› 日本が好き › 2016年06月
2016年06月29日
เกมต่อคำ しりとり
เมื่อเดือน พ.ค.ปีที่แล้ว มีโอกาสได้ไปดูการเรียนการสอนของโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นที่ชิซึโอกะ แล้วก็ได้ไปอยู่โฮมสเตย์กับครอบครัว Koyuki ซัง ครอบครัวเขาน่ารักมากเลยคะ คล้ายๆ กับครอบครัวคนไทยสมัยก่อนที่เป็นครอบครัวใหญ่ พวกเขาจะไปมาหาสู่กันแทบทุกวัน ครอบครัวของเขามีหลานสาวอยู่ 2 คนน่ารักมากเลยค่ะ หลานสาวเขาตื่นเต้นกับคนต่างชาติมากค่ะ คนต่างชาติหรือต่างด้าวก็ไม่รู้นะ (555) เด็กๆ ญี่ปุ่นเขาจะมีเกมเล่นกัน คือเกมต่อคำ ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 「しりとり」ชิริโทริ คำว่า “Shiri” คือก้นหรือคำลงท้ายนั่นเอง ส่วนคำว่า “Tori” แปลว่า หยิบ เมื่อนำมารวมกันจึงกลายเป็นการหยิบคำที่อยู่ท้ายคำมาเป็นคำขึ้นต้นของคำใหม่นั่นเอง
วิธีการเล่นคือ คนแรกพูดคำมาหนึ่งคำ แล้วคนถัดไปต้องพูดคำที่ขึ้นต้นด้วยอักษรสุดท้ายของคำก่อนหน้า เช่น 「うま」-> 「まど」 -> 「どようび」ใครที่คิดคำมาต่อไม่ออกก็แพ้ไป แล้วก็ห้ามเผลอพูดคำที่ลงท้ายด้วย 「ん」นะคะ เพราะไม่มีคำไหนที่ขึ้นต้นด้วย 「ん」ดังนั้นใครที่เผลอพูดก็จะแพ้ไปโดยปริยาย
หรือ ตัวอย่างเช่น sakura (さくら) → rajio (ラジオ) → onigiri (おにぎり) → risu (りす) → sumou (すもう) → udon (うどん)
ดังนั้น คนที่พูดคำว่า “Udon” ออกมาก็จะแพ้ไป
แล้วลองคิดดูสิคะว่า เมื่อเด็กญี่ปุ่นท้าคนต่างด้าว เอ๊ย คนต่างชาติอย่างฉันเล่น จะเหลือเหรอคะ แพ้สิคะ
ถึงแม้ว่าเกม SHIRITORI จะเป็นเกมของเด็กๆ แต่ก็ดีต่อการฝึกภาษาญี่ปุ่นสำหรับชาวต่างชาติที่เริ่มเรียนภาษาด้วย งั้นเรามาลองเล่นกันมัยคะ
งั้น ฉันเริ่มต้นด้วยคำว่า “あり” –Ari ซึ่งแปลว่า “มด” นะคะ ต่อไปตาเพื่อนๆ แล้ว เอาคำอะไรดีคะ “り---” –ri….
วิธีการเล่นคือ คนแรกพูดคำมาหนึ่งคำ แล้วคนถัดไปต้องพูดคำที่ขึ้นต้นด้วยอักษรสุดท้ายของคำก่อนหน้า เช่น 「うま」-> 「まど」 -> 「どようび」ใครที่คิดคำมาต่อไม่ออกก็แพ้ไป แล้วก็ห้ามเผลอพูดคำที่ลงท้ายด้วย 「ん」นะคะ เพราะไม่มีคำไหนที่ขึ้นต้นด้วย 「ん」ดังนั้นใครที่เผลอพูดก็จะแพ้ไปโดยปริยาย
หรือ ตัวอย่างเช่น sakura (さくら) → rajio (ラジオ) → onigiri (おにぎり) → risu (りす) → sumou (すもう) → udon (うどん)
ดังนั้น คนที่พูดคำว่า “Udon” ออกมาก็จะแพ้ไป
แล้วลองคิดดูสิคะว่า เมื่อเด็กญี่ปุ่นท้าคนต่างด้าว เอ๊ย คนต่างชาติอย่างฉันเล่น จะเหลือเหรอคะ แพ้สิคะ
ถึงแม้ว่าเกม SHIRITORI จะเป็นเกมของเด็กๆ แต่ก็ดีต่อการฝึกภาษาญี่ปุ่นสำหรับชาวต่างชาติที่เริ่มเรียนภาษาด้วย งั้นเรามาลองเล่นกันมัยคะ
งั้น ฉันเริ่มต้นด้วยคำว่า “あり” –Ari ซึ่งแปลว่า “มด” นะคะ ต่อไปตาเพื่อนๆ แล้ว เอาคำอะไรดีคะ “り---” –ri….
Posted by mod at
23:36
│Comments(0)
2016年06月23日
[つるつる」กับ 「すべすべ」
[つるつる」กับ 「すべすべ」ต่างกันอย่างไรน้า
เราจะเห็น 2 คำนี้อยู่บนแพคเกจของพวกเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลผิวกันเสียส่วนใหญ่
つるつる (tsurutsuru)
すべすべ (subesube)
ทั้งสองคำนั้น ให้ความรู้สึกที่เรียบเนียน นุ่มลื่น คล้ายๆ กัน ถ้าใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ผิวของเราก็จะนุ่มเนียน
แต่ว่า [つるつる」จะให้ความรู้สึกของพื้นผิวที่เรียบเนียน เรียบลื่นสัมผัสไม่สะดุด และเปล่งประกาย หรือใช้กับพวกพื้นผิวที่แข็งของโลหะ แล้วก็ให้สภาพที่ลื่นมากๆ
ส่วน「すべすべ」จะให้ความรู้สึกของพื้นผิวที่อ่อนนุ่ม แต่ไม่จำเป็นต้องเปล่งประกาย เช่นผิวของคน
肌がすべすべ คือผิวที่เนียนนุ่ม
ดังนั้น เราจึงไม่ใช่คำว่า すべすべ กับตัวอย่างเหล่านี้ เช่น
頭がつるつる คือศีรษะที่เรียบลื่น ไม่มีผม เป็นมันวาว
うどんがつるつる คือเส้นอุด้งที่ลื่น สูดกินได้อย่างคล่องคอ
เราจะเห็น 2 คำนี้อยู่บนแพคเกจของพวกเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลผิวกันเสียส่วนใหญ่
つるつる (tsurutsuru)
すべすべ (subesube)
ทั้งสองคำนั้น ให้ความรู้สึกที่เรียบเนียน นุ่มลื่น คล้ายๆ กัน ถ้าใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ผิวของเราก็จะนุ่มเนียน
แต่ว่า [つるつる」จะให้ความรู้สึกของพื้นผิวที่เรียบเนียน เรียบลื่นสัมผัสไม่สะดุด และเปล่งประกาย หรือใช้กับพวกพื้นผิวที่แข็งของโลหะ แล้วก็ให้สภาพที่ลื่นมากๆ
ส่วน「すべすべ」จะให้ความรู้สึกของพื้นผิวที่อ่อนนุ่ม แต่ไม่จำเป็นต้องเปล่งประกาย เช่นผิวของคน
肌がすべすべ คือผิวที่เนียนนุ่ม
ดังนั้น เราจึงไม่ใช่คำว่า すべすべ กับตัวอย่างเหล่านี้ เช่น
頭がつるつる คือศีรษะที่เรียบลื่น ไม่มีผม เป็นมันวาว
うどんがつるつる คือเส้นอุด้งที่ลื่น สูดกินได้อย่างคล่องคอ
Posted by mod at
16:07
│Comments(0)
2016年06月21日
เพลิดเพลินไปกับ Hakone Tozan Railway
เมื่อวานนี้ อยู่ๆ ก็นึกอยากนั่งรถไฟชมทิวทัศน์ขึ้นมา ทำให้นึกไปถึงตอนเด็กๆ ที่นั่งรถไฟไปเที่ยวกาญจนบุรีชมเส้นทางรถไฟสายมรณะขึ้นมาเลย แต่ตอนนี้หาโอกาสที่จะไปเที่ยวแบบนี้ได้น้อยมาก
ถ้าเป็นที่ญี่ปุ่นก็ทำให้นึกไปถึงรถไฟฮาโกเน่โทซัง (Hakone Tozan Railway- 箱根登山鉄道) ซึ่งเป็นรถไฟเส้นทางภูเขาที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น โดยรถไฟขบวนเล็กนี้จะเดินทางผ่านหุบเขาแคบ ป่าที่หนาแน่น สะพาน และอุโมงค์ ไปหยุดที่สถานีเล็กๆ บริการรถไฟจะออกทุกๆ 10-20 นาที รถไฟขบวนนี้จะวิ่งระหว่างสถานี Hakone-Yumoto ถึงสถานี Gora ซึ่งในระระยทาง 9 กิโลเมตรนี้ เราจะได้ชมทิวทัศน์สองข้างทางสวยงามมาก โดยเฉพาะเดือนมิถุนายน และเดือนกรกฎาคม ซึ่งดอกอะจิไซสีฟ้ากว่า 1 หมื่นต้นจะบานสะพรั่ง แล้วก็เรืองแสงในช่วงเย็น โดยจะมีรถไฟขบวนพิเศษจากทั้ง 2 สถานี 2 รอบเย็นในช่วงกลางเดือนมิถุนายน-กลางเดือนกรกฎาคม เพื่อชมดอกอะจิไซเรืองแสง (ต้องจองตั๋วกันล่วงหน้าด้วยนะคะ)
โดยช่วงที่มีการจัด Light Up ได้เริ่มต้นขึ้นแล้วเมื่อวันที่ 18 มิ.ย.ที่ผ่านมา ทำให้เราสามารถชมดอกอะจิไซที่สวยงามเปล่งประกายวิบวับยามต้องแสงสว่างในยามค่ำคืนได้อีกด้วย
จากคำบอกเล่าของบริษัทเดินรถไฟฮาโกเน่โทซังว่า แต่เมื่อปีที่แล้ว มีคนไปชมงานแสดง light up น้อยลง เนื่องจากมีอย่างเช่นฝุ่นควันเล็กๆ จากการระเบิดของภูเขาไฟที่ภูเขาฮาโกเน่ ดังนั้น หัวหน้านายสถานีของรถไฟฮาโกเน่โทซังได้กล่าวเชิญชวนมาว่า “ปีนี้จะต้องมาเที่ยวฮาโกเน่ให้ได้นะครับ มาเพลิดเพลินกับดอกอะจิไซผ่านทางหน้าต่างของรถไฟกันนะครับ”
โดยเราสามารถไปชม light up ของดอกอาจิไซได้จนถึงวันที่ 10 ก.ค. ตั้งแต่เวลา 6 โมงครึ่งถึง 4 ทุ่มเลยทีเดียวนะคะ
นอกจากการชมดอกอะจิไซที่สวยงามแล้ว จากชื่อของขบวนรถไฟสายนี้ซึ่งมีชื่อว่า “รถไฟฮาโกเน่โทซัง- 箱根登山鉄道” คำว่า “登山โทซัง” นั้นมีความหมายว่า การปีนภูเขา ดังนั้นรถไฟโทซังจึงเป็นรถไฟที่สามารถขึ้นเขาลาดชัน เข้าโค้ง และทางที่ลาดเอียงได้ เรายังสามารถไปยืนบริเวณต้นหรือท้ายขบวนเพื่อชมการไต่ภูเขาไปตามความลาดชัดได้อย่างสนุกสนานด้วยนะ
ถ้าเป็นที่ญี่ปุ่นก็ทำให้นึกไปถึงรถไฟฮาโกเน่โทซัง (Hakone Tozan Railway- 箱根登山鉄道) ซึ่งเป็นรถไฟเส้นทางภูเขาที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น โดยรถไฟขบวนเล็กนี้จะเดินทางผ่านหุบเขาแคบ ป่าที่หนาแน่น สะพาน และอุโมงค์ ไปหยุดที่สถานีเล็กๆ บริการรถไฟจะออกทุกๆ 10-20 นาที รถไฟขบวนนี้จะวิ่งระหว่างสถานี Hakone-Yumoto ถึงสถานี Gora ซึ่งในระระยทาง 9 กิโลเมตรนี้ เราจะได้ชมทิวทัศน์สองข้างทางสวยงามมาก โดยเฉพาะเดือนมิถุนายน และเดือนกรกฎาคม ซึ่งดอกอะจิไซสีฟ้ากว่า 1 หมื่นต้นจะบานสะพรั่ง แล้วก็เรืองแสงในช่วงเย็น โดยจะมีรถไฟขบวนพิเศษจากทั้ง 2 สถานี 2 รอบเย็นในช่วงกลางเดือนมิถุนายน-กลางเดือนกรกฎาคม เพื่อชมดอกอะจิไซเรืองแสง (ต้องจองตั๋วกันล่วงหน้าด้วยนะคะ)
โดยช่วงที่มีการจัด Light Up ได้เริ่มต้นขึ้นแล้วเมื่อวันที่ 18 มิ.ย.ที่ผ่านมา ทำให้เราสามารถชมดอกอะจิไซที่สวยงามเปล่งประกายวิบวับยามต้องแสงสว่างในยามค่ำคืนได้อีกด้วย
จากคำบอกเล่าของบริษัทเดินรถไฟฮาโกเน่โทซังว่า แต่เมื่อปีที่แล้ว มีคนไปชมงานแสดง light up น้อยลง เนื่องจากมีอย่างเช่นฝุ่นควันเล็กๆ จากการระเบิดของภูเขาไฟที่ภูเขาฮาโกเน่ ดังนั้น หัวหน้านายสถานีของรถไฟฮาโกเน่โทซังได้กล่าวเชิญชวนมาว่า “ปีนี้จะต้องมาเที่ยวฮาโกเน่ให้ได้นะครับ มาเพลิดเพลินกับดอกอะจิไซผ่านทางหน้าต่างของรถไฟกันนะครับ”
โดยเราสามารถไปชม light up ของดอกอาจิไซได้จนถึงวันที่ 10 ก.ค. ตั้งแต่เวลา 6 โมงครึ่งถึง 4 ทุ่มเลยทีเดียวนะคะ
นอกจากการชมดอกอะจิไซที่สวยงามแล้ว จากชื่อของขบวนรถไฟสายนี้ซึ่งมีชื่อว่า “รถไฟฮาโกเน่โทซัง- 箱根登山鉄道” คำว่า “登山โทซัง” นั้นมีความหมายว่า การปีนภูเขา ดังนั้นรถไฟโทซังจึงเป็นรถไฟที่สามารถขึ้นเขาลาดชัน เข้าโค้ง และทางที่ลาดเอียงได้ เรายังสามารถไปยืนบริเวณต้นหรือท้ายขบวนเพื่อชมการไต่ภูเขาไปตามความลาดชัดได้อย่างสนุกสนานด้วยนะ
Posted by mod at
13:21
│Comments(0)
2016年06月16日
押し競饅頭 Oshikura Manju
Oshikura Manju (押し競饅頭) เป็นเกมที่เล่นเพื่อสร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย ดังนั้นเกมนี้ควรมีผู้เล่นมากกว่า 4 คนขึ้นไป โดยให้แต่ละคนหันหลังชนกันแล้วเอาแขนทั้ง 2 ข้างเกี่ยวกับเพื่อนไว้ พอเริ่มเล่นก็จะใช้หลังและไหล่ออกแรงดันเข้าหาศูนย์กลางของวงกลม เพื่อไม่ให้ตัวเองหลุดออกจากวงกลมที่ขีดไว้ ด้วยการเคลื่อนไหวแบบนี้จึงทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น ดังนั้นเกมนี้จึงมักเล่นกันในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว แล้วก็ในการออกแรงดันนั้น ถ้าออกแรงดันให้เต็มที่โดยไม่ต้องคิดอะไร แล้วดันไปยังทิศทางต่างๆ ก็จะทำให้เกมสนุกยิ่งขึ้น
ในขณะที่เล่นเกมนั้นก็จะมีการร้องเพลงประกอบด้วย โดยมีเนื้อร้องว่า 「おしくらまんじゅう、押されて泣くな」 (Oshikura Manju, Osarete Nakuna) ซึ่งมีความหมายว่า “Ohikura Manju เมื่อโดนผลักแล้ว อย่าร้องไห้นะ” น่าจะคล้ายๆ กับการละเล่นของไทยที่เล่นไปด้วยร้องเพลงไปด้วย อย่างเช่นงูกินหาง รีรีข้าวสาร
แล้วคำว่า “Oshikura” จะมีความหมายว่า การแข่งขันผลักกัน ส่วนคำว่า “Manju” (饅頭: Manju) คือซาลาเปาญี่ปุ่น มีลักษณะเป็นขนมลูกเล็กๆ สอดไส้ถั่ว หรือเกาลัดกวน ห่อหุ้มด้วยแป้งบางๆ นั่นเอง คิดว่าคงคล้ายๆ กับซาลาเปาที่อัดเบียดกันอยู่ในรังถึงที่อุ่นๆ ล่ะมั้ง 555
ดูแล้วน่าสนุก ลองนำไปเล่นกันดูนะคะ
ในขณะที่เล่นเกมนั้นก็จะมีการร้องเพลงประกอบด้วย โดยมีเนื้อร้องว่า 「おしくらまんじゅう、押されて泣くな」 (Oshikura Manju, Osarete Nakuna) ซึ่งมีความหมายว่า “Ohikura Manju เมื่อโดนผลักแล้ว อย่าร้องไห้นะ” น่าจะคล้ายๆ กับการละเล่นของไทยที่เล่นไปด้วยร้องเพลงไปด้วย อย่างเช่นงูกินหาง รีรีข้าวสาร
แล้วคำว่า “Oshikura” จะมีความหมายว่า การแข่งขันผลักกัน ส่วนคำว่า “Manju” (饅頭: Manju) คือซาลาเปาญี่ปุ่น มีลักษณะเป็นขนมลูกเล็กๆ สอดไส้ถั่ว หรือเกาลัดกวน ห่อหุ้มด้วยแป้งบางๆ นั่นเอง คิดว่าคงคล้ายๆ กับซาลาเปาที่อัดเบียดกันอยู่ในรังถึงที่อุ่นๆ ล่ะมั้ง 555
ดูแล้วน่าสนุก ลองนำไปเล่นกันดูนะคะ
Posted by mod at
16:34
│Comments(0)
2016年06月14日
ชมดอกไฮเดรนเยียที่คามากุระ
เดือนมิถุนายนนั้นก็เข้าสู่ช่วงฤดูฝนที่ฝนจะตกตลอดเดือน เราจึงสามารถเห็นดอกโชบุ หรือไอริส อาจิไซ หรือไฮเดรนเยียที่สวยงามบานสะพรั่งได้
แล้ว 1 ที่ที่เราสามารถไปชมดอกอาจิไซกว่า 2500 ต้นและมากกว่า 40 สายพันธ์ได้ที่วัดฮาเซ ที่ตั้งอยู่ที่คามากุระ ในจังหวัดคานางาวะได้
สำหรับปีนี้ดอกอาจิไซได้เริ่มบานสะพรั่งมาตั้งแต่ครึ่งเดือนหลังของเดือนพ.ค.แล้ว
ถือว่าบานเร็วกว่าปีที่ผ่านมาประมาณ 1 สัปดาห์ ดังนั้นในตอนนี้ พวกเราจึงสามารถเพลินเพลินกับดอกอาจิไซจำนวนมากมายได้ทั้งสีน้ำเงิน สีชมพูและสีม่วงเลยทีเดียว
พวกคนที่มาเที่ยวที่วัดก็จะเดินเล่นชมดอกอาจิไซกันอย่างเพลิดเพลินเจริญใจ แล้วก็ถ่ายรูปเก็บไว้เป็นความทรงจำด้วย
ชายหนุ่มคนหนึ่งที่มากับครอบครัวจากจังหวัดโทยามะได้คุยให้ฟังว่า “พอฝนตกลงมา ทำให้เห็นสีของดอกอาจิไซดูเข้มขึ้น สวยงามมากๆ เลยครับ”
เราจะสามารถเพลิดเพลินกับดอกอาจิไซที่วัดฮาเซได้จนถึงปลายสัปดาห์นี้
แต่ว่าความสวยนั้นก็ยอมแฝงไว้ด้วยพิษสง อย่างเช่นดอกกุหลาบสวยก็มีหนามแหลมเป็นพิษสง แต่สำหรับดอกอะจิไซจะมีพิษอยู่ที่ใบ มันจะเป็นพิษของกรดไฮโดรไซยานิคคือเมื่อกินเข้าไปประมาณ 30 นาที หลังจานั้นจะมีอาการวิงเวียนศีรษะ อยากอาเจียน งั้นก็ไปชมแต่ดอกสวยๆ นะคะ อย่าเผลอกินใบเข้าไปล่ะ
แล้ว 1 ที่ที่เราสามารถไปชมดอกอาจิไซกว่า 2500 ต้นและมากกว่า 40 สายพันธ์ได้ที่วัดฮาเซ ที่ตั้งอยู่ที่คามากุระ ในจังหวัดคานางาวะได้
สำหรับปีนี้ดอกอาจิไซได้เริ่มบานสะพรั่งมาตั้งแต่ครึ่งเดือนหลังของเดือนพ.ค.แล้ว
ถือว่าบานเร็วกว่าปีที่ผ่านมาประมาณ 1 สัปดาห์ ดังนั้นในตอนนี้ พวกเราจึงสามารถเพลินเพลินกับดอกอาจิไซจำนวนมากมายได้ทั้งสีน้ำเงิน สีชมพูและสีม่วงเลยทีเดียว
พวกคนที่มาเที่ยวที่วัดก็จะเดินเล่นชมดอกอาจิไซกันอย่างเพลิดเพลินเจริญใจ แล้วก็ถ่ายรูปเก็บไว้เป็นความทรงจำด้วย
ชายหนุ่มคนหนึ่งที่มากับครอบครัวจากจังหวัดโทยามะได้คุยให้ฟังว่า “พอฝนตกลงมา ทำให้เห็นสีของดอกอาจิไซดูเข้มขึ้น สวยงามมากๆ เลยครับ”
เราจะสามารถเพลิดเพลินกับดอกอาจิไซที่วัดฮาเซได้จนถึงปลายสัปดาห์นี้
แต่ว่าความสวยนั้นก็ยอมแฝงไว้ด้วยพิษสง อย่างเช่นดอกกุหลาบสวยก็มีหนามแหลมเป็นพิษสง แต่สำหรับดอกอะจิไซจะมีพิษอยู่ที่ใบ มันจะเป็นพิษของกรดไฮโดรไซยานิคคือเมื่อกินเข้าไปประมาณ 30 นาที หลังจานั้นจะมีอาการวิงเวียนศีรษะ อยากอาเจียน งั้นก็ไปชมแต่ดอกสวยๆ นะคะ อย่าเผลอกินใบเข้าไปล่ะ
Posted by mod at
14:03
│Comments(0)
2016年06月09日
梅雨 ฤดูฝน
แม้ว่าประเทศญี่ปุ่นจะไม่มีฤดูฝนอย่างเป็นทางการก็ตาม แต่ในช่วงเดือนมิถุนายนจะเป็นเดือนที่ฝนตกตลอดเดือน ฝนที่ตกในเดือนนี้เรียกว่า “ซึยุ” (梅雨Tsuyu) แต่ถ้าแปลตามตัวจะหมายถึงฝนของอุเมะ
ฤดูฝนในญี่ปุ่นจะกินเวลาช่วงสั้น ๆ ราวเดือนครึ่ง ตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายน จนถึงกลางเดือนกรกฎาคม และเนื่องจากเป็นฝนที่ทำให้ผลบ๊วยสุก บางทีจึงเรียกฝนนี้ว่า “ไบอุ” (梅雨Bai-u) ดังนั้นอักษรคันจิของคำนี้บางครั้งจึงอ่านว่า ซึยุ บางครั้งอ่านว่า ไบอุ
กรมอุตุนิยมวิทยาจะประกาศ “การเข้าสู่ช่วงฤดูฝน” เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีลักษณะยาวจากเหนือจรดใต้ ดังนั้นช่วงเวลาการเข้าสู่ฤดูฝนของแต่ละภูมิภาคจึงคลาดเคลื่อนกันไป แต่ที่เกาะฮอกไกโดไม่มีฤดูฝนเลย
แม้ว่าการที่ฝนตกพรำๆ เป็นเวลานานจะเป็นสิ่งที่น่ารำคาญ แต่ฝนซึยุนี้เปรียบเสมือน “น้ำทิพย์” สำหรับชาวญี่ปุ่น เพราะเป็นน้ำดื่มน้ำใช้และช่วยบำรุงพืชผลทางการเกษตร เกษตรกรจะดำนาปลูกข้าวในฤดูนี้
ผลบ๊วยที่สุกจะถูกนำมาบ่มเป็นเหล้าบ๊วย (梅酒)หรือนำไปทำบ๊วยดอง
ฤดูฝนในญี่ปุ่นจะกินเวลาช่วงสั้น ๆ ราวเดือนครึ่ง ตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายน จนถึงกลางเดือนกรกฎาคม และเนื่องจากเป็นฝนที่ทำให้ผลบ๊วยสุก บางทีจึงเรียกฝนนี้ว่า “ไบอุ” (梅雨Bai-u) ดังนั้นอักษรคันจิของคำนี้บางครั้งจึงอ่านว่า ซึยุ บางครั้งอ่านว่า ไบอุ
กรมอุตุนิยมวิทยาจะประกาศ “การเข้าสู่ช่วงฤดูฝน” เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีลักษณะยาวจากเหนือจรดใต้ ดังนั้นช่วงเวลาการเข้าสู่ฤดูฝนของแต่ละภูมิภาคจึงคลาดเคลื่อนกันไป แต่ที่เกาะฮอกไกโดไม่มีฤดูฝนเลย
แม้ว่าการที่ฝนตกพรำๆ เป็นเวลานานจะเป็นสิ่งที่น่ารำคาญ แต่ฝนซึยุนี้เปรียบเสมือน “น้ำทิพย์” สำหรับชาวญี่ปุ่น เพราะเป็นน้ำดื่มน้ำใช้และช่วยบำรุงพืชผลทางการเกษตร เกษตรกรจะดำนาปลูกข้าวในฤดูนี้
ผลบ๊วยที่สุกจะถูกนำมาบ่มเป็นเหล้าบ๊วย (梅酒)หรือนำไปทำบ๊วยดอง
Posted by mod at
20:05
│Comments(0)
2016年06月08日
落語 ศิลปะเล่าเรื่องตลกของญี่ปุ่น
พวกเราเคยได้ยินคำว่า 「落語」(Rakugo) มัยคะ
ระขุโกะเป็นศิลปะหนึ่งของญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยเอโดะ ประมาณสามร้อยปีก่อน นักระขุโกะ (ผู้แสดง) จะพูดคุยคนเดียว โดยนั่งบนเวที ที่เรียกว่า KOOZA และทำให้ผู้ฟังหัวเราะ นักระขุโกะจะเล่าเรื่องตลกที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ชีวิตของชาวเมือง นิทานต่างๆ เป็นต้น แล้วปิดท้ายด้วยมุขตลกเรียกเสียงหัวเราะจากผู้ชมซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของการแสดงประเภทนี้ นักระขุโกะจะออกแสดงเพียงแค่คนเดียวพร้อมกับอุปกรณ์ได้แก่ พัดคลี่เซนสุ (sensu) และ ผ้าเช็ดหน้าเทนุกุอิ (Tenugui) เท่านั้นซึ่งจะนำมาใช้แสดงแทนสิ่งของต่างๆ โดยพัดคลี่ก็จะนำมาแสดงแทน ตะเกียบ พู่กัน ดาบ ฯลฯ ส่วนผ้าเช็ดหน้าก็จะนำมาใช้แทนเป็น จดหมาย หนังสือ กระเป๋าเงิน ฯลฯ
(ต้องเล่นให้ใหญ่ เพื่อให้คนดูจินตนาการภาพตามได้)
เมื่อถึงเวลาแสดงนักระขุโกะจะนั่งลงบนเบาะผ้า และแสดงโดยเคลื่อนไหวเพียงลำตัวครึ่งบน จากนั้นใช้ศิลปะการเล่าเรื่องอันเป็นหัวใจสำคัญ ผสมผสานกับอุปกรณ์ที่กล่าวมาแล้ว เล่าเรื่องต่างๆให้ผู้ชมเกิดจินตนาการสร้างภาพตามเนื้อหานั้น ความแตกต่างของตัวละครจะอยู่ที่การเปลี่ยนเสียงของผู้แสดง หรือเปลี่ยนทิศทางของศีรษะ และลำตัว
แต่เนื่องด้วย ระขุโกะ จะถ่ายทอดเรื่องเล่าเป็นผู้ภาษาญี่ปุ่น และปล่อยมุกตลกด้วย จึงทำให้คนต่างชาติหรือคนที่บกพร่องทางการได้ยินจะไม่เข้าใจ ทำให้ไม่รู้สึกว่าฮา
ดังนั้น ในคืนวันที่ 5 มิ.ย.ที่ผ่านมา ได้มีการจัดงานระขุโกะขึ้นที่โตเกียว โดยเป็นระขุโกะที่เล่าเรื่องให้คนที่มีความบกพร่องทางหูและคนต่างชาติได้สนุกสนานกัน
พอคุณ Katsura Bunshi ซึ่งเป็นนักระขุโกะเริ่มต้นเล่าเรื่อง ก็จะมีภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่นปรากฏบนสกรีนที่อยู่ด้านหลัง อย่างที่บอกไปแล้วว่านักระขุโกะนั้นจะต้องเล่าเรื่องให้คนมากมายฟังอยู่คนเดียว ดังนั้นการเคลื่อนไหวอย่างเช่นใบหน้าและมือจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ แล้วเพื่อไม่ให้ผู้ชมเอาแต่จ้องมองดูสกรีนเท่านั้น จึงต้องทำให้ตัวหนังสือปรากฏข้างๆ ใบหน้าของคุณ Bunshi
พอคุณ Bunshi เล่าเรื่องตลก คนดูประมาณ 100 คนก็จะหัวเราะขึ้นมาในทันทีเลย ผู้หญิงคนหนึ่งที่มีความบกพร่องทางหูได้กล่าวว่า “นี่เป็นครั้งแรกที่ได้มาดูระขุโกะ รู้สึกดีใจมากเลยที่สามารถหัวเราะได้เยอะขนาดนี้” ส่วนชายชาวต่างชาติก็ได้กล่าวว่า “เข้าใจเรื่องที่เขาเล่าได้ว่าเป็นเรื่องอะไรโดยการอ่านภาษาอังกฤษ”
ฉันว่ามันดีมากๆ เลยนะคะ เพราะว่าฉันเองบางครั้งก็อยากไปสัมผัสการดูระขุโกะ แต่คงไม่เข้าใจมุกเท่าไร ถ้ามีสกรีนคอยช่วยแปลภาษาให้แบบนี้ ก็น่าสนุกดีนะคะ
อย่างไรก็ตาม "สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น" ลองไปดูของจริงกันสักครั้งดีมัยคะ
ระขุโกะเป็นศิลปะหนึ่งของญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยเอโดะ ประมาณสามร้อยปีก่อน นักระขุโกะ (ผู้แสดง) จะพูดคุยคนเดียว โดยนั่งบนเวที ที่เรียกว่า KOOZA และทำให้ผู้ฟังหัวเราะ นักระขุโกะจะเล่าเรื่องตลกที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ชีวิตของชาวเมือง นิทานต่างๆ เป็นต้น แล้วปิดท้ายด้วยมุขตลกเรียกเสียงหัวเราะจากผู้ชมซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของการแสดงประเภทนี้ นักระขุโกะจะออกแสดงเพียงแค่คนเดียวพร้อมกับอุปกรณ์ได้แก่ พัดคลี่เซนสุ (sensu) และ ผ้าเช็ดหน้าเทนุกุอิ (Tenugui) เท่านั้นซึ่งจะนำมาใช้แสดงแทนสิ่งของต่างๆ โดยพัดคลี่ก็จะนำมาแสดงแทน ตะเกียบ พู่กัน ดาบ ฯลฯ ส่วนผ้าเช็ดหน้าก็จะนำมาใช้แทนเป็น จดหมาย หนังสือ กระเป๋าเงิน ฯลฯ
(ต้องเล่นให้ใหญ่ เพื่อให้คนดูจินตนาการภาพตามได้)
เมื่อถึงเวลาแสดงนักระขุโกะจะนั่งลงบนเบาะผ้า และแสดงโดยเคลื่อนไหวเพียงลำตัวครึ่งบน จากนั้นใช้ศิลปะการเล่าเรื่องอันเป็นหัวใจสำคัญ ผสมผสานกับอุปกรณ์ที่กล่าวมาแล้ว เล่าเรื่องต่างๆให้ผู้ชมเกิดจินตนาการสร้างภาพตามเนื้อหานั้น ความแตกต่างของตัวละครจะอยู่ที่การเปลี่ยนเสียงของผู้แสดง หรือเปลี่ยนทิศทางของศีรษะ และลำตัว
แต่เนื่องด้วย ระขุโกะ จะถ่ายทอดเรื่องเล่าเป็นผู้ภาษาญี่ปุ่น และปล่อยมุกตลกด้วย จึงทำให้คนต่างชาติหรือคนที่บกพร่องทางการได้ยินจะไม่เข้าใจ ทำให้ไม่รู้สึกว่าฮา
ดังนั้น ในคืนวันที่ 5 มิ.ย.ที่ผ่านมา ได้มีการจัดงานระขุโกะขึ้นที่โตเกียว โดยเป็นระขุโกะที่เล่าเรื่องให้คนที่มีความบกพร่องทางหูและคนต่างชาติได้สนุกสนานกัน
พอคุณ Katsura Bunshi ซึ่งเป็นนักระขุโกะเริ่มต้นเล่าเรื่อง ก็จะมีภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่นปรากฏบนสกรีนที่อยู่ด้านหลัง อย่างที่บอกไปแล้วว่านักระขุโกะนั้นจะต้องเล่าเรื่องให้คนมากมายฟังอยู่คนเดียว ดังนั้นการเคลื่อนไหวอย่างเช่นใบหน้าและมือจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ แล้วเพื่อไม่ให้ผู้ชมเอาแต่จ้องมองดูสกรีนเท่านั้น จึงต้องทำให้ตัวหนังสือปรากฏข้างๆ ใบหน้าของคุณ Bunshi
พอคุณ Bunshi เล่าเรื่องตลก คนดูประมาณ 100 คนก็จะหัวเราะขึ้นมาในทันทีเลย ผู้หญิงคนหนึ่งที่มีความบกพร่องทางหูได้กล่าวว่า “นี่เป็นครั้งแรกที่ได้มาดูระขุโกะ รู้สึกดีใจมากเลยที่สามารถหัวเราะได้เยอะขนาดนี้” ส่วนชายชาวต่างชาติก็ได้กล่าวว่า “เข้าใจเรื่องที่เขาเล่าได้ว่าเป็นเรื่องอะไรโดยการอ่านภาษาอังกฤษ”
ฉันว่ามันดีมากๆ เลยนะคะ เพราะว่าฉันเองบางครั้งก็อยากไปสัมผัสการดูระขุโกะ แต่คงไม่เข้าใจมุกเท่าไร ถ้ามีสกรีนคอยช่วยแปลภาษาให้แบบนี้ ก็น่าสนุกดีนะคะ
อย่างไรก็ตาม "สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น" ลองไปดูของจริงกันสักครั้งดีมัยคะ
Posted by mod at
16:36
│Comments(0)
2016年06月07日
さっぱりだ สดชื่นจังเลย
เมื่อวันก่อนมีเพื่อนส่งไลน์ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดใบหน้าของญี่ปุ่นมาให้ดู ตอนแรกดีใจนึกว่าเพื่อนซื้อมาฝาก ที่ไหนได้ เพื่อนส่งไลน์มาบอกว่า ช่วยแปลให้หน่อยสิ ที่ซื้อมาสำหรับผิวแบบไหน มีคุณสมบัติอย่างไร
มีหลายคนมากที่ไปเที่ยวญี่ปุ่นหรือดูรีวิวเครื่องสำอางญี่ปุ่นแล้วอยากได้ แต่ไม่ทราบว่ามีคุณสมบัติแบบไหน วันนี้เรามาดูคำว่า さっぱり(sappari) กันนะคะ เราพบบ่อยบนบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง
คำว่า さっぱり มีหลายความหมายมากค่ะ
ความหมายแรกคือ “รู้สึกสดชื่น” เช่นล้างหน้ามาแล้วรู้สึกสดชื่น ก็จะพูดกันว่า “ああ、さっぱりだ。(aa sappari da) “อืม รู้สึกสดชื่นจังเลย” เพราะฉะนั้น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมักจะมีคำว่า “さっぱり” ให้เราเห็นอยู่บ่อยๆ
หรือพวกเครื่องดื่มต่างๆ ที่ให้ความรู้สึกสดชื่นก็มักมีคำเขียนโฆษณาว่า Sappari ด้วยเหมือนกัน อย่างเช่นพวกน้ำผลไม้ต่างๆ
ความหมายต่อมาคือ “อาหารไม่เลี่ยน รสไม่จัด” เช่นอาหารพวกสลัด หรือพวกอาหารเส้นๆ この料理はさっぱりした味で、わたし好みだ。(kono ryori wa sappari shita ajide, watashi konomida)อาหารจานนี้รสชาติไม่จัด ฉันชอบ
แล้วอีกหนึ่งความหมายก็คือ “ใช้ไม่ได้เลย” อย่างเช่นคนญี่ปุ่นมักทำท่างง แล้วพูดว่า さっぱり分からない (sappari wakaranai) ไม่เข้าใจเลยจริงๆ
เราก็คงพอจะเข้าใจกันแล้วนะคะ คำศัพท์ในภาษาญี่ปุ่น 1 คำนั้นก็ไม่ได้ใช้แค่ความหมายเดียว มักจะมีความหมายที่หลากหลาย เวลาใช้ก็ต้องระวังด้วยนะคะ
มีหลายคนมากที่ไปเที่ยวญี่ปุ่นหรือดูรีวิวเครื่องสำอางญี่ปุ่นแล้วอยากได้ แต่ไม่ทราบว่ามีคุณสมบัติแบบไหน วันนี้เรามาดูคำว่า さっぱり(sappari) กันนะคะ เราพบบ่อยบนบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง
คำว่า さっぱり มีหลายความหมายมากค่ะ
ความหมายแรกคือ “รู้สึกสดชื่น” เช่นล้างหน้ามาแล้วรู้สึกสดชื่น ก็จะพูดกันว่า “ああ、さっぱりだ。(aa sappari da) “อืม รู้สึกสดชื่นจังเลย” เพราะฉะนั้น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมักจะมีคำว่า “さっぱり” ให้เราเห็นอยู่บ่อยๆ
หรือพวกเครื่องดื่มต่างๆ ที่ให้ความรู้สึกสดชื่นก็มักมีคำเขียนโฆษณาว่า Sappari ด้วยเหมือนกัน อย่างเช่นพวกน้ำผลไม้ต่างๆ
ความหมายต่อมาคือ “อาหารไม่เลี่ยน รสไม่จัด” เช่นอาหารพวกสลัด หรือพวกอาหารเส้นๆ この料理はさっぱりした味で、わたし好みだ。(kono ryori wa sappari shita ajide, watashi konomida)อาหารจานนี้รสชาติไม่จัด ฉันชอบ
แล้วอีกหนึ่งความหมายก็คือ “ใช้ไม่ได้เลย” อย่างเช่นคนญี่ปุ่นมักทำท่างง แล้วพูดว่า さっぱり分からない (sappari wakaranai) ไม่เข้าใจเลยจริงๆ
เราก็คงพอจะเข้าใจกันแล้วนะคะ คำศัพท์ในภาษาญี่ปุ่น 1 คำนั้นก็ไม่ได้ใช้แค่ความหมายเดียว มักจะมีความหมายที่หลากหลาย เวลาใช้ก็ต้องระวังด้วยนะคะ
Posted by mod at
13:23
│Comments(0)
2016年06月02日
ทำนาบนดาดฟ้า ビルの屋上の田んぼ
รปปงหงิฮิลล์ เป็นโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เปิดตัวขึ้นในย่านรปปงหงิในปีพ.ศ. 2546 ดึงดูดผู้คนให้มาเพลิดเพลินกับการช้อปปิ้งที่ร้านของแบรนด์ดังจากทั่วโลก รวมถึงกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย
นอกจากนี้ ยังเป็นจุดนัดพบของชาวต่างชาติที่ทำงานในญี่ปุ่นที่มักมาพบปะสังสรรค์กัน
เจ้าของผู้บริหารโครงการก็คือนายมิโนรุ โมริ ได้วางแผนให้ที่นี่มีทุกอย่างครบครันทั้งสำนักงานออฟฟิศ ที่อยู่อาศัย การช้อปปิ้ง ความบันเทิง และพื้นที่สีเขียวเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
อาคารโมริ ซึ่งตั้งชื่อขึ้นตามเจ้าของโครงการ เป็นตึกสูง 54 ชั้น ตั้งตระหง่านด้วยความสูง 238 เมตรในย่านรปปงหงิ อาคารแห่งนี้นับเป็นศูนย์กลางของรปปงหงิฮิลล์ ร้านค้าและร้านอาหารตั้งอยู่ในโซนส่วนล่างของอาคาร ส่วนโซนชั้นกลางๆ เป็นที่ตั้งของสำนักงานออฟฟิศ พิพิธภัณฑ์ศิลปะโมริอยู่ชั้นบนสุดของอาคาร จัดแสดงศิลปะสมัยใหม่จากทั่วโลกและเปิดพื้นที่ให้ศิลปินหน้าใหม่มาแรงได้แสดงผลงานด้วยโครงการ MAM Project พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวันในช่วงที่มีนิทรรศการ บัตรเข้าชมพิพิธภัณฑ์ยังสามารถใช้เพื่อเข้าไปยัง Tokyo City View ซึ่งเป็นจุดชมวิวของอาคารโมริได้ด้วย
แต่ที่แปลกไปกว่านั้นคือได้มีการทำนาที่บนดาดฟ้าของตึก Roppongi Hills ด้วย โดยในวันที่ 28 พ.ค.ที่ผ่านมาได้มีการจัดงานอีเว้นท์ที่ให้ปลูกต้นกล้าข้าวลงในนานี้ ตึก Roppongi Hills ได้จัดงานอีเว้นท์นี้ขึ้นทุกปีหลังจากที่ได้เปิดทำการในปี 2003 โดยจะมีอย่างเช่นคนที่ทำงานที่ตึก Roppongi Hills และครอบครัวมารวมตัวกันอยู่ที่ด้านบนดาดฟ้าของตึกที่มีความสูง 45 เมตรประมาณ 140 คนเลยทีเดียว
แล้วพวกเขาเหล่านั้นก็ได้ลงไปในแปลงนาที่มีขนาดประมาณ 130 ตารางเมตร และทำการดำต้นกล้าข้าวกันทีละต้นละต้น แถมในแปลงนาก็มีสัตว์ตัวเล็กๆ อย่างเช่นลูกอ๊อดและกบอยู่ด้วย
แม้ว่าพวกเด็กๆ จะทำท่าเหมือนจะล้มกลิ้งกันก็ตาม แต่ก็ดำต้นกล้าข้าวอย่างสนุกสนาน แล้วเขาก็มีหมายกำหนดการว่าจะจัดงานอีเว้นท์ที่จะเก็บเกี่ยวต้นข้าวที่ปลูกในฤดูใบไม้ร่วงอีกด้วย
ประเทศไทยน่าจะลองทำนากันบนดาดฟ้าตึกกันบ้างนะคะ
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก NHK News Web Easy
Posted by mod at
12:30
│Comments(0)