› 日本が好き › 2016年08月
2016年08月18日
ป้องกันโรคลมแดดใน Tokyo Olympic 2020
ตอนนี้ทุกคนคงจะสนุกสนานและคอยลุ้นเหรียญในกีฬาโอลิมปิกอยู่สินะ ถึงแม้ว่ากีฬาโอลิมปิกครั้งนี้จะยังไม่จบลง แต่สำหรับเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกครั้งต่อไปที่จะจัดขึ้นที่กรุงโตเกียวในปี 2020 นั้น เขาก็เตรียมความพร้อมเต็มที่
แล้วหนึ่งในการจัดเตรียมนั้นก็คือความห่วงใยในสุขภาพของนักกีฬาและผู้ที่จะเข้าชมการแข่งขัน เพระว่าในการจัดกีฬาโอลิมปิกนั้นตรงกับฤดูร้อนที่แสนจะร้อนอบอ้าว ดังนั้น กระทรวงสิ่งแวดล้อมไม่อยากให้นักกีฬาและผู้ที่มาชมการแข่งขันเป็นโรคลมแดด หรือที่ในภาษาญี่ปุ่นเรียกกันว่า “熱中症(ねっちゅうしょう)” แล้วก็ไม่น่าเชื่อว่าโรคนี้ทำให้มีคนตายด้วย
โรคลมแดดจะมีอาการของโรคคือ ตาลาย ปวดหัว คลื่นไส้ รู้สึกเหนื่อย ๆ ถ้ารุนแรงมาก ๆ จะทำให้หมดสติ เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เพราะฉะนั้นถ้ารู้สึกตัวว่า "แปลก ๆ" ให้ไปอยู่ในที่ที่เย็น ๆ แล้วก็ไปพบหมอ
ลองทายสิคะว่า นี่คือเครื่องอะไร? รูปร่างเหมือนยานอวกาศเลย
ดังนั้น ทางกระทรวงสิ่งแวดล้อมจึงได้นำเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิและความชื้นไปตั้งไว้ในสถานที่ต่างๆ เพื่อทำการสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลว่ามีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหนที่ทำให้เกิดโรคลมแดดได้ เครื่องนี้ไม่ได้สำรวจเพียงแค่อุณหภูมิและความชื้นเท่านั้น แต่ยังสามารถตรวจวัดความรุนแรงของแสงอาทิตย์ได้อีกด้วย เพื่อทำให้เราสามารถแบ่งและทราบถึงความเสี่ยงที่จะเกิดโรคลมแดดได้ถึง 4 ระดับ
ก่อนอื่น กระทรวงสิ่งแวดล้อมได้นำเครื่องตรวจวัดนั้นไปวางไว้ 3 แห่งตามแผนการในการจัดแข่งขันวิ่งมาราธอน และจะลองตรวจวัดจนถึงวันที่ 19 ส.ค. นี้ แล้วตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป มีแผนการที่จะทำการตรวจวัดและสำรวจในสถานที่อื่นๆ อีกประมาณ 10 แห่ง
กระทรวงสิ่งแวดล้อมยังได้กล่าวไว้ว่า “ฤดูร้อนของญี่ปุ่นนั้นจะมีความร้อนและความชื้นสูง จึงอยากจะบอกให้คนต่างชาติเข้าใจได้ง่ายถึงความเสี่ยงในการที่จะเป็นโรคลมแดด”
แล้วหนึ่งในการจัดเตรียมนั้นก็คือความห่วงใยในสุขภาพของนักกีฬาและผู้ที่จะเข้าชมการแข่งขัน เพระว่าในการจัดกีฬาโอลิมปิกนั้นตรงกับฤดูร้อนที่แสนจะร้อนอบอ้าว ดังนั้น กระทรวงสิ่งแวดล้อมไม่อยากให้นักกีฬาและผู้ที่มาชมการแข่งขันเป็นโรคลมแดด หรือที่ในภาษาญี่ปุ่นเรียกกันว่า “熱中症(ねっちゅうしょう)” แล้วก็ไม่น่าเชื่อว่าโรคนี้ทำให้มีคนตายด้วย
โรคลมแดดจะมีอาการของโรคคือ ตาลาย ปวดหัว คลื่นไส้ รู้สึกเหนื่อย ๆ ถ้ารุนแรงมาก ๆ จะทำให้หมดสติ เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เพราะฉะนั้นถ้ารู้สึกตัวว่า "แปลก ๆ" ให้ไปอยู่ในที่ที่เย็น ๆ แล้วก็ไปพบหมอ
ลองทายสิคะว่า นี่คือเครื่องอะไร? รูปร่างเหมือนยานอวกาศเลย
ดังนั้น ทางกระทรวงสิ่งแวดล้อมจึงได้นำเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิและความชื้นไปตั้งไว้ในสถานที่ต่างๆ เพื่อทำการสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลว่ามีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหนที่ทำให้เกิดโรคลมแดดได้ เครื่องนี้ไม่ได้สำรวจเพียงแค่อุณหภูมิและความชื้นเท่านั้น แต่ยังสามารถตรวจวัดความรุนแรงของแสงอาทิตย์ได้อีกด้วย เพื่อทำให้เราสามารถแบ่งและทราบถึงความเสี่ยงที่จะเกิดโรคลมแดดได้ถึง 4 ระดับ
ก่อนอื่น กระทรวงสิ่งแวดล้อมได้นำเครื่องตรวจวัดนั้นไปวางไว้ 3 แห่งตามแผนการในการจัดแข่งขันวิ่งมาราธอน และจะลองตรวจวัดจนถึงวันที่ 19 ส.ค. นี้ แล้วตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป มีแผนการที่จะทำการตรวจวัดและสำรวจในสถานที่อื่นๆ อีกประมาณ 10 แห่ง
กระทรวงสิ่งแวดล้อมยังได้กล่าวไว้ว่า “ฤดูร้อนของญี่ปุ่นนั้นจะมีความร้อนและความชื้นสูง จึงอยากจะบอกให้คนต่างชาติเข้าใจได้ง่ายถึงความเสี่ยงในการที่จะเป็นโรคลมแดด”
Posted by mod at
13:52
│Comments(0)
2016年08月17日
ทำไมต้องเป็น Narita Rikon
มีเหตุผลมากมายที่นำพาให้คนเรามารักกัน จนตกลงแต่งงานอยู่กินด้วยกัน แต่สภาพแวดล้อมปัจจุบันหลายคู่อยู่กันต่อไม่ได้ จึงทำให้เกิดการต้องหย่าร้างกัน แล้วในเมื่อตอนแต่งงานได้มีการจัดพิธีการแต่งงาน แล้วทำไมตอนหย่าร้างกันถึงไม่จัดพิธีหย่ากันด้วยล่ะ
ดังนั้นก็เลยมีคนคิดให้บริการในการจัดพิธีหย่าร้างกันขึ้นมา ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “rikonshiki” (離婚式) เพื่อช่วยให้พวกเขาเหล่านั้น ฉลองการเริ่มต้นแยกทางกันอย่างชื่นมื่นทั้งสองฝ่าย
รูปแบบพิธีหย่าร้างนั้นก็แทบไม่ต่างจากงานแต่งที่มีพิธีรีตอง สามีภรรยาเดินทางเข้าสู่ลานพิธี โดยมีญาติสนิทมิตรสหายร่วมเป็นสักขีพยาน ผู้กระทำพิธีจะเรียกกันและกันว่า “อดีตเจ้าบ่าว” และ “อดีตเจ้าสาว” เป็นการแสดงการเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งใหม่ หลังจากกล่าวสาเหตุที่หย่าร้างกันต่อหน้าสักขีพยานว่า วันนี้จะเป็นการเริ่มต้นที่ดีสำหรับทั้งคู่แล้ว สุดท้ายจบด้วยการทุบแหวนแต่งงานทิ้ง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการหมดเยื่อใยต่อกัน แขกเหรื่อปรบมือแสดงความยินดี ก่อนเดินแยกจากกันไปด้วยรอยยิ้ม แต่ก็มีบางคู่เปลี่ยนใจกลางคันคืนดีกันระหว่างทำพิธีด้วย
แล้วก็ยังมีการหย่าร้างแบบสายฟ้าแลบด้วยนะคะ เขาจะเรียกกันว่า “Narita Rikon” (成田離婚) คำว่า “Narita” ก็คือสนามบินนาริตะนั่นเอง ทำไมถึงเรียกแบบนี้ นั่นก็เพราะว่าเป็นคู่แต่งงานใหม่ที่หลังจากไปฮันนีมูนก็หย่าทันทีนั่นเอง ส่วนใหญ่น่าจะเป็นคู่สามีภรรยาที่แต่งงานโดยการดูตัว แล้วไปฮันนีมูนกัน ระหว่างนั้นอาจพบด้านไม่ดีของอีกฝ่าย เป็นเหตุหย่าร้างได้ในที่สุด
อีกหน่อยที่ประเทศไทย จะมี Suwannaphumi Rikon มัยน้า?
ดังนั้นก็เลยมีคนคิดให้บริการในการจัดพิธีหย่าร้างกันขึ้นมา ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “rikonshiki” (離婚式) เพื่อช่วยให้พวกเขาเหล่านั้น ฉลองการเริ่มต้นแยกทางกันอย่างชื่นมื่นทั้งสองฝ่าย
รูปแบบพิธีหย่าร้างนั้นก็แทบไม่ต่างจากงานแต่งที่มีพิธีรีตอง สามีภรรยาเดินทางเข้าสู่ลานพิธี โดยมีญาติสนิทมิตรสหายร่วมเป็นสักขีพยาน ผู้กระทำพิธีจะเรียกกันและกันว่า “อดีตเจ้าบ่าว” และ “อดีตเจ้าสาว” เป็นการแสดงการเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งใหม่ หลังจากกล่าวสาเหตุที่หย่าร้างกันต่อหน้าสักขีพยานว่า วันนี้จะเป็นการเริ่มต้นที่ดีสำหรับทั้งคู่แล้ว สุดท้ายจบด้วยการทุบแหวนแต่งงานทิ้ง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการหมดเยื่อใยต่อกัน แขกเหรื่อปรบมือแสดงความยินดี ก่อนเดินแยกจากกันไปด้วยรอยยิ้ม แต่ก็มีบางคู่เปลี่ยนใจกลางคันคืนดีกันระหว่างทำพิธีด้วย
แล้วก็ยังมีการหย่าร้างแบบสายฟ้าแลบด้วยนะคะ เขาจะเรียกกันว่า “Narita Rikon” (成田離婚) คำว่า “Narita” ก็คือสนามบินนาริตะนั่นเอง ทำไมถึงเรียกแบบนี้ นั่นก็เพราะว่าเป็นคู่แต่งงานใหม่ที่หลังจากไปฮันนีมูนก็หย่าทันทีนั่นเอง ส่วนใหญ่น่าจะเป็นคู่สามีภรรยาที่แต่งงานโดยการดูตัว แล้วไปฮันนีมูนกัน ระหว่างนั้นอาจพบด้านไม่ดีของอีกฝ่าย เป็นเหตุหย่าร้างได้ในที่สุด
อีกหน่อยที่ประเทศไทย จะมี Suwannaphumi Rikon มัยน้า?
Posted by mod at
17:31
│Comments(0)
2016年08月12日
วันภูเขา 山の日
คนญี่ปุ่นกับธรรมชาติ
อย่างที่เรารู้กันดีว่าชาวญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญกับธรรมชาติอย่างมาก โดยเฉพาะภูมิประเทศของญี่ปุ่นจะเป็นภูเขา และทะเลเสียส่วนใหญ่ ทำให้คนญี่ปุ่นใกล้ชิดกับธรรมชาติมากๆ อย่างชื่อของคนญี่ปุ่นยังมีคำศัพท์ที่เกี่ยวกับธรรมชาติมาอยู่ในชื่อด้วย เช่น 山田さん(Yamada San)นั้น คำว่า “Yama” แปลว่าภูเขา ส่วนคำว่า “da” มีความหมายว่า “นา” เป็นต้น
นอกจากนี้ ภูมิประเทศของญี่ปุ่นเป็นภูเขา ทำให้ชาวญี่ปุ่นชื่นชอบการปีนเขาอย่างมาก ดังนั้น รัฐบาลท้องถิ่นจังหวัดต่าง ๆ จึงมีการเฉลิมฉลอง “วันภูเขา”คือ “山の日” (Yama no Hi) ซึ่งมีมานานแล้ว โดยกำหนดวันแตกต่างกันไป จนกระทั่งรัฐบาลญี่ปุ่นได้รับรองให้ “วันภูเขา” เป็นวันหยุดประจำปีใหม่ล่าสุดเมื่อปีที่แล้ว และเป็นหยุดครั้งแรกในปีนี้
วันภูเขาได้รับการเสนอให้เป็นวันหยุดโดยสมาคมนักปีนเขาแห่งญี่ปุ่น โดยระบุว่า ตามลัทธิชินโตแล้วภูเขาเป็นเทพเจ้าและที่สิงสถิตของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงควรมีวันหยุดเพื่อระลึกถึงคุณค่าของภูเขาและธรรมชาติ คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น จึงรับรองให้วันที่ 11 สิงหาคม เป็นวันหยุดประจำปีทั่วประเทศ โดยมีจุดประสงค์ให้ประชาชน ได้รำลึกถึงบุญคุณของภูเขา และความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ที่จะต้องรักษาไว้ให้ลูกหลานต่อไป
แล้วก็ได้มีการจัดงานฉลองขึ้นที่รีสอร์ทคามิโกจิ ในเมืองมัตสึโมโตะ จังหวัดนากาโน โดยมีมกุฎราชกุมาร นารุฮิโตะ พร้อมด้วยพระชายาและพระธิดาเสด็จมาร่วมงานด้วย โอกาสนี้ มกุฎราชกุมาร นารุฮิโตะ ตรัสว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องบอกกล่าวให้เด็กๆ ได้รู้ถึงความสำคัญของภูเขา และสอนให้เด็กชื่นชมกับสิ่งดีๆที่ภูเขาได้มอบให้ ซึ่งพระองค์ทรงหวังว่าวันภูเขานี้จะเป็นก้าวสำคัญไปสู่อนาคตที่สดใสของภูเขาทั้งหลายในวันหน้า
ประเด็นที่น่าสนใจคือญี่ปุ่นมีวันหยุดที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติหลายวัน เช่นวันสีเขียว (Midori no hi) วันที่ 29 เม.ย. และวันมหาสมุทร (Umi no hi) วันจันทร์ที่ 3 ของเดือนก.ค.
อย่างที่เรารู้กันดีว่าชาวญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญกับธรรมชาติอย่างมาก โดยเฉพาะภูมิประเทศของญี่ปุ่นจะเป็นภูเขา และทะเลเสียส่วนใหญ่ ทำให้คนญี่ปุ่นใกล้ชิดกับธรรมชาติมากๆ อย่างชื่อของคนญี่ปุ่นยังมีคำศัพท์ที่เกี่ยวกับธรรมชาติมาอยู่ในชื่อด้วย เช่น 山田さん(Yamada San)นั้น คำว่า “Yama” แปลว่าภูเขา ส่วนคำว่า “da” มีความหมายว่า “นา” เป็นต้น
นอกจากนี้ ภูมิประเทศของญี่ปุ่นเป็นภูเขา ทำให้ชาวญี่ปุ่นชื่นชอบการปีนเขาอย่างมาก ดังนั้น รัฐบาลท้องถิ่นจังหวัดต่าง ๆ จึงมีการเฉลิมฉลอง “วันภูเขา”คือ “山の日” (Yama no Hi) ซึ่งมีมานานแล้ว โดยกำหนดวันแตกต่างกันไป จนกระทั่งรัฐบาลญี่ปุ่นได้รับรองให้ “วันภูเขา” เป็นวันหยุดประจำปีใหม่ล่าสุดเมื่อปีที่แล้ว และเป็นหยุดครั้งแรกในปีนี้
วันภูเขาได้รับการเสนอให้เป็นวันหยุดโดยสมาคมนักปีนเขาแห่งญี่ปุ่น โดยระบุว่า ตามลัทธิชินโตแล้วภูเขาเป็นเทพเจ้าและที่สิงสถิตของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงควรมีวันหยุดเพื่อระลึกถึงคุณค่าของภูเขาและธรรมชาติ คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น จึงรับรองให้วันที่ 11 สิงหาคม เป็นวันหยุดประจำปีทั่วประเทศ โดยมีจุดประสงค์ให้ประชาชน ได้รำลึกถึงบุญคุณของภูเขา และความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ที่จะต้องรักษาไว้ให้ลูกหลานต่อไป
แล้วก็ได้มีการจัดงานฉลองขึ้นที่รีสอร์ทคามิโกจิ ในเมืองมัตสึโมโตะ จังหวัดนากาโน โดยมีมกุฎราชกุมาร นารุฮิโตะ พร้อมด้วยพระชายาและพระธิดาเสด็จมาร่วมงานด้วย โอกาสนี้ มกุฎราชกุมาร นารุฮิโตะ ตรัสว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องบอกกล่าวให้เด็กๆ ได้รู้ถึงความสำคัญของภูเขา และสอนให้เด็กชื่นชมกับสิ่งดีๆที่ภูเขาได้มอบให้ ซึ่งพระองค์ทรงหวังว่าวันภูเขานี้จะเป็นก้าวสำคัญไปสู่อนาคตที่สดใสของภูเขาทั้งหลายในวันหน้า
ประเด็นที่น่าสนใจคือญี่ปุ่นมีวันหยุดที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติหลายวัน เช่นวันสีเขียว (Midori no hi) วันที่ 29 เม.ย. และวันมหาสมุทร (Umi no hi) วันจันทร์ที่ 3 ของเดือนก.ค.
Posted by mod at
14:50
│Comments(0)
2016年08月11日
食べ残し อาหารที่กินเหลือ
วันนี้ เราจะมาคุยกันถึงเรื่อง 食べ残し「たべ‐のこし / Tabenokoshi」กันนะคะ
คำว่า Tabenokoshi คือการทานอาหารเหลือนั่นเอง จริงๆ แล้วเราไม่ควรทานอาหารให้เหลือนะคะ เพราะว่ากว่าชาวนาจะปลูกข้าว ชาวประมงจะจับปลา หรือชาวสวนจะปลูกผักผลไม้จนมาให้เรากินนั้นต้องตรากตรำอย่างมาก
แต่บางครั้งเวลาเราไปทานอาหารที่ร้าน ก็มีบ้างที่กินไม่หมด กินไม่ไหวแล้ว ท้องมันแน่นมาก เราจะทำอย่างไรดี? ถ้าเป็นร้านอาหารที่เมืองไทย เราก็จะนำอาหารที่กินไม่หมดห่อกลับบ้าน นั่นถือเป็นพฤติกรรมการบริโภคที่ปกติมากๆ
ถ้าเป็นฉันล่ะก็ จะบอกว่า “น้องๆ ช่วยห่อกลับบ้านให้พี่ด้วย จะเอาไปให้....ที่บ้าน อ๋อ ขอน้ำจิ้มเพิ่มด้วยนะ” (555)
แต่ถ้าเป็นที่ญี่ปุ่น เขาจะไม่มีธรรมเนียมในการห่ออาหารกลับบ้าน เพราะญี่ปุ่นถือเรื่องปัญหาด้านสุขอนามัย (衛生 - Eisei) เป็นอย่างมาก และเกรงว่าเมื่อลูกค้ากินอาหารที่ห่อกลับไปบ้านแล้วอาจเกิดอาการอาหารเป็นพิษ (食中毒 – Shokuchugoku) ได้ รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ทางร้านจึงไม่แนะนำให้ห่อกลับและไม่มีบริการห่ออาหารกลับบ้าน
แต่ถ้าอยากพูดว่า “อันนี้ห่อกลับบ้านได้ไหม” เป็นภาษาญี่ปุ่นล่ะก็ สามารถพูดได้ว่า
“これは持ち帰ってもいいですか” (Kore wa mochi kaettemo ii desuka)
คำว่า Tabenokoshi คือการทานอาหารเหลือนั่นเอง จริงๆ แล้วเราไม่ควรทานอาหารให้เหลือนะคะ เพราะว่ากว่าชาวนาจะปลูกข้าว ชาวประมงจะจับปลา หรือชาวสวนจะปลูกผักผลไม้จนมาให้เรากินนั้นต้องตรากตรำอย่างมาก
แต่บางครั้งเวลาเราไปทานอาหารที่ร้าน ก็มีบ้างที่กินไม่หมด กินไม่ไหวแล้ว ท้องมันแน่นมาก เราจะทำอย่างไรดี? ถ้าเป็นร้านอาหารที่เมืองไทย เราก็จะนำอาหารที่กินไม่หมดห่อกลับบ้าน นั่นถือเป็นพฤติกรรมการบริโภคที่ปกติมากๆ
ถ้าเป็นฉันล่ะก็ จะบอกว่า “น้องๆ ช่วยห่อกลับบ้านให้พี่ด้วย จะเอาไปให้....ที่บ้าน อ๋อ ขอน้ำจิ้มเพิ่มด้วยนะ” (555)
แต่ถ้าเป็นที่ญี่ปุ่น เขาจะไม่มีธรรมเนียมในการห่ออาหารกลับบ้าน เพราะญี่ปุ่นถือเรื่องปัญหาด้านสุขอนามัย (衛生 - Eisei) เป็นอย่างมาก และเกรงว่าเมื่อลูกค้ากินอาหารที่ห่อกลับไปบ้านแล้วอาจเกิดอาการอาหารเป็นพิษ (食中毒 – Shokuchugoku) ได้ รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ทางร้านจึงไม่แนะนำให้ห่อกลับและไม่มีบริการห่ออาหารกลับบ้าน
แต่ถ้าอยากพูดว่า “อันนี้ห่อกลับบ้านได้ไหม” เป็นภาษาญี่ปุ่นล่ะก็ สามารถพูดได้ว่า
“これは持ち帰ってもいいですか” (Kore wa mochi kaettemo ii desuka)
Posted by mod at
13:56
│Comments(0)
2016年08月10日
เทศกาลเนะบุตะ 青森ねぶた祭り
เทศกาลเนะบุตะ ที่เมืองอาโอะโมะริ (青森ねぶた祭り)เป็นเทศกาลฤดูร้อนของญี่ปุ่นที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาชมร่วมล้านคนเลยทีเดียว จะจัดขึ้นในวันที่ 2-7 สิงหาคมของทุกปี ไฮไลท์ของงานเทศกาลนี้คือขบวนพาเหรดที่ทำการแห่โคมไฟสีขนาดใหญ่ โดยจะมีขบวนกลองไทโกะ เหล่านักดนตรี และการแสดงเต้นพื้นเมืองนำขบวนแห่ เทศกาลเนะบุตะเป็น 1 ใน 3 งานเทศกาลที่มีชื่อเสียงของโตโฮกุ
โคมไฟในงานเทศกาลเนะบุตะจะสร้างจากกระดาษวาชิ เพ้นท์สีสันต่างๆ และนำไปห่อโครงที่สร้างจากโครงไม้ไผ่ให้มีรูปแบบต่างๆ ซึ่งใช้เวลานานร่วมปีในการออกแบบและสร้าง โดยในสมัยก่อนจะใช้ตอกไม้ไผ่ในการมัดแต่ปัจจุบันจะใช้เชือกแทน เมื่อได้โครงที่ต้องการแล้วก็จะปิดทับด้วยกระดาษญี่ปุ่นทาแป้งเปียกแปะหนาหลายชั้น ให้เป็นรูปร่างหน้าตาต่างๆ จากนั้นก็เขียนลวดลาย ลงสี แล้วเคลือบอย่างดีไม่ให้เห็นรอยต่อ โดยมักจะทำเป็นโคมไฟรูปเกี่ยวกับพระเจ้า บุคคลทางประวัติศาสตร์หรือตัวละครที่มีชื่อเสียง โคมไฟเนะบุตะอาจมีความกว้างถึง 9 เมตร และสูงถึง 5 เมตร
ในทุกคืนขบวนโคมไฟของงานเทศกาลเนะบุตะจะถูกแห่ไปตามท้องถนนในตัวเมืองอาโอโมริ แต่ในคืนวันสุดท้ายของงานเทศกาลขบวนโคมไฟจะถูกจัดขึ้นในเวลากลางวัน โคมไฟเนะบุตะจะถูกแห่โดยแรงคน ในขบวนพาเหรด จะมีทีม “เซ็นซุโมจิ” คอยให้สัญญาณจากเสียงขลุ่ยและพัด เพื่อให้ทีมผู้ลากเคลื่อนไหวเนบุตะขนาดเกือบ 4 ตันอย่างครึกครื้น นอกจากนี้ ในขบวนแห่ยังมีวงดนตรีซึ่งเรียกว่า “ฮะยะชิคะตะ” ประกอบด้วยกลองไทโกะ ขลุ่ย และฉาบ รวมถึงทีมคณะเต้น “ฮาเนโตะ” ที่มีกว่าหนึ่งร้อยชีวิตที่คอยส่งเสียง “รัซเซ่ รัสเซ่” ให้สอดคล้องกับเสียงดนตรีด้วย โดยลักษณะการเต้นจะเป็นกึ่งเต้นกึ่งกระโดด
ในการชมขบวนโคมไฟเนะบุตะ ผู้ชมสามารถนั่งลงที่พื้นบริเวณข้างถนนซึ่งทอดยาวกว่าสามกิโลเมตร ตลอดเส้นทางเดินขบวน ทั้งนี้ผู้ชมสามารถจองที่นั่งสำหรับชมขบวนโคมไฟได้ที่ร้านสะดวกซื้อต่างๆ และในระหว่างที่มีการแสดง นักเต้นในขบวนก็จะชักชวนให้ผู้ชมในร่วมเต้นเป็นส่วนหนึ่งของทีมฮาเนโตะได้ด้วย มาเปล่งเสียงร้องและกระโดดโลดเต้นกันเถอะ! เข้าร่วมได้อย่างอิสระ ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนล่วงหน้า แต่มีกฎว่าคุณต้องเช่าหรือซื้อชุดของฮาเนโตะเพื่อสวมใส่ร่วมขบวนอย่างถูกต้อง ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านต่างๆในตัวเมืองอาโมริ ราคาประมาณ 5000 เยน หรือสามารถเช่าได้ตามร้านเช่า ราคาประมาณ 3000 เยน นอกจากนี้ ยังเชื่อกันว่าหากเก็บกระดิ่งที่ติดอยู่บนชุดของฮาเนโตะได้ ความสุขจะมาเยือน
ในสองคืนแรกของงานเทศกาล ขบวนโคมไฟจะยังมีจำนวนไม่มากประมาน 2-3 ขบวน ในคืนวันที่ 4 ถึงคืนวันที่ 6 จะเป็นการแสดงอย่างเต็มรูปแบบ โดยในวันสุดท้ายของงานเทศกาลเนะบุตะ จะมีการแสดงขบวนโคมไฟในเวลากลางวัน โคมไฟที่ได้รับการเลือกจะถูกนำไว้วางบนเรือและล่องบนน้ำในช่วงค่ำ นอกจากนี้ยังมีการแสดงดอกไม้ไฟความยาว 2 ชั่วโมงบริเวณริมน้ำในบริเวณงานเทศกาล
แล้วในการประกวดโคมไฟนั้น คณะกรรมการจะพิจารณาส่วนประกอบต่างๆ เช่น โคมไฟเนบุตะ ขบวนพัด การจัดขบวนแห่ และฮาเนโตะเพื่อพิจารณาให้รางวัลเนะบุตะจากเกณฑ์ความสวยงามของตัวโคมไฟ ผสานความสมดุลของภาพรวมในขบวนแห่ เช่น การจัดลำดับขบวน ความครึกครื้นและสามัคคีของทีมฮาเนโตะ รวมจึงจังหวะดนตรีและการให้สัญญาณต่างๆ การประกาศผลรางวัลจะจัดขึ้นในวันที่ 6 และทีมที่ได้รับรางวัลจะจัดขบวนแห่โชว์อีกครั้ง
นอกจากชมเทศกาลแล้ว เรายังสามารถหาซื้อของที่ระลึกจากเทศกาลเนบุตะได้ด้วย มีตั้งแต่ของพื้นฐานอย่างเสื้อยืดและผ้าเทนุกุอิ (ผ้าเช็ดหน้าทรงยาว) ไปจนถึงงานดีไซน์เก๋ไก๋ แต่ละชิ้นนำลวดลายจากโคมไฟเนบุตะที่ดูดุดันมาปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับการใช้งานรูปแบบต่างๆ เช่น แผ่นมาร์คหน้าเนบุตะ กางเกงบ็อกเซอร์ หรือผ้าขนหนูไมโครไฟเบอร์ ลองค้นหาของที่ระลึกกันเลย!
ขอบคุณข้อมูลจาก National Book Festival in Tokyo Japan
โคมไฟในงานเทศกาลเนะบุตะจะสร้างจากกระดาษวาชิ เพ้นท์สีสันต่างๆ และนำไปห่อโครงที่สร้างจากโครงไม้ไผ่ให้มีรูปแบบต่างๆ ซึ่งใช้เวลานานร่วมปีในการออกแบบและสร้าง โดยในสมัยก่อนจะใช้ตอกไม้ไผ่ในการมัดแต่ปัจจุบันจะใช้เชือกแทน เมื่อได้โครงที่ต้องการแล้วก็จะปิดทับด้วยกระดาษญี่ปุ่นทาแป้งเปียกแปะหนาหลายชั้น ให้เป็นรูปร่างหน้าตาต่างๆ จากนั้นก็เขียนลวดลาย ลงสี แล้วเคลือบอย่างดีไม่ให้เห็นรอยต่อ โดยมักจะทำเป็นโคมไฟรูปเกี่ยวกับพระเจ้า บุคคลทางประวัติศาสตร์หรือตัวละครที่มีชื่อเสียง โคมไฟเนะบุตะอาจมีความกว้างถึง 9 เมตร และสูงถึง 5 เมตร
ในทุกคืนขบวนโคมไฟของงานเทศกาลเนะบุตะจะถูกแห่ไปตามท้องถนนในตัวเมืองอาโอโมริ แต่ในคืนวันสุดท้ายของงานเทศกาลขบวนโคมไฟจะถูกจัดขึ้นในเวลากลางวัน โคมไฟเนะบุตะจะถูกแห่โดยแรงคน ในขบวนพาเหรด จะมีทีม “เซ็นซุโมจิ” คอยให้สัญญาณจากเสียงขลุ่ยและพัด เพื่อให้ทีมผู้ลากเคลื่อนไหวเนบุตะขนาดเกือบ 4 ตันอย่างครึกครื้น นอกจากนี้ ในขบวนแห่ยังมีวงดนตรีซึ่งเรียกว่า “ฮะยะชิคะตะ” ประกอบด้วยกลองไทโกะ ขลุ่ย และฉาบ รวมถึงทีมคณะเต้น “ฮาเนโตะ” ที่มีกว่าหนึ่งร้อยชีวิตที่คอยส่งเสียง “รัซเซ่ รัสเซ่” ให้สอดคล้องกับเสียงดนตรีด้วย โดยลักษณะการเต้นจะเป็นกึ่งเต้นกึ่งกระโดด
ในการชมขบวนโคมไฟเนะบุตะ ผู้ชมสามารถนั่งลงที่พื้นบริเวณข้างถนนซึ่งทอดยาวกว่าสามกิโลเมตร ตลอดเส้นทางเดินขบวน ทั้งนี้ผู้ชมสามารถจองที่นั่งสำหรับชมขบวนโคมไฟได้ที่ร้านสะดวกซื้อต่างๆ และในระหว่างที่มีการแสดง นักเต้นในขบวนก็จะชักชวนให้ผู้ชมในร่วมเต้นเป็นส่วนหนึ่งของทีมฮาเนโตะได้ด้วย มาเปล่งเสียงร้องและกระโดดโลดเต้นกันเถอะ! เข้าร่วมได้อย่างอิสระ ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนล่วงหน้า แต่มีกฎว่าคุณต้องเช่าหรือซื้อชุดของฮาเนโตะเพื่อสวมใส่ร่วมขบวนอย่างถูกต้อง ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านต่างๆในตัวเมืองอาโมริ ราคาประมาณ 5000 เยน หรือสามารถเช่าได้ตามร้านเช่า ราคาประมาณ 3000 เยน นอกจากนี้ ยังเชื่อกันว่าหากเก็บกระดิ่งที่ติดอยู่บนชุดของฮาเนโตะได้ ความสุขจะมาเยือน
ในสองคืนแรกของงานเทศกาล ขบวนโคมไฟจะยังมีจำนวนไม่มากประมาน 2-3 ขบวน ในคืนวันที่ 4 ถึงคืนวันที่ 6 จะเป็นการแสดงอย่างเต็มรูปแบบ โดยในวันสุดท้ายของงานเทศกาลเนะบุตะ จะมีการแสดงขบวนโคมไฟในเวลากลางวัน โคมไฟที่ได้รับการเลือกจะถูกนำไว้วางบนเรือและล่องบนน้ำในช่วงค่ำ นอกจากนี้ยังมีการแสดงดอกไม้ไฟความยาว 2 ชั่วโมงบริเวณริมน้ำในบริเวณงานเทศกาล
แล้วในการประกวดโคมไฟนั้น คณะกรรมการจะพิจารณาส่วนประกอบต่างๆ เช่น โคมไฟเนบุตะ ขบวนพัด การจัดขบวนแห่ และฮาเนโตะเพื่อพิจารณาให้รางวัลเนะบุตะจากเกณฑ์ความสวยงามของตัวโคมไฟ ผสานความสมดุลของภาพรวมในขบวนแห่ เช่น การจัดลำดับขบวน ความครึกครื้นและสามัคคีของทีมฮาเนโตะ รวมจึงจังหวะดนตรีและการให้สัญญาณต่างๆ การประกาศผลรางวัลจะจัดขึ้นในวันที่ 6 และทีมที่ได้รับรางวัลจะจัดขบวนแห่โชว์อีกครั้ง
นอกจากชมเทศกาลแล้ว เรายังสามารถหาซื้อของที่ระลึกจากเทศกาลเนบุตะได้ด้วย มีตั้งแต่ของพื้นฐานอย่างเสื้อยืดและผ้าเทนุกุอิ (ผ้าเช็ดหน้าทรงยาว) ไปจนถึงงานดีไซน์เก๋ไก๋ แต่ละชิ้นนำลวดลายจากโคมไฟเนบุตะที่ดูดุดันมาปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับการใช้งานรูปแบบต่างๆ เช่น แผ่นมาร์คหน้าเนบุตะ กางเกงบ็อกเซอร์ หรือผ้าขนหนูไมโครไฟเบอร์ ลองค้นหาของที่ระลึกกันเลย!
ขอบคุณข้อมูลจาก National Book Festival in Tokyo Japan
Posted by mod at
16:53
│Comments(0)
2016年08月09日
โทโรนางาชิ (とうろう流し)
ตอนนี้ เราก็เข้าสู่เดือนสิงหาคมกันแล้ว สำหรับญี่ปุ่นในช่วงกลางเดือนสิงหาคม เขาจะมีเทศกาลที่เรียกว่า โอบ้ง ซึ่งแต่ละครอบครัวจะเตรียมของเซ่นไหว้ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษและเดินทางไปไหว้หลุมศพของบรรพบุรุษ
แล้วก็ในช่วงปลายเทศกาลโอบ้ง เขาจะมีพิธีจุดไฟส่งดวงวิญญาณบรรพบุรุษกลับที่เรียกว่า「โอคุริบิ」และจะมีโทโรนากาชิซึ่งเป็นหนึ่งในพิธีโอคุริบิ คนญี่ปุ่นจะตั้งจิตอธิษฐานเพื่อขอบคุณเหล่าบรรพบุรุษที่ช่วยปกป้องคุ้มครองครอบครัวเสมอมาและลอยโคมไปตามแม่น้ำหรือทะเลพร้อมกับของเซ่นไหว้ โดยธรรมเนียมนี้ได้สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่อดีต
โทโรนางาชิ (とうろう流し) คือการลอยโคมไปสู่แม่น้ำหรือทะเลเพื่อแสดงความเสียใจกับการจากไปของบรรพบุรุษ แล้วในแต่ละท้องถิ่นของญี่ปุ่นจะมีพิธีการลอยโคมไฟแตกต่างกันไป
โทโร (灯籠)คือ อุปกรณ์ให้แสงสว่างภายนอกอาคารหรือกลางแจ้ง ที่ใช้กันในญี่ปุ่นมาตั้งแต่อดีต เราจะเห็นโทโรหรือโคมที่มีรูปร่างยาวแบบนี้ตามศาลเจ้าหรือวัดนั่นเอง โดยคนญี่ปุ่นจะใช้กระดาษหรือผ้ามาห่อหุ้มโครงที่ทำมาจากไม้ไผ่, ไม้, หิน หรือโลหะเพื่อไม่ให้ลมพัดแสงไฟจากเทียนที่อยู่ด้านในดับ
ส่วนคำว่า “นากาชิ” (流し)หมายถึงการทำให้ไหล
เมื่อนำ 2 คำมารวมกัน เป็น “โทโรนากาชิ” จึงหมายถึงการลอยโคมนั่นเอง
ส่วนโทโรหรือโคมที่ใช้ในงานโทโรนากาชิ (หรือการลอยโคม) จะมีขนาดเล็กเพื่อให้สามารถลอยน้ำได้ ส่วนใหญ่บริเวณผ้าหรือกระดาษที่ห่อหุ้มโคมจะสามารถเขียนข้อความหรือวาดภาพลงไปได้ด้วย
โคมที่ใช้ลอยนั้นมี 2 ชนิด ได้แก่「โคมที่ระลึก」และ「โคมแห่งการอวยพร」โดยเราจะสามารถอวยพร หรือขอสิ่งที่ต้องการได้ เมื่อเราปล่อยโคมให้ลอยไป แสงของโคมที่ล่องลอยอยู่ในแม่น้ำนั้นมันช่างสวยงามเสียนี่กระไร
เมื่อสมัยก่อนโคมจะถูกนำไปลอยตามแม่น้ำหรือทะเล แล้วปล่อยทิ้งไปเลย แต่ในปัจจุบันได้มีการเก็บโคมไฟที่ลอยไปตามน้ำสักระยะหนึ่งแล้ว เพื่อเป็นการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยจะมีคนไปคอยเก็บโคมไฟที่ปลายน้ำ จะว่าไปก็คล้ายๆ คนไทยนะคะ มีการเก็บกระทงจากแหล่งน้ำที่มีการลอยในเวลาต่อมา
สำหรับคนที่ไปเที่ยวชมงานโทโรนางาชินั่น เราก็สามารถหาซื้อโคมลอยได้จากหน้างานเช่นเดียวกับงานลอยกระทงบ้านเรานี่เอง
แล้วก็ในช่วงปลายเทศกาลโอบ้ง เขาจะมีพิธีจุดไฟส่งดวงวิญญาณบรรพบุรุษกลับที่เรียกว่า「โอคุริบิ」และจะมีโทโรนากาชิซึ่งเป็นหนึ่งในพิธีโอคุริบิ คนญี่ปุ่นจะตั้งจิตอธิษฐานเพื่อขอบคุณเหล่าบรรพบุรุษที่ช่วยปกป้องคุ้มครองครอบครัวเสมอมาและลอยโคมไปตามแม่น้ำหรือทะเลพร้อมกับของเซ่นไหว้ โดยธรรมเนียมนี้ได้สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่อดีต
โทโรนางาชิ (とうろう流し) คือการลอยโคมไปสู่แม่น้ำหรือทะเลเพื่อแสดงความเสียใจกับการจากไปของบรรพบุรุษ แล้วในแต่ละท้องถิ่นของญี่ปุ่นจะมีพิธีการลอยโคมไฟแตกต่างกันไป
โทโร (灯籠)คือ อุปกรณ์ให้แสงสว่างภายนอกอาคารหรือกลางแจ้ง ที่ใช้กันในญี่ปุ่นมาตั้งแต่อดีต เราจะเห็นโทโรหรือโคมที่มีรูปร่างยาวแบบนี้ตามศาลเจ้าหรือวัดนั่นเอง โดยคนญี่ปุ่นจะใช้กระดาษหรือผ้ามาห่อหุ้มโครงที่ทำมาจากไม้ไผ่, ไม้, หิน หรือโลหะเพื่อไม่ให้ลมพัดแสงไฟจากเทียนที่อยู่ด้านในดับ
ส่วนคำว่า “นากาชิ” (流し)หมายถึงการทำให้ไหล
เมื่อนำ 2 คำมารวมกัน เป็น “โทโรนากาชิ” จึงหมายถึงการลอยโคมนั่นเอง
ส่วนโทโรหรือโคมที่ใช้ในงานโทโรนากาชิ (หรือการลอยโคม) จะมีขนาดเล็กเพื่อให้สามารถลอยน้ำได้ ส่วนใหญ่บริเวณผ้าหรือกระดาษที่ห่อหุ้มโคมจะสามารถเขียนข้อความหรือวาดภาพลงไปได้ด้วย
โคมที่ใช้ลอยนั้นมี 2 ชนิด ได้แก่「โคมที่ระลึก」และ「โคมแห่งการอวยพร」โดยเราจะสามารถอวยพร หรือขอสิ่งที่ต้องการได้ เมื่อเราปล่อยโคมให้ลอยไป แสงของโคมที่ล่องลอยอยู่ในแม่น้ำนั้นมันช่างสวยงามเสียนี่กระไร
เมื่อสมัยก่อนโคมจะถูกนำไปลอยตามแม่น้ำหรือทะเล แล้วปล่อยทิ้งไปเลย แต่ในปัจจุบันได้มีการเก็บโคมไฟที่ลอยไปตามน้ำสักระยะหนึ่งแล้ว เพื่อเป็นการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยจะมีคนไปคอยเก็บโคมไฟที่ปลายน้ำ จะว่าไปก็คล้ายๆ คนไทยนะคะ มีการเก็บกระทงจากแหล่งน้ำที่มีการลอยในเวลาต่อมา
สำหรับคนที่ไปเที่ยวชมงานโทโรนางาชินั่น เราก็สามารถหาซื้อโคมลอยได้จากหน้างานเช่นเดียวกับงานลอยกระทงบ้านเรานี่เอง
Posted by mod at
15:23
│Comments(0)