インバウンドでタイ人を集客! 事例多数で万全の用意 [PR]
ナムジャイブログ
ブログポータルサイト「ナムジャイ.CC」 › 日本が好き › 2015年11月20日

【PR】

本広告は、一定期間更新の無いブログにのみ表示されます。
ブログ更新が行われると本広告は非表示となります。
  

Posted by namjai at

2015年11月20日

北海道 正月の料理に使う「かずのこ」の準備に忙しい ฮอคไกโดกำลังยุ่งอยู่กับการเตรียม Kazunoko

ตอนนี้ก็เดือน พ.ย. แล้วนะคะ อีกไม่นานก็จะเข้าช่วงปีใหม่แล้ว เพื่อนๆ ว่าปีๆ หนึ่งเร็วมัยคะ

สำหรับฉันไวมาก ยิ่งกว่าติดจรวดเสียอีก แต่ก็ต้องยอมรับ บางคนช่วงปลายปีก็งานยุ่งกันใช่มัยคะ เพราะต้องเตรียมตัวทำงานให้เสร็จเพื่อจะได้ไปฉลองปีใหม่กันอย่างสบายใจ

ร้านค้าต่างๆ ก็ต้องเตรียมสินค้าเพื่อขายในช่วงปีใหม่ ก็เช่นเดียวกันกับโรงงานแห่งหนึ่งที่อยู่ในเมือง Hakodate ขดง Hokkaido ที่ตอนนี้กำลังยุ่งมากๆในการจัดเตรียม  "数の子" (kazunoko) ที่จะใช้สำหรับอาหารในเทศกาลปีใหม่

"数の子" (Kazunoko) จะทำมาจากไข่ของปลาที่มีชื่อว่า “ปลาเฮอร์ริง หรือในภาษาญี่ปุ่นจะเรียกกันว่า ปลา ニシン/ 鰊・鯡 (nishin) เป็นปลาที่วางไข่เป็นจำนวนมาก จึงมีความหมายเป็นมงคลในการมีลูกหลาน สืบตระกูลมากมาย

วิธีการรับประทานคือ นำไข่ปลาที่หมักเกลือไว้แล้วไปแช่น้ เพื่อให้คลายความเค็ม แล้วเพิ่มรสชาติด้วยการ หมักในน้ำต้มเนื้อปลาทูน่าแห้ง หรือทาน แบบหมักเกลือโดยตรง





数の子 (Kazunoko) ที่ผลิตที่โรงงานแห่งนี้นั้น 70-80% จะใช้สำหรับอาหารในเทศกาลปีใหม่ แล้วโรงงานแห่งนี้ก็จะผลิตไข่ของปลาเฮอร์ริ่งที่นำเข้าจากต่างประเทศด้วย ตอนนี้คนงานที่ทำงานอยู่ในโรงงานแห่งนี้จะทำหน้าที่ในการตรวจสอบรูปร่างและความใหญ่ของไข่ปลา พร้อมๆ ไปกับการบรรจุ “数の子” ลงในกล่องด้วย




คนงานที่ทำงานอยู่ในโรงงานแห่งนี้ได้กล่าวว่า “ราคาของปลาเฮอริ่งที่นำเข้ามาในปีนี้มีราคาที่แพงขึ้น ดังนั้น ราคาในตอนที่ขายออกจากโรงงานก็จะต้องแพงขึ้นกว่าปีที่ผ่านๆ มาด้วย ราวๆ 10%"

แล้วทำไม 数の子 ถึงเป็นที่ต้องการของตลาดในช่วงเทศกาลปีใหม่ด้วย นั่นก็เพราะว่า 数の子 จะเป็นส่วนประกอบหนึ่งของอาหารในเทศกาลปีใหม่ ที่เราเรียกกันว่า โอะเซะชิ (御節/ お節) หรือ โอะเซะชิ-เรียวริ (御節料理/ お節料理) (เรียวริ แปลว่า การทำอาหาร) เป็นสำรับอาหารสำหรับเทศกาลปีใหม่ในญี่ปุ่น เป็นขนบประเพณีที่มีมาตั้งแต่ยุคเฮอัง โอะเซะชิ นั้นจะถูกจัดเรียงอยู่ในกล่องสี่เหลี่ยมสามหรือสี่กล่องที่เรียกว่า จูบะโกะ (重箱) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับกล่องเบนโต ซึ่งจูบะโกะนั้นจะถูกเก็บไว้โดยการซ้อนกัน ทั้งก่อนการใช้งานและหลังใช้งาน ซึ่งโอะเซะชินั้น มักรับประทานร่วมกับ โทะโซะ






ชาวญี่ปุ่นจะรับประทานโอะเซะชิเรียวริกันในช่วงเวลาสามวันหลังวันขึ้นปีใหม่ (1 มกราคม) ซึ่งนิยมรับประทานโอะเซะชิเรียวริเป็นมื้อแรกของปีพร้อมกับครอบครัว




อาหารในโอะเซะชิ แต่ละอย่างมีความหมายพิเศษของมันเพื่อการฉลองปีใหม่ ตัวอย่างบางส่วนเป็น:

•ไดได (橙) หรือ ส้มจี๊ดญี่ปุ่น ไดไดนั้นมีความหมาย คือ "จากรุ่นสู่รุ่น" เมื่อเขียนแบบคันจิ จะเขียนได้ว่า 代 ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความปรารถนาสำหรับเด็กในวันขึ้นปีใหม่

•ดะเตะมะกิ (伊達巻/ 伊達巻き) หรือไข่เจียวม้วน ซึ่งมีลักษณะการเจียวไม่เหมือนกับไข่เจียวธรรมดา อาจจะผสมไปด้วยกุ้งหรือปลาบด เป็นสัญลักษณ์ของความปรารถนาสำหรับวันมหามงคล

•คะมะโบะโกะ (蒲鉾) เนื้อปลาบดนึ่งเป็นก้อน จะถูกหั่นแล้วจัดวางสลับกันเป็นชิ้นสีแดง (หรือชมพู) และขาว จากสีนั้นมีความหมายถึงอาทิตย์อุทัยของญี่ปุ่น

•คะซุโนะโกะ (数の子) หรือไข่ปลาแฮร์ริง คะซุ มีความหมายว่า "จำนวน" ส่วน โนะโกะ มีความหมายว้า "เด็ก" หรือก็คือ "เด็กจำนวนมาก" ในเทศกาลปีใหม่นั่นเอง

•คมบุ (昆布) เป็นสาหร่ายประเภทหนึ่ง มีความหมายเกี่ยวข้องกับคำว่า "โยะโระโกะบุ" (喜ぶ) ซึ่งมีความหมายว่า "ยินดี"

•คุโระมะเมะ (黒豆) หรือ ถั่วเหลืองดำ มีความนุ่มกำลังดี มะเมะ มีความหมายว่า "สุขภาพ" ซึ่งก็คือปรารถนาให้สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์

•โคฮะกุนะมะซุ (紅白なます) เป็นผักสีขาว-แดง ที่นิยมทำเป็นก้อน ซึ่งทำมาจาก แครอทซอย และ ผักกาดหัวซอย และแช่ในน้ำส้มสายชูชนิดพิเศษ

•ไต (鯛) หรือปลาบรีมทะเลสีแดง ไทมีความเกี่ยวข้องกับคำว่า เมะเดะไต สัญลักษณ์ของเทศกาลอันเป็นมงคล

•อะวะซุเกะ (粟漬)ปลาโคะโนะชิโระก่อนที่จะเจริญเติบโตเต็มที่ ต้มแล้วหมักในน้ำส้มสายชู ใส่สีเหลืองที่ทำจากดอกการ์ดิเนีย เป็นการขอพรให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ดีไม่มีอุปสรรค

•เอะบิ (エビ) กุ้งซึ่งปรุงรสด้วยสาเกและซอสถั่วเหลือง

ขอบคุณข้อมูลจาก วิกกิพีเดีย
  

Posted by mod at 19:19Comments(0)