› 日本が好き › 2015年11月30日
2015年11月30日
魚も顔を見ると相手がだれかわかる เชื่อหรือไม่ปลาจดจำหน้ากันได้
วันนี้มีข่าวเรื่องการวิจัยของญี่ปุ่นมาเล่าสู่กันฟังค่ะ
เพื่อนๆ เชื่อหรือไม่ว่าปลาสามารถจดจำใบหน้าของปลาตัวอื่นได้
มีกลุ่มทำวิจัยของมหาวิทยาลัย Osaka Shiritsu (Osaka City University) คิดว่าปลาเองก็อาจจะจดจำและรู้จักใบหน้าของปลาตัวอื่นได้เช่นเดียวกับพวกลิงหรือพวกนก
ดังนั้น พวกเขาก็เลยได้ลองทำการวิจัยโดยใช้ปลาที่อาศัยอยู่ทะเลสาปในของแอฟริกา จากข้อมูลของนักวิจัยกล่าวว่าปลาพวกนี้จะไม่ค่อยรู้จักระแวดระวังภัยจากปลาตัวอื่นที่เคยอยู่ในสถานที่ใกล้เคียงกันและเคยเห็นกันบ่อยๆ แต่ว่า จะระแวดระวังภัยจากปลาตัวที่เห็นกันเป็นครั้งแรก แล้วก็จะไม่ยอมเข้าไปใกล้ๆ
กลุ่มนักวิจัยได้ทำการทดลองวิจัยในหัวข้อที่ว่า "ทำไมปลาถึงรู้ล่ะว่า ปลาตัวนี้เป็น “ปลาที่เห็นกันบ่อยๆ” หรือว่าเป็น “ปลาที่เห็นกันเป็นครั้งแรก”
ตัวอย่างการวิจัยก็อย่างเช่น จะสร้างภาพถ่ายใบหน้าของ “ปลาที่เห็นกันบ่อยๆ” กับ ส่วนที่เป็นตัวปลาของ “ปลาที่เห็นกันเป็นครั้งแรก” ด้วยคอมพิวเตอร์ แล้วให้ปลาลองดูภาพเหล่านั้น
ผลลัพธ์ออกมาว่า ภาพที่เป็นใบหน้าของ “ปลาที่เห็นกันบ่อย” นั้นปลาจะเลิกระแวดระวังภัยภายในเวลาแค่ 10 วินาที
แต่ภาพใบหน้าของ “ปลาที่เห็นกันเป็นครั้งแรก” จะเลิกระแวดระวังภัยภายในเวลาประมาณ 30 วินาที
ดังนั้น กลุ่มนักวิจัยก็เลยคิดว่าปลาจะจดจำและรู้จักปลาตัวอื่นๆ ได้จากสีและลวดลายบนใบหน้าของปลาตัวนั้นๆ
ศาสตราจารย์โคดะ มาซาโนริที่อยู่ในกลุ่มวิจัยนี้ได้กล่าวว่า “ปลาตัวนี้จะจดจำและรู้จักใบหน้าของปลาตัวอื่นได้ในทันทีที่เจอว่าเป็นปลาที่เคยเห็นกันมาก่อนหรือไม่ และคิดว่าถ้าจดจำและเข้าใจได้ว่าเป็นปลาที่อยู่ในสถานที่ใกล้เคียงกันหรือละแวกเดียวกันก็จะพยายามไม่ต่อสู้หรือทำอันตรายปลาตัวนั้นๆ
เพื่อนๆ เชื่อหรือไม่ว่าปลาสามารถจดจำใบหน้าของปลาตัวอื่นได้
มีกลุ่มทำวิจัยของมหาวิทยาลัย Osaka Shiritsu (Osaka City University) คิดว่าปลาเองก็อาจจะจดจำและรู้จักใบหน้าของปลาตัวอื่นได้เช่นเดียวกับพวกลิงหรือพวกนก
ดังนั้น พวกเขาก็เลยได้ลองทำการวิจัยโดยใช้ปลาที่อาศัยอยู่ทะเลสาปในของแอฟริกา จากข้อมูลของนักวิจัยกล่าวว่าปลาพวกนี้จะไม่ค่อยรู้จักระแวดระวังภัยจากปลาตัวอื่นที่เคยอยู่ในสถานที่ใกล้เคียงกันและเคยเห็นกันบ่อยๆ แต่ว่า จะระแวดระวังภัยจากปลาตัวที่เห็นกันเป็นครั้งแรก แล้วก็จะไม่ยอมเข้าไปใกล้ๆ
กลุ่มนักวิจัยได้ทำการทดลองวิจัยในหัวข้อที่ว่า "ทำไมปลาถึงรู้ล่ะว่า ปลาตัวนี้เป็น “ปลาที่เห็นกันบ่อยๆ” หรือว่าเป็น “ปลาที่เห็นกันเป็นครั้งแรก”
ตัวอย่างการวิจัยก็อย่างเช่น จะสร้างภาพถ่ายใบหน้าของ “ปลาที่เห็นกันบ่อยๆ” กับ ส่วนที่เป็นตัวปลาของ “ปลาที่เห็นกันเป็นครั้งแรก” ด้วยคอมพิวเตอร์ แล้วให้ปลาลองดูภาพเหล่านั้น
ผลลัพธ์ออกมาว่า ภาพที่เป็นใบหน้าของ “ปลาที่เห็นกันบ่อย” นั้นปลาจะเลิกระแวดระวังภัยภายในเวลาแค่ 10 วินาที
แต่ภาพใบหน้าของ “ปลาที่เห็นกันเป็นครั้งแรก” จะเลิกระแวดระวังภัยภายในเวลาประมาณ 30 วินาที
ดังนั้น กลุ่มนักวิจัยก็เลยคิดว่าปลาจะจดจำและรู้จักปลาตัวอื่นๆ ได้จากสีและลวดลายบนใบหน้าของปลาตัวนั้นๆ
ศาสตราจารย์โคดะ มาซาโนริที่อยู่ในกลุ่มวิจัยนี้ได้กล่าวว่า “ปลาตัวนี้จะจดจำและรู้จักใบหน้าของปลาตัวอื่นได้ในทันทีที่เจอว่าเป็นปลาที่เคยเห็นกันมาก่อนหรือไม่ และคิดว่าถ้าจดจำและเข้าใจได้ว่าเป็นปลาที่อยู่ในสถานที่ใกล้เคียงกันหรือละแวกเดียวกันก็จะพยายามไม่ต่อสู้หรือทำอันตรายปลาตัวนั้นๆ
Posted by mod at
15:58
│Comments(0)