インバウンドでタイ人を集客! 事例多数で万全の用意 [PR]
ナムジャイブログ
ブログポータルサイト「ナムジャイ.CC」 › 日本が好き

【PR】

本広告は、一定期間更新の無いブログにのみ表示されます。
ブログ更新が行われると本広告は非表示となります。
  

Posted by namjai at

2017年03月23日

ช่วงไดเอท กินอะไรดี

ช่วงนี้ ฉันอยู่ในช่วงไดเอท … แต่อยากกินอาหารเส้นๆ ทีนี้เข้าไปในร้านอาหารญี่ปุ่นก็ลังเลว่าจะเลือกกินอะไรดี ระหว่างอุด้งหรือโซบะ

เมื่อเทียบปริมาณแคลอรี่กันแล้ว ระหว่างอุด้งหรือโซบะ 1 ชามขนาด 260 กรัม อุด้งจะมีปริมาณ 273 แคลอรี่ ในขณะที่โซบะ 296 แคลอรี่ อุด้งมีแคลอรี่น้อยกว่านิดหน่อย ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก แต่ถ้าดูในแง่ของคุณค่าทางโภชนาการและระดับน้ำตาลในเลือดแล้วล่ะก็ ทานโซบะจะดีกว่าค่ะ

อุด้งจะดีกว่าโซบะ ในแง่ที่ย่อยง่ายกว่า นอกจากนั้นในช่วงที่ไม่สบายเป็นหวัด รู้สึกร่างกายไม่ค่อยสบาย ก่อนการออกกำลังกายหรือต้องการพลังงานในเวลาเร่งด่วน รวมถึงเด็ก ๆ จะแนะนำให้ทานอุด้งมากกว่า




งัั้น ฉันสั่งเป็นอุด้งกีกว่า
  

Posted by mod at 20:02Comments(13)

2017年02月16日

ヨン様はもう卒業したの!

เมื่อวันก่อนได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งเป็นการ์ตูนเกี่ยวกับธรรมเนียมญี่ปุ่น ไปเจอบทสนทนาที่ลูกชายพูดกับแม่ที่กำลังคลั่งไคล้ดาราเกาหลี

ลูก:あれ!?お母さんヨン様のフアンじゃなかったっけ 
(เอ๊ะ แม่ไม่ได้เป็นแฟนคลับของเบยองจุนหรอกเหรอ)




แม่: ヨン様はもう卒業したの!
  (เลิกเป็นแฟนคลับเบยองจุนแล้วล่ะ)

เพิ่งได้ความรู้ใหม่ว่า คำว่า “卒業” ไม่ได้มีความหมายเฉพาะว่าจบการศึกษาเท่านั้น แต่หมายความรวมถึงการเลิกทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ทำจนพอใจแล้วได้ด้วย อย่างเช่นในที่นี่ คุณแม่ติดตามเป็นแฟนคลับจนอิ่มตัวแล้ว ก็เลยเปลี่ยนไปชอบคนใหม่แทน
  

Posted by mod at 20:00Comments(0)

2017年02月15日

รถไฟเซบุ มีตู้สำหรับผู้ใช้รถเข็นโดยเฉพาะ

ถ้าเราพูดถึงความสะดวกสบายในการใช้รถไฟฟ้าในการเดินทางแล้วล่ะก็ หนึ่งในนั้นก็จะต้องมีรถไฟฟ้าของญี่ปุ่นรวมอยู่ด้วยอย่างแน่นอน




ในตอนนี้ทางรถไฟเซบุ (ญี่ปุ่น: 西武鉄道 Seibu Tetsudō) ที่วิ่งระหว่างโตเกียวกับไซตามะ




ได้สร้างรถไฟที่ช่วยให้คนที่ต้องใช้รถเข็นเด็กที่มีเด็กทารกนั่งอยู่หรือคนพิการที่ต้องใช้รถเข็นสามารถขึ้นรถไฟฟ้าได้อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น โดยในขบวนรถไฟที่มีทั้งหมด 10 ตู้นั้นจะมีอยู่ 1 ตู้ที่มีจำนวนเก้าอี้นั่งน้อยลงเพื่อทำให้มีพื้นที่ด้านในสำหรับการใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ไม่ต้องเคลื่อนย้ายรถเข็นคนพิการบ่อยๆ เพื่อความปลอดภัย



แล้วก็จะมีเก้าอี้ที่สร้างขึ้นสำหรับคนที่ใช้รถเข็นเด็กสามารถจะยืนหรือนั่งได้อย่างสะดวกง่ายดาย และจะมีห้องน้ำที่คนนั่งรถเข็นสามารถใช้งานได้ง่ายอยู่ในตู้อื่นอีกด้วย

การเดินรถของรถไฟฟ้าขบวนนี้มีหมายกำหนดการที่จะเริ่มใช้งานตั้งแต่วันที่ 25 เดือนมีนาคมเป็นต้นไป
  

Posted by mod at 16:33Comments(0)

2017年02月08日

สัญลักษณ์ไปรษณีย์ญี่ปุ่น 〒

วันก่อนสอนนักเรียนในบทเรียนที่เกี่ยวกับสถานที่ แล้วตัวอย่างสถานที่ในหนังสือเรียนก็มีคำต่างๆ อย่างเช่น หอสมุด 図書館 (Toshokan)ที่ทำการไปรษณีย์ 郵便局 (yuubinkyoku)หอศิลป์ 美術館 (Bijyutsukan) เป็นต้น

แล้วก็ไปสะดุดตาสัญลักษณ์ของที่ทำการไปรษณีย์ เอ๋.....ทำไมคล้ายๆ ตัว T ในภาษาอังกฤษนะ มันมีความหมายว่าอย่างไรกันแน่ ก็เลยลองค้นหาดู




อ้อ.....มันมีประวัติมาจากการบริการไปรษณีย์ของญี่ปุ่นเกิดขึ้นครั้งแรกในวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ.1871 ซึ่งในเวลานั้น หน่วยงานที่ควบคุมคือกระทรวงคมนาคม (逓信省) ซึ่งอ่านออกเสียงว่า tenshinshou แล้วนำมาเขียนด้วยอักษรคาตาคานะได้เป็น テイシンショウ แล้วนำอักษรตัวแรกมาเป็นสัญลักษณ์ นั่นคือテ (te) นั่นเอง ดังนั้นก็เลยใช้สัญลักษณ์ตัว 〒 เรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้


วิธีอ่านสัญลักษณ์ 〒 ในภาษาญี่ปุ่นที่ถูกต้องคือ ยูบิงคิโก (yuubinkigou) (郵便記号) ค่ะ
  

Posted by mod at 13:49Comments(0)

2017年02月07日

“วันแม่บ้านพักผ่อน” (主婦休みの日)

จากแนวนโยบายของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น คุณชินโซ อาเบะที่ต้องการที่จะเสริมสร้างศักยภาพของสตรีและอยากสร้างสภาพแวดล้อมให้ผู้หญิงญี่ปุ่นสามารถทำงานต่อได้หลังจากแต่งงานหรือมีลูก โดยแนวคิดของท่านก็ได้รับการตอบสนองจากบริษัทหลายแห่งที่อนุญาตให้คุณพ่อบ้านเลิกงานเร็วในวันศุกร์เพื่อกลับไปช่วยคุณแม่บ้านดูแลบ้านและครอบครัว แต่สาวๆ ญี่ปุ่นก็ยังคงต้องรับภาระหนักทั้งการทำงานนอกบ้านและการทำงานบ้านอยู่ดี




คุณแม่บ้านญี่ปุ่นจึงลุกขึ้นมาเรียกร้องให้มีวันหยุดพิเศษสำหรับคุณแม่บ้าน คือ “วันแม่บ้านพักผ่อน” (主婦休みの日-shufu yasumi no hi) โดยขอหยุดปีละ 3 วันที่พวกเธอจะได้หยุดพักจากการทำงานบ้านให้คุณพ่อบ้านและคุณลูกๆ ได้ทำงานงานบ้านแทนในวันนั้นๆ




โดยเหล่าคุณแม่บ้านเสนอว่า วันหยุดพิเศษนี้ควรจะเป็นวันที่ 25 มกราคม, 25พฤษภาคม และ 25กันยายน โดยหากวันดังกล่าวตรงกับวันทำงานก็ให้เลื่อนเป็นวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ในสัปดาห์นั้นแทน

พวกเหล่าคุณแม่บ้านญี่ปุ่นดูเอาจริงเอาจังมากๆ เลยนะคะ เรียกได้ว่าขอเป็นวันหยุดราชการแบบมีชดเชยเสียด้วย สุดยอดจริงๆ ก็ขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่บ้านญี่ปุ่นนะคะ ขอให้ข้อเรียกร้องเป็นจริงขึ้นมาด้วย
  

Posted by mod at 13:22Comments(0)

2017年02月01日

Homeplus ซุปเปอร์มาเก็ตออนไลน์

เพื่อนๆ เคยหยิบเอกสารหรือรับเอกสารแจกฟรี อย่างพวกหนังสือพิมพ์ นิตยสารต่างๆ มัยคะ แล้วจริงๆ เราเคยสนใจที่จะอ่านมันหรือไม่คะ สำหรับฉันที่บ้านวางกองเป็นภูเขาเลย

แต่เมื่อวันก่อนมีเวลานิดนึงก็เลยลองหยิบนิตยสาร “คิด” ขึ้นมาอ่านดู พบกับหัวข้อเรื่องในนิตยสารนั้น คือ “Homeplus Subway Virtual Store” ซึ่งเป็นหัวข้อที่ดีมากๆ เลย




มันคือเทสโก้ซึ่งเป็นซูเปอร์มาเก็ตในเกาหลีใต้ ทำการรีแบรนด์ใหม่เป็นชื่อ “โฮมพลัส” โดยนำกลยุทธ์มาปรับใช้ให้เหมาะกับการใช้ชีวิตของคนเกาหลีใต้ที่ติดอันดับ 2 รองจากญี่ปุ่นสำหรับประเทศที่ผู้คนใช้เวลาในการทำงานมากที่สุด

เขาจึงหยิบฟังก์ชั่นการใช้งานของโทรศัพท์มือถือที่ทุกคนคุ้นชินมาผนวกกับกลยุทธ์การยกภาพชั้นวางสินค้ามาแทนที่ป้ายโฆษณาบริเวณชานชาลาของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่มีคนมาใช้บริการมากมาย โดยโฮมพลัสได้เสนอทางออกให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าในเวลาอันจำกัด โดยโฮมพลัสได้เสนอทางออกให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าได้ทุกประเภทตามที่ต้องการ ทั้งผักสด ผลไม้ นม น้ำดื่ม ไม่แตกต่างจากในซูเปอร์มาเก็ตจริง เพียงแค่นำสมาร์ทโฟนไปสแกน QR Code ที่รูปสินค้านั้นๆ เพื่อส่งข้อมูลสู่ Online-chart และกระบวนการชำระค่าสินค้า ก่อนที่ทางโฮมพลัสจะดำเนินการส่งสินค้ามาถึงประตูในเวลาเดียวกับที่ลูกค้ากลับถึงบ้านพอดิบพอดี

ถ้าประเทศไทยเปลี่ยนจากมาใช้ระบบแบบนี้ก็น่าจะดีนะคะ สำหรับสังคมเมืองที่ยุ่งวุ่นวายแบบนี้
  

Posted by mod at 12:39Comments(0)

2017年01月26日

เทียบความอึ๋มขณะแช่ออนเซน

เมื่อเช้าอ่านเจอคอลัมภ์หนึ่งในหนังสือพิมพ์ เขาพาดหัวว่า “ผลสำรวจพบ สาวญี่ปุ่น 80% เปรียบเทียบความอึ๋มขณะแช่ออนเซน”



อุต๊ะ! ขนาดนั้นเลยเหรอเนี่ย? สำหรับฉันที่เป็นคนไทยก็คงไม่กล้ามองแน่ๆ แล้วอีกอย่างถึงอยากมองก็คงมองไม่เห็นเป็นแน่ เพราะเวลาแช่ออนเซน เขาใส่แว่นกันด้วยเหรอ

แล้วจากผลสำรวจนั้น อวัยวะส่วนที่ถูกมองและถูกเปรียบเทียบมากที่สุดก็คือหน้าอก 42% ตามมาด้วยหน้าท้อง 32% มองเอวและสะโพก 17% แล้วอันดับสุดท้ายคือมองเรียวขา 9%

อืม….สำหรับฉันคงไม่มีคนมองแน่นอน ไม่ผ่านสักข้อ แค่เดินเข้าไปเขาคงเบือนหน้าหนีแล้ว 555




แต่สำหรับคุณผู้ชายนั้น ผลสำรวจพบว่าผู้ชายส่วนใหญ่ไม่สนใจอะไรเลยขณะแช่ออนเซน ตั้งใจที่จะผ่อนคลายความเครียดอย่างเดียวเท่านั้น
  

Posted by mod at 16:14Comments(0)

2017年01月25日

หมึก....บิน

วันนี้จะพาไปดูหมึก....บินกัน



หมึกบินญี่ปุ่น (Japanese flying squid) หรือที่คนญี่ปุ่นเรียกว่า ซูรุเมะอิกะ (スルメイカ) ชื่อของมันนั้นมาจากคำว่า Sumi (墨) ที่แปลว่าน้ำหมึก กับ Mureru (群れる) ชุมนุมกัน เมื่อนำคำศัพท์สองคำมารวมกันก็จะได้คำว่า Sumimure (スミムレ / 墨・群れ) เมื่อเวลาผ่านไปก็เกิดการออกเสียงเพี้ยนจนเป็น Surume ส่วนคำว่า イカ (Ika) ก็คือปลาหมึกนั่นเอง





ปลาหมึกบินญี่ปุ่นนั้นจะถูกจับมากที่สุดในบรรดาปลาหมึกทั้งหมด แล้วในญี่ปุ่นก็นิยมรับประทานกันมากด้วย เมนูอาหารที่ทำจากซูรุเมะอิกะก็อย่างเช่น



– หมึกย่าง : นำไปย่างซอสโชยุและปรุงรสด้วยเกลือ นำไปทานกับขิง

– หมึกทรงเครื่องย่างแผ่นฟรอยด์ : นำหมึกมาหั่นเป็นชิ้นเล็กประมาณ 1 ซม. เอาไปแช่ซอสโชยุผสมเหล้าญี่ปุ่นแล้วนำมาห่อด้วยแผ่นฟรอยด์ จากนั้นนำไปอบด้วยเตาเป็นอันเสร็จ

– หมึกบินต้มเผือก : นำหมึกมาหั่นประมาณ 1 ซม. พร้อมกับปอกเผือกแล้วนำไปต้มเตรียมไว้… นำเหล้าญี่ปุ่นและมิรินลงไปต้มในหม้อให้ได้น้ำซุป หลังจากนั้นใส่เผือกและหมึกลงไปต้ม ปรุงรสตามต้องการ

แต่เมื่อเร็วๆ นี้ ทางกรมประมงของญี่ปุ่นได้ออกมาแถลงเกี่ยวกับปริมาณ “ปลาหมึกบินญี่ปุ่น” ในทะเลญี่ปุ่นประจำปี 2016 ว่าปริมาณปลาหมึกบินญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ทางมหาสมุทรแปซิฟิกนั้นมีประมาณ 334,000 ตัน ซึ่งมีปริมาณน้อยลงกว่า 30% เมื่อเทียบกับเมื่อปีก่อนๆ แล้วปริมาณปลาหมึกบินญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในทะเลญี่ปุ่นเองก็มีปริมาณลดน้อยลงด้วย

ด้วยเหตุนี้ เมื่อปีที่แล้วปริมาณของปลาหมึกบินญี่ปุ่นที่ถูกจับในญี่ปุ่นจึงมีปริมาณที่น้อยลงกว่าครึ่งเมื่อเทียบกับปีก่อนๆ

กรมประมงได้กล่าวว่า “อุณหภูมิของน้ำทะเลจีนตะวันออกที่กล่าวกันว่าเป็นสถานที่ที่ปลาหมึกบินญี่ปุ่นวางไข่นั้นมีอุณหภูมิต่ำลง จึงเป็นสาเหตุ 1 ที่ทำให้การวางไข่นั้นยากขึ้น นอกเหนือไปจากนี้ ปลาก็ยังมีปริมาณลดน้อยลงด้วย จึงกลายเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นมา”

แล้วที่ว่าหมึกชนิดนี้บินได้นั้น นั่นก็เพื่อหนีเอาตัวรอดจากศัตรูที่จะมากินมัน แต่อย่างไรก็ตามก็ยังไม่สามารถหนีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิดเช่นโลมาและแมวน้ำได้


ขั้นตอนการบินของหมึกนั้น ขั้นแรกมันจะพับครีบหลังลง และว่ายซิกแซกไปมาพร้อมกับดูดน้ำเข้าไปในลำตัว หลังจากนั้นก็ทำการพ่นน้ำออกมาทำให้ตัวสามารถพุ่งขึ้นสู่ผิวน้ำได้ โดยสามารถร่อนด้วยความเร็วถึง 11 เมตรต่อวินาที ซึ่งพอๆกับความเร็วของนักวิ่งเหรียญทองโอลิมปิกเลย นอกจากนี้ยังสามารถอยู่ในอากาศได้ประมาณ 3 วินาที และร่อนได้ไกลกว่า 30 เมตรต่อหนึ่งครั้งด้วย
  

Posted by mod at 16:52Comments(0)

2017年01月19日

มารยาทการใช้โทรศัพท์บนรถไฟฟ้า

เมื่อคืนตอนขากลับจากการทำงานประมาณ 3 ทุ่มกว่าๆ ฉันก็ใช้บริการของรถไฟฟ้า BTS เพื่อกลับบ้าน อย่างที่พวกเราๆ รู้กันว่าสำหรับรถไฟฟ้าของประเทศไทยนั้นไม่ได้มีกฎห้ามในการใช้โทรศัพท์มือถือเช่นการใช้โทรศัพท์พูดคุยกัน หรือการเปิดเสียงโทรศัพท์ แต่สำหรับฉันแล้ว ถ้าไม่ใช่ธุระสำคัญอะไรก็น่าจะงดใช้เสียงโทรศัพท์นะคะ เพราะว่ามันก็รบกวนคนข้างๆ หรือคนที่อยู่ในขบวนรถไฟ เรื่องการคุยก็พอรับได้นะคะ แต่เมื่อคืนมีการเปิดคลิปละครดูแล้วก็ไม่ได้ใช้หูฟัง แต่เปิดเสียงดังมาก เรียกได้ว่ารอบๆ บริเวณของคุณคนนั้นในระยะ 3-5 เมตรกว่าๆ ได้ฟังละครของเธอด้วยเลย ฉันว่ามันไม่ค่อยเหมาะนะคะ




ด้านบนเป็นการบ่นส่วนตัวนะคะ แต่สิ่งที่อยากมาเล่าจริงๆ คือเมื่อก่อนในรถไฟฟ้าของญี่ปุ่นจะมีการกำหนดว่าในพื้นที่ที่นั่งพิเศษสำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยต้องปิดสวิตช์โทรศัพท์มือถือ เนื่องจากกังวลคลื่นโทรศัพท์จะส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจ แต่ในตอนนี้ได้มีการผ่อนผันให้สามารถใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อเช็คอีเมล์และส่งข้อความได้ในขณะที่นั่งอยู่ในที่นั่งพิเศษได้ เพราะจากผลการวิจัยพบว่าคลื่นโทรศัพท์มือถือจะส่งผลต่ออุปกรณ์ทางการแพทย์เมื่ออยู่ในระยะใกล้ราว 3 เซนติเมตรเท่านั้น




แต่อย่างไรก็ตาม ทางรถไฟญี่ปุ่นยังคงห้ามใช้โทรศัพท์เพื่อพูดคุยในระหว่างโดยสาร และแนะนำให้ปิดสวิตช์โทรศัพท์มือถือในช่วงที่ผู้โดยสารหนาแน่นเหมือนเช่นเดิม เพราะยังคงรณรงค์ให้ผู้โดยสารใช้โทรศัพท์มือถืออย่างเหมาะสมและมีมารยาท โดยงดการใช้งานที่มีเสียงทุกอย่างและใช้งานเฉพาะระบบสั่นเตือนเท่านั้น

  

Posted by mod at 13:17Comments(0)

2017年01月18日

学童保育 กิจกรรมหลังเลิกเรียน

สังคมสมัยนี้ไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนๆ ก็ต้องปากกัดตีนถีบกันทั้งนั้น ผู้ปกครองหรือคุณพ่อคุณแม่ก็ต้องออกมาทำงานนอกบ้านกันทั้งคู่ ไม่เว้นแม้แต่สังคมของประเทศญี่ปุ่นในตอนนี้ จึงทำให้เกิดมีสิ่งที่เรียกว่า “学童保育(がくどうほいく)” หรือ After-school activity ขึ้น




ซึ่งเป็นการดูแลเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาหลังจากโรงเรียนเลิกแล้ว สำหรับนักเรียนที่พ่อและแม่ต้องทำงานและไม่มีใครอยู่บ้าน โดยเขาจะจัดกิจกรรมให้เด็กๆ ทำเพื่อพัฒนาด้านต่างๆ ให้กับเด็กนอกเหนือจากการเรียนในชั้นเรียน

โดยเราได้รับข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการแรงงานของญี่ปุ่น เมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2016 ว่ามีเด็กนักเรียนที่ไปใช้บริการการทำกิจกรรมหลังเลิกเรียนถึงประมาณ 1,093,000 คนเลยทีเดียว แล้วก็มีจำนวนที่เพิ่มขึ้นกว่าเมื่อปีก่อนหน้านี้ประมาณ 68,000 คนด้วย

สถานที่ที่จัดกิจกรรมหลังเลิกเรียนก็ปริมาณเพิ่มมากขึ้นกว่าปีก่อนหน้านี้ประมาณ 1,000 แห่ง แต่ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับนักเรียน ดังนั้น จึงมีเด็กที่ไม่สามารถไปใช้บริการได้อีก 17,000 คน

กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการแรงงาน จึงได้วางแผนที่จะจัดสร้างสถานที่ที่จัดกิจกรรมหลังเลิกเรียนให้เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม แล้วคาดว่าน่าจะรองรับเด็กเพื่อให้สามารถเข้ามารับบริการได้มากกว่าขึ้นกว่าในตอนนี้อีก 120,000 คนภายในเดือนมีนาคม ปี 2019



  

Posted by mod at 17:18Comments(0)