร้องให้มีวันหยุดพิเศษสำหรับคุณแม่บ้าน คือ “วันแม่บ้านพักผ่อน” (主婦休みの日-shufu yasumi no hi) โดยขอหยุดปีละ 3 วันที่พวกเธอจะได้หยุดพักจากการทำงานบ้านให้คุณพ่อบ้านและคุณลูกๆ ได้ทำงานงานบ้านแทนในวันนั้นๆ
โดยเหล่าคุณแม่บ้านเสนอว่า วันหยุดพิเศษนี้ควรจะเป็นวันที่ 25 มกราคม, 25พฤษภาคม และ 25กันยายน โดยหากวันดังกล่าวตรงกับวันทำงานก็ให้เลื่อนเป็นวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ในสัปดาห์นั้นแทน
พวกเหล่าคุณแม่บ้านญี่ปุ่นดูเอาจริงเอาจังมากๆ เลยนะคะ เรียกได้ว่าขอเป็นวันหยุดราชการแบบมีชดเชยเสียด้วย สุดยอดจริงๆ ก็ขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่บ้านญี่ปุ่นนะคะ ขอให้ข้อเรียกร้องเป็นจริงขึ้นมาด้วย
Posted by mod at
13:22
│Comments(0)
2017年02月01日
Homeplus ซุปเปอร์มาเก็ตออนไลน์
เพื่อนๆ เคยหยิบเอกสารหรือรับเอกสารแจกฟรี อย่างพวกหนังสือพิมพ์ นิตยสารต่างๆ มัยคะ แล้วจริงๆ เราเคยสนใจที่จะอ่านมันหรือไม่คะ สำหรับฉันที่บ้านวางกองเป็นภูเขาเลย
แต่เมื่อวันก่อนมีเวลานิดนึงก็เลยลองหยิบนิตยสาร “คิด” ขึ้นมาอ่านดู พบกับหัวข้อเรื่องในนิตยสารนั้น คือ “Homeplus Subway Virtual Store” ซึ่งเป็นหัวข้อที่ดีมากๆ เลย
มันคือเทสโก้ซึ่งเป็นซูเปอร์มาเก็ตในเกาหลีใต้ ทำการรีแบรนด์ใหม่เป็นชื่อ “โฮมพลัส” โดยนำกลยุทธ์มาปรับใช้ให้เหมาะกับการใช้ชีวิตของคนเกาหลีใต้ที่ติดอันดับ 2 รองจากญี่ปุ่นสำหรับประเทศที่ผู้คนใช้เวลาในการทำงานมากที่สุด
เขาจึงหยิบฟังก์ชั่นการใช้งานของโทรศัพท์มือถือที่ทุกคนคุ้นชินมาผนวกกับกลยุทธ์การยกภาพชั้นวางสินค้ามาแทนที่ป้ายโฆษณาบริเวณชานชาลาของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่มีคนมาใช้บริการมากมาย โดยโฮมพลัสได้เสนอทางออกให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าในเวลาอันจำกัด โดยโฮมพลัสได้เสนอทางออกให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าได้ทุกประเภทตามที่ต้องการ ทั้งผักสด ผลไม้ นม น้ำดื่ม ไม่แตกต่างจากในซูเปอร์มาเก็ตจริง เพียงแค่นำสมาร์ทโฟนไปสแกน QR Code ที่รูปสินค้านั้นๆ เพื่อส่งข้อมูลสู่ Online-chart และกระบวนการชำระค่าสินค้า ก่อนที่ทางโฮมพลัสจะดำเนินการส่งสินค้ามาถึงประตูในเวลาเดียวกับที่ลูกค้ากลับถึงบ้านพอดิบพอดี
ถ้าประเทศไทยเปลี่ยนจากมาใช้ระบบแบบนี้ก็น่าจะดีนะคะ สำหรับสังคมเมืองที่ยุ่งวุ่นวายแบบนี้
แต่เมื่อวันก่อนมีเวลานิดนึงก็เลยลองหยิบนิตยสาร “คิด” ขึ้นมาอ่านดู พบกับหัวข้อเรื่องในนิตยสารนั้น คือ “Homeplus Subway Virtual Store” ซึ่งเป็นหัวข้อที่ดีมากๆ เลย
มันคือเทสโก้ซึ่งเป็นซูเปอร์มาเก็ตในเกาหลีใต้ ทำการรีแบรนด์ใหม่เป็นชื่อ “โฮมพลัส” โดยนำกลยุทธ์มาปรับใช้ให้เหมาะกับการใช้ชีวิตของคนเกาหลีใต้ที่ติดอันดับ 2 รองจากญี่ปุ่นสำหรับประเทศที่ผู้คนใช้เวลาในการทำงานมากที่สุด
เขาจึงหยิบฟังก์ชั่นการใช้งานของโทรศัพท์มือถือที่ทุกคนคุ้นชินมาผนวกกับกลยุทธ์การยกภาพชั้นวางสินค้ามาแทนที่ป้ายโฆษณาบริเวณชานชาลาของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่มีคนมาใช้บริการมากมาย โดยโฮมพลัสได้เสนอทางออกให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าในเวลาอันจำกัด โดยโฮมพลัสได้เสนอทางออกให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าได้ทุกประเภทตามที่ต้องการ ทั้งผักสด ผลไม้ นม น้ำดื่ม ไม่แตกต่างจากในซูเปอร์มาเก็ตจริง เพียงแค่นำสมาร์ทโฟนไปสแกน QR Code ที่รูปสินค้านั้นๆ เพื่อส่งข้อมูลสู่ Online-chart และกระบวนการชำระค่าสินค้า ก่อนที่ทางโฮมพลัสจะดำเนินการส่งสินค้ามาถึงประตูในเวลาเดียวกับที่ลูกค้ากลับถึงบ้านพอดิบพอดี
ถ้าประเทศไทยเปลี่ยนจากมาใช้ระบบแบบนี้ก็น่าจะดีนะคะ สำหรับสังคมเมืองที่ยุ่งวุ่นวายแบบนี้
Posted by mod at
12:39
│Comments(0)