› 日本が好き › 2015年09月
2015年09月30日
羽田空港に飛行機で届いた魚をすぐ店に送る
นี่คือศูนย์กลางการส่งปลาสดมาทางเครื่องบินถึงอาคารคลังสินค้าที่สนามบินฮาเนดะในกรุงโตเกียวเพื่อทำการแล่แล้วส่งตรงไปยังร้านค้าได้ในทันทีได้ถูกจัดตั้งขึ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ในวันที่ 29 กันยายนนี้มีผู้เข้าร่วมในพิธีการฉลองการเปิดบริการอย่างเป็นการประมาณ 60 คน เมื่อบริษัทฯ ได้รับออเดอร์จากร้านค้าอย่างเช่นร้านอาหารทางอินเตอร์เน็ต ก็จะทำการติดต่อไปยังชาวประมงราวๆ 40 รายที่อยู่ตั้งแต่ฮอคไกโดไปจนถึงโอกินาว่าซึ่งได้ทำสัญญากันไว้ ชาวประมงที่ได้รับการติดต่อก็จะทำการส่งพวกปลาและหอยที่เพิ่งจับได้สดๆ มายังสนามบินฮาเนดะโดยเครื่องบิน เมื่อมาถึงแล้วก็จะทำการแล่ปลาที่ถูกจัดส่งมาหรือทำการบรรจุลงในถุงที่สถานที่นี้แล้วนำส่งตรงไปยังร้านค้า ดูเหมือนว่าการดำเนินกิจการเช่นนี้ในสนามบินในประเทศจะเป็นครั้งแรกเลยก็ว่าได้ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้เปิดเผยว่าน่าจะสามารถขายพวกปลาได้ประมาณ 1 -2 ตันต่อวัน แล้วในอนาคตก็อยากที่จะส่งปลาสดที่เพิ่งจับได้จากที่นี่ไปยังต่างประเทศด้วย
ข้อมูลสนามบินฮาเนดะ
สนามบินฮาเนดะ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว สร้างขึ้นเมื่อปี 1931 บนพื้นที่เล็ก ๆ ของที่ดินอ่าวด้านหน้าที่อยู่ที่ทางทิศใต้ของสนามบินที่มีความซับซ้อนในปัจจุบันและเป็นสนามบินพลเรือนใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นในเวลานั้น
ในอดีตสนามบินฮาเนดะ จะให้บริเวณแค่เพียงเที่ยวบินภายใยประเทศ แต่ในปัจจุบันสนามบินฮาเนดะ เป็นสนามบินนานาชาติแล้ว และยังเป็นสนามบินหลักของโตเกียวและประเทศญี่ปุ่น
สนามบินฮาเนดะได้มีการพัฒนาขึ้นและใหญ่โตขึ้นมาก มีสามอาคารผู้โดยสารเช่นเดียวกับสถานีวีไอพี ในปีปีนึงมีผู้โดยสารราว 60 ล้านคนมาใช้สนามบินที่นี่ และได้รับการยกย่องว่าเป็นสนามบินที่ดีที่สุดติด 1 ใน 3 ของเอเชีย และมีคาดการณ์ว่าในอนาคต จะมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเป็น 100 ล้านคน ต่อปี
ในวันที่ 29 กันยายนนี้มีผู้เข้าร่วมในพิธีการฉลองการเปิดบริการอย่างเป็นการประมาณ 60 คน เมื่อบริษัทฯ ได้รับออเดอร์จากร้านค้าอย่างเช่นร้านอาหารทางอินเตอร์เน็ต ก็จะทำการติดต่อไปยังชาวประมงราวๆ 40 รายที่อยู่ตั้งแต่ฮอคไกโดไปจนถึงโอกินาว่าซึ่งได้ทำสัญญากันไว้ ชาวประมงที่ได้รับการติดต่อก็จะทำการส่งพวกปลาและหอยที่เพิ่งจับได้สดๆ มายังสนามบินฮาเนดะโดยเครื่องบิน เมื่อมาถึงแล้วก็จะทำการแล่ปลาที่ถูกจัดส่งมาหรือทำการบรรจุลงในถุงที่สถานที่นี้แล้วนำส่งตรงไปยังร้านค้า ดูเหมือนว่าการดำเนินกิจการเช่นนี้ในสนามบินในประเทศจะเป็นครั้งแรกเลยก็ว่าได้ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้เปิดเผยว่าน่าจะสามารถขายพวกปลาได้ประมาณ 1 -2 ตันต่อวัน แล้วในอนาคตก็อยากที่จะส่งปลาสดที่เพิ่งจับได้จากที่นี่ไปยังต่างประเทศด้วย
ข้อมูลสนามบินฮาเนดะ
สนามบินฮาเนดะ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว สร้างขึ้นเมื่อปี 1931 บนพื้นที่เล็ก ๆ ของที่ดินอ่าวด้านหน้าที่อยู่ที่ทางทิศใต้ของสนามบินที่มีความซับซ้อนในปัจจุบันและเป็นสนามบินพลเรือนใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นในเวลานั้น
ในอดีตสนามบินฮาเนดะ จะให้บริเวณแค่เพียงเที่ยวบินภายใยประเทศ แต่ในปัจจุบันสนามบินฮาเนดะ เป็นสนามบินนานาชาติแล้ว และยังเป็นสนามบินหลักของโตเกียวและประเทศญี่ปุ่น
สนามบินฮาเนดะได้มีการพัฒนาขึ้นและใหญ่โตขึ้นมาก มีสามอาคารผู้โดยสารเช่นเดียวกับสถานีวีไอพี ในปีปีนึงมีผู้โดยสารราว 60 ล้านคนมาใช้สนามบินที่นี่ และได้รับการยกย่องว่าเป็นสนามบินที่ดีที่สุดติด 1 ใน 3 ของเอเชีย และมีคาดการณ์ว่าในอนาคต จะมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเป็น 100 ล้านคน ต่อปี
Posted by mod at
19:58
│Comments(0)
2015年09月30日
ことしの冬はバターが足りそう
ตามข่าวที่เคยได้เผยแพร่ไปเมื่อประมาณเดือน พ.ค. ที่ผ่านมาว่าญี่ปุ่นอาจต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนเนยอีกครั้งและส่งผลต่อการใช้เป็นส่วนประกอบทำเค้กทั่วประเทศ เหมือนกับเมื่อปีที่แล้วที่เนยขาดตลาดหนักถึงขั้นเกลี้ยงชั้นวางขายในซูเปอร์มาร์เก็ต ทำให้บรรดาเจ้าของร้านค้าในญี่ปุ่นถึงกับเครียดสำหรับปัญหาเรื่องการขาดแคลนเนยอยู่ในตอนนี้ แม้แต่ในเมืองใหญ่ๆ ก็ยังมีซุปเปอร์มาเก็ตที่ไม่มีเนยจะขายด้วย ขาดแคลนหนักถึงขนาดทำให้ภาครัฐต้องเร่งนำเข้าโดยด่วน ขณะที่บางร้านต้องจำกัดจำนวนให้ซื้อได้แค่คนละหนึ่งก้อนเท่านั้น
สมาคมผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมในญี่ปุ่นแถลงเตือนว่า ปริมาณความต้องการบริโภคเนยมีมากกว่าที่วางจำหน่ายถึงกว่า 7,000 ตัน ทำให้รัฐบาลต้องเตรียมสั่งนำเข้าเป็นการฉุกเฉิน ภาวะขาดแคลนเนยเมื่อปีที่แล้ว ทำให้ผู้ค้าขายลำบากอย่างมากโดยเฉพาะในช่วงเทศกาลคริสต์มาสที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้า ทำให้ขณะนี้เริ่มมีการบ่นให้เห็นกันตามโซเชียลถึงการขาดแคลนเนยตอนนี้ นายโยชิมาสะ ฮายาชิ รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรกล่าวว่า รัฐบาลวางแผนนำเข้าเนยไว้แล้ว และจะเปิดเผยมาตรการฉุกเฉินในรายละเอียดภายในสัปดาห์นี้ เมื่อปีที่แล้วญี่ปุ่นนำเข้าเนย 7,000 ตันเมื่อเดือนพฤษภาคม และอีก 3,000 ตันในเดือนกันยายน
เมื่อวันที่ 29 กันยายนที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรฯ ได้ออกมาเปิดเผยว่าในฤดูหนาวปีนี้น่ามีเนยเพียงพอต่อการบริโภค เหตุผลที่คาดว่าน่าจะเพียงพอก็คือผลผลิตของน้ำนมดิบที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเนยในฤดูร้อนปีนี้มีจำนวนมากขึ้น แถมยังมีการนำเข้าเนยเพิ่มขึ้นอีก 1 หมื่นตันด้วย
สำหรับเหตุผลนึงที่ทำให้เนยไม่เพียงพอ เพราะมีคนกล่าวว่ามีร้านค้าอย่างเช่นร้านทำเค้กได้ซื้อเนยตุนไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะเกรงว่าเนยจะขาดแคลน
แต่กระทรวงเกษตรฯ ก็ได้ออกมากล่าวย้ำว่า “จะพยายามทำให้ทุกคนสามารถซื้อเนยได้โดยไม่ต้องกังวลใดๆ ทั้งสิ้น"
จากแหล่งข่าว NHK
สมาคมผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมในญี่ปุ่นแถลงเตือนว่า ปริมาณความต้องการบริโภคเนยมีมากกว่าที่วางจำหน่ายถึงกว่า 7,000 ตัน ทำให้รัฐบาลต้องเตรียมสั่งนำเข้าเป็นการฉุกเฉิน ภาวะขาดแคลนเนยเมื่อปีที่แล้ว ทำให้ผู้ค้าขายลำบากอย่างมากโดยเฉพาะในช่วงเทศกาลคริสต์มาสที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้า ทำให้ขณะนี้เริ่มมีการบ่นให้เห็นกันตามโซเชียลถึงการขาดแคลนเนยตอนนี้ นายโยชิมาสะ ฮายาชิ รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรกล่าวว่า รัฐบาลวางแผนนำเข้าเนยไว้แล้ว และจะเปิดเผยมาตรการฉุกเฉินในรายละเอียดภายในสัปดาห์นี้ เมื่อปีที่แล้วญี่ปุ่นนำเข้าเนย 7,000 ตันเมื่อเดือนพฤษภาคม และอีก 3,000 ตันในเดือนกันยายน
เมื่อวันที่ 29 กันยายนที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรฯ ได้ออกมาเปิดเผยว่าในฤดูหนาวปีนี้น่ามีเนยเพียงพอต่อการบริโภค เหตุผลที่คาดว่าน่าจะเพียงพอก็คือผลผลิตของน้ำนมดิบที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเนยในฤดูร้อนปีนี้มีจำนวนมากขึ้น แถมยังมีการนำเข้าเนยเพิ่มขึ้นอีก 1 หมื่นตันด้วย
สำหรับเหตุผลนึงที่ทำให้เนยไม่เพียงพอ เพราะมีคนกล่าวว่ามีร้านค้าอย่างเช่นร้านทำเค้กได้ซื้อเนยตุนไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะเกรงว่าเนยจะขาดแคลน
แต่กระทรวงเกษตรฯ ก็ได้ออกมากล่าวย้ำว่า “จะพยายามทำให้ทุกคนสามารถซื้อเนยได้โดยไม่ต้องกังวลใดๆ ทั้งสิ้น"
จากแหล่งข่าว NHK
Posted by mod at
15:40
│Comments(0)
2015年09月28日
和食
ยูเนสโกขึ้นทะเบียน วัฒนธรรมการปรุงอาหารญี่ปุ่นที่เรียกกันในภาษาญี่ปุ่นว่า " 和食 (Washoku) ให้เป็นมรดกโลก
องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้ "和食 (Washoku)" กรรมวิธีการปรุงและรับประทานอาหารในแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 5 ธ.ค.ว่าองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประกาศในการประชุมที่อาร์เซอร์ไบจัน เมื่อวันพุธ ขึ้นทะเบียน "วาโชกุ" ซึ่งเป็นวัฒนธรรมการปรุงอาหารตามแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น โดยใช้วัตถุดิบตามฤดูกาลมาประกอบอาหารให้มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ รวมถึงขั้นตอนการรับประทานที่เฉพาะตัว ให้เป็น "มรดกโลกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม"
นอกจากนี้แม้ยูเนสโกจะรับรองอาหารจากเม็กซิโกและตุรกีให้เป็นมรดกโลกด้วย แต่ถือเป็นการขึ้นทะเบียนเฉพาะอาหาร ไม่ใช่กรรมวิธีการปรุง ทำให้ วาโชกุ สร้างประวัติศาสตร์เป็นศิลปะการประกอบและรับประทานอาหารประจำชาติรายการที่ 2 ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากยูเนสโก ต่อจากศิลปะการประกอบและรับประทานอาหารของฝรั่งเศส
นายมาซาโนริ อาโอยากิ ข้าหลวงสำนักงานวัฒนธรรมญี่ปุ่น กล่าวต่อที่ประชุมยูเนสโก แสดงความหวังว่า การผ่านการรับรองจากยูเนสโกจะเป็นแรงผลักดันให้มีการอนุรักษ์กรรมวิธีการประกอบอาหารในแบบเฉพาะญี่ปุ่นเอาไว้ และเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมญี่ปุ่นให้เป็นที่รู้จักทั่วโลกเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่งด้วย
แล้วอาหารญี่ปุ่นเองก็ได้รับความนิยมสูงมากขึ้นเรื่อยๆ แม้แต่ในต่างประเทศ จึงทำให้เกิดมีร้านอาหารญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศราวๆ 8 หมื่น 9 พันร้านจากกการสำรวจเมื่อช่วงสิ้นเดือนกรกฎาคมปีนี้ โดยเพิ่มขึ้นจาก 2 ปีที่แล้วถึง 1.6 เท่าเลยทีเดียว
ดังนั้นจึงมีร้านอาหารที่อยู่ในต่างประเทศที่ใช้วิธีการปรุงและการผลิตที่ต่างจากอาหารญี่ปุ่นแบบต้นตำรับเพิ่มมากขึ้นด้วย ยกตัวอย่างเช่น จะมีร้านที่ไม่ใช้ “น้ำซุปที่เรียกว่า Dashi” (หัวน้ำเชื้อ น้ำสต็อก) ”ที่จำเป็นต้องใส่ในซอส " ทสึยุ " (Tsuyu - つゆ ปรุงให้ออกรสเค็ม ๆ หวาน ๆ ) ในอุด้ง แต่ใส่เพียงแค่น้ำร้อนลงในซอสโชยุเท่านั้น
ด้วยเหตุนี้ กระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมงจึงคิดว่าอยากให้ชาวต่างชาติเข้าใจวัฒนธรรมของอาหารญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น จึงตัดสินใจที่จะออกใบประกาศรับรองให้กับคนต่างชาติที่เห็นว่าสามารถปรุงอาหารญี่ปุ่นได้ถูกต้องตามวิธีการปรุงอาหารแบบต้นตำรับ การที่จะได้รับใบประกาศรับรองนี้จะต้องเรียนในโรงเรียนอาชีวะด้านการทำอาหารญี่ปุ่น, ได้เรียนทำอาหารในร้านอาหารญี่ปุ่น, และตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
โดยกระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมงตัดสินใจว่าจะออกใบประกาศรับรองให้ตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นไป
แหล่งข่าวจาก NHK
日本料理を作(つく)ることができる外国人(がいこくじん)に認定(にんてい)証(しょう)を出(だ)す
[09月25日 11時30分]
日本料理は外国(がいこく)でも人気(にんき)が高(たか)くなっています。2013年(ねん)12月(がつ)にユネスコ=UNESCOの無形(むけい)文化遺産(ぶんかいさん)にもなりました。外国(がいこく)にある日本料理(にほんりょうり)の店(みせ)は、ことし7月(がつ)の終(お)わりには約(やく)8万(まん)9000になって、2年(ねん)前(まえ)の1.6倍(ばい)に増(ふ)えています。
しかし外国(がいこく)では、昔(むかし)からの日本料理(にほんりょうり)とは違(ちが)うやり方(かた)で料理(りょうり)を作(つく)っている店(みせ)が増(ふ)えています。例(たと)えば、うどんのつゆに必要(ひつよう)な「だし」を使(つか)わないで、しょうゆにお湯(ゆ)を入(い)れただけの店(みせ)もあります。
このため、農林水産省(のうりんすいさんしょう)は日本料理(にほんりょうり)の文化(ぶんか)をもっと知(し)ってほしいと考(かんが)えて、昔(むかし)からのやり方(かた)で日本料理(にほんりょうり)を作(つく)ることができると認(みと)めた外国人(がいこくじん)に「認定(にんてい)証(しょう)」を出(だ)すことにしました。決(き)まった期間(きかん)、日本(にっぽん)の店(みせ)で料理(りょうり)を習(なら)ったり、日本料理(にほんりょうり)の専門学校(せんもんがっこう)で勉強(べんきょう)したりすると、この認定(にんてい)証(しょう)をもらうことができます。
農林水産省(のうりんすいさんしょう)は2016年度(ねんど)から認定(にんてい)証(しょう)を出(だ)すことにしています。
องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้ "和食 (Washoku)" กรรมวิธีการปรุงและรับประทานอาหารในแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 5 ธ.ค.ว่าองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประกาศในการประชุมที่อาร์เซอร์ไบจัน เมื่อวันพุธ ขึ้นทะเบียน "วาโชกุ" ซึ่งเป็นวัฒนธรรมการปรุงอาหารตามแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น โดยใช้วัตถุดิบตามฤดูกาลมาประกอบอาหารให้มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ รวมถึงขั้นตอนการรับประทานที่เฉพาะตัว ให้เป็น "มรดกโลกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม"
นอกจากนี้แม้ยูเนสโกจะรับรองอาหารจากเม็กซิโกและตุรกีให้เป็นมรดกโลกด้วย แต่ถือเป็นการขึ้นทะเบียนเฉพาะอาหาร ไม่ใช่กรรมวิธีการปรุง ทำให้ วาโชกุ สร้างประวัติศาสตร์เป็นศิลปะการประกอบและรับประทานอาหารประจำชาติรายการที่ 2 ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากยูเนสโก ต่อจากศิลปะการประกอบและรับประทานอาหารของฝรั่งเศส
นายมาซาโนริ อาโอยากิ ข้าหลวงสำนักงานวัฒนธรรมญี่ปุ่น กล่าวต่อที่ประชุมยูเนสโก แสดงความหวังว่า การผ่านการรับรองจากยูเนสโกจะเป็นแรงผลักดันให้มีการอนุรักษ์กรรมวิธีการประกอบอาหารในแบบเฉพาะญี่ปุ่นเอาไว้ และเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมญี่ปุ่นให้เป็นที่รู้จักทั่วโลกเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่งด้วย
แล้วอาหารญี่ปุ่นเองก็ได้รับความนิยมสูงมากขึ้นเรื่อยๆ แม้แต่ในต่างประเทศ จึงทำให้เกิดมีร้านอาหารญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศราวๆ 8 หมื่น 9 พันร้านจากกการสำรวจเมื่อช่วงสิ้นเดือนกรกฎาคมปีนี้ โดยเพิ่มขึ้นจาก 2 ปีที่แล้วถึง 1.6 เท่าเลยทีเดียว
ดังนั้นจึงมีร้านอาหารที่อยู่ในต่างประเทศที่ใช้วิธีการปรุงและการผลิตที่ต่างจากอาหารญี่ปุ่นแบบต้นตำรับเพิ่มมากขึ้นด้วย ยกตัวอย่างเช่น จะมีร้านที่ไม่ใช้ “น้ำซุปที่เรียกว่า Dashi” (หัวน้ำเชื้อ น้ำสต็อก) ”ที่จำเป็นต้องใส่ในซอส " ทสึยุ " (Tsuyu - つゆ ปรุงให้ออกรสเค็ม ๆ หวาน ๆ ) ในอุด้ง แต่ใส่เพียงแค่น้ำร้อนลงในซอสโชยุเท่านั้น
ด้วยเหตุนี้ กระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมงจึงคิดว่าอยากให้ชาวต่างชาติเข้าใจวัฒนธรรมของอาหารญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น จึงตัดสินใจที่จะออกใบประกาศรับรองให้กับคนต่างชาติที่เห็นว่าสามารถปรุงอาหารญี่ปุ่นได้ถูกต้องตามวิธีการปรุงอาหารแบบต้นตำรับ การที่จะได้รับใบประกาศรับรองนี้จะต้องเรียนในโรงเรียนอาชีวะด้านการทำอาหารญี่ปุ่น, ได้เรียนทำอาหารในร้านอาหารญี่ปุ่น, และตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
โดยกระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมงตัดสินใจว่าจะออกใบประกาศรับรองให้ตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นไป
แหล่งข่าวจาก NHK
日本料理を作(つく)ることができる外国人(がいこくじん)に認定(にんてい)証(しょう)を出(だ)す
[09月25日 11時30分]
日本料理は外国(がいこく)でも人気(にんき)が高(たか)くなっています。2013年(ねん)12月(がつ)にユネスコ=UNESCOの無形(むけい)文化遺産(ぶんかいさん)にもなりました。外国(がいこく)にある日本料理(にほんりょうり)の店(みせ)は、ことし7月(がつ)の終(お)わりには約(やく)8万(まん)9000になって、2年(ねん)前(まえ)の1.6倍(ばい)に増(ふ)えています。
しかし外国(がいこく)では、昔(むかし)からの日本料理(にほんりょうり)とは違(ちが)うやり方(かた)で料理(りょうり)を作(つく)っている店(みせ)が増(ふ)えています。例(たと)えば、うどんのつゆに必要(ひつよう)な「だし」を使(つか)わないで、しょうゆにお湯(ゆ)を入(い)れただけの店(みせ)もあります。
このため、農林水産省(のうりんすいさんしょう)は日本料理(にほんりょうり)の文化(ぶんか)をもっと知(し)ってほしいと考(かんが)えて、昔(むかし)からのやり方(かた)で日本料理(にほんりょうり)を作(つく)ることができると認(みと)めた外国人(がいこくじん)に「認定(にんてい)証(しょう)」を出(だ)すことにしました。決(き)まった期間(きかん)、日本(にっぽん)の店(みせ)で料理(りょうり)を習(なら)ったり、日本料理(にほんりょうり)の専門学校(せんもんがっこう)で勉強(べんきょう)したりすると、この認定(にんてい)証(しょう)をもらうことができます。
農林水産省(のうりんすいさんしょう)は2016年度(ねんど)から認定(にんてい)証(しょう)を出(だ)すことにしています。
Posted by mod at
19:46
│Comments(0)
2015年09月24日
北海道新幹線
新幹線 来年3月26日から運転を始める
[09月21日 15時00分]
JR北海道(ほっかいどう)は、来年(らいねん)3月(がつ)26日(にち)の土曜日(どようび)から北海道(ほっかいどう)新幹線(しんかんせん)の運転(うんてん)を始(はじ)めると発表(はっぴょう)しました。
北海道(ほっかいどう)新幹線(しんかんせん)は「新(しん)函館(はこだて)北斗(ほくと)駅(えき)」と「東京駅(とうきょうえき)」や「仙台(せんだい)駅(えき)」などの間(あいだ)を
1日(にち)に13回(かい)往復(おうふく)します。新幹線(しんかんせん)は「東京駅(とうきょうえき)」と「新(しん)函館(はこだて)北斗(ほくと)駅(えき)」の間(あいだ)を約(やく)4時間(じかん)で走(はし)ります。
北海道(ほっかいどう)の「新(しん)函館(はこだて)北斗(ほくと)駅(えき)」と「木古内駅(きこないえき)」、青森県(あおもりけん)の「奥(おく)津軽(つがる)いまべつ駅(えき)」の3つの駅(えき)はもうできています。今(いま)は運転手(うんてんしゅ)などの訓練(くんれん)をしています。
JR北海道(ほっかいどう)は、北海道(ほっかいどう)と本州(ほんしゅう)の間(あいだ)の海(うみ)の下(した)にある青函(せいかん)トンネルで事故(じこ)などが起(お)きたときに、客(きゃく)を安全(あんぜん)に避難(ひなん)させる方法(ほうほう)なども考(かんが)えています。
เมื่อวานได้อ่านข่าวจาก NHK มาค่ะ เขาอัพเดตเกี่ยวกับชินคันเซ็นฮอกไกโด รถไฟหัวกระสุนสู่ภาคเหนือของญี่ปุ่น
โดย JR JR Hokkaido ได้ออกมาประกาศว่า Hokkaido Shinkansen จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการครั้งแรกในวันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2016 โดย Hokkaido Shinkansen จะเดินรถไปกลับ 13 เที่ยวต่อวัน ระหว่างสถานี Shin Hakodate-Hokuto กับสถานี Tokyo และสถานี Sendai เป็นต้น
Hokkaido Shinkansen จะใช้เวลาในการวิ่งระหว่างสถานี Tokyo กับสถานี Shin Hakodate-Hokuto ประมาณ 4 ชั่วโมง
ในตอนนี้ 3 สถานีคือสถานีShin Hakodate-Hokuto กับสถานี Kikonai ของฮอคไกโด, สถานีรถไฟ Okutsugaruimabetsu ของอาโอโมริได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ตอนนี้ได้มีการฝึกปฏิบัติการอย่างเช่นคนขับรถไฟอยู่
แถม JR Hokkaido ยังได้เตรียมการในการพาผู้โดยสารหลบภัยออกมาได้อย่างปลอดภัย ในกรณีเช่นอุบัติเหตุในอุโมงค์ Seikan ที่อยู่ใต้ทะเลระหว่างเกาะฮอนชูกับฮอคไกโดไว้เรียบร้อยแล้วด้วย
ก่อนอื่นเรามารู้จัก Hokkaido Shinkansen กันก่อน
Hokkaido Shinkansen จะเป็นรถไฟหัวกระสุนรุ่น H5 ที่มีต้นแบบมาจาก E5 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันของสาย Tohoku Shinkansen ภาพลักษณ์ภายนอกนั้นแทบจะไม่ต่างจากเดิม เพียงแต่แถบสีที่อยู่บนลำตัวของขบวนนั้นจะเป็นสีม่วง ที่ใช้สีของลาเวนเดอร์ อันเป็นสัญลักษณ์ของเกาะฮอกไกโดนั่นเอง ส่วนการตกแต่งภายในนั้นจะใช้ image ของ หิมะและน้ำแข็ง Drift ice มาใช้ในการออกแบบ มีทั้งหมด 10 โบกี้โดยสาร ความเร็วสูงสุด 260 กม/ชม. ที่ให้บริการโดยการรถไฟญี่ปุ่น หรือ เจแปน เรลเวย์ ที่เป็นรถไฟเจอาร์ สายล่าสุด โดยจะเชื่อมเกาะเหนือสุดของญี่ปุ่น คือฮอกไกโด กับเกาะฮอนชู เกาะใหญ่ที่สุดของประเทศ ในภาคตะวันออก Hokkaido Shinkansen จะเริ่มที่สถานี ชินอาโอโมริ จ. อาโอโมริ และไปจบที่สถานีซับโปโร บนเกาะฮอกไกโด โดยมีสถานีทั้งหมด 9 สถานี
โดยเส้นทางแรกที่จะเปิดใช้ คือ เส้นทางระหว่าง สถานีชินอาโอโมริ ถึงสถานีชินฮาโกะดาเตะโฮะคุโตะ มีกำหนดการ การเปิดให้บริการในเดือน มีนาคม ปี 2016 สามารถเดินทางจากโตเกียวไป ฮาโกดาเตะ ด้วยรถไฟชินคันเซ็นใหม่ ด้วยเวลาประมาณ 4 ชม. 9 นาที (ในปัจุบันก็มีรถไฟสายไคเคียวที่วิ่งลอดผ่านอุโมงค์เซคัง ซึ่งเป็นอุโมงค์ใต้น้ำ จากอาโอโมริ ไปฮอกไกโด อยู่แล้ว ) และหลังจากนั้น โครงการของเจ้ารถไฟหัวกระสุน Shinkansen Hokkaido คันใหม่นี้ ก็จะขยายเส้นทางออกไปเรื่อย และมีแผนจะแล้วเสร็จ ทั้งสาย ที่สถานนีซับโปโร ในเดือนมิถุนายน ปี 2035 โดยคาดว่า เราจะสามารถเดินทางโดยรถไฟชินคันเซ็นตัวใหม่นี้ จากโตเกียว ไปถึงซับโปโร ในเวลา 5 ชม. 1 นาที ดังกำหนดการด้านล่างนี้
Shin-Hakodate-Hokuto – Shin-Aomori ใช้เวลา 1 ชั่วโมง
Shin-Hakodate-Hokuto – Sendai ใช้เวลา 2.5 ชั่วโมง
Shin-Hakodate-Hokuto – Tokyo ใช้เวลา 4 ชั่วโมง
ความน่าตื่นเต้นของรถไฟสายนี้ คือ เส้นทางจะผ่านพื้นที่เป็นหุบเขา ที่มีหิมะตก เป็นบรรยากาอันแสนโรแมนติก และยังผ่านช่วงที่เป็นอุโมงค์เซกัน อันเป็นอุโมงค์ใต้น้ำ
(แผนแนวของอุโมงค์ Seikan Tunnel)
ภายในตัวรถ
Ordinary class
Gran Class
Green Class
(ขอบคุณภาพจาก tetsudo-shimbun)
ทดลองวิ่งเป็นครั้งแรก ที่สถานี Shin Hakodate-Hokuto
(ขอบคุณภาพจาก Asahi Shimbun)
Hokkaido Shinkansen สถานีแรก Shin-Hakodate-Hokuto พร้อมเปิดตัวปี 2016
ใครวางแผนมาเที่ยวฮอกไกโดปีหน้า หลังเดือนมีนาคม ก็อย่าลืมวางโปรแกรม ไปใช้บริการชินคันเซ็นคันใหม่ตัวนี้ด้วยนะคะ
[09月21日 15時00分]
JR北海道(ほっかいどう)は、来年(らいねん)3月(がつ)26日(にち)の土曜日(どようび)から北海道(ほっかいどう)新幹線(しんかんせん)の運転(うんてん)を始(はじ)めると発表(はっぴょう)しました。
北海道(ほっかいどう)新幹線(しんかんせん)は「新(しん)函館(はこだて)北斗(ほくと)駅(えき)」と「東京駅(とうきょうえき)」や「仙台(せんだい)駅(えき)」などの間(あいだ)を
1日(にち)に13回(かい)往復(おうふく)します。新幹線(しんかんせん)は「東京駅(とうきょうえき)」と「新(しん)函館(はこだて)北斗(ほくと)駅(えき)」の間(あいだ)を約(やく)4時間(じかん)で走(はし)ります。
北海道(ほっかいどう)の「新(しん)函館(はこだて)北斗(ほくと)駅(えき)」と「木古内駅(きこないえき)」、青森県(あおもりけん)の「奥(おく)津軽(つがる)いまべつ駅(えき)」の3つの駅(えき)はもうできています。今(いま)は運転手(うんてんしゅ)などの訓練(くんれん)をしています。
JR北海道(ほっかいどう)は、北海道(ほっかいどう)と本州(ほんしゅう)の間(あいだ)の海(うみ)の下(した)にある青函(せいかん)トンネルで事故(じこ)などが起(お)きたときに、客(きゃく)を安全(あんぜん)に避難(ひなん)させる方法(ほうほう)なども考(かんが)えています。
เมื่อวานได้อ่านข่าวจาก NHK มาค่ะ เขาอัพเดตเกี่ยวกับชินคันเซ็นฮอกไกโด รถไฟหัวกระสุนสู่ภาคเหนือของญี่ปุ่น
โดย JR JR Hokkaido ได้ออกมาประกาศว่า Hokkaido Shinkansen จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการครั้งแรกในวันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2016 โดย Hokkaido Shinkansen จะเดินรถไปกลับ 13 เที่ยวต่อวัน ระหว่างสถานี Shin Hakodate-Hokuto กับสถานี Tokyo และสถานี Sendai เป็นต้น
Hokkaido Shinkansen จะใช้เวลาในการวิ่งระหว่างสถานี Tokyo กับสถานี Shin Hakodate-Hokuto ประมาณ 4 ชั่วโมง
ในตอนนี้ 3 สถานีคือสถานีShin Hakodate-Hokuto กับสถานี Kikonai ของฮอคไกโด, สถานีรถไฟ Okutsugaruimabetsu ของอาโอโมริได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ตอนนี้ได้มีการฝึกปฏิบัติการอย่างเช่นคนขับรถไฟอยู่
แถม JR Hokkaido ยังได้เตรียมการในการพาผู้โดยสารหลบภัยออกมาได้อย่างปลอดภัย ในกรณีเช่นอุบัติเหตุในอุโมงค์ Seikan ที่อยู่ใต้ทะเลระหว่างเกาะฮอนชูกับฮอคไกโดไว้เรียบร้อยแล้วด้วย
ก่อนอื่นเรามารู้จัก Hokkaido Shinkansen กันก่อน
Hokkaido Shinkansen จะเป็นรถไฟหัวกระสุนรุ่น H5 ที่มีต้นแบบมาจาก E5 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันของสาย Tohoku Shinkansen ภาพลักษณ์ภายนอกนั้นแทบจะไม่ต่างจากเดิม เพียงแต่แถบสีที่อยู่บนลำตัวของขบวนนั้นจะเป็นสีม่วง ที่ใช้สีของลาเวนเดอร์ อันเป็นสัญลักษณ์ของเกาะฮอกไกโดนั่นเอง ส่วนการตกแต่งภายในนั้นจะใช้ image ของ หิมะและน้ำแข็ง Drift ice มาใช้ในการออกแบบ มีทั้งหมด 10 โบกี้โดยสาร ความเร็วสูงสุด 260 กม/ชม. ที่ให้บริการโดยการรถไฟญี่ปุ่น หรือ เจแปน เรลเวย์ ที่เป็นรถไฟเจอาร์ สายล่าสุด โดยจะเชื่อมเกาะเหนือสุดของญี่ปุ่น คือฮอกไกโด กับเกาะฮอนชู เกาะใหญ่ที่สุดของประเทศ ในภาคตะวันออก Hokkaido Shinkansen จะเริ่มที่สถานี ชินอาโอโมริ จ. อาโอโมริ และไปจบที่สถานีซับโปโร บนเกาะฮอกไกโด โดยมีสถานีทั้งหมด 9 สถานี
โดยเส้นทางแรกที่จะเปิดใช้ คือ เส้นทางระหว่าง สถานีชินอาโอโมริ ถึงสถานีชินฮาโกะดาเตะโฮะคุโตะ มีกำหนดการ การเปิดให้บริการในเดือน มีนาคม ปี 2016 สามารถเดินทางจากโตเกียวไป ฮาโกดาเตะ ด้วยรถไฟชินคันเซ็นใหม่ ด้วยเวลาประมาณ 4 ชม. 9 นาที (ในปัจุบันก็มีรถไฟสายไคเคียวที่วิ่งลอดผ่านอุโมงค์เซคัง ซึ่งเป็นอุโมงค์ใต้น้ำ จากอาโอโมริ ไปฮอกไกโด อยู่แล้ว ) และหลังจากนั้น โครงการของเจ้ารถไฟหัวกระสุน Shinkansen Hokkaido คันใหม่นี้ ก็จะขยายเส้นทางออกไปเรื่อย และมีแผนจะแล้วเสร็จ ทั้งสาย ที่สถานนีซับโปโร ในเดือนมิถุนายน ปี 2035 โดยคาดว่า เราจะสามารถเดินทางโดยรถไฟชินคันเซ็นตัวใหม่นี้ จากโตเกียว ไปถึงซับโปโร ในเวลา 5 ชม. 1 นาที ดังกำหนดการด้านล่างนี้
Shin-Hakodate-Hokuto – Shin-Aomori ใช้เวลา 1 ชั่วโมง
Shin-Hakodate-Hokuto – Sendai ใช้เวลา 2.5 ชั่วโมง
Shin-Hakodate-Hokuto – Tokyo ใช้เวลา 4 ชั่วโมง
ความน่าตื่นเต้นของรถไฟสายนี้ คือ เส้นทางจะผ่านพื้นที่เป็นหุบเขา ที่มีหิมะตก เป็นบรรยากาอันแสนโรแมนติก และยังผ่านช่วงที่เป็นอุโมงค์เซกัน อันเป็นอุโมงค์ใต้น้ำ
(แผนแนวของอุโมงค์ Seikan Tunnel)
ภายในตัวรถ
Ordinary class
Gran Class
Green Class
(ขอบคุณภาพจาก tetsudo-shimbun)
ทดลองวิ่งเป็นครั้งแรก ที่สถานี Shin Hakodate-Hokuto
(ขอบคุณภาพจาก Asahi Shimbun)
Hokkaido Shinkansen สถานีแรก Shin-Hakodate-Hokuto พร้อมเปิดตัวปี 2016
ใครวางแผนมาเที่ยวฮอกไกโดปีหน้า หลังเดือนมีนาคม ก็อย่าลืมวางโปรแกรม ไปใช้บริการชินคันเซ็นคันใหม่ตัวนี้ด้วยนะคะ
Posted by mod at
20:19
│Comments(0)
2015年09月23日
防災の日
ในเดือนกันยายนนั้น ช่วงครึ่งเดือนแรกของเดือนกันยายน ความกดอากาศในมหาสมุทรแปซิฟิกยังคงสูงอยู่ทำให้ช่วงปลายฤดูร้อน อากาศยังคงร้อนอยู่มาก แต่เมื่อผ่านช่วงกลางเดือนไปแล้ว อุณหภูมิในตอนเช้าและเย็นจะลดลง อากาศเริ่มมีลักษณะเหมือนอากาศในฤดูใบไม้ร่วงมากขึ้น ในญี่ปุ่นตอนกลางคืนในฤดูใบไม้ร่วง คนญี่ปุ่นจะรู้สึกเพลิดเพลินกับเสียงร้องอันไพเราะของจิ้งหรีด ตั๊กแตน และแมลงอื่น ๆ แต่สิ่งที่ต้องระวังก็คือในเดือนกันยายนยังเป็นเดือนที่มีไต้ฝุ่นมาก ทำให้เกิดน้ำท่วม เมื่อมีไต้ฝุ่นเคลื่อนตัวมาใกล้ประเทศญี่ปุ่นก็จะมีการถ่ายทอดรายงาน ความแรงของลม ความเร็วลม ปริมาณน้ำฝน ตลอดจนรายละเอียดอื่น ๆ เกี่ยกับไต้ฝุ่นทางโทรทัศน์และวิทยุตลอดวัน อย่างเมื่อตอนต้นเดือนกันยายนปีนี้ ญีปุ่นก็ต้องพบกับพายุ "เอตาว" ทำให้เกิดฝนตกหนักสุดในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดอุทกภัยใหญ่ในหลายส่วนของประเทศ บางแห่งน้ำท่วมสูงมิดอาคารชั้นล่าง และทางการต้องสั่งอพยพประชาชนกว่าแสนคนไปยังที่ปลอดภัย
ดังนั้นในวันที่ 1 กันยายนของทุกปีก็จะเป็นวัน 防災の日 (Bosai no hi) หรือวันป้องกันวินาศภัย จะมีการฝึกซ้อมหลบภัยตามโรงเรียน ที่ว่าการอำเภอ บริษัทและตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศญี่ปุ่น ที่ต้องมีการจัดให้วันที่ 1 กันยายน เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น ก็เพราะว่าเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ.1923 จากเมื่อวันที่ 1 กันยายน ปี 1923 ได้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ขึ้นในแถบคันโต วัดได้ค่าแมกนิจูดระหว่าง 7.9-8.2 ตามรายงานมีผู้เสียชีวิต 99,331 คน ผู้หายสาบสูญไป 43,476 คน ผู้บาดเจ็บ 103,733 คน บ้านเรือนเสียหาย 128,266 หลังคาเรือน บ้านที่ชำรุดเสียหาย 126,233 หลัง และบ้านที่ถูกไฟไหม้ 447,128 หลัง เพื่อป้องกันมิให้เกิดเรื่องน่าสลดใจดังกล่าวขึ้นอีก วันที่ 1 กันยายน จึงถูกประกาศให้เป็นวันป้องกันวินาศภัย ในวันนี้จะมีการซ้อมเพื่อทดสอบความพร้อมเมื่อเกิดแผ่นดินไหว และไฟไหม้ขึ้นทั่วประเทศ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะสวมหมวกนิรภัยและซ้อมภายใต้การกำกับดูแลของกองดับเพลิง
วันป้องกันวินาศภัย ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า
防災の日(ぼうさいのひ)
bousai no hi
คำว่า 防災 คือ การป้องกันภัยจากธรรมชาติ
防災訓練(ぼうさいくんれん)
bousai kunren
คือการฝึกซ้อมป้องกันวินาศภัย
คำว่า 訓練 คือการฝึกซ้อม
การฝึกซ้อมของญี่ปุ่นนั้นเขาจริงจังกันมาก ถึงขนาดว่ามีเฮลิคอปเตอร์ มีสถานการณ์ที่ทุกคนต้องเตรียมตัวถ้าเกิดเรื่องต่างๆ ขึ้นจริง เพราะปัจจุบันชาวญี่ปุ่นทำงานและอาศัยอยู่ในเมืองที่แออัดคับคั่ง จึงต้องมีการซ้อมบนตึกสูงๆ และใช้เฮลิคอปเตอร์ด้วย
ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีภัยธรรมชาติมากมาย ทั้งไต้ฝุ่น แผ่นดินไหว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีการฝึกซ้อมการหลบภัยอย่างจริงจัง และมีการจัดเตรียมถุงกู้ภัยยามฉุกเฉินไว้ด้วย เรามาดูถุงกู้ภัยกันว่าข้างในมีอะไรกันบ้าง
ถุงกู้ภัย (非常持出袋ーひじょうもちだしぶくろ)
非常 (ひじょう) แปลว่า ฉุกเฉิน
持出 (もちだし) แปลว่า ถือติดตัวออกไป
袋 (ふくろ) แปลว่า ถุง
รวมความแล้วก็คือ ถุงกู้ภัยฉุกเฉินนั่นเอง
ถุงกู้ภัยจะประกอบด้วย
1. เทียนไข
2. ไม้ขีดไฟหรือไฟแช็ก
3. น้ำดื่ม
4. ขนมปังกรอบ
5. ไฟฉาย
6. กล่องปฐมพยาบาล
7. วิทยุ
8. ผ้าขนหนู
9. ผ้าห่ม
10. ที่เปิดกระป๋อง
11. เงินสด
12. สมุดเงินฝาก
13. บัตรเครดิต
ถึงแม้ว่าจะมีภัยธรรมชาติมากมาย แต่ประเทศญี่ปุ่นก็ได้ภูมิประเทศที่สวยงามมาทดแทน ทำให้ยังเป็นประเทศที่ทุกคนใฝ่ฝันอยากไปเที่ยวอยู่เสมอ
ดังนั้นในวันที่ 1 กันยายนของทุกปีก็จะเป็นวัน 防災の日 (Bosai no hi) หรือวันป้องกันวินาศภัย จะมีการฝึกซ้อมหลบภัยตามโรงเรียน ที่ว่าการอำเภอ บริษัทและตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศญี่ปุ่น ที่ต้องมีการจัดให้วันที่ 1 กันยายน เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น ก็เพราะว่าเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ.1923 จากเมื่อวันที่ 1 กันยายน ปี 1923 ได้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ขึ้นในแถบคันโต วัดได้ค่าแมกนิจูดระหว่าง 7.9-8.2 ตามรายงานมีผู้เสียชีวิต 99,331 คน ผู้หายสาบสูญไป 43,476 คน ผู้บาดเจ็บ 103,733 คน บ้านเรือนเสียหาย 128,266 หลังคาเรือน บ้านที่ชำรุดเสียหาย 126,233 หลัง และบ้านที่ถูกไฟไหม้ 447,128 หลัง เพื่อป้องกันมิให้เกิดเรื่องน่าสลดใจดังกล่าวขึ้นอีก วันที่ 1 กันยายน จึงถูกประกาศให้เป็นวันป้องกันวินาศภัย ในวันนี้จะมีการซ้อมเพื่อทดสอบความพร้อมเมื่อเกิดแผ่นดินไหว และไฟไหม้ขึ้นทั่วประเทศ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะสวมหมวกนิรภัยและซ้อมภายใต้การกำกับดูแลของกองดับเพลิง
วันป้องกันวินาศภัย ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า
防災の日(ぼうさいのひ)
bousai no hi
คำว่า 防災 คือ การป้องกันภัยจากธรรมชาติ
防災訓練(ぼうさいくんれん)
bousai kunren
คือการฝึกซ้อมป้องกันวินาศภัย
คำว่า 訓練 คือการฝึกซ้อม
การฝึกซ้อมของญี่ปุ่นนั้นเขาจริงจังกันมาก ถึงขนาดว่ามีเฮลิคอปเตอร์ มีสถานการณ์ที่ทุกคนต้องเตรียมตัวถ้าเกิดเรื่องต่างๆ ขึ้นจริง เพราะปัจจุบันชาวญี่ปุ่นทำงานและอาศัยอยู่ในเมืองที่แออัดคับคั่ง จึงต้องมีการซ้อมบนตึกสูงๆ และใช้เฮลิคอปเตอร์ด้วย
ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีภัยธรรมชาติมากมาย ทั้งไต้ฝุ่น แผ่นดินไหว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีการฝึกซ้อมการหลบภัยอย่างจริงจัง และมีการจัดเตรียมถุงกู้ภัยยามฉุกเฉินไว้ด้วย เรามาดูถุงกู้ภัยกันว่าข้างในมีอะไรกันบ้าง
ถุงกู้ภัย (非常持出袋ーひじょうもちだしぶくろ)
非常 (ひじょう) แปลว่า ฉุกเฉิน
持出 (もちだし) แปลว่า ถือติดตัวออกไป
袋 (ふくろ) แปลว่า ถุง
รวมความแล้วก็คือ ถุงกู้ภัยฉุกเฉินนั่นเอง
ถุงกู้ภัยจะประกอบด้วย
1. เทียนไข
2. ไม้ขีดไฟหรือไฟแช็ก
3. น้ำดื่ม
4. ขนมปังกรอบ
5. ไฟฉาย
6. กล่องปฐมพยาบาล
7. วิทยุ
8. ผ้าขนหนู
9. ผ้าห่ม
10. ที่เปิดกระป๋อง
11. เงินสด
12. สมุดเงินฝาก
13. บัตรเครดิต
ถึงแม้ว่าจะมีภัยธรรมชาติมากมาย แต่ประเทศญี่ปุ่นก็ได้ภูมิประเทศที่สวยงามมาทดแทน ทำให้ยังเป็นประเทศที่ทุกคนใฝ่ฝันอยากไปเที่ยวอยู่เสมอ
Posted by mod at
20:19
│Comments(0)
2015年09月22日
敬老の日
ถ้าให้พวกเราลองคิดดูว่าประเทศไหนที่มีประชากรอายุยืนยาวและมีสุขภาพดีที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของโลก หลายคนคงนึกถึงประเทศญี่ปุ่นใช่มัยค่ะ ฉันเองก็คิดเช่นนั้น
ญี่ปุ่นนับเป็นประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับประชากรผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก ส่วนหนึ่งก็เพราะรัฐบาลตระหนักถึงจำนวนประชากรเด็กที่ลดต่ำลงขัดกับผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ และอยากให้คนส่วนใหญ่ที่แยกออกมาอยู่อาศัยเป็นครอบครัวเดี่ยวมีโอกาสกลับไปเยี่ยมพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ที่ตนเคารพรักในวันสำคัญ จึงกำหนดให้มี วันเคารพผู้สูงอายุ เรียกว่า เคโร โนะ ฮิ(敬老の日) ซึ่งเดิมตรงกับวันที่ 15 กันยายน และเป็นวันหยุดราชการมาตั้งแต่ปี 1966 ก่อนที่ปัจจุบันจะกำหนดให้ตรงกับวันจันทร์ที่ 3 ของเดือนกันยายนของทุกปี
ภาษาญี่ปุ่นเรียกวันนี้ว่า
敬老の日(けいろうのひ)
keiroo no hi
แปล:วันเคารพผู้สูงอายุ
ซึ่งคันจินี้มาจากความหมายของสองคำนี้
尊敬(そんけい)ความเคารพ
老人(ろうじん)ผู้อาวุโส
นอกจากวันเคารพผู้สูงอายุแล้ว ประเทศญี่ปุ่นยังให้ความสำคัญกับการจัดงานฉลองเพื่อการมีอายุยืนยาวของผู้สูงอายุในช่วงวัยต่าง ๆ ด้วย ไม่เพียงแต่ฉลองการมีอายุยืนยาวให้กับผู้ที่มีอายุครบ 60 ปี และ 70 ปี ตามอย่างประเพณีของจีนเท่านั้น แต่ยังฉลองเมื่ออายุครบ 77 ปี 88 ปี และ 99 ปีด้วย เนื่องจากเลขซ้อนนี้เป็นที่นิยมในญี่ปุ่น เพราะเชื่อกันว่าจะมีโชคลาภเป็นสองเท่าในปีดังกล่าวด้วยดังนี้
☺ ครบรอบ 60 ปี เรียกว่า คันเรกิ (還暦 : 還 = กลับ 暦 = ปฏิทิน)
หมายถึง การเวียนมาบรรจบของปีนักษัตรที่เป็นปีเกิดของตนเองหลังจากอายุครบ 60 ปี
☺ ครบรอบ 70 ปี เรียกว่า โคกิ (古稀 : 古 = เก่า แก่ 稀 = หายาก)
มาจากการเปรียบเปรยว่า ในสมัยโบราณคนที่จะมีอายุยืนยาวถึง 70 ปีนั้นมีน้อย
☺ ครบรอบ 77 ปี เรียกว่า คิจุ (喜寿)
แปลตรงตัวว่า การฉลองอย่างปิติยินดี เนื่องจากตัวอักษร 喜 เมื่อเขียนหวัด ๆ จะคล้ายกับตัวอักษร 㐂 ที่เป็นเลข 7 (七) ซ้อนกัน
☺ ครบรอบ 80 ปี เรียกว่า ซันจุ (傘寿)
แปลตรงตัวว่า การฉลองร่ม เพราะอักษรคันจิของเลข 80 (八十) เขียนหวัด ๆ จะคล้ายกับตัวอักษร 仐 à 傘 หมายถึง ร่ม
☺ วันครบรอบ 99 ปี เรียกว่า ฮากุจุ (白寿)
แปลตรงตัวว่า งานฉลองสีขาว เพราะถ้าลบเส้นนอนด้านบนสุดจากตัวอักษร 百 ที่หมายถึง 100 ออกก็จะกลายเป็นตัวอักษร 白 ที่หมายถึง สีขาว
ในงานฉลองเพื่อการมีอายุยืนยาว ลูกหลานจะให้ผู้สูงอายุใส่เสื้อที่เรียกว่า ชันชังโกะ (ちゃんちゃんこ)
และหมวกที่เข้ากับเสื้อสีต่าง ๆ
ได้แก่ 60 ปี สีแดง 70 และ 77 ปี สีม่วง 80 ปี สีเหลือง (ทอง) และ 99 ปี สีขาว
พร้อมพัดสีขาว เพื่อไปงานเลี้ยงฉลองวันเกิดของตนตามช่วงวัย
70 และ 77 ปี สีม่วง
80 ปี สีเหลือง (ทอง)
ฉันได้ลองไปดูข้อมูลของวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ทำการวิจัยและเก็บข้อมูลของคนสูงอายุมาค่ะ
อัตราร้อยละของประชากรสูงอายุ (60 ปี+)
ต่อประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น
ปี ค.ศ. 1970 อัตราร้อยละของประชากรผู้สูงอายุ (60+ปี) ต่อประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่นมีร้อยละผู้สูงอายุเพศหญิง 11.5 และผู้สูงอายุเพศชายร้อยละ 9.8 นับเป็นอัตราร้อยละผู้สูงอายุที่สูงที่สุดในทวีปเอเชียในปี ค.ศ. 1970 หลังจากปี ค.ศ. 1995 อัตราร้อยละของประชากรสูงอายุ (60+ปี) ของประเทศญี่ปุ่นจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและค่อยๆ เพิ่มช้าลงหลังปี ค.ศ. 2025 ในปี ค.ศ. 2050 อัตราร้อยละของประชากรสูงอายุเพศหญิงของญี่ปุ่นมีเพิ่มเป็นร้อยละ 38.5 และผู้สูงอายุชายเพิ่มเป็นร้อยละ 32.9 นับว่าสูงเป็นอันดับที่สองในทวีปเอเชียรองจากฮ่องกง อัตราร้อยละของผู้สูงอายุเพศหญิงจะมีสูงกว่าผู้สูงอายุเพศชายเสมอ
ที่นี้เราลองมาดูข้อมูลของประเทศไทยกันบ้างนะคะ
อัตราร้อยละของผู้สูงอายุ (60 ปี+)
ต่อประชากรทั้งหมดของประเทศไทย
ปี ค.ศ.1970-2050
อัตราร้อยละของประชากรสูงอายุของประเทศไทยทั้งในอดีตและอนาคตมีลักษณะใกล้เคียงกับประเทศจีน ศรีลังกา คือในอดีตปี ค.ศ. 1970 อัตราร้อยละของผู้สูงอายุเพศหญิงมีร้อยละ 5.2 และเพศชายมีร้อยละ 4.4 ในปี ค.ศ. 1995 อัตราร้อยละของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเล็กน้อยคือเพศหญิงเพิ่มเป็นร้อยละ 8.4 เพศชายเพิ่มเป็นร้อยละ 6.8 หลังจากปี ค.ศ. 1995 เป็นต้นไป คือช่วงปี ค.ศ. 1995-2025 และช่วงปี ค.ศ. 2025-2050 จะเพิ่มขึ้นประมาณหนึ่งเท่าตัวทั้งสองช่วง โดยในปี ค.ศ. 2025 อัตราร้อยละของผู้สูงอายุเพศหญิงจะเพิ่มเป็นร้อยละ 18.0 และเพศชายเป็นร้อยละ 14.6 และในปี ค.ศ. 2050 ผู้สูงอายุเพศหญิงจะเพิ่มเป็นร้อยละ 26.9 และผู้สูงอายุเพศชายจะเพิ่มเป็นร้อยละ 22.7
ดูไปแล้วประเทศไทยก็มีอัตราผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วไม่แพ้กันเลยนะคะ แต่ประเทศไทยจะมีระบบการจัดการรองรับดูแลผู้สูงอายุได้ดีหรือเปล่านั้นก็ต้องค่อยๆ ดูกันไปนะคะ จากแหล่งข่าวเมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม ปีนี้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้เดินทางเข้าร่วมการประชุมระดับนโยบายด้านคนพิการ และผู้สูงอายุ ณ ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 12-16 พฤษภาคม 2558 ได้พบปะแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์กับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายของกระทรวง เช่น การดูแลผู้สูงอายุและคนพิการ การจัดสวัสดิการสังคม ได้เห็นการจัดระบบงานต่าง ๆ ตลอดจนเห็นความมุ่งมั่น ความตั้งใจทำงานของคนญี่ปุ่น และประเด็นการขยายอายุการเกษียณจาก 60 ปี เป็น 65 ปี ซึ่งตนเองเห็นด้วย เนื่องจากเป็นการเพิ่มคุณค่าและโอกาสให้ผู้สูงอายุ ที่เป็นคลังความรู้และมีกำลังสามารถปฏิบัติงานเพื่อสังคมได้ จึงอยากนำนโยบายนี้มาปรับใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานด้านผู้สูงอายุและคนพิการ ของกระทรวงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
ญี่ปุ่นนับเป็นประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับประชากรผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก ส่วนหนึ่งก็เพราะรัฐบาลตระหนักถึงจำนวนประชากรเด็กที่ลดต่ำลงขัดกับผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ และอยากให้คนส่วนใหญ่ที่แยกออกมาอยู่อาศัยเป็นครอบครัวเดี่ยวมีโอกาสกลับไปเยี่ยมพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ที่ตนเคารพรักในวันสำคัญ จึงกำหนดให้มี วันเคารพผู้สูงอายุ เรียกว่า เคโร โนะ ฮิ(敬老の日) ซึ่งเดิมตรงกับวันที่ 15 กันยายน และเป็นวันหยุดราชการมาตั้งแต่ปี 1966 ก่อนที่ปัจจุบันจะกำหนดให้ตรงกับวันจันทร์ที่ 3 ของเดือนกันยายนของทุกปี
ภาษาญี่ปุ่นเรียกวันนี้ว่า
敬老の日(けいろうのひ)
keiroo no hi
แปล:วันเคารพผู้สูงอายุ
ซึ่งคันจินี้มาจากความหมายของสองคำนี้
尊敬(そんけい)ความเคารพ
老人(ろうじん)ผู้อาวุโส
นอกจากวันเคารพผู้สูงอายุแล้ว ประเทศญี่ปุ่นยังให้ความสำคัญกับการจัดงานฉลองเพื่อการมีอายุยืนยาวของผู้สูงอายุในช่วงวัยต่าง ๆ ด้วย ไม่เพียงแต่ฉลองการมีอายุยืนยาวให้กับผู้ที่มีอายุครบ 60 ปี และ 70 ปี ตามอย่างประเพณีของจีนเท่านั้น แต่ยังฉลองเมื่ออายุครบ 77 ปี 88 ปี และ 99 ปีด้วย เนื่องจากเลขซ้อนนี้เป็นที่นิยมในญี่ปุ่น เพราะเชื่อกันว่าจะมีโชคลาภเป็นสองเท่าในปีดังกล่าวด้วยดังนี้
☺ ครบรอบ 60 ปี เรียกว่า คันเรกิ (還暦 : 還 = กลับ 暦 = ปฏิทิน)
หมายถึง การเวียนมาบรรจบของปีนักษัตรที่เป็นปีเกิดของตนเองหลังจากอายุครบ 60 ปี
☺ ครบรอบ 70 ปี เรียกว่า โคกิ (古稀 : 古 = เก่า แก่ 稀 = หายาก)
มาจากการเปรียบเปรยว่า ในสมัยโบราณคนที่จะมีอายุยืนยาวถึง 70 ปีนั้นมีน้อย
☺ ครบรอบ 77 ปี เรียกว่า คิจุ (喜寿)
แปลตรงตัวว่า การฉลองอย่างปิติยินดี เนื่องจากตัวอักษร 喜 เมื่อเขียนหวัด ๆ จะคล้ายกับตัวอักษร 㐂 ที่เป็นเลข 7 (七) ซ้อนกัน
☺ ครบรอบ 80 ปี เรียกว่า ซันจุ (傘寿)
แปลตรงตัวว่า การฉลองร่ม เพราะอักษรคันจิของเลข 80 (八十) เขียนหวัด ๆ จะคล้ายกับตัวอักษร 仐 à 傘 หมายถึง ร่ม
☺ วันครบรอบ 99 ปี เรียกว่า ฮากุจุ (白寿)
แปลตรงตัวว่า งานฉลองสีขาว เพราะถ้าลบเส้นนอนด้านบนสุดจากตัวอักษร 百 ที่หมายถึง 100 ออกก็จะกลายเป็นตัวอักษร 白 ที่หมายถึง สีขาว
ในงานฉลองเพื่อการมีอายุยืนยาว ลูกหลานจะให้ผู้สูงอายุใส่เสื้อที่เรียกว่า ชันชังโกะ (ちゃんちゃんこ)
และหมวกที่เข้ากับเสื้อสีต่าง ๆ
ได้แก่ 60 ปี สีแดง 70 และ 77 ปี สีม่วง 80 ปี สีเหลือง (ทอง) และ 99 ปี สีขาว
พร้อมพัดสีขาว เพื่อไปงานเลี้ยงฉลองวันเกิดของตนตามช่วงวัย
70 และ 77 ปี สีม่วง
80 ปี สีเหลือง (ทอง)
ฉันได้ลองไปดูข้อมูลของวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ทำการวิจัยและเก็บข้อมูลของคนสูงอายุมาค่ะ
อัตราร้อยละของประชากรสูงอายุ (60 ปี+)
ต่อประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น
ปี ค.ศ. 1970 อัตราร้อยละของประชากรผู้สูงอายุ (60+ปี) ต่อประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่นมีร้อยละผู้สูงอายุเพศหญิง 11.5 และผู้สูงอายุเพศชายร้อยละ 9.8 นับเป็นอัตราร้อยละผู้สูงอายุที่สูงที่สุดในทวีปเอเชียในปี ค.ศ. 1970 หลังจากปี ค.ศ. 1995 อัตราร้อยละของประชากรสูงอายุ (60+ปี) ของประเทศญี่ปุ่นจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและค่อยๆ เพิ่มช้าลงหลังปี ค.ศ. 2025 ในปี ค.ศ. 2050 อัตราร้อยละของประชากรสูงอายุเพศหญิงของญี่ปุ่นมีเพิ่มเป็นร้อยละ 38.5 และผู้สูงอายุชายเพิ่มเป็นร้อยละ 32.9 นับว่าสูงเป็นอันดับที่สองในทวีปเอเชียรองจากฮ่องกง อัตราร้อยละของผู้สูงอายุเพศหญิงจะมีสูงกว่าผู้สูงอายุเพศชายเสมอ
ที่นี้เราลองมาดูข้อมูลของประเทศไทยกันบ้างนะคะ
อัตราร้อยละของผู้สูงอายุ (60 ปี+)
ต่อประชากรทั้งหมดของประเทศไทย
ปี ค.ศ.1970-2050
อัตราร้อยละของประชากรสูงอายุของประเทศไทยทั้งในอดีตและอนาคตมีลักษณะใกล้เคียงกับประเทศจีน ศรีลังกา คือในอดีตปี ค.ศ. 1970 อัตราร้อยละของผู้สูงอายุเพศหญิงมีร้อยละ 5.2 และเพศชายมีร้อยละ 4.4 ในปี ค.ศ. 1995 อัตราร้อยละของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเล็กน้อยคือเพศหญิงเพิ่มเป็นร้อยละ 8.4 เพศชายเพิ่มเป็นร้อยละ 6.8 หลังจากปี ค.ศ. 1995 เป็นต้นไป คือช่วงปี ค.ศ. 1995-2025 และช่วงปี ค.ศ. 2025-2050 จะเพิ่มขึ้นประมาณหนึ่งเท่าตัวทั้งสองช่วง โดยในปี ค.ศ. 2025 อัตราร้อยละของผู้สูงอายุเพศหญิงจะเพิ่มเป็นร้อยละ 18.0 และเพศชายเป็นร้อยละ 14.6 และในปี ค.ศ. 2050 ผู้สูงอายุเพศหญิงจะเพิ่มเป็นร้อยละ 26.9 และผู้สูงอายุเพศชายจะเพิ่มเป็นร้อยละ 22.7
ดูไปแล้วประเทศไทยก็มีอัตราผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วไม่แพ้กันเลยนะคะ แต่ประเทศไทยจะมีระบบการจัดการรองรับดูแลผู้สูงอายุได้ดีหรือเปล่านั้นก็ต้องค่อยๆ ดูกันไปนะคะ จากแหล่งข่าวเมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม ปีนี้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้เดินทางเข้าร่วมการประชุมระดับนโยบายด้านคนพิการ และผู้สูงอายุ ณ ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 12-16 พฤษภาคม 2558 ได้พบปะแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์กับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายของกระทรวง เช่น การดูแลผู้สูงอายุและคนพิการ การจัดสวัสดิการสังคม ได้เห็นการจัดระบบงานต่าง ๆ ตลอดจนเห็นความมุ่งมั่น ความตั้งใจทำงานของคนญี่ปุ่น และประเด็นการขยายอายุการเกษียณจาก 60 ปี เป็น 65 ปี ซึ่งตนเองเห็นด้วย เนื่องจากเป็นการเพิ่มคุณค่าและโอกาสให้ผู้สูงอายุ ที่เป็นคลังความรู้และมีกำลังสามารถปฏิบัติงานเพื่อสังคมได้ จึงอยากนำนโยบายนี้มาปรับใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานด้านผู้สูงอายุและคนพิการ ของกระทรวงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
Posted by mod at
20:08
│Comments(0)
2015年09月21日
ความเชื่อเรื่อง เกลือ?
ความเชื่อเกี่ยวกับ เกลือ?
คนโบราณมีความ เชื่อเรื่อง “เกลือ” ว่าแง่ของการเป็นลางสังหรณ์ เกลือเป็นเครื่องปรุงรสอาหารที่ให้ความเค็มกับอาหารทุกชนิด เกลือสามารถใช้มักอาหารไม่ให้เน่าเปื่อยได้จึงมีความเชื่อว่า การพกเกลือติดตัวจะทำให้ป้องกันภูตผีปีสาจได้ นอกจากนั้นเกลือยังสามารถเป็นลางบอกเหตุได้ดี โดยคนสมัยโบราณเชื่อว่า เมื่อใครก็ตามฝันเห็นเกลือ ในอีกไม่กี่วัน จะได้รับโชคลาภที่น่าพอใจ ทำนายฝัน
ในบางประเทศเชื่อว่าในวันขึ้นปีใหม่หากเอาเกลือโรยไว้เหนือธรณีประตู จะทำให้แคล้วคลาดและมีโชคลาภตลอดปี
เกลือจึงสามารถขจัดสิ่งอัปมงคลและสิ่งชั่วร้ายได้ อย่างเช่นในสมัยโบราณหากมีการไปงานศพ เมื่อกลับมาถึงบ้าน ก่อนที่จะเข้าบ้านจะมีการโรยเกลือที่ทางเข้าบ้านเสียก่อนจึงค่อยก้าวเท้า เข้าบ้าน เนื่องจากชาวญี่ปุ่น(โบราณ)เชื่อกันว่า เกลือเป็นสิ่งบริสุทธิ์เมื่อก้าวข้ามทางเกลือไปแล้ว เกลือจะชำระล้างสิ่งไม่ดีที่ติดตัวมากับงานศพ แล้วยังเชื่ออีกว่า เกลือสามารถจะไล่ผีได้
แล้วประวัติที่มาที่ไปของเกลือนั้นก็อ้างอิงมาจากศาสนาชินโตของญี่ปุ่น โดยเราต้องย้อนไปถึงตำนานเก่าแก่ของญี่ปุ่นเกี่ยวกับทวยเทพ “นิฮองงิ” มีเทพที่ชื่อว่า เจ้าชายอิซานางิ ได้เดินทางไปยังดินแดนแห่งความมืดใต้พิภพ เพื่อตามหาเจ้าหญิงอิซานามิ ในเมืองที่เป็นดินแดนแห่งความตาย แล้วเมื่อครั้นไปช่วยกลับมายังโลกมนุษย์แล้ว เจ้าชายอิซานางิได้อาบน้ำเกลือเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ ซึ่งน้ำเกลือก็ได้ชำระล้างมลทินชั่วร้ายที่ติดตัวจนหมด ดังนั้นจากตำนานเก่าแก่ได้ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงปัจจุบันลูกหลานชาวญี่ปุ่นจึงมีความเชื่อกันว่า “เกลือ” สามารถขับไล่สิ่งที่ชั่วร้ายให้ออกไปได้ แม้กระทั่งพิธีกรรมตามวัดหรือศาลเจ้า ก็ยังมีการโปรยเกลือก็เพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้ายไม่ให้มาย่ำกรายในระหว่างการทำพิธีด้วยนั่นเอง
นอกจากนี้เกลือก็ยังใช้ในการโรยรอบสนามซูโม่ก่อนการแข่ง เพราะมีเหตุผล 2 ประการที่ทำคือ
1. เพื่อชำระล้างร่างกายและจิตใจของผู้เข้าแข่งขัน แล้วยังทำให้การแข่งขันบริสุทธิ์ยุติธรรมอีกด้วย
2. การแข่งขันซูโม่ เมื่อผู้แข่งคนใดดันคู่ต่อสู้ออกนอกเส้นสนามได้คือผู้ชนะ เพราะฉะนั้นผู้ที่ถูกดันออกนอกสนามจะมีเกลือติดที่ฝ่าเท้า เป็นการง่ายต่อการตัดสิน
แล้วเคยสังเกตุกันมัยคะ เวลาไปร้านอาหารญี่ปุ่น เราจะเห็นตรงมุมของหน้าร้านทั้งซ้ายและขวามีถ้วยเล็ก ๆ ใส่เกลือเม็ดละเอียดจัดทรงตั้งขึ้นเป็นรูปคล้ายภูเขา เขาเอามาตั้งไว้ทำไมกัน?
นั่นก็มาจากความเชื่อตั้งแต่โบราณ มี 2 เหตุผลก็คือ
1. ในสมัยโบราณ เวลาโดยสารคนญี่ปุ่นจะใช้วัวลาก เป็นยานพาหนะ ร้านค้าต่างๆก็เลยเอาเกลือมาโรยไว้หน้าร้านเผื่อว่าบางทีวัวจะหยุด เพื่อมากินเกลือหน้าร้านของตน ก็เหมือนเป็นการเรียกผู้โดยสาร หรือเรียกลูกค้าให้มากินที่ร้านของตนเยอะๆนั้นเอง
2.ตามความเชื่อทางไสยศาสตร์ เค้าว่า เกลือสามารถขจัดสิ่งอัปมงคลและสิ่งชั่วร้ายได้ ตามร้านค้าจึงเอามาโรยเพื่อไม่ให้สิ่งชั่วร้ายเข้ามาในร้านได้นั่นเอง
ส่วนชาวตะวันตกมีความเชื่อว่าถ้าหากใครทำเกลือหก หรือตั้งใจทำตกระหว่างปรุงอาหารจะเป็นลางร้าย ที่อาจหมายถึงการสูญเสียญาติพี่น้องในครอบครัว
ความเชื่อเรื่องนี้ก็คือเกลืออยู่ในฐานะของสิ่งศักดิ์สิทธิ ชาวตะวันตกเชื่อว่าทุกย่างก้าวของเราล้วนแต่ถูกจับจ้องด้วยดวงตาปีศาจ
เกลือจะเป็นสิ่งที่ช่วยปราบปีศาจโดยการโรยเกลือไปทางด้านหลังของไหล่ซ้ายคือทำโดยจู่ๆสาดเกลือไปที่ไหล่ซ้ายเลยโดยไม่ให้ทันตั้งตัว ซึ่งจะเหมือนการสาดเกลือเข้าใส่ตาปีศาจ
ทำให้ปีศาจได้รับความเจ็บปวด และหนีไป และการกระทำนี้ยังจะช่วยนำเอาโชคร้ายออกไปด้วย
ปัจจุบันนี้บางคนได้เอาเกลือไส่ในกระเป๋าบ้าง ไส่บรรจุสร้อยคล้องคอบ้าง คือไม่ว่าจะเอาไปด้วยวิธีใดก็ถือว่าปลอดภัยจากแน่นอนจากปีศาจและสิ่งร้ายๆ เพราะเอาเกลือไปด้วยทุกทีแค่โรยเกลือข้ามไหล่ซ้ายโชคร้ายก็หายหมดแล้ว
คนโบราณมีความ เชื่อเรื่อง “เกลือ” ว่าแง่ของการเป็นลางสังหรณ์ เกลือเป็นเครื่องปรุงรสอาหารที่ให้ความเค็มกับอาหารทุกชนิด เกลือสามารถใช้มักอาหารไม่ให้เน่าเปื่อยได้จึงมีความเชื่อว่า การพกเกลือติดตัวจะทำให้ป้องกันภูตผีปีสาจได้ นอกจากนั้นเกลือยังสามารถเป็นลางบอกเหตุได้ดี โดยคนสมัยโบราณเชื่อว่า เมื่อใครก็ตามฝันเห็นเกลือ ในอีกไม่กี่วัน จะได้รับโชคลาภที่น่าพอใจ ทำนายฝัน
ในบางประเทศเชื่อว่าในวันขึ้นปีใหม่หากเอาเกลือโรยไว้เหนือธรณีประตู จะทำให้แคล้วคลาดและมีโชคลาภตลอดปี
เกลือจึงสามารถขจัดสิ่งอัปมงคลและสิ่งชั่วร้ายได้ อย่างเช่นในสมัยโบราณหากมีการไปงานศพ เมื่อกลับมาถึงบ้าน ก่อนที่จะเข้าบ้านจะมีการโรยเกลือที่ทางเข้าบ้านเสียก่อนจึงค่อยก้าวเท้า เข้าบ้าน เนื่องจากชาวญี่ปุ่น(โบราณ)เชื่อกันว่า เกลือเป็นสิ่งบริสุทธิ์เมื่อก้าวข้ามทางเกลือไปแล้ว เกลือจะชำระล้างสิ่งไม่ดีที่ติดตัวมากับงานศพ แล้วยังเชื่ออีกว่า เกลือสามารถจะไล่ผีได้
แล้วประวัติที่มาที่ไปของเกลือนั้นก็อ้างอิงมาจากศาสนาชินโตของญี่ปุ่น โดยเราต้องย้อนไปถึงตำนานเก่าแก่ของญี่ปุ่นเกี่ยวกับทวยเทพ “นิฮองงิ” มีเทพที่ชื่อว่า เจ้าชายอิซานางิ ได้เดินทางไปยังดินแดนแห่งความมืดใต้พิภพ เพื่อตามหาเจ้าหญิงอิซานามิ ในเมืองที่เป็นดินแดนแห่งความตาย แล้วเมื่อครั้นไปช่วยกลับมายังโลกมนุษย์แล้ว เจ้าชายอิซานางิได้อาบน้ำเกลือเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ ซึ่งน้ำเกลือก็ได้ชำระล้างมลทินชั่วร้ายที่ติดตัวจนหมด ดังนั้นจากตำนานเก่าแก่ได้ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงปัจจุบันลูกหลานชาวญี่ปุ่นจึงมีความเชื่อกันว่า “เกลือ” สามารถขับไล่สิ่งที่ชั่วร้ายให้ออกไปได้ แม้กระทั่งพิธีกรรมตามวัดหรือศาลเจ้า ก็ยังมีการโปรยเกลือก็เพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้ายไม่ให้มาย่ำกรายในระหว่างการทำพิธีด้วยนั่นเอง
นอกจากนี้เกลือก็ยังใช้ในการโรยรอบสนามซูโม่ก่อนการแข่ง เพราะมีเหตุผล 2 ประการที่ทำคือ
1. เพื่อชำระล้างร่างกายและจิตใจของผู้เข้าแข่งขัน แล้วยังทำให้การแข่งขันบริสุทธิ์ยุติธรรมอีกด้วย
2. การแข่งขันซูโม่ เมื่อผู้แข่งคนใดดันคู่ต่อสู้ออกนอกเส้นสนามได้คือผู้ชนะ เพราะฉะนั้นผู้ที่ถูกดันออกนอกสนามจะมีเกลือติดที่ฝ่าเท้า เป็นการง่ายต่อการตัดสิน
แล้วเคยสังเกตุกันมัยคะ เวลาไปร้านอาหารญี่ปุ่น เราจะเห็นตรงมุมของหน้าร้านทั้งซ้ายและขวามีถ้วยเล็ก ๆ ใส่เกลือเม็ดละเอียดจัดทรงตั้งขึ้นเป็นรูปคล้ายภูเขา เขาเอามาตั้งไว้ทำไมกัน?
นั่นก็มาจากความเชื่อตั้งแต่โบราณ มี 2 เหตุผลก็คือ
1. ในสมัยโบราณ เวลาโดยสารคนญี่ปุ่นจะใช้วัวลาก เป็นยานพาหนะ ร้านค้าต่างๆก็เลยเอาเกลือมาโรยไว้หน้าร้านเผื่อว่าบางทีวัวจะหยุด เพื่อมากินเกลือหน้าร้านของตน ก็เหมือนเป็นการเรียกผู้โดยสาร หรือเรียกลูกค้าให้มากินที่ร้านของตนเยอะๆนั้นเอง
2.ตามความเชื่อทางไสยศาสตร์ เค้าว่า เกลือสามารถขจัดสิ่งอัปมงคลและสิ่งชั่วร้ายได้ ตามร้านค้าจึงเอามาโรยเพื่อไม่ให้สิ่งชั่วร้ายเข้ามาในร้านได้นั่นเอง
ส่วนชาวตะวันตกมีความเชื่อว่าถ้าหากใครทำเกลือหก หรือตั้งใจทำตกระหว่างปรุงอาหารจะเป็นลางร้าย ที่อาจหมายถึงการสูญเสียญาติพี่น้องในครอบครัว
ความเชื่อเรื่องนี้ก็คือเกลืออยู่ในฐานะของสิ่งศักดิ์สิทธิ ชาวตะวันตกเชื่อว่าทุกย่างก้าวของเราล้วนแต่ถูกจับจ้องด้วยดวงตาปีศาจ
เกลือจะเป็นสิ่งที่ช่วยปราบปีศาจโดยการโรยเกลือไปทางด้านหลังของไหล่ซ้ายคือทำโดยจู่ๆสาดเกลือไปที่ไหล่ซ้ายเลยโดยไม่ให้ทันตั้งตัว ซึ่งจะเหมือนการสาดเกลือเข้าใส่ตาปีศาจ
ทำให้ปีศาจได้รับความเจ็บปวด และหนีไป และการกระทำนี้ยังจะช่วยนำเอาโชคร้ายออกไปด้วย
ปัจจุบันนี้บางคนได้เอาเกลือไส่ในกระเป๋าบ้าง ไส่บรรจุสร้อยคล้องคอบ้าง คือไม่ว่าจะเอาไปด้วยวิธีใดก็ถือว่าปลอดภัยจากแน่นอนจากปีศาจและสิ่งร้ายๆ เพราะเอาเกลือไปด้วยทุกทีแค่โรยเกลือข้ามไหล่ซ้ายโชคร้ายก็หายหมดแล้ว
Posted by mod at
20:07
│Comments(0)
2015年09月18日
秋 ฤดูแห่งการเปลี่ยนสีของใบไม้
ปีๆ หนึ่งเร็วมากเลยนะคะ เพิ่งเข้าช่วงหน้าร้อนไปไม่นาน อีกไม่กี่วันก็จะเริ่มเข้าฤดูใบไม้ร่วงของญี่ปุ่นแล้ว ราวๆ วันที่ 23 กันยายนของทุกปี
พอย่างเข้าเดือนก.ย. แม้อากาศยังคงร้อนอยู่ แต่ในความรู้สึกของคนญี่ปุ่น ฤดูร้อนได้สิ้นสุดลงแล้ว สำหรับคนญี่ปุ่นแล้วฤดูใบไม้ร่วงคือฤดูแห่งการเปลี่ยนสีของใบไม้ (紅葉 โคโย) ฤดูใบไม้ร่วงในญีปุ่นอากาศจะเปลี่ยนแปลงได้ง่ายมาก จนมีคำกล่าวว่า
"男心と秋の空" (おとこごころとあきのそら otoko gokoro to aki no sora) : 秋の天候は変わりやすいものだが、男の心も同じように変わりやすく移り気だということ。
"ใจชายดั่งท้องฟ้าในฤดูใบไม้ร่วง"
เป็นคำเปรียบเทียบว่า ใจของผู้ชายเปลี่ยนแปลงได้ง่ายราวกับท้องฟ้าในฤดูใบไม้ร่วง
โดยเฉพาะมักจะหมายถึงจิตใจรักหรือความเจ้าชู้ของผู้ชาย
นอกจากนั้นก็ยังมีสำนวนว่า
秋荒れ半作 (あきあれはんさく aki are hansaku)
ฤดูใบไม้ร่วงแปรปรวน ผลผลิตครึ่งเดียว
เป็นคำสอนว่าฤดูใบไม้ร่วงซึ่งเป็นฤดูเก็บเกี่ยว มักจะมีดินฟ้าอากาศแปรปรวน และอาจทำให้ผลผลิตของไร่นามีเพียงครึ่งเดียว
ญี่ปุ่นนั้นฤดูใบไม้ร่วงจะอยู่ในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน : ช่วงนี้อากาศกำลังเย็นสบาย ใบไม้ค่อยๆเปลี่ยนสีจากเขียวเป็นแดง ส้ม และเหลือง จนได้ชื่อว่าฤดูใบไม้แดง ผู้คนก็จะออกไปชมดอกไม้เปลี่ยนสีตามสวนและตามสถานที่ต่างๆ กันอย่างคึกคักจัดได้ว่าเป็นฤดูที่มีสีสันที่สุดตามป่าเขาค่ะ เหมาะที่จะไปเที่ยวตามชนบทเพื่อชมความงามตามธรรมชาติ และสัมผัสอากาศที่กำลังเย็นสบาย ช่วงนี้มีเทศกาลดอกเบญจมาสเป็นงานเทศกาลเด่นค่ะ เพราะด้วยเป็นฤดูที่คาบเกี่ยวระหว่างฤดูฝนตก ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ราวเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม กับฤดูหนาว เดือนพฤศจิกายน (ฤดูปลายต้นฝนหนาว) ทำให้อากาศเย็นกำลังดี แต่มีฝนตกบ้างเป็นบางเวลาค่ะ
สำหรับญี่ปุ่นนั้นเขาจะมีวันแบ่งฤดูกาลด้วย โดยวันแบ่งฤดูกาลช่วงฤดูใบไม้ร่วงนั้นคือวันที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากันในหนึ่งปีมีสองวัน เรียกว่า “วันชุนบุน” (ราววันที่ 21 มีนาคม) กับ “วันชูบุน” (ราววันที่ 23 กันยายน) เป็นวันหยุดราชการและวันก่อนหน้าหลังสามวันรวมทั้งหมดเป็น 7 วัน เรียกว่า “โอะฮิงัน” (สัปดาห์วิษุวัติ) คนญี่ปุ่นจะพากันไปไหว้สุสานบรรพบุรุษ โดยนิยมนำดอกไม้ธูปเทียน พร้อมอาหารคาวหวานไปที่หลุมฝังศพของบรรพบุรุษเพื่อเซ่นไหว้
ซึ่งประเพณีนี้ไม่มีทั้งในประเทศจีนและประเทศอินเดีย ในสุภาษิตญี่ปุ่นกล่าวไว้ว่า “ความร้อนกับความหนาวจะสิ้นสุดลงเมื่อถึงช่วงโอะฮิงัน” หมายความว่า ช่วงนี้เป็นจุดแบ่งเขตเวลาที่บอกให้รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลอย่างชัดเจน
คำว่า “โอะฮิงัน” (お彼岸) เป็นคำทางพุทธศาสนา มาจากคำว่า “ฮิงัน” (彼岸)หรือ “ชิงัน” (此岸) คำว่า “ฮิงัน” หมายถึง สวรรค์ชั้นสุขาวดี หรือสถานที่บรรลุมรรคผลหลุดพ้นจากความหมกมุ่นลุ่มหลง ส่วนคำว่า “ชิงัน” หมายถึง โลกปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความโลภโกรธหลง คนญี่ปุ่นเข้าใจว่าดินแดนแห่งสุขาวดีนี้อยู่ทางทิศตะวันตกอันไกลโพ้นของประเทศญี่ปุ่น (น่าจะหมายถึงประเทศอินเดีย) การรำลึกถึงวิญญาณบรรพบุรุษที่เชื่อว่าสถิตอยู่ ณ สวรรค์ชั้นสุขาวดี ในช่วงที่พระอาทิตย์กำลังจะตกดิน เป็นจุดเริ่มต้นของเทศกาลฮิงันอันเป็นธรรมเนียมเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 9
สิ่งที่คนญี่ปุ่นนิยมนำไปไหว้ในงานเทศกาลช่วงโอะฮิงันมากที่สุดเรียกว่า “ขนมโบตะโมจิ” หรือ “ขนมโอะฮางิ” เป็นขนมที่นำข้าวสวยมาบดหยาบๆ จนเหมือนข้าวเหนียวแล้วคลุกถั่วแดงบด แป้งถั่วเหลือง หรืองาดำบด ขนมทั้งสองอย่างนั้นเป็นขนมอย่างเดียวกัน แต่ขนมที่กินช่วงโอะฮิงันในฤดูใบไม้ผลิ เรียกว่า “ขนมโบตะโมจิ” ส่วนขนมที่กินในฤดูใบไม้ร่วง เรียกว่า “ขนมโอะฮางิ” เนื่องจากดอกไม้ที่บานในฤดูใบไม้ผลิคือ ดอกโบตั๋น ส่วนดอกไม้ที่บานในฤดูใบไม้ร่วงคือ ดอกฮางิ นอกจากนี้ ขนมโบตะโมจิยังเป็นตัวแทนของอาหารพิเศษที่มีรสหวานซึ่งนานๆ จะได้มีโอกาสลิ้มรสสักครั้ง จึงเกิดสำนวนเรียกโชคลาภที่บังเอิญได้มาโดยไม่คาดฝันว่า “โบตะโมจิที่หล่นลงมาจากหิ้ง”
ขนมโบตะโมจิ
ขนมโอะฮางิ
คำว่า โบตะโมจิถูกใช้ในสำนวนญี่ปุ่นหลายสำนวนเช่น 棚から牡丹餅 (tanakara botamochi) ขนมโบตะโมจิหล่นจากบนหิ้ง เป็นคำเปรียบเปรยว่าการที่มีโชคโดยที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน โดยไม่ต้องออกแรงใดๆ เฉกเช่นเดียวกับการที่นอนเล่นอยู่ใกล้ๆหิ้ง แล้วอยู่ดีๆก็มีขนมโมจิหล่นลงมาให้กิน
คำพ้อง :棚牡丹(たなぼた)/勿怪の幸い/ 開いた口へ牡丹餅
สุภาษิตไทย :ส้มหล่น
หรือ
戌亥の夕立と叔母御の牡丹餅は来ぬためし無し (inui no yuudachi to obago no botamochi wa konu tameshi nashi ) แปลตรงๆว่า ฝนยามเย็นในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ กับขนมโมจิไส้ถั่วแดงของป้าและน้า เป็นสิ่งที่ไม่เคยไม่มา ความหมายคือ ฝนที่เริ่มตกทางตะวันตกเฉียงเหนือ จะกลายเป็นฝนที่ตกหนัก และมุ่งหน้ามาทางนี้เสมอ เช่นเดียวกับ ป้าและน้าที่จะรักเอ็นดูหลาน และมีของมาฝากอยู่เสมอ เป็นสำนวนเปรียบเทียบกับเรื่องที่ย่อมต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เป็นต้น
พอย่างเข้าเดือนก.ย. แม้อากาศยังคงร้อนอยู่ แต่ในความรู้สึกของคนญี่ปุ่น ฤดูร้อนได้สิ้นสุดลงแล้ว สำหรับคนญี่ปุ่นแล้วฤดูใบไม้ร่วงคือฤดูแห่งการเปลี่ยนสีของใบไม้ (紅葉 โคโย) ฤดูใบไม้ร่วงในญีปุ่นอากาศจะเปลี่ยนแปลงได้ง่ายมาก จนมีคำกล่าวว่า
"男心と秋の空" (おとこごころとあきのそら otoko gokoro to aki no sora) : 秋の天候は変わりやすいものだが、男の心も同じように変わりやすく移り気だということ。
"ใจชายดั่งท้องฟ้าในฤดูใบไม้ร่วง"
เป็นคำเปรียบเทียบว่า ใจของผู้ชายเปลี่ยนแปลงได้ง่ายราวกับท้องฟ้าในฤดูใบไม้ร่วง
โดยเฉพาะมักจะหมายถึงจิตใจรักหรือความเจ้าชู้ของผู้ชาย
นอกจากนั้นก็ยังมีสำนวนว่า
秋荒れ半作 (あきあれはんさく aki are hansaku)
ฤดูใบไม้ร่วงแปรปรวน ผลผลิตครึ่งเดียว
เป็นคำสอนว่าฤดูใบไม้ร่วงซึ่งเป็นฤดูเก็บเกี่ยว มักจะมีดินฟ้าอากาศแปรปรวน และอาจทำให้ผลผลิตของไร่นามีเพียงครึ่งเดียว
ญี่ปุ่นนั้นฤดูใบไม้ร่วงจะอยู่ในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน : ช่วงนี้อากาศกำลังเย็นสบาย ใบไม้ค่อยๆเปลี่ยนสีจากเขียวเป็นแดง ส้ม และเหลือง จนได้ชื่อว่าฤดูใบไม้แดง ผู้คนก็จะออกไปชมดอกไม้เปลี่ยนสีตามสวนและตามสถานที่ต่างๆ กันอย่างคึกคักจัดได้ว่าเป็นฤดูที่มีสีสันที่สุดตามป่าเขาค่ะ เหมาะที่จะไปเที่ยวตามชนบทเพื่อชมความงามตามธรรมชาติ และสัมผัสอากาศที่กำลังเย็นสบาย ช่วงนี้มีเทศกาลดอกเบญจมาสเป็นงานเทศกาลเด่นค่ะ เพราะด้วยเป็นฤดูที่คาบเกี่ยวระหว่างฤดูฝนตก ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ราวเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม กับฤดูหนาว เดือนพฤศจิกายน (ฤดูปลายต้นฝนหนาว) ทำให้อากาศเย็นกำลังดี แต่มีฝนตกบ้างเป็นบางเวลาค่ะ
สำหรับญี่ปุ่นนั้นเขาจะมีวันแบ่งฤดูกาลด้วย โดยวันแบ่งฤดูกาลช่วงฤดูใบไม้ร่วงนั้นคือวันที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากันในหนึ่งปีมีสองวัน เรียกว่า “วันชุนบุน” (ราววันที่ 21 มีนาคม) กับ “วันชูบุน” (ราววันที่ 23 กันยายน) เป็นวันหยุดราชการและวันก่อนหน้าหลังสามวันรวมทั้งหมดเป็น 7 วัน เรียกว่า “โอะฮิงัน” (สัปดาห์วิษุวัติ) คนญี่ปุ่นจะพากันไปไหว้สุสานบรรพบุรุษ โดยนิยมนำดอกไม้ธูปเทียน พร้อมอาหารคาวหวานไปที่หลุมฝังศพของบรรพบุรุษเพื่อเซ่นไหว้
ซึ่งประเพณีนี้ไม่มีทั้งในประเทศจีนและประเทศอินเดีย ในสุภาษิตญี่ปุ่นกล่าวไว้ว่า “ความร้อนกับความหนาวจะสิ้นสุดลงเมื่อถึงช่วงโอะฮิงัน” หมายความว่า ช่วงนี้เป็นจุดแบ่งเขตเวลาที่บอกให้รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลอย่างชัดเจน
คำว่า “โอะฮิงัน” (お彼岸) เป็นคำทางพุทธศาสนา มาจากคำว่า “ฮิงัน” (彼岸)หรือ “ชิงัน” (此岸) คำว่า “ฮิงัน” หมายถึง สวรรค์ชั้นสุขาวดี หรือสถานที่บรรลุมรรคผลหลุดพ้นจากความหมกมุ่นลุ่มหลง ส่วนคำว่า “ชิงัน” หมายถึง โลกปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความโลภโกรธหลง คนญี่ปุ่นเข้าใจว่าดินแดนแห่งสุขาวดีนี้อยู่ทางทิศตะวันตกอันไกลโพ้นของประเทศญี่ปุ่น (น่าจะหมายถึงประเทศอินเดีย) การรำลึกถึงวิญญาณบรรพบุรุษที่เชื่อว่าสถิตอยู่ ณ สวรรค์ชั้นสุขาวดี ในช่วงที่พระอาทิตย์กำลังจะตกดิน เป็นจุดเริ่มต้นของเทศกาลฮิงันอันเป็นธรรมเนียมเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 9
สิ่งที่คนญี่ปุ่นนิยมนำไปไหว้ในงานเทศกาลช่วงโอะฮิงันมากที่สุดเรียกว่า “ขนมโบตะโมจิ” หรือ “ขนมโอะฮางิ” เป็นขนมที่นำข้าวสวยมาบดหยาบๆ จนเหมือนข้าวเหนียวแล้วคลุกถั่วแดงบด แป้งถั่วเหลือง หรืองาดำบด ขนมทั้งสองอย่างนั้นเป็นขนมอย่างเดียวกัน แต่ขนมที่กินช่วงโอะฮิงันในฤดูใบไม้ผลิ เรียกว่า “ขนมโบตะโมจิ” ส่วนขนมที่กินในฤดูใบไม้ร่วง เรียกว่า “ขนมโอะฮางิ” เนื่องจากดอกไม้ที่บานในฤดูใบไม้ผลิคือ ดอกโบตั๋น ส่วนดอกไม้ที่บานในฤดูใบไม้ร่วงคือ ดอกฮางิ นอกจากนี้ ขนมโบตะโมจิยังเป็นตัวแทนของอาหารพิเศษที่มีรสหวานซึ่งนานๆ จะได้มีโอกาสลิ้มรสสักครั้ง จึงเกิดสำนวนเรียกโชคลาภที่บังเอิญได้มาโดยไม่คาดฝันว่า “โบตะโมจิที่หล่นลงมาจากหิ้ง”
ขนมโบตะโมจิ
ขนมโอะฮางิ
คำว่า โบตะโมจิถูกใช้ในสำนวนญี่ปุ่นหลายสำนวนเช่น 棚から牡丹餅 (tanakara botamochi) ขนมโบตะโมจิหล่นจากบนหิ้ง เป็นคำเปรียบเปรยว่าการที่มีโชคโดยที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน โดยไม่ต้องออกแรงใดๆ เฉกเช่นเดียวกับการที่นอนเล่นอยู่ใกล้ๆหิ้ง แล้วอยู่ดีๆก็มีขนมโมจิหล่นลงมาให้กิน
คำพ้อง :棚牡丹(たなぼた)/勿怪の幸い/ 開いた口へ牡丹餅
สุภาษิตไทย :ส้มหล่น
หรือ
戌亥の夕立と叔母御の牡丹餅は来ぬためし無し (inui no yuudachi to obago no botamochi wa konu tameshi nashi ) แปลตรงๆว่า ฝนยามเย็นในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ กับขนมโมจิไส้ถั่วแดงของป้าและน้า เป็นสิ่งที่ไม่เคยไม่มา ความหมายคือ ฝนที่เริ่มตกทางตะวันตกเฉียงเหนือ จะกลายเป็นฝนที่ตกหนัก และมุ่งหน้ามาทางนี้เสมอ เช่นเดียวกับ ป้าและน้าที่จะรักเอ็นดูหลาน และมีของมาฝากอยู่เสมอ เป็นสำนวนเปรียบเทียบกับเรื่องที่ย่อมต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เป็นต้น
Posted by mod at
19:52
│Comments(0)
2015年09月17日
就職試験
เพื่อนๆ เคยได้ยินคำนี้หรือมัยคะ 就職試験 (しゅうしょくしけん)
就職試験 (しゅうしょくしけん - Shuushoku Shiken) คือการสอบเข้าทำงานนั่นเอง วันนี้ฉันได้อ่านข่าวของญี่ปุ่น NHK มาค่ะ
หัวข้อข่าวคือ 高校生の就職試験 始まる คือการเริ่มต้นการสอบเข้าทำงานของนักเรียนมัธยมปลาย
ตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย.นี้ได้มีการเริ้มต้นการสอบเข้าทำงานของนักเรียนมัธยมปลายที่จะจบการศึกษาในฤดูใบไม้ผลิปี 2016 ขึ้นแล้ว จากข้อมูลกระทรวงแรงงานของญี่ปุ่นเปิดเผยว่าในขณะนี้มีบริษัทที่ขาดพนักงานในการทำงานเพิ่มขึ้นจำนวนมาก แล้วก็มีบริษัทที่ต้องการรับนักเรียนมัธยมปลายเข้าทำงานด้วย นักเรียนมัธยมปลายจึงได้เข้ารับการสอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์จากบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านซุปเปอร์มาเก็ตในโตเกียว เพราะบริษัทเหล่านี้มีแผนการที่จะเปิดร้านเพิ่มขึ้นและมีแผนการที่จะเพิ่มพนักงานในปีหน้ามากกว่าปีนี้ด้วย แล้วพนักงานที่ทำงานในซุปเปอร์มาเก็ตก็ได้กล่าวว่า " คนที่จบการศึกษาในระดับมัธยมปลายคือกำลังสำคัญในการเป็นพนักงาน และคิดว่าอยากให้พวเขาเติบโตขึ้นมาเป็นพนังงานที่รับผิดชอบงานที่สำคัญในด้านต่างๆ และมาเป็นผู้จัดการร้านในอนาคตด้วย"
จากข่าวที่ได้อ่านมาจะเห็นว่าญี่ปุ่นเริ่มขาดแคลนแรงงานกันแล้ว ถึงขนาดว่ามีบริษัทอยากรับพนักงานที่จบม.ปลายกันเลยทีเดียว แต่ก็สะท้อนให้เห็นได้ว่า นักเรียนม.ปลายของเขามีศักยภาพและวุฒิภาวะมากพอที่จะเข้าทำงานกันได้แล้ว สำหรับนักเรียนไทยของเราล่ะคะ พร้อมแล้วหรือยัง?
就職試験 (しゅうしょくしけん - Shuushoku Shiken) คือการสอบเข้าทำงานนั่นเอง วันนี้ฉันได้อ่านข่าวของญี่ปุ่น NHK มาค่ะ
หัวข้อข่าวคือ 高校生の就職試験 始まる คือการเริ่มต้นการสอบเข้าทำงานของนักเรียนมัธยมปลาย
ตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย.นี้ได้มีการเริ้มต้นการสอบเข้าทำงานของนักเรียนมัธยมปลายที่จะจบการศึกษาในฤดูใบไม้ผลิปี 2016 ขึ้นแล้ว จากข้อมูลกระทรวงแรงงานของญี่ปุ่นเปิดเผยว่าในขณะนี้มีบริษัทที่ขาดพนักงานในการทำงานเพิ่มขึ้นจำนวนมาก แล้วก็มีบริษัทที่ต้องการรับนักเรียนมัธยมปลายเข้าทำงานด้วย นักเรียนมัธยมปลายจึงได้เข้ารับการสอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์จากบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านซุปเปอร์มาเก็ตในโตเกียว เพราะบริษัทเหล่านี้มีแผนการที่จะเปิดร้านเพิ่มขึ้นและมีแผนการที่จะเพิ่มพนักงานในปีหน้ามากกว่าปีนี้ด้วย แล้วพนักงานที่ทำงานในซุปเปอร์มาเก็ตก็ได้กล่าวว่า " คนที่จบการศึกษาในระดับมัธยมปลายคือกำลังสำคัญในการเป็นพนักงาน และคิดว่าอยากให้พวเขาเติบโตขึ้นมาเป็นพนังงานที่รับผิดชอบงานที่สำคัญในด้านต่างๆ และมาเป็นผู้จัดการร้านในอนาคตด้วย"
จากข่าวที่ได้อ่านมาจะเห็นว่าญี่ปุ่นเริ่มขาดแคลนแรงงานกันแล้ว ถึงขนาดว่ามีบริษัทอยากรับพนักงานที่จบม.ปลายกันเลยทีเดียว แต่ก็สะท้อนให้เห็นได้ว่า นักเรียนม.ปลายของเขามีศักยภาพและวุฒิภาวะมากพอที่จะเข้าทำงานกันได้แล้ว สำหรับนักเรียนไทยของเราล่ะคะ พร้อมแล้วหรือยัง?
Posted by mod at
20:12
│Comments(0)
2015年09月16日
栗
เมื่อวานพูดถึงเทศกาลไหว้พระจันทร์ของญี่ปุ่นแล้ว ทำให้นึกถึงเกาลัดขึ้นมา
เกาลัด หรือภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 栗 (Kuri) ปกติแล้วเกาลัคจะให้ผลผลิต เมื่อมีอายุได้ประมาณ 7 ปี คือเริ่มผลิดอกที่เป็นสีขาวนวลราวเดือนมิถุนายน จากนั้นดอกจะค่อย ๆ พัฒนากลายเป็นผลที่มองดูไกล ๆ แล้วจะมีลักษณะคล้ายกับผลเงาะที่มีขนสีเขียวปกคลุมโดยรอบ ซึ่งจะพัฒนาจนมีขนาดโตเท่ากับผลเงาะโรงเรียน จากนั้นเมื่อผลแก่ผิวนอกที่เป็นหนามคลุมก็จะกลายเป็นสีน้ำตาล และปริแยกออกเผยให้เห็นเม็ดเกาลัค ที่มีลูกกลม ๆ สีน้ำตาลดำ เรียงตัวกันอยู่ภายใน 3 - 5 เม็ด เมื่อนำไปคั่วและแกะเปลือกสีน้ำตาลดำออกมา ก็จะพบกับเนื้อในที่เป็นสีขาวขุ่น
เกาลัดเป็นผลไม้ในฤดูใบไม้ร่วง คือเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน จะออกผลตอนช่วงวันไหว้พระจันทร์ เมื่อเก็บมาแล้วจะนำมาต้มในน้ำเดือด ประมาณสามสิบนาที จนเนื้อข้างในนิ่ม หั่นครึ่งใช้ช้อนคว้านเนื้อกิน บางคนนิยมเอาไปทำเป็นข้าวอบเกาลัด ขนมญี่ปุ่น ที่กินกับชาเขียว บางชนิดก็ทำจากเกาลัด
ข้าวอบเกาลัด
นอกจากนี้ ยังนำมาทำเค้กมองบลังค์ ซึ่งเป็นเค้กที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ในหมู่คนญี่ปุ่น
ในช่วงวันปีใหม่ของญี่ปุ่น จะมีประเพณีการกินอาหารปีใหม่ ซึ่งในจำนวนนี้มีอาหารที่เรียกว่า คุริคินทง เป็นอาหารที่ทำจากเกาลัดและเผือกอยู่ด้วย
เกาลัดที่ยังเป็นสีเขียวอยู่
เกาลัดแกะเปลือกแล้ว
ร้านขายเกาลัดที่ญี่ปุ่น
มาดูขนมญี่ปุ่นน่ากินที่ทำจากเกาลัดกัน
วิธีแกะเกาลัดไม่ให้มือเจ็บคือ เราต้องมีตัวช่วยค่ะ
สำหรับคนไทย เรามักเห็นเกาลัดคั่วกันแถวเยาวราช มักจะมีเม็ดสีดำเล็กๆ คั่วรวมอยู่ด้วย หลายคนคิดว่าเป็นเมล็ดกาแฟจริงๆ แล้วไม่ใช่ เจ้าเม็ดสีดำเล็กนั้นคือเม็ดทรายขนาดประมาณ 3-5 มิลลิเมตร เป็นทรายที่ใช้ในการก่อสร้างหรือที่เห็นตามตู้ปลาสีออกน้ำตาล
พ่อค้าจะนำเอาทรายแห้งใส่ลงไปในกระบะใบใหญ่ พอทรายร้อนระอุได้ที่จนเป็นสีดำ ก็จะนำเอาลูกเกาลัดใส่ลงไป บางร้านเติมน้ำตาลทรายคั่วรวมกันให้ได้รสหวาน บางเจ้าเพิ่มกลิ่นหอมด้วย การใส่เมล็ดกาแฟคั่วรวมไป
เหตุผลที่ต้องใช้เม็ดทราย ก็เพราะเม็ดทรายช่วยเก็บความร้อนไว้ได้ ซึ่งดีนักสำหรับการทำให้เกาลัดสุกถึงเนื้อผลด้านใน เพราะหากสังเกตกันดีๆ เนื้อผลของเกาลัดนั้นจะไม่ติดกับเปลือก ดังนั้นการใช้ทรายที่ร้อนระอุตลอดเวลา จะช่วยให้เนื้อเกาลัดค่อยๆ สุก แต่ต้องหมั่นคนเพื่อไม่ให้เกาลัดไหม้ ซึ่งจะคั่วกันนานราว 30-40 นาที เม็ดทรายนั้นใช้ได้นานกว่า 1 เดือน เรียกว่าคั่ว เกาลัดได้หลายกระทะ จนทรายที่เป็นเม็ดเริ่มป่นเป็นผงนั่นแหล่ะจึงจะเปลี่ยนไปใช้เม็ดทรายชุดใหม่
นอกจากความอร่อยมันเคี้ยวเพลินแล้ว เกาลัคยังมีประโยชน์อีกมากมาย ทีนี้เรามาดูสรรพคุณของเกาลัดกันบ้าง มีการบอกเล่ามาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังหรือประมาณ เมื่อพันกว่าปีที่แล้วค่ะว่าเกาลัดเป็นอาหารธาตุอุ่น มีรสเค็ม ช่วยในการบำรุงไต โดยเฉพาะช่วงหน้าหนาว และก็ยังช่วยลดอาการปวดข้อด้วย เพราะว่าการทำงานของไต กับกระดูก ข้อเอ็นมีความสัมพันธ์กัน
แต่ก็มีข้อควรระวัง
- ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร เช่น ท้องอืดบ่อย ๆ อาหารไม่ย่อย ไม่ควรรับประทานเกาลัค
- ผู้ที่เป็นโรคไขข้ออักเสบ ร้อนใน ตาบวม ไม่ควรรับประทานเกาลัค
เกาลัด หรือภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 栗 (Kuri) ปกติแล้วเกาลัคจะให้ผลผลิต เมื่อมีอายุได้ประมาณ 7 ปี คือเริ่มผลิดอกที่เป็นสีขาวนวลราวเดือนมิถุนายน จากนั้นดอกจะค่อย ๆ พัฒนากลายเป็นผลที่มองดูไกล ๆ แล้วจะมีลักษณะคล้ายกับผลเงาะที่มีขนสีเขียวปกคลุมโดยรอบ ซึ่งจะพัฒนาจนมีขนาดโตเท่ากับผลเงาะโรงเรียน จากนั้นเมื่อผลแก่ผิวนอกที่เป็นหนามคลุมก็จะกลายเป็นสีน้ำตาล และปริแยกออกเผยให้เห็นเม็ดเกาลัค ที่มีลูกกลม ๆ สีน้ำตาลดำ เรียงตัวกันอยู่ภายใน 3 - 5 เม็ด เมื่อนำไปคั่วและแกะเปลือกสีน้ำตาลดำออกมา ก็จะพบกับเนื้อในที่เป็นสีขาวขุ่น
เกาลัดเป็นผลไม้ในฤดูใบไม้ร่วง คือเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน จะออกผลตอนช่วงวันไหว้พระจันทร์ เมื่อเก็บมาแล้วจะนำมาต้มในน้ำเดือด ประมาณสามสิบนาที จนเนื้อข้างในนิ่ม หั่นครึ่งใช้ช้อนคว้านเนื้อกิน บางคนนิยมเอาไปทำเป็นข้าวอบเกาลัด ขนมญี่ปุ่น ที่กินกับชาเขียว บางชนิดก็ทำจากเกาลัด
ข้าวอบเกาลัด
นอกจากนี้ ยังนำมาทำเค้กมองบลังค์ ซึ่งเป็นเค้กที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ในหมู่คนญี่ปุ่น
ในช่วงวันปีใหม่ของญี่ปุ่น จะมีประเพณีการกินอาหารปีใหม่ ซึ่งในจำนวนนี้มีอาหารที่เรียกว่า คุริคินทง เป็นอาหารที่ทำจากเกาลัดและเผือกอยู่ด้วย
เกาลัดที่ยังเป็นสีเขียวอยู่
เกาลัดแกะเปลือกแล้ว
ร้านขายเกาลัดที่ญี่ปุ่น
มาดูขนมญี่ปุ่นน่ากินที่ทำจากเกาลัดกัน
วิธีแกะเกาลัดไม่ให้มือเจ็บคือ เราต้องมีตัวช่วยค่ะ
สำหรับคนไทย เรามักเห็นเกาลัดคั่วกันแถวเยาวราช มักจะมีเม็ดสีดำเล็กๆ คั่วรวมอยู่ด้วย หลายคนคิดว่าเป็นเมล็ดกาแฟจริงๆ แล้วไม่ใช่ เจ้าเม็ดสีดำเล็กนั้นคือเม็ดทรายขนาดประมาณ 3-5 มิลลิเมตร เป็นทรายที่ใช้ในการก่อสร้างหรือที่เห็นตามตู้ปลาสีออกน้ำตาล
พ่อค้าจะนำเอาทรายแห้งใส่ลงไปในกระบะใบใหญ่ พอทรายร้อนระอุได้ที่จนเป็นสีดำ ก็จะนำเอาลูกเกาลัดใส่ลงไป บางร้านเติมน้ำตาลทรายคั่วรวมกันให้ได้รสหวาน บางเจ้าเพิ่มกลิ่นหอมด้วย การใส่เมล็ดกาแฟคั่วรวมไป
เหตุผลที่ต้องใช้เม็ดทราย ก็เพราะเม็ดทรายช่วยเก็บความร้อนไว้ได้ ซึ่งดีนักสำหรับการทำให้เกาลัดสุกถึงเนื้อผลด้านใน เพราะหากสังเกตกันดีๆ เนื้อผลของเกาลัดนั้นจะไม่ติดกับเปลือก ดังนั้นการใช้ทรายที่ร้อนระอุตลอดเวลา จะช่วยให้เนื้อเกาลัดค่อยๆ สุก แต่ต้องหมั่นคนเพื่อไม่ให้เกาลัดไหม้ ซึ่งจะคั่วกันนานราว 30-40 นาที เม็ดทรายนั้นใช้ได้นานกว่า 1 เดือน เรียกว่าคั่ว เกาลัดได้หลายกระทะ จนทรายที่เป็นเม็ดเริ่มป่นเป็นผงนั่นแหล่ะจึงจะเปลี่ยนไปใช้เม็ดทรายชุดใหม่
นอกจากความอร่อยมันเคี้ยวเพลินแล้ว เกาลัคยังมีประโยชน์อีกมากมาย ทีนี้เรามาดูสรรพคุณของเกาลัดกันบ้าง มีการบอกเล่ามาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังหรือประมาณ เมื่อพันกว่าปีที่แล้วค่ะว่าเกาลัดเป็นอาหารธาตุอุ่น มีรสเค็ม ช่วยในการบำรุงไต โดยเฉพาะช่วงหน้าหนาว และก็ยังช่วยลดอาการปวดข้อด้วย เพราะว่าการทำงานของไต กับกระดูก ข้อเอ็นมีความสัมพันธ์กัน
แต่ก็มีข้อควรระวัง
- ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร เช่น ท้องอืดบ่อย ๆ อาหารไม่ย่อย ไม่ควรรับประทานเกาลัค
- ผู้ที่เป็นโรคไขข้ออักเสบ ร้อนใน ตาบวม ไม่ควรรับประทานเกาลัค
Posted by mod at
20:36
│Comments(0)