› 日本が好き › 2015年11月09日
2015年11月09日
男性と男性や女性と女性でも「結婚と同じ関係」 เทศบาลโตเกียวเปิดทางให้คู่รักเพศเดียวกันจดทะเบียนกันได้
เมื่อวันที่ 5 พ.ย.ที่ผ่านมา เขตชิบูย่าได้เปิดทางให้คู่รักเพศเดียวกันมา”จดทะเบียนคู่ชีวิต” ได้ ซึ่งมีสถานะเท่ากับการแต่งงานให้กับคู่รักเพศเดียวกัน โดยทะเบียนคู่ชีวิตนั้นอยู่ภายใต้กฏหมายของเขตชิบูย่าว่าด้วยการความเท่าเทียมทางเพศ ความเคารพในความหลากหลายและความก้าวหน้าของสังคม โดยกฏหมายสนับสนุนกลุ่ม LGBT (Lesbian Gay Bisexual Transgender) นี้ผ่านการอนุมัติจากเขตปกครองท้องถิ่นครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งถึงแม้จะไม่ใช่การ “จดทะเบียนสมรส” ตามกฎหมายของญี่ปุ่น แต่นับเป็นครั้งแรกที่รัฐบาลญี่ปุ่นให้การรับรองทางกฎหมายแก่กลุ่มคนรักเพศเดียวกันนับเป็นครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นที่กฎหมายรองรับความสัมผัสระหว่างคู่รักที่ไม่ใช่ชายกับหญิง
พอสำนักงานเขตเปิดทำการปุ๊บก็มีหญิงสาว 2 คนเดินทางเข้ามาทันที คุณมาซูฮาระ ยูโกะ (37ปี) และ คุณฮิกาชิ โคยูกิ (30ปี) ได้เดินทางมารับทะเบียนคู่ชีวิตในเวลาที่เขตเปิดทำการ ซึ่งทั้งคู่ก็เป็นคู่แรกที่มาลงทะเบียนในตอนเช้าวันที่ 28 ต.ค. โดยการใบทะเบียนคู่ชีวิตนั้นจะรับที่แผนกจดทะเบียนครอบครัว ซึ่งเป็นแผนกที่ใช้ดำเนินการจดทะเบียนสมรสทั่วไป
“ฉันอยากจะเอาไปแขวนไว้ในบ้านค่ะ เพราะสิ่งนี้เป็นพื้นฐานของชีวิตคู่ของเรา” คุณมาซูฮาระกล่าว
สิ่งที่เทศบาลเขตชิบุยะริเริ่มขึ้น คือ การออก “ใบรับรองความสัมพันธ์” ซึ่งจะทำให้คู่รักเพศเดียวกันมีสถานะเป็นบุคคลในครอบครัว จึงสามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ร่วมกัน,ทำธุรกรรมการเงิน รวมทั้งสามารถไปเยี่ยมและตัดสินใจเรื่องการรักษาพยาบาลของคู่รักได้
การจดทะเบียนคู่ชีวิตนั้นเปิดให้เริ่มสมัครลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยมีเงื่อนไขว่า
1.ต้องเป็นผู้มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตชิบูย่าทั้งคู่
2.มีอายุมากกว่า 20 ปี
3.ไม่เป็นญาติสนิทหรือครอบครัวเดียวกัน
นายกเทศมนตรีเขตชิบุยะ นายโทชิทาเกะ คุวาฮารา ประกาศว่า ความเปลี่ยนแปลงที่เขตชิบุยะแสดงถึงการยอมรับสิทธิในความหลากหลายทางเพศ และหวังว่าการยอมรับครั้งนี้จะแพร่ขยายไปทั่วประเทศ เพื่อแสดงถึงความก้าวหน้าของญี่ปุ่นก่อนที่จะเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกในปี 2020 โดยขณะนี้รัฐบาลท้องถิ่นหลายแห่งกำลังศึกษาช่องทางกฎหมายที่จะรองรับสิทธิ์ของกลุ่มคู่รักเพศเดียวกัน
คุณฮิกาชิกล่าวเกี่ยวกับปัญหาของกลุ่มคนรักเพศเดียวกันในญี่ปุ่นว่า “เริ่มต้น ฉันอยากให้ทุกคนในประเทศญี่ปุ่นได้รับรู้ถึงการมีอยู่ของคนกลุ่ม LGBTและปัญหาที่พวกเราประสบ” นอกจากนั้นเธอยังฝากข้อความถึงชาว LGBT ด้วยกันเพื่อสนับสนุนการจดทะเบียนว่า “หลังจากการจดทะเบียนฉันรู้สึกดีมากค่ะ ความรู้สึกเมื่อได้ใบทะเบียนมาในมือ อยากให้ทุกคนได้รู้สึกบ้าง”
“การได้รับการรับรองจากเขตว่าเราเป็นครอบครัวเดียวกันนั้นเป็นก้าวที่ใหญ่มาก แต่ก็ยังคงมีปัญหาเรื่องมรดกในอนาคตข้างหน้าอยู่ ถ้าหากชาวญี่ปุ่นทุกคนช่วยกันผลักดันเรื่องนี้ก็คงเป็นเรื่องที่ดีมากเลยค่ะ” คุณมาซูฮาระกล่าวด้วยความหวัง
“หลังจากนี้ ก็หวังว่าใบทะเบียนคู่ชีวิตนี้ก็จะสามารถใช้ที่โรงพยาบาลหรือใช้ในการเซ็นสัญญาเช่าต่างๆได้ แม้จะมีหรือไม่มีใบนี้ก็อยากให้เขตนี้เป็นเมืองที่น่าอยู่และใช้ชีวิตได้ง่าย” คุณมาซูฮาระกล่าว “ฉันอยากให้มีการให้ความรู้กับวัยรุ่นที่กำลังสับสนในเรื่องเพศมากกว่านี้ด้วยค่ะ” คุณฮิกาชิเสริม
ในขณะนี้ ผู้ที่มาจดทะเบียนคู่ชีวิตที่เขตชิบูย่ายังมีเพียงแค่คู่ของคุณมาซูอาระและคุณฮิกาชิเท่านั้น
ผลการสำรวจพบว่า ประชากรชาวญี่ปุ่นราว 5% จัดอยู่ในกลุ่มเกย์ เลสเบี้ยน และคู่รักเพศเดียวกัน ซึ่งการไม่มีสถานะทางกฎหมายรองรับทำให้คนกลุ่มนี้พบกับความยากลำบากในการใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้มีเพียง 15 ประเทศทั่วโลกที่รับรองการจดทะเบียนสมรสระหว่างคู่รักเพศเดียวกัน เช่น เนเธอร์แลนด์, เบลเยี่ยม และแคนาดา ขณะที่ในสหรัฐอเมริกามีเพียงบางมลรัฐที่ให้การรับรอง.
ขอบคุณข้อมูลจาก NHK
photo credit: http://www.sankei.com/life/photos/151028/lif1510280018-p1.html
Posted by mod at
19:34
│Comments(0)
2015年11月09日
"横断歩道" (おうだん ほどう) ทางม้าลาย
วันนี้อยากจะขอพูดเรื่องทางม้าลายสักหน่อยค่ะ ด้วยความคับแค้นใจเป็นการส่วนตัว ทางม้าลายสำหรับประเทศไทยนั้นไม่มีความหมายอะไรเลย เพราะคนไม่ข้าม รถก็ไม่หยุดให้คนข้าม บางคันบีบแตรไล่คนข้าม บางคันเร่งรถขับให้พ้นก่อนคนจะข้าม
แต่ก่อนเข้าเรื่องทางม้าลาย มารู้คำศัพท์ทางม้าลายภาษาญี่ปุ่นกันก่อนดีกว่า ทางม้าลายภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า "横断歩道" (おうだん ほどう)
ปฎิเสธไม่ได้ว่า คนไทยอยู่ในสังคมที่เสียงภัยเหลือเกินกับการเป็น “คนเดินถนน” โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ เมืองหลวงที่ทำให้ทางม้าลายกลายเป็นแค่รอยสีที่ทาเป็นช่องสี่เหลี่ยมสีขาวเพียงเท่านั้น ความศักสิทธิ์ของทางคนข้ามแทบจะหาไม่ได้ในบ้านเมืองนี้
แถมทางม้าลายดูเหมือนจะสร้างความรู้สึกน่ารำคาญให้แก่คนใช้รถเสียอีก ผิดกับหลายๆ ประเทศอย่างญี่ปุ่น เมืองใหญ่เช่น โตเกียว โอซาก้า มักจะชะลอความเร็วในทุกทางม้าลาย คนญี่ปุ่นข้ามทางม้าลายและรถหยุดให้คนข้ามอย่างเคร่งครัด พอเริ่มไฟเหลืองรถจะชะลอแต่ไกล ไม่เคยเห็นรถคันไหนเร่งความเร็วให้พ้นทางม้าลาย คนที่รอข้ามมากมายจะกระฉับกระเฉงข้ามถนนเมื่อไฟเขียวให้คนข้าม เคยไปเจอไฟเขียวกลางถนนก็ไม่มีรถแม้แต่คันเดียวแสดงความเกรี้ยวกราดบีบแตรขับไล่ให้คนใกล้แก่ขวัญกระเจิง ไม่แม้จะขยับรถ รอจนคนเดินไปถึงบาทวิถีจึงเคลื่อนรถ...แค่เห็นเรายืนรอข้ามอยู่ริมทางเขาก็ชะลอมาแต่ไกลแล้วค่ะ ใหม่ๆ เราไม่กล้าข้าม ถ้ารถยังไม่จอด กลัวเอาชีวิตไปทิ้งที่ญี่ปุ่น หลังๆ นี่เรารู้ว่าคนญี่ปุ่นมีวินัยมากในการใช้รถใช้ถนน เราจึงสบายใจในการเดินถนนมากขึ้น
แม้ถนนที่ไม่มีทางม้าลาย พอเรายืนรอจะข้ามถนน รถก็หยุดให้ข้ามแต่ไกลค่ะ.ซึ่งมันสะท้อนให้เห็นจิตสำนึกของคน และชวนให้ย้อนกลับมามองดูสำนึกของผู้ใช้รถในประเทศไทยกันบ้าง ปัญหามันอยู่ที่จิตสำนึกของคนขับที่ไม่ได้ตั้งใจจะหยุดรถตั้งแต่แรก ขนาดบางคนระวังอย่างถ้วนถี่แล้วก็ยังเสี่ยงอันตรายอยู่ดี
แถมทางข้ามของญี่ปุ่นก็ยังมีความน่ารักอีกก็คือว่าจะมี สัญญาณไฟจราจรแบบมีเสียง 音響装置付信号機 (おんきょう そうち つき しんごうき)
โดยจะมีเสียงร้องว่า "พิโยะ พิโยะ คักคู คักคู" ซึ่งเสียงนี้ไม่ได้มีไว้ให้ฟังเพราะๆ เท่านั้น แต่มันมีความหมายนะคะ
เวลาข้ามถนนตามสี่แยกบางที่จะได้ยินเสียงบอกสัญญาณคนข้าม รู้หรือไม่ว่านอกจากบอกว่าไฟคนข้ามเขียวแล้ว เสียงนั้นยังบอกรายละเอียดด้วยว่าเป็นของทางข้ามทิศไหน โดย พิโยะพิโยะ เป็นเสียงบอกสัญญาณคนข้ามทิศเหนือใต้ และ คักคู (ภาษาญี่ปุ่นเรียกคักโค) เป็นเสียงบอกสัญญาณคนข้ามทิศตะวันออกตะวันตก*
นอกจากนี้ ถนนที่มีผู้พิการทางสายตาใช้มาก อาจมีการติดตั้งพื้นผิวต่างสัมผัสนำทางบนทางข้าม (escort zone) เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาข้ามไปอีกฝั่งได้สะดวกขึ้น
*ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละท้องถิ่น
พิโยะ เป็นเสียงลูกเจี๊ยบ และคักคู (ภาษาญี่ปุ่นเรียกคักโค) เป็นเสียงนกคักคู
ขอบคุณข้อมูลจาก https://japan1616.wordpress.com/tag/ทางข้าม/
แต่ก่อนเข้าเรื่องทางม้าลาย มารู้คำศัพท์ทางม้าลายภาษาญี่ปุ่นกันก่อนดีกว่า ทางม้าลายภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า "横断歩道" (おうだん ほどう)
ปฎิเสธไม่ได้ว่า คนไทยอยู่ในสังคมที่เสียงภัยเหลือเกินกับการเป็น “คนเดินถนน” โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ เมืองหลวงที่ทำให้ทางม้าลายกลายเป็นแค่รอยสีที่ทาเป็นช่องสี่เหลี่ยมสีขาวเพียงเท่านั้น ความศักสิทธิ์ของทางคนข้ามแทบจะหาไม่ได้ในบ้านเมืองนี้
แถมทางม้าลายดูเหมือนจะสร้างความรู้สึกน่ารำคาญให้แก่คนใช้รถเสียอีก ผิดกับหลายๆ ประเทศอย่างญี่ปุ่น เมืองใหญ่เช่น โตเกียว โอซาก้า มักจะชะลอความเร็วในทุกทางม้าลาย คนญี่ปุ่นข้ามทางม้าลายและรถหยุดให้คนข้ามอย่างเคร่งครัด พอเริ่มไฟเหลืองรถจะชะลอแต่ไกล ไม่เคยเห็นรถคันไหนเร่งความเร็วให้พ้นทางม้าลาย คนที่รอข้ามมากมายจะกระฉับกระเฉงข้ามถนนเมื่อไฟเขียวให้คนข้าม เคยไปเจอไฟเขียวกลางถนนก็ไม่มีรถแม้แต่คันเดียวแสดงความเกรี้ยวกราดบีบแตรขับไล่ให้คนใกล้แก่ขวัญกระเจิง ไม่แม้จะขยับรถ รอจนคนเดินไปถึงบาทวิถีจึงเคลื่อนรถ...แค่เห็นเรายืนรอข้ามอยู่ริมทางเขาก็ชะลอมาแต่ไกลแล้วค่ะ ใหม่ๆ เราไม่กล้าข้าม ถ้ารถยังไม่จอด กลัวเอาชีวิตไปทิ้งที่ญี่ปุ่น หลังๆ นี่เรารู้ว่าคนญี่ปุ่นมีวินัยมากในการใช้รถใช้ถนน เราจึงสบายใจในการเดินถนนมากขึ้น
แม้ถนนที่ไม่มีทางม้าลาย พอเรายืนรอจะข้ามถนน รถก็หยุดให้ข้ามแต่ไกลค่ะ.ซึ่งมันสะท้อนให้เห็นจิตสำนึกของคน และชวนให้ย้อนกลับมามองดูสำนึกของผู้ใช้รถในประเทศไทยกันบ้าง ปัญหามันอยู่ที่จิตสำนึกของคนขับที่ไม่ได้ตั้งใจจะหยุดรถตั้งแต่แรก ขนาดบางคนระวังอย่างถ้วนถี่แล้วก็ยังเสี่ยงอันตรายอยู่ดี
แถมทางข้ามของญี่ปุ่นก็ยังมีความน่ารักอีกก็คือว่าจะมี สัญญาณไฟจราจรแบบมีเสียง 音響装置付信号機 (おんきょう そうち つき しんごうき)
โดยจะมีเสียงร้องว่า "พิโยะ พิโยะ คักคู คักคู" ซึ่งเสียงนี้ไม่ได้มีไว้ให้ฟังเพราะๆ เท่านั้น แต่มันมีความหมายนะคะ
เวลาข้ามถนนตามสี่แยกบางที่จะได้ยินเสียงบอกสัญญาณคนข้าม รู้หรือไม่ว่านอกจากบอกว่าไฟคนข้ามเขียวแล้ว เสียงนั้นยังบอกรายละเอียดด้วยว่าเป็นของทางข้ามทิศไหน โดย พิโยะพิโยะ เป็นเสียงบอกสัญญาณคนข้ามทิศเหนือใต้ และ คักคู (ภาษาญี่ปุ่นเรียกคักโค) เป็นเสียงบอกสัญญาณคนข้ามทิศตะวันออกตะวันตก*
นอกจากนี้ ถนนที่มีผู้พิการทางสายตาใช้มาก อาจมีการติดตั้งพื้นผิวต่างสัมผัสนำทางบนทางข้าม (escort zone) เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาข้ามไปอีกฝั่งได้สะดวกขึ้น
*ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละท้องถิ่น
พิโยะ เป็นเสียงลูกเจี๊ยบ และคักคู (ภาษาญี่ปุ่นเรียกคักโค) เป็นเสียงนกคักคู
ขอบคุณข้อมูลจาก https://japan1616.wordpress.com/tag/ทางข้าม/
Posted by mod at
14:22
│Comments(0)