› 日本が好き › 2017年01月
2017年01月26日
เทียบความอึ๋มขณะแช่ออนเซน
เมื่อเช้าอ่านเจอคอลัมภ์หนึ่งในหนังสือพิมพ์ เขาพาดหัวว่า “ผลสำรวจพบ สาวญี่ปุ่น 80% เปรียบเทียบความอึ๋มขณะแช่ออนเซน”
อุต๊ะ! ขนาดนั้นเลยเหรอเนี่ย? สำหรับฉันที่เป็นคนไทยก็คงไม่กล้ามองแน่ๆ แล้วอีกอย่างถึงอยากมองก็คงมองไม่เห็นเป็นแน่ เพราะเวลาแช่ออนเซน เขาใส่แว่นกันด้วยเหรอ
แล้วจากผลสำรวจนั้น อวัยวะส่วนที่ถูกมองและถูกเปรียบเทียบมากที่สุดก็คือหน้าอก 42% ตามมาด้วยหน้าท้อง 32% มองเอวและสะโพก 17% แล้วอันดับสุดท้ายคือมองเรียวขา 9%
อืม….สำหรับฉันคงไม่มีคนมองแน่นอน ไม่ผ่านสักข้อ แค่เดินเข้าไปเขาคงเบือนหน้าหนีแล้ว 555
แต่สำหรับคุณผู้ชายนั้น ผลสำรวจพบว่าผู้ชายส่วนใหญ่ไม่สนใจอะไรเลยขณะแช่ออนเซน ตั้งใจที่จะผ่อนคลายความเครียดอย่างเดียวเท่านั้น
อุต๊ะ! ขนาดนั้นเลยเหรอเนี่ย? สำหรับฉันที่เป็นคนไทยก็คงไม่กล้ามองแน่ๆ แล้วอีกอย่างถึงอยากมองก็คงมองไม่เห็นเป็นแน่ เพราะเวลาแช่ออนเซน เขาใส่แว่นกันด้วยเหรอ
แล้วจากผลสำรวจนั้น อวัยวะส่วนที่ถูกมองและถูกเปรียบเทียบมากที่สุดก็คือหน้าอก 42% ตามมาด้วยหน้าท้อง 32% มองเอวและสะโพก 17% แล้วอันดับสุดท้ายคือมองเรียวขา 9%
อืม….สำหรับฉันคงไม่มีคนมองแน่นอน ไม่ผ่านสักข้อ แค่เดินเข้าไปเขาคงเบือนหน้าหนีแล้ว 555
แต่สำหรับคุณผู้ชายนั้น ผลสำรวจพบว่าผู้ชายส่วนใหญ่ไม่สนใจอะไรเลยขณะแช่ออนเซน ตั้งใจที่จะผ่อนคลายความเครียดอย่างเดียวเท่านั้น
Posted by mod at
16:14
│Comments(0)
2017年01月25日
หมึก....บิน
วันนี้จะพาไปดูหมึก....บินกัน
หมึกบินญี่ปุ่น (Japanese flying squid) หรือที่คนญี่ปุ่นเรียกว่า ซูรุเมะอิกะ (スルメイカ) ชื่อของมันนั้นมาจากคำว่า Sumi (墨) ที่แปลว่าน้ำหมึก กับ Mureru (群れる) ชุมนุมกัน เมื่อนำคำศัพท์สองคำมารวมกันก็จะได้คำว่า Sumimure (スミムレ / 墨・群れ) เมื่อเวลาผ่านไปก็เกิดการออกเสียงเพี้ยนจนเป็น Surume ส่วนคำว่า イカ (Ika) ก็คือปลาหมึกนั่นเอง
ปลาหมึกบินญี่ปุ่นนั้นจะถูกจับมากที่สุดในบรรดาปลาหมึกทั้งหมด แล้วในญี่ปุ่นก็นิยมรับประทานกันมากด้วย เมนูอาหารที่ทำจากซูรุเมะอิกะก็อย่างเช่น
– หมึกย่าง : นำไปย่างซอสโชยุและปรุงรสด้วยเกลือ นำไปทานกับขิง
– หมึกทรงเครื่องย่างแผ่นฟรอยด์ : นำหมึกมาหั่นเป็นชิ้นเล็กประมาณ 1 ซม. เอาไปแช่ซอสโชยุผสมเหล้าญี่ปุ่นแล้วนำมาห่อด้วยแผ่นฟรอยด์ จากนั้นนำไปอบด้วยเตาเป็นอันเสร็จ
– หมึกบินต้มเผือก : นำหมึกมาหั่นประมาณ 1 ซม. พร้อมกับปอกเผือกแล้วนำไปต้มเตรียมไว้… นำเหล้าญี่ปุ่นและมิรินลงไปต้มในหม้อให้ได้น้ำซุป หลังจากนั้นใส่เผือกและหมึกลงไปต้ม ปรุงรสตามต้องการ
แต่เมื่อเร็วๆ นี้ ทางกรมประมงของญี่ปุ่นได้ออกมาแถลงเกี่ยวกับปริมาณ “ปลาหมึกบินญี่ปุ่น” ในทะเลญี่ปุ่นประจำปี 2016 ว่าปริมาณปลาหมึกบินญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ทางมหาสมุทรแปซิฟิกนั้นมีประมาณ 334,000 ตัน ซึ่งมีปริมาณน้อยลงกว่า 30% เมื่อเทียบกับเมื่อปีก่อนๆ แล้วปริมาณปลาหมึกบินญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในทะเลญี่ปุ่นเองก็มีปริมาณลดน้อยลงด้วย
ด้วยเหตุนี้ เมื่อปีที่แล้วปริมาณของปลาหมึกบินญี่ปุ่นที่ถูกจับในญี่ปุ่นจึงมีปริมาณที่น้อยลงกว่าครึ่งเมื่อเทียบกับปีก่อนๆ
กรมประมงได้กล่าวว่า “อุณหภูมิของน้ำทะเลจีนตะวันออกที่กล่าวกันว่าเป็นสถานที่ที่ปลาหมึกบินญี่ปุ่นวางไข่นั้นมีอุณหภูมิต่ำลง จึงเป็นสาเหตุ 1 ที่ทำให้การวางไข่นั้นยากขึ้น นอกเหนือไปจากนี้ ปลาก็ยังมีปริมาณลดน้อยลงด้วย จึงกลายเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นมา”
แล้วที่ว่าหมึกชนิดนี้บินได้นั้น นั่นก็เพื่อหนีเอาตัวรอดจากศัตรูที่จะมากินมัน แต่อย่างไรก็ตามก็ยังไม่สามารถหนีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิดเช่นโลมาและแมวน้ำได้
ขั้นตอนการบินของหมึกนั้น ขั้นแรกมันจะพับครีบหลังลง และว่ายซิกแซกไปมาพร้อมกับดูดน้ำเข้าไปในลำตัว หลังจากนั้นก็ทำการพ่นน้ำออกมาทำให้ตัวสามารถพุ่งขึ้นสู่ผิวน้ำได้ โดยสามารถร่อนด้วยความเร็วถึง 11 เมตรต่อวินาที ซึ่งพอๆกับความเร็วของนักวิ่งเหรียญทองโอลิมปิกเลย นอกจากนี้ยังสามารถอยู่ในอากาศได้ประมาณ 3 วินาที และร่อนได้ไกลกว่า 30 เมตรต่อหนึ่งครั้งด้วย
หมึกบินญี่ปุ่น (Japanese flying squid) หรือที่คนญี่ปุ่นเรียกว่า ซูรุเมะอิกะ (スルメイカ) ชื่อของมันนั้นมาจากคำว่า Sumi (墨) ที่แปลว่าน้ำหมึก กับ Mureru (群れる) ชุมนุมกัน เมื่อนำคำศัพท์สองคำมารวมกันก็จะได้คำว่า Sumimure (スミムレ / 墨・群れ) เมื่อเวลาผ่านไปก็เกิดการออกเสียงเพี้ยนจนเป็น Surume ส่วนคำว่า イカ (Ika) ก็คือปลาหมึกนั่นเอง
ปลาหมึกบินญี่ปุ่นนั้นจะถูกจับมากที่สุดในบรรดาปลาหมึกทั้งหมด แล้วในญี่ปุ่นก็นิยมรับประทานกันมากด้วย เมนูอาหารที่ทำจากซูรุเมะอิกะก็อย่างเช่น
– หมึกย่าง : นำไปย่างซอสโชยุและปรุงรสด้วยเกลือ นำไปทานกับขิง
– หมึกทรงเครื่องย่างแผ่นฟรอยด์ : นำหมึกมาหั่นเป็นชิ้นเล็กประมาณ 1 ซม. เอาไปแช่ซอสโชยุผสมเหล้าญี่ปุ่นแล้วนำมาห่อด้วยแผ่นฟรอยด์ จากนั้นนำไปอบด้วยเตาเป็นอันเสร็จ
– หมึกบินต้มเผือก : นำหมึกมาหั่นประมาณ 1 ซม. พร้อมกับปอกเผือกแล้วนำไปต้มเตรียมไว้… นำเหล้าญี่ปุ่นและมิรินลงไปต้มในหม้อให้ได้น้ำซุป หลังจากนั้นใส่เผือกและหมึกลงไปต้ม ปรุงรสตามต้องการ
แต่เมื่อเร็วๆ นี้ ทางกรมประมงของญี่ปุ่นได้ออกมาแถลงเกี่ยวกับปริมาณ “ปลาหมึกบินญี่ปุ่น” ในทะเลญี่ปุ่นประจำปี 2016 ว่าปริมาณปลาหมึกบินญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ทางมหาสมุทรแปซิฟิกนั้นมีประมาณ 334,000 ตัน ซึ่งมีปริมาณน้อยลงกว่า 30% เมื่อเทียบกับเมื่อปีก่อนๆ แล้วปริมาณปลาหมึกบินญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในทะเลญี่ปุ่นเองก็มีปริมาณลดน้อยลงด้วย
ด้วยเหตุนี้ เมื่อปีที่แล้วปริมาณของปลาหมึกบินญี่ปุ่นที่ถูกจับในญี่ปุ่นจึงมีปริมาณที่น้อยลงกว่าครึ่งเมื่อเทียบกับปีก่อนๆ
กรมประมงได้กล่าวว่า “อุณหภูมิของน้ำทะเลจีนตะวันออกที่กล่าวกันว่าเป็นสถานที่ที่ปลาหมึกบินญี่ปุ่นวางไข่นั้นมีอุณหภูมิต่ำลง จึงเป็นสาเหตุ 1 ที่ทำให้การวางไข่นั้นยากขึ้น นอกเหนือไปจากนี้ ปลาก็ยังมีปริมาณลดน้อยลงด้วย จึงกลายเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นมา”
แล้วที่ว่าหมึกชนิดนี้บินได้นั้น นั่นก็เพื่อหนีเอาตัวรอดจากศัตรูที่จะมากินมัน แต่อย่างไรก็ตามก็ยังไม่สามารถหนีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิดเช่นโลมาและแมวน้ำได้
ขั้นตอนการบินของหมึกนั้น ขั้นแรกมันจะพับครีบหลังลง และว่ายซิกแซกไปมาพร้อมกับดูดน้ำเข้าไปในลำตัว หลังจากนั้นก็ทำการพ่นน้ำออกมาทำให้ตัวสามารถพุ่งขึ้นสู่ผิวน้ำได้ โดยสามารถร่อนด้วยความเร็วถึง 11 เมตรต่อวินาที ซึ่งพอๆกับความเร็วของนักวิ่งเหรียญทองโอลิมปิกเลย นอกจากนี้ยังสามารถอยู่ในอากาศได้ประมาณ 3 วินาที และร่อนได้ไกลกว่า 30 เมตรต่อหนึ่งครั้งด้วย
Posted by mod at
16:52
│Comments(0)
2017年01月19日
มารยาทการใช้โทรศัพท์บนรถไฟฟ้า
เมื่อคืนตอนขากลับจากการทำงานประมาณ 3 ทุ่มกว่าๆ ฉันก็ใช้บริการของรถไฟฟ้า BTS เพื่อกลับบ้าน อย่างที่พวกเราๆ รู้กันว่าสำหรับรถไฟฟ้าของประเทศไทยนั้นไม่ได้มีกฎห้ามในการใช้โทรศัพท์มือถือเช่นการใช้โทรศัพท์พูดคุยกัน หรือการเปิดเสียงโทรศัพท์ แต่สำหรับฉันแล้ว ถ้าไม่ใช่ธุระสำคัญอะไรก็น่าจะงดใช้เสียงโทรศัพท์นะคะ เพราะว่ามันก็รบกวนคนข้างๆ หรือคนที่อยู่ในขบวนรถไฟ เรื่องการคุยก็พอรับได้นะคะ แต่เมื่อคืนมีการเปิดคลิปละครดูแล้วก็ไม่ได้ใช้หูฟัง แต่เปิดเสียงดังมาก เรียกได้ว่ารอบๆ บริเวณของคุณคนนั้นในระยะ 3-5 เมตรกว่าๆ ได้ฟังละครของเธอด้วยเลย ฉันว่ามันไม่ค่อยเหมาะนะคะ
ด้านบนเป็นการบ่นส่วนตัวนะคะ แต่สิ่งที่อยากมาเล่าจริงๆ คือเมื่อก่อนในรถไฟฟ้าของญี่ปุ่นจะมีการกำหนดว่าในพื้นที่ที่นั่งพิเศษสำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยต้องปิดสวิตช์โทรศัพท์มือถือ เนื่องจากกังวลคลื่นโทรศัพท์จะส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจ แต่ในตอนนี้ได้มีการผ่อนผันให้สามารถใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อเช็คอีเมล์และส่งข้อความได้ในขณะที่นั่งอยู่ในที่นั่งพิเศษได้ เพราะจากผลการวิจัยพบว่าคลื่นโทรศัพท์มือถือจะส่งผลต่ออุปกรณ์ทางการแพทย์เมื่ออยู่ในระยะใกล้ราว 3 เซนติเมตรเท่านั้น
แต่อย่างไรก็ตาม ทางรถไฟญี่ปุ่นยังคงห้ามใช้โทรศัพท์เพื่อพูดคุยในระหว่างโดยสาร และแนะนำให้ปิดสวิตช์โทรศัพท์มือถือในช่วงที่ผู้โดยสารหนาแน่นเหมือนเช่นเดิม เพราะยังคงรณรงค์ให้ผู้โดยสารใช้โทรศัพท์มือถืออย่างเหมาะสมและมีมารยาท โดยงดการใช้งานที่มีเสียงทุกอย่างและใช้งานเฉพาะระบบสั่นเตือนเท่านั้น
ด้านบนเป็นการบ่นส่วนตัวนะคะ แต่สิ่งที่อยากมาเล่าจริงๆ คือเมื่อก่อนในรถไฟฟ้าของญี่ปุ่นจะมีการกำหนดว่าในพื้นที่ที่นั่งพิเศษสำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยต้องปิดสวิตช์โทรศัพท์มือถือ เนื่องจากกังวลคลื่นโทรศัพท์จะส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจ แต่ในตอนนี้ได้มีการผ่อนผันให้สามารถใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อเช็คอีเมล์และส่งข้อความได้ในขณะที่นั่งอยู่ในที่นั่งพิเศษได้ เพราะจากผลการวิจัยพบว่าคลื่นโทรศัพท์มือถือจะส่งผลต่ออุปกรณ์ทางการแพทย์เมื่ออยู่ในระยะใกล้ราว 3 เซนติเมตรเท่านั้น
แต่อย่างไรก็ตาม ทางรถไฟญี่ปุ่นยังคงห้ามใช้โทรศัพท์เพื่อพูดคุยในระหว่างโดยสาร และแนะนำให้ปิดสวิตช์โทรศัพท์มือถือในช่วงที่ผู้โดยสารหนาแน่นเหมือนเช่นเดิม เพราะยังคงรณรงค์ให้ผู้โดยสารใช้โทรศัพท์มือถืออย่างเหมาะสมและมีมารยาท โดยงดการใช้งานที่มีเสียงทุกอย่างและใช้งานเฉพาะระบบสั่นเตือนเท่านั้น
Posted by mod at
13:17
│Comments(0)
2017年01月18日
学童保育 กิจกรรมหลังเลิกเรียน
สังคมสมัยนี้ไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนๆ ก็ต้องปากกัดตีนถีบกันทั้งนั้น ผู้ปกครองหรือคุณพ่อคุณแม่ก็ต้องออกมาทำงานนอกบ้านกันทั้งคู่ ไม่เว้นแม้แต่สังคมของประเทศญี่ปุ่นในตอนนี้ จึงทำให้เกิดมีสิ่งที่เรียกว่า “学童保育(がくどうほいく)” หรือ After-school activity ขึ้น
ซึ่งเป็นการดูแลเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาหลังจากโรงเรียนเลิกแล้ว สำหรับนักเรียนที่พ่อและแม่ต้องทำงานและไม่มีใครอยู่บ้าน โดยเขาจะจัดกิจกรรมให้เด็กๆ ทำเพื่อพัฒนาด้านต่างๆ ให้กับเด็กนอกเหนือจากการเรียนในชั้นเรียน
โดยเราได้รับข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการแรงงานของญี่ปุ่น เมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2016 ว่ามีเด็กนักเรียนที่ไปใช้บริการการทำกิจกรรมหลังเลิกเรียนถึงประมาณ 1,093,000 คนเลยทีเดียว แล้วก็มีจำนวนที่เพิ่มขึ้นกว่าเมื่อปีก่อนหน้านี้ประมาณ 68,000 คนด้วย
สถานที่ที่จัดกิจกรรมหลังเลิกเรียนก็ปริมาณเพิ่มมากขึ้นกว่าปีก่อนหน้านี้ประมาณ 1,000 แห่ง แต่ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับนักเรียน ดังนั้น จึงมีเด็กที่ไม่สามารถไปใช้บริการได้อีก 17,000 คน
กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการแรงงาน จึงได้วางแผนที่จะจัดสร้างสถานที่ที่จัดกิจกรรมหลังเลิกเรียนให้เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม แล้วคาดว่าน่าจะรองรับเด็กเพื่อให้สามารถเข้ามารับบริการได้มากกว่าขึ้นกว่าในตอนนี้อีก 120,000 คนภายในเดือนมีนาคม ปี 2019
ซึ่งเป็นการดูแลเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาหลังจากโรงเรียนเลิกแล้ว สำหรับนักเรียนที่พ่อและแม่ต้องทำงานและไม่มีใครอยู่บ้าน โดยเขาจะจัดกิจกรรมให้เด็กๆ ทำเพื่อพัฒนาด้านต่างๆ ให้กับเด็กนอกเหนือจากการเรียนในชั้นเรียน
โดยเราได้รับข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการแรงงานของญี่ปุ่น เมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2016 ว่ามีเด็กนักเรียนที่ไปใช้บริการการทำกิจกรรมหลังเลิกเรียนถึงประมาณ 1,093,000 คนเลยทีเดียว แล้วก็มีจำนวนที่เพิ่มขึ้นกว่าเมื่อปีก่อนหน้านี้ประมาณ 68,000 คนด้วย
สถานที่ที่จัดกิจกรรมหลังเลิกเรียนก็ปริมาณเพิ่มมากขึ้นกว่าปีก่อนหน้านี้ประมาณ 1,000 แห่ง แต่ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับนักเรียน ดังนั้น จึงมีเด็กที่ไม่สามารถไปใช้บริการได้อีก 17,000 คน
กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการแรงงาน จึงได้วางแผนที่จะจัดสร้างสถานที่ที่จัดกิจกรรมหลังเลิกเรียนให้เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม แล้วคาดว่าน่าจะรองรับเด็กเพื่อให้สามารถเข้ามารับบริการได้มากกว่าขึ้นกว่าในตอนนี้อีก 120,000 คนภายในเดือนมีนาคม ปี 2019
Posted by mod at
17:18
│Comments(0)
2017年01月13日
สอบวัดระดับมารยาท
วันนี้ เราจะมาคุยกันถึงเรื่องการสอบวัดระดับ แต่ไม่ใช่การสอบวัดระดับความสามารถในการใช้ภาษาญี่ปุ่นนะคะ
อย่างที่เรารู้กันดีอยู่ว่า ประเทศญี่ปุ่นนั้นเขาให้ความสำคัญกับมารยาทมาก จนถึงขนาดมีการเขียนเรื่องมารยาทในสังคมต่างๆ เป็นตำราไว้มากมาย แล้วนอกจากนั้นก็ยังมีการจัดสอบวัดระดับความสามารถในเรื่องมารยาทด้วยนะคะ
คนญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญกับความรู้สึกของผู้อื่นเป็นหลัก อย่างเช่นการเลือกเสื้อผ้านั้นจะให้นึกถึงคนมองมากกว่าความชอบส่วนตัว เราต้องเลือกเสื้อผ้าให้ถูกกาลเทศะและดูดีในสายตาคนอื่น
แล้วอย่างเรื่องการใส่น้ำหอมถือว่าเป็นการเอากลิ่นของเราไปให้คนอื่นดม ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ควรดับกลิ่นที่อยู่ในตัวเองด้วย และดับกลิ่นที่อยู่ในน้ำหอมด้วยเพื่อไม่ให้มีกลิ่นออกมา
มารยาทการนั่งโต๊ะอาหาร ก็ต้องให้ผู้ใหญ่นั่งด้านใน การหั่นตะเกียบให้หันไปทางด้านซ้ายของตัวเราเอง เพราะเมื่อสมัยก่อน เวลานั่งทานอาหารเขาจะหันหน้าไปทางทิศใต้ ดังนั้นการวางตะเกียบก็จะให้หันไปทางทิศตะวันออกเพื่อรับพลังจากพระอาทิตย์ เป็นต้น
แล้วในการทำงานในบริษัทฯ นั้นนอกจากการขยันขันแข็งในการทำงานแล้ว เราจะต้องมีมารยาทสังคมที่ดีด้วย บางบริษัทฯ ก็จะมีการให้ไปสอบวัดระดับความสามารถเรื่องมารยาท ถ้าสอบวัดระดับได้ในระดับสูง ก็จะได้รับเงินเดือนที่ดีด้วย
นั่นก็คือ การสอบวัดระดับมารยาท = ความก้าวหน้าในงาน
ถ้าใครอยากทำงานกับคนญี่ปุ่น นอกจากจะต้องมีความรู้ด้านภาษาที่ดีแล้ว ยังต้องมีความรู้ด้านมารยาทสังคมด้วยนะคะ
อย่างที่เรารู้กันดีอยู่ว่า ประเทศญี่ปุ่นนั้นเขาให้ความสำคัญกับมารยาทมาก จนถึงขนาดมีการเขียนเรื่องมารยาทในสังคมต่างๆ เป็นตำราไว้มากมาย แล้วนอกจากนั้นก็ยังมีการจัดสอบวัดระดับความสามารถในเรื่องมารยาทด้วยนะคะ
คนญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญกับความรู้สึกของผู้อื่นเป็นหลัก อย่างเช่นการเลือกเสื้อผ้านั้นจะให้นึกถึงคนมองมากกว่าความชอบส่วนตัว เราต้องเลือกเสื้อผ้าให้ถูกกาลเทศะและดูดีในสายตาคนอื่น
แล้วอย่างเรื่องการใส่น้ำหอมถือว่าเป็นการเอากลิ่นของเราไปให้คนอื่นดม ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ควรดับกลิ่นที่อยู่ในตัวเองด้วย และดับกลิ่นที่อยู่ในน้ำหอมด้วยเพื่อไม่ให้มีกลิ่นออกมา
มารยาทการนั่งโต๊ะอาหาร ก็ต้องให้ผู้ใหญ่นั่งด้านใน การหั่นตะเกียบให้หันไปทางด้านซ้ายของตัวเราเอง เพราะเมื่อสมัยก่อน เวลานั่งทานอาหารเขาจะหันหน้าไปทางทิศใต้ ดังนั้นการวางตะเกียบก็จะให้หันไปทางทิศตะวันออกเพื่อรับพลังจากพระอาทิตย์ เป็นต้น
แล้วในการทำงานในบริษัทฯ นั้นนอกจากการขยันขันแข็งในการทำงานแล้ว เราจะต้องมีมารยาทสังคมที่ดีด้วย บางบริษัทฯ ก็จะมีการให้ไปสอบวัดระดับความสามารถเรื่องมารยาท ถ้าสอบวัดระดับได้ในระดับสูง ก็จะได้รับเงินเดือนที่ดีด้วย
นั่นก็คือ การสอบวัดระดับมารยาท = ความก้าวหน้าในงาน
ถ้าใครอยากทำงานกับคนญี่ปุ่น นอกจากจะต้องมีความรู้ด้านภาษาที่ดีแล้ว ยังต้องมีความรู้ด้านมารยาทสังคมด้วยนะคะ
Posted by mod at
14:47
│Comments(0)
2017年01月12日
Yatai ยะไตสไตล์ญี่ปุ่น
เรื่องนี้เป็นเรื่องเล่าในชั้นเรียน ที่ฉันไม่ได้ประสบเอง แต่เป็นเรื่องของนักเรียนคนหนึ่งที่ตอนช่วงปลายปีได้ไปเที่ยวญี่ปุ่น แล้วอยากสัมผัสกับร้านยะไตของญี่ปุ่น ตอนค่ำๆ ก็เลยชวนสามีออกไปเดินหาร้านยะไตกัน เมื่อเลือกแล้วว่าร้านนี้ดูน่ากินก็เดินเข้าไปเลย แล้วพบกับเจ้าของร้านเป็นคุณป้าแก่ๆ เธอยื่นเมนูให้พร้อมกับมีข้อความว่าถ้าไม่ได้มากับคนญี่ปุ่นสามารถนั่งทานได้แค่ 1 ชั่วโมง แล้วมีการชาร์จเพิ่มอีกหัวละ 300 เยน ต้องสั่งอาหารเป็นภาษาญี่ปุ่น นักเรียนคนนั้นถึงกับอึ้งแล้วคิดในใจว่า “ไปกินร้านอื่นก็ได้วะ” แล้วก็ออกไปจากร้านนั้นเลย
นักเรียนก็มาเล่าให้ฟังแล้วก็ถามว่า “ร้านยะไตของญี่ปุ่นเป็นแบบนี้ทั้งหมดเลยหรือเปล่า” ฉันก็เลยตอบว่า “ไม่หรอก”
สาเหตุนั้นน่าจะมาจากที่ว่า
1.คุณป้าแก่ๆ นั้นคงไม่สันทัดในภาษาต่างชาติ ก็เลยเหมือนอยากตัดปัญหาภาษาออกไป
2.ที่เขียนจำกัดเวลา 1 ชั่วโมงนั้น เพราะว่าร้านคุณป้าเป็นแค่ร้านเล็กๆ จึงอยากทำให้เกิดการหมุนเวียนลูกค้าได้เยอะที่สุดนั่นเอง
3.ส่วนที่บอกว่าชาร์จเพิ่มหัวละ 300 เยนนั้น น่าจะเป็นการเขียนให้ลูกค้าทราบชัดเจนในเรื่องของ お通し (โอะโทชิ)
お通し (โอะโทชิ) หมายถึง อาหารที่เสิร์ฟก่อนที่เมนูหลักจะมาถึง โดยถ้าสั่งเหล้าก็จะเสร์ฟคู่กันเป็นกับแกล้มโดยอัตโนมัติ และชาร์จเงินเพิ่มตอนคิดเงินทีหลัง ปกติแล้วค่าโอะโทชินี้ไม่สามารถยกเลิกได้ ถึงแม้จะไม่ทานก็ต้องเสียเงินอยู่ดี เพราะว่าร้านคุณป้าเป็นร้านยะไตกึ่งร้านอิซากายะด้วย
สิ่งที่เล่ามานั้น ก็น่าเห็นใจคุณป้าเจ้าของร้าน ที่ท่านก็คงลำบากใจที่จะสื่อสารภาษาต่างชาติ นี่ก็น่าจะเป็นอุทาหรณ์สำหรับการที่คนเราต้องปรับตัวให้เข้ากับสังคมที่เปลี่ยนไป ที่เป็นสังคมอินเตอร์เนชั่นแนลมากขึ้นนั่นเอง แต่จะให้คุณป้าลุกขึ้นมาเรียนภาษาอังกฤษก็อาจจะไม่ไหวหรือเปล่า?
นักเรียนก็มาเล่าให้ฟังแล้วก็ถามว่า “ร้านยะไตของญี่ปุ่นเป็นแบบนี้ทั้งหมดเลยหรือเปล่า” ฉันก็เลยตอบว่า “ไม่หรอก”
สาเหตุนั้นน่าจะมาจากที่ว่า
1.คุณป้าแก่ๆ นั้นคงไม่สันทัดในภาษาต่างชาติ ก็เลยเหมือนอยากตัดปัญหาภาษาออกไป
2.ที่เขียนจำกัดเวลา 1 ชั่วโมงนั้น เพราะว่าร้านคุณป้าเป็นแค่ร้านเล็กๆ จึงอยากทำให้เกิดการหมุนเวียนลูกค้าได้เยอะที่สุดนั่นเอง
3.ส่วนที่บอกว่าชาร์จเพิ่มหัวละ 300 เยนนั้น น่าจะเป็นการเขียนให้ลูกค้าทราบชัดเจนในเรื่องของ お通し (โอะโทชิ)
お通し (โอะโทชิ) หมายถึง อาหารที่เสิร์ฟก่อนที่เมนูหลักจะมาถึง โดยถ้าสั่งเหล้าก็จะเสร์ฟคู่กันเป็นกับแกล้มโดยอัตโนมัติ และชาร์จเงินเพิ่มตอนคิดเงินทีหลัง ปกติแล้วค่าโอะโทชินี้ไม่สามารถยกเลิกได้ ถึงแม้จะไม่ทานก็ต้องเสียเงินอยู่ดี เพราะว่าร้านคุณป้าเป็นร้านยะไตกึ่งร้านอิซากายะด้วย
สิ่งที่เล่ามานั้น ก็น่าเห็นใจคุณป้าเจ้าของร้าน ที่ท่านก็คงลำบากใจที่จะสื่อสารภาษาต่างชาติ นี่ก็น่าจะเป็นอุทาหรณ์สำหรับการที่คนเราต้องปรับตัวให้เข้ากับสังคมที่เปลี่ยนไป ที่เป็นสังคมอินเตอร์เนชั่นแนลมากขึ้นนั่นเอง แต่จะให้คุณป้าลุกขึ้นมาเรียนภาษาอังกฤษก็อาจจะไม่ไหวหรือเปล่า?
Posted by mod at
14:56
│Comments(0)
2017年01月11日
ไอเดียเด็ด! กระดาษชำระสำหรับสมาร์ทโฟน
วันนี้อ่านเจอข่าวที่ทำให้ต้องทึ่งกับไอเดียเด็ดของญี่ปุ่นที่มีกระดาษชำระเช็ดสมาร์ทโฟนในห้องน้ำ โดยถูกติดตั้งไว้ในห้องน้ำ 7 แห่ง 86 ห้องของท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ
กระดาษชำระสำหรับสมาร์ทโฟนนี้ถูกผลิตขึ้นโดย NTT Docomo ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ของญี่ปุ่น ซึ่งความพิเศษของกระดาษชำระสำหรับสมาร์ทโฟนนี้คือผู้โดยสารสามารถใช้กระดาษชำระชนิดนี้เช็ดทำความสะอาดเพื่อกำจัดเชื้อโรคบนสมาร์ทโฟน ซึ่งมีมากกว่าฝารองนั่งโถส้วมกว่า 5 เท่า โดยเขาจะติดอยู่ข้างๆ กระดาษชำระธรรมดาที่ใช้อยู่กันเป็นประจำ น่าจะหยิบใช้ได้สะดวก
นอกจากจะช่วยทำความสะอาดสมาร์ทโฟนแล้ว บนกระดาษยังให้ข้อมูลการเชื่อมต่อ Wi-Fi ของ Docomo และแอพพลิเคชั่นแนะนำการท่องเที่ยวไปในตัวด้วย เป็นไอเดียที่สุดมากเลย
แต่มันจะทำความสะอาดและกำจัดเชื้อโรคได้จริงเปล่าต้องมาว่ากันอีกทีนะคะ เพราะอย่าลืมว่าอยู่ในห้องน้ำแล้วเชื้อโรคมันไม่ได้ฟุ้งกระจายในอากาศแล้วมาติดอยู่ที่กระดาษด้วยเหรอ?
กระดาษชำระสำหรับสมาร์ทโฟนนี้ถูกผลิตขึ้นโดย NTT Docomo ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ของญี่ปุ่น ซึ่งความพิเศษของกระดาษชำระสำหรับสมาร์ทโฟนนี้คือผู้โดยสารสามารถใช้กระดาษชำระชนิดนี้เช็ดทำความสะอาดเพื่อกำจัดเชื้อโรคบนสมาร์ทโฟน ซึ่งมีมากกว่าฝารองนั่งโถส้วมกว่า 5 เท่า โดยเขาจะติดอยู่ข้างๆ กระดาษชำระธรรมดาที่ใช้อยู่กันเป็นประจำ น่าจะหยิบใช้ได้สะดวก
นอกจากจะช่วยทำความสะอาดสมาร์ทโฟนแล้ว บนกระดาษยังให้ข้อมูลการเชื่อมต่อ Wi-Fi ของ Docomo และแอพพลิเคชั่นแนะนำการท่องเที่ยวไปในตัวด้วย เป็นไอเดียที่สุดมากเลย
แต่มันจะทำความสะอาดและกำจัดเชื้อโรคได้จริงเปล่าต้องมาว่ากันอีกทีนะคะ เพราะอย่าลืมว่าอยู่ในห้องน้ำแล้วเชื้อโรคมันไม่ได้ฟุ้งกระจายในอากาศแล้วมาติดอยู่ที่กระดาษด้วยเหรอ?
Posted by mod at
16:35
│Comments(0)
2017年01月10日
コウモリ ค้างคาวนำโชค
ใครๆ ก็อยากมีโชคอยากมีลาภกันทั้งนั้น ถ้าอย่างนั้น วันนี้เรามาดูสัตว์นำโชคกันค่ะ แล้ว 1 ในสัตว์นำโชคของญี่ปุ่นก็คือค้างคาว หรือในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “コウモリ- Koumori(蝙蝠)”
ค้างคาวนั้น ในหลายๆ ประเทศก็ถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคร้าย ไม่ดี แต่สำหรับคนญี่ปุ่นค้างคาวหมายถึงโชคลาภ เขาว่ากันว่าถ้ามีค้างคาวอาศัยอยู่ในบ้าน 2 ตัวจะโชคดีแบบ 2 ชั้นเลย แต่ถ้ามี 5 ตัวล่ะก็ จะเปี่ยมไปด้วยโชคลาภทั้ง 5 อย่าง ไม่ว่าจะเป็นความสำเร็จ อายุยืน สุขภาพดี มีเงินเยอะ และชีวิตคู่สมบูรณ์ แม้ว่าจะไม่มีตัวจริงของค้างคาว ขอให้เป็นลวดลายของค้างคาวก็ถือว่าเป็นผลดีแล้ว
ดังนั้นในปัจจุบันจึงนิยมสลักรูปค้างคาวลงบนพวกเฟอร์นิเจอร์หรือสิ่งของต่างๆ
ความเชื่อเรื่องค้างคาวเป็นสัตว์นำโชคนั้น ประเทศญี่ปุ่นน่าจะรับอิทธิพลมากจากประเทศจีน เพราะว่าในประเทศจีน ตัวอักษร "蝠" ของคำว่าค้างคาว นั้นออกเสียงว่า ฝู หรือ ฮก 「福」มีความหมายว่า โชคดี มีบุญ วาสนา ชื่อเสียงเกียรติคุณ
ในวันตรุษจีนชาวจีนจะนิยมนำรูปค้างคาวมาติดบริเวณหน้าประตูบ้าน หรือที่ป้ายร้านค้า เพื่อสื่อถึงความโชคดี การค้าขายเจริญรุ่งเรือง
ค้างคาวนั้น ในหลายๆ ประเทศก็ถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคร้าย ไม่ดี แต่สำหรับคนญี่ปุ่นค้างคาวหมายถึงโชคลาภ เขาว่ากันว่าถ้ามีค้างคาวอาศัยอยู่ในบ้าน 2 ตัวจะโชคดีแบบ 2 ชั้นเลย แต่ถ้ามี 5 ตัวล่ะก็ จะเปี่ยมไปด้วยโชคลาภทั้ง 5 อย่าง ไม่ว่าจะเป็นความสำเร็จ อายุยืน สุขภาพดี มีเงินเยอะ และชีวิตคู่สมบูรณ์ แม้ว่าจะไม่มีตัวจริงของค้างคาว ขอให้เป็นลวดลายของค้างคาวก็ถือว่าเป็นผลดีแล้ว
ดังนั้นในปัจจุบันจึงนิยมสลักรูปค้างคาวลงบนพวกเฟอร์นิเจอร์หรือสิ่งของต่างๆ
ความเชื่อเรื่องค้างคาวเป็นสัตว์นำโชคนั้น ประเทศญี่ปุ่นน่าจะรับอิทธิพลมากจากประเทศจีน เพราะว่าในประเทศจีน ตัวอักษร "蝠" ของคำว่าค้างคาว นั้นออกเสียงว่า ฝู หรือ ฮก 「福」มีความหมายว่า โชคดี มีบุญ วาสนา ชื่อเสียงเกียรติคุณ
ในวันตรุษจีนชาวจีนจะนิยมนำรูปค้างคาวมาติดบริเวณหน้าประตูบ้าน หรือที่ป้ายร้านค้า เพื่อสื่อถึงความโชคดี การค้าขายเจริญรุ่งเรือง
Posted by mod at
17:29
│Comments(0)
2017年01月06日
การประดับตกแต่งในวันขึ้นปีใหม่ (正月飾り)
เมื่อวานไปทำธุระแถวสีลม แล้วเดินผ่านร้านหนึ่งก็สะดุดตาเข้ากับการประดับตกแต่งบริเวณหน้าร้าน
อ๋อ นั่นเป็นการประดับตกแต่งในวันขึ้นปีใหม่ (正月飾り) ของคนญี่ปุ่นนั่นเอง เพิ่งเคยเห็นของจริงครั้งแรก ตื่นเต้นๆ
แต่ก็เกรงใจคุณพี่ที่รักษาความปลอดภัยหน้าร้าน ก็เลยแอบมองอยู่ไกลๆ แล้วก็ถ่ายรูปมาด้วย (แอบติดคุณพี่มาด้วย อิอิ)
เรามาดูกันค่ะ ว่ามีการตกแต่งด้วยอะไรบ้าง
1.“คาโดมัทสึ” (門松 : Kadomatsu)
ของประดับตกแต่งบ้าน ในช่วงปีใหม่ของญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม เรียกว่า "Kadomatsu"
จะวางอยู่เป็นคู่ที่ทางเข้าด้านหน้าที่สองฝั่งของ ประตูบ้านหรืออาคารสำนักงาน
เพื่อที่จะต้อนรับ วิญญาณบรรพบุรุษ หรือ เทพเจ้าของการเก็บเกี่ยว
และต้อนรับเทพเจ้าแห่งวันปีใหม่ ที่จะนำความสุข และความโชคดี นำสิ่งดีๆมาให้ในปีใหม่
คาโดมัสซึ จะทำจากไม้ไผ่และกิ่งสน โดยการนำต้นไผ่สามต้นมัดรวมกัน แล้วตัดในแนวเฉียงโดยใช้ใบไผ่พันไว้รอบๆ
หรือ อาจจะเพิ่มเติมสิ่งมงคลอื่นเข้าไป ตามแต่ความนิยมของแต่ละท้องถิ่น
2."ชิเมะ คาซาริ" (しめ飾り : Shime-kazari)
ชิเมะคาซาริ ประกอบด้วยเชือกศักดิ์สิทธิ์ ทำด้วยฟางข้าวนำมามัดกันเป็นฟ่อนใหญ่ๆ ตามแบบชินโต
โดยมีแถบกระดาษสีขาว ที่เรียกว่า ชิเดะ (Shide, 四手/紙垂) ห้อยเป็นพู่ประดับ ประดับตกแต่งด้วย กิ่งไม้ รวงข้าว ส้มไดได กุ้งมังกร ใบเฟิร์น และอื่นๆ
- ส้มไดได ของญี่ปุ่น "daidai" (橙) เขียนด้วยตัวอักษรคันจิที่แตกต่างกัน (代々) สามารถแปลว่า "จากรุ่นสู่รุ่น" ซึ่งถือว่าเป็นลางที่ดี
- กุ้ง เป็นสัญลักษณ์มงคล ของการมีอายุยืน
- ใบเฟิร์น เป็นสัญลักษณ์ของความหวัง และ ความปรารถนาที่จะมีครอบครัวที่มีความสุขเพิ่มขึ้น จากรุ่นสู่รุ่น
ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ จะนำ ชิเมะคาซาริ ไปแขวนไว้บนระเบียงหรือ ด้านนอกของประตูทางเข้าบ้าน หรือ ประตูหลังบ้าน
ชิเมคาซาริ เป็น สิ่งซึ่งใช้ประดับในวันปีใหม่ ที่เป็นสัญลักษณ์เพื่อเปิดทางให้เทพเจ้าท่านได้ผ่านเข้ามา สำหรับบางบ้านที่นับถือ ศาสนาชินโตอาจจะประดับตกแต่งด้วยเชือกศักดิ์สิทธิ์ หรือชิเมะนาวะ (Shime-nawa, しめ縄)
โดยเมื่อผ่านเทศกาลแล้ว บางคนจะนำ Shime-kazari ไปเผาที่วัด หรือ ศาลเจ้าและเก็บขี้เถ้า นำมาวางไว้หน้าประตูทางเข้าบ้านเพื่อขับไล่วิญญาณร้าย
อ๋อ นั่นเป็นการประดับตกแต่งในวันขึ้นปีใหม่ (正月飾り) ของคนญี่ปุ่นนั่นเอง เพิ่งเคยเห็นของจริงครั้งแรก ตื่นเต้นๆ
แต่ก็เกรงใจคุณพี่ที่รักษาความปลอดภัยหน้าร้าน ก็เลยแอบมองอยู่ไกลๆ แล้วก็ถ่ายรูปมาด้วย (แอบติดคุณพี่มาด้วย อิอิ)
เรามาดูกันค่ะ ว่ามีการตกแต่งด้วยอะไรบ้าง
1.“คาโดมัทสึ” (門松 : Kadomatsu)
ของประดับตกแต่งบ้าน ในช่วงปีใหม่ของญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม เรียกว่า "Kadomatsu"
จะวางอยู่เป็นคู่ที่ทางเข้าด้านหน้าที่สองฝั่งของ ประตูบ้านหรืออาคารสำนักงาน
เพื่อที่จะต้อนรับ วิญญาณบรรพบุรุษ หรือ เทพเจ้าของการเก็บเกี่ยว
และต้อนรับเทพเจ้าแห่งวันปีใหม่ ที่จะนำความสุข และความโชคดี นำสิ่งดีๆมาให้ในปีใหม่
คาโดมัสซึ จะทำจากไม้ไผ่และกิ่งสน โดยการนำต้นไผ่สามต้นมัดรวมกัน แล้วตัดในแนวเฉียงโดยใช้ใบไผ่พันไว้รอบๆ
หรือ อาจจะเพิ่มเติมสิ่งมงคลอื่นเข้าไป ตามแต่ความนิยมของแต่ละท้องถิ่น
2."ชิเมะ คาซาริ" (しめ飾り : Shime-kazari)
ชิเมะคาซาริ ประกอบด้วยเชือกศักดิ์สิทธิ์ ทำด้วยฟางข้าวนำมามัดกันเป็นฟ่อนใหญ่ๆ ตามแบบชินโต
โดยมีแถบกระดาษสีขาว ที่เรียกว่า ชิเดะ (Shide, 四手/紙垂) ห้อยเป็นพู่ประดับ ประดับตกแต่งด้วย กิ่งไม้ รวงข้าว ส้มไดได กุ้งมังกร ใบเฟิร์น และอื่นๆ
- ส้มไดได ของญี่ปุ่น "daidai" (橙) เขียนด้วยตัวอักษรคันจิที่แตกต่างกัน (代々) สามารถแปลว่า "จากรุ่นสู่รุ่น" ซึ่งถือว่าเป็นลางที่ดี
- กุ้ง เป็นสัญลักษณ์มงคล ของการมีอายุยืน
- ใบเฟิร์น เป็นสัญลักษณ์ของความหวัง และ ความปรารถนาที่จะมีครอบครัวที่มีความสุขเพิ่มขึ้น จากรุ่นสู่รุ่น
ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ จะนำ ชิเมะคาซาริ ไปแขวนไว้บนระเบียงหรือ ด้านนอกของประตูทางเข้าบ้าน หรือ ประตูหลังบ้าน
ชิเมคาซาริ เป็น สิ่งซึ่งใช้ประดับในวันปีใหม่ ที่เป็นสัญลักษณ์เพื่อเปิดทางให้เทพเจ้าท่านได้ผ่านเข้ามา สำหรับบางบ้านที่นับถือ ศาสนาชินโตอาจจะประดับตกแต่งด้วยเชือกศักดิ์สิทธิ์ หรือชิเมะนาวะ (Shime-nawa, しめ縄)
โดยเมื่อผ่านเทศกาลแล้ว บางคนจะนำ Shime-kazari ไปเผาที่วัด หรือ ศาลเจ้าและเก็บขี้เถ้า นำมาวางไว้หน้าประตูทางเข้าบ้านเพื่อขับไล่วิญญาณร้าย
Posted by mod at
14:07
│Comments(0)
2017年01月05日
占い คำทำนาย
สิ่งหนึ่งที่เรามักจะทำกันตอนไปวัดหรือศาลเจ้าต่างๆ คือการเสี่ยงเซียมซี สำหรับคนญี่ปุ่นเอง เขาก็มีการเสี่ยงทายแบบนี้เช่นกัน แล้วกระดาษเขียนคำทำนายดวงชะตาของญี่ปุ่น เรียกกันว่า โอะมิกุจิ (御御籤, 御神籤, หรือ おみくじ)
คำว่า "โอะมิกุจิ" นั้นแปลตรงตัวว่า "สลากศักดิ์สิทธิ์"
คำทำนายที่เขียนบนโอะมิกุจิมีอยู่หลายแบบ ได้แก่
1.ไดคิจิ (大吉, โชคดีมาก)
2.จูคิจิ (中吉, โชคดีปานกลาง)
3.โชคิจิ (小吉, โชคดีเล็กน้อย)
4.คิจิ (吉, โชคดี)
5.ฮังคิจิ (半吉, กึ่งโชคดี)
6.ซุเอะคิจิ (末吉, โชคดีตามกรรม)
7.ซุเอะโชคิจิ (末小吉, โชคดีเล็กน้อยในอนาคต)
8.เคียว (凶, โชคร้าย)
9.โชเคียว (小凶, โชคร้ายเล็กน้อย)
10.ฮังเคียว (半凶, กึ่งโชคร้าย)
11.ซุเอะเคียว (末凶, โชคร้ายตามกรรม)
12.ไดเคียว (大凶, โชคร้ายมาก)
แล้วนอกจากโอะมิกุจิแล้ว ในผลิตภัณฑ์พวกขนมต่างๆ ก็มักมีคำทำนายหลังแพคเกจหรือกระดาษห่อด้วย ได้กินขนมอร่อยแล้วยังได้สนุกกับคำทายด้วย ก็ถือว่าเป็นกลยุทธทางการตลาดอย่างหนึ่งด้วยนะคะ
คำทำนาย ภาษาญีปุ่นเรียกว่า 占い (uranai)
อย่างเมื่อตอนปีใหม่ ฉันเอาช็อคโกแลตคิตตี้มาทาน หลังกระดาษห่อมีคำทำนายด้วย แต่แอบสงสัยว่ามันมีคำทำนายแบบนี้แบบเดียว หรือว่าฉันหยิบมาทานได้เหมาะเหม็งมาก คำทาย 3 อันได้แบบเดียวกันเลยค่ะ คือโชคิจิ (小吉, โชคดีเล็กน้อย) ก็ยังดีค่ะ
ส่วนคำทำนายที่เขียนไว้คือ “好きな人と目があっちゃうかも?”=อาจได้สบตาปิ๊งๆ กับคนที่รัก ?
Wow ขอให้เป็นจริงด้วยเถิด สาธุ
คำว่า "โอะมิกุจิ" นั้นแปลตรงตัวว่า "สลากศักดิ์สิทธิ์"
คำทำนายที่เขียนบนโอะมิกุจิมีอยู่หลายแบบ ได้แก่
1.ไดคิจิ (大吉, โชคดีมาก)
2.จูคิจิ (中吉, โชคดีปานกลาง)
3.โชคิจิ (小吉, โชคดีเล็กน้อย)
4.คิจิ (吉, โชคดี)
5.ฮังคิจิ (半吉, กึ่งโชคดี)
6.ซุเอะคิจิ (末吉, โชคดีตามกรรม)
7.ซุเอะโชคิจิ (末小吉, โชคดีเล็กน้อยในอนาคต)
8.เคียว (凶, โชคร้าย)
9.โชเคียว (小凶, โชคร้ายเล็กน้อย)
10.ฮังเคียว (半凶, กึ่งโชคร้าย)
11.ซุเอะเคียว (末凶, โชคร้ายตามกรรม)
12.ไดเคียว (大凶, โชคร้ายมาก)
แล้วนอกจากโอะมิกุจิแล้ว ในผลิตภัณฑ์พวกขนมต่างๆ ก็มักมีคำทำนายหลังแพคเกจหรือกระดาษห่อด้วย ได้กินขนมอร่อยแล้วยังได้สนุกกับคำทายด้วย ก็ถือว่าเป็นกลยุทธทางการตลาดอย่างหนึ่งด้วยนะคะ
คำทำนาย ภาษาญีปุ่นเรียกว่า 占い (uranai)
อย่างเมื่อตอนปีใหม่ ฉันเอาช็อคโกแลตคิตตี้มาทาน หลังกระดาษห่อมีคำทำนายด้วย แต่แอบสงสัยว่ามันมีคำทำนายแบบนี้แบบเดียว หรือว่าฉันหยิบมาทานได้เหมาะเหม็งมาก คำทาย 3 อันได้แบบเดียวกันเลยค่ะ คือโชคิจิ (小吉, โชคดีเล็กน้อย) ก็ยังดีค่ะ
ส่วนคำทำนายที่เขียนไว้คือ “好きな人と目があっちゃうかも?”=อาจได้สบตาปิ๊งๆ กับคนที่รัก ?
Wow ขอให้เป็นจริงด้วยเถิด สาธุ
Posted by mod at
13:57
│Comments(0)