インバウンドでタイ人を集客! 事例多数で万全の用意 [PR]
ナムジャイブログ
ブログポータルサイト「ナムジャイ.CC」 › 日本が好き › 2016年03月31日

【PR】

本広告は、一定期間更新の無いブログにのみ表示されます。
ブログ更新が行われると本広告は非表示となります。
  

Posted by namjai at

2016年03月31日

公衆電話で助たすける โทรศัพท์สาธารณะช่วยชีวิต

สวัสดีค่ะ

เมื่อวันก่อนฉันได้อ่านข่าวของญี่ปุ่นอยู่เรื่องหนึ่งที่พาดหัวข่าวว่า “公衆電話で「助たすけて」と伝たえることができた” ซึ่งมีความหมายว่าใช้โทรศัพท์สาธารณะขอความช่วยเหลือได้



ตอนแรกฉันเองก็อ่านผ่านๆ นะคะ ก็แค่โทรศัพท์สาธารณะ เดี๋ยวนี้ใครๆ เขาก็มีมือถือกันหมดแล้ว เรื่องราวมีอยู่ว่าเด็กหญิงโรงเรียนมัธยมต้นคนหนึ่ง (อายุ 15 ปี) ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดไซตามะได้หายตัวไปเมื่อ 2 ปีก่อน ตอนนี้ได้เจอตัวแล้วที่โตเกียวเมื่อวันที่ 27 มีนาคมที่ผ่านมา

เด็กผู้หญิงคนนี้ถูกขังตัวอยู่ในแมนชั่นของผู้ต้องสงสัย ไม่ค่อยได้ออกไปข้างนอก เมื่อผู้ต้องสงสัยบอกว่าจะออกไปทำธุระข้างนอก เธอก็สบโอกาสวิ่งหนีออกมา แล้วใช้โทรศัพท์สาธารณะที่อยู่ที่สถานีรถไฟติดต่อไปยังตำรวจเพื่อขอความช่วยเหลือ แล้วตำรวจก็สามารถช่วยเหลือพาเธอกลับมาได้โดยปลอดภัย นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีมากๆ เลยนะคะ

จากเหตุการณ์นี้ก็ได้เกิดกระแสสะท้อนออกมาในสังคมว่า เมื่อเทคโนโลยีก้าวล้ำหน้ามากๆ จนเกิดการใช้โทรศัพท์มือถืออย่างแพร่หลาย ทำให้โทรศัพท์สาธารณะลดน้อยลง และมีบทบาทน้อยในสังคมแล้ว แต่เหตุการณ์การนี้ทำให้ต้องย้อนกลับมาดูว่าบางครั้งโทรศัพท์สาธารณะก็มีประโยชน์นะคะ

ในประเทศไทยเองเรียกว่าหาโทรศัพท์สาธารณะได้ยากแล้ว แถมหาเจอก็ใช้การไม่ได้เสียด้วย แต่สำหรับที่ประเทศญี่ปุ่นนั้นเขายังมีโทรศัพท์สาธารณะอยู่ แล้วทางรัฐบาลญี่ปุ่นเองก็ดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใหม่และพร้อมใช้งานได้ด้วย

ก่อนอื่นเรามาดูข้อมูลจำนวนโทรศัพท์สาธารณะที่ญี่ปุ่นกันก่อน จากสถิติที่เก็บไว้ก็คือเมื่อเดือนมี.ค.ปี2005 นั้นมีโทรศัพท์สาธารณะมากกว่า 440,000 เครื่อง แต่ในเดือน มี.ค.ปี 2015 นั้นได้ลดจำนวนลงมากกว่า 50% เหลือประมาณ 180,000 เครื่อง

โทรศัพท์สาธารณะของญี่ปุ่นนั้นเวลาที่จะโทรหาตำรวจหรือว่าเรียกรถพยาบาลจะไม่ต้องใช้เงิน แล้วอย่างตอนที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ๆ บางครั้งโทรศัพท์มือถือก็ไม่สามารถงานได้ก็มี



กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน 1.ยกหูโทรศัพท์ 2.กดปุ่มด้านล่าง (ที่มีลูกศรสีแดงชี้) เท่านี้ก็เรียบร้อยค่ะ

แล้วทำไมรัฐบาลญี่ปุ่นยังคงให้มีระบบโทรศัพท์สาธารณะอยู่ล่ะ?

คำตอบก็คือโทรศัพท์สาธารณะเป็นระบบเดินสายใต้ดินที่เรียกว่า “Landline” จึงทำให้มันมีข้อดีเหนือกว่าโทรศัพท์มือถือคือ

1. ระบบ Landline แทบจะไม่ต้องการไฟฟ้า, แม้จะถึงขั้น Blackout [การไฟฟ้าตัวแม่ไม่ส่งไฟ] ก็ยังใช้โทรได้

2. สายของระบบ Landline ถูกฝังอยู่ใต้พื้นดินลึก, ต่อให้เกิดพายุถล่มหรือภัยพิบัติบนชั้นผิวดินก็ไม่สะเทือน และตอนสร้างระบบ Landline จะต้องมีตัว Backup ไฟฟ้าอีกชั้นนึงซ่อนอยู่ใต้ดินเผื่อใน Case ฉุกเฉินระยะยาว

3. ตู้โทรศัพท์สาธารณะไม่มีวัน Batt หมด, แม้จะเกิด Disaster ก็ยังใช้งานได้ 24 Hr / Day

4. หน่วยงานรัฐที่ชุมสายสามารถ Check ได้ทันทีว่าตู้โทรศัพท์ที่ใช้โทรนั้นอยู่ตรงไหน ใน Case ที่จะส่งหน่วยกู้ภัย

ด้วยเหตุผลทั้ง 4 ในประเทศที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวและภัยพิบัติอยู่เสมออย่างญี่ปุ่น, ตู้โทรศัพท์สาธารณะจึงยังเป็นสิ่งที่จำเป็นเสมอ แม้ว่าในเวลาปรกติ เราจะไม่ทันสังเกตว่ามันมีตัวตนอยู่บนสถานีรถไฟ JR เลยก็ตาม




จากเหตุการณ์ที่นักเรียนม.ต้นหายตัวไปแล้วใช้โทรศัพท์สาธารณะขอความช่วยเหลือนี้ จึงทำให้มีการแสดงความคิดเห็นบนอินเตอร์เน็ตว่า “อยากจะให้สอนวีธีการใช้โทรศัทพ์สาธารณะให้พวกเด็กๆ ที่โรงเรียนหรือภายในครอบครัว” หรือว่า “ให้สำรวจตรวจสอบกับเด็กๆ ว่าที่ไหนมีโทรศัพท์สาธารณะติดตั้งอยู่บ้าง” เพื่อที่เด็กๆ ยุคใหม่นี้ที่ชินกับการใช้โทรศัพท์มือถือจะได้ใช้โทรศัพท์สาธารณะได้เป็นในเวลาที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน

สำหรับประเทศไทยเอง ก็ไม่อยากให้ละเลยการมีโทรศัพท์สาธารณะที่สามารถใช้งานได้ในยามฉุกเฉินนะคะ
  

Posted by mod at 14:29Comments(0)