› 日本が好き › 2015年11月
2015年11月16日
งานฉลองรับขวัญเด็กอายุ 7-5-3 ขวบ (Shichi-go-san)
สำหรับเดือนพฤศจิกายนนี้ คนไทยเราก็จะมีเทศกาลลอยกระทงกันนะคะ สำหรับญี่ปุ่นเขาก็มีงานฉลองสำคัญ 1 งานก็คืองานฉลองรับขวัญสำหรับเด็กอายุ 7-5-3 ขวบ เพื่อขอให้เด็กเจริญเติบโตสุขภาพแข็งแรงมีความสุข เรียกว่า ชิจิโกะซัง 七五三(しちごさん)
โดยในวันที่ 15 พฤศจิกายน จะมีพิธีกรรมสำคัญ โดยเด็กชายอายุ 3 และ 5 ขวบ กับเด็กหญิงอายุ 3 และ 7 ขวบ จะแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่หรูหราหรือชุดกิโมโนที่ เรียกว่าชุด Heragi (晴れ着)ไปนมัสการศาลเจ้าคุ้มครองประจำหมู่บ้าน 氏神様 (うじがみさま) หรือศาลเจ้าขนาดใหญ่ พร้อมด้วยพ่อแม่ปู่ย่าตายาย
ส่วนการไปนมัสการศาลเจ้าของเด็กที่เกิดใหม่ เรียกว่า Omiya-mairi (お宮参り) ทำเพื่ออธิษฐานขอพรให้เด็กๆ มีความสุข เจริญเติบโตมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ในอนาคต
หลังจากนั้นจะมีประเพณีให้เด็กถือลูกกวาดที่เรียกว่า Chitose Ame และถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก Chitose-ame (千歳飴) คำว่า 千歳 แปลตรงตัวคือ "อายุ 1,000 ปี" ส่วน 飴 คือ "ลูกกวาด" จึงมีความหมายว่า "ลูกกวาดอายุ 1,000 ปี" เป็นลูกกวาดแท่งยาวสีแดงสลับขาวทำจากน้ำตาล เชื่อกันว่ากินแล้วจะทำให้มีอายุยืนยาว หลังจากนั้นจะไปฉลองงานเลี้ยงพร้อมกับสมาชิกในครอบครัวที่บ้านหรือที่ภัตตาคาร
อาจมีการทำพิธีโนะริโตะ 祝詞(のりと) สวดภาวนาต่อเทพเจ้าชินโต และพิธีโอะฮะไร お祓い(おはらい) เพื่อขับไล่วิญญาณชั่วร้าย สร้างความบริสุทธิ์ตามความเชื่อทางศาสนาชินโต โดยพระชินโตเป็นผู้ประกอบพิธี
จากนั้นก็มีการถวายฮะทรึโฮะเรียว 初穂料(はつほりょう)เป็นการถวายเงินให้ศาลเจ้า
เด็กชายจะสวมฮะโอะริ ซึ่งเป็นเสื้อคลุมสวมทับกิโมโน และฮะคะมะ ซึ่งเป็นกระโปรงกางเกงแบบญี่ปุ่นยาวคลุมข้อเท้า เด็กหญิงอายุ 3 ขวบจะสวมทรึเคะฮิโมะ 付紐(つけひも)ซึ่งเป็นสายคาดง่าย ๆ ที่ทำติดกับกิโมโนของเด็ก และเมื่ออายุ 7 ขวบจะสวมโอะบิ 帯(おび)สายคาดเอวขนาดใหญ่สำหรับชุดกิโมโนแทน ส่วนผู้ปกครองจะแต่งกายอย่างเป็นพิธีรีตองหรือชุดกิโมโน
การแต่งกายของเด็กผู้หญิงที่มีอายุ 3 ขวบ
การแต่งกายของเด็กผู้หญิงที่มีอายุ 7 ขวบ
การแต่งกายของเด็กผู้ชายที่มีอายุ 3 ขวบ และ 5 ขวบ
เนื่องจากวันที่ 15 พฤศจิกายนไม่ใช่วันหยุดประจำชาติ ปัจจุบันนี้ครอบครัวจึงมักไปนมัสการที่ศาลเจ้าในวันหยุดหรือวันที่ใกล้เคียงกับวันที่ 15 พฤศจิกายน
ปัจจุบันนิยมการถ่ายรูปที่ระลึกหรือถ่ายวีดีโอกันในสตูดิโอหรือที่ศาลเจ้าเพื่อเก็บไว้เป็นความทรงจำถึงวันดังกล่าวในวัยเด็ก
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก:
โรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นแจ๊ท Jat (JAT Japanese language school)
โดยในวันที่ 15 พฤศจิกายน จะมีพิธีกรรมสำคัญ โดยเด็กชายอายุ 3 และ 5 ขวบ กับเด็กหญิงอายุ 3 และ 7 ขวบ จะแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่หรูหราหรือชุดกิโมโนที่ เรียกว่าชุด Heragi (晴れ着)ไปนมัสการศาลเจ้าคุ้มครองประจำหมู่บ้าน 氏神様 (うじがみさま) หรือศาลเจ้าขนาดใหญ่ พร้อมด้วยพ่อแม่ปู่ย่าตายาย
ส่วนการไปนมัสการศาลเจ้าของเด็กที่เกิดใหม่ เรียกว่า Omiya-mairi (お宮参り) ทำเพื่ออธิษฐานขอพรให้เด็กๆ มีความสุข เจริญเติบโตมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ในอนาคต
หลังจากนั้นจะมีประเพณีให้เด็กถือลูกกวาดที่เรียกว่า Chitose Ame และถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก Chitose-ame (千歳飴) คำว่า 千歳 แปลตรงตัวคือ "อายุ 1,000 ปี" ส่วน 飴 คือ "ลูกกวาด" จึงมีความหมายว่า "ลูกกวาดอายุ 1,000 ปี" เป็นลูกกวาดแท่งยาวสีแดงสลับขาวทำจากน้ำตาล เชื่อกันว่ากินแล้วจะทำให้มีอายุยืนยาว หลังจากนั้นจะไปฉลองงานเลี้ยงพร้อมกับสมาชิกในครอบครัวที่บ้านหรือที่ภัตตาคาร
อาจมีการทำพิธีโนะริโตะ 祝詞(のりと) สวดภาวนาต่อเทพเจ้าชินโต และพิธีโอะฮะไร お祓い(おはらい) เพื่อขับไล่วิญญาณชั่วร้าย สร้างความบริสุทธิ์ตามความเชื่อทางศาสนาชินโต โดยพระชินโตเป็นผู้ประกอบพิธี
จากนั้นก็มีการถวายฮะทรึโฮะเรียว 初穂料(はつほりょう)เป็นการถวายเงินให้ศาลเจ้า
เด็กชายจะสวมฮะโอะริ ซึ่งเป็นเสื้อคลุมสวมทับกิโมโน และฮะคะมะ ซึ่งเป็นกระโปรงกางเกงแบบญี่ปุ่นยาวคลุมข้อเท้า เด็กหญิงอายุ 3 ขวบจะสวมทรึเคะฮิโมะ 付紐(つけひも)ซึ่งเป็นสายคาดง่าย ๆ ที่ทำติดกับกิโมโนของเด็ก และเมื่ออายุ 7 ขวบจะสวมโอะบิ 帯(おび)สายคาดเอวขนาดใหญ่สำหรับชุดกิโมโนแทน ส่วนผู้ปกครองจะแต่งกายอย่างเป็นพิธีรีตองหรือชุดกิโมโน
การแต่งกายของเด็กผู้หญิงที่มีอายุ 3 ขวบ
การแต่งกายของเด็กผู้หญิงที่มีอายุ 7 ขวบ
การแต่งกายของเด็กผู้ชายที่มีอายุ 3 ขวบ และ 5 ขวบ
เนื่องจากวันที่ 15 พฤศจิกายนไม่ใช่วันหยุดประจำชาติ ปัจจุบันนี้ครอบครัวจึงมักไปนมัสการที่ศาลเจ้าในวันหยุดหรือวันที่ใกล้เคียงกับวันที่ 15 พฤศจิกายน
ปัจจุบันนิยมการถ่ายรูปที่ระลึกหรือถ่ายวีดีโอกันในสตูดิโอหรือที่ศาลเจ้าเพื่อเก็บไว้เป็นความทรงจำถึงวันดังกล่าวในวัยเด็ก
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก:
โรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นแจ๊ท Jat (JAT Japanese language school)
Posted by mod at
19:23
│Comments(0)
2015年11月14日
女性も戦闘機のパイロットになってもらう ญี่ปุ่นอนุญาตให้ผู้หญิงเป็นนักบินเครื่องบินรบได้แล้ว
เมื่อวันก่อนเปิดไปดูข่าว NHK เห็นกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น ก็เลยนึกสนใจขึ้นมา ลองเปิดหาข้อมูลดูก็สนุกดีนะคะ ได้ความรู้เยอะเลย
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นกันนะคะ
กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น มีชื่อเรียกเป็นภาษาญีปุ่นว่า "自衛隊" (じえいたい Jieitai, จิเอไต)
แล้วยังแยกเป็นแต่หน่วยด้วยคือ
1.กองกำลังป้องกันตนเองภาคพื้นดินญี่ปุ่น (อังกฤษ: Japan Ground Self-Defense Force คำย่อ: JGSDF)
2.กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลของญี่ปุ่น (อังกฤษ : Japan Maritime Self-Defense Force คำย่อ : JMSDF)
3.กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น (อังกฤษ: Japan Air Self-Defense Force คำย่อ JASDF)
ในบางครั้งก็เรียกกันว่า JSDF , JSF หรือ SDF จะเป็นบุคลากรจากประเทศญี่ปุ่นที่ถูกจัดตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงเพื่อแทนที่กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นที่ถูกยุบ และฝ่ายสัมพันธมิตรยึดครองญี่ปุ่น ในเวลาหลังสงคราม กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นถูกใช้งานในเฉพาะภายในประเทศมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศอธิปไตยชาติเพียงอย่างเดียวและไม่ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติภารกิจในต่างประเทศ ยกเว้นในสถานการณ์ที่เป็นการป้องกันตนเองในขอบเขตที่จำกัดเท่านั้น แม้อาจมีภารกิจในต่างประเทศในปฏิบัติการรักษาสันติภาพ แต่ล่าสุดในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ครม.ญี่ปุ่นได้ตีความรัฐธรรมนูญมาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นใหม่สรุปได้ว่า กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นจะสามารถส่งทหารไปปฏิบัติภารกิจการป้องกันตนเองร่วมได้ (Collectvie-Self Defence) ตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพื่อปกป้องชาติหนึ่งจากการถูกรุกราน โดยญี่ปุ่นจะสามารถไปช่วยเหลือชาติพันธมิตรใกล้ชิดที่ถูกโจมตีได้ หากการโจมตีนั้นเป็นภัยคุกคามต่อการดำรงอยู่ของญี่ปุ่นและไม่มีวิธีอื่นในการปกป้องชีวิตชาวญี่ปุ่น
การศึกษา
วิทยาลัยป้องกันประเทศญี่ปุ่น (National Defense Academy of Japan หรือ "โบเอได") เป็นสถาบันการศึกษาหลักที่ผลิตนายทหารแก่กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นทั้งสามเหล่า นอกจากการเรียนภาษาญี่ปุ่น1ปีแล้ว นักเรียนนายร้อยจะศึกษาที่ NDA 4ปี โดย NDA นี้จะรวมนักเรียนทั้งสามเหล่าทัพ (JGSDF, JMSDF และ JASDF) ไว้ร่วมกันในที่แห่งเดียวที่ NDA นั้นเปิดรับสุภาพสตรีเข้ารับการศึกษาเช่นเดียวกับผู้ชายตั้งแต่ปี 1992โดยมีจำนวนราวร้อยละ10ของนักเรียนทั้งหมด การฝึกศึกษาไม่ต่างกัน พักที่ตึกนอนตึกเดียวกัน (แต่คนละชั้น) แต่เกณฑ์บางอย่างเช่นการทดสอบร่างกายจะต่างกัน
สำหรับกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นนั้นไม่ได้มีแต่ผู้ชายเท่านั้นนะคะ มีผู้หญิงด้วยค่ะ แถมตอนนี้ผู้หญิงก็ยังสามารถเป็นนักบินสำหรับเครื่องบินลำเลียงขนส่งทหาร และเครื่องบินลาดตระเวนในกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นได้แล้วด้วย
เครื่องบินลำเลียงขนส่งทหาร คือ 輸送機 อ่านว่า ゆそうき (=人(ひと)や物(もの)を運(はこ)ぶ飛行機(ひこうき)) คือเครื่องบินที่ขนส่งสิ่งของและคน)
ส่วน เครื่องบินลาดตระเวน คือ 哨戒機 อ่านว่า しょうかいき (=海(うみ)の上(うえ)などを飛(と)んでパトロールする飛行機(ひこうき)) คือเครื่องบินที่นักบินใช้บินเหนือทะเลเป็นต้น)
โฉมหน้านักบินสาวๆ
แต่สำหรับในเครื่องบินรบนั้นผู้หญิงยังไม่สามารถขึ้นขับได้ เพราะเขาให้เหตุผลว่า การขึ้นขับเครื่องบินรบที่ต้องบินด้วยความเร็วสูงนั้นเป็นงานที่หนักสำหรับผู้หญิง
แต่จะว่าไปแล้ว ในกองทัพสหรัฐอเมริกาก็มีนักบินสำหรับเครื่องบินรบที่เป็นผู้หญิงด้วย เพราะคิดว่าประเทศอยากจะให้ผู้หญิงได้มีบทบาทในการทำงานด้านต่างๆ ให้มากขึ้นนับตั้งแต่นี้เป็นต้นไปด้วย
ดังนั้น กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นก็จะให้ผู้หญิงเป็นนักบินสำหรับเครื่องบินรบต่อไปด้วย หลังจากที่ฝึกซ้อมปฏิบัติการอย่างครบถ้วนแล้ว คาดว่าประมาณปี 2018 ก็จะมีนักบินหญิงที่ขึ้นขับเครื่องบินรบในกองกำลังป้องกันตนเองเป็นครั้งแรกเลยทีเดียว
เครื่องบินรบ คือ 戦闘機 อ่านว่า せんとうき (=攻撃(こうげき)することができる飛行機(ひこうき)) คือเครื่องบินที่สามารถทำการโจมตีได้
Mitsubishi F-2 บ.โจมตี
ขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นกันนะคะ
กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น มีชื่อเรียกเป็นภาษาญีปุ่นว่า "自衛隊" (じえいたい Jieitai, จิเอไต)
แล้วยังแยกเป็นแต่หน่วยด้วยคือ
1.กองกำลังป้องกันตนเองภาคพื้นดินญี่ปุ่น (อังกฤษ: Japan Ground Self-Defense Force คำย่อ: JGSDF)
2.กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลของญี่ปุ่น (อังกฤษ : Japan Maritime Self-Defense Force คำย่อ : JMSDF)
3.กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น (อังกฤษ: Japan Air Self-Defense Force คำย่อ JASDF)
ในบางครั้งก็เรียกกันว่า JSDF , JSF หรือ SDF จะเป็นบุคลากรจากประเทศญี่ปุ่นที่ถูกจัดตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงเพื่อแทนที่กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นที่ถูกยุบ และฝ่ายสัมพันธมิตรยึดครองญี่ปุ่น ในเวลาหลังสงคราม กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นถูกใช้งานในเฉพาะภายในประเทศมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศอธิปไตยชาติเพียงอย่างเดียวและไม่ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติภารกิจในต่างประเทศ ยกเว้นในสถานการณ์ที่เป็นการป้องกันตนเองในขอบเขตที่จำกัดเท่านั้น แม้อาจมีภารกิจในต่างประเทศในปฏิบัติการรักษาสันติภาพ แต่ล่าสุดในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ครม.ญี่ปุ่นได้ตีความรัฐธรรมนูญมาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นใหม่สรุปได้ว่า กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นจะสามารถส่งทหารไปปฏิบัติภารกิจการป้องกันตนเองร่วมได้ (Collectvie-Self Defence) ตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพื่อปกป้องชาติหนึ่งจากการถูกรุกราน โดยญี่ปุ่นจะสามารถไปช่วยเหลือชาติพันธมิตรใกล้ชิดที่ถูกโจมตีได้ หากการโจมตีนั้นเป็นภัยคุกคามต่อการดำรงอยู่ของญี่ปุ่นและไม่มีวิธีอื่นในการปกป้องชีวิตชาวญี่ปุ่น
การศึกษา
วิทยาลัยป้องกันประเทศญี่ปุ่น (National Defense Academy of Japan หรือ "โบเอได") เป็นสถาบันการศึกษาหลักที่ผลิตนายทหารแก่กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นทั้งสามเหล่า นอกจากการเรียนภาษาญี่ปุ่น1ปีแล้ว นักเรียนนายร้อยจะศึกษาที่ NDA 4ปี โดย NDA นี้จะรวมนักเรียนทั้งสามเหล่าทัพ (JGSDF, JMSDF และ JASDF) ไว้ร่วมกันในที่แห่งเดียวที่ NDA นั้นเปิดรับสุภาพสตรีเข้ารับการศึกษาเช่นเดียวกับผู้ชายตั้งแต่ปี 1992โดยมีจำนวนราวร้อยละ10ของนักเรียนทั้งหมด การฝึกศึกษาไม่ต่างกัน พักที่ตึกนอนตึกเดียวกัน (แต่คนละชั้น) แต่เกณฑ์บางอย่างเช่นการทดสอบร่างกายจะต่างกัน
สำหรับกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นนั้นไม่ได้มีแต่ผู้ชายเท่านั้นนะคะ มีผู้หญิงด้วยค่ะ แถมตอนนี้ผู้หญิงก็ยังสามารถเป็นนักบินสำหรับเครื่องบินลำเลียงขนส่งทหาร และเครื่องบินลาดตระเวนในกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นได้แล้วด้วย
เครื่องบินลำเลียงขนส่งทหาร คือ 輸送機 อ่านว่า ゆそうき (=人(ひと)や物(もの)を運(はこ)ぶ飛行機(ひこうき)) คือเครื่องบินที่ขนส่งสิ่งของและคน)
ส่วน เครื่องบินลาดตระเวน คือ 哨戒機 อ่านว่า しょうかいき (=海(うみ)の上(うえ)などを飛(と)んでパトロールする飛行機(ひこうき)) คือเครื่องบินที่นักบินใช้บินเหนือทะเลเป็นต้น)
โฉมหน้านักบินสาวๆ
แต่สำหรับในเครื่องบินรบนั้นผู้หญิงยังไม่สามารถขึ้นขับได้ เพราะเขาให้เหตุผลว่า การขึ้นขับเครื่องบินรบที่ต้องบินด้วยความเร็วสูงนั้นเป็นงานที่หนักสำหรับผู้หญิง
แต่จะว่าไปแล้ว ในกองทัพสหรัฐอเมริกาก็มีนักบินสำหรับเครื่องบินรบที่เป็นผู้หญิงด้วย เพราะคิดว่าประเทศอยากจะให้ผู้หญิงได้มีบทบาทในการทำงานด้านต่างๆ ให้มากขึ้นนับตั้งแต่นี้เป็นต้นไปด้วย
ดังนั้น กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นก็จะให้ผู้หญิงเป็นนักบินสำหรับเครื่องบินรบต่อไปด้วย หลังจากที่ฝึกซ้อมปฏิบัติการอย่างครบถ้วนแล้ว คาดว่าประมาณปี 2018 ก็จะมีนักบินหญิงที่ขึ้นขับเครื่องบินรบในกองกำลังป้องกันตนเองเป็นครั้งแรกเลยทีเดียว
เครื่องบินรบ คือ 戦闘機 อ่านว่า せんとうき (=攻撃(こうげき)することができる飛行機(ひこうき)) คือเครื่องบินที่สามารถทำการโจมตีได้
Mitsubishi F-2 บ.โจมตี
ขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย
Posted by mod at
13:21
│Comments(0)
2015年11月13日
旭山動物園で冬の営業が始まる สวนสัตว์อะซาฮิยาม่า หนาวแค่ไหนก็ไม่หวั่น
วันนี้ขอแนะนำสถานที่ท่องเทียวที่ผู้ใหญ่ก็ไปได้เด็กๆ ก็ไปดีกันนะคะ วันนี้ไปทางตอนเหนือสุดของประเทศญี่ปุ่นกันเลยค่ะ นั่นก็คือฮอคไกโด
ไม่รู้เพื่อนๆ เป็นกันหรือเปล่านะคะ สถานที่ที่ตอนเด็กๆ มักจะร้องไปอยุ่เสมอคือสวนสัตว์
สวนสัตว์ในภาษาญี่ปุ่นก็คือ 動物園 อ่านว่า Doobutsuen
สำหรับคำว่าสัตว์ก็คือ 動物 อ่านว่า Doobutsu เมื่อเติมคำว่า 園 เข้าไปซึ่งหมายความว่า "สวน" ก็เลยรวมกันออกมาเป็น "สวนสัตว์" นั่นเองค่ะ
วันนี้เรามาดูสวนสัตว์ที่อยู่ทางตอนเหนือสุดของญี่ปุ่นกัน นั่นก็คือ
สวนสัตว์อะซาฮิยาม่า(Asahiyama Zoo ,旭山動物園 )
สัญลักษณ์ของสวนสัตว์คือรูปนี้เลยค่ะ (น่ารักเนอะ)
เป็นสวนสัตว์ที่มีชื่อเสียงและใหญ่ที่สุดบนเกาะฮอกไกโด ซึ่งทางสวนสัตว์อนุญาตให้ผู้เข้าชมได้เข้าชมสัตว์นานาชนิดจากหลากหลายมุมมอง เป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนสวนสัตว์แห่งอื่นๆ และสิ่งที่ทำให้สถานที่นี้น่าสนใจมากขึ้นก็เพราะว่ามีหิมะตกด้วย
โดยจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชมสวนสัตว์แห่งนี้สูงถึง 3 ล้านคนต่อปี จุดเด่นของสวนสัตว์แห่งนี้คือความไม่ธรรมดาของสัตว์ต่าง ๆ ที่ออกแบบด้วยคิด Interactive Animal Viewing ที่สัตว์ต่างๆ จะไม่ได้ถูกกักขังอยู่ในกรงในแบบที่เคยเห็นในสวนสัตว์ทั่ว ๆ ไป ถือว่าเป็นสวนสัตว์ที่ทำออกมาได้ดีมากๆ แต่ที่นี่คุณจะได้เห็นความคิดสร้างสรรค์อันยอดเยี่ยมในการออกแบบที่อยู่ ของสัตว์ด้วยแนวความคิดที่ว่า สัตว์ต่างๆ ควรจะได้อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีและเป็นไปตามธรรมชาติของสัตว์นั้นๆเพื่อให้พวกเขามีความสุข อีกทั้งยังแฝงกิจกรรมที่สามารถใกล้ชิดสัตว์ต่างๆ ได้มากยิ่งขึ้นเช่นการทำแทงค์รูปกระบอกยื่นเข้าไปในบ่อของแมวน้ำซึ่งเราสามารถเห็นการเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่วของแมวน้ำได้อย่างใกล้ชิด
แถมป้ายคำแนะนำต่างๆ ก็เป็นป้ายทำมือบ่งบอกให้เห็นถึงความตั้งใจทำของเจ้าหน้าที่ในสวนสัตว์เป็นอย่างดี
สัตว์หลายตัวเป็นสัตว์เมืองหนาว แต่ที่ตืนตาตื่นใจก็ได้เห็นทั้งกวางเรนเดียร์ (เผื่อมีซานตาคลอสหลงมาด้วย)
หมีขาวที่นอนกลิ้งกับพื้นและที่หนี่ไม่พ้นก็คือเหล่านกเพนกวินที่แสนอุ้ยอ้ายและน่ารัก
สิ่งที่พลาดไม่ได้ถ้ามาเที่ยวชมที่นี่ หรือ เรียกได้ว่าเป็น ไฮไลท์ของสวนสัตว์แห่งนี้ ก็คือ อุโมงค์แก้วผ่านสระว่ายน้ำของเหล่าเพนกวิน และโดมแก้วขนาดเล็กที่อยู่ตรงกลางของโซนหมีขั้วโลกและหมาป่า ผู้เข้าชมจะมองเห็นได้อย่างชัดเจน ถ้ามาที่สวนสัตว์แห่งนี้ในช่วงฤดูหนาว มีกิจกรรมหนึ่งที่ไม่ควรพลาดเลย คือการเฝ้าชมขบวนพาเหรดนกเพนกวิน ที่เป็นสวนสัตว์แห่งแรกที่มีการจัดกิจกรรมนี้ขึ้นมาด้วย
การเปิดสวนสัตว์อะซาฮิยาม่าในช่วงฤดูหนาวได้เริ่มต้นขึ้นแล้วในวันที่ 11 พ.ย. ตอนเช้าก็มีหิมะตกโปรยปรายลงมา แต่แขกผู้มาเยือนจำนวนมากก็ไม่ย่อท้อยังคงมาและถ่ายภาพตอนที่เพนกวินกินปลาด้วย ประมาณหลังสิ้นเดือน ธ.ค. เราก็ยังสามารถได้ดู “ขบวนเดินเล่นของเพนกวิน” ด้วย โดยเหล่านกเพนกวินจะเดินเรียงกันเป็นแถวอยู่ภายในสวนสัตว์ที่เต็มไปด้วยหิมะ แล้วเราก็จะได้เห็นยีราฟใกล้ๆ ที่เพิ่งเดินทางจากประเทศอเมริการเมื่อเดือนที่แล้วด้วย
การเปิดสวนสัตว์อะซาฮิยาม่าในช่วงฤดูหนาวจะมีไปจนถึงวันที่ 7 เม.ย.ปีหน้าเลยนะคะ ใครมีโอกาสไปเที่ยวฮอคไกโดก็ลองไปเยี่ยมพวกสัตว์เหล่านี้ด้วยนะคะ
► การเข้าชมสวนสัตว์อะซาฮิยาม่า ( Asahiyama Zoo ) ◄
● ค่าเข้าชม: 820 เยน
● เวลาเปิด-ปิด: ปลายเดือนเมษายน-กลางเดือนตุลาคม 9:30-17:15(เข้าก่อน 16:00)
กลางเดือนตุลาคม-ต้นเดือนพฤศจิกายน 9:30-16:30(เข้าก่อน 16:00)
กลางเดือนพฤศจิกายน-ต้นเดือนเมษายน 10:30-15:30(เข้าก่อน 15:00)
● วันปิดทำการ: วันที่ 30 ธันวาคม – 1 มกราคม (ประมาณ 1 อาทิตย์ระหว่างช่วงฤดูร้อน และฤดูหนาว)
ไม่รู้เพื่อนๆ เป็นกันหรือเปล่านะคะ สถานที่ที่ตอนเด็กๆ มักจะร้องไปอยุ่เสมอคือสวนสัตว์
สวนสัตว์ในภาษาญี่ปุ่นก็คือ 動物園 อ่านว่า Doobutsuen
สำหรับคำว่าสัตว์ก็คือ 動物 อ่านว่า Doobutsu เมื่อเติมคำว่า 園 เข้าไปซึ่งหมายความว่า "สวน" ก็เลยรวมกันออกมาเป็น "สวนสัตว์" นั่นเองค่ะ
วันนี้เรามาดูสวนสัตว์ที่อยู่ทางตอนเหนือสุดของญี่ปุ่นกัน นั่นก็คือ
สวนสัตว์อะซาฮิยาม่า(Asahiyama Zoo ,旭山動物園 )
สัญลักษณ์ของสวนสัตว์คือรูปนี้เลยค่ะ (น่ารักเนอะ)
เป็นสวนสัตว์ที่มีชื่อเสียงและใหญ่ที่สุดบนเกาะฮอกไกโด ซึ่งทางสวนสัตว์อนุญาตให้ผู้เข้าชมได้เข้าชมสัตว์นานาชนิดจากหลากหลายมุมมอง เป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนสวนสัตว์แห่งอื่นๆ และสิ่งที่ทำให้สถานที่นี้น่าสนใจมากขึ้นก็เพราะว่ามีหิมะตกด้วย
โดยจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชมสวนสัตว์แห่งนี้สูงถึง 3 ล้านคนต่อปี จุดเด่นของสวนสัตว์แห่งนี้คือความไม่ธรรมดาของสัตว์ต่าง ๆ ที่ออกแบบด้วยคิด Interactive Animal Viewing ที่สัตว์ต่างๆ จะไม่ได้ถูกกักขังอยู่ในกรงในแบบที่เคยเห็นในสวนสัตว์ทั่ว ๆ ไป ถือว่าเป็นสวนสัตว์ที่ทำออกมาได้ดีมากๆ แต่ที่นี่คุณจะได้เห็นความคิดสร้างสรรค์อันยอดเยี่ยมในการออกแบบที่อยู่ ของสัตว์ด้วยแนวความคิดที่ว่า สัตว์ต่างๆ ควรจะได้อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีและเป็นไปตามธรรมชาติของสัตว์นั้นๆเพื่อให้พวกเขามีความสุข อีกทั้งยังแฝงกิจกรรมที่สามารถใกล้ชิดสัตว์ต่างๆ ได้มากยิ่งขึ้นเช่นการทำแทงค์รูปกระบอกยื่นเข้าไปในบ่อของแมวน้ำซึ่งเราสามารถเห็นการเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่วของแมวน้ำได้อย่างใกล้ชิด
แถมป้ายคำแนะนำต่างๆ ก็เป็นป้ายทำมือบ่งบอกให้เห็นถึงความตั้งใจทำของเจ้าหน้าที่ในสวนสัตว์เป็นอย่างดี
สัตว์หลายตัวเป็นสัตว์เมืองหนาว แต่ที่ตืนตาตื่นใจก็ได้เห็นทั้งกวางเรนเดียร์ (เผื่อมีซานตาคลอสหลงมาด้วย)
หมีขาวที่นอนกลิ้งกับพื้นและที่หนี่ไม่พ้นก็คือเหล่านกเพนกวินที่แสนอุ้ยอ้ายและน่ารัก
สิ่งที่พลาดไม่ได้ถ้ามาเที่ยวชมที่นี่ หรือ เรียกได้ว่าเป็น ไฮไลท์ของสวนสัตว์แห่งนี้ ก็คือ อุโมงค์แก้วผ่านสระว่ายน้ำของเหล่าเพนกวิน และโดมแก้วขนาดเล็กที่อยู่ตรงกลางของโซนหมีขั้วโลกและหมาป่า ผู้เข้าชมจะมองเห็นได้อย่างชัดเจน ถ้ามาที่สวนสัตว์แห่งนี้ในช่วงฤดูหนาว มีกิจกรรมหนึ่งที่ไม่ควรพลาดเลย คือการเฝ้าชมขบวนพาเหรดนกเพนกวิน ที่เป็นสวนสัตว์แห่งแรกที่มีการจัดกิจกรรมนี้ขึ้นมาด้วย
การเปิดสวนสัตว์อะซาฮิยาม่าในช่วงฤดูหนาวได้เริ่มต้นขึ้นแล้วในวันที่ 11 พ.ย. ตอนเช้าก็มีหิมะตกโปรยปรายลงมา แต่แขกผู้มาเยือนจำนวนมากก็ไม่ย่อท้อยังคงมาและถ่ายภาพตอนที่เพนกวินกินปลาด้วย ประมาณหลังสิ้นเดือน ธ.ค. เราก็ยังสามารถได้ดู “ขบวนเดินเล่นของเพนกวิน” ด้วย โดยเหล่านกเพนกวินจะเดินเรียงกันเป็นแถวอยู่ภายในสวนสัตว์ที่เต็มไปด้วยหิมะ แล้วเราก็จะได้เห็นยีราฟใกล้ๆ ที่เพิ่งเดินทางจากประเทศอเมริการเมื่อเดือนที่แล้วด้วย
การเปิดสวนสัตว์อะซาฮิยาม่าในช่วงฤดูหนาวจะมีไปจนถึงวันที่ 7 เม.ย.ปีหน้าเลยนะคะ ใครมีโอกาสไปเที่ยวฮอคไกโดก็ลองไปเยี่ยมพวกสัตว์เหล่านี้ด้วยนะคะ
► การเข้าชมสวนสัตว์อะซาฮิยาม่า ( Asahiyama Zoo ) ◄
● ค่าเข้าชม: 820 เยน
● เวลาเปิด-ปิด: ปลายเดือนเมษายน-กลางเดือนตุลาคม 9:30-17:15(เข้าก่อน 16:00)
กลางเดือนตุลาคม-ต้นเดือนพฤศจิกายน 9:30-16:30(เข้าก่อน 16:00)
กลางเดือนพฤศจิกายน-ต้นเดือนเมษายน 10:30-15:30(เข้าก่อน 15:00)
● วันปิดทำการ: วันที่ 30 ธันวาคม – 1 มกราคม (ประมาณ 1 อาทิตย์ระหว่างช่วงฤดูร้อน และฤดูหนาว)
Posted by mod at
13:54
│Comments(0)
2015年11月12日
大きないちょうが紅葉して美しい黄色になる ชมใบไม้เปลี่ยนสีที่สวยงามอร่ามตา
พอพูดถึงฤดูใบไม้ร่วง หรือฤดู 秋 ของญี่ปุ่นก็อดไม่ได้ที่จะคิดถึงภาพบรรยากาศของใบไม้เปลี่ยนสีนะคะ
ใบไม้เปลี่ยนสีในภาษาญี่ปุ่นก็คือ 紅葉 (Momiji) นั่นเอง แล้ววันนี้ก็จะพาไปดูใบไม้เปลี่ยนสีกันค่ะ
เมื่อเข้าสู้ฤดูใบไม้ร่วง (ปลาย ก.ย.- ต้นธ.ค.) ใบไม้ส่วนใหญ่จะเริ่มเปลี่ยนสี จากสีเขียวเป็นสีเหลืองส้มหรือแดง ก่อนที่จะร่วงหล่นไปจนหมดต้น ใบของต้นไม่บางชนิดเช่น ใบอิโจ (แปะก้วย) จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ก่อนจะร่วงหล่นไปจนหมดต้น ทำให้ธรรมชาติในยามนั้นงดงามด้วยสีสดใสตระกาลตาน่าภิมย์ยิง ซึ่งน่าจะเรียกเป็นฤดูใบไม้เปลี่ยนสีมากกว่าฤดูใบไม้ร่วง
วันนี้จะพาไปชมต้นแป๊ะก้วยกันนะคะ
เรามารู้จักต้นแป๊ะก้วยกันก่อนนะคะ ต้นแปะก้วยในภาษาญี่ปุ่น คือ イチョウ (อิโจว) มีรากจากคำว่าตีนเป็ด หรือ คินนัน ซึ่งมีรากความหมายคล้ายกับในภาษาจีนคือลูกไม้สีเงิน สำหรับในภาษาอังกฤษก็นิยมเรียกว่า กิงโกะ
เป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดจากทางตะวันออกของประเทศจีน (แถบภูเขาด้านตะวันตกของนครเซี่ยงไฮ้) ที่มีการแยกต้นเป็นเพศผู้ และเพศเมีย ใบมีลักษณะคล้ายใบพัด แยกออกเป็น 2 กลีบพบว่ามีการนำเข้าไปปลูกในประเทศญี่ปุ่น พร้อมกับการเผยแผ่ศาสนาพุทธนิกายเซน เมื่อประมาณ ช่วงราวค.ศ. 1300 หรือสมัยคามากุระมีลักษณะพิเศษคือจะผลัดใบไม่พร้อมกันทุกต้น แต่เมื่อผลัดใบ ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วร่วงหล่นทั้งต้นภายในไม่กี่วัน
นอกจากนั้น ใบแปะก๊วยยังเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยโตเกียวประเทศญี่ปุ่นเป็นตัวแทนของความคงทน ไม่เปลี่ยนแปลง เหมือนต้นแปะก๊วยที่คงทนต่อสภาพแวดล้อม คงความเป็นต้นแปะก๊วยมาแต่ยุคโบราณกาลจนปัจจุบัน และมีความหมายในการปกป้องคุ้มครองภัย จากการที่วัดอันศักด์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวญี่ปุ่น มักจะถูกปกป้องจากอัคคีภัยหรือแผ่นดินไหวโดยต้นแปะก๊วย
วันนี้ไปเยี่ยมชมต้นแป๊ะก้วยกันที่วัดฮิดะ โคคุบุนจิ (Hida Kokubunji)
โบราณสถานและมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติ
วัดนี้จะเป็นวัดที่มีเจดีย์สามชั้น รวมถึงอาคารทรงระฆัง ที่ตั้งอยู่ในเขตวัดนั้น ถูกย้ายมาจากปราสาททาคายามะ และเสาหลักของเจดีย์นั้นก็ถูกสร้างมาตั้งแต่ 1,200 ปีก่อน อาคารหลักของวัดเป็นสิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่ที่สุดในเมืองทาคายามะ สร้างขึ้นในยุคมุโรมาจิ (ประมาณ 500 ปีก่อน) วัดแห่งนี้มีคุณค่าคู่ควรแก่การเป็นวัดโบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งเมืองฮิดะ
แล้วที่วัดฮิดะ โคคุบุนจิที่เมืองทาคายามะในจังหวัดกิฟุก็มีต้นแป๊ะก้วยหรือที่ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า ต้นจิโอะ ที่มีความสูงประมาณ 37 เมตร แล้วก็นับว่าเป็นสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ทางด้านธรรมชาติของญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ กล่าวกันว่าต้นแปะก๊วยมีอายุกว่า 1,200 ปีเลยทีเดียว
พอเข้าสู่เดือน พ.ย.แล้ววันที่อากาศหนาวเย็นก็จะมีอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ใบไม้เริ่มเปลี่ยนสี แล้วใบของต้นแป๊ะก้วยที่เป็นสีเขียวก็จะค่อยๆ เริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอร่ามสวยงาม
แล้วที่วัดแห่งนี้ก็จะมีคนต่างชาติมาเยี่ยมชมกันมากมาย บ้างก็แหงนหน้าขึ้นมองต้นไม้ บ้างก็ถ่ายรูปต้นไม้
มีคำโบราณกล่าวกันว่าถ้าต้นแป๊ะก้วยใบร่วงหมดต้นในคราวเดียว หิมะก็จะตกมาก ทำให้คนที่วัดกล่าวเลยว่า “ปีที่แล้วมีหิมะตกหนักอย่างที่โบราณว่าไว้เลย ดังนั้นปีนี้ก็เลยอยากจะให้หิมะไม่ค่อยตกบ้าง”
แต่ถ้าอยากชมต้นแป๊ะก๊วยที่สวยงามจำนวนมาก ก็เชิญชมกันได้ที่ถนนสายแปะก้วย ที่กำลังเปลี่ยนสี เป็นสีเหลืองทองอร่าม ณ.ใจกลางกรุงโตเกียว ที่สวนยิงงูไกเอ็ง ( Meiji Jingu Gaien ) สวนแห่งนี้ มีต้นอิโจ (แปะก้วย) กว่า 140 ต้น ขึ้นเรียงรายทั้งสองข้างทางอย่างสวยงาม ต้นแปะก้วย จะค่อยๆเปลี่ยนจากใบสีเขียวกลายเป็นสีเหลืองอร่าม และก็จะร่วงลงสู่พื้น สวยงามมากๆ สามารถมาสัมผัสความสวยงามแบบนี้กันได้ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน จนถึงต้นเดือนธันวาคมของทุกๆปี
เมื่อพูดถึงต้นแป๊ะก๊วยแล้วก็ยังนึกถึงลูกด้วยนะคะ มันอร่อยและมีประโยชน์มากเลยนะคะ สารที่สกัดได้จากใบแปะก๊วยมีหลายชนิดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Free radical) ในบริเวณตา ป้องกันการ เกิดโรคเบาหวานขึ้นตาได้ เพิ่มการไหลเวียนของโลหิตไปสู่สมอง ปลายมือปลายเท้า ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง เพราะเมื่อสมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ย่อมเสื่อมสมรรถภาพและฝ่อไปในที่สุด ส่งผลต่อการทำงานและประสิทธิภาพของสมอง ทำให้เกิดการหลงลืมในผู้สูงอายุ หรือโรคความจำเสื่อม ที่เรียกว่า อัลไซเมอร์ (Alzheimer disease)
สามารถนำมาทำขนมได้มากมายเลยทีเดียว
ใบไม้เปลี่ยนสีในภาษาญี่ปุ่นก็คือ 紅葉 (Momiji) นั่นเอง แล้ววันนี้ก็จะพาไปดูใบไม้เปลี่ยนสีกันค่ะ
เมื่อเข้าสู้ฤดูใบไม้ร่วง (ปลาย ก.ย.- ต้นธ.ค.) ใบไม้ส่วนใหญ่จะเริ่มเปลี่ยนสี จากสีเขียวเป็นสีเหลืองส้มหรือแดง ก่อนที่จะร่วงหล่นไปจนหมดต้น ใบของต้นไม่บางชนิดเช่น ใบอิโจ (แปะก้วย) จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ก่อนจะร่วงหล่นไปจนหมดต้น ทำให้ธรรมชาติในยามนั้นงดงามด้วยสีสดใสตระกาลตาน่าภิมย์ยิง ซึ่งน่าจะเรียกเป็นฤดูใบไม้เปลี่ยนสีมากกว่าฤดูใบไม้ร่วง
วันนี้จะพาไปชมต้นแป๊ะก้วยกันนะคะ
เรามารู้จักต้นแป๊ะก้วยกันก่อนนะคะ ต้นแปะก้วยในภาษาญี่ปุ่น คือ イチョウ (อิโจว) มีรากจากคำว่าตีนเป็ด หรือ คินนัน ซึ่งมีรากความหมายคล้ายกับในภาษาจีนคือลูกไม้สีเงิน สำหรับในภาษาอังกฤษก็นิยมเรียกว่า กิงโกะ
เป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดจากทางตะวันออกของประเทศจีน (แถบภูเขาด้านตะวันตกของนครเซี่ยงไฮ้) ที่มีการแยกต้นเป็นเพศผู้ และเพศเมีย ใบมีลักษณะคล้ายใบพัด แยกออกเป็น 2 กลีบพบว่ามีการนำเข้าไปปลูกในประเทศญี่ปุ่น พร้อมกับการเผยแผ่ศาสนาพุทธนิกายเซน เมื่อประมาณ ช่วงราวค.ศ. 1300 หรือสมัยคามากุระมีลักษณะพิเศษคือจะผลัดใบไม่พร้อมกันทุกต้น แต่เมื่อผลัดใบ ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วร่วงหล่นทั้งต้นภายในไม่กี่วัน
นอกจากนั้น ใบแปะก๊วยยังเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยโตเกียวประเทศญี่ปุ่นเป็นตัวแทนของความคงทน ไม่เปลี่ยนแปลง เหมือนต้นแปะก๊วยที่คงทนต่อสภาพแวดล้อม คงความเป็นต้นแปะก๊วยมาแต่ยุคโบราณกาลจนปัจจุบัน และมีความหมายในการปกป้องคุ้มครองภัย จากการที่วัดอันศักด์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวญี่ปุ่น มักจะถูกปกป้องจากอัคคีภัยหรือแผ่นดินไหวโดยต้นแปะก๊วย
วันนี้ไปเยี่ยมชมต้นแป๊ะก้วยกันที่วัดฮิดะ โคคุบุนจิ (Hida Kokubunji)
โบราณสถานและมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติ
วัดนี้จะเป็นวัดที่มีเจดีย์สามชั้น รวมถึงอาคารทรงระฆัง ที่ตั้งอยู่ในเขตวัดนั้น ถูกย้ายมาจากปราสาททาคายามะ และเสาหลักของเจดีย์นั้นก็ถูกสร้างมาตั้งแต่ 1,200 ปีก่อน อาคารหลักของวัดเป็นสิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่ที่สุดในเมืองทาคายามะ สร้างขึ้นในยุคมุโรมาจิ (ประมาณ 500 ปีก่อน) วัดแห่งนี้มีคุณค่าคู่ควรแก่การเป็นวัดโบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งเมืองฮิดะ
แล้วที่วัดฮิดะ โคคุบุนจิที่เมืองทาคายามะในจังหวัดกิฟุก็มีต้นแป๊ะก้วยหรือที่ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า ต้นจิโอะ ที่มีความสูงประมาณ 37 เมตร แล้วก็นับว่าเป็นสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ทางด้านธรรมชาติของญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ กล่าวกันว่าต้นแปะก๊วยมีอายุกว่า 1,200 ปีเลยทีเดียว
พอเข้าสู่เดือน พ.ย.แล้ววันที่อากาศหนาวเย็นก็จะมีอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ใบไม้เริ่มเปลี่ยนสี แล้วใบของต้นแป๊ะก้วยที่เป็นสีเขียวก็จะค่อยๆ เริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอร่ามสวยงาม
แล้วที่วัดแห่งนี้ก็จะมีคนต่างชาติมาเยี่ยมชมกันมากมาย บ้างก็แหงนหน้าขึ้นมองต้นไม้ บ้างก็ถ่ายรูปต้นไม้
มีคำโบราณกล่าวกันว่าถ้าต้นแป๊ะก้วยใบร่วงหมดต้นในคราวเดียว หิมะก็จะตกมาก ทำให้คนที่วัดกล่าวเลยว่า “ปีที่แล้วมีหิมะตกหนักอย่างที่โบราณว่าไว้เลย ดังนั้นปีนี้ก็เลยอยากจะให้หิมะไม่ค่อยตกบ้าง”
แต่ถ้าอยากชมต้นแป๊ะก๊วยที่สวยงามจำนวนมาก ก็เชิญชมกันได้ที่ถนนสายแปะก้วย ที่กำลังเปลี่ยนสี เป็นสีเหลืองทองอร่าม ณ.ใจกลางกรุงโตเกียว ที่สวนยิงงูไกเอ็ง ( Meiji Jingu Gaien ) สวนแห่งนี้ มีต้นอิโจ (แปะก้วย) กว่า 140 ต้น ขึ้นเรียงรายทั้งสองข้างทางอย่างสวยงาม ต้นแปะก้วย จะค่อยๆเปลี่ยนจากใบสีเขียวกลายเป็นสีเหลืองอร่าม และก็จะร่วงลงสู่พื้น สวยงามมากๆ สามารถมาสัมผัสความสวยงามแบบนี้กันได้ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน จนถึงต้นเดือนธันวาคมของทุกๆปี
เมื่อพูดถึงต้นแป๊ะก๊วยแล้วก็ยังนึกถึงลูกด้วยนะคะ มันอร่อยและมีประโยชน์มากเลยนะคะ สารที่สกัดได้จากใบแปะก๊วยมีหลายชนิดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Free radical) ในบริเวณตา ป้องกันการ เกิดโรคเบาหวานขึ้นตาได้ เพิ่มการไหลเวียนของโลหิตไปสู่สมอง ปลายมือปลายเท้า ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง เพราะเมื่อสมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ย่อมเสื่อมสมรรถภาพและฝ่อไปในที่สุด ส่งผลต่อการทำงานและประสิทธิภาพของสมอง ทำให้เกิดการหลงลืมในผู้สูงอายุ หรือโรคความจำเสื่อม ที่เรียกว่า อัลไซเมอร์ (Alzheimer disease)
สามารถนำมาทำขนมได้มากมายเลยทีเดียว
Posted by mod at
13:20
│Comments(0)
2015年11月11日
19年続けて1万羽以上の鶴が冬を過(す)ごす
เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ที่ญี่ปุ่นจะมีนกกระเรียนจากบริเวณไซบีเรียบินอพยพมาใช้ชีวิตอยู่บริเวณทุ่งราบอิซึมิในเมืองอิซึมิของจังหวดคาโกชิม่าเป็นจำนวนมาก
แล้วในปีนี้ก็ได้มีนกเรียนตัวแรกบินมายังบริเวณที่ราบแห่งนี้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 11 พ.ย.นี้ แล้วก็น่าจะเริ่มทยอยบินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ในวันที่ 7 ที่ผ่านมา ได้มีนักเรียนชั้นมัธยมต้นประมาณ 100 คนไปสำรวจเกี่ยวกับนกกระเรียนที่บินมายังเมืองอิซึมิด้วย
ผลปรากฎว่ามีนกกระเรียนทั้งหมด 14,086 ตัวที่บินมาที่นี่ โดยมีนกกระเรียนหมวกขาวอยู่ 13,816 ตัว และนกกระเรียนคอขาว 260 ตัว สำหรับที่นี่
จะมีนกกระเรียนมากกว่า 1 หมื่นตัวบินมาติดต่อกัน 19 ปีแล้ว
นกชนิดนี้ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งโชคลาภและความซื่อสัตย์ มีความสูงถึง 55 นิ้ว ทำให้ไม่ตกเป็นเหยื่อของนักล่าได้ง่าย เมื่ออยู่ในถิ่นอาศัยธรรมชาติตามหนองบึง จะพบเห็นตัวได้ง่ายและเด่นชัด เมื่อโตเต็มวัย ขนทั้งตัวจะเป็นสีขาวหิมะ ด้านบนส่วนหัวจะเป็นผิวหนังสีแดง ผิวหนังส่วนนี้จะเป็นสีแดงสว่างขึ้นเวลาโกรธหรือตื่นเต้น เพศผู้มีน้ำหนักประมาณ 15 กิโลกรัม[2] จัดว่าเป็นนกกระเรียนที่มีน้ำหนักมากที่สุด
ในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน นกกระเรียนมงกุฎแดงจะอาศัยอยู่ในไซบีเรีย ช่วงนี้ไข่ที่วางไว้จะฟักออกมาเป็นตัว ปกติแล้วนกกระเรียนมงกุฎแดงนี้จะวางไข่ 2 ฟอง และมักจะเหลือรอดจนฟักเป็นตัวได้เพียงฟองเดียว และเป็นนกที่จับคู่เพียงคู่เดียวตลอดชีวิต เป็นนกที่มีอายุยืนได้ถึง 50-60 ปี [3] เมื่อถึงฤดูใบไม้ร่วง จะอพยพเป็นฝูงลงใต้สู่เกาหลี, จีน และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เพื่อหาถิ่นอาศัยในระหว่างฤดูหนาว แต่มีนกกระเรียนฝูงหนึ่งที่จะอาศัยอยู่ในเกาะฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ตลอดทั้งปี
ในขั้นตอนต่อไป มีหมายกำหนดการว่าจะไปสำรวจอีกในวันที่ 21 เดือนนี้ เด็กนักเรียนม.ต้นที่ชื่อว่า Azuma Ryousuke ได้กล่าวว่า “พอนกกระเรียนบินมา ทำให้รู้สึกได้ถึงความเป็นฤดูหนาว แล้วต่อจากนี้ไปก็คิดว่าอยากจะตั้งใจในการสำรวจยิ่งๆ ขึ้นไปอีก”
นกกระเรียนหมวกขาว
นกกระเรียนหมวกขาว เป็นนกกระเรียนขนาดเล็ก มีลำตัวสีเทา คอส่วนบนและหัวเป็นสีขาว มีหนังเปลือยสีแดงตรงกระหม่อมเหนือตา ถึงมันเป็นนกกระเรียนขนาดเล็กแต่ก็ยังถือว่าเป็นนกขนาดใหญ่ ยาว 1 เมตร ช่วงปีกกว้าง 1.87 เมตร และหนัก 3.7 กิโลกรัม
นกกระเรียนคอขาว
นกกระเรียนคอขาว เป็นนกในวงศ์นกกระเรียน เป็นนกขนาดใหญ่ ยาว 112-125 ซม. สูงประมาณ 130 ซม. หนักประมาณ 5.6 กก. ขาค่อนข้างแดง สีเทา มีแถบขาวที่คอ และวงแดงบริเวณศีรษะ กินแมลง เมล็ดพืช พืช และสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร วิกิพีเดีย
แล้วที่สำคัญคือชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าการมาถึงของนกกระเรียนมงกุฎแดงจะนำมาซึ่งความภักดีและโชคลาภ
ขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย
Posted by mod at
13:09
│Comments(0)
2015年11月11日
「ズワイガニ」の漁りょうが日本海にほんかいで始はじまる
และแล้วก็มาถึงฤดูกาลสำหรับปูหิมะอีกแล้วค่ะ มันก็คืออาหารอันโอชะช่วงหน้าหนาวราชาแห่งท้องทะเลญี่ปุ่นคงไม่มีใครเกิน “ปูมะทซึบะ”หรือก็คือปูสุไว(ズワイガニ)
เมื่อวันที่ 6 พ.ย.ที่ผ่านมาได้มีการเริ่มต้นฤดูกาลจับปูหิมะในทะเลกันแล้ว ปูหิมะเป็นปูที่สุดแสนอร่อยในช่วงฤดูหนาว
ปูยักษ์ที่จับได้ในทะเลของจังหวัด Fukui ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากๆ จะถูกเรียกว่า “ปูหิมะ” โดยในคืนวันที่ 5 พ.ย. มีเรือประมงราวๆ 44 ลำได้ออกเดินทางจากท่าเรือจังหวัด Fukui มุ่งหน้าสู่ทะเลประมาณ 40 กม. แล้วก็เริ่มต้นทำการจับปูโดยได้ทิ้งอวนลงทะเลเมื่อเวลา 0 นาฬิกาเช้าของวันที่ 6 พ.ย. แล้วรออยู่ประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง จึงยกอวนขึ้นมา ปรากฏว่ามีปูหิมะติดมาในอวนเป็นจำนวนมาก
เหล่าชาวประมงจะจับก้ามปูและรัดไว้ด้วยหนังยางเพื่อไม่ให้ไปทำร้ายปูตัวอื่นให้ได้รับบาดเจ็บ แล้วติดป้ายสีเหลืองไว้เพื่อให้รู้ว่านี่คือปูที่จับได้ในทะเลจังหวัด Fukui พวกชาวประมงบอกว่า “ตอนแรกคิดว่าจะจับได้ปริมาณพอสมควร” แล้วยังได้กล่าวว่า “อยากให้คนจำนวนมากได้รับประทานปู Echizenด้วย ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นราชาแห่งอาหารฤดูหนาว โดยฤดูกาลจับปูหิมะนั้นจะจับตัวเมียได้ตลอดจนถึงประมาณปลายปี ส่วนตัวผู้จะจับได้จนถึงประมาณวันที่ 20 เดือนมี.ค.ปีหน้าเลยทีเดียว
เมนูยอดนิยมของปูหิมะคือขาปูนึ่งจิ้มน้ำจิ้มพอนสึหรือน้ำจิ้มซีฟู้ด หรือจะเป็นชาบูชาบูขาปูหิมะที่ทางร้านจะแกะขาปูสดๆมาเพื่อจุ่มในหมอชาบูพอสุกนิดๆ นำขึ้นมาจิ้มพอนสึกินได้เลย เมนูถัดไปคือหม้อไฟขาปูคือใช้ปูทั้งตัวมาทำหม้อไฟกินคู่กับผักต้มในน้ำซุปปลา
จังหวัด Fukui
จังหวัดที่ตั้งอยู่ท่ามกลางความสวยงามและความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติให้คุณสัมผัสกับการผลัดเปลี่ยนแห่งฤดูกาล
ฟุคุอิตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางเกาะฮอนชูเลียบไปตามชายฝั่งทะเลญี่ปุ่นมีพื้นที่ติดทะเลภูเขาและพื้นที่ราบลุ่มจังหวัดฟุคุอิถูกขนานนามว่าเป็นหนึ่งในขุมทรัพย์แห่งอาหารขั้นสุดยอดของประเทศญี่ปุ่นชายฝั่งของที่นี่ลากยาวเป็นเส้นตรงมาจากชายฝั่งเอจิเซนท้องทะเลแถบนี้อุดมสมบูรณ์มากในการทำประมงและยังมีชายหาดให้ได้อาบไออุ่นจากแสงอาทิตย์ได้อีกด้วยในขณะที่ภูมิภาคฝั่งตะวันออกนั้นจะเป็นภูเขามากมายรวมไปถึงผาฮาคุซันที่ถือเป็นสถานที่อันเลื่องลือและท้าทายสำหรับนักปีนผาที่ต้องการมาลองทดสอบฝีมือกันเป็นจำนวนมากส่วนตอนกลางของจังหวัดฟุคุอิจะเป็นพื้นที่ราบลุ่มที่เป็นแหล่งปลูกข้าวญี่ปุ่นชื่อดังสายพันธุ์“โคชิฮิคาริ”ไม่เพียงแค่ข้าวเท่านั้นที่เพาะปลูกกันในที่บริเวณนี้ยังมีผักสวนครัวระดับคุณภาพด้วยเช่นกัน
เมื่อวันที่ 6 พ.ย.ที่ผ่านมาได้มีการเริ่มต้นฤดูกาลจับปูหิมะในทะเลกันแล้ว ปูหิมะเป็นปูที่สุดแสนอร่อยในช่วงฤดูหนาว
ปูยักษ์ที่จับได้ในทะเลของจังหวัด Fukui ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากๆ จะถูกเรียกว่า “ปูหิมะ” โดยในคืนวันที่ 5 พ.ย. มีเรือประมงราวๆ 44 ลำได้ออกเดินทางจากท่าเรือจังหวัด Fukui มุ่งหน้าสู่ทะเลประมาณ 40 กม. แล้วก็เริ่มต้นทำการจับปูโดยได้ทิ้งอวนลงทะเลเมื่อเวลา 0 นาฬิกาเช้าของวันที่ 6 พ.ย. แล้วรออยู่ประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง จึงยกอวนขึ้นมา ปรากฏว่ามีปูหิมะติดมาในอวนเป็นจำนวนมาก
เหล่าชาวประมงจะจับก้ามปูและรัดไว้ด้วยหนังยางเพื่อไม่ให้ไปทำร้ายปูตัวอื่นให้ได้รับบาดเจ็บ แล้วติดป้ายสีเหลืองไว้เพื่อให้รู้ว่านี่คือปูที่จับได้ในทะเลจังหวัด Fukui พวกชาวประมงบอกว่า “ตอนแรกคิดว่าจะจับได้ปริมาณพอสมควร” แล้วยังได้กล่าวว่า “อยากให้คนจำนวนมากได้รับประทานปู Echizenด้วย ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นราชาแห่งอาหารฤดูหนาว โดยฤดูกาลจับปูหิมะนั้นจะจับตัวเมียได้ตลอดจนถึงประมาณปลายปี ส่วนตัวผู้จะจับได้จนถึงประมาณวันที่ 20 เดือนมี.ค.ปีหน้าเลยทีเดียว
เมนูยอดนิยมของปูหิมะคือขาปูนึ่งจิ้มน้ำจิ้มพอนสึหรือน้ำจิ้มซีฟู้ด หรือจะเป็นชาบูชาบูขาปูหิมะที่ทางร้านจะแกะขาปูสดๆมาเพื่อจุ่มในหมอชาบูพอสุกนิดๆ นำขึ้นมาจิ้มพอนสึกินได้เลย เมนูถัดไปคือหม้อไฟขาปูคือใช้ปูทั้งตัวมาทำหม้อไฟกินคู่กับผักต้มในน้ำซุปปลา
จังหวัด Fukui
จังหวัดที่ตั้งอยู่ท่ามกลางความสวยงามและความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติให้คุณสัมผัสกับการผลัดเปลี่ยนแห่งฤดูกาล
ฟุคุอิตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางเกาะฮอนชูเลียบไปตามชายฝั่งทะเลญี่ปุ่นมีพื้นที่ติดทะเลภูเขาและพื้นที่ราบลุ่มจังหวัดฟุคุอิถูกขนานนามว่าเป็นหนึ่งในขุมทรัพย์แห่งอาหารขั้นสุดยอดของประเทศญี่ปุ่นชายฝั่งของที่นี่ลากยาวเป็นเส้นตรงมาจากชายฝั่งเอจิเซนท้องทะเลแถบนี้อุดมสมบูรณ์มากในการทำประมงและยังมีชายหาดให้ได้อาบไออุ่นจากแสงอาทิตย์ได้อีกด้วยในขณะที่ภูมิภาคฝั่งตะวันออกนั้นจะเป็นภูเขามากมายรวมไปถึงผาฮาคุซันที่ถือเป็นสถานที่อันเลื่องลือและท้าทายสำหรับนักปีนผาที่ต้องการมาลองทดสอบฝีมือกันเป็นจำนวนมากส่วนตอนกลางของจังหวัดฟุคุอิจะเป็นพื้นที่ราบลุ่มที่เป็นแหล่งปลูกข้าวญี่ปุ่นชื่อดังสายพันธุ์“โคชิฮิคาริ”ไม่เพียงแค่ข้าวเท่านั้นที่เพาะปลูกกันในที่บริเวณนี้ยังมีผักสวนครัวระดับคุณภาพด้วยเช่นกัน
Posted by mod at
12:26
│Comments(0)
2015年11月09日
男性と男性や女性と女性でも「結婚と同じ関係」 เทศบาลโตเกียวเปิดทางให้คู่รักเพศเดียวกันจดทะเบียนกันได้
เมื่อวันที่ 5 พ.ย.ที่ผ่านมา เขตชิบูย่าได้เปิดทางให้คู่รักเพศเดียวกันมา”จดทะเบียนคู่ชีวิต” ได้ ซึ่งมีสถานะเท่ากับการแต่งงานให้กับคู่รักเพศเดียวกัน โดยทะเบียนคู่ชีวิตนั้นอยู่ภายใต้กฏหมายของเขตชิบูย่าว่าด้วยการความเท่าเทียมทางเพศ ความเคารพในความหลากหลายและความก้าวหน้าของสังคม โดยกฏหมายสนับสนุนกลุ่ม LGBT (Lesbian Gay Bisexual Transgender) นี้ผ่านการอนุมัติจากเขตปกครองท้องถิ่นครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งถึงแม้จะไม่ใช่การ “จดทะเบียนสมรส” ตามกฎหมายของญี่ปุ่น แต่นับเป็นครั้งแรกที่รัฐบาลญี่ปุ่นให้การรับรองทางกฎหมายแก่กลุ่มคนรักเพศเดียวกันนับเป็นครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นที่กฎหมายรองรับความสัมผัสระหว่างคู่รักที่ไม่ใช่ชายกับหญิง
พอสำนักงานเขตเปิดทำการปุ๊บก็มีหญิงสาว 2 คนเดินทางเข้ามาทันที คุณมาซูฮาระ ยูโกะ (37ปี) และ คุณฮิกาชิ โคยูกิ (30ปี) ได้เดินทางมารับทะเบียนคู่ชีวิตในเวลาที่เขตเปิดทำการ ซึ่งทั้งคู่ก็เป็นคู่แรกที่มาลงทะเบียนในตอนเช้าวันที่ 28 ต.ค. โดยการใบทะเบียนคู่ชีวิตนั้นจะรับที่แผนกจดทะเบียนครอบครัว ซึ่งเป็นแผนกที่ใช้ดำเนินการจดทะเบียนสมรสทั่วไป
“ฉันอยากจะเอาไปแขวนไว้ในบ้านค่ะ เพราะสิ่งนี้เป็นพื้นฐานของชีวิตคู่ของเรา” คุณมาซูฮาระกล่าว
สิ่งที่เทศบาลเขตชิบุยะริเริ่มขึ้น คือ การออก “ใบรับรองความสัมพันธ์” ซึ่งจะทำให้คู่รักเพศเดียวกันมีสถานะเป็นบุคคลในครอบครัว จึงสามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ร่วมกัน,ทำธุรกรรมการเงิน รวมทั้งสามารถไปเยี่ยมและตัดสินใจเรื่องการรักษาพยาบาลของคู่รักได้
การจดทะเบียนคู่ชีวิตนั้นเปิดให้เริ่มสมัครลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยมีเงื่อนไขว่า
1.ต้องเป็นผู้มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตชิบูย่าทั้งคู่
2.มีอายุมากกว่า 20 ปี
3.ไม่เป็นญาติสนิทหรือครอบครัวเดียวกัน
นายกเทศมนตรีเขตชิบุยะ นายโทชิทาเกะ คุวาฮารา ประกาศว่า ความเปลี่ยนแปลงที่เขตชิบุยะแสดงถึงการยอมรับสิทธิในความหลากหลายทางเพศ และหวังว่าการยอมรับครั้งนี้จะแพร่ขยายไปทั่วประเทศ เพื่อแสดงถึงความก้าวหน้าของญี่ปุ่นก่อนที่จะเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกในปี 2020 โดยขณะนี้รัฐบาลท้องถิ่นหลายแห่งกำลังศึกษาช่องทางกฎหมายที่จะรองรับสิทธิ์ของกลุ่มคู่รักเพศเดียวกัน
คุณฮิกาชิกล่าวเกี่ยวกับปัญหาของกลุ่มคนรักเพศเดียวกันในญี่ปุ่นว่า “เริ่มต้น ฉันอยากให้ทุกคนในประเทศญี่ปุ่นได้รับรู้ถึงการมีอยู่ของคนกลุ่ม LGBTและปัญหาที่พวกเราประสบ” นอกจากนั้นเธอยังฝากข้อความถึงชาว LGBT ด้วยกันเพื่อสนับสนุนการจดทะเบียนว่า “หลังจากการจดทะเบียนฉันรู้สึกดีมากค่ะ ความรู้สึกเมื่อได้ใบทะเบียนมาในมือ อยากให้ทุกคนได้รู้สึกบ้าง”
“การได้รับการรับรองจากเขตว่าเราเป็นครอบครัวเดียวกันนั้นเป็นก้าวที่ใหญ่มาก แต่ก็ยังคงมีปัญหาเรื่องมรดกในอนาคตข้างหน้าอยู่ ถ้าหากชาวญี่ปุ่นทุกคนช่วยกันผลักดันเรื่องนี้ก็คงเป็นเรื่องที่ดีมากเลยค่ะ” คุณมาซูฮาระกล่าวด้วยความหวัง
“หลังจากนี้ ก็หวังว่าใบทะเบียนคู่ชีวิตนี้ก็จะสามารถใช้ที่โรงพยาบาลหรือใช้ในการเซ็นสัญญาเช่าต่างๆได้ แม้จะมีหรือไม่มีใบนี้ก็อยากให้เขตนี้เป็นเมืองที่น่าอยู่และใช้ชีวิตได้ง่าย” คุณมาซูฮาระกล่าว “ฉันอยากให้มีการให้ความรู้กับวัยรุ่นที่กำลังสับสนในเรื่องเพศมากกว่านี้ด้วยค่ะ” คุณฮิกาชิเสริม
ในขณะนี้ ผู้ที่มาจดทะเบียนคู่ชีวิตที่เขตชิบูย่ายังมีเพียงแค่คู่ของคุณมาซูอาระและคุณฮิกาชิเท่านั้น
ผลการสำรวจพบว่า ประชากรชาวญี่ปุ่นราว 5% จัดอยู่ในกลุ่มเกย์ เลสเบี้ยน และคู่รักเพศเดียวกัน ซึ่งการไม่มีสถานะทางกฎหมายรองรับทำให้คนกลุ่มนี้พบกับความยากลำบากในการใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้มีเพียง 15 ประเทศทั่วโลกที่รับรองการจดทะเบียนสมรสระหว่างคู่รักเพศเดียวกัน เช่น เนเธอร์แลนด์, เบลเยี่ยม และแคนาดา ขณะที่ในสหรัฐอเมริกามีเพียงบางมลรัฐที่ให้การรับรอง.
ขอบคุณข้อมูลจาก NHK
photo credit: http://www.sankei.com/life/photos/151028/lif1510280018-p1.html
Posted by mod at
19:34
│Comments(0)
2015年11月09日
"横断歩道" (おうだん ほどう) ทางม้าลาย
วันนี้อยากจะขอพูดเรื่องทางม้าลายสักหน่อยค่ะ ด้วยความคับแค้นใจเป็นการส่วนตัว ทางม้าลายสำหรับประเทศไทยนั้นไม่มีความหมายอะไรเลย เพราะคนไม่ข้าม รถก็ไม่หยุดให้คนข้าม บางคันบีบแตรไล่คนข้าม บางคันเร่งรถขับให้พ้นก่อนคนจะข้าม
แต่ก่อนเข้าเรื่องทางม้าลาย มารู้คำศัพท์ทางม้าลายภาษาญี่ปุ่นกันก่อนดีกว่า ทางม้าลายภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า "横断歩道" (おうだん ほどう)
ปฎิเสธไม่ได้ว่า คนไทยอยู่ในสังคมที่เสียงภัยเหลือเกินกับการเป็น “คนเดินถนน” โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ เมืองหลวงที่ทำให้ทางม้าลายกลายเป็นแค่รอยสีที่ทาเป็นช่องสี่เหลี่ยมสีขาวเพียงเท่านั้น ความศักสิทธิ์ของทางคนข้ามแทบจะหาไม่ได้ในบ้านเมืองนี้
แถมทางม้าลายดูเหมือนจะสร้างความรู้สึกน่ารำคาญให้แก่คนใช้รถเสียอีก ผิดกับหลายๆ ประเทศอย่างญี่ปุ่น เมืองใหญ่เช่น โตเกียว โอซาก้า มักจะชะลอความเร็วในทุกทางม้าลาย คนญี่ปุ่นข้ามทางม้าลายและรถหยุดให้คนข้ามอย่างเคร่งครัด พอเริ่มไฟเหลืองรถจะชะลอแต่ไกล ไม่เคยเห็นรถคันไหนเร่งความเร็วให้พ้นทางม้าลาย คนที่รอข้ามมากมายจะกระฉับกระเฉงข้ามถนนเมื่อไฟเขียวให้คนข้าม เคยไปเจอไฟเขียวกลางถนนก็ไม่มีรถแม้แต่คันเดียวแสดงความเกรี้ยวกราดบีบแตรขับไล่ให้คนใกล้แก่ขวัญกระเจิง ไม่แม้จะขยับรถ รอจนคนเดินไปถึงบาทวิถีจึงเคลื่อนรถ...แค่เห็นเรายืนรอข้ามอยู่ริมทางเขาก็ชะลอมาแต่ไกลแล้วค่ะ ใหม่ๆ เราไม่กล้าข้าม ถ้ารถยังไม่จอด กลัวเอาชีวิตไปทิ้งที่ญี่ปุ่น หลังๆ นี่เรารู้ว่าคนญี่ปุ่นมีวินัยมากในการใช้รถใช้ถนน เราจึงสบายใจในการเดินถนนมากขึ้น
แม้ถนนที่ไม่มีทางม้าลาย พอเรายืนรอจะข้ามถนน รถก็หยุดให้ข้ามแต่ไกลค่ะ.ซึ่งมันสะท้อนให้เห็นจิตสำนึกของคน และชวนให้ย้อนกลับมามองดูสำนึกของผู้ใช้รถในประเทศไทยกันบ้าง ปัญหามันอยู่ที่จิตสำนึกของคนขับที่ไม่ได้ตั้งใจจะหยุดรถตั้งแต่แรก ขนาดบางคนระวังอย่างถ้วนถี่แล้วก็ยังเสี่ยงอันตรายอยู่ดี
แถมทางข้ามของญี่ปุ่นก็ยังมีความน่ารักอีกก็คือว่าจะมี สัญญาณไฟจราจรแบบมีเสียง 音響装置付信号機 (おんきょう そうち つき しんごうき)
โดยจะมีเสียงร้องว่า "พิโยะ พิโยะ คักคู คักคู" ซึ่งเสียงนี้ไม่ได้มีไว้ให้ฟังเพราะๆ เท่านั้น แต่มันมีความหมายนะคะ
เวลาข้ามถนนตามสี่แยกบางที่จะได้ยินเสียงบอกสัญญาณคนข้าม รู้หรือไม่ว่านอกจากบอกว่าไฟคนข้ามเขียวแล้ว เสียงนั้นยังบอกรายละเอียดด้วยว่าเป็นของทางข้ามทิศไหน โดย พิโยะพิโยะ เป็นเสียงบอกสัญญาณคนข้ามทิศเหนือใต้ และ คักคู (ภาษาญี่ปุ่นเรียกคักโค) เป็นเสียงบอกสัญญาณคนข้ามทิศตะวันออกตะวันตก*
นอกจากนี้ ถนนที่มีผู้พิการทางสายตาใช้มาก อาจมีการติดตั้งพื้นผิวต่างสัมผัสนำทางบนทางข้าม (escort zone) เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาข้ามไปอีกฝั่งได้สะดวกขึ้น
*ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละท้องถิ่น
พิโยะ เป็นเสียงลูกเจี๊ยบ และคักคู (ภาษาญี่ปุ่นเรียกคักโค) เป็นเสียงนกคักคู
ขอบคุณข้อมูลจาก https://japan1616.wordpress.com/tag/ทางข้าม/
แต่ก่อนเข้าเรื่องทางม้าลาย มารู้คำศัพท์ทางม้าลายภาษาญี่ปุ่นกันก่อนดีกว่า ทางม้าลายภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า "横断歩道" (おうだん ほどう)
ปฎิเสธไม่ได้ว่า คนไทยอยู่ในสังคมที่เสียงภัยเหลือเกินกับการเป็น “คนเดินถนน” โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ เมืองหลวงที่ทำให้ทางม้าลายกลายเป็นแค่รอยสีที่ทาเป็นช่องสี่เหลี่ยมสีขาวเพียงเท่านั้น ความศักสิทธิ์ของทางคนข้ามแทบจะหาไม่ได้ในบ้านเมืองนี้
แถมทางม้าลายดูเหมือนจะสร้างความรู้สึกน่ารำคาญให้แก่คนใช้รถเสียอีก ผิดกับหลายๆ ประเทศอย่างญี่ปุ่น เมืองใหญ่เช่น โตเกียว โอซาก้า มักจะชะลอความเร็วในทุกทางม้าลาย คนญี่ปุ่นข้ามทางม้าลายและรถหยุดให้คนข้ามอย่างเคร่งครัด พอเริ่มไฟเหลืองรถจะชะลอแต่ไกล ไม่เคยเห็นรถคันไหนเร่งความเร็วให้พ้นทางม้าลาย คนที่รอข้ามมากมายจะกระฉับกระเฉงข้ามถนนเมื่อไฟเขียวให้คนข้าม เคยไปเจอไฟเขียวกลางถนนก็ไม่มีรถแม้แต่คันเดียวแสดงความเกรี้ยวกราดบีบแตรขับไล่ให้คนใกล้แก่ขวัญกระเจิง ไม่แม้จะขยับรถ รอจนคนเดินไปถึงบาทวิถีจึงเคลื่อนรถ...แค่เห็นเรายืนรอข้ามอยู่ริมทางเขาก็ชะลอมาแต่ไกลแล้วค่ะ ใหม่ๆ เราไม่กล้าข้าม ถ้ารถยังไม่จอด กลัวเอาชีวิตไปทิ้งที่ญี่ปุ่น หลังๆ นี่เรารู้ว่าคนญี่ปุ่นมีวินัยมากในการใช้รถใช้ถนน เราจึงสบายใจในการเดินถนนมากขึ้น
แม้ถนนที่ไม่มีทางม้าลาย พอเรายืนรอจะข้ามถนน รถก็หยุดให้ข้ามแต่ไกลค่ะ.ซึ่งมันสะท้อนให้เห็นจิตสำนึกของคน และชวนให้ย้อนกลับมามองดูสำนึกของผู้ใช้รถในประเทศไทยกันบ้าง ปัญหามันอยู่ที่จิตสำนึกของคนขับที่ไม่ได้ตั้งใจจะหยุดรถตั้งแต่แรก ขนาดบางคนระวังอย่างถ้วนถี่แล้วก็ยังเสี่ยงอันตรายอยู่ดี
แถมทางข้ามของญี่ปุ่นก็ยังมีความน่ารักอีกก็คือว่าจะมี สัญญาณไฟจราจรแบบมีเสียง 音響装置付信号機 (おんきょう そうち つき しんごうき)
โดยจะมีเสียงร้องว่า "พิโยะ พิโยะ คักคู คักคู" ซึ่งเสียงนี้ไม่ได้มีไว้ให้ฟังเพราะๆ เท่านั้น แต่มันมีความหมายนะคะ
เวลาข้ามถนนตามสี่แยกบางที่จะได้ยินเสียงบอกสัญญาณคนข้าม รู้หรือไม่ว่านอกจากบอกว่าไฟคนข้ามเขียวแล้ว เสียงนั้นยังบอกรายละเอียดด้วยว่าเป็นของทางข้ามทิศไหน โดย พิโยะพิโยะ เป็นเสียงบอกสัญญาณคนข้ามทิศเหนือใต้ และ คักคู (ภาษาญี่ปุ่นเรียกคักโค) เป็นเสียงบอกสัญญาณคนข้ามทิศตะวันออกตะวันตก*
นอกจากนี้ ถนนที่มีผู้พิการทางสายตาใช้มาก อาจมีการติดตั้งพื้นผิวต่างสัมผัสนำทางบนทางข้าม (escort zone) เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาข้ามไปอีกฝั่งได้สะดวกขึ้น
*ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละท้องถิ่น
พิโยะ เป็นเสียงลูกเจี๊ยบ และคักคู (ภาษาญี่ปุ่นเรียกคักโค) เป็นเสียงนกคักคู
ขอบคุณข้อมูลจาก https://japan1616.wordpress.com/tag/ทางข้าม/
Posted by mod at
14:22
│Comments(0)
2015年11月06日
高校生がつくった乾電池で動く電車 走った距離が世界記録
เมื่อวันอังคาร 3 พ.ย. ที่ผ่านมาทีมนักเรียนม.ปลายสายอาชีพจากโรงเรียนไซตามะเกนริทซึกาวะโกอะ (Saitama Genritsukawagoe technical high school) ได้ลองท้าทายตวามสามารถของเขาเองด้วยการทดสอบว่ารถไฟขนาดเล็กที่ขับเคลื่อนด้วยถ่ายไฟฉายจำนวน 600 ก้อนจะสามารถวิ่งได้ระยะทางไกลเท่าไร
โดยทีมนักเรียนโรงเรียนนั้นประกอบไปด้วยนักเรียนสายไฟฟ้าจักรกลจำนวน 13 คน ได้สร้างสถิติโลกใหม่ด้วยการวิ่งบนรางรถไฟจริงๆ ได้ระยะทางไกลถึง 23 กิโลเมตร ณ จังหวัดอากิดะ โดยทางกินเนสได้ประกาศอย่างเป็นทางการทันทีที่วิ่งจบ
ในการท้าทายสถิติโลกครั้งนี้ เป็นรถไฟขนาดเล็กขับเคลื่อนด้วยถ่านไฟฉาย ที่มีผู้โดยสาร 10 คน วิ่งด้วยความเร็วประมาณ 7-10 กิโลเมตรต่อชม. ใช้เวลาท้าทายสถิติทั้งสิ้น 3 ชม. วิ่งได้ระยะทางรวมกว่า 23 กิโลเมตร สามารถเอาชนะสถิติเดิมที่นักเรียนรุ่นพี่ทำไว้ได้ในปีก่อนๆนั้นเอง
นักเรียนคนหนึ่งกล่าวว่า “การเตรียมความพร้อมนั้นยากลำบากมากๆ จึงรู้สึกดีใจจนน้ำตาแทบไหลเลยครับ”
โฉมหน้ารถไฟแบบใกล้ๆ
น่านั่งจริงๆ แต่ใช่ว่าเด็กไทยจะทำไม่ได้นะคะ เด็กไทยก็เก่งไม่แพ้ชาติอื่น
ที่มา : NHK
Posted by mod at
19:22
│Comments(0)
2015年11月05日
印刷で使う形以外の書き方もできることを紹介する
คนที่เรียนภาษาญี่ปุ่น ใครมีความรู้สึกอย่างเดียวกับฉันบ้างว่า ตัวอักษร "คันจิ" มันยาก แล้วก็ทำให้รู้สึกปวดใจมาก
แล้วคันจิที่เราต้องใช้กันบ่อยๆ นั้น ก็มีไม่ใช่น้อยเลยนะคะ อย่างที่เขาเรียกกันว่า "โจโยคันจิ"
โจโยกันจิ (ญี่ปุ่น: 常用漢字 Jōyō kanji ?) เป็นตัวอักษรคันจิ 2,136 ตัว (เดิม 1,945) ที่กระทรวงศึกษาของประเทศญี่ปุ่น กำหนดว่าเป็นตัวอักษรคันจิที่ใช้ในชีวิตประจำวันเป็นประจำ ประกอบด้วย
•คันจิที่เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาหรือเคียวอิกุกันจิ 1,006 ตัว
•คันจิที่เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษา 1,130 ตัว
อะไรมันจะเยอะอย่างนี้นะ
ตัวคันจินั้นมีทั้งตัวคันจิแบบพิมพ์และตัวคันจิแบบเขียน แม้ว่ารายละเอียดของตัวอักษรจะต่างกัน แต่รูปลักษณ์ส่วนใหญ่จะเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น คันจิคำว่า 「令(れい)」นั้นจะเขียนเป็นเส้นแนวตั้งตรงไว้ตรงกลางตัวอักษรที่ใช้การพิมพ์ แต่ในตอนเขียนจะเขียนคล้ายกับตัวอักษร Katakana ตัว 「マ」ไว้แทน ทั้ง 2 ตัวนั้นถูกทั้งคู่ไม่มีตัวไหนผิดเลย แต่ว่าตัวคันจิที่เขียนด้วยมือนั้นทางราชการและทางธนาคารจะไม่ใช้เพราะว่ารูปลักษณ์ที่ต่างกับตัวคันจิที่พิมพ์นั้นอาจสร้างปัญหาขึ้นได้
ดังนั้น ทางด้านสภาวัฒนธรรมจึงได้จัดทำการแนะนำตัวคันจิที่มีรูปลักษณ์ต่างๆ ที่เขียนด้วยมือเอาไว้ ในยุคปัจจุบันนี้จะมีตัวอักษณที่พิมพ์จะอยู่มากมาย จึงต้องให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมในการเขียนอักษรด้วยมือ และคิดว่าอยากจะให้กระตือรืนต้นในการเขียนตัวอักษรให้มากยิ่งขึ้น ดังนั้น กระทรวงวัฒนธรรมจึงได้วางแผนที่จะผลิตหนังสือเพื่อจะแนะนำวิธีการเขียนคันจิที่นอกเหนือจากรูปลักษณ์ที่ใช้ในการพิมพ์ภายในเดือนมีนาคม ปี 2017 ด้วย
อย่างไรก็ลองคอยติดตามกันต่อไปนะคะ ระหว่างนี้ก็ลองฝึกๆ เขียนกันไปพลางๆ ก่อนนะคะ
แล้วคันจิที่เราต้องใช้กันบ่อยๆ นั้น ก็มีไม่ใช่น้อยเลยนะคะ อย่างที่เขาเรียกกันว่า "โจโยคันจิ"
โจโยกันจิ (ญี่ปุ่น: 常用漢字 Jōyō kanji ?) เป็นตัวอักษรคันจิ 2,136 ตัว (เดิม 1,945) ที่กระทรวงศึกษาของประเทศญี่ปุ่น กำหนดว่าเป็นตัวอักษรคันจิที่ใช้ในชีวิตประจำวันเป็นประจำ ประกอบด้วย
•คันจิที่เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาหรือเคียวอิกุกันจิ 1,006 ตัว
•คันจิที่เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษา 1,130 ตัว
อะไรมันจะเยอะอย่างนี้นะ
ตัวคันจินั้นมีทั้งตัวคันจิแบบพิมพ์และตัวคันจิแบบเขียน แม้ว่ารายละเอียดของตัวอักษรจะต่างกัน แต่รูปลักษณ์ส่วนใหญ่จะเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น คันจิคำว่า 「令(れい)」นั้นจะเขียนเป็นเส้นแนวตั้งตรงไว้ตรงกลางตัวอักษรที่ใช้การพิมพ์ แต่ในตอนเขียนจะเขียนคล้ายกับตัวอักษร Katakana ตัว 「マ」ไว้แทน ทั้ง 2 ตัวนั้นถูกทั้งคู่ไม่มีตัวไหนผิดเลย แต่ว่าตัวคันจิที่เขียนด้วยมือนั้นทางราชการและทางธนาคารจะไม่ใช้เพราะว่ารูปลักษณ์ที่ต่างกับตัวคันจิที่พิมพ์นั้นอาจสร้างปัญหาขึ้นได้
ดังนั้น ทางด้านสภาวัฒนธรรมจึงได้จัดทำการแนะนำตัวคันจิที่มีรูปลักษณ์ต่างๆ ที่เขียนด้วยมือเอาไว้ ในยุคปัจจุบันนี้จะมีตัวอักษณที่พิมพ์จะอยู่มากมาย จึงต้องให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมในการเขียนอักษรด้วยมือ และคิดว่าอยากจะให้กระตือรืนต้นในการเขียนตัวอักษรให้มากยิ่งขึ้น ดังนั้น กระทรวงวัฒนธรรมจึงได้วางแผนที่จะผลิตหนังสือเพื่อจะแนะนำวิธีการเขียนคันจิที่นอกเหนือจากรูปลักษณ์ที่ใช้ในการพิมพ์ภายในเดือนมีนาคม ปี 2017 ด้วย
อย่างไรก็ลองคอยติดตามกันต่อไปนะคะ ระหว่างนี้ก็ลองฝึกๆ เขียนกันไปพลางๆ ก่อนนะคะ
Posted by mod at
20:18
│Comments(0)