› 日本が好き › 2015年11月
2015年11月30日
魚も顔を見ると相手がだれかわかる เชื่อหรือไม่ปลาจดจำหน้ากันได้
วันนี้มีข่าวเรื่องการวิจัยของญี่ปุ่นมาเล่าสู่กันฟังค่ะ
เพื่อนๆ เชื่อหรือไม่ว่าปลาสามารถจดจำใบหน้าของปลาตัวอื่นได้
มีกลุ่มทำวิจัยของมหาวิทยาลัย Osaka Shiritsu (Osaka City University) คิดว่าปลาเองก็อาจจะจดจำและรู้จักใบหน้าของปลาตัวอื่นได้เช่นเดียวกับพวกลิงหรือพวกนก
ดังนั้น พวกเขาก็เลยได้ลองทำการวิจัยโดยใช้ปลาที่อาศัยอยู่ทะเลสาปในของแอฟริกา จากข้อมูลของนักวิจัยกล่าวว่าปลาพวกนี้จะไม่ค่อยรู้จักระแวดระวังภัยจากปลาตัวอื่นที่เคยอยู่ในสถานที่ใกล้เคียงกันและเคยเห็นกันบ่อยๆ แต่ว่า จะระแวดระวังภัยจากปลาตัวที่เห็นกันเป็นครั้งแรก แล้วก็จะไม่ยอมเข้าไปใกล้ๆ
กลุ่มนักวิจัยได้ทำการทดลองวิจัยในหัวข้อที่ว่า "ทำไมปลาถึงรู้ล่ะว่า ปลาตัวนี้เป็น “ปลาที่เห็นกันบ่อยๆ” หรือว่าเป็น “ปลาที่เห็นกันเป็นครั้งแรก”
ตัวอย่างการวิจัยก็อย่างเช่น จะสร้างภาพถ่ายใบหน้าของ “ปลาที่เห็นกันบ่อยๆ” กับ ส่วนที่เป็นตัวปลาของ “ปลาที่เห็นกันเป็นครั้งแรก” ด้วยคอมพิวเตอร์ แล้วให้ปลาลองดูภาพเหล่านั้น
ผลลัพธ์ออกมาว่า ภาพที่เป็นใบหน้าของ “ปลาที่เห็นกันบ่อย” นั้นปลาจะเลิกระแวดระวังภัยภายในเวลาแค่ 10 วินาที
แต่ภาพใบหน้าของ “ปลาที่เห็นกันเป็นครั้งแรก” จะเลิกระแวดระวังภัยภายในเวลาประมาณ 30 วินาที
ดังนั้น กลุ่มนักวิจัยก็เลยคิดว่าปลาจะจดจำและรู้จักปลาตัวอื่นๆ ได้จากสีและลวดลายบนใบหน้าของปลาตัวนั้นๆ
ศาสตราจารย์โคดะ มาซาโนริที่อยู่ในกลุ่มวิจัยนี้ได้กล่าวว่า “ปลาตัวนี้จะจดจำและรู้จักใบหน้าของปลาตัวอื่นได้ในทันทีที่เจอว่าเป็นปลาที่เคยเห็นกันมาก่อนหรือไม่ และคิดว่าถ้าจดจำและเข้าใจได้ว่าเป็นปลาที่อยู่ในสถานที่ใกล้เคียงกันหรือละแวกเดียวกันก็จะพยายามไม่ต่อสู้หรือทำอันตรายปลาตัวนั้นๆ
เพื่อนๆ เชื่อหรือไม่ว่าปลาสามารถจดจำใบหน้าของปลาตัวอื่นได้
มีกลุ่มทำวิจัยของมหาวิทยาลัย Osaka Shiritsu (Osaka City University) คิดว่าปลาเองก็อาจจะจดจำและรู้จักใบหน้าของปลาตัวอื่นได้เช่นเดียวกับพวกลิงหรือพวกนก
ดังนั้น พวกเขาก็เลยได้ลองทำการวิจัยโดยใช้ปลาที่อาศัยอยู่ทะเลสาปในของแอฟริกา จากข้อมูลของนักวิจัยกล่าวว่าปลาพวกนี้จะไม่ค่อยรู้จักระแวดระวังภัยจากปลาตัวอื่นที่เคยอยู่ในสถานที่ใกล้เคียงกันและเคยเห็นกันบ่อยๆ แต่ว่า จะระแวดระวังภัยจากปลาตัวที่เห็นกันเป็นครั้งแรก แล้วก็จะไม่ยอมเข้าไปใกล้ๆ
กลุ่มนักวิจัยได้ทำการทดลองวิจัยในหัวข้อที่ว่า "ทำไมปลาถึงรู้ล่ะว่า ปลาตัวนี้เป็น “ปลาที่เห็นกันบ่อยๆ” หรือว่าเป็น “ปลาที่เห็นกันเป็นครั้งแรก”
ตัวอย่างการวิจัยก็อย่างเช่น จะสร้างภาพถ่ายใบหน้าของ “ปลาที่เห็นกันบ่อยๆ” กับ ส่วนที่เป็นตัวปลาของ “ปลาที่เห็นกันเป็นครั้งแรก” ด้วยคอมพิวเตอร์ แล้วให้ปลาลองดูภาพเหล่านั้น
ผลลัพธ์ออกมาว่า ภาพที่เป็นใบหน้าของ “ปลาที่เห็นกันบ่อย” นั้นปลาจะเลิกระแวดระวังภัยภายในเวลาแค่ 10 วินาที
แต่ภาพใบหน้าของ “ปลาที่เห็นกันเป็นครั้งแรก” จะเลิกระแวดระวังภัยภายในเวลาประมาณ 30 วินาที
ดังนั้น กลุ่มนักวิจัยก็เลยคิดว่าปลาจะจดจำและรู้จักปลาตัวอื่นๆ ได้จากสีและลวดลายบนใบหน้าของปลาตัวนั้นๆ
ศาสตราจารย์โคดะ มาซาโนริที่อยู่ในกลุ่มวิจัยนี้ได้กล่าวว่า “ปลาตัวนี้จะจดจำและรู้จักใบหน้าของปลาตัวอื่นได้ในทันทีที่เจอว่าเป็นปลาที่เคยเห็นกันมาก่อนหรือไม่ และคิดว่าถ้าจดจำและเข้าใจได้ว่าเป็นปลาที่อยู่ในสถานที่ใกล้เคียงกันหรือละแวกเดียวกันก็จะพยายามไม่ต่อสู้หรือทำอันตรายปลาตัวนั้นๆ
Posted by mod at
15:58
│Comments(0)
2015年11月27日
札幌で雪が44cm積もる これからも注意が必要 กรมอุติเตือนหิมะตกหนักที่ซับโปโร
กรมอุตุนิยมวิทยาที่ญีปุ่่น ออกมาเตือนด้วยความเป็นห่วงถึงความปลอดภัยจากการที่มีหิมะตกหนักที่ฮอคไกโดตั้งแต่วันที่ 24 พ.ย.จนถึงเช้าวันที่ 25 พ.ย. อันเนื่องมาจากอากาศหนาวเย็นของฤดูหนาวได้พัดเข้ามายังญี่ปุ่นแล้ว
ได้มีการออกไปสำรวจบริเวณเมืองซับโปโรในตอนเช้าของวันที่ 25 พ.ย.ก็พบว่ามีหิมะตกหนัก จนมีหิมะทับถมกันหนาถึง 44 ซม. นับเป็นประวัติการณ์ใหม่เลยก็ว่าได้ เพราะเคยมีการสำรวจตั้งแต่ปี 1953 ว่าที่เมืองซัปโปโรเคยมีหิมะตกหนักจนมีหิมะลงมากองทับถมกันมากกว่า 40 ซม. เมื่อ 62 ปีที่แล้ว
แม้แต่ที่เมืองอาบาชิริก็มีหิมะตกหนักจนทับถมกันหนาถึง 32 ซม.เมื่อวันที่ 24 พ.ย. แล้วก็นับว่าในเดือนพ.ย.นี้มีหิมะตกลงมาหนักมากกว่าปัที่แล้วๆ มาด้วย.
แล้วดูเหมือนว่าตั้งแต่วันที่ 26 พ.ย. จะมีหิมะตกหนักอย่างต่อเนื่องในฮอคไกโดด้วย ดังนั้น จึงอาจมีหิมะตกลงมาจากหลังคา หรือการเลื่อนไถลจากหิมะด้วย ทางกรมอุตุนิยมวิทยาจึงออกมากล่าวให้ช่วยกันระมัดระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วย
ได้มีการออกไปสำรวจบริเวณเมืองซับโปโรในตอนเช้าของวันที่ 25 พ.ย.ก็พบว่ามีหิมะตกหนัก จนมีหิมะทับถมกันหนาถึง 44 ซม. นับเป็นประวัติการณ์ใหม่เลยก็ว่าได้ เพราะเคยมีการสำรวจตั้งแต่ปี 1953 ว่าที่เมืองซัปโปโรเคยมีหิมะตกหนักจนมีหิมะลงมากองทับถมกันมากกว่า 40 ซม. เมื่อ 62 ปีที่แล้ว
แม้แต่ที่เมืองอาบาชิริก็มีหิมะตกหนักจนทับถมกันหนาถึง 32 ซม.เมื่อวันที่ 24 พ.ย. แล้วก็นับว่าในเดือนพ.ย.นี้มีหิมะตกลงมาหนักมากกว่าปัที่แล้วๆ มาด้วย.
แล้วดูเหมือนว่าตั้งแต่วันที่ 26 พ.ย. จะมีหิมะตกหนักอย่างต่อเนื่องในฮอคไกโดด้วย ดังนั้น จึงอาจมีหิมะตกลงมาจากหลังคา หรือการเลื่อนไถลจากหิมะด้วย ทางกรมอุตุนิยมวิทยาจึงออกมากล่าวให้ช่วยกันระมัดระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วย
Posted by mod at
19:02
│Comments(0)
2015年11月26日
国王の建物の迎賓館を外国人など多くの人に見せたい ญี่ปุ่นเปิดเรือนรับรองให้เข้าชม
วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับ “ทำเนียบรับรอง” ซึ่งในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 迎賓館(げいひんかん)หรือบางท่านอาจรู้จักในชื่อพระตำหนักอะกะซะกะ หรือ พระที่นั่งเนินแดง(ญี่ปุ่น: 赤坂離宮อะกะซะกะ ริกีว)
ปัจจุบันเป็นสถานที่รับรองการมาเยือนอย่างเป็นทางการของอาคันตุกะระดับสูงของรัฐบาลญี่ปุ่น และยังถือเป็นหนึ่งในอาคารที่ใหญ่ที่สุดที่ก่อสร้างขึ้นในยุคเมจิ
แรกเริ่มถูกสร้างขึ้นโดยรับสั่งของจักรพรรดิเมจิเพื่อเป็นที่ประทับของมกุฎราชกุมารในปี พ.ศ. 2442 ก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบนีโอบาโรคตามแบบอย่างตะวันตก ในตอนแรกนั้น มันถูกเรียกว่า พระราชวังโทงู (วังมกุฎราชกุมาร) โดยมกุฎราชกุมารฮิโระฮิโตะ ซึ่งทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในขณะนั้น ได้เริ่มพำนักที่พระตำหนักแห่งนี้ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2466 จนถึงกันยายน พ.ศ. 2471[2] สองเดือนก่อนบรมราชาภิเษก ซึ่งในช่วงที่ทรงพำนักอยู่ที่พระราชวังแห่งนี้ พระองค์ทรงอภิเษกสมรสและมีพระราชธิดาสองพระองค์
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง พระตำหนักแห่งนี้ก็ถูกถอดออกจากรายชื่อเขตพระราชฐาน และใช้เป็นที่ทำการของหน่วยงานรัฐบาลหลายหน่วย เช่น หอสมุดสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, สำนักงานกฤษฎีกา เป็นต้น เมื่อเศรษฐกิจของประเทศเริ่มฟื้นตัวจากสงครามโลก รัฐบาลก็มีแนวคิดที่จะจัดตั้งทำเนียบรับรองของรัฐบาล ในขณะนั้น รัฐบาลได้เลือกอดีตที่พระทับของเจ้าชายยะซุฮิโกะ เจ้าอะซะกะ (ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะเทเอ็ง) เป็นทำเนียบรับรอง แต่เนื่องจากตระหนักได้มีขนาดที่คับแคบเกินจุดประสงค์ จึงมีความคิดที่จะบูรณะพระตำหนักอะกะซะกะขึ้นเป็นทำเนียบรับรองแห่งใหม่
อาคันตุกะคนแรกที่ได้พำนักในทำเนียบรับรองแห่งนี้คือ ประธานาธิบดี เจอรัลด์ ฟอร์ด แห่งสหรัฐอเมริกา
แล้วก็สืบเนื่องมาจากการที่มีชาวต่างชาติเดินทางมาเที่ยวที่ญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น รัฐบาลจึงคิดกลยุทธ์ในการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้เดินทางมาท่องเที่ยวเยอะขึ้นกว่านี้
หนึ่งในบรรดากลยุทธ์นั้นก็คืออยากให้คนจำนวนมากได้เข้ามาชมเรือนรับรองแขกบ้านแขกเมืองที่อยู่ในเขตมินาโตะของกรุงโตเกียว
เรือนรับรองแขกบ้านแขกเมือง ในภาษาญี่ปุ่นก็คือคำว่า “迎賓館 (げいひんかん) ซึ่งนั่นก็คือสถานที่ที่ให้แขกชาวต่างชาติที่ประเทศญี่ปุ่นเชิญมาเยือนได้พัก หรืออย่างเช่นประธานาธิบดีของต่างประเทศมาประชุมงานต่างๆ เป็นต้น
เนื่องจากเป็นสมบัติประจำชาติญี่ปุ่น ในปัจจุบันนี้จึงสามารถเข้าชมได้ 2 ช่วงคือช่วงฤดูร้อน 10 วันและช่วงฤดูใบไม้ร่วงอีก 3 วัน รวมเป็น 13 ปีต่อปีเท่านั้น
เลขาธิการคณะรัฐมนตรียังได้กล่าวว่า “รัฐบาลคิดว่าอยากจะทำให้ประเพณีและประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่นรู้สึกสนุกสนานเพิ่มยิ่งขึ้นด้วยการให้เข้าชมสถานที่ที่สวยงามตระการตา ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงคนญี่ปุ่นเท่านั้น แต่อยากให้ชาวต่างชาติได้เข้าชมด้วย”
แต่ว่ารัฐบาลยังกล่าวทิ้งท้ายไว้ด้วยว่า ก่อนอื่นน่าจะเปิดให้สามารถเข้าชมเรือนรับรองแขกบ้านแขกเมืองได้ประมาณสัปดาห์ที่ 2 ของเดือน ก.พ. ปี 2016.
สถนที่ตั้งอยู่ที่ : 2-1-1 Motoakasaka, Minato, Tokyo 107-0051 ญี่ปุ่น
ถ้าใครว่างก็แวะเข้าไปเยี่ยมชมได้นะคะ
ปัจจุบันเป็นสถานที่รับรองการมาเยือนอย่างเป็นทางการของอาคันตุกะระดับสูงของรัฐบาลญี่ปุ่น และยังถือเป็นหนึ่งในอาคารที่ใหญ่ที่สุดที่ก่อสร้างขึ้นในยุคเมจิ
แรกเริ่มถูกสร้างขึ้นโดยรับสั่งของจักรพรรดิเมจิเพื่อเป็นที่ประทับของมกุฎราชกุมารในปี พ.ศ. 2442 ก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบนีโอบาโรคตามแบบอย่างตะวันตก ในตอนแรกนั้น มันถูกเรียกว่า พระราชวังโทงู (วังมกุฎราชกุมาร) โดยมกุฎราชกุมารฮิโระฮิโตะ ซึ่งทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในขณะนั้น ได้เริ่มพำนักที่พระตำหนักแห่งนี้ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2466 จนถึงกันยายน พ.ศ. 2471[2] สองเดือนก่อนบรมราชาภิเษก ซึ่งในช่วงที่ทรงพำนักอยู่ที่พระราชวังแห่งนี้ พระองค์ทรงอภิเษกสมรสและมีพระราชธิดาสองพระองค์
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง พระตำหนักแห่งนี้ก็ถูกถอดออกจากรายชื่อเขตพระราชฐาน และใช้เป็นที่ทำการของหน่วยงานรัฐบาลหลายหน่วย เช่น หอสมุดสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, สำนักงานกฤษฎีกา เป็นต้น เมื่อเศรษฐกิจของประเทศเริ่มฟื้นตัวจากสงครามโลก รัฐบาลก็มีแนวคิดที่จะจัดตั้งทำเนียบรับรองของรัฐบาล ในขณะนั้น รัฐบาลได้เลือกอดีตที่พระทับของเจ้าชายยะซุฮิโกะ เจ้าอะซะกะ (ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะเทเอ็ง) เป็นทำเนียบรับรอง แต่เนื่องจากตระหนักได้มีขนาดที่คับแคบเกินจุดประสงค์ จึงมีความคิดที่จะบูรณะพระตำหนักอะกะซะกะขึ้นเป็นทำเนียบรับรองแห่งใหม่
อาคันตุกะคนแรกที่ได้พำนักในทำเนียบรับรองแห่งนี้คือ ประธานาธิบดี เจอรัลด์ ฟอร์ด แห่งสหรัฐอเมริกา
แล้วก็สืบเนื่องมาจากการที่มีชาวต่างชาติเดินทางมาเที่ยวที่ญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น รัฐบาลจึงคิดกลยุทธ์ในการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้เดินทางมาท่องเที่ยวเยอะขึ้นกว่านี้
หนึ่งในบรรดากลยุทธ์นั้นก็คืออยากให้คนจำนวนมากได้เข้ามาชมเรือนรับรองแขกบ้านแขกเมืองที่อยู่ในเขตมินาโตะของกรุงโตเกียว
เรือนรับรองแขกบ้านแขกเมือง ในภาษาญี่ปุ่นก็คือคำว่า “迎賓館 (げいひんかん) ซึ่งนั่นก็คือสถานที่ที่ให้แขกชาวต่างชาติที่ประเทศญี่ปุ่นเชิญมาเยือนได้พัก หรืออย่างเช่นประธานาธิบดีของต่างประเทศมาประชุมงานต่างๆ เป็นต้น
เนื่องจากเป็นสมบัติประจำชาติญี่ปุ่น ในปัจจุบันนี้จึงสามารถเข้าชมได้ 2 ช่วงคือช่วงฤดูร้อน 10 วันและช่วงฤดูใบไม้ร่วงอีก 3 วัน รวมเป็น 13 ปีต่อปีเท่านั้น
เลขาธิการคณะรัฐมนตรียังได้กล่าวว่า “รัฐบาลคิดว่าอยากจะทำให้ประเพณีและประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่นรู้สึกสนุกสนานเพิ่มยิ่งขึ้นด้วยการให้เข้าชมสถานที่ที่สวยงามตระการตา ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงคนญี่ปุ่นเท่านั้น แต่อยากให้ชาวต่างชาติได้เข้าชมด้วย”
แต่ว่ารัฐบาลยังกล่าวทิ้งท้ายไว้ด้วยว่า ก่อนอื่นน่าจะเปิดให้สามารถเข้าชมเรือนรับรองแขกบ้านแขกเมืองได้ประมาณสัปดาห์ที่ 2 ของเดือน ก.พ. ปี 2016.
สถนที่ตั้งอยู่ที่ : 2-1-1 Motoakasaka, Minato, Tokyo 107-0051 ญี่ปุ่น
ถ้าใครว่างก็แวะเข้าไปเยี่ยมชมได้นะคะ
Posted by mod at
11:49
│Comments(0)
2015年11月25日
ローンクラトン ลอยกระทง
ローンクラトンというのは灯ろう流しです。
陰暦でいうと12月15日の夜です。今年は新暦11月25日にあたります。クラトンは昔の人々がバナナの葉っぱを使って蓮の花の形を作りました。紙のクラトンより手間がかかります。今の人たちは時間がないので、こうやって紙と発泡スチロールで作るのです。クラトンの中にいろんな物を入れています。たとえば、線香とろうそくです。時々クラトンにお金を入れる人もいますが、切った髪の毛や爪を入れて流す人もいます。なせかというと、切った髪の毛や切った爪は汚いものですから、悪いことのたとえとして、ローンクラトンを機会にすべての悪いことを流してしまうという意味です。
バナナの葉っぱで作るクラトン
紙と発泡スチロールで作るクラトン
パンで作るクラトン
このローンクラトンのお祭りは特別な意味があります。昔からタイでは飲み水、水浴び、水路にと水を利用し、また、農耕に雨水や運河の水は欠かせないものでした。これらの水を与えてくれる水の精霊に対して収穫を前にした野民が感謝を捧げ、水を汚したおわびをするお祭りがローンクラトンです。クラトンを流して仏足跡の供養をしたり、これまでの罪や不幸を流したり、願をかけたりもするようになりました。
クラトンを流すまえに、自分の願をかけてから、流します。
陰暦でいうと12月15日の夜です。今年は新暦11月25日にあたります。クラトンは昔の人々がバナナの葉っぱを使って蓮の花の形を作りました。紙のクラトンより手間がかかります。今の人たちは時間がないので、こうやって紙と発泡スチロールで作るのです。クラトンの中にいろんな物を入れています。たとえば、線香とろうそくです。時々クラトンにお金を入れる人もいますが、切った髪の毛や爪を入れて流す人もいます。なせかというと、切った髪の毛や切った爪は汚いものですから、悪いことのたとえとして、ローンクラトンを機会にすべての悪いことを流してしまうという意味です。
バナナの葉っぱで作るクラトン
紙と発泡スチロールで作るクラトン
パンで作るクラトン
このローンクラトンのお祭りは特別な意味があります。昔からタイでは飲み水、水浴び、水路にと水を利用し、また、農耕に雨水や運河の水は欠かせないものでした。これらの水を与えてくれる水の精霊に対して収穫を前にした野民が感謝を捧げ、水を汚したおわびをするお祭りがローンクラトンです。クラトンを流して仏足跡の供養をしたり、これまでの罪や不幸を流したり、願をかけたりもするようになりました。
クラトンを流すまえに、自分の願をかけてから、流します。
Posted by mod at
19:54
│Comments(0)
2015年11月24日
体を温(あたた)かくする湯(ゆ)たんぽなどのやけどに気(き)をつけて ระวังแผลไฟลวกจากกระเป๋าน้ำร้อน
ตอนนี้ก็ใกล้ปีใหม่กันแล้วนะคะ เดือนหน้าก็เดือนสุดท้ายของปีแล้ว เพื่อนๆ คงเตรียมโปรแกรมไปเที่ยวกันแล้ว สำหรับคนไทยอย่างเราก็อยากที่จะไปเที่ยวที่เย็นๆ กันบ้าง แบบว่าอุณหภูมิติดลบ กันหลายๆองศา ไปเล่นสกี สัมผัสหิมะ แล้วประเทศหนึ่งที่เกือบทุกคนอยากจะไปก็คือญี่ปุ่นสินะคะ ถ้าไปก็อย่าลืมเตรียมพวกเสื้อกันหนาว หมวก ถุงมือ ผ้าพันคอไปด้วยนะคะ
นอกจากของพวกนั้นแล้ว วันนี้ก็จะมาแนะนำอุปกรณ์ ป้องกันความหนาวเย็นให้ความอบอุ่นกับร่างกายเป็นที่ยอดนิยมที่สุดมาอย่างยาวนาน อุปกรณ์นี้ มีขนาดเล็ก พกสะดวก ป้องกันความหนาวเย็นได้อย่างดีเยี่ยม เป็นสินค้าที่มีเเนวคิดเเละการผลิตจากประเทศญี่ปุ่นค่ะ นั่นคือ
1.เเผ่นแปะให้ความอบอุ่น หรือ ที่เรารู้จักกันดีในชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า カイロแถมตอนนี้ยังมีเทคโนโลยีใหม่ด้วยนะคะ เพียงแค่ฉีกเเผ่นเเปะให้ความร้อน (ถุงร้อน ถุงกันหนาว kairo ไคโระ) ออกจากซอง ลอกเเถบกาวออกเเปะไปยังเสื้อผ้าด้านในนะคะ เเผ่นแปะความร้อนจะทำปฏิกริยากับอากาศทำให้เกิดความร้อนไม่ต้องเสียบปลั๊ก ไม่ต้องเข้าไมโครเวฟ ที่สำคัญอุ่นกำลังพอดีกับร่างกาย ไม่ร้อนเกินไปจนทำให้ผิวไหม้พอง
ก่อนจะไปใช้ เราลองมาดูความเป็นมาของแผ่นแปะให้ความอบอุ่นกันดีกว่า
ย้อนกลับไปสมัยญี่ปุ่นโบราณ หรือ ตั้งแต่สมัยเมจิ สมัยนั้นเค้าใช้ก้อนหินมาอังกับไฟให้พออุ่น แล้วก็ห่อกับผ้าค่ะ
หลังจากนั้นก็นำมาแนบกับกิโมโนค่ะ
ในยุคถัดมาคือ ปี 1868
เริ่มมีการพัฒนามากขึ้นค่ะ ตอนนี้ เริ่มพัฒนาโดยการใช้เป็นเหมือน ถ่านเผา กล่องนี้จะมีขนาดเล็กๆค่ะ
ในยุคถัดมาในปี 1912
เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเชื้อเพลิงที่ใช้นะคะ คือ จากเดิมที่เป็นถ่าน จะเปลี่ยนเป็น น้ำมันค่ะ อันนี้ค่อนข้างใกล้เคียงกับ
ไฟแช็คในปัจจุบันแต่ kairo จะมีข้อเสียคือ บางครั้ง จะมีกลิ่นเหม็นน้ำมันค่ะ ซึ่งกลิ่นนี้จะติดเสื้อผ้า
ยุคปัจจุบัน
ในยุคปัจจุบันคือ แผ่น kairo หรือ แผ่นแปะให้ความอบอุ่น ถุงร้อน มีขนาดเล็ก บาง อุณหภูมิ อบอุ่นที่คงที่ และยาวนานมากถึง 12 ชั่วโมงค่ะ ใช้งานได้สะดวก สบาย เบา ไม่เกะกะ
ต่อมาก็มาดูส่วนประกอบกันนะคะว่า ภายในของมันประกอบด้วยอะไรบ้าง ที่รูปด้านล่างนี้เลยค่ะ
หลักการทำงานคือ เมื่อผงเหล็กในถุงที่บรรจุนั้น สัมผัสกับอากาศซึ่งมีความชื้น
เหล็กจะทำปฏิกริยาตามสูตรเคมี ทำให้เกิดการคายความร้อนค่ะ
และเราเองก็จะได้รับความอบอุ่นจากความร้อนที่คายออกมาในปริมาณที่พอเหมาะสมกับร่างกายค่ะ
รูปด้านล่างนี้จะเป็น รายละเอียด ของ จุดต่างๆที่ คนญี่ปุ่นนิยมติด เเผ่นเเปะให้ความอบอุ่น ไคโร kairo กระเป๋าน้ำร้อนเเผ่นถุงร้อน ตามส่วนต่างๆของร่างกายค่ะ
2.กระเป๋าน้ำร้อน หรือภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 湯たんぼ(yutanbo)มีขายหลายชนิดค่ะ มีตั้งแต่แบบที่เป็นโลหะ โดยนำไปวางไว้บน "สโต๊ป (เตาไฟจากน้ำมัน)" เวลาหน้าหนาว เวลานอน เอาไปนอนด้วย หนาวตรงไหนก็วางตรงนั้น ส่วนใหญ่จะวางตรงปลายเท้า สมัยนี้ก็มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็จะมีพวกแบบเคเบิ้ลก็ไร้สายก็ใช้สะดวกสบายดี
3.โต๊ะให้ความร้อน หรือภาษาญี่ปุ่นเรียก コタツ(โคทัตสึ) เป็นอุปกรณ์ให้ความอบอุ่นที่มีลักษณะเป็นโต๊ะขาเตี้ย ใต้โต๊ะจะติดตั้งเครื่องทำความอุ่น และมีผ้าห่มรอบด้าน เวลานั่งก็สอดขาเข้าไป อุ่นสบายมากๆ
สิ่งนี้ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในยุคมุโรมาจิ ประมาณศตวรรษที่ 14 ในสมัยก่อนยังไม่มีฮีตเตอร์ที่สะดวกสบายเหมือนทุกวันนี้ ชาวบ้านจึงประยุกต์เอาเตาอิฐที่ไว้ทำกับข้าวมาใช้ให้ความอบอุ่น เรียกว่า อิโรริ
โคทัตสึขึ้นค่ะ ในยุคแรก โคทัตสึจะเป็นแบบ โฮริโกะทัตสึซึ่งเป็น โคทัตสึแบบใช้ถ่านในการให้ความอบอุ่น โดยใต้โต๊ะจะขุดหลุมลงไป แล้วใส่ถ่านเอาไว้ จากนั้นก็ใช้ ตะแกรงปิดฝาหลุม เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายเวลา เอาเท้าสอดเข้าไปใต้โต๊ะ ต่อมาในสมัยเอโดะ ประมาณศตวรรษที่ 17 ก็ได้มีการนำเอาผ้าห่มมาติดรอบโต๊ะ เพื่อเพิ่มความอุ่นเข้าไปอีกชั้น
เข้าสู่ช่วงศตวรรษที่ 20 ก็เปลี่ยนมาใช้ไฟฟ้าในการให้ความอบอุ่นแทน โดยติดเครื่องทำความอุ่นใต้โต๊ะ จะใช้ก็แค่เสียบปลั๊ก สะดวกสบายกันไป
เมื่ออุปกรณ์ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายมีประโยชน์ แต่เราก็ต้องใช้อย่างระมัดระวังด้วย เพราะจากสถิติที่เก็บมา ได้เกิดอุบัติเหตุแผลไฟลวกกับผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง เพราะกระเป๋าน้ำร้อนหรือถุงทำความร้อนที่ใช้แล้วทิ้งที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ได้มีการสำรวจไปยังสถานพยาบาลกว่า 30 แห่ง
ปรากฏว่ามีอุบัติเหตุเกิดกับผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีจำนวน 338 รายใน 6 ปีที่ผ่านมาจนถึงเดือนก.ย.ปีนี้
อุบัติเหตุที่เกิดมากที่สุดคือ “แผลไฟลวกที่เกิดจากความร้อนที่มีอุณหภูมิต่ำ” (Low temperature burn) มี 119 ราย
ส่วนใหญ่แผลไฟลวกที่เกิดจากความร้อนที่มีอุณหภูมิต่ำ มักจะเกิดในตอนที่นอนหลับไปพร้อมแปะถุงทำความร้อนแบบใช้แล้วทิ้งหรือนอนเอาเท้าสอดเข้าไปใต้ผ้าห่มที่วางกระเป๋าน้ำร้อนไว้ ส่วนโต๊ะให้ความร้อนหรือโคทัตซึเองก็จำเป็นต้องระวังด้วย เพราะว่าผู้สูงอายุจะมีผิวที่บางลง และรู้สึกถึงความร้อนได้ยาก จึงทำให้เกิดแผลไฟลวกที่รุนแรงได้ง่าย
นอกจากของพวกนั้นแล้ว วันนี้ก็จะมาแนะนำอุปกรณ์ ป้องกันความหนาวเย็นให้ความอบอุ่นกับร่างกายเป็นที่ยอดนิยมที่สุดมาอย่างยาวนาน อุปกรณ์นี้ มีขนาดเล็ก พกสะดวก ป้องกันความหนาวเย็นได้อย่างดีเยี่ยม เป็นสินค้าที่มีเเนวคิดเเละการผลิตจากประเทศญี่ปุ่นค่ะ นั่นคือ
1.เเผ่นแปะให้ความอบอุ่น หรือ ที่เรารู้จักกันดีในชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า カイロแถมตอนนี้ยังมีเทคโนโลยีใหม่ด้วยนะคะ เพียงแค่ฉีกเเผ่นเเปะให้ความร้อน (ถุงร้อน ถุงกันหนาว kairo ไคโระ) ออกจากซอง ลอกเเถบกาวออกเเปะไปยังเสื้อผ้าด้านในนะคะ เเผ่นแปะความร้อนจะทำปฏิกริยากับอากาศทำให้เกิดความร้อนไม่ต้องเสียบปลั๊ก ไม่ต้องเข้าไมโครเวฟ ที่สำคัญอุ่นกำลังพอดีกับร่างกาย ไม่ร้อนเกินไปจนทำให้ผิวไหม้พอง
ก่อนจะไปใช้ เราลองมาดูความเป็นมาของแผ่นแปะให้ความอบอุ่นกันดีกว่า
ย้อนกลับไปสมัยญี่ปุ่นโบราณ หรือ ตั้งแต่สมัยเมจิ สมัยนั้นเค้าใช้ก้อนหินมาอังกับไฟให้พออุ่น แล้วก็ห่อกับผ้าค่ะ
หลังจากนั้นก็นำมาแนบกับกิโมโนค่ะ
ในยุคถัดมาคือ ปี 1868
เริ่มมีการพัฒนามากขึ้นค่ะ ตอนนี้ เริ่มพัฒนาโดยการใช้เป็นเหมือน ถ่านเผา กล่องนี้จะมีขนาดเล็กๆค่ะ
ในยุคถัดมาในปี 1912
เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเชื้อเพลิงที่ใช้นะคะ คือ จากเดิมที่เป็นถ่าน จะเปลี่ยนเป็น น้ำมันค่ะ อันนี้ค่อนข้างใกล้เคียงกับ
ไฟแช็คในปัจจุบันแต่ kairo จะมีข้อเสียคือ บางครั้ง จะมีกลิ่นเหม็นน้ำมันค่ะ ซึ่งกลิ่นนี้จะติดเสื้อผ้า
ยุคปัจจุบัน
ในยุคปัจจุบันคือ แผ่น kairo หรือ แผ่นแปะให้ความอบอุ่น ถุงร้อน มีขนาดเล็ก บาง อุณหภูมิ อบอุ่นที่คงที่ และยาวนานมากถึง 12 ชั่วโมงค่ะ ใช้งานได้สะดวก สบาย เบา ไม่เกะกะ
ต่อมาก็มาดูส่วนประกอบกันนะคะว่า ภายในของมันประกอบด้วยอะไรบ้าง ที่รูปด้านล่างนี้เลยค่ะ
หลักการทำงานคือ เมื่อผงเหล็กในถุงที่บรรจุนั้น สัมผัสกับอากาศซึ่งมีความชื้น
เหล็กจะทำปฏิกริยาตามสูตรเคมี ทำให้เกิดการคายความร้อนค่ะ
และเราเองก็จะได้รับความอบอุ่นจากความร้อนที่คายออกมาในปริมาณที่พอเหมาะสมกับร่างกายค่ะ
รูปด้านล่างนี้จะเป็น รายละเอียด ของ จุดต่างๆที่ คนญี่ปุ่นนิยมติด เเผ่นเเปะให้ความอบอุ่น ไคโร kairo กระเป๋าน้ำร้อนเเผ่นถุงร้อน ตามส่วนต่างๆของร่างกายค่ะ
2.กระเป๋าน้ำร้อน หรือภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 湯たんぼ(yutanbo)มีขายหลายชนิดค่ะ มีตั้งแต่แบบที่เป็นโลหะ โดยนำไปวางไว้บน "สโต๊ป (เตาไฟจากน้ำมัน)" เวลาหน้าหนาว เวลานอน เอาไปนอนด้วย หนาวตรงไหนก็วางตรงนั้น ส่วนใหญ่จะวางตรงปลายเท้า สมัยนี้ก็มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็จะมีพวกแบบเคเบิ้ลก็ไร้สายก็ใช้สะดวกสบายดี
3.โต๊ะให้ความร้อน หรือภาษาญี่ปุ่นเรียก コタツ(โคทัตสึ) เป็นอุปกรณ์ให้ความอบอุ่นที่มีลักษณะเป็นโต๊ะขาเตี้ย ใต้โต๊ะจะติดตั้งเครื่องทำความอุ่น และมีผ้าห่มรอบด้าน เวลานั่งก็สอดขาเข้าไป อุ่นสบายมากๆ
สิ่งนี้ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในยุคมุโรมาจิ ประมาณศตวรรษที่ 14 ในสมัยก่อนยังไม่มีฮีตเตอร์ที่สะดวกสบายเหมือนทุกวันนี้ ชาวบ้านจึงประยุกต์เอาเตาอิฐที่ไว้ทำกับข้าวมาใช้ให้ความอบอุ่น เรียกว่า อิโรริ
โคทัตสึขึ้นค่ะ ในยุคแรก โคทัตสึจะเป็นแบบ โฮริโกะทัตสึซึ่งเป็น โคทัตสึแบบใช้ถ่านในการให้ความอบอุ่น โดยใต้โต๊ะจะขุดหลุมลงไป แล้วใส่ถ่านเอาไว้ จากนั้นก็ใช้ ตะแกรงปิดฝาหลุม เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายเวลา เอาเท้าสอดเข้าไปใต้โต๊ะ ต่อมาในสมัยเอโดะ ประมาณศตวรรษที่ 17 ก็ได้มีการนำเอาผ้าห่มมาติดรอบโต๊ะ เพื่อเพิ่มความอุ่นเข้าไปอีกชั้น
เข้าสู่ช่วงศตวรรษที่ 20 ก็เปลี่ยนมาใช้ไฟฟ้าในการให้ความอบอุ่นแทน โดยติดเครื่องทำความอุ่นใต้โต๊ะ จะใช้ก็แค่เสียบปลั๊ก สะดวกสบายกันไป
เมื่ออุปกรณ์ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายมีประโยชน์ แต่เราก็ต้องใช้อย่างระมัดระวังด้วย เพราะจากสถิติที่เก็บมา ได้เกิดอุบัติเหตุแผลไฟลวกกับผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง เพราะกระเป๋าน้ำร้อนหรือถุงทำความร้อนที่ใช้แล้วทิ้งที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ได้มีการสำรวจไปยังสถานพยาบาลกว่า 30 แห่ง
ปรากฏว่ามีอุบัติเหตุเกิดกับผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีจำนวน 338 รายใน 6 ปีที่ผ่านมาจนถึงเดือนก.ย.ปีนี้
อุบัติเหตุที่เกิดมากที่สุดคือ “แผลไฟลวกที่เกิดจากความร้อนที่มีอุณหภูมิต่ำ” (Low temperature burn) มี 119 ราย
ส่วนใหญ่แผลไฟลวกที่เกิดจากความร้อนที่มีอุณหภูมิต่ำ มักจะเกิดในตอนที่นอนหลับไปพร้อมแปะถุงทำความร้อนแบบใช้แล้วทิ้งหรือนอนเอาเท้าสอดเข้าไปใต้ผ้าห่มที่วางกระเป๋าน้ำร้อนไว้ ส่วนโต๊ะให้ความร้อนหรือโคทัตซึเองก็จำเป็นต้องระวังด้วย เพราะว่าผู้สูงอายุจะมีผิวที่บางลง และรู้สึกถึงความร้อนได้ยาก จึงทำให้เกิดแผลไฟลวกที่รุนแรงได้ง่าย
Posted by mod at
20:45
│Comments(0)
2015年11月23日
タイからもらった象「はな子」の絵をタイにプレゼント ภาพวาดช้างฮานาโกะคืนความสุขให้คนไทย
ถ้าเอ่ยชื่อว่า "ฮานาโกะ" เพื่อนๆ จะคิดถึงอะไรค่ะ คงเป็นนางเอกการ์ตูน หรือไม่ก็ดารา นักร้องสาว สินะคะ
แต่วันนี้ไม่ได้มาพูดถึงสาวคนใดนะคะ แต่เป็นช้างไทยที่เป็นทูตเชื่อมความสัมพันธ์ญี่ปุ่น-ไทยค่ะ
มาชมรูปโฉมของเธอกันก่อนนะคะ
こんにちは私は はなご です。
สวัสดีค่ะ ฉันชื่อ ฮานาโกะ ค่ะ
ก่อนอื่นมาดูกันก่อนนะคะว่า ชื่อ "ฮานาโกะ" มีความหมายอย่างไร
ฮานะ (花) แปลว่าดอกไม้ ส่วนโกะ (子)แปลว่าเด็กน้อย ชื่อน่ารักมากเลยนะคะ
เรามาดูประวัติกันนิดนึงนะคะว่า ฮานาโกะ ไปอยู่ที่ญี่ปุ่นได้อย่างไร
ย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่2 ไทยได้ส่งช้างไปให้ญี่ปุ่นเพื่อเจริญความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
หนึ่งในนั้นคือช้างพังวันดี* ไปถึงญี่ปุ่นตั้งแต่กลางปีพ.ศ. 2478 ตอนนั้นอายุ 18 ปีแล้ว
พังวันดีไปถึงญี่ปุ่นก็ถูกขนานนามใหม่ว่า "ฮานาโกะ" ต้องบอกว่าฮานาโกะดังมากในญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ต่างชื่นชอบและรักฮานาโกะมาก
แต่แล้วเมื่อพ.ศ.2486 ไม่นานก่อนฮานาโกะจะเสียชีวิต ฮานาโกะประจำการอยู่ ณ สวนสัตว์อุเอะโนะที่เมืองหลวงกรุงโตเกียว เป็นขวัญใจชาวประชาได้ไม่กี่ปีก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น (พ.ศ. 2482 - พ.ศ. 2488) ระหว่างสงครามนั้นเองฮานาโกะก็ได้ล้มลง(เสียชีวิต)
พอฮานาโกะตายไป ทางรัฐบาลจึงได้ติดต่อกับทางประเทศไทยเพื่อขอช้างเชือกใหม่ไปไว้ที่สวนสัตว์
ปี 2492 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ช้างพังไทยเชือกหนึ่งอายุ 2 ขวบมีชื่อว่า “คชา” ถูกส่งตัวจากประเทศไทยไปยังประเทศญี่ปุ่นเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมถึงเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้ชาวญี่ปุ่นทั้งประเทศในช่วงที่ย่ำแย่ที่สุดหลังแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 และเพื่อทดแทนช้างเชือกเดิมที่มีชื่อว่า ฮานาโกะ ซึ่งตายลงในช่วงที่เกิดสงคราม แล้วก็ไม่ทำให้ผิดหวังเลย เพราะทำให้คนญี่ปุ่นทั้งประเทศลืมทุกข์ คลายโศกกันได้ไม่น้อยในช่วงเวลานั้น
ที่ท่าเรือโกเบ คนมารอรับเป็นจำนวนมาก และมีการเฉลิมฉลองรับขวัญช้างกันอย่างเอิกเกริก
ขอบคุณภาพประกอบจาก - www.ehonnavi.net
ก้าวแรกที่คชาเหยียบลงบนแผ่นดินญี่ปุ่นคือที่ ท่าเรือโกเบ โดยมีพิธีต้อนรับกันอย่างเอิกเกริก เจ้าคชาเองก็แสดงความเป็นมิตรกับผู้คนที่ไปเฝ้ารอ เป็นสาเหตุให้มีคนรักและชื่นชอบเป็นอย่างมากและชาวญี่ปุ่นก็เรียกชื่อช้างตัวนี้ว่า “คชาโกะ” หลังจากนั้นคชาโกะก็ถูกส่งตัวไปที่สวนสัตว์ Ueno ทางสวนสัตว์ได้เปิดให้ประชาชนช่วยกันตั้งชื่อใหม่ให้กับ คชาโกะ โดยชื่อที่ได้รับการโหวตมากที่สุดก็คือ ฮานาโกะ (はな子 Hanako) ซึ่งเป็นชื่อเดียวกันกับช้างไทยเชือกวก่อนที่ตายลงในสงคราม หลังจากนั้นช้างเชือกนี้ก็มีชื่อว่าฮานาโกะจนถึงปัจจุบัน
ฮานาโกะอยู่ที่สวนสัตว์ Ueno ได้ 5 ปี จนในปี 2497 ก็ถูกย้ายไปอยู่ที่สวนสัตว์ Inokashira เมือง Kichijoji หลังจากย้ายมาอยู่ที่ใหม่ ฮานาโกะก็กลายเป็นขวัญใจประจำสวนสัตว์ เนื่องจากนิสัยที่ชอบให้คนมามุงดูเยอะ ๆ การหยิบสายยางมาฉีดน้ำเล่นกับเด็ก ๆ ที่มาเฝ้าชม ฯลฯ
แต่แล้วก็มีเหตุสะเทือนขวัญเกิดขึ้นในปี 2499 ฮานาโกะได้ทำร้ายชายคนหนึ่งซึ่งเมาเหล้าแล้วแอบเข้ามาในสวนสัตว์กลางดึกจนเสียชีวิต และในปี 2503 ก็ทำร้ายพี่เลี้ยงจนเสียชีวิตอีกคน ทำให้ทางสวนสัตว์มองว่าฮานาโกะเป็นตัวอันตราย จึงล่ามโซ่ไว้ทั้ง 4 ขา ทำให้ฮานาโกะมีสุขภาพย่ำแย่ลง ซึมเศร้า และร่างกายซูบผอมลงไปมาก ผู้คนที่มาเยี่ยมต่างก็สงสารและรับไม่ได้ จึงเขียนจดหมายขอร้องให้ทางสวนสัตว์ให้ปลดออกจากพันธนาการและดูแลให้ดีเหมือนเดิม
หลังจากมีผู้คนเขียนจดหมายเกี่ยวกับฮานาโกะไปทางสวนสัตว์มากขึ้น ๆ สุดท้ายทางสวนสัตว์ก็ปล่อยฮานาโกะเป็นอิสระและดูแลเหมือนเดิม และที่สำคัญได้พี่เลี้ยงคนใหม่ชื่อว่า เซโซ ยามากาวะ (山川清蔵 Yamakawa Seisou) ซึ่งดูแลฮานาโกะอย่างใกล้ชิด คอยฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจจนในที่สุดก็กลับมาเป็นช้างที่เชื่องและไว้วางใจคนอีกครั้ง ยิ่งไปกว่านั้น การดูแลอย่างใกล้ชิดของคุณเซโซยังทำให้ฮานาโกะติดคนเป็นอย่างมาก ชอบให้คนมาอยู่ใกล้ ๆ ตลอดเวลา โดยเฉพาะคุณเซโซนั่นเอง และในปี 2549 ลูกชายของคุณเซโซ ชื่อ โคอุจิ ยามากาวะ ได้แต่งหนังสือชื่อว่า “ฮานาโกะ : ช้างที่คุณพ่อรัก” (父が愛したゾウのはな子Chichi ga Aishita Zou no Hanako) เพื่อแสดงถึงความผูกพันและความจริงใจของพ่อเขาที่มีต่อเจ้าฮานาโกะ
แล้วก็ได้นำหนังสือเล่มดังกล่าวมาทำเป็นละครให้ได้ชมกันด้วย
จะว่าไปแล้ว ฮานาโกะได้เติบโตอยู่ในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน ได้ช่วยสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะให้กับชาวญี่ปุ่นมามากมาย คนญี่ปุ่นรักฮานาโกะมาก มีการจัดงานวันเกิดให้ทุกปี และเมื่อปี 2550 ก็จัดงานแซยิดให้เจ้าฮานาโกะอย่างยิ่งใหญ่
ฮานาโกะได้รับขนมเค้กด้วย
ปัจจุบัน (ปี 2558) ฮานาโกะมีอายุ 68 ปีถือเป็นช้างที่มีอายุยืนที่สุดในประเทศญี่ปุ่น แต่ร่างกายของฮานาโกะเองก็เริ่มหมดสมรรถภาพไปตามสังขาร ฟันเริ่มร่วงจนเกือบจะหมดปาก เรี่ยวแรงก็ไม่ค่อยมี งวงก็ยกไม่ค่อยขึ้น กินอาหารได้น้อยลง และโชว์ตัวในสวนสัตว์ได้เป็นระยะเวลาเพียงสั้น ๆ ต่อวันเท่านั้น
เมื่อฮานาโกะสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะให้กับชาวญี่ปุ่น คราวนี้ทางจิตกรสาวชาวญี่ปุ่น ชื่อคุณอะคิ ฟุเอะดะ ได้วาดภาพสีน้ำมันช้างไทย "ฮานาโกะ " ซึ่งเป็นภาพวาดที่มีขนาดใหญ่กว้าง 1 เมตร 62 เซนติเมตร และยาว 2 เมตร 60 เซนติเมตร โดยจัดแสดงในงาน Asian culture Arts Council ที่จัดขึ้นที่กรุงโตเกียว เพื่อปลอบขวัญชาวไทยบ้าง จากเหตุการณ์ก่อวินาศภัยระเบิดเมื่อเดือน ส.ค. ปีนี้ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย ทำให้มีคนจำนวนมากเสียชีวิต
โดยคุณ Fueda กล่าวว่า “พวกเด็กๆ ชาวญี่ปุ่นได้รับความสดใสร่าเริงจากนานาโกะ ถ้าได้ดูภาพนี้แล้วช่วยทำให้คนไทยรู้สึกยินดีปรีดา ก็จะรู้สึกดีใจมากเลยค่ะ”
ท่านทูตสีหศักดิ์ซึ่งเป็นท่านทูตของไทยก็ได้กล่าวขอบคุณว่า “คิดว่าคนไทยเองก็คงรู้สึกสดชื่นแจ่มใสขึ้นจากภาพวาดนี้ด้วยครับ”
แล้วเมื่อวันที่ 18 พ.ย. ที่ผ่านมา ทางญี่ปุ่นได้มอบภาพวาดของฮานาโกะให้เป็นของขวัญกับสถานเอกอัครราชทูตไทยฯ และถูกจัดแสดงไว้ที่ทางเข้าของอาคารสถานทูต
ขอบคุณข้อมูลจาก สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว / เฟสบุ๊ค สสท
แต่วันนี้ไม่ได้มาพูดถึงสาวคนใดนะคะ แต่เป็นช้างไทยที่เป็นทูตเชื่อมความสัมพันธ์ญี่ปุ่น-ไทยค่ะ
มาชมรูปโฉมของเธอกันก่อนนะคะ
こんにちは私は はなご です。
สวัสดีค่ะ ฉันชื่อ ฮานาโกะ ค่ะ
ก่อนอื่นมาดูกันก่อนนะคะว่า ชื่อ "ฮานาโกะ" มีความหมายอย่างไร
ฮานะ (花) แปลว่าดอกไม้ ส่วนโกะ (子)แปลว่าเด็กน้อย ชื่อน่ารักมากเลยนะคะ
เรามาดูประวัติกันนิดนึงนะคะว่า ฮานาโกะ ไปอยู่ที่ญี่ปุ่นได้อย่างไร
ย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่2 ไทยได้ส่งช้างไปให้ญี่ปุ่นเพื่อเจริญความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
หนึ่งในนั้นคือช้างพังวันดี* ไปถึงญี่ปุ่นตั้งแต่กลางปีพ.ศ. 2478 ตอนนั้นอายุ 18 ปีแล้ว
พังวันดีไปถึงญี่ปุ่นก็ถูกขนานนามใหม่ว่า "ฮานาโกะ" ต้องบอกว่าฮานาโกะดังมากในญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ต่างชื่นชอบและรักฮานาโกะมาก
แต่แล้วเมื่อพ.ศ.2486 ไม่นานก่อนฮานาโกะจะเสียชีวิต ฮานาโกะประจำการอยู่ ณ สวนสัตว์อุเอะโนะที่เมืองหลวงกรุงโตเกียว เป็นขวัญใจชาวประชาได้ไม่กี่ปีก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น (พ.ศ. 2482 - พ.ศ. 2488) ระหว่างสงครามนั้นเองฮานาโกะก็ได้ล้มลง(เสียชีวิต)
พอฮานาโกะตายไป ทางรัฐบาลจึงได้ติดต่อกับทางประเทศไทยเพื่อขอช้างเชือกใหม่ไปไว้ที่สวนสัตว์
ปี 2492 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ช้างพังไทยเชือกหนึ่งอายุ 2 ขวบมีชื่อว่า “คชา” ถูกส่งตัวจากประเทศไทยไปยังประเทศญี่ปุ่นเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมถึงเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้ชาวญี่ปุ่นทั้งประเทศในช่วงที่ย่ำแย่ที่สุดหลังแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 และเพื่อทดแทนช้างเชือกเดิมที่มีชื่อว่า ฮานาโกะ ซึ่งตายลงในช่วงที่เกิดสงคราม แล้วก็ไม่ทำให้ผิดหวังเลย เพราะทำให้คนญี่ปุ่นทั้งประเทศลืมทุกข์ คลายโศกกันได้ไม่น้อยในช่วงเวลานั้น
ที่ท่าเรือโกเบ คนมารอรับเป็นจำนวนมาก และมีการเฉลิมฉลองรับขวัญช้างกันอย่างเอิกเกริก
ขอบคุณภาพประกอบจาก - www.ehonnavi.net
ก้าวแรกที่คชาเหยียบลงบนแผ่นดินญี่ปุ่นคือที่ ท่าเรือโกเบ โดยมีพิธีต้อนรับกันอย่างเอิกเกริก เจ้าคชาเองก็แสดงความเป็นมิตรกับผู้คนที่ไปเฝ้ารอ เป็นสาเหตุให้มีคนรักและชื่นชอบเป็นอย่างมากและชาวญี่ปุ่นก็เรียกชื่อช้างตัวนี้ว่า “คชาโกะ” หลังจากนั้นคชาโกะก็ถูกส่งตัวไปที่สวนสัตว์ Ueno ทางสวนสัตว์ได้เปิดให้ประชาชนช่วยกันตั้งชื่อใหม่ให้กับ คชาโกะ โดยชื่อที่ได้รับการโหวตมากที่สุดก็คือ ฮานาโกะ (はな子 Hanako) ซึ่งเป็นชื่อเดียวกันกับช้างไทยเชือกวก่อนที่ตายลงในสงคราม หลังจากนั้นช้างเชือกนี้ก็มีชื่อว่าฮานาโกะจนถึงปัจจุบัน
ฮานาโกะอยู่ที่สวนสัตว์ Ueno ได้ 5 ปี จนในปี 2497 ก็ถูกย้ายไปอยู่ที่สวนสัตว์ Inokashira เมือง Kichijoji หลังจากย้ายมาอยู่ที่ใหม่ ฮานาโกะก็กลายเป็นขวัญใจประจำสวนสัตว์ เนื่องจากนิสัยที่ชอบให้คนมามุงดูเยอะ ๆ การหยิบสายยางมาฉีดน้ำเล่นกับเด็ก ๆ ที่มาเฝ้าชม ฯลฯ
แต่แล้วก็มีเหตุสะเทือนขวัญเกิดขึ้นในปี 2499 ฮานาโกะได้ทำร้ายชายคนหนึ่งซึ่งเมาเหล้าแล้วแอบเข้ามาในสวนสัตว์กลางดึกจนเสียชีวิต และในปี 2503 ก็ทำร้ายพี่เลี้ยงจนเสียชีวิตอีกคน ทำให้ทางสวนสัตว์มองว่าฮานาโกะเป็นตัวอันตราย จึงล่ามโซ่ไว้ทั้ง 4 ขา ทำให้ฮานาโกะมีสุขภาพย่ำแย่ลง ซึมเศร้า และร่างกายซูบผอมลงไปมาก ผู้คนที่มาเยี่ยมต่างก็สงสารและรับไม่ได้ จึงเขียนจดหมายขอร้องให้ทางสวนสัตว์ให้ปลดออกจากพันธนาการและดูแลให้ดีเหมือนเดิม
หลังจากมีผู้คนเขียนจดหมายเกี่ยวกับฮานาโกะไปทางสวนสัตว์มากขึ้น ๆ สุดท้ายทางสวนสัตว์ก็ปล่อยฮานาโกะเป็นอิสระและดูแลเหมือนเดิม และที่สำคัญได้พี่เลี้ยงคนใหม่ชื่อว่า เซโซ ยามากาวะ (山川清蔵 Yamakawa Seisou) ซึ่งดูแลฮานาโกะอย่างใกล้ชิด คอยฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจจนในที่สุดก็กลับมาเป็นช้างที่เชื่องและไว้วางใจคนอีกครั้ง ยิ่งไปกว่านั้น การดูแลอย่างใกล้ชิดของคุณเซโซยังทำให้ฮานาโกะติดคนเป็นอย่างมาก ชอบให้คนมาอยู่ใกล้ ๆ ตลอดเวลา โดยเฉพาะคุณเซโซนั่นเอง และในปี 2549 ลูกชายของคุณเซโซ ชื่อ โคอุจิ ยามากาวะ ได้แต่งหนังสือชื่อว่า “ฮานาโกะ : ช้างที่คุณพ่อรัก” (父が愛したゾウのはな子Chichi ga Aishita Zou no Hanako) เพื่อแสดงถึงความผูกพันและความจริงใจของพ่อเขาที่มีต่อเจ้าฮานาโกะ
แล้วก็ได้นำหนังสือเล่มดังกล่าวมาทำเป็นละครให้ได้ชมกันด้วย
จะว่าไปแล้ว ฮานาโกะได้เติบโตอยู่ในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน ได้ช่วยสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะให้กับชาวญี่ปุ่นมามากมาย คนญี่ปุ่นรักฮานาโกะมาก มีการจัดงานวันเกิดให้ทุกปี และเมื่อปี 2550 ก็จัดงานแซยิดให้เจ้าฮานาโกะอย่างยิ่งใหญ่
ฮานาโกะได้รับขนมเค้กด้วย
ปัจจุบัน (ปี 2558) ฮานาโกะมีอายุ 68 ปีถือเป็นช้างที่มีอายุยืนที่สุดในประเทศญี่ปุ่น แต่ร่างกายของฮานาโกะเองก็เริ่มหมดสมรรถภาพไปตามสังขาร ฟันเริ่มร่วงจนเกือบจะหมดปาก เรี่ยวแรงก็ไม่ค่อยมี งวงก็ยกไม่ค่อยขึ้น กินอาหารได้น้อยลง และโชว์ตัวในสวนสัตว์ได้เป็นระยะเวลาเพียงสั้น ๆ ต่อวันเท่านั้น
เมื่อฮานาโกะสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะให้กับชาวญี่ปุ่น คราวนี้ทางจิตกรสาวชาวญี่ปุ่น ชื่อคุณอะคิ ฟุเอะดะ ได้วาดภาพสีน้ำมันช้างไทย "ฮานาโกะ " ซึ่งเป็นภาพวาดที่มีขนาดใหญ่กว้าง 1 เมตร 62 เซนติเมตร และยาว 2 เมตร 60 เซนติเมตร โดยจัดแสดงในงาน Asian culture Arts Council ที่จัดขึ้นที่กรุงโตเกียว เพื่อปลอบขวัญชาวไทยบ้าง จากเหตุการณ์ก่อวินาศภัยระเบิดเมื่อเดือน ส.ค. ปีนี้ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย ทำให้มีคนจำนวนมากเสียชีวิต
โดยคุณ Fueda กล่าวว่า “พวกเด็กๆ ชาวญี่ปุ่นได้รับความสดใสร่าเริงจากนานาโกะ ถ้าได้ดูภาพนี้แล้วช่วยทำให้คนไทยรู้สึกยินดีปรีดา ก็จะรู้สึกดีใจมากเลยค่ะ”
ท่านทูตสีหศักดิ์ซึ่งเป็นท่านทูตของไทยก็ได้กล่าวขอบคุณว่า “คิดว่าคนไทยเองก็คงรู้สึกสดชื่นแจ่มใสขึ้นจากภาพวาดนี้ด้วยครับ”
แล้วเมื่อวันที่ 18 พ.ย. ที่ผ่านมา ทางญี่ปุ่นได้มอบภาพวาดของฮานาโกะให้เป็นของขวัญกับสถานเอกอัครราชทูตไทยฯ และถูกจัดแสดงไว้ที่ทางเข้าของอาคารสถานทูต
ขอบคุณข้อมูลจาก สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว / เฟสบุ๊ค สสท
Posted by mod at
12:42
│Comments(0)
2015年11月20日
北海道 正月の料理に使う「かずのこ」の準備に忙しい ฮอคไกโดกำลังยุ่งอยู่กับการเตรียม Kazunoko
ตอนนี้ก็เดือน พ.ย. แล้วนะคะ อีกไม่นานก็จะเข้าช่วงปีใหม่แล้ว เพื่อนๆ ว่าปีๆ หนึ่งเร็วมัยคะ
สำหรับฉันไวมาก ยิ่งกว่าติดจรวดเสียอีก แต่ก็ต้องยอมรับ บางคนช่วงปลายปีก็งานยุ่งกันใช่มัยคะ เพราะต้องเตรียมตัวทำงานให้เสร็จเพื่อจะได้ไปฉลองปีใหม่กันอย่างสบายใจ
ร้านค้าต่างๆ ก็ต้องเตรียมสินค้าเพื่อขายในช่วงปีใหม่ ก็เช่นเดียวกันกับโรงงานแห่งหนึ่งที่อยู่ในเมือง Hakodate ขดง Hokkaido ที่ตอนนี้กำลังยุ่งมากๆในการจัดเตรียม "数の子" (kazunoko) ที่จะใช้สำหรับอาหารในเทศกาลปีใหม่
"数の子" (Kazunoko) จะทำมาจากไข่ของปลาที่มีชื่อว่า “ปลาเฮอร์ริง หรือในภาษาญี่ปุ่นจะเรียกกันว่า ปลา ニシン/ 鰊・鯡 (nishin) เป็นปลาที่วางไข่เป็นจำนวนมาก จึงมีความหมายเป็นมงคลในการมีลูกหลาน สืบตระกูลมากมาย
วิธีการรับประทานคือ นำไข่ปลาที่หมักเกลือไว้แล้วไปแช่น้ เพื่อให้คลายความเค็ม แล้วเพิ่มรสชาติด้วยการ หมักในน้ำต้มเนื้อปลาทูน่าแห้ง หรือทาน แบบหมักเกลือโดยตรง
数の子 (Kazunoko) ที่ผลิตที่โรงงานแห่งนี้นั้น 70-80% จะใช้สำหรับอาหารในเทศกาลปีใหม่ แล้วโรงงานแห่งนี้ก็จะผลิตไข่ของปลาเฮอร์ริ่งที่นำเข้าจากต่างประเทศด้วย ตอนนี้คนงานที่ทำงานอยู่ในโรงงานแห่งนี้จะทำหน้าที่ในการตรวจสอบรูปร่างและความใหญ่ของไข่ปลา พร้อมๆ ไปกับการบรรจุ “数の子” ลงในกล่องด้วย
คนงานที่ทำงานอยู่ในโรงงานแห่งนี้ได้กล่าวว่า “ราคาของปลาเฮอริ่งที่นำเข้ามาในปีนี้มีราคาที่แพงขึ้น ดังนั้น ราคาในตอนที่ขายออกจากโรงงานก็จะต้องแพงขึ้นกว่าปีที่ผ่านๆ มาด้วย ราวๆ 10%"
แล้วทำไม 数の子 ถึงเป็นที่ต้องการของตลาดในช่วงเทศกาลปีใหม่ด้วย นั่นก็เพราะว่า 数の子 จะเป็นส่วนประกอบหนึ่งของอาหารในเทศกาลปีใหม่ ที่เราเรียกกันว่า โอะเซะชิ (御節/ お節) หรือ โอะเซะชิ-เรียวริ (御節料理/ お節料理) (เรียวริ แปลว่า การทำอาหาร) เป็นสำรับอาหารสำหรับเทศกาลปีใหม่ในญี่ปุ่น เป็นขนบประเพณีที่มีมาตั้งแต่ยุคเฮอัง โอะเซะชิ นั้นจะถูกจัดเรียงอยู่ในกล่องสี่เหลี่ยมสามหรือสี่กล่องที่เรียกว่า จูบะโกะ (重箱) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับกล่องเบนโต ซึ่งจูบะโกะนั้นจะถูกเก็บไว้โดยการซ้อนกัน ทั้งก่อนการใช้งานและหลังใช้งาน ซึ่งโอะเซะชินั้น มักรับประทานร่วมกับ โทะโซะ
ชาวญี่ปุ่นจะรับประทานโอะเซะชิเรียวริกันในช่วงเวลาสามวันหลังวันขึ้นปีใหม่ (1 มกราคม) ซึ่งนิยมรับประทานโอะเซะชิเรียวริเป็นมื้อแรกของปีพร้อมกับครอบครัว
อาหารในโอะเซะชิ แต่ละอย่างมีความหมายพิเศษของมันเพื่อการฉลองปีใหม่ ตัวอย่างบางส่วนเป็น:
•ไดได (橙) หรือ ส้มจี๊ดญี่ปุ่น ไดไดนั้นมีความหมาย คือ "จากรุ่นสู่รุ่น" เมื่อเขียนแบบคันจิ จะเขียนได้ว่า 代 ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความปรารถนาสำหรับเด็กในวันขึ้นปีใหม่
•ดะเตะมะกิ (伊達巻/ 伊達巻き) หรือไข่เจียวม้วน ซึ่งมีลักษณะการเจียวไม่เหมือนกับไข่เจียวธรรมดา อาจจะผสมไปด้วยกุ้งหรือปลาบด เป็นสัญลักษณ์ของความปรารถนาสำหรับวันมหามงคล
•คะมะโบะโกะ (蒲鉾) เนื้อปลาบดนึ่งเป็นก้อน จะถูกหั่นแล้วจัดวางสลับกันเป็นชิ้นสีแดง (หรือชมพู) และขาว จากสีนั้นมีความหมายถึงอาทิตย์อุทัยของญี่ปุ่น
•คะซุโนะโกะ (数の子) หรือไข่ปลาแฮร์ริง คะซุ มีความหมายว่า "จำนวน" ส่วน โนะโกะ มีความหมายว้า "เด็ก" หรือก็คือ "เด็กจำนวนมาก" ในเทศกาลปีใหม่นั่นเอง
•คมบุ (昆布) เป็นสาหร่ายประเภทหนึ่ง มีความหมายเกี่ยวข้องกับคำว่า "โยะโระโกะบุ" (喜ぶ) ซึ่งมีความหมายว่า "ยินดี"
•คุโระมะเมะ (黒豆) หรือ ถั่วเหลืองดำ มีความนุ่มกำลังดี มะเมะ มีความหมายว่า "สุขภาพ" ซึ่งก็คือปรารถนาให้สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์
•โคฮะกุนะมะซุ (紅白なます) เป็นผักสีขาว-แดง ที่นิยมทำเป็นก้อน ซึ่งทำมาจาก แครอทซอย และ ผักกาดหัวซอย และแช่ในน้ำส้มสายชูชนิดพิเศษ
•ไต (鯛) หรือปลาบรีมทะเลสีแดง ไทมีความเกี่ยวข้องกับคำว่า เมะเดะไต สัญลักษณ์ของเทศกาลอันเป็นมงคล
•อะวะซุเกะ (粟漬)ปลาโคะโนะชิโระก่อนที่จะเจริญเติบโตเต็มที่ ต้มแล้วหมักในน้ำส้มสายชู ใส่สีเหลืองที่ทำจากดอกการ์ดิเนีย เป็นการขอพรให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ดีไม่มีอุปสรรค
•เอะบิ (エビ) กุ้งซึ่งปรุงรสด้วยสาเกและซอสถั่วเหลือง
ขอบคุณข้อมูลจาก วิกกิพีเดีย
สำหรับฉันไวมาก ยิ่งกว่าติดจรวดเสียอีก แต่ก็ต้องยอมรับ บางคนช่วงปลายปีก็งานยุ่งกันใช่มัยคะ เพราะต้องเตรียมตัวทำงานให้เสร็จเพื่อจะได้ไปฉลองปีใหม่กันอย่างสบายใจ
ร้านค้าต่างๆ ก็ต้องเตรียมสินค้าเพื่อขายในช่วงปีใหม่ ก็เช่นเดียวกันกับโรงงานแห่งหนึ่งที่อยู่ในเมือง Hakodate ขดง Hokkaido ที่ตอนนี้กำลังยุ่งมากๆในการจัดเตรียม "数の子" (kazunoko) ที่จะใช้สำหรับอาหารในเทศกาลปีใหม่
"数の子" (Kazunoko) จะทำมาจากไข่ของปลาที่มีชื่อว่า “ปลาเฮอร์ริง หรือในภาษาญี่ปุ่นจะเรียกกันว่า ปลา ニシン/ 鰊・鯡 (nishin) เป็นปลาที่วางไข่เป็นจำนวนมาก จึงมีความหมายเป็นมงคลในการมีลูกหลาน สืบตระกูลมากมาย
วิธีการรับประทานคือ นำไข่ปลาที่หมักเกลือไว้แล้วไปแช่น้ เพื่อให้คลายความเค็ม แล้วเพิ่มรสชาติด้วยการ หมักในน้ำต้มเนื้อปลาทูน่าแห้ง หรือทาน แบบหมักเกลือโดยตรง
数の子 (Kazunoko) ที่ผลิตที่โรงงานแห่งนี้นั้น 70-80% จะใช้สำหรับอาหารในเทศกาลปีใหม่ แล้วโรงงานแห่งนี้ก็จะผลิตไข่ของปลาเฮอร์ริ่งที่นำเข้าจากต่างประเทศด้วย ตอนนี้คนงานที่ทำงานอยู่ในโรงงานแห่งนี้จะทำหน้าที่ในการตรวจสอบรูปร่างและความใหญ่ของไข่ปลา พร้อมๆ ไปกับการบรรจุ “数の子” ลงในกล่องด้วย
คนงานที่ทำงานอยู่ในโรงงานแห่งนี้ได้กล่าวว่า “ราคาของปลาเฮอริ่งที่นำเข้ามาในปีนี้มีราคาที่แพงขึ้น ดังนั้น ราคาในตอนที่ขายออกจากโรงงานก็จะต้องแพงขึ้นกว่าปีที่ผ่านๆ มาด้วย ราวๆ 10%"
แล้วทำไม 数の子 ถึงเป็นที่ต้องการของตลาดในช่วงเทศกาลปีใหม่ด้วย นั่นก็เพราะว่า 数の子 จะเป็นส่วนประกอบหนึ่งของอาหารในเทศกาลปีใหม่ ที่เราเรียกกันว่า โอะเซะชิ (御節/ お節) หรือ โอะเซะชิ-เรียวริ (御節料理/ お節料理) (เรียวริ แปลว่า การทำอาหาร) เป็นสำรับอาหารสำหรับเทศกาลปีใหม่ในญี่ปุ่น เป็นขนบประเพณีที่มีมาตั้งแต่ยุคเฮอัง โอะเซะชิ นั้นจะถูกจัดเรียงอยู่ในกล่องสี่เหลี่ยมสามหรือสี่กล่องที่เรียกว่า จูบะโกะ (重箱) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับกล่องเบนโต ซึ่งจูบะโกะนั้นจะถูกเก็บไว้โดยการซ้อนกัน ทั้งก่อนการใช้งานและหลังใช้งาน ซึ่งโอะเซะชินั้น มักรับประทานร่วมกับ โทะโซะ
ชาวญี่ปุ่นจะรับประทานโอะเซะชิเรียวริกันในช่วงเวลาสามวันหลังวันขึ้นปีใหม่ (1 มกราคม) ซึ่งนิยมรับประทานโอะเซะชิเรียวริเป็นมื้อแรกของปีพร้อมกับครอบครัว
อาหารในโอะเซะชิ แต่ละอย่างมีความหมายพิเศษของมันเพื่อการฉลองปีใหม่ ตัวอย่างบางส่วนเป็น:
•ไดได (橙) หรือ ส้มจี๊ดญี่ปุ่น ไดไดนั้นมีความหมาย คือ "จากรุ่นสู่รุ่น" เมื่อเขียนแบบคันจิ จะเขียนได้ว่า 代 ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความปรารถนาสำหรับเด็กในวันขึ้นปีใหม่
•ดะเตะมะกิ (伊達巻/ 伊達巻き) หรือไข่เจียวม้วน ซึ่งมีลักษณะการเจียวไม่เหมือนกับไข่เจียวธรรมดา อาจจะผสมไปด้วยกุ้งหรือปลาบด เป็นสัญลักษณ์ของความปรารถนาสำหรับวันมหามงคล
•คะมะโบะโกะ (蒲鉾) เนื้อปลาบดนึ่งเป็นก้อน จะถูกหั่นแล้วจัดวางสลับกันเป็นชิ้นสีแดง (หรือชมพู) และขาว จากสีนั้นมีความหมายถึงอาทิตย์อุทัยของญี่ปุ่น
•คะซุโนะโกะ (数の子) หรือไข่ปลาแฮร์ริง คะซุ มีความหมายว่า "จำนวน" ส่วน โนะโกะ มีความหมายว้า "เด็ก" หรือก็คือ "เด็กจำนวนมาก" ในเทศกาลปีใหม่นั่นเอง
•คมบุ (昆布) เป็นสาหร่ายประเภทหนึ่ง มีความหมายเกี่ยวข้องกับคำว่า "โยะโระโกะบุ" (喜ぶ) ซึ่งมีความหมายว่า "ยินดี"
•คุโระมะเมะ (黒豆) หรือ ถั่วเหลืองดำ มีความนุ่มกำลังดี มะเมะ มีความหมายว่า "สุขภาพ" ซึ่งก็คือปรารถนาให้สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์
•โคฮะกุนะมะซุ (紅白なます) เป็นผักสีขาว-แดง ที่นิยมทำเป็นก้อน ซึ่งทำมาจาก แครอทซอย และ ผักกาดหัวซอย และแช่ในน้ำส้มสายชูชนิดพิเศษ
•ไต (鯛) หรือปลาบรีมทะเลสีแดง ไทมีความเกี่ยวข้องกับคำว่า เมะเดะไต สัญลักษณ์ของเทศกาลอันเป็นมงคล
•อะวะซุเกะ (粟漬)ปลาโคะโนะชิโระก่อนที่จะเจริญเติบโตเต็มที่ ต้มแล้วหมักในน้ำส้มสายชู ใส่สีเหลืองที่ทำจากดอกการ์ดิเนีย เป็นการขอพรให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ดีไม่มีอุปสรรค
•เอะบิ (エビ) กุ้งซึ่งปรุงรสด้วยสาเกและซอสถั่วเหลือง
ขอบคุณข้อมูลจาก วิกกิพีเดีย
Posted by mod at
19:19
│Comments(0)
2015年11月19日
ตัวเลขกับความเชื่อ
วันนี้เรามาคุยกันเรื่องตัวเลขกันดีกว่าค่ะ ในแต่ละประเทศก็จะมีความเชื่อเรื่องตัวเลขกัน เช่น คนไทยเองก็มีความเชื่อเรื่อง เลข 9 ว่าเป็นเลขมงคล เวลาจะทำอะไรก็จะมีการดูฤกษ์ วันที่ เวลา ขอให้มีเลข 9 ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้มีความเจริญก้าวหน้า กิจการเจริญรุ่งเรื่อง และส่วนคนฝรั่งถือเรื่องตัวเลข 13 ว่าเป็นเลขที่ไม่ดี เลขอาถรรพ์ ตามโรงแรม หรือโรงพยาบาลในประเทศฝรั่งมักจะไม่มีห้องเลข 13 หรือชั้น 13
แต่ในวันนี้ของคุยเรื่องตัวเลขตามความเชื่อของคนญี่ปุ่น เลขนำโชคและเลขต้องห้าม
สำหรับตัวเลขที่เป็นมงคลหรือไม่เป็นมงคลนั้นส่วนใใหญ่มีที่มาจากการพ้องของภาษานั้นๆ กันนะคะ
สำหรับคนญี่ปุ่นแล้ว เลข 7 ถือเป็นเลขมงคล และเลข 4 กับ 9 ถือว่าเป็นเลขที่ไม่เป็นมงคล
คราวนี้มาดูรายละเอียดกันนะคะ
เลข 1 เป็นตัวเลขที่ไม่ค่อยมีการพูดถึง หากจะมีการพูดถึง ก็อาจแปลได้ทั้งสองอย่าง คือ เป็นกลาง ไม่เปลี่ยนแปลง แน่วแน่มั่นคง หรืออาจหมายถึงการไม่ได้พบพานกับคู่ครองก็ได้ เลขหนึ่งเป็นตัวเลขพื้นฐานในการฝึกเขียนตัวอักษรญี่ปุ่นโบราณที่เราเรียกกันว่า โชะโด เป็นตัวแทนของการมีอยู่ เมื่อเทียบกับคำว่าว่าง หรือไร้ตัวตนของ 無 ไม่น่าจะมีการตีความหมายร้ายแรง เพราะมีการเอามาตั้งชื่อคนหลายแบบมาก 弌 (はじめ)」「ひとつ」「ひと」「いち」「いつ」
เลข 4 คำสื่อไปถึงคำว่า 死 (ชิ:ความตาย) เป็นตัวเลขอัปมงคล และเลี่ยงที่จะเกี่ยวข้องด้วย อย่างเช่นโรงพยาบาล หรือห้องเช่า จะไม่มีหมายเลข 4 ในญี่ปุ่นมีโรงพยาบาลหลายแห่งไม่ออกแบบให้ ห้องผ่าตัด ห้องคลอด ห้องทำแผล อยู่ในชั้น 4 เพื่อเป็นการระวังรักษาน้ำใจคนไข้กันเลยทีเดียว
เลข 9 สื่อไปถึงคำว่า( 苦) คุ:ความทรมาณ เป็นตัวเลขอัปมงคล บ้าน โรงแรม อพาร์ทเมนต์ และโรงพยาบาลญี่ปุ่น มักหลีกเลี่ยงการออกแบบพื้นที่ ที่มีตัวเลขเก้า เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งตรงข้ามกับจีนอย่างสิ้นเชิง เพราะเป็นตัวเลขเดี่ยวที่มีค่าสูงสุด จึงเป็นเลขมงคลของจีน
ในเมื่อมีเลขไม่เป็นมงคลแล้ว ก็ต้องมีเลขดีที่เป็นมงคลให้โชคให้ลาภตามความเชื่อเป็นธรรมดา
เลข 5 มักสื่อไปถึงคำว่า โกะเอ็ง (御縁)การเชื่อมโยง การสื่อสัมพันธ์ การพบรัก และยังมักถูกนำมาเป็นการให้คะแนน เกรด หรือคุณภาพ ขั้นสูงสุด ในการเทียบระดับชั้นอีกด้วย
เลข 7 เนื่องจากญี่ปุ่นมีประเพณีการกินสมุนไพร 7 ชนิด ที่เชื่อว่าทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง นอกจากนี้คนญี่ปุ่นยังนับถือเทพเจ้ากลุ่มหนึ่งที่นั่งอยู่บนเรือมหาสมบัติมี 7 องค์ ว่ากันว่าจะนำโชคลาภมาให้ ถ้ามีใครเปิดร้านหรือขึ้นบ้านใหม่ คนญี่ปุ่นก็นิยมที่จะถือเรือมหาสมบัตินี้ไปให้เพื่อเป็นศิริมงคล เลขชุดนี้ยังถูกนำไปใช้ในโต๊ะเกม และปาจิงโกะ เป็นเลขแจ็กพ็อต เรียงเจ็ดเมื่อไหร่ เงินออกถล่มทลายเลยทีเดียว
ส่วนเลขที่เป็นมงคลอีกตัวหนึ่งคือ เลข 8 นั้นมีที่การตีความสองชุด คือ ลักษณะการเขียนคันจิที่ปลายเปิด( 八) เป็นเลขมงคล แสดงว่าปลายทางจากเปิดกว้าง ทางสู่เงินทองจะกว้างขึ้น(เงินจะไหลมาเทมา) ส่วนอีกความเชื่อเป็นความเชื่อโบราณของญี่ปุ่นดั้งเดิมว่าเป็นตัวเลขของความบริสุทธิ์ของผู้รู้ เพราะมีขนาดมากปริ่มๆกำลังดี เราจึงมักพบชื่อสถานที่สำคัญๆทางจิตวิญญาณในธรรมชาติ และศาลเจ้าโบราณ มีชื่อที่มีเลขแปดปะปนอยู่ ซึ่งได้รับ อิทธิพลมาจากลัทธิขงจื้อของจีน นำเข้ามาสู่นิกายเซนของญี่ปุ่น มีความเชื่อกันว่าเลข 8 เป็นเลขแห่งความสมดุลและความสมบูรณ์นั่นเอง ดูได้จากการนำเลข 8 มาพลิกตะแคงข้าง ก็จะกลายเป็นสัญลักษณ์อินฟินิตี้ ที่แปลว่านิรันดร์ไม่รู้จบ
ความเชื่อทางด้านตัวเลขนั้นมีอิทธิพลต่อคนในพื้นที่นั้นๆ แต่ละท้องถื่นก็จะแตกต่างกันออกไป เชื่อไว้ก็ไม่เสียหายอะไร ในทางกลับกันอาจจะเป็นผลดีต่อตัวเราด้วยถ้าเราทำงานกับคนญี่ปุ่น เพราะเรารู้วัฒนธรรมและสามารถปฏิบัติต่อคนญี่ปุ่นได้โดยไม่เป็นการลบหลู่ความเชื่อของชนชาตินั้น
ขอบคุณข้อมูลจาก Sanook
แต่ในวันนี้ของคุยเรื่องตัวเลขตามความเชื่อของคนญี่ปุ่น เลขนำโชคและเลขต้องห้าม
สำหรับตัวเลขที่เป็นมงคลหรือไม่เป็นมงคลนั้นส่วนใใหญ่มีที่มาจากการพ้องของภาษานั้นๆ กันนะคะ
สำหรับคนญี่ปุ่นแล้ว เลข 7 ถือเป็นเลขมงคล และเลข 4 กับ 9 ถือว่าเป็นเลขที่ไม่เป็นมงคล
คราวนี้มาดูรายละเอียดกันนะคะ
เลข 1 เป็นตัวเลขที่ไม่ค่อยมีการพูดถึง หากจะมีการพูดถึง ก็อาจแปลได้ทั้งสองอย่าง คือ เป็นกลาง ไม่เปลี่ยนแปลง แน่วแน่มั่นคง หรืออาจหมายถึงการไม่ได้พบพานกับคู่ครองก็ได้ เลขหนึ่งเป็นตัวเลขพื้นฐานในการฝึกเขียนตัวอักษรญี่ปุ่นโบราณที่เราเรียกกันว่า โชะโด เป็นตัวแทนของการมีอยู่ เมื่อเทียบกับคำว่าว่าง หรือไร้ตัวตนของ 無 ไม่น่าจะมีการตีความหมายร้ายแรง เพราะมีการเอามาตั้งชื่อคนหลายแบบมาก 弌 (はじめ)」「ひとつ」「ひと」「いち」「いつ」
เลข 4 คำสื่อไปถึงคำว่า 死 (ชิ:ความตาย) เป็นตัวเลขอัปมงคล และเลี่ยงที่จะเกี่ยวข้องด้วย อย่างเช่นโรงพยาบาล หรือห้องเช่า จะไม่มีหมายเลข 4 ในญี่ปุ่นมีโรงพยาบาลหลายแห่งไม่ออกแบบให้ ห้องผ่าตัด ห้องคลอด ห้องทำแผล อยู่ในชั้น 4 เพื่อเป็นการระวังรักษาน้ำใจคนไข้กันเลยทีเดียว
เลข 9 สื่อไปถึงคำว่า( 苦) คุ:ความทรมาณ เป็นตัวเลขอัปมงคล บ้าน โรงแรม อพาร์ทเมนต์ และโรงพยาบาลญี่ปุ่น มักหลีกเลี่ยงการออกแบบพื้นที่ ที่มีตัวเลขเก้า เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งตรงข้ามกับจีนอย่างสิ้นเชิง เพราะเป็นตัวเลขเดี่ยวที่มีค่าสูงสุด จึงเป็นเลขมงคลของจีน
ในเมื่อมีเลขไม่เป็นมงคลแล้ว ก็ต้องมีเลขดีที่เป็นมงคลให้โชคให้ลาภตามความเชื่อเป็นธรรมดา
เลข 5 มักสื่อไปถึงคำว่า โกะเอ็ง (御縁)การเชื่อมโยง การสื่อสัมพันธ์ การพบรัก และยังมักถูกนำมาเป็นการให้คะแนน เกรด หรือคุณภาพ ขั้นสูงสุด ในการเทียบระดับชั้นอีกด้วย
เลข 7 เนื่องจากญี่ปุ่นมีประเพณีการกินสมุนไพร 7 ชนิด ที่เชื่อว่าทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง นอกจากนี้คนญี่ปุ่นยังนับถือเทพเจ้ากลุ่มหนึ่งที่นั่งอยู่บนเรือมหาสมบัติมี 7 องค์ ว่ากันว่าจะนำโชคลาภมาให้ ถ้ามีใครเปิดร้านหรือขึ้นบ้านใหม่ คนญี่ปุ่นก็นิยมที่จะถือเรือมหาสมบัตินี้ไปให้เพื่อเป็นศิริมงคล เลขชุดนี้ยังถูกนำไปใช้ในโต๊ะเกม และปาจิงโกะ เป็นเลขแจ็กพ็อต เรียงเจ็ดเมื่อไหร่ เงินออกถล่มทลายเลยทีเดียว
ส่วนเลขที่เป็นมงคลอีกตัวหนึ่งคือ เลข 8 นั้นมีที่การตีความสองชุด คือ ลักษณะการเขียนคันจิที่ปลายเปิด( 八) เป็นเลขมงคล แสดงว่าปลายทางจากเปิดกว้าง ทางสู่เงินทองจะกว้างขึ้น(เงินจะไหลมาเทมา) ส่วนอีกความเชื่อเป็นความเชื่อโบราณของญี่ปุ่นดั้งเดิมว่าเป็นตัวเลขของความบริสุทธิ์ของผู้รู้ เพราะมีขนาดมากปริ่มๆกำลังดี เราจึงมักพบชื่อสถานที่สำคัญๆทางจิตวิญญาณในธรรมชาติ และศาลเจ้าโบราณ มีชื่อที่มีเลขแปดปะปนอยู่ ซึ่งได้รับ อิทธิพลมาจากลัทธิขงจื้อของจีน นำเข้ามาสู่นิกายเซนของญี่ปุ่น มีความเชื่อกันว่าเลข 8 เป็นเลขแห่งความสมดุลและความสมบูรณ์นั่นเอง ดูได้จากการนำเลข 8 มาพลิกตะแคงข้าง ก็จะกลายเป็นสัญลักษณ์อินฟินิตี้ ที่แปลว่านิรันดร์ไม่รู้จบ
ความเชื่อทางด้านตัวเลขนั้นมีอิทธิพลต่อคนในพื้นที่นั้นๆ แต่ละท้องถื่นก็จะแตกต่างกันออกไป เชื่อไว้ก็ไม่เสียหายอะไร ในทางกลับกันอาจจะเป็นผลดีต่อตัวเราด้วยถ้าเราทำงานกับคนญี่ปุ่น เพราะเรารู้วัฒนธรรมและสามารถปฏิบัติต่อคนญี่ปุ่นได้โดยไม่เป็นการลบหลู่ความเชื่อของชนชาตินั้น
ขอบคุณข้อมูลจาก Sanook
Posted by mod at
12:17
│Comments(0)
2015年11月18日
新しいロボット「あなたに合う店などを紹介します」 หุ่นยนต์ตัวใหม่ของญี่ปุ่น Kibiro
เมื่อวันที่ 17 พ.ย.ที่ผ่านมา UBIC บริษัทในโตเกียวได้ออกมาแถลงข่าวเกี่ยวกับการสร้างหุ่นยนต์ที่คล้ายกับตุ๊กตา โดยตั้งชื่อให้ว่า [Kibiro] เพราะมีความหมายว่าหุ่นยนต์ที่สามารถเข้าใจความละเอียดอ่อนของมนุษย์ได้
หุ่นยนต์ตัวนี้มีความสูงราวๆ 30 ซม.และกว้าง 15 ซม.โดยทางบริษัทจะใส่คอมพิวเตอร์รุ่น Kibit ที่ทำให้หุ่นยต์สามารถคิดประมวลผลและเคลื่อนไหวได้เหมือนกับคนเลย หุ่นยนต์ตัวนี้จะรู้จักและเข้าใจใบหน้าและเสียงของคน นอกจากนั้นยังสามารถสื่อสารด้วยบทสนทนาง่ายๆ ได้ด้วย ถ้าผู้ใช้บอกอย่างเช่นสิ่งที่ชอบหรืองานอดิเรกกับหุ่นยนต์แล้วล่ะก็ หุ่นยนต์จะค้นหาอย่างเช่นสถานที่ท่องเที่ยวหรือร้านค้า หรือร้านอาหารที่เหมาะกับคนๆ นั้นด้วยใช้อินเตอร์เน็ตค้นหาแล้วประมวลผลนำมาแนะนำเราได้
เมื่อผู้ใช้บอกอย่างเช่นความชอบ ผลิตภัณฑ์หรืออาหารที่ชอบ หุ่นยนต์จะค้นหาและบอกข้อมูลร้านอาหารจากด้านบนอินเตอร์เน็ต
สามารถเช็คความชอบและที่อยู่ในขณะนั้นของผู้ใช้ และแนะนำสิ่งต่างๆ ได้มากมาย
แล้วจะใช้แอปประมวลผล และแนะนำร้านอาหารที่ recommend
โดยทางบริษัทจะนำหุ่นยนต์ไปใช้ในสถานที่ต่างๆ ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2016 แล้วมีแผนที่จะวางจำหน่ายในราคาประมาณ 1 แสนเยน
ถ้าออกวางจำหน่ายเมื่อไรแล้วล่ะก็ ว่าจะไปสอยมาใช้สักตัวนึง
Posted by mod at
20:15
│Comments(0)
2015年11月17日
คำขอบคุณจากคนในจังหวัดมิยางิ 宮城県亘理町の人たちが料理を持ってお礼に来(き)た
วันนี้เราจะมาดูความน่ารักของคนญี่ปุ่นในอีกรูปแบบหนึ่ง ก่อนที่จะไปดูว่าเขาน่ารักกันแบบนั้น ขอเกริ่นก่อนว่าเรื่องนี้ที่เกิดที่จังหวัดมิยางิ เพื่อนๆ รู้จักกันมัยคะ
จังหวัดมิยางิ (Miyagi Prefecture) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของภูมิภาคโทโฮขุ มีเมืองท่าเรือที่ใหญ่ที่สุด หันสู่มหาสมุทรแปซิฟิค
ทางทิศเหนือ เป็นแหล่งน้ำแร่ธรรมชาติในหุบผานะรุโคะที่มีพื้นที่ ติดต่อกับจังหวัดยามางะตะ (Yamagata Prefecture)
ทางตะวันออก เป็นคาบสมุทรโอชิคะ ต่อกับอุทยานแห่งชาติชายทะเล (Rikuchuukaigan National Park)
ทางทิศตะวันตก เป็นแหล่งน้ำแร่ธรรมชาติอะคิอุใกล้ภูเขาไฟซะโอะที่คั่นเขตแดนกับจังหวัดยามางะตะ
ทางใต้ เป็นแหล่งน้ำแร่ธรรมชาติที่มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดฟุคุชิมะ (Fukushima Prefecture)
ตั้งอยู่บนเกาะฮนชู มีเซ็นไดเป็นเมืองหลวงเป็นเมืองแห่งปราสาท และหนึ่งในนั้นเป็นปราสาทที่ไดเมียวดาเตะ มาซามุเนะ เจ้าผู้ครองแคว้นโบราณเคยสร้างเอาไว้ เด่นในด้านเกษตรกรรมและการประมง และเป็นแหล่งจุดชมวิวที่สวยงามของญี่ปุ่นที่อ่าวมัตสึชิมะ
ชายทะเลมัตสึชิมะ (Matsushima) อยู่ริมอ่าวมัตสึชิมะ ทางตะวันออกเฉียงของเมืองเซนได ถูกจัดเป็นที่ชมทิวทัศน์ของเกาะแก่งใหญ่น้อยในทะเลที่งดงามเป็น 1 ใน 3 ของญี่ปุ่น ยังมีทิวทัศน์สวยโดดเด่นลือชื่อ 4 วิว คือ มัตสึชิมะชิไดคัน (Matsushima Shidaikan) ได้แก่ หุบเขาโองิ (Ogidani) ทะมนซัน (Tamonzan) โทมิยะมะ (Tomiyama) และ โอทะคะโมริ (Otakamori) นอกจากนั้นบริเวณใกล้เคียงยังสามารถเดินต่อไปชมโบราณสถานที่เป็น หอโกไดโด(Godaido Hall) เป็นสัญลักษณ์ที่มีชื่อของมัตสึชิมะ ได้รับการสร้างต่อเติมอย่างสมบูรณ์ โดยคำสั่งของเจ้าเมือง ดะเทะ มะซะมุเนะ(Date Masamune) ภายในมีรูปปั้นโกไดเมียวซึ่งถูกนำมาประดิษฐานโดย หลวงจีน Jikaku Daishi มีการอัญเชิญออกแห่ทุกๆ 33 ปี
ปราสาทวะคุยะ (Wakuya Castle) เมื่อปี ค.ศ.1591 เคยเป็นศูนย์การปกครองของเมืองเซนไดมีผู้บัญชาการทหารชื่อ Katari Shigemune ได้สืบทอดเป็นเวลา 277 ปี ต่อมาปี ค.ศ.1689 ถูกเผาไหม้เหลือเพียงกำแพงหิน และป้อมปืน เมื่ออำนาจทางการเมืองเปลี่ยนจากยุคเอโดะเป็นรัฐบาลเมจิ กลางศตวรรษที่ 19 ปราสาทนี้จึงกลายเป็นเพียงสัญลักษณ์แห่งศูนย์อำนาจทางการเมืองในยุคซามูไร ปัจจุบันได้รับการบูรณะสร้างขึ้นใหม่เป็นอาคาร 3 ชั้นด้านหน้าปราสาทให้เป็นห้องแสดงโบราณวัตถุสิ่งของเพื่อการศึกษาหาความรู้ทางประวัติศาสตร์
นั่นคือสถานที่ท่องเที่ยวที่งดงามของจังหวัดมิยางิ
แต่เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ ขนาด 8.9 และคลื่นสึนามิขนาดใหญ่เข้าถล่มจังหวัดมิยะงิ สร้างความเสียหายใหญ่หลวงแก่พื้นที่ บ้านเรือนประชาชน รถยนต์และรถบรรทุกเป็นจำนวนมาก และมีคนจำนวนมากเสียชีวิตจากคลื่นสึนามิด้วย โดยคลื่นสึนามิดังกล่าวประมาณว่ามีความสูงอย่างน้อย 10 เมตร และพัดเข้าถล่มญี่ปุ่นกินพื้นที่ถึง 10 กิโลเมตร
โดยเฉพาะเมืองวาตาริ จังหวัดมิยางิ เกิดความเสียหายอย่างมากเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ในตอนนั้นประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมืองวาโคชิ จังหวัดไซตามะได้ส่งอย่างเช่นหนังสือให้กับโรงเรียนประถมของเมืองวาตาริ และความช่วยเหลือต่างๆ
ดังนั้น ในวันที่ 15 พ.ย. ที่ผ่านมา ได้มีการจัดงานอีเว้นท์ที่เมืองวาโคชิ จังหวัดไซตามะ ประชาชนในเมืองวาตาริก็ได้นำอาหารพื้นเมืองที่มีชื่อว่า “Harako-meshi” ร่วมงานด้วยเพื่อแสดงความขอบคุณที่รู้สึกซาบซึ้งมาจนถึงทุกวันนี้
“Harako-meshi” คืออาหารที่จัดวางเนื้อปลาแซลมอนและไข่ปลาแซลมอนที่ต้มด้วยโชยุและน้ำตาลไว้ด้านบนข้าวสวย ซึ่งเป็นอาหารที่คนในเมืองวาตาริจะกินกันบ่อยๆ มาตั้งแต่เมื่อสมัยก่อน
ตามปกติแล้ว Harako-meshi จะตกอยู่ที่ราคากล่องละ 1,000 เยนเลยทีเดียว แต่สำหรับงานนี้ เขาขายอยู่ที่ราคา 500 เยน ซึ่งถูกมากๆ ขนาดที่ว่าจัดเตรียมไว้ถึงจำนวน 300 กล่องก็ตาม แต่ก็ขายหมดเกลี้ยงภายในเวลาแค่ 1ชั่วโมง
คุณคาโต้ อากิระ วัย 60 ปีแห่งเมืองวาตาริได้กล่าวว่า “รู้สึกขอบคุณมากๆ ในการช่วยเหลือพวกเราในครั้งนั้น และเมื่อได้รับประทานอาหารที่มีชื่อว่า “Harako-meshi” และรู้จักเมืองของพวกเราแล้ว ก็อยากที่จะให้แวะมาเที่ยวกันด้วยนะครับ”
คุณลุงคาโต้ฝากคำทิ้งทายไว้น่ารักมากเลยนะคะ ถ้าใครมีโอกาสไปแถวจังหวัดมิยางิก็ลองแวะไปเที่ยด้วยนะคะ
จังหวัดมิยางิ (Miyagi Prefecture) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของภูมิภาคโทโฮขุ มีเมืองท่าเรือที่ใหญ่ที่สุด หันสู่มหาสมุทรแปซิฟิค
ทางทิศเหนือ เป็นแหล่งน้ำแร่ธรรมชาติในหุบผานะรุโคะที่มีพื้นที่ ติดต่อกับจังหวัดยามางะตะ (Yamagata Prefecture)
ทางตะวันออก เป็นคาบสมุทรโอชิคะ ต่อกับอุทยานแห่งชาติชายทะเล (Rikuchuukaigan National Park)
ทางทิศตะวันตก เป็นแหล่งน้ำแร่ธรรมชาติอะคิอุใกล้ภูเขาไฟซะโอะที่คั่นเขตแดนกับจังหวัดยามางะตะ
ทางใต้ เป็นแหล่งน้ำแร่ธรรมชาติที่มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดฟุคุชิมะ (Fukushima Prefecture)
ตั้งอยู่บนเกาะฮนชู มีเซ็นไดเป็นเมืองหลวงเป็นเมืองแห่งปราสาท และหนึ่งในนั้นเป็นปราสาทที่ไดเมียวดาเตะ มาซามุเนะ เจ้าผู้ครองแคว้นโบราณเคยสร้างเอาไว้ เด่นในด้านเกษตรกรรมและการประมง และเป็นแหล่งจุดชมวิวที่สวยงามของญี่ปุ่นที่อ่าวมัตสึชิมะ
ชายทะเลมัตสึชิมะ (Matsushima) อยู่ริมอ่าวมัตสึชิมะ ทางตะวันออกเฉียงของเมืองเซนได ถูกจัดเป็นที่ชมทิวทัศน์ของเกาะแก่งใหญ่น้อยในทะเลที่งดงามเป็น 1 ใน 3 ของญี่ปุ่น ยังมีทิวทัศน์สวยโดดเด่นลือชื่อ 4 วิว คือ มัตสึชิมะชิไดคัน (Matsushima Shidaikan) ได้แก่ หุบเขาโองิ (Ogidani) ทะมนซัน (Tamonzan) โทมิยะมะ (Tomiyama) และ โอทะคะโมริ (Otakamori) นอกจากนั้นบริเวณใกล้เคียงยังสามารถเดินต่อไปชมโบราณสถานที่เป็น หอโกไดโด(Godaido Hall) เป็นสัญลักษณ์ที่มีชื่อของมัตสึชิมะ ได้รับการสร้างต่อเติมอย่างสมบูรณ์ โดยคำสั่งของเจ้าเมือง ดะเทะ มะซะมุเนะ(Date Masamune) ภายในมีรูปปั้นโกไดเมียวซึ่งถูกนำมาประดิษฐานโดย หลวงจีน Jikaku Daishi มีการอัญเชิญออกแห่ทุกๆ 33 ปี
ปราสาทวะคุยะ (Wakuya Castle) เมื่อปี ค.ศ.1591 เคยเป็นศูนย์การปกครองของเมืองเซนไดมีผู้บัญชาการทหารชื่อ Katari Shigemune ได้สืบทอดเป็นเวลา 277 ปี ต่อมาปี ค.ศ.1689 ถูกเผาไหม้เหลือเพียงกำแพงหิน และป้อมปืน เมื่ออำนาจทางการเมืองเปลี่ยนจากยุคเอโดะเป็นรัฐบาลเมจิ กลางศตวรรษที่ 19 ปราสาทนี้จึงกลายเป็นเพียงสัญลักษณ์แห่งศูนย์อำนาจทางการเมืองในยุคซามูไร ปัจจุบันได้รับการบูรณะสร้างขึ้นใหม่เป็นอาคาร 3 ชั้นด้านหน้าปราสาทให้เป็นห้องแสดงโบราณวัตถุสิ่งของเพื่อการศึกษาหาความรู้ทางประวัติศาสตร์
นั่นคือสถานที่ท่องเที่ยวที่งดงามของจังหวัดมิยางิ
แต่เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ ขนาด 8.9 และคลื่นสึนามิขนาดใหญ่เข้าถล่มจังหวัดมิยะงิ สร้างความเสียหายใหญ่หลวงแก่พื้นที่ บ้านเรือนประชาชน รถยนต์และรถบรรทุกเป็นจำนวนมาก และมีคนจำนวนมากเสียชีวิตจากคลื่นสึนามิด้วย โดยคลื่นสึนามิดังกล่าวประมาณว่ามีความสูงอย่างน้อย 10 เมตร และพัดเข้าถล่มญี่ปุ่นกินพื้นที่ถึง 10 กิโลเมตร
โดยเฉพาะเมืองวาตาริ จังหวัดมิยางิ เกิดความเสียหายอย่างมากเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ในตอนนั้นประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมืองวาโคชิ จังหวัดไซตามะได้ส่งอย่างเช่นหนังสือให้กับโรงเรียนประถมของเมืองวาตาริ และความช่วยเหลือต่างๆ
ดังนั้น ในวันที่ 15 พ.ย. ที่ผ่านมา ได้มีการจัดงานอีเว้นท์ที่เมืองวาโคชิ จังหวัดไซตามะ ประชาชนในเมืองวาตาริก็ได้นำอาหารพื้นเมืองที่มีชื่อว่า “Harako-meshi” ร่วมงานด้วยเพื่อแสดงความขอบคุณที่รู้สึกซาบซึ้งมาจนถึงทุกวันนี้
“Harako-meshi” คืออาหารที่จัดวางเนื้อปลาแซลมอนและไข่ปลาแซลมอนที่ต้มด้วยโชยุและน้ำตาลไว้ด้านบนข้าวสวย ซึ่งเป็นอาหารที่คนในเมืองวาตาริจะกินกันบ่อยๆ มาตั้งแต่เมื่อสมัยก่อน
ตามปกติแล้ว Harako-meshi จะตกอยู่ที่ราคากล่องละ 1,000 เยนเลยทีเดียว แต่สำหรับงานนี้ เขาขายอยู่ที่ราคา 500 เยน ซึ่งถูกมากๆ ขนาดที่ว่าจัดเตรียมไว้ถึงจำนวน 300 กล่องก็ตาม แต่ก็ขายหมดเกลี้ยงภายในเวลาแค่ 1ชั่วโมง
คุณคาโต้ อากิระ วัย 60 ปีแห่งเมืองวาตาริได้กล่าวว่า “รู้สึกขอบคุณมากๆ ในการช่วยเหลือพวกเราในครั้งนั้น และเมื่อได้รับประทานอาหารที่มีชื่อว่า “Harako-meshi” และรู้จักเมืองของพวกเราแล้ว ก็อยากที่จะให้แวะมาเที่ยวกันด้วยนะครับ”
คุณลุงคาโต้ฝากคำทิ้งทายไว้น่ารักมากเลยนะคะ ถ้าใครมีโอกาสไปแถวจังหวัดมิยางิก็ลองแวะไปเที่ยด้วยนะคะ
Posted by mod at
13:20
│Comments(0)