› 日本が好き › 2016年04月
2016年04月28日
คิวโด (弓道) วิถีแห่งผู้กล้า
ถ้าพูดถึงประเทศญี่ปุ่นแล้ว ไม่ได้มีแต่ความงามและความน่ารักเท่านั้น แต่ประเทศญี่ปุ่นยังเป็นชนชาติที่มีเลือดนักสู้อย่างเต็มเปี่ยมด้วย แล้วศิลปะการต่อสู้ของญี่ปุ่นก็ได้กระจายไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นคาราเต้ เคนโด ยูโด ฯลฯ
ศิลปะการต่อสู้ของญี่ปุ่นที่เรียกว่า "บูโด" ซึ่งมีความหมายว่า “วิถีแห่งความกล้า” ที่ปรับเปลี่ยนมาจาก “บุจุทซึ” ที่มีความหมายว่า “วิถีแห่งการต่อสู้”
บูโดนั้นจะเป็นการฝึกฝนร่างกาย มีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับจิตวิญญาณและการควบคุมสมาธิของตนเองเป็นหลัก
วันนี้จะขอหยิบยกศิลปะการต่อสู้ที่เรียกว่า “คิวโด (弓道) มาคุยกัน
คิวโด “弓道” นับว่าเป็นหนึ่งในศิลปะการต่อสู้ที่งดงามที่สุดอย่างหนึ่งของญี่ปุ่น แต่เดิมนั้นเริ่มต้นมาจากการฝึกยิงธนูของเหล่าซามูไร และขุนนาง แต่ต่อมาเมื่อหมดยุดของสงคราม ศิลปะการฝึกยิงธนูให้แม่นยำจึงถูกเปลี่ยนมาใช้ฝึกยิงเพื่อฝึกฝนสมาธิและจิตใจของตัวเองแทน แต่ยังคงมีบางพื้นที่ของญี่ปุ่นที่ใช้ศิลปะการยิงธนูนี้ ประกอบในพิธีหลายอย่างในโอกาสสำคัญ เช่น พิธียาบุซาเมะ(流鏑馬式) และพิธีไล่ยักษ์(追儺式) เป็นต้น
คิวโดจะทำการแข่งขันกันโดยใช้คันธนูญี่ปุ่นยิงลูกธนูให้เข้าเป้าที่ห่างออกไป แบ่งคร่าวๆ คือ
ชนิดแรกคือการยิง "เป้าระยะใกล้" ในร่ม(近的)หรือเป้าเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 36 ซม. ที่ยิงจากระยะ 28 เมตร อย่างที่เราเห็นกันปกตินั่นเอง
ชนิดที่สองก็คือการยิง "เป้าระยะไกล" กลางแจ้ง(遠的)เป้าแบบนี้เป็นเป้าขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ยิงจากระยะ 60 เมตร
แล้วสองเป้านี้ใช้ลูกธนูไม่เหมือนกัน ลูกธนูที่ใช้กับเป้าใกล้คือ "ลูกคินเทคิ"(近的矢)เป็นลูกธนูแบบปกติตามที่เราเห็นกันทั่วไปในคิวโด
ลูกธนูที่ใช้กับเป้าไกลคือ "ลูกเอนเทคิ"(遠的矢)ลูกธนูแบบนี้จะต่างจากลูกปกติคือ ตัวก้านจะผอมกว่า เบากว่า และปีกจะบางกว่า เพื่อให้ลู่ลมขณะวิ่งผ่านอากาศ นอกจากนี้ยังใช้หัวธนูหัวแหลมอีกด้วย
ทั้งนี้ทั้งนั้น ลูกธนูปกติก็สามารถใช้ยิงเป้าไกลได้ ไม่มีปัญหาอะไร เพราะจะยิงถูกหรือไม่มันก็ขึ้นอยู่กับคนยิง อุปกรณ์มีส่วนช่วยเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในการแข่งขันนั้นท่าทางในการยิงจะนำมาคิดรวมเป็นคะแนนด้วย
เป้าหมายหลัก 3 อย่างของคิวโด
真 (Shin) ความจริง ความเที่ยงแท้
善 (Zen) ความสงบ
美 (Bi) ความงาม
ในการฝึกฝนคิวโดนั้น ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อการยิงเป้าทำคะแนน แต่มีเป้าหมายเพื่อฝึกฝนและพัฒนาจิตใจและสมาธิของผู้ฝึก
การเตรียมพร้อม เตรียมตัวในการยิงคิวโดแบบขั้นพื้นฐาน มีทั้งหมด 8 ขั้นตอน (ทั้ง8ขั้นตอนนี้จะเป็นกฎสากลของสมาคมยิงธนูญี่ปุ่นแห่งชาติ แต่ขั้นตอนการฝึกสอนจะต่างไปตามแต่ละที่และสำนัก)
❶ 足踏み(อะชิบุมิ) = การเตรียมท่ายืนให้พร้อมในการยิงธนู
•มือสองข้างวางไว้บนสะโพกช่วงกระดูกตรงสะโพก (腰骨:こしほね)
•หันหน้ามองเป้า ลากเท้าซ้ายออกไปด้านข้างครึ่งก้าว (เข่าห้ามงอ)
•หันหน้ากลับมามองตรง เหลือบมองปลายเท้าระหว่างลากเท้าขวาออกไปอีกครึ่งก้าว
•จุดสำคัญ: ต้องเปิดเท้าประมาณ 60 องศา และให้ลำตัวอยู่ตรงกลางระหว่างเท้าทั้งสอง ลำตัวตรง
❷ 胴造り(โดสึคุริ) = การจัดระเบียบร่างกาย.
•เลื่อนมือซ้าย (ที่ถือคันธนู) ออกมาด้านหน้าพร้อมๆมือขวา ลักษณะจะเหมือนเรากำลังกอดม้วนผ้าห่มใหญ่ๆอยู่ แขนจะงอๆ ไม่ตึง
•มือซ้ายกำมือหลวมๆ เหมือนกำลังกำลูกกอล์ฟอยู่ ให้ตรงอุ้งมือมีพื้นที่เหลือ (ครูบอกว่าคนไม่เหมือนลิง... ถ้าเป็นลิงจะกำมือแน่นเป็นกำปั้น... เราเลยว่า งั้นจำเป็นคอยระวัง ถ้าอยากเป็นคนต้องกำหลวมๆ เข้าไว้ =P) นิ้วโป้งอย่างอ นิ้วชี้ก็ปล่อยฟรี ถ้าจะดีให้ทำท่าเป็นเหมือนตะขอเข้าไว้
•มือขวา.. หัดให้นิ้วชี้และนิ้วกลางมาคร่อมนิ้วโป้งไว้ เก็บนิ้วนางกับนิ้วก้อยดีๆ
•ตั้งท่าได้แล้ว เก็บมือขวากลับไปวางไว้บนกระดูกสะโพกเหมือนเดิม
•(ถ้ามีธนูอยู่ในมือด้วย... ก็ให้เอาปลายคันธนูด้านล่างวางไว้บนเข่าซ้าย มือจะอยู่ระดับเหนือเอวนิดหน่อย... ขั้นนี้จะเป็นขั้นตอนใส่ลูกธนูกับสาย... ให้ตรวจดูลำสายธนู ตรวจดูทิศทางลูกธนู และตรวจทิศทางสู่เป้า)
•อย่าลืม !.... ตัวตรง (ไม่ค่อมและไม่แอ่น!! (ลำบากมากสำหรับคนรำไทยอย่างเรา.. หลังมันคอยจะแอ่นธรรมชาติเรื่อยเลย นี่ล่ะ.. ทำให้ต้องมีสมาธิมากๆในการฝึก))
❸ 弓構え(ยุคะม่าย) = การเตรียมท่าจับธนู.
•取懸 (torikake) - จัดตำแหน่งมือขวามาจับสายธนู ประคองลูกธนู
•手の内 (tenouchi) - จัดตำแหน่งมือซ้ายให้ถือคันธนูให้เหมาะ
•物見 (monomi) - หันหน้าทางซ้ายมองเป้า
❹ 打起こし(อุจิ โอโกะชิ) = การยกคันธนูขึ้น.
•เคลื่อนมือขึ้นสูงเหนือหัว โดยให้รักษาตำแหน่งมือเหมือนกับในท่า yugamae ก่อนหน้านี้
•ระวัง! อย่าให้ไหล่ยกสูง แขนไม่ยืดตึง ให้ยกไปทั้งดุ้นเลย ตัวตรง
❺ 引き分け(ฮิกิ วะเกะ) = การดึงธนูลงให้อยู่ในระดับเตรียมยิง.
•เริ่มด้วยการจัดตำแหน่ง 大三(daisan) หรือการเลื่อนธนูจากท่า hikiokoshi ไปด้านซ้าย (รูปกลางด้านบน) นิ้วชี้มือซ้ายรอรับธนู แขนซ้ายตึง ข้อพับแขนซ้ายจะอยู่ในระนาบเดียวกับทิศทางเข้าสู่เป้าหมาย แขนขวาจะตึงๆช่วง tricep ให้ความรู้สึกเหมือนว่าแขนเรายังเป็นส่วนนึงของลูกธนู ระนาบความสูงของมือเท่ากับตอนอยู่ในท่า hikiokoshi
•จากนั้นใช้โมแมนตั้มแขนทั้งสองข้างถ่วงคันธนูลงมาให้อยู่ในท่าเตรียมยิง
•ระวัง! เวลาเลื่อนธนูลง อย่าใช้แขนดึงสายให้กางออก ให้ใช้โมแมนตั้มของกล้ามเนื้อแผ่นหลังดึงลงมา (ถ้าใช้แขนดึงวงจะแคบ และจะไม่มีแรงส่งปล่อยลูกธนู) แล้วก็อย่าหันหน้าหนีสายธนู ให้รักษาระเบียบร่างกายไว้เหมือนท่าก่อนๆหน้านี้
❻ 会(ไค) = ท่าเตรียมพร้อมยิง.
•เป็นตำแหน่งเตรียมพร้อมจะยิงหลังจากที่ดึงคันธนูลงมาเรียบร้อยแล้ว
•มือขวาจะอยู่ระดับติ่งหู ให้ลูกธนูพาดจากช่วงติ่งหู ผ่านปากไป
•ดึงคันธนูและสายแยกออกซ้ายขวา (ใช้กล้ามเนื้อหลังเหมือนเดิม ไม่ใช้มือ) ค้างไว้ประมาณ 3 วินาที
•อย่าลืมตำแหน่ง monomi!
❼ 離れ(ฮะนะเระ) = ปล่อยลูกธนู.
•คือจังหวะที่ลูกธนูหลุดออกจากสายธนู ความรู้ึสึกจะเหมือนร่างกายระเบิด ใส่กำลังลงในกล้ามเนื้อหลัง แขนขวากางออก
❽ 残心(ซังชิง) = คุมสภาพร่างกายจิตใจ
•เป็นการทิ้งร่างกายหลังจากที่ปล่อยลูกธนูให้ผ่านออกไป ลักษณะจะเหมือนอักษรจีนเลข 10 ทิ้งร่างกายไว้ประมาณ 3 วินาที ทำสมาธิ แล้วค่อยๆเก็บมือมาวางบนกระดูกสะโพกเหมือนเดิม
•หันหน้ากลับมาหน้าตรง แล้วค่อยๆลากเท้าเก็บ (เริ่มจากเท้าขวา→ซ้าย) เข่าไม่งอ
ใครสนใจการยิงธนูก็สามารถหาที่เรียนได้นะคะ
ขอขอบคุณ : ข้อมูลจาก GotoKnow
ศิลปะการต่อสู้ของญี่ปุ่นที่เรียกว่า "บูโด" ซึ่งมีความหมายว่า “วิถีแห่งความกล้า” ที่ปรับเปลี่ยนมาจาก “บุจุทซึ” ที่มีความหมายว่า “วิถีแห่งการต่อสู้”
บูโดนั้นจะเป็นการฝึกฝนร่างกาย มีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับจิตวิญญาณและการควบคุมสมาธิของตนเองเป็นหลัก
วันนี้จะขอหยิบยกศิลปะการต่อสู้ที่เรียกว่า “คิวโด (弓道) มาคุยกัน
คิวโด “弓道” นับว่าเป็นหนึ่งในศิลปะการต่อสู้ที่งดงามที่สุดอย่างหนึ่งของญี่ปุ่น แต่เดิมนั้นเริ่มต้นมาจากการฝึกยิงธนูของเหล่าซามูไร และขุนนาง แต่ต่อมาเมื่อหมดยุดของสงคราม ศิลปะการฝึกยิงธนูให้แม่นยำจึงถูกเปลี่ยนมาใช้ฝึกยิงเพื่อฝึกฝนสมาธิและจิตใจของตัวเองแทน แต่ยังคงมีบางพื้นที่ของญี่ปุ่นที่ใช้ศิลปะการยิงธนูนี้ ประกอบในพิธีหลายอย่างในโอกาสสำคัญ เช่น พิธียาบุซาเมะ(流鏑馬式) และพิธีไล่ยักษ์(追儺式) เป็นต้น
คิวโดจะทำการแข่งขันกันโดยใช้คันธนูญี่ปุ่นยิงลูกธนูให้เข้าเป้าที่ห่างออกไป แบ่งคร่าวๆ คือ
ชนิดแรกคือการยิง "เป้าระยะใกล้" ในร่ม(近的)หรือเป้าเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 36 ซม. ที่ยิงจากระยะ 28 เมตร อย่างที่เราเห็นกันปกตินั่นเอง
ชนิดที่สองก็คือการยิง "เป้าระยะไกล" กลางแจ้ง(遠的)เป้าแบบนี้เป็นเป้าขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ยิงจากระยะ 60 เมตร
แล้วสองเป้านี้ใช้ลูกธนูไม่เหมือนกัน ลูกธนูที่ใช้กับเป้าใกล้คือ "ลูกคินเทคิ"(近的矢)เป็นลูกธนูแบบปกติตามที่เราเห็นกันทั่วไปในคิวโด
ลูกธนูที่ใช้กับเป้าไกลคือ "ลูกเอนเทคิ"(遠的矢)ลูกธนูแบบนี้จะต่างจากลูกปกติคือ ตัวก้านจะผอมกว่า เบากว่า และปีกจะบางกว่า เพื่อให้ลู่ลมขณะวิ่งผ่านอากาศ นอกจากนี้ยังใช้หัวธนูหัวแหลมอีกด้วย
ทั้งนี้ทั้งนั้น ลูกธนูปกติก็สามารถใช้ยิงเป้าไกลได้ ไม่มีปัญหาอะไร เพราะจะยิงถูกหรือไม่มันก็ขึ้นอยู่กับคนยิง อุปกรณ์มีส่วนช่วยเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในการแข่งขันนั้นท่าทางในการยิงจะนำมาคิดรวมเป็นคะแนนด้วย
เป้าหมายหลัก 3 อย่างของคิวโด
真 (Shin) ความจริง ความเที่ยงแท้
善 (Zen) ความสงบ
美 (Bi) ความงาม
ในการฝึกฝนคิวโดนั้น ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อการยิงเป้าทำคะแนน แต่มีเป้าหมายเพื่อฝึกฝนและพัฒนาจิตใจและสมาธิของผู้ฝึก
การเตรียมพร้อม เตรียมตัวในการยิงคิวโดแบบขั้นพื้นฐาน มีทั้งหมด 8 ขั้นตอน (ทั้ง8ขั้นตอนนี้จะเป็นกฎสากลของสมาคมยิงธนูญี่ปุ่นแห่งชาติ แต่ขั้นตอนการฝึกสอนจะต่างไปตามแต่ละที่และสำนัก)
❶ 足踏み(อะชิบุมิ) = การเตรียมท่ายืนให้พร้อมในการยิงธนู
•มือสองข้างวางไว้บนสะโพกช่วงกระดูกตรงสะโพก (腰骨:こしほね)
•หันหน้ามองเป้า ลากเท้าซ้ายออกไปด้านข้างครึ่งก้าว (เข่าห้ามงอ)
•หันหน้ากลับมามองตรง เหลือบมองปลายเท้าระหว่างลากเท้าขวาออกไปอีกครึ่งก้าว
•จุดสำคัญ: ต้องเปิดเท้าประมาณ 60 องศา และให้ลำตัวอยู่ตรงกลางระหว่างเท้าทั้งสอง ลำตัวตรง
❷ 胴造り(โดสึคุริ) = การจัดระเบียบร่างกาย.
•เลื่อนมือซ้าย (ที่ถือคันธนู) ออกมาด้านหน้าพร้อมๆมือขวา ลักษณะจะเหมือนเรากำลังกอดม้วนผ้าห่มใหญ่ๆอยู่ แขนจะงอๆ ไม่ตึง
•มือซ้ายกำมือหลวมๆ เหมือนกำลังกำลูกกอล์ฟอยู่ ให้ตรงอุ้งมือมีพื้นที่เหลือ (ครูบอกว่าคนไม่เหมือนลิง... ถ้าเป็นลิงจะกำมือแน่นเป็นกำปั้น... เราเลยว่า งั้นจำเป็นคอยระวัง ถ้าอยากเป็นคนต้องกำหลวมๆ เข้าไว้ =P) นิ้วโป้งอย่างอ นิ้วชี้ก็ปล่อยฟรี ถ้าจะดีให้ทำท่าเป็นเหมือนตะขอเข้าไว้
•มือขวา.. หัดให้นิ้วชี้และนิ้วกลางมาคร่อมนิ้วโป้งไว้ เก็บนิ้วนางกับนิ้วก้อยดีๆ
•ตั้งท่าได้แล้ว เก็บมือขวากลับไปวางไว้บนกระดูกสะโพกเหมือนเดิม
•(ถ้ามีธนูอยู่ในมือด้วย... ก็ให้เอาปลายคันธนูด้านล่างวางไว้บนเข่าซ้าย มือจะอยู่ระดับเหนือเอวนิดหน่อย... ขั้นนี้จะเป็นขั้นตอนใส่ลูกธนูกับสาย... ให้ตรวจดูลำสายธนู ตรวจดูทิศทางลูกธนู และตรวจทิศทางสู่เป้า)
•อย่าลืม !.... ตัวตรง (ไม่ค่อมและไม่แอ่น!! (ลำบากมากสำหรับคนรำไทยอย่างเรา.. หลังมันคอยจะแอ่นธรรมชาติเรื่อยเลย นี่ล่ะ.. ทำให้ต้องมีสมาธิมากๆในการฝึก))
❸ 弓構え(ยุคะม่าย) = การเตรียมท่าจับธนู.
•取懸 (torikake) - จัดตำแหน่งมือขวามาจับสายธนู ประคองลูกธนู
•手の内 (tenouchi) - จัดตำแหน่งมือซ้ายให้ถือคันธนูให้เหมาะ
•物見 (monomi) - หันหน้าทางซ้ายมองเป้า
❹ 打起こし(อุจิ โอโกะชิ) = การยกคันธนูขึ้น.
•เคลื่อนมือขึ้นสูงเหนือหัว โดยให้รักษาตำแหน่งมือเหมือนกับในท่า yugamae ก่อนหน้านี้
•ระวัง! อย่าให้ไหล่ยกสูง แขนไม่ยืดตึง ให้ยกไปทั้งดุ้นเลย ตัวตรง
❺ 引き分け(ฮิกิ วะเกะ) = การดึงธนูลงให้อยู่ในระดับเตรียมยิง.
•เริ่มด้วยการจัดตำแหน่ง 大三(daisan) หรือการเลื่อนธนูจากท่า hikiokoshi ไปด้านซ้าย (รูปกลางด้านบน) นิ้วชี้มือซ้ายรอรับธนู แขนซ้ายตึง ข้อพับแขนซ้ายจะอยู่ในระนาบเดียวกับทิศทางเข้าสู่เป้าหมาย แขนขวาจะตึงๆช่วง tricep ให้ความรู้สึกเหมือนว่าแขนเรายังเป็นส่วนนึงของลูกธนู ระนาบความสูงของมือเท่ากับตอนอยู่ในท่า hikiokoshi
•จากนั้นใช้โมแมนตั้มแขนทั้งสองข้างถ่วงคันธนูลงมาให้อยู่ในท่าเตรียมยิง
•ระวัง! เวลาเลื่อนธนูลง อย่าใช้แขนดึงสายให้กางออก ให้ใช้โมแมนตั้มของกล้ามเนื้อแผ่นหลังดึงลงมา (ถ้าใช้แขนดึงวงจะแคบ และจะไม่มีแรงส่งปล่อยลูกธนู) แล้วก็อย่าหันหน้าหนีสายธนู ให้รักษาระเบียบร่างกายไว้เหมือนท่าก่อนๆหน้านี้
❻ 会(ไค) = ท่าเตรียมพร้อมยิง.
•เป็นตำแหน่งเตรียมพร้อมจะยิงหลังจากที่ดึงคันธนูลงมาเรียบร้อยแล้ว
•มือขวาจะอยู่ระดับติ่งหู ให้ลูกธนูพาดจากช่วงติ่งหู ผ่านปากไป
•ดึงคันธนูและสายแยกออกซ้ายขวา (ใช้กล้ามเนื้อหลังเหมือนเดิม ไม่ใช้มือ) ค้างไว้ประมาณ 3 วินาที
•อย่าลืมตำแหน่ง monomi!
❼ 離れ(ฮะนะเระ) = ปล่อยลูกธนู.
•คือจังหวะที่ลูกธนูหลุดออกจากสายธนู ความรู้ึสึกจะเหมือนร่างกายระเบิด ใส่กำลังลงในกล้ามเนื้อหลัง แขนขวากางออก
❽ 残心(ซังชิง) = คุมสภาพร่างกายจิตใจ
•เป็นการทิ้งร่างกายหลังจากที่ปล่อยลูกธนูให้ผ่านออกไป ลักษณะจะเหมือนอักษรจีนเลข 10 ทิ้งร่างกายไว้ประมาณ 3 วินาที ทำสมาธิ แล้วค่อยๆเก็บมือมาวางบนกระดูกสะโพกเหมือนเดิม
•หันหน้ากลับมาหน้าตรง แล้วค่อยๆลากเท้าเก็บ (เริ่มจากเท้าขวา→ซ้าย) เข่าไม่งอ
ใครสนใจการยิงธนูก็สามารถหาที่เรียนได้นะคะ
ขอขอบคุณ : ข้อมูลจาก GotoKnow
Posted by mod at
13:34
│Comments(0)
2016年04月26日
一番茶 ใบชาแรกผลิ
เวลาช่างเดินไวราวกับโกหกเลยนะคะ อีกไม่กี่วันก็จะเข้าสู่เดือนพฤษภาคม เดือนที่ 5 ของปีแล้ว เดือนพฤษภาคมสำหรับประเทศไทย ก็จะช่วงของการเปิดเทอมใหม่ของเด็กๆ
สำหรับญี่ปุ่นก็จะเข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวชา นั่นก็คือ Cha Tsumi (茶つみ) จะเป็นการเก็บใบชาอ่อนหลังจากเริ่มฤดูใบไม้ผลิแล้วราว 88 วัน เราเรียกใบชาชนิดนี้ว่า อิจิบังฉะ (一番茶) หรือใบชาแรกผลิ จะเป็นใบชาเกรดหนึ่ง ซึ่งเด็ดเป็นครั้งแรกของฤดูกาลนั้น จะมีรสอร่อย มีกลิ่นหอม ซึ่งคนญี่ปุ่นนิยมดื่มกัน ในอดีตที่เคยปฏิบัติกันมา จะใช้คนเก็บใบชาจากต้น แต่จากภาวการณ์ขาดแคลนแรงงานคน ทำให้ปัจจุบันต้องใช้เครื่องจักรเข้าช่วย
ในประเทศญี่ปุ่นมีแหล่งเพาะปลูกชาเขียวหลัก ๆ ได้แก่ เมือง Uji จังหวัด Kyoto , จังหวัด Shizuoka และจังหวัด Kagoshima
ช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวยอดชาเขียวในญี่ปุ่นแบ่งออกเป็น
•Shincha (新茶)หรือ Ichibancha (一番茶) คือ การเก็บเกี่ยวชาในครั้งแรก หรือ ชาใหม่ ซึ่งจะเก็บเกี่ยวในช่วงปลายเดือนเมษายนถึงกลาง
พฤษภาคม
•Nibancha (二番茶) การเก็บเกี่ยวชาในครั้งที่สอง จะเก็บเกี่ยวในช่วงกลางเดือนมิถุนายนถึงต้นกรกฎาคม
•Sanbancha (三番茶)การเก็บเกี่ยวชาในครั้งที่สาม จะเก็บเกี่ยวช่วงปลายเดือนกรกฎาคมถึงต้นสิงหาคม
•Yonbancha (四番茶)การเก็บเกี่ยวชาในครั้งที่สี่ ในบางพื้นที่ จะเก็บเกี่ยวกันในช่วงปลายเดือนกันยายนถึงต้นตุลาคม
•ส่วนชาที่เหลือจากปีก่อนๆ เรียกว่า Kocha (古茶) หมายถึง ชาเก่า
โดยชาวญี่ปุ่นเชื่อกันว่า ผู้ที่ได้ดื่ม shin-cha ของปีนั้นจะมีสุขภาพดีไปตลอดทั้งปี ด้วยความเชื่อนี้บวกกับกลิ่นสดใหม่และรสชาติหวานหอมจากใบอ่อน และจำนวนกรดอะมิโนที่มีอยู่สูงมาก ชาชนิดนี้จึงมีราคาสูง และหาได้ค่อนข้างยากนอกประเทศญี่ปุ่น
วิธีการเก็บชาเขียว
•การเก็บเกี่ยวชาเขียวนั้นมีอยู่สามวิธี ได้แก่ ใช้มือเด็ด ใช้กรรไกรตัด และใช้เครื่องจักร
•การเก็บยอดใบชาที่ดี คือ นับจำนวนยอดช่อแรกให้ได้สามใบแล้วเด็ดยอดชาอ่อนได้เลย
พอพูดถึงยอดชาอ่อนก็ทำให้นึกไปถึงโฆษณาเมื่อ 10 กว่าปี คนไทยทั้งประเทศจะคุ้นเคยกับวลีเด็ดที่ว่า “新芽 ちょうだい” (ชินเม โจได๋) ที่หนอนชาเขียวพูดสะกดจิตชาวสวน คำว่า “新芽” ก็คือยอดอ่อนของพืช ส่วนคำว่า “ちょうだい” มีความหมายว่า ขอ…. มีความหมายเหมือนกับคำว่า “ください” (Kudasai) ดังนั้นประโยคที่เจ้าหนอนชาเขียวพูดว่า “新芽ちょうだい 新芽ちょうだい” ก็เป็นการสะกดจิตว่า “ส่งยอดอ่อนชาเขียวมานะ ส่งยอดอ่อนชาเขียวมานะ” นั่นเอง
แล้วที่ญี่ปุ่นเขาก็มีทริปกิจกรรมเก็บชาเขียวกันด้วยนะคะ ใครสนใจก็ไปร่วมได้ค่ะ
การเตรียมไปเป็นสาวเก็บใบชา
ก่อนจะเริ่มกิจกรรมเก็บชา เราก็ต้องมาเตรียมตัวกันก่อน ด้วยการเปลี่ยนเสื้อผ้ากันก่อน อย่างเช่นที่ไร่ชา Nihondaira ที่จังหวัด Shizuoka เจ้าหน้าที่ของไร่ชา จะนำเครื่องแต่งกายมาให้ทุกท่านได้เปลี่ยนกัน โดยจะมีชุดพนักงานเก็บชา ตะกร้าสะพายหลังสำหรับใส่ใบชา ผ้าคลุมผม โดยทั้งผู้ชายและผู้หญิงจะใส่ชุดเหมือนกัน เมื่อเตรียมตัว เมื่อแต่งกายเรียบร้อยแล้ว ก็ไปเก็บชากันได้
พนักงานจะพาทุกคนเดินขึ้นไปที่ไร่ชา จากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้นตอน “การเก็บใบชา” (Tea plucking) เป็นขั้นตอนที่สำคัญเนื่องจากต้องอาศัยความละเอียดในการเก็บ การเก็บใบชาให้ได้ใบชาที่มีคุณภาพดีต้องใช้แรงงานคนในการเก็บ การเก็บจะต้องเลือกเก็บเฉพาะยอดชาที่ตูมและใบที่ต่ำจากยอดตูมลงมา 2-3 ใบ (เก็บ 1 ยอด 2-3 ใบ) เนื่องจากสารประกอบพอลิฟีนอลซึ่งเป็นสารสำคัญที่ส่งผลต่อสี กลิ่น และรสชาติของชาจะมีอยู่มากเฉพาะในยอดชาเท่านั้น
คนญี่ปุ่นเรียกชาเขียวพวกนี้ว่า “เรียวกุฉะ” (緑茶 – Ryokucha) แปลว่า ชาที่มีสีเขียว นั่นเอง เป็นชาที่คนญี่ปุ่นนิยมดื่มมากที่สุด ชาเขียวญี่ปุ่นมีอยู่มากมายหลายชนิด เราสามารถแบ่งชนิดของชาเขียวได้จากวิธีการปลูก, วิธีการผลิต, และช่วงเวลาของการเก็บเกี่ยว ซึ่งหลักๆ แล้ว ชาเขียวญี่ปุ่นจะแบ่งเป็น 3 เกรด ดังนี้
1.เกียวคุโระ (玉露 – Gyokuro)
ชาเขียวที่มีคุณภาพดีที่สุด ทำจากใบชาที่เก็บเกี่ยวในครั้งแรกของปีราวเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน โดยต้นชาจะถูกคลุมไม่ให้โดนแดด 20-30 วันก่อนจะเก็บใบ ชาเขียวประเภทนี้นิยมใช้ในพิธีการต่างๆ เท่านั้น เพราะมีราคาแพงมาก โดยทั่วไปในญี่ปุ่นมีการผลิตชาเขียวเกียวคุโระไม่ถึง 1% ของการผลิตชาทั้งหมดในญี่ปุ่น
2.เซนฉะ (煎茶 – Sencha)
ชาเขียวระดับมาตรฐานที่มีคุณภาพรองจากเกียวคุโระ เป็นชาที่คนญี่ปุ่นดื่มในชีวิตประจำวัน มีการผลิตชาเขียวเซนฉะมากถึง 80% ของชาที่ผลิตในประเทศทั้งหมด ชาเขียวเซนฉะใช้ใบชาที่ได้จากการเก็บเกี่ยวในครั้งแรกหรือครั้งที่สองก็ได้ จะเป็นใบชาที่มีการปลูกโดนแสงแดดตลอดเวลาจนถึงช่วงเก็บเกี่ยว หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วจะนำใบชาไปอบไอน้ำทันทีและม้วนภายในระยะเวลาที่สั้นที่สุด
3.บันฉะ (番茶 – Bancha) หรือ โฮจิฉะ (ほうじ茶 – Hojicha)
ชาเขียวที่มีคุณภาพต่ำที่สุด เนื่องจากใช้ใบชาส่วนที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวในช่วงแรงและช่วงที่สอง ส่วนใหญ่จะทำจากใบชาที่มีลักษณะเป็นใบแข็ง ไม่ค่อยสมบูรณ์ มีสีน้ำตาลอ่อนออกเหลือง และมีรสชาติขมกว่าเกียวคุโระและเซนฉะ ถ้าเรานำบันฉะไปอบด้วยความร้อนในอุณหภูมิที่พอเหมาะ จะได้ใบชาหอม สีน้ำตาลแดง เรียกว่า “โฮจิฉะ” นั่นเอง
นอกจากชาเขียว 3 ประเภทที่เล่ามานี้ ยังมีชาเขียวอีกประเภทหนึ่งที่มีชื่อเสียงมาก นั่นก็คือ มัตฉะ (抹茶 – Matcha) หรือ ชาเขียวผง (powdered green tea) มัตฉะเป็นชารูปแบบใหม่ที่พระเอย์ไซได้รับมาจากราชวงศ์ซ้อง (ค.ศ.960-1279) ของจีน โดยพระเอย์ไซได้นำยอดอ่อนใบชาสีเขียวสดที่เพิ่งเก็บมาอบด้วยไอน้ำ ตากให้แห้งในอุณหภูมิอุ่นกำลังดี จากนั้นก็นำใบชาไปบดให้ละเอียด นำผงชาเขียวที่ได้ใส่ลงในชาม เติมน้ำร้อน คนจนผงชาละลายแล้วนำมาดื่ม การบดชาเขียวจนเป็นผงจะช่วยให้ชาเขียวมีกลิ่นหอมและมีรสชาติกลมกล่อมขึ้น ซึ่งการดื่มชาในลักษณะนี้ได้กลายเป็นต้นแบบของชาที่ใช้ดื่มในพิธีชงชา (茶道 – Chadou) ที่มีชื่อเสียงนั่นเอง
สำหรับญี่ปุ่นก็จะเข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวชา นั่นก็คือ Cha Tsumi (茶つみ) จะเป็นการเก็บใบชาอ่อนหลังจากเริ่มฤดูใบไม้ผลิแล้วราว 88 วัน เราเรียกใบชาชนิดนี้ว่า อิจิบังฉะ (一番茶) หรือใบชาแรกผลิ จะเป็นใบชาเกรดหนึ่ง ซึ่งเด็ดเป็นครั้งแรกของฤดูกาลนั้น จะมีรสอร่อย มีกลิ่นหอม ซึ่งคนญี่ปุ่นนิยมดื่มกัน ในอดีตที่เคยปฏิบัติกันมา จะใช้คนเก็บใบชาจากต้น แต่จากภาวการณ์ขาดแคลนแรงงานคน ทำให้ปัจจุบันต้องใช้เครื่องจักรเข้าช่วย
ในประเทศญี่ปุ่นมีแหล่งเพาะปลูกชาเขียวหลัก ๆ ได้แก่ เมือง Uji จังหวัด Kyoto , จังหวัด Shizuoka และจังหวัด Kagoshima
ช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวยอดชาเขียวในญี่ปุ่นแบ่งออกเป็น
•Shincha (新茶)หรือ Ichibancha (一番茶) คือ การเก็บเกี่ยวชาในครั้งแรก หรือ ชาใหม่ ซึ่งจะเก็บเกี่ยวในช่วงปลายเดือนเมษายนถึงกลาง
พฤษภาคม
•Nibancha (二番茶) การเก็บเกี่ยวชาในครั้งที่สอง จะเก็บเกี่ยวในช่วงกลางเดือนมิถุนายนถึงต้นกรกฎาคม
•Sanbancha (三番茶)การเก็บเกี่ยวชาในครั้งที่สาม จะเก็บเกี่ยวช่วงปลายเดือนกรกฎาคมถึงต้นสิงหาคม
•Yonbancha (四番茶)การเก็บเกี่ยวชาในครั้งที่สี่ ในบางพื้นที่ จะเก็บเกี่ยวกันในช่วงปลายเดือนกันยายนถึงต้นตุลาคม
•ส่วนชาที่เหลือจากปีก่อนๆ เรียกว่า Kocha (古茶) หมายถึง ชาเก่า
โดยชาวญี่ปุ่นเชื่อกันว่า ผู้ที่ได้ดื่ม shin-cha ของปีนั้นจะมีสุขภาพดีไปตลอดทั้งปี ด้วยความเชื่อนี้บวกกับกลิ่นสดใหม่และรสชาติหวานหอมจากใบอ่อน และจำนวนกรดอะมิโนที่มีอยู่สูงมาก ชาชนิดนี้จึงมีราคาสูง และหาได้ค่อนข้างยากนอกประเทศญี่ปุ่น
วิธีการเก็บชาเขียว
•การเก็บเกี่ยวชาเขียวนั้นมีอยู่สามวิธี ได้แก่ ใช้มือเด็ด ใช้กรรไกรตัด และใช้เครื่องจักร
•การเก็บยอดใบชาที่ดี คือ นับจำนวนยอดช่อแรกให้ได้สามใบแล้วเด็ดยอดชาอ่อนได้เลย
พอพูดถึงยอดชาอ่อนก็ทำให้นึกไปถึงโฆษณาเมื่อ 10 กว่าปี คนไทยทั้งประเทศจะคุ้นเคยกับวลีเด็ดที่ว่า “新芽 ちょうだい” (ชินเม โจได๋) ที่หนอนชาเขียวพูดสะกดจิตชาวสวน คำว่า “新芽” ก็คือยอดอ่อนของพืช ส่วนคำว่า “ちょうだい” มีความหมายว่า ขอ…. มีความหมายเหมือนกับคำว่า “ください” (Kudasai) ดังนั้นประโยคที่เจ้าหนอนชาเขียวพูดว่า “新芽ちょうだい 新芽ちょうだい” ก็เป็นการสะกดจิตว่า “ส่งยอดอ่อนชาเขียวมานะ ส่งยอดอ่อนชาเขียวมานะ” นั่นเอง
แล้วที่ญี่ปุ่นเขาก็มีทริปกิจกรรมเก็บชาเขียวกันด้วยนะคะ ใครสนใจก็ไปร่วมได้ค่ะ
การเตรียมไปเป็นสาวเก็บใบชา
ก่อนจะเริ่มกิจกรรมเก็บชา เราก็ต้องมาเตรียมตัวกันก่อน ด้วยการเปลี่ยนเสื้อผ้ากันก่อน อย่างเช่นที่ไร่ชา Nihondaira ที่จังหวัด Shizuoka เจ้าหน้าที่ของไร่ชา จะนำเครื่องแต่งกายมาให้ทุกท่านได้เปลี่ยนกัน โดยจะมีชุดพนักงานเก็บชา ตะกร้าสะพายหลังสำหรับใส่ใบชา ผ้าคลุมผม โดยทั้งผู้ชายและผู้หญิงจะใส่ชุดเหมือนกัน เมื่อเตรียมตัว เมื่อแต่งกายเรียบร้อยแล้ว ก็ไปเก็บชากันได้
พนักงานจะพาทุกคนเดินขึ้นไปที่ไร่ชา จากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้นตอน “การเก็บใบชา” (Tea plucking) เป็นขั้นตอนที่สำคัญเนื่องจากต้องอาศัยความละเอียดในการเก็บ การเก็บใบชาให้ได้ใบชาที่มีคุณภาพดีต้องใช้แรงงานคนในการเก็บ การเก็บจะต้องเลือกเก็บเฉพาะยอดชาที่ตูมและใบที่ต่ำจากยอดตูมลงมา 2-3 ใบ (เก็บ 1 ยอด 2-3 ใบ) เนื่องจากสารประกอบพอลิฟีนอลซึ่งเป็นสารสำคัญที่ส่งผลต่อสี กลิ่น และรสชาติของชาจะมีอยู่มากเฉพาะในยอดชาเท่านั้น
คนญี่ปุ่นเรียกชาเขียวพวกนี้ว่า “เรียวกุฉะ” (緑茶 – Ryokucha) แปลว่า ชาที่มีสีเขียว นั่นเอง เป็นชาที่คนญี่ปุ่นนิยมดื่มมากที่สุด ชาเขียวญี่ปุ่นมีอยู่มากมายหลายชนิด เราสามารถแบ่งชนิดของชาเขียวได้จากวิธีการปลูก, วิธีการผลิต, และช่วงเวลาของการเก็บเกี่ยว ซึ่งหลักๆ แล้ว ชาเขียวญี่ปุ่นจะแบ่งเป็น 3 เกรด ดังนี้
1.เกียวคุโระ (玉露 – Gyokuro)
ชาเขียวที่มีคุณภาพดีที่สุด ทำจากใบชาที่เก็บเกี่ยวในครั้งแรกของปีราวเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน โดยต้นชาจะถูกคลุมไม่ให้โดนแดด 20-30 วันก่อนจะเก็บใบ ชาเขียวประเภทนี้นิยมใช้ในพิธีการต่างๆ เท่านั้น เพราะมีราคาแพงมาก โดยทั่วไปในญี่ปุ่นมีการผลิตชาเขียวเกียวคุโระไม่ถึง 1% ของการผลิตชาทั้งหมดในญี่ปุ่น
2.เซนฉะ (煎茶 – Sencha)
ชาเขียวระดับมาตรฐานที่มีคุณภาพรองจากเกียวคุโระ เป็นชาที่คนญี่ปุ่นดื่มในชีวิตประจำวัน มีการผลิตชาเขียวเซนฉะมากถึง 80% ของชาที่ผลิตในประเทศทั้งหมด ชาเขียวเซนฉะใช้ใบชาที่ได้จากการเก็บเกี่ยวในครั้งแรกหรือครั้งที่สองก็ได้ จะเป็นใบชาที่มีการปลูกโดนแสงแดดตลอดเวลาจนถึงช่วงเก็บเกี่ยว หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วจะนำใบชาไปอบไอน้ำทันทีและม้วนภายในระยะเวลาที่สั้นที่สุด
3.บันฉะ (番茶 – Bancha) หรือ โฮจิฉะ (ほうじ茶 – Hojicha)
ชาเขียวที่มีคุณภาพต่ำที่สุด เนื่องจากใช้ใบชาส่วนที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวในช่วงแรงและช่วงที่สอง ส่วนใหญ่จะทำจากใบชาที่มีลักษณะเป็นใบแข็ง ไม่ค่อยสมบูรณ์ มีสีน้ำตาลอ่อนออกเหลือง และมีรสชาติขมกว่าเกียวคุโระและเซนฉะ ถ้าเรานำบันฉะไปอบด้วยความร้อนในอุณหภูมิที่พอเหมาะ จะได้ใบชาหอม สีน้ำตาลแดง เรียกว่า “โฮจิฉะ” นั่นเอง
นอกจากชาเขียว 3 ประเภทที่เล่ามานี้ ยังมีชาเขียวอีกประเภทหนึ่งที่มีชื่อเสียงมาก นั่นก็คือ มัตฉะ (抹茶 – Matcha) หรือ ชาเขียวผง (powdered green tea) มัตฉะเป็นชารูปแบบใหม่ที่พระเอย์ไซได้รับมาจากราชวงศ์ซ้อง (ค.ศ.960-1279) ของจีน โดยพระเอย์ไซได้นำยอดอ่อนใบชาสีเขียวสดที่เพิ่งเก็บมาอบด้วยไอน้ำ ตากให้แห้งในอุณหภูมิอุ่นกำลังดี จากนั้นก็นำใบชาไปบดให้ละเอียด นำผงชาเขียวที่ได้ใส่ลงในชาม เติมน้ำร้อน คนจนผงชาละลายแล้วนำมาดื่ม การบดชาเขียวจนเป็นผงจะช่วยให้ชาเขียวมีกลิ่นหอมและมีรสชาติกลมกล่อมขึ้น ซึ่งการดื่มชาในลักษณะนี้ได้กลายเป็นต้นแบบของชาที่ใช้ดื่มในพิธีชงชา (茶道 – Chadou) ที่มีชื่อเสียงนั่นเอง
Posted by mod at
16:40
│Comments(0)
2016年04月25日
มุ่งสู่โคชิเอ็ง 甲子園!
อีกไม่กี่วันก็จะสิ้นเดือนเมษายนแล้วนะคะ แต่ความร้อนที่แผดเผาน่าจะยังคงอยู่ต่อไป วันนี้ไม่ได้มาคุยเรื่องความร้อนนะคะ ช่วงเสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสเก็บชั้นวางหนังสือการ์ตูน ก็ไปเจอการ์ตูนเรื่อง “ทัช” (タッチ) หรือในชื่อไทยว่า ทัช ยอดรักนักกีฬา เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องยาวที่ตอนเด็กๆ ฉันชอบอ่านมาก แถมยังเป็นการ์ตูนที่ฉายทางทีวีด้วย เป็นการ์ตูนเกี่ยวกับชีวิตวัยรุ่น และกีฬาเบสบอล ซึ่งเป็นกีฬายอดนิยมอันดับหนึ่งของคนญี่ปุ่น โดยเฉพาะวัยรุ่น โดยมีตัวละครหลักพี่น้องฝาแฝด ทัชซึยะ และ คัทซึยะ และ มินามิ เพื่อนสาวข้างบ้าน ที่ครอบครัวสนิทกันมาตั้งแต่เด็ก และมีสุนัขตัวอ้วนขนฟู ชื่อ โปจิ
เวอร์ชั่นที่เป็นละครก็มี
การ์ตูนเรื่องนี้ทำให้ฉันรู้จักกีฬาเบสบอล แต่ในประเทศไทยเราอาจไม่คุ้นเคยกัน แต่เบสบอลถือว่าเป็นกีฬายอดฮิตในญี่ปุ่น และมีคำศัพท์ที่ใช้เรียกกีฬาชนิดนี้โดยเฉพาะว่า 野球 (やきゅう yakyu) โดยคำว่า 野หมายถึง สนาม และคำว่า 球 หมายถึง ลูกบอล เด็กผู้ชายญี่ปุ่นส่วนใหญ่ก็เล่นขว้างปารับลูกบอลกันมาตั้งแต่เด็ก สำหรับคนที่เอาจริงเอาจังก็จะเข้าชมรมเบสบอลแล้วความฝันสูงสุดก็คือการได้ไปแข่งที่สนามโคชิเอ็งซักครั้งหนึ่ง
การแข่งขันเบสบอลอาชีพก็เริ่มเปิดฉากในเดือนเมษายน ในญี่ปุ่นทั้งเด็กและผู้ใหญ่ชอบกีฬาเบสบอลเป็นชีวิตจิตใจ การแข่งขันนัดแรกในเดือนเมษายน จะมีแฟนๆ หลั่งไหลมาชมกันแน่นขนัด
แล้วสนามโคชิเอ็งคืออะไร? คือสนามที่ใช้แข่งขันเบสบอล
แล้วทำไมทุกคนที่เล่นเบสบอลถึงใฝ่ฝันอยากไปกัน? เพราะว่าหนึ่งในสุดยอดรายการการแข่งขันเบสบอลที่ญี่ปุ่นก็คือ การแข่งขันชิงชนะเลิศระดับมัธยมปลาย ที่จะคัดเลือกเอาตัวแทนของจังหวัดมาแข่งขันกันที่สนามโคชิเอ็ง (Koshien Stadium) ที่เมืองโอซาก้า การได้เข้ามาเล่นในสนามโคชิเอ็งแห่งนี้ก็เป็นความใฝ่ฝันของเด็กผู้ชายญี่ปุ่นทุกคน การที่ต้องเป็นตัวแทนของจังหวัดจึงทำให้การแข่งขันรายการนี้มีความดุเดือดเป็นอย่างมาก จึงเกิดศัพท์ที่ว่า มุ่งสู่โคชิเอ็ง จากมังงะ อานิเมะ หรือซีรีส์ญี่ปุ่นที่เกี่ยวข้องกับกีฬาเบสบอลอยู่บ่อย ๆ
สนามกีฬาโคชิเอ็ง หรือชื่อใหม่ว่า ฮันชิงโคชิเอ็ง (ญี่ปุ่น: 阪神甲子園球場) นับว่าเป็นสนามเบสบอลขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชีย สร้างโดยบริษัท Hanshin Electric Railwayหรือบริษัทรถไฟเอกชนฮานชิง สามารถรองรับผู้ชมได้มากถึง 55,000 คน เปิดใช้เมื่อ 1 เมษายน พ.ศ. 2467 เพื่อเป็นสนามประจำของทีม Hanshin Tiger ทีมดังของจังหวัดเฮียวโงะ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ระหว่างเมืองโกเบและโอซาก้า บริเวณเมืองนิชิโนมิยะ(Nishinomiya) โดยมีลักษณะสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากสนามโปโลกราวส์ ในนครนิวยอร์ก แล้วก็สร้างขึ้นเพื่อรับรองการแข่งขันเบสบอล ของโรงเรียนในระดับมัธยมปลาย ในเดือนสิงหาคมและมีนาคม
สำหรับในการแข่งแบบโปร หรือแบบมืออาชีพนั้นที่นั่งจะเป็นแบบเสียเงินทั้งหมดหมด แต่ในการแข่งระดับมัธยมปลายก็จะมีทั้งที่นั่งแบบเสียเงินและไม่เสียเงิน แต่ที่นั่งแบบจ่ายเงินย่อมมองเห็นได้ใกล้ๆ และชัดเจนกว่าแน่นอน ราคาต่ำสุดอยู่ที่ 1,500 เยนจนไปถึงหลักหมื่นเยนก็มี
ถ้าเกิดหิว ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องออกไปหาร้านอาหารทานข้างนอก เพราะภายในสนามมีโซน Food Court ที่มีอาหารเมนูง่ายๆ อาทิเช่น ข้าวแกงกะหรี่ ฮอทดอก แซนวิช เฟรนฟราย
ถ้าใครอยากจะศึกษาประวัติความเป็นมาสนามเบสบอลนี้ให้มากขึ้น ที่นี่ก็มี The Museum of Hanshin Koshien Stadium ที่พร้อมให้ข้อมูลครบถ้วน แต่ต้องเสียค่าเข้าชมท่านละ 500 เยน หรือถ้าอยากซื้อของพรีเมี่ยมที่ระลึกของทีมเบสบอล Hanshin Tiger ก็มีช็อป Tigers Shop Alps ที่มีขายทั้งอุปกรณ์เบสบอล เสื้อ หมวก พวงกุญแจให้ช้อปกันด้วย
เวอร์ชั่นที่เป็นละครก็มี
การ์ตูนเรื่องนี้ทำให้ฉันรู้จักกีฬาเบสบอล แต่ในประเทศไทยเราอาจไม่คุ้นเคยกัน แต่เบสบอลถือว่าเป็นกีฬายอดฮิตในญี่ปุ่น และมีคำศัพท์ที่ใช้เรียกกีฬาชนิดนี้โดยเฉพาะว่า 野球 (やきゅう yakyu) โดยคำว่า 野หมายถึง สนาม และคำว่า 球 หมายถึง ลูกบอล เด็กผู้ชายญี่ปุ่นส่วนใหญ่ก็เล่นขว้างปารับลูกบอลกันมาตั้งแต่เด็ก สำหรับคนที่เอาจริงเอาจังก็จะเข้าชมรมเบสบอลแล้วความฝันสูงสุดก็คือการได้ไปแข่งที่สนามโคชิเอ็งซักครั้งหนึ่ง
การแข่งขันเบสบอลอาชีพก็เริ่มเปิดฉากในเดือนเมษายน ในญี่ปุ่นทั้งเด็กและผู้ใหญ่ชอบกีฬาเบสบอลเป็นชีวิตจิตใจ การแข่งขันนัดแรกในเดือนเมษายน จะมีแฟนๆ หลั่งไหลมาชมกันแน่นขนัด
แล้วสนามโคชิเอ็งคืออะไร? คือสนามที่ใช้แข่งขันเบสบอล
แล้วทำไมทุกคนที่เล่นเบสบอลถึงใฝ่ฝันอยากไปกัน? เพราะว่าหนึ่งในสุดยอดรายการการแข่งขันเบสบอลที่ญี่ปุ่นก็คือ การแข่งขันชิงชนะเลิศระดับมัธยมปลาย ที่จะคัดเลือกเอาตัวแทนของจังหวัดมาแข่งขันกันที่สนามโคชิเอ็ง (Koshien Stadium) ที่เมืองโอซาก้า การได้เข้ามาเล่นในสนามโคชิเอ็งแห่งนี้ก็เป็นความใฝ่ฝันของเด็กผู้ชายญี่ปุ่นทุกคน การที่ต้องเป็นตัวแทนของจังหวัดจึงทำให้การแข่งขันรายการนี้มีความดุเดือดเป็นอย่างมาก จึงเกิดศัพท์ที่ว่า มุ่งสู่โคชิเอ็ง จากมังงะ อานิเมะ หรือซีรีส์ญี่ปุ่นที่เกี่ยวข้องกับกีฬาเบสบอลอยู่บ่อย ๆ
สนามกีฬาโคชิเอ็ง หรือชื่อใหม่ว่า ฮันชิงโคชิเอ็ง (ญี่ปุ่น: 阪神甲子園球場) นับว่าเป็นสนามเบสบอลขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชีย สร้างโดยบริษัท Hanshin Electric Railwayหรือบริษัทรถไฟเอกชนฮานชิง สามารถรองรับผู้ชมได้มากถึง 55,000 คน เปิดใช้เมื่อ 1 เมษายน พ.ศ. 2467 เพื่อเป็นสนามประจำของทีม Hanshin Tiger ทีมดังของจังหวัดเฮียวโงะ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ระหว่างเมืองโกเบและโอซาก้า บริเวณเมืองนิชิโนมิยะ(Nishinomiya) โดยมีลักษณะสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากสนามโปโลกราวส์ ในนครนิวยอร์ก แล้วก็สร้างขึ้นเพื่อรับรองการแข่งขันเบสบอล ของโรงเรียนในระดับมัธยมปลาย ในเดือนสิงหาคมและมีนาคม
สำหรับในการแข่งแบบโปร หรือแบบมืออาชีพนั้นที่นั่งจะเป็นแบบเสียเงินทั้งหมดหมด แต่ในการแข่งระดับมัธยมปลายก็จะมีทั้งที่นั่งแบบเสียเงินและไม่เสียเงิน แต่ที่นั่งแบบจ่ายเงินย่อมมองเห็นได้ใกล้ๆ และชัดเจนกว่าแน่นอน ราคาต่ำสุดอยู่ที่ 1,500 เยนจนไปถึงหลักหมื่นเยนก็มี
ถ้าเกิดหิว ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องออกไปหาร้านอาหารทานข้างนอก เพราะภายในสนามมีโซน Food Court ที่มีอาหารเมนูง่ายๆ อาทิเช่น ข้าวแกงกะหรี่ ฮอทดอก แซนวิช เฟรนฟราย
ถ้าใครอยากจะศึกษาประวัติความเป็นมาสนามเบสบอลนี้ให้มากขึ้น ที่นี่ก็มี The Museum of Hanshin Koshien Stadium ที่พร้อมให้ข้อมูลครบถ้วน แต่ต้องเสียค่าเข้าชมท่านละ 500 เยน หรือถ้าอยากซื้อของพรีเมี่ยมที่ระลึกของทีมเบสบอล Hanshin Tiger ก็มีช็อป Tigers Shop Alps ที่มีขายทั้งอุปกรณ์เบสบอล เสื้อ หมวก พวงกุญแจให้ช้อปกันด้วย
Posted by mod at
14:10
│Comments(0)
2016年04月22日
แผ่นดินไหว กับ Economy Class Syndrome
เมื่อวันก่อนนั่งดูข่าวตอนเย็นๆ กับคุณแม่ คนเล่าข่าวก็เล่าเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สร้างความสูญเสียให้กับจังหวัดคุมาโมโต้ มีผู้ได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้มากมาย หนึ่งในจำนวนผู้เสียชีวิตนั้นมีสาเหตุมาจาก Economy class syndrome คือเมื่อวันที่ 18 เม.ย.ที่ผ่านมา มีผู้หญิงคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในรถได้เสียชีวิตลง
ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นนั้นรู้สึกเป็นห่วงสำหรับผู้ประสบภัยที่จะต้องอาศัยอยู่ในสถานที่คับแคบเช่นในรถยนต์หรือสถานที่หลบภัยโดยไม่เคลื่อนไหวร่างกายเป็นเวลานานๆ ถ้าเกิดเป็นโรค Economy -class syndrome นั้น ในระยะแรกขาจะแดงขึ้นมาและรู้สึกเจ็บ หลังจากนั้นจะรู้สึกเจ็บหน้าอก แล้วก็หายใจไม่ออกจนเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะคนที่เคยผ่าตัดขาและผู้สูงอายุ และคนที่มีความดันโลหิตต่ำและเป็นโรคเบาหวานจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
ฉันก็เกิดความสงสัยก็เลยลองไป search หาข้อมูล พบว่าโรคนี้มิใช่โรคใหม่แต่อย่างใด เพราะที่จริงคือ โรคเส้นโลหิตดำอุดตัน หรือ "Deep Venous Thrombosis หรืออีกชื่อหนึ่งที่เราคุ้นเคยก็คือ "กลุ่มอาการเครื่องบินชั้นประหยัด" (Economy Class Syndrome) ซึ่งเกิดจากการนั่งเครื่องบินในระยะทางไกล ๆ โดยเฉพาะชั้นที่นั่งราคาประหยัด ที่มีพื้นที่คับแคบ แล้วไม่ได้ขยับร่างกาย หรือลุกเปลี่ยนอิริยาบถเลย ทำให้เลือดแข็งตัวเป็นก้อน จนกลายเป็นเลือดข้นอยู่ในหลอดเลือดดำ
บางคนอาจคิดว่าก็ฉันไม่ได้นั่งเครื่องบินนานๆ คงไม่เกิดกับฉันหรอก แต่จริงๆ แล้วมันไม่ใช่อย่างนั้นนะคะ เพราะเดี๋ยวนี้ไลฟ์สไตส์ของหนุ่ม ๆ สาว ๆ สมัยนี้ ยากที่จะผละออกไปหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ ดังนั้นคนที่มีอิริยาบถการนั่งตลอดเวลาเป็นเวลานาน ๆ ไม่ว่าจะทำอะไร อาชีพไหนก็มีความเสี่ยงไม่แพ้กันนะจ๊ะ
อาการของโรคนี้ก็คือ หากนั่งนาน ๆ จะเกิดอาการปวดชาที่ขา เท้าจะบวมแดง ซึ่งมักจะบวมข้างเดียว บางรายอาจจะเห็นเส้นเลือดโปงพอง อาจจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อหรือเป็นตะคริว สาเหตุเกิดจากการไม่ลุกไปไหนมาไหนเลย ทำให้เลือดที่เคยไหลเวียนได้สะดวก ๆ เกิดการจับตัวเป็นลิ่ม เป็นก้อน มาคั่งอยู่ที่บริเวณเส้นเลือดดำตรงส่วนขา แล้วไหลเข้าไปตามกระแสเลือด ซึ่งอาจไปอุดตันตามอวัยวะที่สำคัญ เช่น ปอด หัวใจ ฯลฯ ทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้น ใครที่มีอาการชา บวมแดงที่ขาหรือเท้า ต้องรีบลุกยืดเส้นยืดสายโดยพลัน
เราอย่ารอให้เป็นกันเลยนะคะ มาหาทางป้องกันกันดีกว่า
1.ถ้าหลีกเลี่ยงการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ ไม่ได้ อย่างน้อยให้พยายามกระดิกนิ้วเท้าและข้อเท้าไว้ เพื่อให้เลือดไหลเวียนบ้าง
2.สิ่งสำคัญคือควรดื่มน้ำมาก ๆ ขณะนั่งทำงาน อย่างน้อยประมาณ 1 ลิตรต่อวัน
3.ถ้าเป็นคนที่ดื่มเหล้าหรือกาแฟเยอะ ให้ระวังด้วยเพราะว่าการดื่มสิ่งเหล่านั้นทำให้ปัสสาวะออกมามาก จึงทำให้น้ำที่อยู่ข้างในเลือดนั้นน้อยลง
4.ไม่ควรสวมเสื้อผ้า หรือเครื่องประดับที่รัด อย่างเช่นกางเกงยีนส์ หรือถุงเท้าที่มียางรัดแน่น จะทำให้การไหลเวียนภายในเส้นเลือดดำไม่สะดวก เพิ่มโอกาสเกิดลิ่มเลือดได้
5.ควบคุมน้ำหนักตัวเอง อย่าให้อ้วน เพราะความอ้วนเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงต่ออาการเส้นเลือดอุดตันได้
ส่วนผู้ที่ต้องใช้เวลาเดินทางบนเครื่องบินเป็นเวลาหลายชั่วโมง ก็มีข้อแนะนำว่าก่อนออกเดินทางให้เลือกใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ สบาย ๆ ผู้หญิงไม่ควรสวมถุงน่อง ควรเลือกที่นั่งใกล้ ๆ ทางเดินไว้ เพราะจะมีพื้นที่ว่างให้เหยียดแข้งเหยียดขา พอแก้อาการเมื่อยเนื้อเมื่อยตัวได้
วันนี้ก็เอาท่าออกกำลังกายเล็กๆ น้อยๆ มาฝากด้วย คือให้หมั่นบริหารขาโดยยื่นเท้าทั้ง 2 ข้างออกไป ยกขึ้นสูง เท่าที่จะยกได้ เหยียดนิ้วเท้ากางออกสัก 3 วินาที แล้วยกเท้าลง เหยียดนิ้วเท้าชี้ลงพื้นดินอีก 3 วินาที ก็จะช่วยบรรเทาอาการเมื่อยขบได้
ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นนั้นรู้สึกเป็นห่วงสำหรับผู้ประสบภัยที่จะต้องอาศัยอยู่ในสถานที่คับแคบเช่นในรถยนต์หรือสถานที่หลบภัยโดยไม่เคลื่อนไหวร่างกายเป็นเวลานานๆ ถ้าเกิดเป็นโรค Economy -class syndrome นั้น ในระยะแรกขาจะแดงขึ้นมาและรู้สึกเจ็บ หลังจากนั้นจะรู้สึกเจ็บหน้าอก แล้วก็หายใจไม่ออกจนเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะคนที่เคยผ่าตัดขาและผู้สูงอายุ และคนที่มีความดันโลหิตต่ำและเป็นโรคเบาหวานจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
ฉันก็เกิดความสงสัยก็เลยลองไป search หาข้อมูล พบว่าโรคนี้มิใช่โรคใหม่แต่อย่างใด เพราะที่จริงคือ โรคเส้นโลหิตดำอุดตัน หรือ "Deep Venous Thrombosis หรืออีกชื่อหนึ่งที่เราคุ้นเคยก็คือ "กลุ่มอาการเครื่องบินชั้นประหยัด" (Economy Class Syndrome) ซึ่งเกิดจากการนั่งเครื่องบินในระยะทางไกล ๆ โดยเฉพาะชั้นที่นั่งราคาประหยัด ที่มีพื้นที่คับแคบ แล้วไม่ได้ขยับร่างกาย หรือลุกเปลี่ยนอิริยาบถเลย ทำให้เลือดแข็งตัวเป็นก้อน จนกลายเป็นเลือดข้นอยู่ในหลอดเลือดดำ
บางคนอาจคิดว่าก็ฉันไม่ได้นั่งเครื่องบินนานๆ คงไม่เกิดกับฉันหรอก แต่จริงๆ แล้วมันไม่ใช่อย่างนั้นนะคะ เพราะเดี๋ยวนี้ไลฟ์สไตส์ของหนุ่ม ๆ สาว ๆ สมัยนี้ ยากที่จะผละออกไปหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ ดังนั้นคนที่มีอิริยาบถการนั่งตลอดเวลาเป็นเวลานาน ๆ ไม่ว่าจะทำอะไร อาชีพไหนก็มีความเสี่ยงไม่แพ้กันนะจ๊ะ
อาการของโรคนี้ก็คือ หากนั่งนาน ๆ จะเกิดอาการปวดชาที่ขา เท้าจะบวมแดง ซึ่งมักจะบวมข้างเดียว บางรายอาจจะเห็นเส้นเลือดโปงพอง อาจจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อหรือเป็นตะคริว สาเหตุเกิดจากการไม่ลุกไปไหนมาไหนเลย ทำให้เลือดที่เคยไหลเวียนได้สะดวก ๆ เกิดการจับตัวเป็นลิ่ม เป็นก้อน มาคั่งอยู่ที่บริเวณเส้นเลือดดำตรงส่วนขา แล้วไหลเข้าไปตามกระแสเลือด ซึ่งอาจไปอุดตันตามอวัยวะที่สำคัญ เช่น ปอด หัวใจ ฯลฯ ทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้น ใครที่มีอาการชา บวมแดงที่ขาหรือเท้า ต้องรีบลุกยืดเส้นยืดสายโดยพลัน
เราอย่ารอให้เป็นกันเลยนะคะ มาหาทางป้องกันกันดีกว่า
1.ถ้าหลีกเลี่ยงการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ ไม่ได้ อย่างน้อยให้พยายามกระดิกนิ้วเท้าและข้อเท้าไว้ เพื่อให้เลือดไหลเวียนบ้าง
2.สิ่งสำคัญคือควรดื่มน้ำมาก ๆ ขณะนั่งทำงาน อย่างน้อยประมาณ 1 ลิตรต่อวัน
3.ถ้าเป็นคนที่ดื่มเหล้าหรือกาแฟเยอะ ให้ระวังด้วยเพราะว่าการดื่มสิ่งเหล่านั้นทำให้ปัสสาวะออกมามาก จึงทำให้น้ำที่อยู่ข้างในเลือดนั้นน้อยลง
4.ไม่ควรสวมเสื้อผ้า หรือเครื่องประดับที่รัด อย่างเช่นกางเกงยีนส์ หรือถุงเท้าที่มียางรัดแน่น จะทำให้การไหลเวียนภายในเส้นเลือดดำไม่สะดวก เพิ่มโอกาสเกิดลิ่มเลือดได้
5.ควบคุมน้ำหนักตัวเอง อย่าให้อ้วน เพราะความอ้วนเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงต่ออาการเส้นเลือดอุดตันได้
ส่วนผู้ที่ต้องใช้เวลาเดินทางบนเครื่องบินเป็นเวลาหลายชั่วโมง ก็มีข้อแนะนำว่าก่อนออกเดินทางให้เลือกใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ สบาย ๆ ผู้หญิงไม่ควรสวมถุงน่อง ควรเลือกที่นั่งใกล้ ๆ ทางเดินไว้ เพราะจะมีพื้นที่ว่างให้เหยียดแข้งเหยียดขา พอแก้อาการเมื่อยเนื้อเมื่อยตัวได้
วันนี้ก็เอาท่าออกกำลังกายเล็กๆ น้อยๆ มาฝากด้วย คือให้หมั่นบริหารขาโดยยื่นเท้าทั้ง 2 ข้างออกไป ยกขึ้นสูง เท่าที่จะยกได้ เหยียดนิ้วเท้ากางออกสัก 3 วินาที แล้วยกเท้าลง เหยียดนิ้วเท้าชี้ลงพื้นดินอีก 3 วินาที ก็จะช่วยบรรเทาอาการเมื่อยขบได้
Posted by mod at
13:34
│Comments(0)
2016年04月19日
一期一会 人生も ラーメンも "มันคือโอกาสสำคัญมากนะ ทั้งชีวิต ทั้งราเมง"
สวัสดีค่ะ ต้อนรับเช้าวันอังคาร ซึ่งเป็นวันที่ 2 ของการทำงานหลังจากหยุดสงกรานต์ไปนาน
ก่อนอื่นก็ต้องขอแสดงความเสียใจกับประเทศญี่ปุ่นที่เกิดแผ่นดินไหวที่เกาะคิวชูด้วยนะคะ แล้วก็เป็นกำลังใจให้สู้ต่อไปค่ะ
ในช่วงสงกรานต์นั้นถือว่าเป็นวันหยุดพักผ่อนของฉันจริงๆ เลย เพราะว่าแทบจะไม่ได้ออกไปข้างนอกเลย อากาศร้อนมาก ก็เลยถือโอกาสนี้ดูซีรีย์ญี่ปุ่นเสียเลย ดูหลายเรื่องเลยล่ะคะ แต่เรื่องที่ชอบและคิดว่าได้ความรู้ ข้อเตือนใจก็คงเป็นเรื่อง “ラーメン 大好き小泉さん” (Ramen Daisuki Koisumi-san) เรื่องก็มีอยู่ว่า ตัวเอกคือโคอิซึมิ เป็นสาวที่หลงใหลคลั่งไคล้ในการกินราเมนมาก และก็เชี่ยวชาญในการกินราเมงมากด้วย แล้วเธอก็มีนิสัยที่แปลกตรงที่ว่าไม่ชอบคุยกับใคร เอาแต่ฟังเสียงที่บันทึกในโทรศัพท์อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเสียงที่อยู่ในโทรศัพท์เป็นเสียงของการลวกเส้นราเมงของร้านต่างๆ ที่เธอไปกิน แล้วก็มีเพื่อนร่วมชั้นของเธอชื่อว่าโอซาว่า ยู ซึ่งเป็นสาวที่สดใสร่าเริงได้เข้ามาวุ่นวายกับชีวิตเธอโดยการคอยตามไปกินราเมงด้วย
ในเรื่องนี้โคอิซึมิจะตระเวนไปกินราเมงร้านดังต่างๆ ซึ่งมีอยู่จริงๆ ทำให้ฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับราเมงมากมาย ทั้งประวัติร้านราเมง เหล่าคนที่หลงใหลการกินราเมง วิธีการกินราเมง เส้นราเมง ฯลฯ
คำพูดที่ปรากฏในเรื่องที่น่าสนใจก็อย่าง “AsaMen” ก็เป็นคำย่อมาจาก “朝ラーメン” นั่นเอง โดยทั่วไปแล้วเมืองแห่งราเมง ก็อย่างเมืองคิตากาตะ จังหวัดฟุกุชิม่า และเมืองฟุจิเอดะ จังหวัดชิซึโอกะ จะมีร้านราเมงหลายร้านที่เปิดกันตั้งแต่เช้า สำหรับคนที่ทำงานกะดึกที่เพิ่งเลิกงาน หรือชาวสวนที่เสร็จง่านแต่เช้าจะได้มาทาน ส่วนใหญ่เราจะเห็นร้านราเมงเปิดสายๆ หรือดึกๆ
แล้วก็มีคำว่า “jirorian” ซึ่งมีที่มาจากร้านราเมงที่ชื่อว่า “ร้านราเม็งจิโร่” (Ramen Jiro) ซึ่งเป็นสุดยอดร้านราเม็งในภูมิภาคคันโต ที่คนรักราเม็งทั่วทั้งญี่ปุ่นต่างให้การยอมรับในความอิ่ม อร่อย จุใจ! จนมีมากกว่า 40 สาขาในปัจจุบัน จุดเด่นของร้านนี้ คือเส้นราเม็งที่หนาใหญ่ไซส์พิเศษ ในน้ำซุปกระดูกหมูที่เคี่ยวจนได้ที่ โปะหน้าด้วยเนื้อหมู และสุมด้วยถั่วงอกจนสูงเป็นภูเขา เรียกได้ว่าให้ไม่อั้นจนแทบจะล้นชาม ว่ากันว่าแค่ราเม็งชามเล็กของร้านนี้ ก็ให้พลังงานมากกว่า 2,000 กิโลแคลลอรี่ ซึ่งเท่ากับพลังงานที่ผู้ชายต้องการใน 1 วันเต็มๆ ค่ะ!
ร้านราเม็งจิโร่ มีลูกค้าประจำที่เป็นแฟนพันธุ์แท้จำนวนมาก ซึ่งคนกลุ่มนี้จะถูกเรียกว่า “จิโรเรี่ยน” (Jirorian) โดยพวกเขาจะมีกฎเฉพาะกลุ่ม หากใครขึ้นชื่อว่าเป็น “จิโรเรี่ยน” แล้วจะต้องทำตามกฎอย่างเค่งครัด! ไม่ว่าจะเป็นวิธีการเข้า – ออกร้าน, วิธีการต่อแถวเพื่อสั่งอาหาร วิธีการสั่งอาหาร หรือแม้กระทั่งวิธีการกินค่ะ
ราเมงของร้านจิโร่ จะเสิร์ฟมาชามใหญ่มาก สูงราวกับภูเขาฟุจิเลยนะคะ
ซึ่งวิธีการกินก็จะมีชื่อเรียกว่า “天地返し” คือเส้นของร้านจิโร่ที่มีความหนาและง่ายต่อการดูดซับน้ำซุป ถ้ากินจากผักก่อนก็จะทำให้เส้นอืดและบวมใหญ่ขึ้น วิธีการกินแบบ “Tenchi Kaeshi” จะป้องกันได้ โดยการดึงเส้นจากด้านล่างมาไว้ด้านบนผักก่อน แล้วค่อยๆ กิน
แล้วในเรื่องนี้สาวโอซาว่า ยู ที่ดูตื่นตาตื่นใจกับการกินราเมงในร้านต่างๆ ก็มักจะถ่ายรูปเก็บไว้ ฉันก็สังเกตดูว่าตอนที่เธอจะถ่ายรูป เธอจะต้องขออนุญาตเจ้าของร้านราเมงก่อนเสมอ นั่นคงเป็นธรรมเนียมสินะ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียมารยาท โดยเธอจะพูดว่า “写真を撮ってもいいですか”
ในตอนหนึ่งของเรื่อง สาวโคอิซึมิ, โอซาว่า ยูและมิสะได้นัดกันไปเพื่อกินราเมงร้านดัง ซึ่งร้านนี้จะต้องไปเข้าแถวรอก่อนร้านเปิดราวๆ 1 ชั่วโมง รวมกับว่ามีคนต่อแถวยาวแล้วก็ต้องรอต่ออีก 1 ชั่วโมง รวมเป็น 2 ชั่วโมง แต่สาวมิสะแอบขี้โกงไม่ยอมมาต่อแถว พอใกล้จะถึงคิวได้เข้าร้านก็มาแทรกแถวขอยืนกับโคอิซึมิด้วย ซึ่งทำให้โคอิซึมิไม่พอใจ และชวนกันไปต่อท้ายแถวใหม่ แต่มิสะกลับเถียงว่าไม่ได้ตั้งใจจะแซงคิว ก็แค่มารวมกลุ่มกับเพื่อนแค่นั่นเอง แต่โคอิซึมิไม่ยอม เพราะว่าการแซงคิวนั้นเป็นสิ่งที่ให้อภัยไม่ได้ “ใครก็ตามที่แซงคิว....ไม่สมควรได้กินราเมง” ดังนั้นก็เลยไปยืนต่อแถวใหม่
แต่พอใกล้เวลาที่จะได้เข้าไปกินในร้านแล้ว เหลือเวลารออีก 30 นาที สาวมิสะเกิดหมดความอดทนแล้วบอกว่าจะกลับบ้านแล้ว ก็มีชายคนหนึ่งตะโกนออกมาจากแถวว่า “ถ้าออกจากแถวไปแล้ว ทำให้เราได้กินเร็วขึ้นก็ตาม แต่ว่าคิดแล้วมันเศร้ามากนะ บางคนต่อแถวท้ายๆ แล้วถึงเวลาร้านต้องปิด....หรือว่าร้านเปิดทำราเมงแบบพิเศษที่มีจำกัด ถึงกับมีคนกางเต้นท์รอเลยนะ แต่กลับถอยใจกลับบ้านไปมันน่าเสียดายมาก”
พอดูถึงตอนนี้แล้ว คนญี่ปุ่นเขาจริงจังเนอะ ถ้าเป็นเราขี้เกียจรอก็กลับบ้านเท่านั้น แต่มีชายคนหนึ่งเปรียบเปรยเสียจนขนลุกเลย เขาบอกว่า “ราเมง จะสะท้อนให้เห็นชีวิต ถ้าหนีไปจากที่นี่ล่ะก็ เราน่ะจะเอาแต่หนีไปตลอดชีวิต ตั้งแต่นี้ไปเลยนะ จะกลายเป็นมนุษย์ที่อ่อนแอ” (ขนาดนั้นเลย)
แถมโคอิซึมิก็ยังตามไปบอกมิสะอีกด้วยว่า “เธอยังไม่ได้กินเลยไม่ใช่เหรอ? ถ้าอยากจะกลับจริงๆ ฉันก็ไม่ห้ามหรอกนะ มันเป็นเรื่องของเธอ ฉันเคยไม่ได้กินราเมงในตำนานมาทีหนึ่งแล้ว ถ้าฉันไม่กินมันวันนี้อีก ฉันอาจจะไมมีโอกาสไปทั้งชีวิต เมื่อถึงตอนนั้นคงจะเสียใจมาก
มันคือโอกาสสำคัญมากนะ ทั้งชีวิต ทั้งราเมง = “一期一会 人生も ラーメンも”
สำหรับคำว่า “Ichi-go ichi-e (一期一会 "one time, one meeting") มันมีความหมายว่า การพบกันเพียงครั้งเดียวในชั่วชีวิต หรือเรื่องที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในชีวิต
ตามสุภาษิตญี่ปุ่นคือ
一期 (いちご ) แปลว่า ระยะเวลาหนึ่ง หรือถ้าตามปรัชญาการชงชาญี่ปุ่นจะหมายถึงชั่วหนึ่งชีวิตนี้
一会 (いちえ) แปลว่า การได้พบในหนึ่งครั้ง
คือ ไม่ว่าเหตุการณ์อะไร หรือ ผู้คนแบบไหน ที่เราได้เจอะเจอพบพานในขณะนั้น อาจจะเกิดขึ้นเพียงแค่ครั้งเดียวตลอดชั่วชีวิตนี้ก็เป็นได้ เมื่อรู้เช่นนั้นแล้ว เราก็ควรจะปฏิบัติต่อคนและในเหตุการณ์นั้น ๆ ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
เรื่องนี้ไม่ได้สนุกอย่างเดียว แต่ฝากข้อคิดดีๆ ไว้มากมายเลยค่ะ
ก่อนอื่นก็ต้องขอแสดงความเสียใจกับประเทศญี่ปุ่นที่เกิดแผ่นดินไหวที่เกาะคิวชูด้วยนะคะ แล้วก็เป็นกำลังใจให้สู้ต่อไปค่ะ
ในช่วงสงกรานต์นั้นถือว่าเป็นวันหยุดพักผ่อนของฉันจริงๆ เลย เพราะว่าแทบจะไม่ได้ออกไปข้างนอกเลย อากาศร้อนมาก ก็เลยถือโอกาสนี้ดูซีรีย์ญี่ปุ่นเสียเลย ดูหลายเรื่องเลยล่ะคะ แต่เรื่องที่ชอบและคิดว่าได้ความรู้ ข้อเตือนใจก็คงเป็นเรื่อง “ラーメン 大好き小泉さん” (Ramen Daisuki Koisumi-san) เรื่องก็มีอยู่ว่า ตัวเอกคือโคอิซึมิ เป็นสาวที่หลงใหลคลั่งไคล้ในการกินราเมนมาก และก็เชี่ยวชาญในการกินราเมงมากด้วย แล้วเธอก็มีนิสัยที่แปลกตรงที่ว่าไม่ชอบคุยกับใคร เอาแต่ฟังเสียงที่บันทึกในโทรศัพท์อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเสียงที่อยู่ในโทรศัพท์เป็นเสียงของการลวกเส้นราเมงของร้านต่างๆ ที่เธอไปกิน แล้วก็มีเพื่อนร่วมชั้นของเธอชื่อว่าโอซาว่า ยู ซึ่งเป็นสาวที่สดใสร่าเริงได้เข้ามาวุ่นวายกับชีวิตเธอโดยการคอยตามไปกินราเมงด้วย
ในเรื่องนี้โคอิซึมิจะตระเวนไปกินราเมงร้านดังต่างๆ ซึ่งมีอยู่จริงๆ ทำให้ฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับราเมงมากมาย ทั้งประวัติร้านราเมง เหล่าคนที่หลงใหลการกินราเมง วิธีการกินราเมง เส้นราเมง ฯลฯ
คำพูดที่ปรากฏในเรื่องที่น่าสนใจก็อย่าง “AsaMen” ก็เป็นคำย่อมาจาก “朝ラーメン” นั่นเอง โดยทั่วไปแล้วเมืองแห่งราเมง ก็อย่างเมืองคิตากาตะ จังหวัดฟุกุชิม่า และเมืองฟุจิเอดะ จังหวัดชิซึโอกะ จะมีร้านราเมงหลายร้านที่เปิดกันตั้งแต่เช้า สำหรับคนที่ทำงานกะดึกที่เพิ่งเลิกงาน หรือชาวสวนที่เสร็จง่านแต่เช้าจะได้มาทาน ส่วนใหญ่เราจะเห็นร้านราเมงเปิดสายๆ หรือดึกๆ
แล้วก็มีคำว่า “jirorian” ซึ่งมีที่มาจากร้านราเมงที่ชื่อว่า “ร้านราเม็งจิโร่” (Ramen Jiro) ซึ่งเป็นสุดยอดร้านราเม็งในภูมิภาคคันโต ที่คนรักราเม็งทั่วทั้งญี่ปุ่นต่างให้การยอมรับในความอิ่ม อร่อย จุใจ! จนมีมากกว่า 40 สาขาในปัจจุบัน จุดเด่นของร้านนี้ คือเส้นราเม็งที่หนาใหญ่ไซส์พิเศษ ในน้ำซุปกระดูกหมูที่เคี่ยวจนได้ที่ โปะหน้าด้วยเนื้อหมู และสุมด้วยถั่วงอกจนสูงเป็นภูเขา เรียกได้ว่าให้ไม่อั้นจนแทบจะล้นชาม ว่ากันว่าแค่ราเม็งชามเล็กของร้านนี้ ก็ให้พลังงานมากกว่า 2,000 กิโลแคลลอรี่ ซึ่งเท่ากับพลังงานที่ผู้ชายต้องการใน 1 วันเต็มๆ ค่ะ!
ร้านราเม็งจิโร่ มีลูกค้าประจำที่เป็นแฟนพันธุ์แท้จำนวนมาก ซึ่งคนกลุ่มนี้จะถูกเรียกว่า “จิโรเรี่ยน” (Jirorian) โดยพวกเขาจะมีกฎเฉพาะกลุ่ม หากใครขึ้นชื่อว่าเป็น “จิโรเรี่ยน” แล้วจะต้องทำตามกฎอย่างเค่งครัด! ไม่ว่าจะเป็นวิธีการเข้า – ออกร้าน, วิธีการต่อแถวเพื่อสั่งอาหาร วิธีการสั่งอาหาร หรือแม้กระทั่งวิธีการกินค่ะ
ราเมงของร้านจิโร่ จะเสิร์ฟมาชามใหญ่มาก สูงราวกับภูเขาฟุจิเลยนะคะ
ซึ่งวิธีการกินก็จะมีชื่อเรียกว่า “天地返し” คือเส้นของร้านจิโร่ที่มีความหนาและง่ายต่อการดูดซับน้ำซุป ถ้ากินจากผักก่อนก็จะทำให้เส้นอืดและบวมใหญ่ขึ้น วิธีการกินแบบ “Tenchi Kaeshi” จะป้องกันได้ โดยการดึงเส้นจากด้านล่างมาไว้ด้านบนผักก่อน แล้วค่อยๆ กิน
แล้วในเรื่องนี้สาวโอซาว่า ยู ที่ดูตื่นตาตื่นใจกับการกินราเมงในร้านต่างๆ ก็มักจะถ่ายรูปเก็บไว้ ฉันก็สังเกตดูว่าตอนที่เธอจะถ่ายรูป เธอจะต้องขออนุญาตเจ้าของร้านราเมงก่อนเสมอ นั่นคงเป็นธรรมเนียมสินะ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียมารยาท โดยเธอจะพูดว่า “写真を撮ってもいいですか”
ในตอนหนึ่งของเรื่อง สาวโคอิซึมิ, โอซาว่า ยูและมิสะได้นัดกันไปเพื่อกินราเมงร้านดัง ซึ่งร้านนี้จะต้องไปเข้าแถวรอก่อนร้านเปิดราวๆ 1 ชั่วโมง รวมกับว่ามีคนต่อแถวยาวแล้วก็ต้องรอต่ออีก 1 ชั่วโมง รวมเป็น 2 ชั่วโมง แต่สาวมิสะแอบขี้โกงไม่ยอมมาต่อแถว พอใกล้จะถึงคิวได้เข้าร้านก็มาแทรกแถวขอยืนกับโคอิซึมิด้วย ซึ่งทำให้โคอิซึมิไม่พอใจ และชวนกันไปต่อท้ายแถวใหม่ แต่มิสะกลับเถียงว่าไม่ได้ตั้งใจจะแซงคิว ก็แค่มารวมกลุ่มกับเพื่อนแค่นั่นเอง แต่โคอิซึมิไม่ยอม เพราะว่าการแซงคิวนั้นเป็นสิ่งที่ให้อภัยไม่ได้ “ใครก็ตามที่แซงคิว....ไม่สมควรได้กินราเมง” ดังนั้นก็เลยไปยืนต่อแถวใหม่
แต่พอใกล้เวลาที่จะได้เข้าไปกินในร้านแล้ว เหลือเวลารออีก 30 นาที สาวมิสะเกิดหมดความอดทนแล้วบอกว่าจะกลับบ้านแล้ว ก็มีชายคนหนึ่งตะโกนออกมาจากแถวว่า “ถ้าออกจากแถวไปแล้ว ทำให้เราได้กินเร็วขึ้นก็ตาม แต่ว่าคิดแล้วมันเศร้ามากนะ บางคนต่อแถวท้ายๆ แล้วถึงเวลาร้านต้องปิด....หรือว่าร้านเปิดทำราเมงแบบพิเศษที่มีจำกัด ถึงกับมีคนกางเต้นท์รอเลยนะ แต่กลับถอยใจกลับบ้านไปมันน่าเสียดายมาก”
พอดูถึงตอนนี้แล้ว คนญี่ปุ่นเขาจริงจังเนอะ ถ้าเป็นเราขี้เกียจรอก็กลับบ้านเท่านั้น แต่มีชายคนหนึ่งเปรียบเปรยเสียจนขนลุกเลย เขาบอกว่า “ราเมง จะสะท้อนให้เห็นชีวิต ถ้าหนีไปจากที่นี่ล่ะก็ เราน่ะจะเอาแต่หนีไปตลอดชีวิต ตั้งแต่นี้ไปเลยนะ จะกลายเป็นมนุษย์ที่อ่อนแอ” (ขนาดนั้นเลย)
แถมโคอิซึมิก็ยังตามไปบอกมิสะอีกด้วยว่า “เธอยังไม่ได้กินเลยไม่ใช่เหรอ? ถ้าอยากจะกลับจริงๆ ฉันก็ไม่ห้ามหรอกนะ มันเป็นเรื่องของเธอ ฉันเคยไม่ได้กินราเมงในตำนานมาทีหนึ่งแล้ว ถ้าฉันไม่กินมันวันนี้อีก ฉันอาจจะไมมีโอกาสไปทั้งชีวิต เมื่อถึงตอนนั้นคงจะเสียใจมาก
มันคือโอกาสสำคัญมากนะ ทั้งชีวิต ทั้งราเมง = “一期一会 人生も ラーメンも”
สำหรับคำว่า “Ichi-go ichi-e (一期一会 "one time, one meeting") มันมีความหมายว่า การพบกันเพียงครั้งเดียวในชั่วชีวิต หรือเรื่องที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในชีวิต
ตามสุภาษิตญี่ปุ่นคือ
一期 (いちご ) แปลว่า ระยะเวลาหนึ่ง หรือถ้าตามปรัชญาการชงชาญี่ปุ่นจะหมายถึงชั่วหนึ่งชีวิตนี้
一会 (いちえ) แปลว่า การได้พบในหนึ่งครั้ง
คือ ไม่ว่าเหตุการณ์อะไร หรือ ผู้คนแบบไหน ที่เราได้เจอะเจอพบพานในขณะนั้น อาจจะเกิดขึ้นเพียงแค่ครั้งเดียวตลอดชั่วชีวิตนี้ก็เป็นได้ เมื่อรู้เช่นนั้นแล้ว เราก็ควรจะปฏิบัติต่อคนและในเหตุการณ์นั้น ๆ ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
เรื่องนี้ไม่ได้สนุกอย่างเดียว แต่ฝากข้อคิดดีๆ ไว้มากมายเลยค่ะ
Posted by mod at
01:44
│Comments(0)
2016年04月12日
สังคมผู้สูงอายุ
สวัสดีค่ะ วันนี้วันที่ 12 เม.ย.อาจเป็นวันสุดท้ายของหลายๆ คนในการทำงานก่อนหยุดยาวช่วงสงกรานต์ หรือบางคนก็อาจหยุดยาวไปแล้วตั้งแต่วันศุกร์ที่แล้ว ในช่วงวันหยุดสงกรานต์นั้น วันที่ 13 เม.ย.เป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติด้วย วันนี้จึงขอคุยกันถึงเรื่องผู้สูงอายุกันสักนิดนะคะ
ถ้าพูดถึงสังคมผู้สูงอายุ ประเทศอันดับต้นๆ ที่เราจะนึกถึงก็คือประเทศญี่ปุ่น เพราะว่าขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกๆ ที่ก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 (คือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปี เกิน 7%) และได้กลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์เมื่อปีพ.ศ. 2537 (คือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปี เกิน 14%) และในปัจจุบัน ประมาณ 23% ของประชากรมีอายุมากกว่า 65 ปี ซึ่งถือว่าเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด (คือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปี เกิน 20%) แล้วก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยมีการคาดการณ์ว่าภายในปีพ.ศ. 2563 ประเทศญี่ปุ่นจะมีประชากรสูงวัยถึง 29% และจะเพิ่มเป็น 39% ภายในปีพ.ศ. 2593 สาเหตุที่ทำให้ญี่ปุ่นกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว เพราะมีอัตราเด็กเกิดใหม่ที่ต่ำติดต่อกันมาเป็นระยะเวลานาน
การดูแลผู้สูงอายุถือว่าเป็นปัญหาหนักอกและหนักกระเป๋าญี่ปุ่นมานานแล้วตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง (2482-2486) ด้วยซ้ำ และญี่ปุ่นก็พยายามแก้ไขปัญหา ปฏิรูป ปรับโครงสร้างการดูแลมาอย่างต่อเนื่องแต่ก็ไม่ได้จบง่ายๆ แม้ในปัจจุบัน แล้วในขณะเดียวกันระบบการดูแลผู้สูงอายุแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นภายในครอบครัวเริ่มประสบภาวะวิกฤตหรือขาดแคลนเพราะระบบครอบครัวขยายและการดูแลผู้อาวุโสในครอบครัวกำลังหดหายไป
แต่ในปัจจุบันก็ได้เกิดผลกระทบจากสังคมผู้สูงอายุ จากการสำรวจของสมาพันธ์สหภาพการค้าญี่ปุ่นหรือ Japanese Trade Union Confederation (JTUC-RENGO) ได้มีการสอบถามคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปีที่ยังทำงานอยู่ ตั้งแต่เดือนก.พ.ถึงเดือนมิ.ย. ในปี 2015 เกี่ยวกับการปรนนิบัติดูแลอย่างเช่นพ่อแม่ โดยมีผู้ตอบคำถามทั้งหมด 8,195 คน มีคนที่ตอบคำถามดังกล่าวมาว่า “กำลังดูแลปรนนิบัติอย่างเช่นพ่อแม่อยู่” และ “เคยดูแลปรนนิบัติภายใน 5 ปี” อยู่ทั้งหมด 2,898 คน
ในบรรดาคนเหล่านั้นมีคนที่ตอบคำถามว่า “เคยคิดที่จะลาออกจากงาน” เพื่อมาดูแลปรนนิบัติอยู่ประมาณ 28% แล้วก็มีคนที่ตอบว่า “เคยลาออกจากงาน” อยู่ที่ 1.6%ด้วย
เหตุผลที่ต้องลาออกก็คือว่า เมื่อมาดูแลปรนนิบัติแล้ว “ไม่สามารถทำงานอย่างที่ผ่านมานั้นได้” มีถึง 48.1% และ “สุขภาพร่างกายของตัวเองนั้นย่ำแย่ลง” มี 44.1% แล้วก็มีคนที่ตอบว่า “ถึงแม้ว่าจะใช้บริการในระบบที่ประเทศจัดเตรียมไว้ให้แล้วก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถดูแลปรนนิบัติได้เพียงพอ” 43.3%
สมาพันธ์สหภาพการค้าญี่ปุ่นกล่าวว่า “การที่คนที่กำลังทำงานอยู่จะต้องมาลาออกนั้น สำหรับตัวบริษัทเองก็พลอยไม่ดีไปด้วย บริษัทจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำให้การทำงานกับการดูแลปรนนิบัตินั้นทำควบคู่กันไปได้ด้วย”
จากข้อมูลนี้ทำให้เราต้องมาตระหนักแล้วว่า อีกหน่อยประเทศไทยก็จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเช่นนี้ตามมาติดๆ แล้วเราจะมีวิธีการรับมืออย่างไรกันบ้าง?
ถ้าพูดถึงสังคมผู้สูงอายุ ประเทศอันดับต้นๆ ที่เราจะนึกถึงก็คือประเทศญี่ปุ่น เพราะว่าขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกๆ ที่ก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 (คือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปี เกิน 7%) และได้กลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์เมื่อปีพ.ศ. 2537 (คือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปี เกิน 14%) และในปัจจุบัน ประมาณ 23% ของประชากรมีอายุมากกว่า 65 ปี ซึ่งถือว่าเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด (คือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปี เกิน 20%) แล้วก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยมีการคาดการณ์ว่าภายในปีพ.ศ. 2563 ประเทศญี่ปุ่นจะมีประชากรสูงวัยถึง 29% และจะเพิ่มเป็น 39% ภายในปีพ.ศ. 2593 สาเหตุที่ทำให้ญี่ปุ่นกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว เพราะมีอัตราเด็กเกิดใหม่ที่ต่ำติดต่อกันมาเป็นระยะเวลานาน
การดูแลผู้สูงอายุถือว่าเป็นปัญหาหนักอกและหนักกระเป๋าญี่ปุ่นมานานแล้วตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง (2482-2486) ด้วยซ้ำ และญี่ปุ่นก็พยายามแก้ไขปัญหา ปฏิรูป ปรับโครงสร้างการดูแลมาอย่างต่อเนื่องแต่ก็ไม่ได้จบง่ายๆ แม้ในปัจจุบัน แล้วในขณะเดียวกันระบบการดูแลผู้สูงอายุแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นภายในครอบครัวเริ่มประสบภาวะวิกฤตหรือขาดแคลนเพราะระบบครอบครัวขยายและการดูแลผู้อาวุโสในครอบครัวกำลังหดหายไป
แต่ในปัจจุบันก็ได้เกิดผลกระทบจากสังคมผู้สูงอายุ จากการสำรวจของสมาพันธ์สหภาพการค้าญี่ปุ่นหรือ Japanese Trade Union Confederation (JTUC-RENGO) ได้มีการสอบถามคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปีที่ยังทำงานอยู่ ตั้งแต่เดือนก.พ.ถึงเดือนมิ.ย. ในปี 2015 เกี่ยวกับการปรนนิบัติดูแลอย่างเช่นพ่อแม่ โดยมีผู้ตอบคำถามทั้งหมด 8,195 คน มีคนที่ตอบคำถามดังกล่าวมาว่า “กำลังดูแลปรนนิบัติอย่างเช่นพ่อแม่อยู่” และ “เคยดูแลปรนนิบัติภายใน 5 ปี” อยู่ทั้งหมด 2,898 คน
ในบรรดาคนเหล่านั้นมีคนที่ตอบคำถามว่า “เคยคิดที่จะลาออกจากงาน” เพื่อมาดูแลปรนนิบัติอยู่ประมาณ 28% แล้วก็มีคนที่ตอบว่า “เคยลาออกจากงาน” อยู่ที่ 1.6%ด้วย
เหตุผลที่ต้องลาออกก็คือว่า เมื่อมาดูแลปรนนิบัติแล้ว “ไม่สามารถทำงานอย่างที่ผ่านมานั้นได้” มีถึง 48.1% และ “สุขภาพร่างกายของตัวเองนั้นย่ำแย่ลง” มี 44.1% แล้วก็มีคนที่ตอบว่า “ถึงแม้ว่าจะใช้บริการในระบบที่ประเทศจัดเตรียมไว้ให้แล้วก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถดูแลปรนนิบัติได้เพียงพอ” 43.3%
สมาพันธ์สหภาพการค้าญี่ปุ่นกล่าวว่า “การที่คนที่กำลังทำงานอยู่จะต้องมาลาออกนั้น สำหรับตัวบริษัทเองก็พลอยไม่ดีไปด้วย บริษัทจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำให้การทำงานกับการดูแลปรนนิบัตินั้นทำควบคู่กันไปได้ด้วย”
จากข้อมูลนี้ทำให้เราต้องมาตระหนักแล้วว่า อีกหน่อยประเทศไทยก็จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเช่นนี้ตามมาติดๆ แล้วเราจะมีวิธีการรับมืออย่างไรกันบ้าง?
Posted by mod at
13:07
│Comments(0)
2016年04月11日
รถไฟสาย Cassiopeia ในตำนาน
อีกไม่กี่วันก็จะเข้าสู่เทศกาลสงกรานต์กันแล้ว ไม่ทราบว่ามีใครมีแพลนไปเที่ยวที่ไหนบ้างเอ่ย บางคนคงมีแพลนไปเที่ยวญี่ปุ่นกันแน่นอน เพราะเห็นจาก FB ของเพื่อนๆ แต่ละคนแล้ว ก็เห็นไปเที่ยวกันสนุกสนานที่กันญี่ปุ่นเป็นจำนวนไม่น้อยเลย แล้วสถานที่หนึ่งที่ได้รับความนิยมในการไปท่องเที่ยวก็คือฮอกไกโด
สำหรับวิธีการเดินทางจากโตเกียวไปฮอกไกโดนั้นไม่ได้จำกัดเฉพาะวิธีการโดยสารเครื่องบินเท่านั้น แต่เรายังสามารถพบกับการเดินทางรูปแบบใหม่เดินทางจาก สถานี Ueno – สถานีในโตเกียวไปยังฮอคไกโดได้ด้วย วันนี้จะมาเล่าสู่กันฟังถึงรถไฟสาย Cassiopeia ซึ่งเป็นรถไฟตู้นอน Night Train ที่เชื่อมต่อระหว่าง Sapporo กับ Tokyo (Ueno) โดยที่ภายในห้องโดยสารหรือตู้นอนทั้งหมดจะเป็นห้องคู่ ให้บรรยากาศเหมือนพักผ่อนในโรงแรม ใช้เวลาเดินทางน้อยกว่า และหรูหรากว่า โดยใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 16½ ชั่วโมง จะให้บริการ 3 -4 ขบวน ต่อสัปดาห์ สำหรับฉันอย่างน้อยสักครั้งที่อยากมีโอกาสสัมผัสประสบการณ์พิเศษ ที่ไม่เหมือนอื่นใด ของการเดินทางด้วยรถไฟกลางคืนที่แกว่งไกวอย่างอ่อนโยน ทำให้คิดถึงการเดินทางท่องเที่ยวตอนสมัยเด็กๆ เลยค่ะ
แคสซิโอเปีย โดยหัวรถจักร EF510-509
ประเภทรถไฟด่วนพิเศษ
ผู้ดำเนินการJR ตะวันออก
ความเร็วสูงสุด110 กิโลเมตร/ชั่วโมง
เริ่มใช้งานค.ศ. 1999
หัวรถรถนอน E26 ซีรีส์
ที่นี่เรามาดูรายละเอียดของ Cassiopeia ซึ่งเป็นรถไฟขบวนแรกที่วิ่งผ่านภูมิภาคตะวันออกของญี่ปุ่นสู่เกาะฮอกไกโด ที่มีห้องสำหรับเฉพาะ 2 ท่าน รถไฟนี้มีสีเทา และมีริ้วสีแดง สีฟ้า และเหลือง เพื่อให้ความรู้สึกหรูหรา แต่ละห้องมีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ทีวี ห้องน้ำส่วนตัว อ่างล้างหน้า ที่เป่าผม ซึ่งเราจะสามารถเพลิดเพลินไปกับการเดินทางเหมือนโรงแรม และที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากคือ ห้อง“Cassiopeia Suite” ซึ่งอยู่ปลายขบวนรถไฟที่ให้วิวพาโนรามาแบบส่วนตัว มีหน้าต่างโดยรอบรถทั้ง 3 ด้าน ผู้โดยสารจึงสามารถเพลิดเพลินไปกับวิวที่ปราศจากสิ่งกีดขวาง
ห้องสูท มีรูปแบบห้องสูท 2 แบบ ห้องลักษณะนี้จะมีราคาแพงที่สุด คือ ประมาณ 44,460 เยน
แบบที่ 2
เครื่องอำนวยความสะดวกของห้องสูททั้ง 2 แบบ คือ มี ทีวี วีดีโอ วิทยุ ในห้องพัก โทรศัพท์อินเตอร์คอม รวมไปถึง ระบบกุญแจห้องพักแบบกดรหัส
ห้องดีลักซ์ เป็นห้องที่ราคาถูกลงมากว่า ห้องสูทเล็กน้อย แต่ความสะดวกสบายหรูหรา ก็ไม่ด้อยกว่ากันมากนัก ห้องพักแบบนี้มีสนราคา 36,150 เยน
ตู้นอนแบบธรรมดา นอน 4 คน ต่อ 1 ห้อง ถึงแม้จะเป็นตู้นอนแบบรวม 4 คน แต่ความหรูหราก็ใช่ย่อยนะครับ สามารถชมวิวได้ เต็มที่เช่นกัน เหมาะสำหรับหมู่คณะที่เดินทางมากันหลายคน ห้องพักแบบนี้ราคา 32,320 เยน
ภายในมีขบวนตู้ร้านอาหาร แถมอาหารที่เสิร์ฟก็ยังไม่ธรรมดา เป็นอาหารฝรั่งเศสแบบ Full Course หรูหรากันให้สุดไปเลย ทานอิ่มแล้วก็นอนหลับพักผ่อนให้สบาย ตื่นเช้ามาพบวิวทิวทัศน์ของฮอกไกโดจากริมหน้าต่าง พร้อมทานอาหารเช้าอีกหนึ่งมื้อ
ตู้รับประทานอาหาร
สำหรับการบริการอาหารค่ำต้องสำรองล่วงหน้าเท่านั้น สำหรับผู้โดยสารผู้ซึ่งชอบอาหารตะวันตก จะมีอาหารฝรั่งเศสบริการ และสำหรับผู้ที่ต้องการรับประทานอาหารญี่ปุ่น จะมีบริการอาหารดั้งเดิมแบบไคเซกิ (Kaiseki)
หลังอาหารค่ำผู้โดยสารสามารถผ่อนคลายได้หลายรูปแบบ เช่นจีบไวน์ในห้องอาหารในช่วงเวลาผับ หรือย้ายไปห้องเลาน์จบนรถขบวนที่ 12 เพื่อพักผ่อนได้อย่างสบาย ในห้อง 2 ระดับที่กว้างสบายให้วิวที่ยอดเยี่ยม ในคืนที่ท้องฟ้าใส สามารถนอนเอนหลังบนที่นั่งที่หมุนได้ 360 องศา หรือบนโซฟาเพื่อมองดูท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาว และเพลิดเพลินกับค่ำคืนแห่งความสุข สิ่งเดียวที่ให้นักท่องเที่ยวต้องตัดสินใจคือ จะใช้เวลาแห่งความสุขนี้คู่กับใคร
แต่ว่าน่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งที่รถไฟสาย Cassiopeia จะหยุดทำการเดินรถในเดือนหน้า (เดือนพ.ค.) เนื่องจากฮอคไกโดชินคันเซนได้สร้างและเปิดใช้บริการเสร็จเรียบร้อยแล้ว
รถไฟสาย Cassiopeia นั้นได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก และมีผู้คนจำนวนมากบอกว่าเสียดายที่จะไม่ได้นั่งรถไฟขบวนนี้อีกแล้ว
ดังนั้น บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออกจึงมีการจัดการเดินทางท่องเที่ยวโดยใช้รถไฟแคสซิโอเปียตั้งแต่เดือนมิ.ย.
บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออกได้วางแผนว่าจะมีการเดินทางท่องเที่ยว 2 รูปแบบ
รูปแบบที่ 1 จะเป็นการเดินทางท่องเที่ยวในแถบโทโฮคุและฮอคไกโด โดยจะออกเดินทางจากสถานีรถไฟอุเอโนะ แล้วก็จะจัดให้มีการพักในตัวรถไฟและโรงแรมเป็นต้น
ส่วนอีกรูปแบบหนึ่งก็จะเป็นการเดินทางท่องเที่ยวจะวิ่งระหว่างสถานีรถไฟอุเอโนะและสถานีรถไฟซัปโปโร่โดยการจัดให้พักในตัวของรถไฟ
จะจัดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวทั้งหมด 16 เที่ยว ตั้งแต่เดือนมิ.ย. ถึงเดือนก.ค.
ที่ผ่านมาได้มีการวางจำหน่ายตั๋วรถไฟแคสซิโอเปียที่สถานีรถไฟ แต่นับจากนี้ไปจะมีวางจำหน่ายที่บริษัทท่องเที่ยว ถ้าใครมีโอกาสได้ไปเที่ยวช่วงเดือน มิ.ย-ก.ค.ลองไปใช้บริการดูนะคะ
credit:www.thaitransport-photo.net/
special thanks: www.google.co.th
สำหรับวิธีการเดินทางจากโตเกียวไปฮอกไกโดนั้นไม่ได้จำกัดเฉพาะวิธีการโดยสารเครื่องบินเท่านั้น แต่เรายังสามารถพบกับการเดินทางรูปแบบใหม่เดินทางจาก สถานี Ueno – สถานีในโตเกียวไปยังฮอคไกโดได้ด้วย วันนี้จะมาเล่าสู่กันฟังถึงรถไฟสาย Cassiopeia ซึ่งเป็นรถไฟตู้นอน Night Train ที่เชื่อมต่อระหว่าง Sapporo กับ Tokyo (Ueno) โดยที่ภายในห้องโดยสารหรือตู้นอนทั้งหมดจะเป็นห้องคู่ ให้บรรยากาศเหมือนพักผ่อนในโรงแรม ใช้เวลาเดินทางน้อยกว่า และหรูหรากว่า โดยใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 16½ ชั่วโมง จะให้บริการ 3 -4 ขบวน ต่อสัปดาห์ สำหรับฉันอย่างน้อยสักครั้งที่อยากมีโอกาสสัมผัสประสบการณ์พิเศษ ที่ไม่เหมือนอื่นใด ของการเดินทางด้วยรถไฟกลางคืนที่แกว่งไกวอย่างอ่อนโยน ทำให้คิดถึงการเดินทางท่องเที่ยวตอนสมัยเด็กๆ เลยค่ะ
แคสซิโอเปีย โดยหัวรถจักร EF510-509
ประเภทรถไฟด่วนพิเศษ
ผู้ดำเนินการJR ตะวันออก
ความเร็วสูงสุด110 กิโลเมตร/ชั่วโมง
เริ่มใช้งานค.ศ. 1999
หัวรถรถนอน E26 ซีรีส์
ที่นี่เรามาดูรายละเอียดของ Cassiopeia ซึ่งเป็นรถไฟขบวนแรกที่วิ่งผ่านภูมิภาคตะวันออกของญี่ปุ่นสู่เกาะฮอกไกโด ที่มีห้องสำหรับเฉพาะ 2 ท่าน รถไฟนี้มีสีเทา และมีริ้วสีแดง สีฟ้า และเหลือง เพื่อให้ความรู้สึกหรูหรา แต่ละห้องมีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ทีวี ห้องน้ำส่วนตัว อ่างล้างหน้า ที่เป่าผม ซึ่งเราจะสามารถเพลิดเพลินไปกับการเดินทางเหมือนโรงแรม และที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากคือ ห้อง“Cassiopeia Suite” ซึ่งอยู่ปลายขบวนรถไฟที่ให้วิวพาโนรามาแบบส่วนตัว มีหน้าต่างโดยรอบรถทั้ง 3 ด้าน ผู้โดยสารจึงสามารถเพลิดเพลินไปกับวิวที่ปราศจากสิ่งกีดขวาง
ห้องสูท มีรูปแบบห้องสูท 2 แบบ ห้องลักษณะนี้จะมีราคาแพงที่สุด คือ ประมาณ 44,460 เยน
แบบที่ 2
เครื่องอำนวยความสะดวกของห้องสูททั้ง 2 แบบ คือ มี ทีวี วีดีโอ วิทยุ ในห้องพัก โทรศัพท์อินเตอร์คอม รวมไปถึง ระบบกุญแจห้องพักแบบกดรหัส
ห้องดีลักซ์ เป็นห้องที่ราคาถูกลงมากว่า ห้องสูทเล็กน้อย แต่ความสะดวกสบายหรูหรา ก็ไม่ด้อยกว่ากันมากนัก ห้องพักแบบนี้มีสนราคา 36,150 เยน
ตู้นอนแบบธรรมดา นอน 4 คน ต่อ 1 ห้อง ถึงแม้จะเป็นตู้นอนแบบรวม 4 คน แต่ความหรูหราก็ใช่ย่อยนะครับ สามารถชมวิวได้ เต็มที่เช่นกัน เหมาะสำหรับหมู่คณะที่เดินทางมากันหลายคน ห้องพักแบบนี้ราคา 32,320 เยน
ภายในมีขบวนตู้ร้านอาหาร แถมอาหารที่เสิร์ฟก็ยังไม่ธรรมดา เป็นอาหารฝรั่งเศสแบบ Full Course หรูหรากันให้สุดไปเลย ทานอิ่มแล้วก็นอนหลับพักผ่อนให้สบาย ตื่นเช้ามาพบวิวทิวทัศน์ของฮอกไกโดจากริมหน้าต่าง พร้อมทานอาหารเช้าอีกหนึ่งมื้อ
ตู้รับประทานอาหาร
สำหรับการบริการอาหารค่ำต้องสำรองล่วงหน้าเท่านั้น สำหรับผู้โดยสารผู้ซึ่งชอบอาหารตะวันตก จะมีอาหารฝรั่งเศสบริการ และสำหรับผู้ที่ต้องการรับประทานอาหารญี่ปุ่น จะมีบริการอาหารดั้งเดิมแบบไคเซกิ (Kaiseki)
หลังอาหารค่ำผู้โดยสารสามารถผ่อนคลายได้หลายรูปแบบ เช่นจีบไวน์ในห้องอาหารในช่วงเวลาผับ หรือย้ายไปห้องเลาน์จบนรถขบวนที่ 12 เพื่อพักผ่อนได้อย่างสบาย ในห้อง 2 ระดับที่กว้างสบายให้วิวที่ยอดเยี่ยม ในคืนที่ท้องฟ้าใส สามารถนอนเอนหลังบนที่นั่งที่หมุนได้ 360 องศา หรือบนโซฟาเพื่อมองดูท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาว และเพลิดเพลินกับค่ำคืนแห่งความสุข สิ่งเดียวที่ให้นักท่องเที่ยวต้องตัดสินใจคือ จะใช้เวลาแห่งความสุขนี้คู่กับใคร
แต่ว่าน่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งที่รถไฟสาย Cassiopeia จะหยุดทำการเดินรถในเดือนหน้า (เดือนพ.ค.) เนื่องจากฮอคไกโดชินคันเซนได้สร้างและเปิดใช้บริการเสร็จเรียบร้อยแล้ว
รถไฟสาย Cassiopeia นั้นได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก และมีผู้คนจำนวนมากบอกว่าเสียดายที่จะไม่ได้นั่งรถไฟขบวนนี้อีกแล้ว
ดังนั้น บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออกจึงมีการจัดการเดินทางท่องเที่ยวโดยใช้รถไฟแคสซิโอเปียตั้งแต่เดือนมิ.ย.
บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออกได้วางแผนว่าจะมีการเดินทางท่องเที่ยว 2 รูปแบบ
รูปแบบที่ 1 จะเป็นการเดินทางท่องเที่ยวในแถบโทโฮคุและฮอคไกโด โดยจะออกเดินทางจากสถานีรถไฟอุเอโนะ แล้วก็จะจัดให้มีการพักในตัวรถไฟและโรงแรมเป็นต้น
ส่วนอีกรูปแบบหนึ่งก็จะเป็นการเดินทางท่องเที่ยวจะวิ่งระหว่างสถานีรถไฟอุเอโนะและสถานีรถไฟซัปโปโร่โดยการจัดให้พักในตัวของรถไฟ
จะจัดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวทั้งหมด 16 เที่ยว ตั้งแต่เดือนมิ.ย. ถึงเดือนก.ค.
ที่ผ่านมาได้มีการวางจำหน่ายตั๋วรถไฟแคสซิโอเปียที่สถานีรถไฟ แต่นับจากนี้ไปจะมีวางจำหน่ายที่บริษัทท่องเที่ยว ถ้าใครมีโอกาสได้ไปเที่ยวช่วงเดือน มิ.ย-ก.ค.ลองไปใช้บริการดูนะคะ
credit:www.thaitransport-photo.net/
special thanks: www.google.co.th
Posted by mod at
13:23
│Comments(0)
2016年04月07日
サクラエビ ซากุระเอบิ
ตอนนี้ที่ญี่ปุ่นนอกจากจะเป็นช่วงที่ได้ชมดอกซากุระบานแล้ว ยังเข้าสู่ฤดูกาลในการจับซากุระเอบิด้วยค่ะ
ซากุระเอบิเป็นยังไงนะ?
คำว่า “เอบิ” (えび) ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า “กุ้ง” ซากุระเอบิจะเป็นกุ้งขนาดเล็กที่มีลำตัวยาวประมาณ 4 ซม. แล้วจะมีสีชมพูคล้ายกับสีของซากุระด้วย ที่พบได้ทั่วไปในอ่าวซุรุกะ, อ่าวโตเกียวเป็นต้น แล้วก็สามารถจับได้ที่ทะเลทางตอนใต้ที่ ของจังหวัดชิซึโอกะที่มีชื่อเสียงในด้านของความหวานอร่อย ซากุระเอบิจะเป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารที่บอบบางมากๆ แค่เผลอเอาไปแช่เย็นแค่ครั้งเดียว ความหวานในตัวกุ้งก็จะหายไปเลย กุ้งชนิดนี้นับว่าเป็นสิ่งมีค่ามากในท้องถิ่นเมืองชิซุโอกะ
「ซากุระเอบิ」เป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับเมืองชิซึโอกะ ปกติแล้วซากุระเอบิมักจะถูกนำไปเป็นวัตถุดิบในการทำอาหารประเภททอดหรือผัดกับข้าว แต่ที่ชิซึโอกะนี้นำซากุระเอบิสดๆ มาใช้ในการทำอาหารหลายรูปแบบค่ะ
เมืองชิซุโอกะจะมีซากุระเอบิเยอะมาก ในประเทศญี่ปุ่นบริเวณที่จะจับซากุระเอบิได้มีเพียงที่อ่าวซุรุงะแห่งนี้แห่งเดียวเท่านั้น!ฤดูการจับนั้นมีปีละ 2 ครั้ง นั่นคือในฤดูใบไม้ผลิ (กลางเดือนมีนาคม〜ต้นเดือนมิถุนายน) และฤดูใบไม้ร่วง (สิ้นเดือนตุลาคม〜สิ้นเดือนธันวาคม) เรือหาปลามากกว่า 120 ลำจะมุ่งหาออกสู่ทะเลเพื่อไปจับซากุระเอบิ
ชาวประมงท้องถิ่นเล่าให้ฟังว่าซากุระเอบิที่อ่าวซุรุงะนั้นหวาน・อร่อยกว่าที่จับได้จากต่างประเทศมาก ซากุระเอบิเป็นกุ้งที่สามารถกินเข้าไปได้ทั้งเปลือก จึงไม่มีขั้นตอนในการจัดการยุ่งยาก แถมเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและ มีแคลเซียมและเส้นใยอาหารสูงด้วย
หรือแม้แต่บริเวณลานตากปลาตากกุ้งของชาวประมงในจังหวัดชิสุโอกะ ซึ่งในวันเวลาช่วงเปลี่ยนฤดูกาลจากฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งเป็นช่วงที่ดอกซากุระบาน ชาวประมงจะออกไปวางอวนจับกุ้งฝอยชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าซากุระเอบิเป็นกุ้งตัวเล็กๆ สีแดงว่ายตามกระแสน้ำมาให้จับขึ้นมาตากเป็นกุ้งแห้งฝอย ซึ่งบริเวณลานตากกุ้งสีแดงสดใส มีฉากหลังเป็นภูเขาไฟฟูจิที่งดงามตั้งตระหง่าน ช่างภาพที่มารอถ่ายภาพบริเวณนี้ก็จะได้บรรยากาศของความเป็นหมู่บ้านประมงญี่ปุ่นอย่างแท้จริงติดไม้ติดมือกลับไป ซึ่งกุ้งซากุระเอบินี้ปีหนึ่งจะมีให้จับกันระยะเวลาสั้นๆ ช่วงเปลี่ยนฤดูกาล 2 ช่วง คือช่วงซากุระบานกับช่วงใบไม้เปลี่ยนสีเท่านั้น
สำหรับซากุระเอบิในฤดูใบไม้ผลิของปีนี้ได้เริ่มต้นจับกันไปแล้วตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย.ที่ผ่าน เรือที่กลับมายังท่าเรือประมงYuigyo ในจังหวัดชิซึโอกะ สามารถจับซากุระเอบิได้ 22 ตัน ซึ่งเมื่อปีก่อนจับได้ประมาณ 2 ตัน แล้วในการประมูลเมื่อเช้าวันที่ 4 เม.ย. ราคาเฉลี่ยต่อ 15 กิโลกรัมตกอยู่ราวๆ 4 หมื่นเยนซึ่งราคาต่ำกว่าเมื่อปีก่อนกว่า สำหรับซากุระเอบิในฤดูใบไม้ผลิจะจับได้จนถึงวันที่ 7 มิ.ย.
ซึ่งคนที่อยู่บริเวณท่าเรือประมง Yuigyo ได้กล่าวว่า “อยากให้คนจำนวนมากได้เพลิดเพลินไปกับรสชาติของซากุระเอบิ”
ภาพทุ่งกว้างสีแดงสดกับภูเขาไฟฟูจิก็ตื่นตาตื่นใจไม่แพ้กัน สีแดงที่เห็นอยู่นี้คือ ซากุระเอบิ หรือ กุ้งฝอยค่ะ ซากุระเอบิปริมาณมากจะถูกจับขึ้นมาจากทะเล แล้วผึ่งแดดให้แห้ง จึงทำให้เกิดทิวทัศน์สีแดงสดนี้ขึ้นมา สามารถมาชมได้ที่ลาน "ซากุระเอบิเทนบิโบชิโจ" อ่าวซุรุกะ (Suruga) เมืองคันบาระ (Kanbara) ในจังหวัดชิซุโอกะ
อาหารที่ทำจากซากุระเอบิก็มีมากมายเลยทีเดียว อย่างเช่นคาคิอาเกะ (อาหารญี่ปุ่นที่นำเนื้อปลาหรือผักมาหั่นเป็นชิ้นเล็กผสมกับแป้งสาลีและนำไปทอด) นำมาทำเป็นอุด้ง หรือดงบุริ
ความอร่อยของซากุระเอบิจากอ่าวซุรุงะนั้นไม่ใช่เเค่รสชาติและคุณภาพเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงระบบในการบริหารจัดการทรัพยากรของชาวประมงด้วยค่ะ เพื่อให้ซากุระเอบิที่หายากเหล่านี้คงอยู่ต่อไปชั่วลูกชั่วหลาน สมาคมชาวประมงเมืองชิซุโอกะได้ทำการบริหารจัดการทรัพยากรอันทรงคุณค่านี้อย่างเข้มงวด หากเพื่อนมีโอกาสไปเมืองชิซุโอกะอย่าพลาดอาหารที่ทำจากซากุระเอบิสดๆ นะคะ
ซากุระเอบิเป็นยังไงนะ?
คำว่า “เอบิ” (えび) ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า “กุ้ง” ซากุระเอบิจะเป็นกุ้งขนาดเล็กที่มีลำตัวยาวประมาณ 4 ซม. แล้วจะมีสีชมพูคล้ายกับสีของซากุระด้วย ที่พบได้ทั่วไปในอ่าวซุรุกะ, อ่าวโตเกียวเป็นต้น แล้วก็สามารถจับได้ที่ทะเลทางตอนใต้ที่ ของจังหวัดชิซึโอกะที่มีชื่อเสียงในด้านของความหวานอร่อย ซากุระเอบิจะเป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารที่บอบบางมากๆ แค่เผลอเอาไปแช่เย็นแค่ครั้งเดียว ความหวานในตัวกุ้งก็จะหายไปเลย กุ้งชนิดนี้นับว่าเป็นสิ่งมีค่ามากในท้องถิ่นเมืองชิซุโอกะ
「ซากุระเอบิ」เป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับเมืองชิซึโอกะ ปกติแล้วซากุระเอบิมักจะถูกนำไปเป็นวัตถุดิบในการทำอาหารประเภททอดหรือผัดกับข้าว แต่ที่ชิซึโอกะนี้นำซากุระเอบิสดๆ มาใช้ในการทำอาหารหลายรูปแบบค่ะ
เมืองชิซุโอกะจะมีซากุระเอบิเยอะมาก ในประเทศญี่ปุ่นบริเวณที่จะจับซากุระเอบิได้มีเพียงที่อ่าวซุรุงะแห่งนี้แห่งเดียวเท่านั้น!ฤดูการจับนั้นมีปีละ 2 ครั้ง นั่นคือในฤดูใบไม้ผลิ (กลางเดือนมีนาคม〜ต้นเดือนมิถุนายน) และฤดูใบไม้ร่วง (สิ้นเดือนตุลาคม〜สิ้นเดือนธันวาคม) เรือหาปลามากกว่า 120 ลำจะมุ่งหาออกสู่ทะเลเพื่อไปจับซากุระเอบิ
ชาวประมงท้องถิ่นเล่าให้ฟังว่าซากุระเอบิที่อ่าวซุรุงะนั้นหวาน・อร่อยกว่าที่จับได้จากต่างประเทศมาก ซากุระเอบิเป็นกุ้งที่สามารถกินเข้าไปได้ทั้งเปลือก จึงไม่มีขั้นตอนในการจัดการยุ่งยาก แถมเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและ มีแคลเซียมและเส้นใยอาหารสูงด้วย
หรือแม้แต่บริเวณลานตากปลาตากกุ้งของชาวประมงในจังหวัดชิสุโอกะ ซึ่งในวันเวลาช่วงเปลี่ยนฤดูกาลจากฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งเป็นช่วงที่ดอกซากุระบาน ชาวประมงจะออกไปวางอวนจับกุ้งฝอยชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าซากุระเอบิเป็นกุ้งตัวเล็กๆ สีแดงว่ายตามกระแสน้ำมาให้จับขึ้นมาตากเป็นกุ้งแห้งฝอย ซึ่งบริเวณลานตากกุ้งสีแดงสดใส มีฉากหลังเป็นภูเขาไฟฟูจิที่งดงามตั้งตระหง่าน ช่างภาพที่มารอถ่ายภาพบริเวณนี้ก็จะได้บรรยากาศของความเป็นหมู่บ้านประมงญี่ปุ่นอย่างแท้จริงติดไม้ติดมือกลับไป ซึ่งกุ้งซากุระเอบินี้ปีหนึ่งจะมีให้จับกันระยะเวลาสั้นๆ ช่วงเปลี่ยนฤดูกาล 2 ช่วง คือช่วงซากุระบานกับช่วงใบไม้เปลี่ยนสีเท่านั้น
สำหรับซากุระเอบิในฤดูใบไม้ผลิของปีนี้ได้เริ่มต้นจับกันไปแล้วตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย.ที่ผ่าน เรือที่กลับมายังท่าเรือประมงYuigyo ในจังหวัดชิซึโอกะ สามารถจับซากุระเอบิได้ 22 ตัน ซึ่งเมื่อปีก่อนจับได้ประมาณ 2 ตัน แล้วในการประมูลเมื่อเช้าวันที่ 4 เม.ย. ราคาเฉลี่ยต่อ 15 กิโลกรัมตกอยู่ราวๆ 4 หมื่นเยนซึ่งราคาต่ำกว่าเมื่อปีก่อนกว่า สำหรับซากุระเอบิในฤดูใบไม้ผลิจะจับได้จนถึงวันที่ 7 มิ.ย.
ซึ่งคนที่อยู่บริเวณท่าเรือประมง Yuigyo ได้กล่าวว่า “อยากให้คนจำนวนมากได้เพลิดเพลินไปกับรสชาติของซากุระเอบิ”
ภาพทุ่งกว้างสีแดงสดกับภูเขาไฟฟูจิก็ตื่นตาตื่นใจไม่แพ้กัน สีแดงที่เห็นอยู่นี้คือ ซากุระเอบิ หรือ กุ้งฝอยค่ะ ซากุระเอบิปริมาณมากจะถูกจับขึ้นมาจากทะเล แล้วผึ่งแดดให้แห้ง จึงทำให้เกิดทิวทัศน์สีแดงสดนี้ขึ้นมา สามารถมาชมได้ที่ลาน "ซากุระเอบิเทนบิโบชิโจ" อ่าวซุรุกะ (Suruga) เมืองคันบาระ (Kanbara) ในจังหวัดชิซุโอกะ
อาหารที่ทำจากซากุระเอบิก็มีมากมายเลยทีเดียว อย่างเช่นคาคิอาเกะ (อาหารญี่ปุ่นที่นำเนื้อปลาหรือผักมาหั่นเป็นชิ้นเล็กผสมกับแป้งสาลีและนำไปทอด) นำมาทำเป็นอุด้ง หรือดงบุริ
ความอร่อยของซากุระเอบิจากอ่าวซุรุงะนั้นไม่ใช่เเค่รสชาติและคุณภาพเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงระบบในการบริหารจัดการทรัพยากรของชาวประมงด้วยค่ะ เพื่อให้ซากุระเอบิที่หายากเหล่านี้คงอยู่ต่อไปชั่วลูกชั่วหลาน สมาคมชาวประมงเมืองชิซุโอกะได้ทำการบริหารจัดการทรัพยากรอันทรงคุณค่านี้อย่างเข้มงวด หากเพื่อนมีโอกาสไปเมืองชิซุโอกะอย่าพลาดอาหารที่ทำจากซากุระเอบิสดๆ นะคะ
Posted by mod at
14:11
│Comments(0)
2016年04月05日
เปิดถนนพระราชวังอิมพีเรียลให้ชมซากุระ
สวัสดีคะ ช่วงนี้ก็เข้าสู่ช่วง 花見 (Hanami) การชมดอกไม้กันแล้วสินะคะ สถานที่ชมดอกซากุระในประเทศญี่ปุ่นก็มีหลากหลายที่ที่สวยงามตระการตา
แต่การชมดอกซากุระที่พิเศษสุดๆ คงจะต้องเป็นการชมซากุระในพระราชวังอิมพีเรียล กลางกรุงโตเกียว แถมสำนักพระราชวังอิมพีเรียลยังเปิดถนนสวนพระองค์ให้เข้าชมด้วย
ปีนี้มีทางสำนักพระราชวังอิมพีเรียลก็ได้เปิดถนน 乾通 (いぬいどおり- Inui doori) ซึ่งเป็นถนนอยู่ด้านในพระราชวังเพื่อให้ทุกคนได้เข้ามาชมซากุระบานสองฝั่งถนนเส้นนี้ ตามปกติถนนเส้นนี้จะห้ามไม่ให้บุคคลทั่วไปสัญจรผ่าน
ถนน Inui เส้นนี้ปกติเมื่อก่อนทางราชวงศ์ใช้ในการสัญจรผ่านไปมา และเมื่อฤดูใบไม้พลิปี 2014 ได้มีการเปิดให้ใช้ถนนเส้นนี้เป็นครั้งแรก เนื่องด้วยการฉลองครบรอบ 80 ปี ขององค์จักรพรรดิ Akihito ในเวลาต่อมาสำนักพระราชวังจึงมีการเปิดให้สามารถผ่านถนนเส้นนี้ได้ในบางช่วงเวลาโดยเฉพาะฤดูใบไม้พลิในช่วงชมดอกซากุระ และฤดูใบไม้ร่วงในช่วงชมใบไม้เปลี่ยนสีเท่านั้น
ถนนเส้นนี้ยาว 600 เมตร เชื่อมต่อฝั่งทางประตูเหนือลงมาถึงประตูฝั่งใต้ของพระราชวัง ซึ่งสองฝั่งถนนนั้นเต็มไปด้วยซากุระหลากหลายสายพันธุ์กว่า 75 ต้นเลยทีเดียว
แต่ว่าเมื่อวันที่ 25 มีนาคมในวันเปิดให้ใช้ถนนเส้นนี้ ซากุระยังบานไม่เยอะเท่าไหร่ เพียงแค่ประมาณ 10% ของทั้งหมดเท่านั้นเอง แต่เชื่อว่าอีกไม่กี่วันจะบานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และน่าจะบาน 100% ภายในประมาณหนึ่งสัปดาห์ ตามกำหนดแล้วปีนี้จะสามารถชมดอกซากุระที่ถนนเส้นนี้ได้จนถึงวันที่ 31 มีนาคมนี้ แต่ด้วยสภาพอากาศเย็นติดต่อกัน จึงทำให้ซากุระบานช้าไปเล็กน้อย ดังนั้น สำนักพระราชวังจึงอนุญาตให้สามารถเข้าไปชมได้จนถึงวันที่ 3 เม.ย.นี้ โดยประตู Sakashitaที่เป็นทางเข้าของถนน “Inui” จะเปิดตั้งแต่เวลา 10 โมงเช้าถึงบ่าย 3 โมงค่ะ
ถ้าใครพลาดครั้งนี้ ก็ยังสามารถเข้าไปชมในช่วงใบไม้เปลี่ยนสีได้นะคะ
แต่การชมดอกซากุระที่พิเศษสุดๆ คงจะต้องเป็นการชมซากุระในพระราชวังอิมพีเรียล กลางกรุงโตเกียว แถมสำนักพระราชวังอิมพีเรียลยังเปิดถนนสวนพระองค์ให้เข้าชมด้วย
ปีนี้มีทางสำนักพระราชวังอิมพีเรียลก็ได้เปิดถนน 乾通 (いぬいどおり- Inui doori) ซึ่งเป็นถนนอยู่ด้านในพระราชวังเพื่อให้ทุกคนได้เข้ามาชมซากุระบานสองฝั่งถนนเส้นนี้ ตามปกติถนนเส้นนี้จะห้ามไม่ให้บุคคลทั่วไปสัญจรผ่าน
ถนน Inui เส้นนี้ปกติเมื่อก่อนทางราชวงศ์ใช้ในการสัญจรผ่านไปมา และเมื่อฤดูใบไม้พลิปี 2014 ได้มีการเปิดให้ใช้ถนนเส้นนี้เป็นครั้งแรก เนื่องด้วยการฉลองครบรอบ 80 ปี ขององค์จักรพรรดิ Akihito ในเวลาต่อมาสำนักพระราชวังจึงมีการเปิดให้สามารถผ่านถนนเส้นนี้ได้ในบางช่วงเวลาโดยเฉพาะฤดูใบไม้พลิในช่วงชมดอกซากุระ และฤดูใบไม้ร่วงในช่วงชมใบไม้เปลี่ยนสีเท่านั้น
ถนนเส้นนี้ยาว 600 เมตร เชื่อมต่อฝั่งทางประตูเหนือลงมาถึงประตูฝั่งใต้ของพระราชวัง ซึ่งสองฝั่งถนนนั้นเต็มไปด้วยซากุระหลากหลายสายพันธุ์กว่า 75 ต้นเลยทีเดียว
แต่ว่าเมื่อวันที่ 25 มีนาคมในวันเปิดให้ใช้ถนนเส้นนี้ ซากุระยังบานไม่เยอะเท่าไหร่ เพียงแค่ประมาณ 10% ของทั้งหมดเท่านั้นเอง แต่เชื่อว่าอีกไม่กี่วันจะบานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และน่าจะบาน 100% ภายในประมาณหนึ่งสัปดาห์ ตามกำหนดแล้วปีนี้จะสามารถชมดอกซากุระที่ถนนเส้นนี้ได้จนถึงวันที่ 31 มีนาคมนี้ แต่ด้วยสภาพอากาศเย็นติดต่อกัน จึงทำให้ซากุระบานช้าไปเล็กน้อย ดังนั้น สำนักพระราชวังจึงอนุญาตให้สามารถเข้าไปชมได้จนถึงวันที่ 3 เม.ย.นี้ โดยประตู Sakashitaที่เป็นทางเข้าของถนน “Inui” จะเปิดตั้งแต่เวลา 10 โมงเช้าถึงบ่าย 3 โมงค่ะ
ถ้าใครพลาดครั้งนี้ ก็ยังสามารถเข้าไปชมในช่วงใบไม้เปลี่ยนสีได้นะคะ
Posted by mod at
12:50
│Comments(0)