› 日本が好き › 2016年03月
2016年03月31日
公衆電話で助たすける โทรศัพท์สาธารณะช่วยชีวิต
สวัสดีค่ะ
เมื่อวันก่อนฉันได้อ่านข่าวของญี่ปุ่นอยู่เรื่องหนึ่งที่พาดหัวข่าวว่า “公衆電話で「助たすけて」と伝たえることができた” ซึ่งมีความหมายว่าใช้โทรศัพท์สาธารณะขอความช่วยเหลือได้
ตอนแรกฉันเองก็อ่านผ่านๆ นะคะ ก็แค่โทรศัพท์สาธารณะ เดี๋ยวนี้ใครๆ เขาก็มีมือถือกันหมดแล้ว เรื่องราวมีอยู่ว่าเด็กหญิงโรงเรียนมัธยมต้นคนหนึ่ง (อายุ 15 ปี) ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดไซตามะได้หายตัวไปเมื่อ 2 ปีก่อน ตอนนี้ได้เจอตัวแล้วที่โตเกียวเมื่อวันที่ 27 มีนาคมที่ผ่านมา
เด็กผู้หญิงคนนี้ถูกขังตัวอยู่ในแมนชั่นของผู้ต้องสงสัย ไม่ค่อยได้ออกไปข้างนอก เมื่อผู้ต้องสงสัยบอกว่าจะออกไปทำธุระข้างนอก เธอก็สบโอกาสวิ่งหนีออกมา แล้วใช้โทรศัพท์สาธารณะที่อยู่ที่สถานีรถไฟติดต่อไปยังตำรวจเพื่อขอความช่วยเหลือ แล้วตำรวจก็สามารถช่วยเหลือพาเธอกลับมาได้โดยปลอดภัย นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีมากๆ เลยนะคะ
จากเหตุการณ์นี้ก็ได้เกิดกระแสสะท้อนออกมาในสังคมว่า เมื่อเทคโนโลยีก้าวล้ำหน้ามากๆ จนเกิดการใช้โทรศัพท์มือถืออย่างแพร่หลาย ทำให้โทรศัพท์สาธารณะลดน้อยลง และมีบทบาทน้อยในสังคมแล้ว แต่เหตุการณ์การนี้ทำให้ต้องย้อนกลับมาดูว่าบางครั้งโทรศัพท์สาธารณะก็มีประโยชน์นะคะ
ในประเทศไทยเองเรียกว่าหาโทรศัพท์สาธารณะได้ยากแล้ว แถมหาเจอก็ใช้การไม่ได้เสียด้วย แต่สำหรับที่ประเทศญี่ปุ่นนั้นเขายังมีโทรศัพท์สาธารณะอยู่ แล้วทางรัฐบาลญี่ปุ่นเองก็ดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใหม่และพร้อมใช้งานได้ด้วย
ก่อนอื่นเรามาดูข้อมูลจำนวนโทรศัพท์สาธารณะที่ญี่ปุ่นกันก่อน จากสถิติที่เก็บไว้ก็คือเมื่อเดือนมี.ค.ปี2005 นั้นมีโทรศัพท์สาธารณะมากกว่า 440,000 เครื่อง แต่ในเดือน มี.ค.ปี 2015 นั้นได้ลดจำนวนลงมากกว่า 50% เหลือประมาณ 180,000 เครื่อง
โทรศัพท์สาธารณะของญี่ปุ่นนั้นเวลาที่จะโทรหาตำรวจหรือว่าเรียกรถพยาบาลจะไม่ต้องใช้เงิน แล้วอย่างตอนที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ๆ บางครั้งโทรศัพท์มือถือก็ไม่สามารถงานได้ก็มี
กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน 1.ยกหูโทรศัพท์ 2.กดปุ่มด้านล่าง (ที่มีลูกศรสีแดงชี้) เท่านี้ก็เรียบร้อยค่ะ
แล้วทำไมรัฐบาลญี่ปุ่นยังคงให้มีระบบโทรศัพท์สาธารณะอยู่ล่ะ?
คำตอบก็คือโทรศัพท์สาธารณะเป็นระบบเดินสายใต้ดินที่เรียกว่า “Landline” จึงทำให้มันมีข้อดีเหนือกว่าโทรศัพท์มือถือคือ
1. ระบบ Landline แทบจะไม่ต้องการไฟฟ้า, แม้จะถึงขั้น Blackout [การไฟฟ้าตัวแม่ไม่ส่งไฟ] ก็ยังใช้โทรได้
2. สายของระบบ Landline ถูกฝังอยู่ใต้พื้นดินลึก, ต่อให้เกิดพายุถล่มหรือภัยพิบัติบนชั้นผิวดินก็ไม่สะเทือน และตอนสร้างระบบ Landline จะต้องมีตัว Backup ไฟฟ้าอีกชั้นนึงซ่อนอยู่ใต้ดินเผื่อใน Case ฉุกเฉินระยะยาว
3. ตู้โทรศัพท์สาธารณะไม่มีวัน Batt หมด, แม้จะเกิด Disaster ก็ยังใช้งานได้ 24 Hr / Day
4. หน่วยงานรัฐที่ชุมสายสามารถ Check ได้ทันทีว่าตู้โทรศัพท์ที่ใช้โทรนั้นอยู่ตรงไหน ใน Case ที่จะส่งหน่วยกู้ภัย
ด้วยเหตุผลทั้ง 4 ในประเทศที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวและภัยพิบัติอยู่เสมออย่างญี่ปุ่น, ตู้โทรศัพท์สาธารณะจึงยังเป็นสิ่งที่จำเป็นเสมอ แม้ว่าในเวลาปรกติ เราจะไม่ทันสังเกตว่ามันมีตัวตนอยู่บนสถานีรถไฟ JR เลยก็ตาม
จากเหตุการณ์ที่นักเรียนม.ต้นหายตัวไปแล้วใช้โทรศัพท์สาธารณะขอความช่วยเหลือนี้ จึงทำให้มีการแสดงความคิดเห็นบนอินเตอร์เน็ตว่า “อยากจะให้สอนวีธีการใช้โทรศัทพ์สาธารณะให้พวกเด็กๆ ที่โรงเรียนหรือภายในครอบครัว” หรือว่า “ให้สำรวจตรวจสอบกับเด็กๆ ว่าที่ไหนมีโทรศัพท์สาธารณะติดตั้งอยู่บ้าง” เพื่อที่เด็กๆ ยุคใหม่นี้ที่ชินกับการใช้โทรศัพท์มือถือจะได้ใช้โทรศัพท์สาธารณะได้เป็นในเวลาที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน
สำหรับประเทศไทยเอง ก็ไม่อยากให้ละเลยการมีโทรศัพท์สาธารณะที่สามารถใช้งานได้ในยามฉุกเฉินนะคะ
เมื่อวันก่อนฉันได้อ่านข่าวของญี่ปุ่นอยู่เรื่องหนึ่งที่พาดหัวข่าวว่า “公衆電話で「助たすけて」と伝たえることができた” ซึ่งมีความหมายว่าใช้โทรศัพท์สาธารณะขอความช่วยเหลือได้
ตอนแรกฉันเองก็อ่านผ่านๆ นะคะ ก็แค่โทรศัพท์สาธารณะ เดี๋ยวนี้ใครๆ เขาก็มีมือถือกันหมดแล้ว เรื่องราวมีอยู่ว่าเด็กหญิงโรงเรียนมัธยมต้นคนหนึ่ง (อายุ 15 ปี) ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดไซตามะได้หายตัวไปเมื่อ 2 ปีก่อน ตอนนี้ได้เจอตัวแล้วที่โตเกียวเมื่อวันที่ 27 มีนาคมที่ผ่านมา
เด็กผู้หญิงคนนี้ถูกขังตัวอยู่ในแมนชั่นของผู้ต้องสงสัย ไม่ค่อยได้ออกไปข้างนอก เมื่อผู้ต้องสงสัยบอกว่าจะออกไปทำธุระข้างนอก เธอก็สบโอกาสวิ่งหนีออกมา แล้วใช้โทรศัพท์สาธารณะที่อยู่ที่สถานีรถไฟติดต่อไปยังตำรวจเพื่อขอความช่วยเหลือ แล้วตำรวจก็สามารถช่วยเหลือพาเธอกลับมาได้โดยปลอดภัย นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีมากๆ เลยนะคะ
จากเหตุการณ์นี้ก็ได้เกิดกระแสสะท้อนออกมาในสังคมว่า เมื่อเทคโนโลยีก้าวล้ำหน้ามากๆ จนเกิดการใช้โทรศัพท์มือถืออย่างแพร่หลาย ทำให้โทรศัพท์สาธารณะลดน้อยลง และมีบทบาทน้อยในสังคมแล้ว แต่เหตุการณ์การนี้ทำให้ต้องย้อนกลับมาดูว่าบางครั้งโทรศัพท์สาธารณะก็มีประโยชน์นะคะ
ในประเทศไทยเองเรียกว่าหาโทรศัพท์สาธารณะได้ยากแล้ว แถมหาเจอก็ใช้การไม่ได้เสียด้วย แต่สำหรับที่ประเทศญี่ปุ่นนั้นเขายังมีโทรศัพท์สาธารณะอยู่ แล้วทางรัฐบาลญี่ปุ่นเองก็ดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใหม่และพร้อมใช้งานได้ด้วย
ก่อนอื่นเรามาดูข้อมูลจำนวนโทรศัพท์สาธารณะที่ญี่ปุ่นกันก่อน จากสถิติที่เก็บไว้ก็คือเมื่อเดือนมี.ค.ปี2005 นั้นมีโทรศัพท์สาธารณะมากกว่า 440,000 เครื่อง แต่ในเดือน มี.ค.ปี 2015 นั้นได้ลดจำนวนลงมากกว่า 50% เหลือประมาณ 180,000 เครื่อง
โทรศัพท์สาธารณะของญี่ปุ่นนั้นเวลาที่จะโทรหาตำรวจหรือว่าเรียกรถพยาบาลจะไม่ต้องใช้เงิน แล้วอย่างตอนที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ๆ บางครั้งโทรศัพท์มือถือก็ไม่สามารถงานได้ก็มี
กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน 1.ยกหูโทรศัพท์ 2.กดปุ่มด้านล่าง (ที่มีลูกศรสีแดงชี้) เท่านี้ก็เรียบร้อยค่ะ
แล้วทำไมรัฐบาลญี่ปุ่นยังคงให้มีระบบโทรศัพท์สาธารณะอยู่ล่ะ?
คำตอบก็คือโทรศัพท์สาธารณะเป็นระบบเดินสายใต้ดินที่เรียกว่า “Landline” จึงทำให้มันมีข้อดีเหนือกว่าโทรศัพท์มือถือคือ
1. ระบบ Landline แทบจะไม่ต้องการไฟฟ้า, แม้จะถึงขั้น Blackout [การไฟฟ้าตัวแม่ไม่ส่งไฟ] ก็ยังใช้โทรได้
2. สายของระบบ Landline ถูกฝังอยู่ใต้พื้นดินลึก, ต่อให้เกิดพายุถล่มหรือภัยพิบัติบนชั้นผิวดินก็ไม่สะเทือน และตอนสร้างระบบ Landline จะต้องมีตัว Backup ไฟฟ้าอีกชั้นนึงซ่อนอยู่ใต้ดินเผื่อใน Case ฉุกเฉินระยะยาว
3. ตู้โทรศัพท์สาธารณะไม่มีวัน Batt หมด, แม้จะเกิด Disaster ก็ยังใช้งานได้ 24 Hr / Day
4. หน่วยงานรัฐที่ชุมสายสามารถ Check ได้ทันทีว่าตู้โทรศัพท์ที่ใช้โทรนั้นอยู่ตรงไหน ใน Case ที่จะส่งหน่วยกู้ภัย
ด้วยเหตุผลทั้ง 4 ในประเทศที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวและภัยพิบัติอยู่เสมออย่างญี่ปุ่น, ตู้โทรศัพท์สาธารณะจึงยังเป็นสิ่งที่จำเป็นเสมอ แม้ว่าในเวลาปรกติ เราจะไม่ทันสังเกตว่ามันมีตัวตนอยู่บนสถานีรถไฟ JR เลยก็ตาม
จากเหตุการณ์ที่นักเรียนม.ต้นหายตัวไปแล้วใช้โทรศัพท์สาธารณะขอความช่วยเหลือนี้ จึงทำให้มีการแสดงความคิดเห็นบนอินเตอร์เน็ตว่า “อยากจะให้สอนวีธีการใช้โทรศัทพ์สาธารณะให้พวกเด็กๆ ที่โรงเรียนหรือภายในครอบครัว” หรือว่า “ให้สำรวจตรวจสอบกับเด็กๆ ว่าที่ไหนมีโทรศัพท์สาธารณะติดตั้งอยู่บ้าง” เพื่อที่เด็กๆ ยุคใหม่นี้ที่ชินกับการใช้โทรศัพท์มือถือจะได้ใช้โทรศัพท์สาธารณะได้เป็นในเวลาที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน
สำหรับประเทศไทยเอง ก็ไม่อยากให้ละเลยการมีโทรศัพท์สาธารณะที่สามารถใช้งานได้ในยามฉุกเฉินนะคะ
Posted by mod at
14:29
│Comments(0)
2016年03月30日
รองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วย 案内板 บอร์ดแนะนำให้ข้อมูล
สวัสดีค่ะ อีกไม่กี่วันก็จะเข้าเดือนเม.ย.แล้วนะคะ คงมีหลายคนวางแผนหยุดยาวไปเที่ยวกันช่วงสงกรานต์สินะคะ
แล้วหนึ่งในประเทศที่คนไทยจะไปเที่ยวกันก็คือประเทศญี่ปุ่น
ดังนั้น จึงมีชาวต่างชาติหลั่งไหลไปเที่ยวที่ญี่ปุ่นกันมากมาย โดยเฉพาะกรุงโตเกียวเมื่อวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมามีการสำรวจว่ามีคนต่างชาติไปเที่ยวถึง 8,570,000 คน
แล้วประเทศญี่ปุ่นเองก็คิดว่าอยากจะเพิ่มจำนวนคนมาเที่ยวที่โตเกียวให้ได้ประมาณ 15 ล้านคนภายในช่วงกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกปี 2020 เพื่อรองรับให้คนต่างชาติได้มาเที่ยวโตเกียวได้ง่ายขึ้น จึงได้มีการจัดทำ 案内板 (Annai Ban) บอร์ดแนะนำให้ข้อมูลที่ใช้คอมพิวเตอร์ที่มีหน้าจอขนาดใหญ่มาใช้งาน มีการเริ่มต้นใช้งานไปแล้วตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค.โดยติดตั้งไว้ที่สวนสาธารณะและถนนย่านชินจูกุและอุเอโนะแห่งละ 2 เครื่อง
บอร์ดแนะนำให้ข้อมูลนี้จะสามารถแสดงข้อมูลต่างๆที่ใช้อย่างเช่นอินเตอร์บนจอได้ด้วย โดยการใช้นิ้วสัมผัสที่หน้าจอก็สามารถค้นหาอย่างเช่นโรงแรมหรือสถานที่มีชื่อเสียงที่อยู่ใกล้ๆ ได้ด้วยภาษาญี่ปุ่น, ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีนและภาษาเกาหลี น่าเสียดายจังยังไม่มีภาษาไทย แต่ถ้าคนไทยไปเที่ยวเยอะขนาดนี้ ในอนาคตอาจมีก็เป็นได้นะคะ
แถมยังแนะนำเส้นทางให้เดินทางไปจนถึงสถานที่ที่อยากได้ด้วย นับว่าสะดวกสบายมากๆ เลยนะคะ นอกจากนั้นก็ยังติดตั้งหน้าจอให้อยู่ในตำแหน่งต่ำๆ เพื่อให้ผู้ที่ใช้รถเข็นหรือวีลแชร์สามารถใช้งานได้ง่ายด้วย และยังสามารถค้นหาเส้นทางที่รถเข็นหรือวีลแชร์สามารถผ่านได้ง่ายได้ด้วย อย่างเช่นเส้นทางที่ไม่มีทางที่เป็นเนิน
ประเทศญี่ปุ่นมีกำหนดการว่าจะติดตั้งบอร์ดแนะนำให้ข้อมูลนี้ในโตเกียวให้ได้ 100 เครื่องภายในปี 2020
แล้วหนึ่งในประเทศที่คนไทยจะไปเที่ยวกันก็คือประเทศญี่ปุ่น
ดังนั้น จึงมีชาวต่างชาติหลั่งไหลไปเที่ยวที่ญี่ปุ่นกันมากมาย โดยเฉพาะกรุงโตเกียวเมื่อวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมามีการสำรวจว่ามีคนต่างชาติไปเที่ยวถึง 8,570,000 คน
แล้วประเทศญี่ปุ่นเองก็คิดว่าอยากจะเพิ่มจำนวนคนมาเที่ยวที่โตเกียวให้ได้ประมาณ 15 ล้านคนภายในช่วงกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกปี 2020 เพื่อรองรับให้คนต่างชาติได้มาเที่ยวโตเกียวได้ง่ายขึ้น จึงได้มีการจัดทำ 案内板 (Annai Ban) บอร์ดแนะนำให้ข้อมูลที่ใช้คอมพิวเตอร์ที่มีหน้าจอขนาดใหญ่มาใช้งาน มีการเริ่มต้นใช้งานไปแล้วตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค.โดยติดตั้งไว้ที่สวนสาธารณะและถนนย่านชินจูกุและอุเอโนะแห่งละ 2 เครื่อง
บอร์ดแนะนำให้ข้อมูลนี้จะสามารถแสดงข้อมูลต่างๆที่ใช้อย่างเช่นอินเตอร์บนจอได้ด้วย โดยการใช้นิ้วสัมผัสที่หน้าจอก็สามารถค้นหาอย่างเช่นโรงแรมหรือสถานที่มีชื่อเสียงที่อยู่ใกล้ๆ ได้ด้วยภาษาญี่ปุ่น, ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีนและภาษาเกาหลี น่าเสียดายจังยังไม่มีภาษาไทย แต่ถ้าคนไทยไปเที่ยวเยอะขนาดนี้ ในอนาคตอาจมีก็เป็นได้นะคะ
แถมยังแนะนำเส้นทางให้เดินทางไปจนถึงสถานที่ที่อยากได้ด้วย นับว่าสะดวกสบายมากๆ เลยนะคะ นอกจากนั้นก็ยังติดตั้งหน้าจอให้อยู่ในตำแหน่งต่ำๆ เพื่อให้ผู้ที่ใช้รถเข็นหรือวีลแชร์สามารถใช้งานได้ง่ายด้วย และยังสามารถค้นหาเส้นทางที่รถเข็นหรือวีลแชร์สามารถผ่านได้ง่ายได้ด้วย อย่างเช่นเส้นทางที่ไม่มีทางที่เป็นเนิน
ประเทศญี่ปุ่นมีกำหนดการว่าจะติดตั้งบอร์ดแนะนำให้ข้อมูลนี้ในโตเกียวให้ได้ 100 เครื่องภายในปี 2020
Posted by mod at
12:02
│Comments(0)
2016年03月29日
競馬 "สนามม้า" แหล่งการพนันของรัฐบาลญี่ปุ่น
สวัสดีค่ะ อากาศเริ่มร้อนขึ้นเรื่อยๆ นะคะ อย่างไรก็ระวังรักษาสุขภาพกันด้วยนะคะ
วันนี้เราไปเที่ยวสนามแข่งม้ากันดีกว่า สนามแข่งม้าของญี่ปุ่นนั้นไม่เหมือนสนามม้าบ้านเรานะคะ ที่จะมีแต่การแข่งม้าและการแทงม้าแข่งเท่านั้น แต่ยังเป็นสถานที่ที่สนุกสนานได้ทั้งครอบครัวอีกด้วย
แถมช่วงนี้ยังเป็นฤดูกาลชมดอกเชอรี่อีกด้วย แล้วช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการชมดอกเชอรี่บานในโตเกียวคือช่วงปลายมีนาควบต้นเมษา หากคุณอยากชมดอกเชอรี่บานอย่างเลิศหรู ขอเชิญมาชมอุโมงค์ดอกเชอรี่บาน พร้อมกลีบดอกที่ร่วงปลิวอย่างเพลินตาเพลินใจบนรถลากเทียมม้าในเทศกาลดอกเชอรี่บานที่ เจอาร์เอ บาจิกูเอน (JRA Bajikouen ) นี่เป็นสถานที่จัดการแข่งขันกีฬาขี่ม้าในช่วงกีฬาโอลิมปิคครั้งที่ 18 ในกรุงโตเกียว ปัจจุบันเป็นสถานที่ตั้งของสมาคมแข่งม้าแห่งญี่ปุ่น (Japan Racing Association หรือ JRA) ซึ่งมีม้าในความดูแลราว 100 ตัว
บริการรถลากเทียมม้าเป็นแบบเที่ยวละหนึ่งรอบ ๆ ละประมาณ 5 นาที เชิญเข้าไปดูข้อมูลเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ให้บริการได้ในเว็บไซต์ของ JRA Bajikouen ในช่วงประมาณกลางเดือนมีนาคม ซึ่งจะมีการแจ้งข้อมูลให้ทราบในช่วงนั้น
บริเวณทั้งหมดมีเนื้อที่ราว 18 เฮกเตอร์ ซึ่งประกอบไปด้วคอกม้า สนามแข่งหลัก สนามแข่งในอาคารกระจก และอื่น ๆ ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ที่นี่กลายเป็นจุดชมดอกเชอรี่บานชื่อดังขึ้นมาด้วยความที่มีต้นเชอรี่มากถึง 500 ต้นทีเดียว!
ภายในคอกม้า ภาพของม้าที่กำลังย่างเหยาะโดยมีภาพดอกเชอรี่เบ่งบานชูช่อเต็มที่นั้นช่างน่าตื่นตาตื่นใจเหลือประมาณ
เราขอแนะนำโปรแกรมนั่งรถลากเทียมม้าที่มีให้บริการในช่วงเทศกาลดอกเชอรี่บานทุก ๆ ปี ที่คุณจะได้อิ่มเอมใจกับการนั่งรถม้าไปรอบ ๆ บริเวณอย่างอ้อยอิ่ง สบาย ๆ พร้อมกับชื่นชมดอกเชอรี่หลากหลายสายพันธุ์ที่กำลังชูช่อ ทั้งโซเมอิ โยชิโนะ (Somei Yoshino ) โกโช ( Gosho ) และเชอรี่ภูเขา ไม่ต้องสงสัยเลยว่าคุณจะสุขล้นสุดขีดทีเดียว เมื่อได้เห็นดอกกลีบสีชมพูเรื่อค่อย ๆร่วงปลิวลงมาที่พื้น นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมพิเศษอื่น ๆ ที่น่าลองเช่นกัน เช่นประสบการณ์การขี่ม้า การโชว์การแสดงของลูกม้า และอื่น ๆ อีกมากที่จะให้คุณได้เพลิดเพลินตลอดทั้งวัน
"สนามม้า" แหล่งการพนันของรัฐบาลญี่ปุ่น
競馬 (เคบะ) ม้าแข่ง เป็นอีกแหล่งหนึ่ง ที่ทำรายได้ ให้กับรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งมีแข่งกันทุกวัน มีการโฆษณาทีวี สามารถ ซื้อม้าแข่งได้ ทั้งที่ทางอินเตอร์เนต โดยผ่านมือถือ หรือ เครื่องคอมฯ และการไปยังสนามแข่งม้า หรือ สถานที่ ที่มีจอ ทีวียักษ์ สำหรับ รายการแข่งม้า โดยเฉพาะ ซึ่งในประเทศญี่ปุ่นก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในแต่ละปีจะมีการจัดการแข่งขันถึง 21,000 ครั้ง จัดโดย Japan Racing Association (JRA) และ National Association of Racing (NRA) มีสนามอยู่มากมายในหลายจังหวัดของประเทศญี่ปุ่น โดยการแข่งขันที่มีชื่อเสียงมากก็คือ Tokyo Yuushun (Japan Derby) และ Japan Cup ใครที่อยากลองก็ลองไปดูกันได้
ขอยกตัวอย่างสนามม้า 1 แห่ง
สนามแข่งม้าซัปโปโร
สนามแข่งม้าซัปโปโรนั้น เป็นสนามแข่งม้ากลางเมืองซัปโปโรที่ได้รับการสนับสนุนจาก JRA (สมาคมแข่งม้ากลาง ประเทศญี่ปุ่น) ได้รับการปรับปรุงในด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น ที่นั่งชม ฯลฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2014 และได้เปิดอย่างเป็นทางการแล้ว ในการชม “ฮอกไกโดซีรี่ส์” ซึ่งเป็นการแข่งม้าในฤดูร้อนของสนามแข่งม้าซัปโปโรนั้น แนะนำให้นั่งที่ “ระเบียงโมอิวะ” ซึ่งอยู่ที่ชั้น 2 ของสแตนด์ที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ เป็นระเบียงที่นั่งที่มีความยาวถึง 120 ม. นอกจากจะมองเห็นได้ทั้งคอร์สแล้ว ยังเป็นที่นั่งชมที่สามารถมองเห็นเมืองซัปโปโร และภูเขาโมะอิวะได้ด้วย นอกจากนี้ยังมี “ฮานะมิจิ” ที่สามารถชมม้าแข่งได้ในระยะใกล้ๆ “มากิบะการ์เด้น” ที่มีม้าที่เลี้ยงแบบปล่อยอิสระ และ “คิดส์แลนด์” ที่มีบ้านบนต้นไม้ เป็นสถานที่ที่เพียบพร้อมด้วยความบันเทิงได้ทั้งครอบครัว ไม่เพียงแต่ชมการแข่งม้าเท่านั้น เพราะว่ามีสวนให้เด็กเล่น มีร้านอาหาร คนจำนวนหนึ่ง เอาเสื่อไปปู รองนั่ง เอาอาหารไปทาน ทำเหมือนไปปิคนิคเลย
เวลาทำการ
เวลาเริ่มแข่งม้า 9:00 น. ~17:00 น.
วันธรรมดา 10:00 น. ~12:00 น., 13:00 น. ~16:00 น.
วันหยุด
วันจันทร์, วันอังคาร, วันหยุดราชการ, วันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ และวันหยุดพิเศษอื่น ๆ
ค่าเข้าชม
100 เยน (ค่าเข้า)
ที่จอดรถ
1000 เยน
สนามแข่งม้าในประเทศญี่ปุ่นมีหลายแห่ง บางแห่งแข่งทุกวัน บางแห่งแข่งแค่เสาร์กับอาทิตย์ ค่าเข้าสนามก็ไม่แพงอยู่ที่ประมาณ 100-200 เยน ถ้าเข้าไปนั่งดูเฉยๆ ก็เสียเท่านี้ ถือว่าไม่แพงนะ
การแข่งขันในแต่ละวันอยู่ที่ประมาณ 8-9 เกม ช่วงเวลาแข่งแต่ละเกม ไม่เกิน 5 นาที แต่ก่อนหน้านั้น ม้าทุกตัวที่จะแข่งจะต้องมาเดินโชว์ตัวกันก่อนเพื่อให้ผู้ชมตัดสินใจเลือกม้า ดูลักษณะม้าประกอบกับการดูประวัติการแข่งขัน ที่แจ้งไว้ในคู่มือที่ได้รับจากประตูทางเข้า ม้าแต่ละตัวจะมีหมายเลขบอก มีสถิติ มีอัตราต่อรองแสดงที่จอขนาดใหญ่ด้วย
หลังจากม้าเดินวนโชว์ตัวแล้ว คราวนี้ก็ถึงตาคนขี่ออกมาโชว์บ้าง คนขี่ม้าก็สำคัญ ประสบการณ์ต่างๆกันไป เป็นอีกปัจจัยที่เอามาพิจารณาด้วย หลังจากนั้นแต่ละคนก็มาเลือกรูปแบบในการเล่นหรือแทงนั่นเอง
การแทงก็มีหลายรูปแบบ ความยากง่ายแตกต่างกัน เงินรางวัลก็ต่างกัน
เช่น -เลือกตัวที่คิดว่าจะเข้าที่หนึ่งเพียงตัวเดียว = ถูกรางวัล
-เลือกตัวเดียวที่จะเข้าภายในอันดับที่1-3 = ถูกรางวัล
-เลือกสองตัว ว่าตัวไหนเข้าลำดับก่อนและหลัง = ถูกรางวัล เป็นต้น
แล้วก็เอาดินสอขีดเลือก หมายเลขม้า รูปแบบในการเล่น เกมที่เท่าไหร่ สนามไหน เงินที่แทง ราคาในการแทงต่ำสุดก็ 100 เยน เมื่อเสร็จแล้วก็นำไปยื่นที่ตู้อัตโนมัติ จ่ายตังค์ จะได้บัตรมาหนึ่งใบมีข้อมูลที่เราเลือกแทงไว้ทั้งหมด คราวนี้ก็มาลุ้นกันในสนาม
ในสนามจะมีที่นั่งมากมาย ทั้งส่วนที่ไม่เสียเงิน และส่วนวีไอพีด้านบนๆ ที่ต้องเสียเงินเข้าไปนั่ง บางคนก็ยืนลุ้นอยู่ขอบสนาม บรรยากาศการเชียร์
หลังจบเกมสักพัก ถ้าแทงถูกก็เอาบัตรที่ได้ไปขึ้นเงินที่ตู้อัตโนมัติ การเล่นส่วนใหญ่เป็นตู้อัตโนมัติหมด ง่าย ไม่ถูกโกงแน่
พอจบ 1 เกมก็วนกลับไปดูม้าเดินโชว์ตัว แทง แล้วรอแข่งอย่างนี้เป็นต้น
เมื่อแนะนำการแข่งม้าไปแล้ว ทีนี้ก็ขอแนะนำจ็อกกี้กันบ้าง จ็อกกี้สาวที่กำลังมีชื่อเสียงในขณะนี้ เธอมีชื่อว่า
Fujita Nanako (อายุ 18 ปี) เป็นจ็อกกี้สาวคนที่ 7 ของสมาคมแข่งม้า (The Japan Racing Association) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2015 หลังจากที่สมาคมแข่งม้า JRA นั้นไม่มีจ็อกกี้ที่เป็นผู้หญิงมานานแล้วตั้งแต่ปี 2001 แล้ว
จ็อกกี้ฟุจิตะซังได้ลงแข่งในสนามมาตั้งแต่เมื่อวันที่ 3 เดือนมีนาคม แล้วก็ได้รับเสียงเชียร์จากคนเป็นจำนวนมาก
แล้วจ็อกกี้ฟุจิตะซังก็ได้ลงแข่งในสนามจังหวัดไซตามะ แล้วก็เข้าวินมาเป็นอันดับที่ 1 เป็นครั้งแรกในวันที่ 24 มี.ค.ที่ผ่านมา แล้วในการแข่งขันอื่นๆ ในวันเดียวกันนั้นเธอก็ยังเข้าวินมาเป็นอันดับ 1 อีกหลายรายการด้วย
จ็อกกี้ฟุจิตะซังให้สัมภาษณ์ว่า “พอเริ่มออกสตาร์ทก็สามารถออกนำหน้าเป็นอันดับ 1 ได้ในทันที แล้วก็คิดว่าต้องวิ่งเช่นนี้ไปจนกว่าจะถึงเส้นชัย แล้วตอนที่เข้าวินเป็นอันดับ 1 ก็รู้สึกดีใจมาก คิดว่าคงจะไม่สามารถลืมการแข่งขันเมื่อวานนี้ได้เลยค่ะ”
วันนี้เราไปเที่ยวสนามแข่งม้ากันดีกว่า สนามแข่งม้าของญี่ปุ่นนั้นไม่เหมือนสนามม้าบ้านเรานะคะ ที่จะมีแต่การแข่งม้าและการแทงม้าแข่งเท่านั้น แต่ยังเป็นสถานที่ที่สนุกสนานได้ทั้งครอบครัวอีกด้วย
แถมช่วงนี้ยังเป็นฤดูกาลชมดอกเชอรี่อีกด้วย แล้วช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการชมดอกเชอรี่บานในโตเกียวคือช่วงปลายมีนาควบต้นเมษา หากคุณอยากชมดอกเชอรี่บานอย่างเลิศหรู ขอเชิญมาชมอุโมงค์ดอกเชอรี่บาน พร้อมกลีบดอกที่ร่วงปลิวอย่างเพลินตาเพลินใจบนรถลากเทียมม้าในเทศกาลดอกเชอรี่บานที่ เจอาร์เอ บาจิกูเอน (JRA Bajikouen ) นี่เป็นสถานที่จัดการแข่งขันกีฬาขี่ม้าในช่วงกีฬาโอลิมปิคครั้งที่ 18 ในกรุงโตเกียว ปัจจุบันเป็นสถานที่ตั้งของสมาคมแข่งม้าแห่งญี่ปุ่น (Japan Racing Association หรือ JRA) ซึ่งมีม้าในความดูแลราว 100 ตัว
บริการรถลากเทียมม้าเป็นแบบเที่ยวละหนึ่งรอบ ๆ ละประมาณ 5 นาที เชิญเข้าไปดูข้อมูลเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ให้บริการได้ในเว็บไซต์ของ JRA Bajikouen ในช่วงประมาณกลางเดือนมีนาคม ซึ่งจะมีการแจ้งข้อมูลให้ทราบในช่วงนั้น
บริเวณทั้งหมดมีเนื้อที่ราว 18 เฮกเตอร์ ซึ่งประกอบไปด้วคอกม้า สนามแข่งหลัก สนามแข่งในอาคารกระจก และอื่น ๆ ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ที่นี่กลายเป็นจุดชมดอกเชอรี่บานชื่อดังขึ้นมาด้วยความที่มีต้นเชอรี่มากถึง 500 ต้นทีเดียว!
ภายในคอกม้า ภาพของม้าที่กำลังย่างเหยาะโดยมีภาพดอกเชอรี่เบ่งบานชูช่อเต็มที่นั้นช่างน่าตื่นตาตื่นใจเหลือประมาณ
เราขอแนะนำโปรแกรมนั่งรถลากเทียมม้าที่มีให้บริการในช่วงเทศกาลดอกเชอรี่บานทุก ๆ ปี ที่คุณจะได้อิ่มเอมใจกับการนั่งรถม้าไปรอบ ๆ บริเวณอย่างอ้อยอิ่ง สบาย ๆ พร้อมกับชื่นชมดอกเชอรี่หลากหลายสายพันธุ์ที่กำลังชูช่อ ทั้งโซเมอิ โยชิโนะ (Somei Yoshino ) โกโช ( Gosho ) และเชอรี่ภูเขา ไม่ต้องสงสัยเลยว่าคุณจะสุขล้นสุดขีดทีเดียว เมื่อได้เห็นดอกกลีบสีชมพูเรื่อค่อย ๆร่วงปลิวลงมาที่พื้น นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมพิเศษอื่น ๆ ที่น่าลองเช่นกัน เช่นประสบการณ์การขี่ม้า การโชว์การแสดงของลูกม้า และอื่น ๆ อีกมากที่จะให้คุณได้เพลิดเพลินตลอดทั้งวัน
"สนามม้า" แหล่งการพนันของรัฐบาลญี่ปุ่น
競馬 (เคบะ) ม้าแข่ง เป็นอีกแหล่งหนึ่ง ที่ทำรายได้ ให้กับรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งมีแข่งกันทุกวัน มีการโฆษณาทีวี สามารถ ซื้อม้าแข่งได้ ทั้งที่ทางอินเตอร์เนต โดยผ่านมือถือ หรือ เครื่องคอมฯ และการไปยังสนามแข่งม้า หรือ สถานที่ ที่มีจอ ทีวียักษ์ สำหรับ รายการแข่งม้า โดยเฉพาะ ซึ่งในประเทศญี่ปุ่นก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในแต่ละปีจะมีการจัดการแข่งขันถึง 21,000 ครั้ง จัดโดย Japan Racing Association (JRA) และ National Association of Racing (NRA) มีสนามอยู่มากมายในหลายจังหวัดของประเทศญี่ปุ่น โดยการแข่งขันที่มีชื่อเสียงมากก็คือ Tokyo Yuushun (Japan Derby) และ Japan Cup ใครที่อยากลองก็ลองไปดูกันได้
ขอยกตัวอย่างสนามม้า 1 แห่ง
สนามแข่งม้าซัปโปโร
สนามแข่งม้าซัปโปโรนั้น เป็นสนามแข่งม้ากลางเมืองซัปโปโรที่ได้รับการสนับสนุนจาก JRA (สมาคมแข่งม้ากลาง ประเทศญี่ปุ่น) ได้รับการปรับปรุงในด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น ที่นั่งชม ฯลฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2014 และได้เปิดอย่างเป็นทางการแล้ว ในการชม “ฮอกไกโดซีรี่ส์” ซึ่งเป็นการแข่งม้าในฤดูร้อนของสนามแข่งม้าซัปโปโรนั้น แนะนำให้นั่งที่ “ระเบียงโมอิวะ” ซึ่งอยู่ที่ชั้น 2 ของสแตนด์ที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ เป็นระเบียงที่นั่งที่มีความยาวถึง 120 ม. นอกจากจะมองเห็นได้ทั้งคอร์สแล้ว ยังเป็นที่นั่งชมที่สามารถมองเห็นเมืองซัปโปโร และภูเขาโมะอิวะได้ด้วย นอกจากนี้ยังมี “ฮานะมิจิ” ที่สามารถชมม้าแข่งได้ในระยะใกล้ๆ “มากิบะการ์เด้น” ที่มีม้าที่เลี้ยงแบบปล่อยอิสระ และ “คิดส์แลนด์” ที่มีบ้านบนต้นไม้ เป็นสถานที่ที่เพียบพร้อมด้วยความบันเทิงได้ทั้งครอบครัว ไม่เพียงแต่ชมการแข่งม้าเท่านั้น เพราะว่ามีสวนให้เด็กเล่น มีร้านอาหาร คนจำนวนหนึ่ง เอาเสื่อไปปู รองนั่ง เอาอาหารไปทาน ทำเหมือนไปปิคนิคเลย
เวลาทำการ
เวลาเริ่มแข่งม้า 9:00 น. ~17:00 น.
วันธรรมดา 10:00 น. ~12:00 น., 13:00 น. ~16:00 น.
วันหยุด
วันจันทร์, วันอังคาร, วันหยุดราชการ, วันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ และวันหยุดพิเศษอื่น ๆ
ค่าเข้าชม
100 เยน (ค่าเข้า)
ที่จอดรถ
1000 เยน
สนามแข่งม้าในประเทศญี่ปุ่นมีหลายแห่ง บางแห่งแข่งทุกวัน บางแห่งแข่งแค่เสาร์กับอาทิตย์ ค่าเข้าสนามก็ไม่แพงอยู่ที่ประมาณ 100-200 เยน ถ้าเข้าไปนั่งดูเฉยๆ ก็เสียเท่านี้ ถือว่าไม่แพงนะ
การแข่งขันในแต่ละวันอยู่ที่ประมาณ 8-9 เกม ช่วงเวลาแข่งแต่ละเกม ไม่เกิน 5 นาที แต่ก่อนหน้านั้น ม้าทุกตัวที่จะแข่งจะต้องมาเดินโชว์ตัวกันก่อนเพื่อให้ผู้ชมตัดสินใจเลือกม้า ดูลักษณะม้าประกอบกับการดูประวัติการแข่งขัน ที่แจ้งไว้ในคู่มือที่ได้รับจากประตูทางเข้า ม้าแต่ละตัวจะมีหมายเลขบอก มีสถิติ มีอัตราต่อรองแสดงที่จอขนาดใหญ่ด้วย
หลังจากม้าเดินวนโชว์ตัวแล้ว คราวนี้ก็ถึงตาคนขี่ออกมาโชว์บ้าง คนขี่ม้าก็สำคัญ ประสบการณ์ต่างๆกันไป เป็นอีกปัจจัยที่เอามาพิจารณาด้วย หลังจากนั้นแต่ละคนก็มาเลือกรูปแบบในการเล่นหรือแทงนั่นเอง
การแทงก็มีหลายรูปแบบ ความยากง่ายแตกต่างกัน เงินรางวัลก็ต่างกัน
เช่น -เลือกตัวที่คิดว่าจะเข้าที่หนึ่งเพียงตัวเดียว = ถูกรางวัล
-เลือกตัวเดียวที่จะเข้าภายในอันดับที่1-3 = ถูกรางวัล
-เลือกสองตัว ว่าตัวไหนเข้าลำดับก่อนและหลัง = ถูกรางวัล เป็นต้น
แล้วก็เอาดินสอขีดเลือก หมายเลขม้า รูปแบบในการเล่น เกมที่เท่าไหร่ สนามไหน เงินที่แทง ราคาในการแทงต่ำสุดก็ 100 เยน เมื่อเสร็จแล้วก็นำไปยื่นที่ตู้อัตโนมัติ จ่ายตังค์ จะได้บัตรมาหนึ่งใบมีข้อมูลที่เราเลือกแทงไว้ทั้งหมด คราวนี้ก็มาลุ้นกันในสนาม
ในสนามจะมีที่นั่งมากมาย ทั้งส่วนที่ไม่เสียเงิน และส่วนวีไอพีด้านบนๆ ที่ต้องเสียเงินเข้าไปนั่ง บางคนก็ยืนลุ้นอยู่ขอบสนาม บรรยากาศการเชียร์
หลังจบเกมสักพัก ถ้าแทงถูกก็เอาบัตรที่ได้ไปขึ้นเงินที่ตู้อัตโนมัติ การเล่นส่วนใหญ่เป็นตู้อัตโนมัติหมด ง่าย ไม่ถูกโกงแน่
พอจบ 1 เกมก็วนกลับไปดูม้าเดินโชว์ตัว แทง แล้วรอแข่งอย่างนี้เป็นต้น
เมื่อแนะนำการแข่งม้าไปแล้ว ทีนี้ก็ขอแนะนำจ็อกกี้กันบ้าง จ็อกกี้สาวที่กำลังมีชื่อเสียงในขณะนี้ เธอมีชื่อว่า
Fujita Nanako (อายุ 18 ปี) เป็นจ็อกกี้สาวคนที่ 7 ของสมาคมแข่งม้า (The Japan Racing Association) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2015 หลังจากที่สมาคมแข่งม้า JRA นั้นไม่มีจ็อกกี้ที่เป็นผู้หญิงมานานแล้วตั้งแต่ปี 2001 แล้ว
จ็อกกี้ฟุจิตะซังได้ลงแข่งในสนามมาตั้งแต่เมื่อวันที่ 3 เดือนมีนาคม แล้วก็ได้รับเสียงเชียร์จากคนเป็นจำนวนมาก
แล้วจ็อกกี้ฟุจิตะซังก็ได้ลงแข่งในสนามจังหวัดไซตามะ แล้วก็เข้าวินมาเป็นอันดับที่ 1 เป็นครั้งแรกในวันที่ 24 มี.ค.ที่ผ่านมา แล้วในการแข่งขันอื่นๆ ในวันเดียวกันนั้นเธอก็ยังเข้าวินมาเป็นอันดับ 1 อีกหลายรายการด้วย
จ็อกกี้ฟุจิตะซังให้สัมภาษณ์ว่า “พอเริ่มออกสตาร์ทก็สามารถออกนำหน้าเป็นอันดับ 1 ได้ในทันที แล้วก็คิดว่าต้องวิ่งเช่นนี้ไปจนกว่าจะถึงเส้นชัย แล้วตอนที่เข้าวินเป็นอันดับ 1 ก็รู้สึกดีใจมาก คิดว่าคงจะไม่สามารถลืมการแข่งขันเมื่อวานนี้ได้เลยค่ะ”
Posted by mod at
14:57
│Comments(0)
2016年03月28日
Hokkaido Shinkansen เปิดให้บริการแล้ว
สวัสดี เช้าวันจันทร์นะคะ มีข่าวดีมาบอกต้อนรับวันแรกของการทำงานกันเลย
ความฝันเป็นจริงแล้ว สำหรับการอยากนั่งรถไฟความเร็วสูงชินคันเซ็นจากโตเกียวไปยังฮอกไกโด ลอดใต้ทะเลจากเกาะฮอนชูไปยังเกาะฮอกไกโด
ต่อจากนี้ไปเราก็จะได้นั่ง "Hokkaido Shinkansen" ชิงคันเซ็นที่จะวิ่งตั้งแต่ Kagoshima ไปถึง Sapporo กันเลยทีเดียว
ทำไมจึงเกิดโปรเจครถไฟความเร็วสูงชิงกันเซ็นของทาง JR ญี่ปุ่นได้ เพราะเขามองว่าฮอกไกโดมีคนไปเที่ยวเยอะ ต้องการความสะดวกสบาย รวดเร็ว และหลากหลายในการเดินทาง และยังไม่มีชิงเก็นเซ็นเชื่อมไปที่ฮอกไกโด มีแต่รถไฟสาย Kaikyo Line ซึ่งวิ่งผ่านอุโมงค์ใต้น้ำ Seikan Tunnel ดังนั้นทาง JR ก็เลยเริ่มทำโปรเจค Hokkaido Shinkansen เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2548 และแล้วเร็วพร้อมวิ่งเป็นครั้งแรกในวันที่ 26 มี.ค.ปีนี้ แล้วจะค่อยๆ สร้างถึง Sapporo ในปี พ.ศ.2578 โดยการบริหารงานโดย JR Hokkaido
Hokkaido Shinkansen จะใช้เวลาวิ่งจากสถานี Shin-Hakodate Hokuto ในฮอคไกโดถึงสถานี Tokyo ด้วยเวลาประมาณ 4 ชม. จึงสามารถเดินทางจาก Hokkaido ที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศไปยังจังหวัด Kagoshima ที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศได้ด้วยรถไฟชินคันเซน
แล้วเมื่อวันที่ 24 มี.ค.ที่ผ่านมาก็ได้มีการใช้รถไฟขบวนพิเศษที่ชื่อว่า “East-i” ทำการตรวจเช็คระบบและปัญหาของเรื่องรางรถไฟกับระบบรางไฟฟ้า โดยได้ทดสอบวิ่งระหว่างสถานี จะสำรวจว่าจะมีปัญหาเรื่องรางรถไฟและการปล่อยไฟหรือไม่ในวันที่ 24 นั้นจะวิ่งระหว่างสถานี Shin-Hakodate Hokuto กับสถานี Shin-Aomori โดยตอนที่จะผ่านอุโมงค์ Seikan ซึ่งเป็นอุโมงค์ที่อยู่ใต้ทะเลระหว่าง Hokkaido กับจังหวัด Aomori โดยรถไฟจะลดความเร็วเหลือ 270 km/h และถ้ามีรถไฟจะวิ่งขนานกันก็จะลดความเร็วอัตโนมัติให้เหลือ 200km/h แล้วพอรถไฟผ่านไปไม่มีขนานกันก็จะกลับตามลิมิตความเร็วเดิมโดยอัตโนมัติ
จะมีเครื่องจักรอุปกรณ์มากมายอยู่ในรถไฟขบวนนี้ โดยสามารถที่จะตรวจพบได้แม้กระทั่งความโค้งงอของรางรถไฟได้แม้เพียงแค่ 1 มม.
เนื่องจากมีคนต่างชาติมาท่องเที่ยวมากมาย จึงได้มีการติดตั้ง ATM ที่สามารถถอนเงินญี่ปุ่นด้วยบัตรเครดิตได้ด้วยที่สถานนี Shin-Hakodate Hokuto เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
แล้วก็จะมีการจัดงานอีเว้นท์เฉลิมฉลองในคืนวันที่ 25 มี.ค.นี้ตามแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของ Hakodate ซึ่งน่าจะมีคนจำนวนมากที่นับถอยหลังรอเวลาที่จะเริ่มต้นการเดินรถของรถไฟชินคันเซนมากมาย
ที่นั่งด้านในชินคังเซน สวยหรู น่านั่งมากเลยค่ะ
ความฝันเป็นจริงแล้ว สำหรับการอยากนั่งรถไฟความเร็วสูงชินคันเซ็นจากโตเกียวไปยังฮอกไกโด ลอดใต้ทะเลจากเกาะฮอนชูไปยังเกาะฮอกไกโด
ต่อจากนี้ไปเราก็จะได้นั่ง "Hokkaido Shinkansen" ชิงคันเซ็นที่จะวิ่งตั้งแต่ Kagoshima ไปถึง Sapporo กันเลยทีเดียว
ทำไมจึงเกิดโปรเจครถไฟความเร็วสูงชิงกันเซ็นของทาง JR ญี่ปุ่นได้ เพราะเขามองว่าฮอกไกโดมีคนไปเที่ยวเยอะ ต้องการความสะดวกสบาย รวดเร็ว และหลากหลายในการเดินทาง และยังไม่มีชิงเก็นเซ็นเชื่อมไปที่ฮอกไกโด มีแต่รถไฟสาย Kaikyo Line ซึ่งวิ่งผ่านอุโมงค์ใต้น้ำ Seikan Tunnel ดังนั้นทาง JR ก็เลยเริ่มทำโปรเจค Hokkaido Shinkansen เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2548 และแล้วเร็วพร้อมวิ่งเป็นครั้งแรกในวันที่ 26 มี.ค.ปีนี้ แล้วจะค่อยๆ สร้างถึง Sapporo ในปี พ.ศ.2578 โดยการบริหารงานโดย JR Hokkaido
Hokkaido Shinkansen จะใช้เวลาวิ่งจากสถานี Shin-Hakodate Hokuto ในฮอคไกโดถึงสถานี Tokyo ด้วยเวลาประมาณ 4 ชม. จึงสามารถเดินทางจาก Hokkaido ที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศไปยังจังหวัด Kagoshima ที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศได้ด้วยรถไฟชินคันเซน
แล้วเมื่อวันที่ 24 มี.ค.ที่ผ่านมาก็ได้มีการใช้รถไฟขบวนพิเศษที่ชื่อว่า “East-i” ทำการตรวจเช็คระบบและปัญหาของเรื่องรางรถไฟกับระบบรางไฟฟ้า โดยได้ทดสอบวิ่งระหว่างสถานี จะสำรวจว่าจะมีปัญหาเรื่องรางรถไฟและการปล่อยไฟหรือไม่ในวันที่ 24 นั้นจะวิ่งระหว่างสถานี Shin-Hakodate Hokuto กับสถานี Shin-Aomori โดยตอนที่จะผ่านอุโมงค์ Seikan ซึ่งเป็นอุโมงค์ที่อยู่ใต้ทะเลระหว่าง Hokkaido กับจังหวัด Aomori โดยรถไฟจะลดความเร็วเหลือ 270 km/h และถ้ามีรถไฟจะวิ่งขนานกันก็จะลดความเร็วอัตโนมัติให้เหลือ 200km/h แล้วพอรถไฟผ่านไปไม่มีขนานกันก็จะกลับตามลิมิตความเร็วเดิมโดยอัตโนมัติ
จะมีเครื่องจักรอุปกรณ์มากมายอยู่ในรถไฟขบวนนี้ โดยสามารถที่จะตรวจพบได้แม้กระทั่งความโค้งงอของรางรถไฟได้แม้เพียงแค่ 1 มม.
เนื่องจากมีคนต่างชาติมาท่องเที่ยวมากมาย จึงได้มีการติดตั้ง ATM ที่สามารถถอนเงินญี่ปุ่นด้วยบัตรเครดิตได้ด้วยที่สถานนี Shin-Hakodate Hokuto เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
แล้วก็จะมีการจัดงานอีเว้นท์เฉลิมฉลองในคืนวันที่ 25 มี.ค.นี้ตามแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของ Hakodate ซึ่งน่าจะมีคนจำนวนมากที่นับถอยหลังรอเวลาที่จะเริ่มต้นการเดินรถของรถไฟชินคันเซนมากมาย
ที่นั่งด้านในชินคังเซน สวยหรู น่านั่งมากเลยค่ะ
Posted by mod at
12:28
│Comments(0)
2016年03月25日
แปลงร่างเป็นบาริสต้าสาวได้ง่ายๆ
สวัสดีวันศุกร์แห่งชาติค่ะ วันนี้มาเขียน Blog ช่วงบ่ายๆ หลังทานข้าวกลางวัน รู้สึกง่วงนอนมากค่ะ ตัวช่วยที่สำคัญของฉันก็คือกาแฟนั่นเอง เพื่อนๆ คนไหนชื่นชอบกาแฟบ้างเอ่ย
นอกจากความหอมและรสชาติของกาแฟที่ขมนิดๆ จะยั่วยวนใจแล้ว ฉันยังหลงใหลการใช้ฟองนมทำเป็นรูปต่างๆ ที่ดูสวยงามด้วย แล้วเทรนฮิตของร้านกาแฟในญี่ปุ่นช่วงนี้คือการทำลาเต้อาร์ต หรือ ศิลปะฟองนมบนแก้วกาแฟ ที่บาริต้าแต่ละร้านต่างแข่งขันกันสร้างสรรค์ลวดลายบนมนูกาแฟ แต่ฉันเป็นคนไม่มีฝีมือด้านงานศิลปะ อย่ากระนั่นเลย ใช้ตัวช่วยดีกว่า
ตอนนี้ที่ญี่ปุ่นมีของให้เล่นสนุกชื่อ Deco Latte Coffee Art Sheets ที่มีลักษณะคล้ายแผ่นกระดาษพิมพ์ลวดลายลงไป ซึ่งเขาทำมาจากเจลาตินและนม เจ้าแผ่นนี้ทานได้ ไม่เป็นอันตรายกับร่างกาย เวลาใช้งานก็แค่ฉีกซองแล้วเอาไปวางบนผิวหน้าของกาแฟร้อน หลังจากนั้นรอแค่สองนาทีมันก็จะละลายรวมเป็นเนื้อเดียวกับกาแฟ โดยคุณไม่จำเป็นต้องใช้ความรู้ทางศิลปะอะไรเลย
ส่วนลวดลายนั้นก็มีให้เลือกหลากหลาย ทั้งลายที่ใช้ภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น ทั้งลายการ์ตูนแบบญี่ปุ่นๆ ลายน้องหมี Rilakkuma และลาย Snoopy แถมแผ่น Deco Latte นี้ไม่มีคาเฟอีน ออกรสหวานนิดๆ คุณแม่ๆ ทั้งหลายอาจนำไปประยุกต์ใช้กับเครื่องดื่มร้อนให้ลูกๆ ทานก็ได้
อยากได้มาเล่นบ้างจัง
นอกจากความหอมและรสชาติของกาแฟที่ขมนิดๆ จะยั่วยวนใจแล้ว ฉันยังหลงใหลการใช้ฟองนมทำเป็นรูปต่างๆ ที่ดูสวยงามด้วย แล้วเทรนฮิตของร้านกาแฟในญี่ปุ่นช่วงนี้คือการทำลาเต้อาร์ต หรือ ศิลปะฟองนมบนแก้วกาแฟ ที่บาริต้าแต่ละร้านต่างแข่งขันกันสร้างสรรค์ลวดลายบนมนูกาแฟ แต่ฉันเป็นคนไม่มีฝีมือด้านงานศิลปะ อย่ากระนั่นเลย ใช้ตัวช่วยดีกว่า
ตอนนี้ที่ญี่ปุ่นมีของให้เล่นสนุกชื่อ Deco Latte Coffee Art Sheets ที่มีลักษณะคล้ายแผ่นกระดาษพิมพ์ลวดลายลงไป ซึ่งเขาทำมาจากเจลาตินและนม เจ้าแผ่นนี้ทานได้ ไม่เป็นอันตรายกับร่างกาย เวลาใช้งานก็แค่ฉีกซองแล้วเอาไปวางบนผิวหน้าของกาแฟร้อน หลังจากนั้นรอแค่สองนาทีมันก็จะละลายรวมเป็นเนื้อเดียวกับกาแฟ โดยคุณไม่จำเป็นต้องใช้ความรู้ทางศิลปะอะไรเลย
ส่วนลวดลายนั้นก็มีให้เลือกหลากหลาย ทั้งลายที่ใช้ภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น ทั้งลายการ์ตูนแบบญี่ปุ่นๆ ลายน้องหมี Rilakkuma และลาย Snoopy แถมแผ่น Deco Latte นี้ไม่มีคาเฟอีน ออกรสหวานนิดๆ คุณแม่ๆ ทั้งหลายอาจนำไปประยุกต์ใช้กับเครื่องดื่มร้อนให้ลูกๆ ทานก็ได้
อยากได้มาเล่นบ้างจัง
Posted by mod at
16:40
│Comments(0)
2016年03月24日
เสียงร้องของนกก็มีไวยากรณ์นะ
สวัสดีค่ะ วันนี้ตื่นเช้ากว่าทุกๆ วัน อากาศตอนเช้าเย็นสบายดี แถมมีเสียงของนกร้องประกอบด้วย ทำให้บรรยากาศยิ่งดีเข้าไปใหญ่เลย
วันนี้ก็ขอมาคุยเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติต่อนะคะ ไหนๆ ก็พูดเรื่องนกร้องแล้ว เราก็มาดูกันว่าเสียงนกนั้นไม่ได้แต่จะฟังไพเราะและเพลินเท่านั้น ในหมู่นกด้วยกันเองยังเป็นวิธีการสื่อสารกันด้วยนะคะ
อย่างที่กลุ่มนักวิจัยของมหาวิทยาลัย SOKENDAI, the Graduate University for Advanced Studies หรือย่อว่า โซเค็นได เป็นมหาวิทยาลัยการศึกษาขั้นสูงในประเทศญี่ปุ่น ในลักษณะของความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยของรัฐบาลของประเทศญี่ปุ่น มีการศึกษาครอบคลุมในหลายหลายสาขาวิชา ได้ทำการค้นคว้าวิจัยมากว่า 10 ปีแล้วว่านกที่ชื่อว่า “นกติ๊ดหลังสีไพล” (シジュウカラ- The Japanese tit) นั้นสามารถถ่ายทอดความหมายด้วยเสียงร้องมัน
นกติ๊ดหลังสีไพลมีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างนกติ๊ดใหญ่ และนกติ๊ดหลังเทา คือมันมีหลังสีเขียวไพลเหมือนนกติ๊ดใหญ่ แต่มีลำตัวสีขาวนวลเหมือนนกติ๊ดหลังเทา ชนิดหลังนี้ในเมืองไทยเป็นนกที่มีถิ่นอาศัยจำกัดมากๆ พบตามป่าโปร่งระดับต่ำทางภาคอีสาน และป่าชายเลนทางภาคใต้ เพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น ในขณะที่นกติ๊ดหลังสีไพล มักพบกระโดดหากินห้อยโหนตีลังกาได้อย่างคล่องแคล่วตามกิ่งไม้โล่งๆ พบง่ายบนดอยสูงหลายแห่ง
ในการวิจัยนี้ ได้ทำการศึกษาว่านกติ๊ดหลังสีไพล ตอนที่จะแจ้งข่าวให้มีนกตัวอื่นๆ เข้าใจว่ามีสัตว์ที่อันตรายอยู่ใกล้ๆ จะส่งเสียงร้องเสียงสูงว่า “pi-tsupi” (ピーツピ) แล้วตอนที่นกทุกตัวมาอยู่รวมกันจะส่งเสียงร้องว่า “Ji Ji Ji Ji” (ヂヂヂヂ)
บางครั้งนกติ๊ดหลังสีไพลจะสร้างประโยคด้วยการส่งเสียงร้อง 2 เสียง โดยส่งเสียงร้องว่า “Pi-tsupi Ji ji ji ji ” (ピーツピ・ヂヂヂヂ)
ซึ่งเสียงร้องนี้จะมีความหมายว่า “มีสัตว์อันตรายเข้ามาใกล้แล้ว ให้ทุกตัวมารวมตัวกัน แล้วระวังอันตรายด้วย”
แต่ว่า ถ้าส่งเสียงร้อง 2 เสียงนี้ตรงกันข้ามกัน คือ “Ji ji ji ji Pi-tsupi” (ヂヂヂヂ・ピーツピ) แล้วล่ะก็ จะไม่สามารถถ่ายทอดความหมายได้
ด้วยเหตุผลนี้ จึงเข้าใจได้ว่าการส่งเสียงร้องของนกติ๊ดหลังสีไพลนั้นมีรูปไวยากรณ์ด้วย ไม่ได้เพียงแค่สื่อสารให้เข้าใจกันได้ โดยการส่งอารมณ์และความรู้สึกผ่านไปทางเสียงเท่านั้น
กลุ่มนักวิจัยยังได้บอกด้วยว่า “การศึกษาครั้งนี้ยังเป็นครั้งแรกที่ทำให้เข้าใจว่า นอกจากคนแล้ว สัตว์ก็ยังสามารถถ่ายทอดความหมายได้ด้วยรูปประโยคด้วย”
วันนี้ก็ขอมาคุยเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติต่อนะคะ ไหนๆ ก็พูดเรื่องนกร้องแล้ว เราก็มาดูกันว่าเสียงนกนั้นไม่ได้แต่จะฟังไพเราะและเพลินเท่านั้น ในหมู่นกด้วยกันเองยังเป็นวิธีการสื่อสารกันด้วยนะคะ
อย่างที่กลุ่มนักวิจัยของมหาวิทยาลัย SOKENDAI, the Graduate University for Advanced Studies หรือย่อว่า โซเค็นได เป็นมหาวิทยาลัยการศึกษาขั้นสูงในประเทศญี่ปุ่น ในลักษณะของความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยของรัฐบาลของประเทศญี่ปุ่น มีการศึกษาครอบคลุมในหลายหลายสาขาวิชา ได้ทำการค้นคว้าวิจัยมากว่า 10 ปีแล้วว่านกที่ชื่อว่า “นกติ๊ดหลังสีไพล” (シジュウカラ- The Japanese tit) นั้นสามารถถ่ายทอดความหมายด้วยเสียงร้องมัน
นกติ๊ดหลังสีไพลมีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างนกติ๊ดใหญ่ และนกติ๊ดหลังเทา คือมันมีหลังสีเขียวไพลเหมือนนกติ๊ดใหญ่ แต่มีลำตัวสีขาวนวลเหมือนนกติ๊ดหลังเทา ชนิดหลังนี้ในเมืองไทยเป็นนกที่มีถิ่นอาศัยจำกัดมากๆ พบตามป่าโปร่งระดับต่ำทางภาคอีสาน และป่าชายเลนทางภาคใต้ เพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น ในขณะที่นกติ๊ดหลังสีไพล มักพบกระโดดหากินห้อยโหนตีลังกาได้อย่างคล่องแคล่วตามกิ่งไม้โล่งๆ พบง่ายบนดอยสูงหลายแห่ง
ในการวิจัยนี้ ได้ทำการศึกษาว่านกติ๊ดหลังสีไพล ตอนที่จะแจ้งข่าวให้มีนกตัวอื่นๆ เข้าใจว่ามีสัตว์ที่อันตรายอยู่ใกล้ๆ จะส่งเสียงร้องเสียงสูงว่า “pi-tsupi” (ピーツピ) แล้วตอนที่นกทุกตัวมาอยู่รวมกันจะส่งเสียงร้องว่า “Ji Ji Ji Ji” (ヂヂヂヂ)
บางครั้งนกติ๊ดหลังสีไพลจะสร้างประโยคด้วยการส่งเสียงร้อง 2 เสียง โดยส่งเสียงร้องว่า “Pi-tsupi Ji ji ji ji ” (ピーツピ・ヂヂヂヂ)
ซึ่งเสียงร้องนี้จะมีความหมายว่า “มีสัตว์อันตรายเข้ามาใกล้แล้ว ให้ทุกตัวมารวมตัวกัน แล้วระวังอันตรายด้วย”
แต่ว่า ถ้าส่งเสียงร้อง 2 เสียงนี้ตรงกันข้ามกัน คือ “Ji ji ji ji Pi-tsupi” (ヂヂヂヂ・ピーツピ) แล้วล่ะก็ จะไม่สามารถถ่ายทอดความหมายได้
ด้วยเหตุผลนี้ จึงเข้าใจได้ว่าการส่งเสียงร้องของนกติ๊ดหลังสีไพลนั้นมีรูปไวยากรณ์ด้วย ไม่ได้เพียงแค่สื่อสารให้เข้าใจกันได้ โดยการส่งอารมณ์และความรู้สึกผ่านไปทางเสียงเท่านั้น
กลุ่มนักวิจัยยังได้บอกด้วยว่า “การศึกษาครั้งนี้ยังเป็นครั้งแรกที่ทำให้เข้าใจว่า นอกจากคนแล้ว สัตว์ก็ยังสามารถถ่ายทอดความหมายได้ด้วยรูปประโยคด้วย”
Posted by mod at
14:19
│Comments(0)
2016年03月23日
ธรรมชาติและอาหารการกินในฤดูใบไม้ผลิ (春の味、春の野山)
สวัสดี วันพุธค่ะ เรายังคงคุยกันต่อถึงเรื่องราวของฤดูใบไม้ผลินะคะ
วันนี้เราจะมาดูกันถึงธรรมชาติและอาหารการกินในฤดูใบไม้ผลิ (春の味、春の野山)
สัญลักษณ์ของการเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิหรือการเกิดขึ้นใหม่อีกครั้ง และหากจะว่าไปแล้ว จะมีคนชาติไหนอีกในโลก ที่สนุกกับการเปลี่ยนฤดูได้เท่าคนญี่ปุ่น ตั้งแต่เรื่องในบ้านอย่างการเปลี่ยนจานชามและผ้าปูโต๊ะ ไปจนถึงการออกไปนั่งดูผู้คนและเฝ้าชมขบวนพาเหรด ดูเหมือนว่า “วัฒนธรรมตามฤดูกาล” นั้นคือสิ่งที่ส่งต่อกันในสังคมมารุ่นแล้วรุ่นเล่า ทั้งยังเป็นวัฒนธรรมที่โดดเด่นหากแต่ว่ากลมกลืนกับความเป็นญี่ปุ่นอย่างที่ไม่มีชาติไหนทัดเทียมได้
ฤดูใบไม้ผลิที่มีอากาศอบอุ่น อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 13-25 องศาเซลเซียส -อาหารที่เป็นตัวแทนของฤดูใบไม้ผลิ คือ “หน่อไม้” และ “ปลาโอที่จับได้ชุดแรกของปี”
สำหรับชาวญี่ปุ่น การเลือกรับประทานอาหารในท้องถิ่นที่ผลิดอกออกผลตามฤดูกาลกลับเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน และยังคงได้รับการสานต่อคุณค่ามาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งนอกจากจะเป็นเรื่องของความเชื่อที่ว่า การกินอาหารตามฤดูกาลจะส่งผลดีต่อสุขภาพแล้ว มันได้กลายเป็นเรื่องคุณค่าทางวัฒนธรรมด้วย ชาวญี่ปุ่นถึงกับมีคำว่า hatsumono ที่หมายถึงพืชผักผลไม้ หรือปลา ที่เก็บเกี่ยวหรือจับได้ในช่วงต้นฤดู และคำว่า shun ที่แปลว่า “อยู่ในช่วงฤดูกาล” (now-in-season) นั้นก็เป็นคาถาสำคัญที่เป็นตัวกำหนดวัตถุดิบและอาหารบนโต๊ะกินข้าวของชาวญี่ปุ่นมาแสนนาน อาจกล่าวได้ว่า วัฒนธรรมกินอาหารตามฤดูกาลคือความภาคภูมิใจของชาวญี่ปุ่น เพราะถึงแม้ว่าระบบ “ซูเปอร์มาร์เก็ต” ในปัจจุบันจะทำให้หาซื้อวัตถุดิบหลายอย่างได้ตลอดทั้งปี แต่ในมื้ออาหารของคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ก็บ่งบอกถึงฤดูกาลอยู่ดี โดยเฉพาะส่วนประกอบที่อยู่ในซุป หรือแม้แต่การเลือกวัตถุดิบของสลัดนั่นเอง
การให้ความสำคัญกับความกลมกลืมของอาหารญี่ปุ่นยังถูกสะท้อนผ่านคำกล่าวของที่ว่า วัตถุดิบสำหรับอาหารแต่ละจานจะต้องมีความกลมกลืนกับอาหารนั้นๆ ซึ่งจะต้องกลมกลืนกับอาหารจานอื่นๆ ในแต่ละมื้อ และอาหารแต่ละมื้อก็จะต้องมีความกลมกลืนกับธรรมชาติและสภาพแวดล้อม รวมถึงคนที่ร่วมรับประทานอีกด้วย
หลังจากผ่านความหนาวเหน็บมาเป็นเวลาหลายเดือนคนญี่ปุ่นต่างรอคอยเวลาแห่งความสุข คือช่วงฤดูใบไม้ ตอนนี้ในร้านค้าและซุปเปอร์มาร์เก็ตก็วางจำหน่ายอาหารของฤดูใบไม้ผลิได้แก่ดอกซากุระดองเกลือในรูปแบบเครื่องปรุงสำเร็จสำหรับทำข้าวหุงดอกซากุระ ผักดองดอกซากุระและขนมโมจิซากุระเป็นต้น
นอกจากผลิตภัณฑ์จากซากุระแล้วก็มีผักอร่อยที่หารับประทานได้เฉพาะช่วงฤดูใบไม้ผลิ ผักดังต่อไปนี้เป็นผักที่พบเห็นได้บ่อยในอาหารญี่ปุ่นช่วงใบไม้ผลิ
山菜 (さんさい)พืชผักบนภูเขา หมายถึงผักเจริญเติบโตตามธรรมชาติ ถูกพบอยู่ ในป่า และไม่ได้ทำการเพาะ ปลูกและเก็บเกี่ยวจากฟาร์มปลูก แต่ปัจจุบันก็เริ่มมีการนำมาเพาะปลูกในฟาร์มกันแล้ว
พืชผักบนภูเขาอย่างเช่น
たけのこ (Takenoko) หน่อไม้ เป็นคำที่ใช้เรียกหน่ออ่อนของไผ่ที่รับประทานได้ที่แตกจากเหง้าใต้ดิน โดยมาจากสปีชีส์ Bambusa vulgaris และ Phyllostachys edulis นิยมรับประทานในทวีปเอเชียหลายประเทศ และมีวิธีการปรุงที่หลากหลาย เช่น
ข้าวอบหน่อไม้
หน่อไม้ต้มซี้อิ้วญี่ปุ่น
なのはな (Nanohana) หรือผักกาดก้านขาว
พืชชนิดนี้ปลูกขึ้นมาเพื่อสกัดทำน้ำมันเป็นวัตถุประสงค์หลัก หรือที่รู้จักกันในชื่อน้ำมันคาโนลา (Canola oil) แม้ว่าในปัจจุบันจะสามารถหายอดผักกาดก้านขาวมารับประทานได้ตลอดทั้งปี แต่ยอดผัดกาดก้านขาวที่มีตุ่มดอกสีเหลืองอยู่ที่ปลายยอดสามารถหามารับประทานได้เพียงช่วงฤดูใบไม้ผลิตั้งแต่ช่วงการบานของดอกบ๊วยราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงช่วงดอกซากุระบานประมาณต้นเดือนเมษายนเท่านั้น นาโนฮะนะเป็นผักที่มีรสชาติอร่อยแม้มีรสขม คนญี่ปุ่นนิยมนำนะโนฮะนะมาปรุงอาหารโดยวิธีการต้มจนนุ่มและล้างน้ำเย็น จากนั้นปรุงรสด้วยส่วนผสมของซีอิ้วและดาชิและโรยหน้าด้วยปลาโบนิโตะแห้ง ร้านอาหารญี่ปุ่นมักเสิร์ฟนะโนฮะนะเป็นเครื่องเคียงในอาหารชุดญี่ปุ่นสร้างความสดชื่นของลมหายใจแห่งฤดูใบไม้ผลิ
แต่ในปัจจุบันเริ่มจะมีการใช้ประโยชน์จากความงามของดอก"นะโนฮานะ" ซึ่งเมื่อบานเต็มที่แล้วจะทำให้ ท้องทุ่งกลายเป็นสีเหลืองหมด รัฐบาลท้องถิ่นของที่นี่จึงเริ่มพัฒนาการท่องเที่ยวโดยใช้ดอกนะโนะฮานาเป็นจุดขาย ดอกนี้จะบานเต็มที่ประมาณปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนมิถุนายน
ทุ่งดอกนะโนฮะนะ
たらのめ (Taranome)
ทะระโนะเมะ เป็นหน่ออ่อนของต้น angelica ซึ่งจะแตกหน่อในช่วงฤดูใบไม้ผลิเท่านั้น ทะระโนะเมะเป็นผักที่อุดมไปด้วยโพแตสเซียมซึ่งช่วยกำจัดโซเดียมออกจากร่างกายมีประโยชน์สำหรับผู้มีความดันโลหิตสูง
ทะระโนะเมะมีรสชาติขมเล็กน้อยแต่มักอร่อยหากนำมาปรุงเป็นเทมปุระ
ทะระโนเมะ เทมปุระผักทะระโนะเมะ
こごみ (Kogomi หรือ Ostrich fern หรือ fiddlehead fern)
โคะโกะมิเป็นหน่อที่งอกใหม่ของเฟิร์นที่ขึ้นเฉพาะในช่วงฤดูใบไม้ผลิ คนญี่ปุ่นนิยมนำเฟิร์นชนิดนี้มาหุงกับข้าว ทอดเป็นเทมปุระหรือนำมาต้มในน้ำเดือดและล้างด้วยน้ำเย็นก่อนเติมส่วนผสมซีอิ๊ว มิริน ดาชิและงา สร้างความอร่อยตามรสชาติของฤดูใบไม้ผลิ
ふきのとう (Fukinotou หรือ Butterbur sprouts)
ฟุกิโนะโทอุหรือบัตเตอร์เบอร์เป็นผักป่าที่งอกเป็นอันดับแรกหลังจากหิมะเริ่มละลาย บัตเตอร์เบอร์ที่อร่อยจะได้จากบริเวณที่มีหิมะปกคลุมเพราะหิมะที่ปกคลุมทำให้ผักมีสีซีดช่วยลดความขมของผัก คนญี่ปุ่นเล่าว่าหลังจากจำศีลหมีจะกินหน่อบัตเตอร์เบอร์เป็นอันดับแรก ดังนั้นผักชนิดนี้น่าจะมีคุณประโยชน์มากมาย การนำผักบัตเตอร์เบอร์มารับประทานทำได้โดยการนำหน่อมาทอดเป็นเทมปุระ นำใบและส่วนยอดมาใส่ในซุปมิโซะ และนำมาสับให้ละเอียดผสมกับมิโซะรับประทานกับข้าวสวยให้รสชาติขมกลมกล่อมไปกับกลิ่นหอมพิเศษของบัตเตอร์เบอร์
หน่อฟุกิโนะโทอุ เทมปุระหน่อฟุกิโนะโทอุ ซุปมิโซะ
มีผักอีกหลายชนิดที่มีรสชาติอร่อยเฉพาะไม่เหมือนผักทั่วไป หากได้ลิ้มลองแล้วเป็นต้องติดใจ หากมาญี่ปุ่นในช่วงฤดูใบไม้ผลิลองมองหาเมนูอาหารที่มีผักป่าในช่วงฤดูใบไม้ผลิมาลองชิมดูนะคะ
วันนี้เราจะมาดูกันถึงธรรมชาติและอาหารการกินในฤดูใบไม้ผลิ (春の味、春の野山)
สัญลักษณ์ของการเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิหรือการเกิดขึ้นใหม่อีกครั้ง และหากจะว่าไปแล้ว จะมีคนชาติไหนอีกในโลก ที่สนุกกับการเปลี่ยนฤดูได้เท่าคนญี่ปุ่น ตั้งแต่เรื่องในบ้านอย่างการเปลี่ยนจานชามและผ้าปูโต๊ะ ไปจนถึงการออกไปนั่งดูผู้คนและเฝ้าชมขบวนพาเหรด ดูเหมือนว่า “วัฒนธรรมตามฤดูกาล” นั้นคือสิ่งที่ส่งต่อกันในสังคมมารุ่นแล้วรุ่นเล่า ทั้งยังเป็นวัฒนธรรมที่โดดเด่นหากแต่ว่ากลมกลืนกับความเป็นญี่ปุ่นอย่างที่ไม่มีชาติไหนทัดเทียมได้
ฤดูใบไม้ผลิที่มีอากาศอบอุ่น อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 13-25 องศาเซลเซียส -อาหารที่เป็นตัวแทนของฤดูใบไม้ผลิ คือ “หน่อไม้” และ “ปลาโอที่จับได้ชุดแรกของปี”
สำหรับชาวญี่ปุ่น การเลือกรับประทานอาหารในท้องถิ่นที่ผลิดอกออกผลตามฤดูกาลกลับเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน และยังคงได้รับการสานต่อคุณค่ามาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งนอกจากจะเป็นเรื่องของความเชื่อที่ว่า การกินอาหารตามฤดูกาลจะส่งผลดีต่อสุขภาพแล้ว มันได้กลายเป็นเรื่องคุณค่าทางวัฒนธรรมด้วย ชาวญี่ปุ่นถึงกับมีคำว่า hatsumono ที่หมายถึงพืชผักผลไม้ หรือปลา ที่เก็บเกี่ยวหรือจับได้ในช่วงต้นฤดู และคำว่า shun ที่แปลว่า “อยู่ในช่วงฤดูกาล” (now-in-season) นั้นก็เป็นคาถาสำคัญที่เป็นตัวกำหนดวัตถุดิบและอาหารบนโต๊ะกินข้าวของชาวญี่ปุ่นมาแสนนาน อาจกล่าวได้ว่า วัฒนธรรมกินอาหารตามฤดูกาลคือความภาคภูมิใจของชาวญี่ปุ่น เพราะถึงแม้ว่าระบบ “ซูเปอร์มาร์เก็ต” ในปัจจุบันจะทำให้หาซื้อวัตถุดิบหลายอย่างได้ตลอดทั้งปี แต่ในมื้ออาหารของคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ก็บ่งบอกถึงฤดูกาลอยู่ดี โดยเฉพาะส่วนประกอบที่อยู่ในซุป หรือแม้แต่การเลือกวัตถุดิบของสลัดนั่นเอง
การให้ความสำคัญกับความกลมกลืมของอาหารญี่ปุ่นยังถูกสะท้อนผ่านคำกล่าวของที่ว่า วัตถุดิบสำหรับอาหารแต่ละจานจะต้องมีความกลมกลืนกับอาหารนั้นๆ ซึ่งจะต้องกลมกลืนกับอาหารจานอื่นๆ ในแต่ละมื้อ และอาหารแต่ละมื้อก็จะต้องมีความกลมกลืนกับธรรมชาติและสภาพแวดล้อม รวมถึงคนที่ร่วมรับประทานอีกด้วย
หลังจากผ่านความหนาวเหน็บมาเป็นเวลาหลายเดือนคนญี่ปุ่นต่างรอคอยเวลาแห่งความสุข คือช่วงฤดูใบไม้ ตอนนี้ในร้านค้าและซุปเปอร์มาร์เก็ตก็วางจำหน่ายอาหารของฤดูใบไม้ผลิได้แก่ดอกซากุระดองเกลือในรูปแบบเครื่องปรุงสำเร็จสำหรับทำข้าวหุงดอกซากุระ ผักดองดอกซากุระและขนมโมจิซากุระเป็นต้น
นอกจากผลิตภัณฑ์จากซากุระแล้วก็มีผักอร่อยที่หารับประทานได้เฉพาะช่วงฤดูใบไม้ผลิ ผักดังต่อไปนี้เป็นผักที่พบเห็นได้บ่อยในอาหารญี่ปุ่นช่วงใบไม้ผลิ
山菜 (さんさい)พืชผักบนภูเขา หมายถึงผักเจริญเติบโตตามธรรมชาติ ถูกพบอยู่ ในป่า และไม่ได้ทำการเพาะ ปลูกและเก็บเกี่ยวจากฟาร์มปลูก แต่ปัจจุบันก็เริ่มมีการนำมาเพาะปลูกในฟาร์มกันแล้ว
พืชผักบนภูเขาอย่างเช่น
たけのこ (Takenoko) หน่อไม้ เป็นคำที่ใช้เรียกหน่ออ่อนของไผ่ที่รับประทานได้ที่แตกจากเหง้าใต้ดิน โดยมาจากสปีชีส์ Bambusa vulgaris และ Phyllostachys edulis นิยมรับประทานในทวีปเอเชียหลายประเทศ และมีวิธีการปรุงที่หลากหลาย เช่น
ข้าวอบหน่อไม้
หน่อไม้ต้มซี้อิ้วญี่ปุ่น
なのはな (Nanohana) หรือผักกาดก้านขาว
พืชชนิดนี้ปลูกขึ้นมาเพื่อสกัดทำน้ำมันเป็นวัตถุประสงค์หลัก หรือที่รู้จักกันในชื่อน้ำมันคาโนลา (Canola oil) แม้ว่าในปัจจุบันจะสามารถหายอดผักกาดก้านขาวมารับประทานได้ตลอดทั้งปี แต่ยอดผัดกาดก้านขาวที่มีตุ่มดอกสีเหลืองอยู่ที่ปลายยอดสามารถหามารับประทานได้เพียงช่วงฤดูใบไม้ผลิตั้งแต่ช่วงการบานของดอกบ๊วยราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงช่วงดอกซากุระบานประมาณต้นเดือนเมษายนเท่านั้น นาโนฮะนะเป็นผักที่มีรสชาติอร่อยแม้มีรสขม คนญี่ปุ่นนิยมนำนะโนฮะนะมาปรุงอาหารโดยวิธีการต้มจนนุ่มและล้างน้ำเย็น จากนั้นปรุงรสด้วยส่วนผสมของซีอิ้วและดาชิและโรยหน้าด้วยปลาโบนิโตะแห้ง ร้านอาหารญี่ปุ่นมักเสิร์ฟนะโนฮะนะเป็นเครื่องเคียงในอาหารชุดญี่ปุ่นสร้างความสดชื่นของลมหายใจแห่งฤดูใบไม้ผลิ
แต่ในปัจจุบันเริ่มจะมีการใช้ประโยชน์จากความงามของดอก"นะโนฮานะ" ซึ่งเมื่อบานเต็มที่แล้วจะทำให้ ท้องทุ่งกลายเป็นสีเหลืองหมด รัฐบาลท้องถิ่นของที่นี่จึงเริ่มพัฒนาการท่องเที่ยวโดยใช้ดอกนะโนะฮานาเป็นจุดขาย ดอกนี้จะบานเต็มที่ประมาณปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนมิถุนายน
ทุ่งดอกนะโนฮะนะ
たらのめ (Taranome)
ทะระโนะเมะ เป็นหน่ออ่อนของต้น angelica ซึ่งจะแตกหน่อในช่วงฤดูใบไม้ผลิเท่านั้น ทะระโนะเมะเป็นผักที่อุดมไปด้วยโพแตสเซียมซึ่งช่วยกำจัดโซเดียมออกจากร่างกายมีประโยชน์สำหรับผู้มีความดันโลหิตสูง
ทะระโนะเมะมีรสชาติขมเล็กน้อยแต่มักอร่อยหากนำมาปรุงเป็นเทมปุระ
ทะระโนเมะ เทมปุระผักทะระโนะเมะ
こごみ (Kogomi หรือ Ostrich fern หรือ fiddlehead fern)
โคะโกะมิเป็นหน่อที่งอกใหม่ของเฟิร์นที่ขึ้นเฉพาะในช่วงฤดูใบไม้ผลิ คนญี่ปุ่นนิยมนำเฟิร์นชนิดนี้มาหุงกับข้าว ทอดเป็นเทมปุระหรือนำมาต้มในน้ำเดือดและล้างด้วยน้ำเย็นก่อนเติมส่วนผสมซีอิ๊ว มิริน ดาชิและงา สร้างความอร่อยตามรสชาติของฤดูใบไม้ผลิ
ふきのとう (Fukinotou หรือ Butterbur sprouts)
ฟุกิโนะโทอุหรือบัตเตอร์เบอร์เป็นผักป่าที่งอกเป็นอันดับแรกหลังจากหิมะเริ่มละลาย บัตเตอร์เบอร์ที่อร่อยจะได้จากบริเวณที่มีหิมะปกคลุมเพราะหิมะที่ปกคลุมทำให้ผักมีสีซีดช่วยลดความขมของผัก คนญี่ปุ่นเล่าว่าหลังจากจำศีลหมีจะกินหน่อบัตเตอร์เบอร์เป็นอันดับแรก ดังนั้นผักชนิดนี้น่าจะมีคุณประโยชน์มากมาย การนำผักบัตเตอร์เบอร์มารับประทานทำได้โดยการนำหน่อมาทอดเป็นเทมปุระ นำใบและส่วนยอดมาใส่ในซุปมิโซะ และนำมาสับให้ละเอียดผสมกับมิโซะรับประทานกับข้าวสวยให้รสชาติขมกลมกล่อมไปกับกลิ่นหอมพิเศษของบัตเตอร์เบอร์
หน่อฟุกิโนะโทอุ เทมปุระหน่อฟุกิโนะโทอุ ซุปมิโซะ
มีผักอีกหลายชนิดที่มีรสชาติอร่อยเฉพาะไม่เหมือนผักทั่วไป หากได้ลิ้มลองแล้วเป็นต้องติดใจ หากมาญี่ปุ่นในช่วงฤดูใบไม้ผลิลองมองหาเมนูอาหารที่มีผักป่าในช่วงฤดูใบไม้ผลิมาลองชิมดูนะคะ
Posted by mod at
12:17
│Comments(0)
2016年03月22日
เอกลักษณ์ของ ฤดูใบไม้ผลิ
เอกลักษณ์ของ ฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคม - พฤษภาคม)
ฤดูใบไม้ผลิ (春 )หรือ ฤดูแห่งดอกไม้บาน จะ เริ่มต้นในเดือนมีนาคมที่อุณภูมิเริ่มสูงขึ้นอยู่ที่ 16~20℃ เรื่อยไปจนถึงเดือนพฤษภาคม เมื่อต้นไม้เริ่มผลิดอกออกใบและกลางวันเริ่มอุ่นขึ้น เริ่มจากต้นพลัมบานเป็นทิวด้วยสีสัน จากนั้นต้นท้อก็จะบาน ประมาณปลายเดือนมีนาคมหรือต้นเดือนเมษายน ทุกคนจะรออย่างกระตือรือร้นเมื่อสถานีโทรทัศน์พยากรณ์อากาศวันที่ดอกซากุระจะบานในแต่ละเมือง ดอกซากุระบานสะพรั่งทุกแห่งหน จะถูกปกคลุมไป ด้วยสีชมพู และขาว ชาวญี่ปุ่นจะพากันเอาเสื่อมาปูใต้ต้นซากุระ และจิบสาเกพลางชื่นชมความงามของซากุระ คนญี่ปุ่นจะนิยมจัดงาน 花見(Hanami) ซึ่งเชื่อว่าต้องเป็นภาพที่ติดตรึงอยู่ในความทรงจำและประทับใจของใครหลาย ๆ คนแน่นอนค่ะ โดยเฉพาะสวนซากุระที่ ศาลเจ้าเฮย์อันร ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นสวนซากุระที่สวยที่สุดในโลก แต่น่าเสียดายที่ความงดงามจะบานเพียง 1-2 สัปดาห์ก่อนที่มันจะโรย เปิดทางให้แก่ดอกไม้ฤดูใบไม้ผลิอื่น ๆ เช่น ดอกฟูจิ
แล้วในขณะเดียวกันเป็นช่วงเวลาที่เรียกว่า Golden Week (สิ้นเดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคม) ซึ่งเป็นวันหยุดยาวประจำปีของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะมีคนมากมายกลับบ้านเกิด ถ้าใครไปช่วงนี้อาจจะต้องไปแย่งกินแย่งใช้กับคนญี่ปุ่นเค้าหน่อยนะคะ
เอกลักษณ์ของฤดูใบไม้ผลิก็คือเป็นฤดูกาลของการเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ เช่นการเปลี่ยนโรงเรียนใหม่, การเปิดเทอมใหม่, การย้ายบ้านใหม่, การโยกย้ายเปลี่ยนที่ทำงานใหม่, สินค้าคอลเลคชั่นใหม่ๆ
การบานของดอกไม้ เริ่มต้นด้วยการบานของ “ดอกบ๊วย” ซึ่งในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “อุเมะ” (梅) หรือ “อุเมะโนะฮะนะ” (梅の花) โดยปกติแล้ว ดอกบ๊วยจะเริ่มผลิบานตั้งแต่ช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงประมาณต้นเดือนมีนาคม อย่างช้าที่สุดก็ประมาณปลายเดือนมีนาคม (ขึ้นอยู่กับพื้นที่และสภาพอากาศในแต่ละปี) ก่อนจะโร่งโรยเปลี่ยนเป็นผลกลมสีเขียวสดใด พร้อมเก็บเกี่ยวมาทำเหล้าบ๊วย (梅酒) กับ บ๊วยดอง (梅干) ดูไกลคล้ายซากุระทีเดียว
ตามมาด้วยつばき ดอกสึบากิ (ดอกคาเมลเลีย) ดอกไม้ชนิดนี้เบ่งบานตั้งแต่ช่วงฤดูหนาวจนถึงฤดูใบไม้ผลิ และร่วงก็จะร่วงลงมาทั้งดอกเลย แล้ว
ดอกคาเมลเลียแต่ละสีก็ยังบ่งบอกความในที่ต่างกันด้วย อย่างเช่นดอกคาเมลเลียสีแดง (椿ทสึบากิ) หมายถึง การมีความรัก ดอกคาเมลเลียสีเหลือง (椿ทสึบากิ) หมายถึง ความปรารถนา ดอกคาเมลเลียสีขาว (椿ทสึบากิ) หมายถึง การรอคอย
ต่อมาก็เป็นดอกじんちょうげ ดอกจินโจเงะ
ดอก なのぼぼ ดอกทัมโปะโปะ (ดอกดันเดเลียน)
ดอกれんげ ดอกเรงเงะ หมายถึง การจากผู้เป็นที่รัก,ความบริสุทธิ์
ดอกすみれ ดอกซุมิเระ (ดอกไวโอเลต) หมายถึง ความสัตย์จริง
ดอกつつじ ดอกสึทสึจิ (ดอกอาซาเลีย) หมายถึง ความเจ็บป่วย,ความถ่อมตน
ดอก ぼたん ดอกโบตั๋น หมายถึง ความกล้า
ดอกふじ ดอกฟุจิ (ดอกวิสเทอเรีย)
แล้วในช่วงฤดูใบไม้ผลิในประเทศญี่ปุ่นก็จะกลายเป็นเมืองหน้ากาก เพราะเดินไปทางไหนก็มีแต่คนปิดปากปิดจมูกด้วยผ้าปิดปากกันทั้งนั้น เพราะไม่ว่าไปทางไหนก็มีแต่ละอองเกสรดอกไม้ คนญี่ปุ่นจะ แพ้เกสรดอกไม้กันเยอะมาก มากถึงขนาดที่มีพยากรณ์ปริมาณเกสรดอกไม้ของแต่ละภูมิภาคกันเลยทีเดียว ข้อมูลวันต่อวันด้วยค่ะ (คล้ายๆพยากรณ์อากาศ) ช่วงนี้เริ่มเข้าฤดูใบไม้ผลิ ดอกไม้เริ่มบาน คนที่รู้ตัวว่าแพ้ ก็จะใส่หน้ากากป้องกันตัวเองเอาไว้ก่อน
นอกจากดอกไม้แล้ว ก็ยังมีธรรมชาติต่างๆ ที่บ่งบอกถึงฤดูใบไม้ผลิด้วย นั่นก็คือ
もんしろちょう ผีเสื้อชนิดหนึ่งมีสีขาว
おたまじょくし ลูกกบ, ลูกอ๊อด
ひばりนกชนิดหนึ่งมีสีขาว
ฤดูใบไม้ผลิ (春 )หรือ ฤดูแห่งดอกไม้บาน จะ เริ่มต้นในเดือนมีนาคมที่อุณภูมิเริ่มสูงขึ้นอยู่ที่ 16~20℃ เรื่อยไปจนถึงเดือนพฤษภาคม เมื่อต้นไม้เริ่มผลิดอกออกใบและกลางวันเริ่มอุ่นขึ้น เริ่มจากต้นพลัมบานเป็นทิวด้วยสีสัน จากนั้นต้นท้อก็จะบาน ประมาณปลายเดือนมีนาคมหรือต้นเดือนเมษายน ทุกคนจะรออย่างกระตือรือร้นเมื่อสถานีโทรทัศน์พยากรณ์อากาศวันที่ดอกซากุระจะบานในแต่ละเมือง ดอกซากุระบานสะพรั่งทุกแห่งหน จะถูกปกคลุมไป ด้วยสีชมพู และขาว ชาวญี่ปุ่นจะพากันเอาเสื่อมาปูใต้ต้นซากุระ และจิบสาเกพลางชื่นชมความงามของซากุระ คนญี่ปุ่นจะนิยมจัดงาน 花見(Hanami) ซึ่งเชื่อว่าต้องเป็นภาพที่ติดตรึงอยู่ในความทรงจำและประทับใจของใครหลาย ๆ คนแน่นอนค่ะ โดยเฉพาะสวนซากุระที่ ศาลเจ้าเฮย์อันร ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นสวนซากุระที่สวยที่สุดในโลก แต่น่าเสียดายที่ความงดงามจะบานเพียง 1-2 สัปดาห์ก่อนที่มันจะโรย เปิดทางให้แก่ดอกไม้ฤดูใบไม้ผลิอื่น ๆ เช่น ดอกฟูจิ
แล้วในขณะเดียวกันเป็นช่วงเวลาที่เรียกว่า Golden Week (สิ้นเดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคม) ซึ่งเป็นวันหยุดยาวประจำปีของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะมีคนมากมายกลับบ้านเกิด ถ้าใครไปช่วงนี้อาจจะต้องไปแย่งกินแย่งใช้กับคนญี่ปุ่นเค้าหน่อยนะคะ
เอกลักษณ์ของฤดูใบไม้ผลิก็คือเป็นฤดูกาลของการเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ เช่นการเปลี่ยนโรงเรียนใหม่, การเปิดเทอมใหม่, การย้ายบ้านใหม่, การโยกย้ายเปลี่ยนที่ทำงานใหม่, สินค้าคอลเลคชั่นใหม่ๆ
การบานของดอกไม้ เริ่มต้นด้วยการบานของ “ดอกบ๊วย” ซึ่งในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “อุเมะ” (梅) หรือ “อุเมะโนะฮะนะ” (梅の花) โดยปกติแล้ว ดอกบ๊วยจะเริ่มผลิบานตั้งแต่ช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงประมาณต้นเดือนมีนาคม อย่างช้าที่สุดก็ประมาณปลายเดือนมีนาคม (ขึ้นอยู่กับพื้นที่และสภาพอากาศในแต่ละปี) ก่อนจะโร่งโรยเปลี่ยนเป็นผลกลมสีเขียวสดใด พร้อมเก็บเกี่ยวมาทำเหล้าบ๊วย (梅酒) กับ บ๊วยดอง (梅干) ดูไกลคล้ายซากุระทีเดียว
ตามมาด้วยつばき ดอกสึบากิ (ดอกคาเมลเลีย) ดอกไม้ชนิดนี้เบ่งบานตั้งแต่ช่วงฤดูหนาวจนถึงฤดูใบไม้ผลิ และร่วงก็จะร่วงลงมาทั้งดอกเลย แล้ว
ดอกคาเมลเลียแต่ละสีก็ยังบ่งบอกความในที่ต่างกันด้วย อย่างเช่นดอกคาเมลเลียสีแดง (椿ทสึบากิ) หมายถึง การมีความรัก ดอกคาเมลเลียสีเหลือง (椿ทสึบากิ) หมายถึง ความปรารถนา ดอกคาเมลเลียสีขาว (椿ทสึบากิ) หมายถึง การรอคอย
ต่อมาก็เป็นดอกじんちょうげ ดอกจินโจเงะ
ดอก なのぼぼ ดอกทัมโปะโปะ (ดอกดันเดเลียน)
ดอกれんげ ดอกเรงเงะ หมายถึง การจากผู้เป็นที่รัก,ความบริสุทธิ์
ดอกすみれ ดอกซุมิเระ (ดอกไวโอเลต) หมายถึง ความสัตย์จริง
ดอกつつじ ดอกสึทสึจิ (ดอกอาซาเลีย) หมายถึง ความเจ็บป่วย,ความถ่อมตน
ดอก ぼたん ดอกโบตั๋น หมายถึง ความกล้า
ดอกふじ ดอกฟุจิ (ดอกวิสเทอเรีย)
แล้วในช่วงฤดูใบไม้ผลิในประเทศญี่ปุ่นก็จะกลายเป็นเมืองหน้ากาก เพราะเดินไปทางไหนก็มีแต่คนปิดปากปิดจมูกด้วยผ้าปิดปากกันทั้งนั้น เพราะไม่ว่าไปทางไหนก็มีแต่ละอองเกสรดอกไม้ คนญี่ปุ่นจะ แพ้เกสรดอกไม้กันเยอะมาก มากถึงขนาดที่มีพยากรณ์ปริมาณเกสรดอกไม้ของแต่ละภูมิภาคกันเลยทีเดียว ข้อมูลวันต่อวันด้วยค่ะ (คล้ายๆพยากรณ์อากาศ) ช่วงนี้เริ่มเข้าฤดูใบไม้ผลิ ดอกไม้เริ่มบาน คนที่รู้ตัวว่าแพ้ ก็จะใส่หน้ากากป้องกันตัวเองเอาไว้ก่อน
นอกจากดอกไม้แล้ว ก็ยังมีธรรมชาติต่างๆ ที่บ่งบอกถึงฤดูใบไม้ผลิด้วย นั่นก็คือ
もんしろちょう ผีเสื้อชนิดหนึ่งมีสีขาว
おたまじょくし ลูกกบ, ลูกอ๊อด
ひばりนกชนิดหนึ่งมีสีขาว
Posted by mod at
16:54
│Comments(0)
2016年03月21日
วันชุนบุน (春分の日) วันเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ
สวัสดีค่ะ ต้อนรับเข้าสู่วันแรกของการทำงานในสัปดาห์นะคะ ตอนนี้ทางกรมอุตินิยมวิทยาของไทยก็ได้ประกาศว่าประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว ช่วงอากาศร้อนแบบนี้ ก็อยากกินอะไรเย็นๆ นะคะ แต่ก็อย่าทานเย็นมากเกินไปนะคะ เดี๋ยวร่างกายปรับตัวไม่ทัน
แต่สำหรับประเทศญี่ปุ่น วันที่ 20 มีนาคม คือวันชุนบุน (Vernal Equinox Day / 春分の日) หรือเรียกเป็นภาษาไทยแบบเก๋ไก๋ว่า “วสันตวิษุวัต” เป็นวันเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ ค่ะ อากาศกำลังเย็นสบายเลยทีเดียว
Equinox คือปรากฏการณ์ที่แสงจากดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรพอดี ทำให้เกิดกลางวันกลางคืนที่ยาวเท่ากัน ปีนึงจะเกิดสองหน คือ March equinox และ September equinox ซึ่งปรากฏการณ์นี้จะเป็นจุดแบ่งฤดูกาลของซีกโลกเหนือและใต้โดย
March equinox ซีกโลกเหนือจะย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ และซีกโลกใต้ย่างเข้าฤดูใบไม้ร่วง
September equinox ซีกใต้เหนือจะย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ และซีกโลกเหนือย่างเข้าฤดูใบไม้ร่วง
ในตอนนั้นเราจะเห็นดวงอาทิตย์ทำมุมกับเส้นศูนย์สูตรของท้องฟ้าเท่ากับองศาของละติจูดพอดี ซึ่งถ้าเราไปอยู่ที่ขั้วโลกทั้งสอง เราก็จะเห็นพระอาทิตย์ยี่สิบสี่ชั่วโมงเลยครับ (แต่จะอยู่ที่ขอบฟ้าพอดี เพราะมันทำมุมฉาก)
Vernal Equinox = วสันตวิษุวัต หมายความว่า จุดที่มีกลางวันและกลางคืน เท่ากันในฤดูใบไม้ผลิ
Autumnal Equinox = ศารทวิษุวัต หมายความว่า จุดที่มีกลางวันและกลาง
คืนเท่ากันในฤดูใบไม้ร่วง (วันศารท คือวันเริ่มต้นของ
ฤดูใบไม้ร่วง)
ความสำคัญของวันนี้ก็คือ เป็นวันที่เวลากลางวันกับกลางคืนยาวเท่ากัน และเป็นวันแรกเริ่มของฤดูใบไม้ผลิที่แท้จริง คนญี่ปุ่นสมัยเก่าก่อนให้ความสำคัญกับวันนี้ค่อนข้างมาก โดยถือว่า “เป็นวันที่เราควรระลึกถึงพระคุณของธรรมชาติ และเป็นวันแห่งความเพียรพยายามเพื่ออนาคต”
เหตุที่ชาวญี่ปุ่นสมัยก่อนคิดว่าวันนี้ควรเป็นวันเริ่มต้นของความเพียรนั้น สันนิษฐานว่าอาจได้มาจากลักษณะการดำรงชีวิตของสัตว์หลากชนิด ที่ตื่นขึ้นจากการจำศีลในวันชุนบุน เพื่อหาอาหารอีกครั้ง อีกทั้งฤดูใบไม้ผลิยังเป็นสัญลักษณ์ของความกระปรี้กระเป่า หลังต้องซึมเศร้ากับความหนาวมาเป็นเวลานาน
รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศให้วันชุนบุนเป็นวันหยุดราชการเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1948 ซึ่งในช่วงก่อนหรือหลังวันชุนบุน ชาวญี่ปุ่นจะเดินทางไปเคารพหลุมศพบรรพบุรุษเพื่อแสดงความรู้สึกขอบคุณ
ในวันนี้ คนญี่ปุ่นจะเดินทางกลับไปยังบ้านเกิดเพื่อไปทำบุญให้กับบรรพบุรุษ โดยส่วนใหญ่มักจะทำพิธีกันที่บริเวณสุสานมากกว่าในบ้านครับ ตามความเชื่อของคนญี่ปุ่น โลกจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ โลกที่คนยังมีกิเลสตัณหาอยู่ (Bonno no sekai) ตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันออก สัญลักษณ์คือช่วงเวลากลางวันและโลกของผู้ที่หลุดพ้นแล้ว (Satori no sekai) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก สัญลักษณ์คือเวลากลางคืน ถ้าพูดง่ายๆก็คือ โลกของผู้ที่ยังมีชีวิตกับโลกของผู้ที่ล่วงลับ
สำหรับคนญี่ปุ่นที่นับถือพุทธศาสนานิกายมหายานซึ่งมีความเชื่อที่แตกต่างกับพุทธศาสนานิกายเถรวาทค่อนข้างมากนั้น เชื่อว่าในยามที่บุคคลในครอบครัวนั้นจะเสียชีวิตหรือเสียชีวิตไปแล้ว ถ้าลูกหลานทำบุญ สวดมนต์อุทิศส่วนกุศลไปให้ ดวงวิญญาณก็สามารถไปอยู่ในภพภูมิที่ดีได้
ดังนั้น ในวันที่กลางวันกลางคืนยาวเท่ากันนี้ โลกของเรากับโลกที่บรรพบุรุษอาศัยอยู่จะเชื่อมต่อกันทำให้สามารถติดต่อ ทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ที่ล่วงลับได้ง่ายขึ้น อีกทั้งเมื่อตรงกับฤดูใบไม้ผลิที่เป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นใหม่ ก็ถือเป็นการบอกกล่าวเรื่องดี ๆ ให้แก่บรรพบุรุษได้ทราบและไม่ต้องเป็นห่วงลูกหลานที่ยังมีชีวิตอีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีหลายพื้นที่ของประเทศญี่ปุ่นที่นิยมจัดงานมาราธอน คล้ายเพื่อเป็นการเรียกความมีชีวิตชีวาให้กับร่างกายอีกด้วย
และในวันนี้อาหารที่ชาวญี่ปุ่นนิยมรับประทานเป็นธรรมเนียมก็คือขนม “โบตะโมจิ” (牡丹餅) เป็นขนมโมจิประเภทหนึ่ง ทำจากข้าวสองชนิด (ส่วนใหญ่คือข้าวโมจิ) ผสมกัน นึ่งหรือหุงให้นิ่มแต่ยังพอเป็นเม็ด ปั้นเป็นก้อนกลมแล้วโปะชุบข้างนอกด้วยถั่วแดง คำว่าโบตะนั้นเชื่อว่าแผลงมาจากชื่อดอกโบตั๋น ซึ่งเป็นดอกไม้ที่บานในช่วงฤดูใบไม้ผลิ อีกทั้งรูปร่างของขนมซึ่งด้านนอกหุ้มด้วยถั่วแดงกวน ด้านในเป็นข้าวเหนียวนั้น มองเผินๆคล้ายดอกโบตั๋นที่นิยมนำมาประดับหิ้งพระ หรือวางหน้าสุสานบรรพบุรุษนั่นเอง
แล้วญี่ปุ่นก็มีสำนวนที่เกี่ยวกับ "โบตะโมจิ" ด้วยนะคะ
【棚から牡丹餅(たなからぼたもち)】
อันนี้เป็นสำนวนแปลสั้นๆ ว่า "ส้มหล่น" แปลตรงๆ คือมี "โมจิ (ของดี) หล่นลงจากหิ้ง (มาอยู่ในมือ)"
แต่สำหรับประเทศญี่ปุ่น วันที่ 20 มีนาคม คือวันชุนบุน (Vernal Equinox Day / 春分の日) หรือเรียกเป็นภาษาไทยแบบเก๋ไก๋ว่า “วสันตวิษุวัต” เป็นวันเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ ค่ะ อากาศกำลังเย็นสบายเลยทีเดียว
Equinox คือปรากฏการณ์ที่แสงจากดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรพอดี ทำให้เกิดกลางวันกลางคืนที่ยาวเท่ากัน ปีนึงจะเกิดสองหน คือ March equinox และ September equinox ซึ่งปรากฏการณ์นี้จะเป็นจุดแบ่งฤดูกาลของซีกโลกเหนือและใต้โดย
March equinox ซีกโลกเหนือจะย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ และซีกโลกใต้ย่างเข้าฤดูใบไม้ร่วง
September equinox ซีกใต้เหนือจะย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ และซีกโลกเหนือย่างเข้าฤดูใบไม้ร่วง
ในตอนนั้นเราจะเห็นดวงอาทิตย์ทำมุมกับเส้นศูนย์สูตรของท้องฟ้าเท่ากับองศาของละติจูดพอดี ซึ่งถ้าเราไปอยู่ที่ขั้วโลกทั้งสอง เราก็จะเห็นพระอาทิตย์ยี่สิบสี่ชั่วโมงเลยครับ (แต่จะอยู่ที่ขอบฟ้าพอดี เพราะมันทำมุมฉาก)
Vernal Equinox = วสันตวิษุวัต หมายความว่า จุดที่มีกลางวันและกลางคืน เท่ากันในฤดูใบไม้ผลิ
Autumnal Equinox = ศารทวิษุวัต หมายความว่า จุดที่มีกลางวันและกลาง
คืนเท่ากันในฤดูใบไม้ร่วง (วันศารท คือวันเริ่มต้นของ
ฤดูใบไม้ร่วง)
ความสำคัญของวันนี้ก็คือ เป็นวันที่เวลากลางวันกับกลางคืนยาวเท่ากัน และเป็นวันแรกเริ่มของฤดูใบไม้ผลิที่แท้จริง คนญี่ปุ่นสมัยเก่าก่อนให้ความสำคัญกับวันนี้ค่อนข้างมาก โดยถือว่า “เป็นวันที่เราควรระลึกถึงพระคุณของธรรมชาติ และเป็นวันแห่งความเพียรพยายามเพื่ออนาคต”
เหตุที่ชาวญี่ปุ่นสมัยก่อนคิดว่าวันนี้ควรเป็นวันเริ่มต้นของความเพียรนั้น สันนิษฐานว่าอาจได้มาจากลักษณะการดำรงชีวิตของสัตว์หลากชนิด ที่ตื่นขึ้นจากการจำศีลในวันชุนบุน เพื่อหาอาหารอีกครั้ง อีกทั้งฤดูใบไม้ผลิยังเป็นสัญลักษณ์ของความกระปรี้กระเป่า หลังต้องซึมเศร้ากับความหนาวมาเป็นเวลานาน
รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศให้วันชุนบุนเป็นวันหยุดราชการเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1948 ซึ่งในช่วงก่อนหรือหลังวันชุนบุน ชาวญี่ปุ่นจะเดินทางไปเคารพหลุมศพบรรพบุรุษเพื่อแสดงความรู้สึกขอบคุณ
ในวันนี้ คนญี่ปุ่นจะเดินทางกลับไปยังบ้านเกิดเพื่อไปทำบุญให้กับบรรพบุรุษ โดยส่วนใหญ่มักจะทำพิธีกันที่บริเวณสุสานมากกว่าในบ้านครับ ตามความเชื่อของคนญี่ปุ่น โลกจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ โลกที่คนยังมีกิเลสตัณหาอยู่ (Bonno no sekai) ตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันออก สัญลักษณ์คือช่วงเวลากลางวันและโลกของผู้ที่หลุดพ้นแล้ว (Satori no sekai) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก สัญลักษณ์คือเวลากลางคืน ถ้าพูดง่ายๆก็คือ โลกของผู้ที่ยังมีชีวิตกับโลกของผู้ที่ล่วงลับ
สำหรับคนญี่ปุ่นที่นับถือพุทธศาสนานิกายมหายานซึ่งมีความเชื่อที่แตกต่างกับพุทธศาสนานิกายเถรวาทค่อนข้างมากนั้น เชื่อว่าในยามที่บุคคลในครอบครัวนั้นจะเสียชีวิตหรือเสียชีวิตไปแล้ว ถ้าลูกหลานทำบุญ สวดมนต์อุทิศส่วนกุศลไปให้ ดวงวิญญาณก็สามารถไปอยู่ในภพภูมิที่ดีได้
ดังนั้น ในวันที่กลางวันกลางคืนยาวเท่ากันนี้ โลกของเรากับโลกที่บรรพบุรุษอาศัยอยู่จะเชื่อมต่อกันทำให้สามารถติดต่อ ทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ที่ล่วงลับได้ง่ายขึ้น อีกทั้งเมื่อตรงกับฤดูใบไม้ผลิที่เป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นใหม่ ก็ถือเป็นการบอกกล่าวเรื่องดี ๆ ให้แก่บรรพบุรุษได้ทราบและไม่ต้องเป็นห่วงลูกหลานที่ยังมีชีวิตอีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีหลายพื้นที่ของประเทศญี่ปุ่นที่นิยมจัดงานมาราธอน คล้ายเพื่อเป็นการเรียกความมีชีวิตชีวาให้กับร่างกายอีกด้วย
และในวันนี้อาหารที่ชาวญี่ปุ่นนิยมรับประทานเป็นธรรมเนียมก็คือขนม “โบตะโมจิ” (牡丹餅) เป็นขนมโมจิประเภทหนึ่ง ทำจากข้าวสองชนิด (ส่วนใหญ่คือข้าวโมจิ) ผสมกัน นึ่งหรือหุงให้นิ่มแต่ยังพอเป็นเม็ด ปั้นเป็นก้อนกลมแล้วโปะชุบข้างนอกด้วยถั่วแดง คำว่าโบตะนั้นเชื่อว่าแผลงมาจากชื่อดอกโบตั๋น ซึ่งเป็นดอกไม้ที่บานในช่วงฤดูใบไม้ผลิ อีกทั้งรูปร่างของขนมซึ่งด้านนอกหุ้มด้วยถั่วแดงกวน ด้านในเป็นข้าวเหนียวนั้น มองเผินๆคล้ายดอกโบตั๋นที่นิยมนำมาประดับหิ้งพระ หรือวางหน้าสุสานบรรพบุรุษนั่นเอง
แล้วญี่ปุ่นก็มีสำนวนที่เกี่ยวกับ "โบตะโมจิ" ด้วยนะคะ
【棚から牡丹餅(たなからぼたもち)】
อันนี้เป็นสำนวนแปลสั้นๆ ว่า "ส้มหล่น" แปลตรงๆ คือมี "โมจิ (ของดี) หล่นลงจากหิ้ง (มาอยู่ในมือ)"
Posted by mod at
14:54
│Comments(0)
2016年03月18日
ขนมโยคัง(羊羹) ขึ้นเวทีปารีส
สวัสดี วันศุกร์คะ พรุ่งนี้ก็เป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ของหลายๆ คนแล้วนะคะ แต่ช่วงนี้อากาศบ้านเราค่อยข้างร้อนเลยทีเดียว จะเรียกว่าวันศุกร์ หรือวันสุกดีคะ ตอนนี้ก็ใกล้จะสุกเต็มที่แล้ว งั้นเรามาหาขนมเพื่อรับอากาศร้อนกันนะคะ
ขนมที่ว่านี้.....ก็คือ โยกัง (Yokan - ようかん) หรือ มิซึโยกัง (Mizu Yokan - 水ようかん) นั่นเอง ขนมประเภทนี้...... ส่วนใหญ่มักจะใช้ ถั่วแดงกวน (อังโกะ - Anko)..... เป็นส่วนประกอบหลัก แต่รสชาติจะค่อนข้างหวานจัด ทานคู่กับน้ำชาเขียว (มัตจะ) ซึ่งออกรสขมนิด ๆ เข้ากันดีเชียวค่ะ
เรียกได้ว่าขนมโยคัง(羊羹) เป็นขนมคู่ขวัญของชาเขียวญี่ปุ่เลยก็ว่าได้ ถ้าใครที่เคยนั่งในพิธีชงชาแบบญี่ปุ่น ก็จะทราบว่าเวลาทานชาเขียวที่ขมๆ คนญี่ปุ่นก็จะจัดขนมหวานๆมาวางไว้ทานคู่กับชาเพื่อตัดรส ซึ่งส่วนใหญ่ขนมที่จะพบนำมาวางคู่กันก็คือขนมโยคังนี่แหละค่ะ
ขนมถั่วแดงกวน หรือ โยกัง มีมาตั้งแต่สมัยโบราณของญี่ปุ่นแล้ว จะมีลักษณะคล้ายๆ กับเยลลี่ที่แข็งนิดๆ ถือว่าเป็นของฝากยอดนิยมจากประเทศญี่ปุ่น และ ถือว่าเป็นขนมไฮโซราคาแพงของชาวญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้
โยคัง(羊羹)เดิมทีมีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน เป็นขนมที่ทำด้วยเจลาตินจากเนื้อแกะ ในยุคคามาคุระมีนักบวชศาสนาพุทธนิกายเซน เป็นผู้นำขนมโยคังเข้ามาเผยแพร่ในญี่ปุ่น แต่เนื่องจากศาสนาพุทธห้ามการฆ่าสัตว์ จึงมีการเปลี่ยนจากเจลาตินจากสัตว์ มาเป็นแป้ง ถั่วแดง และวุ้น และมีการใช้วุ้นเข้ามาผสมในภายหลัง จนกลายมาเป็นโยคังในปัจจุบัน
โยคังจะใช้ส่วนผสมหลักคือวุ้นที่ได้จากสาหร่าย เรียกว่า คันเตน (Kanten) แบ่งได้ 2 แบบใหญ่ๆ คือ มิซุ โยคัง เป็นวุ้นใสๆแช่เย็น กินในฤดร้อนผสมผลไม้ลงไป ได้รสหวานเย็น หอมชื่นใจ อีกชนิดคือ มุชิ โยคัง เป็นวุ้นขุ่นๆ เนื้อนิ่มเหนียว ตัดเป็นชิ้นเหลี่ยมพอคำ ทำจากถั่ว เกาลัด หรือมันที่บดละเอียด แป้งสาลี น้ำตาล และคันเตน
คุณสมบัติอีกอย่างที่คาดไม่ถึงของขนมโยคังคือเก็บไว้ได้นาน จึงสามารถเก็บเป็นอาหารยามฉุกเฉินเวลามีเหตุภัยพิบัติธรรมชาติ นอกจากนี้ร่างกายยังดูดซึมสารอาหารได้ง่าย และเก็บไว้ในอุณหภูมิปกติได้แม้ไม่ได้นำเข้าตู้เย็น
ปัจจุบันมีการสร้างสรรค์ขนมโยคังให้มีสีสันและรูปลักษณ์ที่ดูน่ารับประทานแตกต่างจากแบบธรรมดา โดยอาจออกแบบให้มีลวดลายสีสันตามฤดูกาลหรือเทศกาล แล้วนอกจากวุ้นที่ทำด้วย ถั่วแดงกวน แล้ว ยังมีวุ้นที่ทำจากส่วนผสมอื่น ๆ เช่น มันเทศ (อิโมะโยกัง) , ฟักทอง (คาโบจะโยกัง), ชาเขียว (มัตจะโยกัง) ฯลฯ ซึ่งได้รับความนิยมมากเช่นกัน
แต่บางครั้งที่มีคนนำมาเป็นของฝาก เราอาจจะไม่ค่อยชอบเท่าไรเพราะความหวานแสบไส้นั่นเอง
ดังนั้น ประเทศญี่ปุ่นก็เลยได้มีการจัดงานอีเว้นท์ที่มีชื่อว่า “YOKAN COLLECTION” ที่ปารีสประเทศฝรั่งเศสเป็นครั้งแรกเพื่อที่จะแนะนำรสชาติโยคังและรูปลักษณ์และสีสันที่สวยงามให้ต่างชาติได้รู้จัก โดยมีร้านต่างๆ ไปออกร้านมากมาย
ในวันที่ 16 มี.ค.ที่ผ่านมาได้มีคนจากร้านขนมกว่า 10 ร้านที่นำขนมโยกังของร้านตัวเองมาร่วมงาน และรวมตัวกันอยู่ที่สถานบินนาริตะ
เจ้าของร้านที่อยู่ในจังหวัดชิบะได้กล่าวว่า “อยากจะให้คนต่างชาติได้รู้จักความดีงามของขนมโยคัง และคิดว่าอยากจะขายที่ฝรั่งเศสด้วย”
งานอีเว้นท์นี้จะจัดตั้งแต่วันที่ 17 มี.ค.ถึงวันที่ 20 มี.ค.ตามเวลาของฝรั่งเศส ในงานก็จะได้ลองกินโยกังและได้ดูวิธีการทำขนมใหม่ๆ ที่ใช้ขนมโยกังเป็นวัตถุดิบด้วย ถ้าใครไปเที่ยวฝรั่งเศสช่วงนี้ก็ไปดูได้นะคะ
ขนมที่ว่านี้.....ก็คือ โยกัง (Yokan - ようかん) หรือ มิซึโยกัง (Mizu Yokan - 水ようかん) นั่นเอง ขนมประเภทนี้...... ส่วนใหญ่มักจะใช้ ถั่วแดงกวน (อังโกะ - Anko)..... เป็นส่วนประกอบหลัก แต่รสชาติจะค่อนข้างหวานจัด ทานคู่กับน้ำชาเขียว (มัตจะ) ซึ่งออกรสขมนิด ๆ เข้ากันดีเชียวค่ะ
เรียกได้ว่าขนมโยคัง(羊羹) เป็นขนมคู่ขวัญของชาเขียวญี่ปุ่เลยก็ว่าได้ ถ้าใครที่เคยนั่งในพิธีชงชาแบบญี่ปุ่น ก็จะทราบว่าเวลาทานชาเขียวที่ขมๆ คนญี่ปุ่นก็จะจัดขนมหวานๆมาวางไว้ทานคู่กับชาเพื่อตัดรส ซึ่งส่วนใหญ่ขนมที่จะพบนำมาวางคู่กันก็คือขนมโยคังนี่แหละค่ะ
ขนมถั่วแดงกวน หรือ โยกัง มีมาตั้งแต่สมัยโบราณของญี่ปุ่นแล้ว จะมีลักษณะคล้ายๆ กับเยลลี่ที่แข็งนิดๆ ถือว่าเป็นของฝากยอดนิยมจากประเทศญี่ปุ่น และ ถือว่าเป็นขนมไฮโซราคาแพงของชาวญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้
โยคัง(羊羹)เดิมทีมีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน เป็นขนมที่ทำด้วยเจลาตินจากเนื้อแกะ ในยุคคามาคุระมีนักบวชศาสนาพุทธนิกายเซน เป็นผู้นำขนมโยคังเข้ามาเผยแพร่ในญี่ปุ่น แต่เนื่องจากศาสนาพุทธห้ามการฆ่าสัตว์ จึงมีการเปลี่ยนจากเจลาตินจากสัตว์ มาเป็นแป้ง ถั่วแดง และวุ้น และมีการใช้วุ้นเข้ามาผสมในภายหลัง จนกลายมาเป็นโยคังในปัจจุบัน
โยคังจะใช้ส่วนผสมหลักคือวุ้นที่ได้จากสาหร่าย เรียกว่า คันเตน (Kanten) แบ่งได้ 2 แบบใหญ่ๆ คือ มิซุ โยคัง เป็นวุ้นใสๆแช่เย็น กินในฤดร้อนผสมผลไม้ลงไป ได้รสหวานเย็น หอมชื่นใจ อีกชนิดคือ มุชิ โยคัง เป็นวุ้นขุ่นๆ เนื้อนิ่มเหนียว ตัดเป็นชิ้นเหลี่ยมพอคำ ทำจากถั่ว เกาลัด หรือมันที่บดละเอียด แป้งสาลี น้ำตาล และคันเตน
คุณสมบัติอีกอย่างที่คาดไม่ถึงของขนมโยคังคือเก็บไว้ได้นาน จึงสามารถเก็บเป็นอาหารยามฉุกเฉินเวลามีเหตุภัยพิบัติธรรมชาติ นอกจากนี้ร่างกายยังดูดซึมสารอาหารได้ง่าย และเก็บไว้ในอุณหภูมิปกติได้แม้ไม่ได้นำเข้าตู้เย็น
ปัจจุบันมีการสร้างสรรค์ขนมโยคังให้มีสีสันและรูปลักษณ์ที่ดูน่ารับประทานแตกต่างจากแบบธรรมดา โดยอาจออกแบบให้มีลวดลายสีสันตามฤดูกาลหรือเทศกาล แล้วนอกจากวุ้นที่ทำด้วย ถั่วแดงกวน แล้ว ยังมีวุ้นที่ทำจากส่วนผสมอื่น ๆ เช่น มันเทศ (อิโมะโยกัง) , ฟักทอง (คาโบจะโยกัง), ชาเขียว (มัตจะโยกัง) ฯลฯ ซึ่งได้รับความนิยมมากเช่นกัน
แต่บางครั้งที่มีคนนำมาเป็นของฝาก เราอาจจะไม่ค่อยชอบเท่าไรเพราะความหวานแสบไส้นั่นเอง
ดังนั้น ประเทศญี่ปุ่นก็เลยได้มีการจัดงานอีเว้นท์ที่มีชื่อว่า “YOKAN COLLECTION” ที่ปารีสประเทศฝรั่งเศสเป็นครั้งแรกเพื่อที่จะแนะนำรสชาติโยคังและรูปลักษณ์และสีสันที่สวยงามให้ต่างชาติได้รู้จัก โดยมีร้านต่างๆ ไปออกร้านมากมาย
ในวันที่ 16 มี.ค.ที่ผ่านมาได้มีคนจากร้านขนมกว่า 10 ร้านที่นำขนมโยกังของร้านตัวเองมาร่วมงาน และรวมตัวกันอยู่ที่สถานบินนาริตะ
เจ้าของร้านที่อยู่ในจังหวัดชิบะได้กล่าวว่า “อยากจะให้คนต่างชาติได้รู้จักความดีงามของขนมโยคัง และคิดว่าอยากจะขายที่ฝรั่งเศสด้วย”
งานอีเว้นท์นี้จะจัดตั้งแต่วันที่ 17 มี.ค.ถึงวันที่ 20 มี.ค.ตามเวลาของฝรั่งเศส ในงานก็จะได้ลองกินโยกังและได้ดูวิธีการทำขนมใหม่ๆ ที่ใช้ขนมโยกังเป็นวัตถุดิบด้วย ถ้าใครไปเที่ยวฝรั่งเศสช่วงนี้ก็ไปดูได้นะคะ
Posted by mod at
15:25
│Comments(0)