インバウンドでタイ人を集客! 事例多数で万全の用意 [PR]
ナムジャイブログ
ブログポータルサイト「ナムジャイ.CC」 › 日本が好き › 体を温(あたた)かくする湯(ゆ)たんぽなどのやけどに気(き)をつけて ระวังแผลไฟลวกจากกระเป๋าน้ำร้อน

2015年11月24日

体を温(あたた)かくする湯(ゆ)たんぽなどのやけどに気(き)をつけて ระวังแผลไฟลวกจากกระเป๋าน้ำร้อน

ตอนนี้ก็ใกล้ปีใหม่กันแล้วนะคะ เดือนหน้าก็เดือนสุดท้ายของปีแล้ว เพื่อนๆ คงเตรียมโปรแกรมไปเที่ยวกันแล้ว สำหรับคนไทยอย่างเราก็อยากที่จะไปเที่ยวที่เย็นๆ กันบ้าง แบบว่าอุณหภูมิติดลบ กันหลายๆองศา ไปเล่นสกี สัมผัสหิมะ แล้วประเทศหนึ่งที่เกือบทุกคนอยากจะไปก็คือญี่ปุ่นสินะคะ ถ้าไปก็อย่าลืมเตรียมพวกเสื้อกันหนาว หมวก ถุงมือ ผ้าพันคอไปด้วยนะคะ

นอกจากของพวกนั้นแล้ว วันนี้ก็จะมาแนะนำอุปกรณ์ ป้องกันความหนาวเย็นให้ความอบอุ่นกับร่างกายเป็นที่ยอดนิยมที่สุดมาอย่างยาวนาน อุปกรณ์นี้ มีขนาดเล็ก พกสะดวก ป้องกันความหนาวเย็นได้อย่างดีเยี่ยม เป็นสินค้าที่มีเเนวคิดเเละการผลิตจากประเทศญี่ปุ่นค่ะ นั่นคือ

体を温(あたた)かくする湯(ゆ)たんぽなどのやけどに気(き)をつけて ระวังแผลไฟลวกจากกระเป๋าน้ำร้อน


1.เเผ่นแปะให้ความอบอุ่น หรือ ที่เรารู้จักกันดีในชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า カイロแถมตอนนี้ยังมีเทคโนโลยีใหม่ด้วยนะคะ เพียงแค่ฉีกเเผ่นเเปะให้ความร้อน (ถุงร้อน ถุงกันหนาว kairo ไคโระ) ออกจากซอง ลอกเเถบกาวออกเเปะไปยังเสื้อผ้าด้านในนะคะ เเผ่นแปะความร้อนจะทำปฏิกริยากับอากาศทำให้เกิดความร้อนไม่ต้องเสียบปลั๊ก ไม่ต้องเข้าไมโครเวฟ ที่สำคัญอุ่นกำลังพอดีกับร่างกาย ไม่ร้อนเกินไปจนทำให้ผิวไหม้พอง
ก่อนจะไปใช้ เราลองมาดูความเป็นมาของแผ่นแปะให้ความอบอุ่นกันดีกว่า

体を温(あたた)かくする湯(ゆ)たんぽなどのやけどに気(き)をつけて ระวังแผลไฟลวกจากกระเป๋าน้ำร้อน


ย้อนกลับไปสมัยญี่ปุ่นโบราณ หรือ ตั้งแต่สมัยเมจิ สมัยนั้นเค้าใช้ก้อนหินมาอังกับไฟให้พออุ่น แล้วก็ห่อกับผ้าค่ะ
หลังจากนั้นก็นำมาแนบกับกิโมโนค่ะ
ในยุคถัดมาคือ ปี 1868
เริ่มมีการพัฒนามากขึ้นค่ะ ตอนนี้ เริ่มพัฒนาโดยการใช้เป็นเหมือน ถ่านเผา กล่องนี้จะมีขนาดเล็กๆค่ะ
ในยุคถัดมาในปี 1912
เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเชื้อเพลิงที่ใช้นะคะ คือ จากเดิมที่เป็นถ่าน จะเปลี่ยนเป็น น้ำมันค่ะ อันนี้ค่อนข้างใกล้เคียงกับ
ไฟแช็คในปัจจุบันแต่ kairo จะมีข้อเสียคือ บางครั้ง จะมีกลิ่นเหม็นน้ำมันค่ะ ซึ่งกลิ่นนี้จะติดเสื้อผ้า
ยุคปัจจุบัน
ในยุคปัจจุบันคือ แผ่น kairo หรือ แผ่นแปะให้ความอบอุ่น ถุงร้อน มีขนาดเล็ก บาง อุณหภูมิ อบอุ่นที่คงที่ และยาวนานมากถึง 12 ชั่วโมงค่ะ ใช้งานได้สะดวก สบาย เบา ไม่เกะกะ

体を温(あたた)かくする湯(ゆ)たんぽなどのやけどに気(き)をつけて ระวังแผลไฟลวกจากกระเป๋าน้ำร้อน


ต่อมาก็มาดูส่วนประกอบกันนะคะว่า ภายในของมันประกอบด้วยอะไรบ้าง ที่รูปด้านล่างนี้เลยค่ะ
หลักการทำงานคือ เมื่อผงเหล็กในถุงที่บรรจุนั้น สัมผัสกับอากาศซึ่งมีความชื้น
เหล็กจะทำปฏิกริยาตามสูตรเคมี ทำให้เกิดการคายความร้อนค่ะ
และเราเองก็จะได้รับความอบอุ่นจากความร้อนที่คายออกมาในปริมาณที่พอเหมาะสมกับร่างกายค่ะ

รูปด้านล่างนี้จะเป็น รายละเอียด ของ จุดต่างๆที่ คนญี่ปุ่นนิยมติด เเผ่นเเปะให้ความอบอุ่น ไคโร kairo กระเป๋าน้ำร้อนเเผ่นถุงร้อน ตามส่วนต่างๆของร่างกายค่ะ

体を温(あたた)かくする湯(ゆ)たんぽなどのやけどに気(き)をつけて ระวังแผลไฟลวกจากกระเป๋าน้ำร้อน


体を温(あたた)かくする湯(ゆ)たんぽなどのやけどに気(き)をつけて ระวังแผลไฟลวกจากกระเป๋าน้ำร้อน


2.กระเป๋าน้ำร้อน หรือภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 湯たんぼ(yutanbo)มีขายหลายชนิดค่ะ มีตั้งแต่แบบที่เป็นโลหะ โดยนำไปวางไว้บน "สโต๊ป (เตาไฟจากน้ำมัน)" เวลาหน้าหนาว เวลานอน เอาไปนอนด้วย หนาวตรงไหนก็วางตรงนั้น ส่วนใหญ่จะวางตรงปลายเท้า สมัยนี้ก็มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็จะมีพวกแบบเคเบิ้ลก็ไร้สายก็ใช้สะดวกสบายดี

体を温(あたた)かくする湯(ゆ)たんぽなどのやけどに気(き)をつけて ระวังแผลไฟลวกจากกระเป๋าน้ำร้อน


体を温(あたた)かくする湯(ゆ)たんぽなどのやけどに気(き)をつけて ระวังแผลไฟลวกจากกระเป๋าน้ำร้อน

3.โต๊ะให้ความร้อน หรือภาษาญี่ปุ่นเรียก コタツ(โคทัตสึ) เป็นอุปกรณ์ให้ความอบอุ่นที่มีลักษณะเป็นโต๊ะขาเตี้ย ใต้โต๊ะจะติดตั้งเครื่องทำความอุ่น และมีผ้าห่มรอบด้าน เวลานั่งก็สอดขาเข้าไป อุ่นสบายมากๆ

体を温(あたた)かくする湯(ゆ)たんぽなどのやけどに気(き)をつけて ระวังแผลไฟลวกจากกระเป๋าน้ำร้อน


สิ่งนี้ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในยุคมุโรมาจิ ประมาณศตวรรษที่ 14 ในสมัยก่อนยังไม่มีฮีตเตอร์ที่สะดวกสบายเหมือนทุกวันนี้ ชาวบ้านจึงประยุกต์เอาเตาอิฐที่ไว้ทำกับข้าวมาใช้ให้ความอบอุ่น เรียกว่า อิโรริ

体を温(あたた)かくする湯(ゆ)たんぽなどのやけどに気(き)をつけて ระวังแผลไฟลวกจากกระเป๋าน้ำร้อน


โคทัตสึขึ้นค่ะ ในยุคแรก โคทัตสึจะเป็นแบบ โฮริโกะทัตสึซึ่งเป็น โคทัตสึแบบใช้ถ่านในการให้ความอบอุ่น โดยใต้โต๊ะจะขุดหลุมลงไป แล้วใส่ถ่านเอาไว้ จากนั้นก็ใช้ ตะแกรงปิดฝาหลุม เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายเวลา เอาเท้าสอดเข้าไปใต้โต๊ะ ต่อมาในสมัยเอโดะ ประมาณศตวรรษที่ 17 ก็ได้มีการนำเอาผ้าห่มมาติดรอบโต๊ะ เพื่อเพิ่มความอุ่นเข้าไปอีกชั้น

体を温(あたた)かくする湯(ゆ)たんぽなどのやけどに気(き)をつけて ระวังแผลไฟลวกจากกระเป๋าน้ำร้อน

体を温(あたた)かくする湯(ゆ)たんぽなどのやけどに気(き)をつけて ระวังแผลไฟลวกจากกระเป๋าน้ำร้อน

เข้าสู่ช่วงศตวรรษที่ 20 ก็เปลี่ยนมาใช้ไฟฟ้าในการให้ความอบอุ่นแทน โดยติดเครื่องทำความอุ่นใต้โต๊ะ จะใช้ก็แค่เสียบปลั๊ก สะดวกสบายกันไป


เมื่ออุปกรณ์ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายมีประโยชน์ แต่เราก็ต้องใช้อย่างระมัดระวังด้วย เพราะจากสถิติที่เก็บมา ได้เกิดอุบัติเหตุแผลไฟลวกกับผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง เพราะกระเป๋าน้ำร้อนหรือถุงทำความร้อนที่ใช้แล้วทิ้งที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ได้มีการสำรวจไปยังสถานพยาบาลกว่า 30 แห่ง
ปรากฏว่ามีอุบัติเหตุเกิดกับผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีจำนวน 338 รายใน 6 ปีที่ผ่านมาจนถึงเดือนก.ย.ปีนี้

体を温(あたた)かくする湯(ゆ)たんぽなどのやけどに気(き)をつけて ระวังแผลไฟลวกจากกระเป๋าน้ำร้อน

อุบัติเหตุที่เกิดมากที่สุดคือ “แผลไฟลวกที่เกิดจากความร้อนที่มีอุณหภูมิต่ำ” (Low temperature burn) มี 119 ราย

体を温(あたた)かくする湯(ゆ)たんぽなどのやけどに気(き)をつけて ระวังแผลไฟลวกจากกระเป๋าน้ำร้อน

ส่วนใหญ่แผลไฟลวกที่เกิดจากความร้อนที่มีอุณหภูมิต่ำ มักจะเกิดในตอนที่นอนหลับไปพร้อมแปะถุงทำความร้อนแบบใช้แล้วทิ้งหรือนอนเอาเท้าสอดเข้าไปใต้ผ้าห่มที่วางกระเป๋าน้ำร้อนไว้ ส่วนโต๊ะให้ความร้อนหรือโคทัตซึเองก็จำเป็นต้องระวังด้วย เพราะว่าผู้สูงอายุจะมีผิวที่บางลง และรู้สึกถึงความร้อนได้ยาก จึงทำให้เกิดแผลไฟลวกที่รุนแรงได้ง่าย







Posted by mod at 20:45│Comments(0)
上の画像に書かれている文字を入力して下さい
 
<ご注意>
書き込まれた内容は公開され、ブログの持ち主だけが削除できます。