› 日本が好き › วันชุนบุน (春分の日) วันเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ
2016年03月21日
วันชุนบุน (春分の日) วันเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ
สวัสดีค่ะ ต้อนรับเข้าสู่วันแรกของการทำงานในสัปดาห์นะคะ ตอนนี้ทางกรมอุตินิยมวิทยาของไทยก็ได้ประกาศว่าประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว ช่วงอากาศร้อนแบบนี้ ก็อยากกินอะไรเย็นๆ นะคะ แต่ก็อย่าทานเย็นมากเกินไปนะคะ เดี๋ยวร่างกายปรับตัวไม่ทัน
แต่สำหรับประเทศญี่ปุ่น วันที่ 20 มีนาคม คือวันชุนบุน (Vernal Equinox Day / 春分の日) หรือเรียกเป็นภาษาไทยแบบเก๋ไก๋ว่า “วสันตวิษุวัต” เป็นวันเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ ค่ะ อากาศกำลังเย็นสบายเลยทีเดียว
Equinox คือปรากฏการณ์ที่แสงจากดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรพอดี ทำให้เกิดกลางวันกลางคืนที่ยาวเท่ากัน ปีนึงจะเกิดสองหน คือ March equinox และ September equinox ซึ่งปรากฏการณ์นี้จะเป็นจุดแบ่งฤดูกาลของซีกโลกเหนือและใต้โดย
March equinox ซีกโลกเหนือจะย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ และซีกโลกใต้ย่างเข้าฤดูใบไม้ร่วง
September equinox ซีกใต้เหนือจะย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ และซีกโลกเหนือย่างเข้าฤดูใบไม้ร่วง
ในตอนนั้นเราจะเห็นดวงอาทิตย์ทำมุมกับเส้นศูนย์สูตรของท้องฟ้าเท่ากับองศาของละติจูดพอดี ซึ่งถ้าเราไปอยู่ที่ขั้วโลกทั้งสอง เราก็จะเห็นพระอาทิตย์ยี่สิบสี่ชั่วโมงเลยครับ (แต่จะอยู่ที่ขอบฟ้าพอดี เพราะมันทำมุมฉาก)
Vernal Equinox = วสันตวิษุวัต หมายความว่า จุดที่มีกลางวันและกลางคืน เท่ากันในฤดูใบไม้ผลิ
Autumnal Equinox = ศารทวิษุวัต หมายความว่า จุดที่มีกลางวันและกลาง
คืนเท่ากันในฤดูใบไม้ร่วง (วันศารท คือวันเริ่มต้นของ
ฤดูใบไม้ร่วง)
ความสำคัญของวันนี้ก็คือ เป็นวันที่เวลากลางวันกับกลางคืนยาวเท่ากัน และเป็นวันแรกเริ่มของฤดูใบไม้ผลิที่แท้จริง คนญี่ปุ่นสมัยเก่าก่อนให้ความสำคัญกับวันนี้ค่อนข้างมาก โดยถือว่า “เป็นวันที่เราควรระลึกถึงพระคุณของธรรมชาติ และเป็นวันแห่งความเพียรพยายามเพื่ออนาคต”
เหตุที่ชาวญี่ปุ่นสมัยก่อนคิดว่าวันนี้ควรเป็นวันเริ่มต้นของความเพียรนั้น สันนิษฐานว่าอาจได้มาจากลักษณะการดำรงชีวิตของสัตว์หลากชนิด ที่ตื่นขึ้นจากการจำศีลในวันชุนบุน เพื่อหาอาหารอีกครั้ง อีกทั้งฤดูใบไม้ผลิยังเป็นสัญลักษณ์ของความกระปรี้กระเป่า หลังต้องซึมเศร้ากับความหนาวมาเป็นเวลานาน
รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศให้วันชุนบุนเป็นวันหยุดราชการเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1948 ซึ่งในช่วงก่อนหรือหลังวันชุนบุน ชาวญี่ปุ่นจะเดินทางไปเคารพหลุมศพบรรพบุรุษเพื่อแสดงความรู้สึกขอบคุณ
ในวันนี้ คนญี่ปุ่นจะเดินทางกลับไปยังบ้านเกิดเพื่อไปทำบุญให้กับบรรพบุรุษ โดยส่วนใหญ่มักจะทำพิธีกันที่บริเวณสุสานมากกว่าในบ้านครับ ตามความเชื่อของคนญี่ปุ่น โลกจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ โลกที่คนยังมีกิเลสตัณหาอยู่ (Bonno no sekai) ตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันออก สัญลักษณ์คือช่วงเวลากลางวันและโลกของผู้ที่หลุดพ้นแล้ว (Satori no sekai) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก สัญลักษณ์คือเวลากลางคืน ถ้าพูดง่ายๆก็คือ โลกของผู้ที่ยังมีชีวิตกับโลกของผู้ที่ล่วงลับ
สำหรับคนญี่ปุ่นที่นับถือพุทธศาสนานิกายมหายานซึ่งมีความเชื่อที่แตกต่างกับพุทธศาสนานิกายเถรวาทค่อนข้างมากนั้น เชื่อว่าในยามที่บุคคลในครอบครัวนั้นจะเสียชีวิตหรือเสียชีวิตไปแล้ว ถ้าลูกหลานทำบุญ สวดมนต์อุทิศส่วนกุศลไปให้ ดวงวิญญาณก็สามารถไปอยู่ในภพภูมิที่ดีได้
ดังนั้น ในวันที่กลางวันกลางคืนยาวเท่ากันนี้ โลกของเรากับโลกที่บรรพบุรุษอาศัยอยู่จะเชื่อมต่อกันทำให้สามารถติดต่อ ทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ที่ล่วงลับได้ง่ายขึ้น อีกทั้งเมื่อตรงกับฤดูใบไม้ผลิที่เป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นใหม่ ก็ถือเป็นการบอกกล่าวเรื่องดี ๆ ให้แก่บรรพบุรุษได้ทราบและไม่ต้องเป็นห่วงลูกหลานที่ยังมีชีวิตอีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีหลายพื้นที่ของประเทศญี่ปุ่นที่นิยมจัดงานมาราธอน คล้ายเพื่อเป็นการเรียกความมีชีวิตชีวาให้กับร่างกายอีกด้วย
และในวันนี้อาหารที่ชาวญี่ปุ่นนิยมรับประทานเป็นธรรมเนียมก็คือขนม “โบตะโมจิ” (牡丹餅) เป็นขนมโมจิประเภทหนึ่ง ทำจากข้าวสองชนิด (ส่วนใหญ่คือข้าวโมจิ) ผสมกัน นึ่งหรือหุงให้นิ่มแต่ยังพอเป็นเม็ด ปั้นเป็นก้อนกลมแล้วโปะชุบข้างนอกด้วยถั่วแดง คำว่าโบตะนั้นเชื่อว่าแผลงมาจากชื่อดอกโบตั๋น ซึ่งเป็นดอกไม้ที่บานในช่วงฤดูใบไม้ผลิ อีกทั้งรูปร่างของขนมซึ่งด้านนอกหุ้มด้วยถั่วแดงกวน ด้านในเป็นข้าวเหนียวนั้น มองเผินๆคล้ายดอกโบตั๋นที่นิยมนำมาประดับหิ้งพระ หรือวางหน้าสุสานบรรพบุรุษนั่นเอง
แล้วญี่ปุ่นก็มีสำนวนที่เกี่ยวกับ "โบตะโมจิ" ด้วยนะคะ
【棚から牡丹餅(たなからぼたもち)】
อันนี้เป็นสำนวนแปลสั้นๆ ว่า "ส้มหล่น" แปลตรงๆ คือมี "โมจิ (ของดี) หล่นลงจากหิ้ง (มาอยู่ในมือ)"
แต่สำหรับประเทศญี่ปุ่น วันที่ 20 มีนาคม คือวันชุนบุน (Vernal Equinox Day / 春分の日) หรือเรียกเป็นภาษาไทยแบบเก๋ไก๋ว่า “วสันตวิษุวัต” เป็นวันเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ ค่ะ อากาศกำลังเย็นสบายเลยทีเดียว
Equinox คือปรากฏการณ์ที่แสงจากดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรพอดี ทำให้เกิดกลางวันกลางคืนที่ยาวเท่ากัน ปีนึงจะเกิดสองหน คือ March equinox และ September equinox ซึ่งปรากฏการณ์นี้จะเป็นจุดแบ่งฤดูกาลของซีกโลกเหนือและใต้โดย
March equinox ซีกโลกเหนือจะย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ และซีกโลกใต้ย่างเข้าฤดูใบไม้ร่วง
September equinox ซีกใต้เหนือจะย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ และซีกโลกเหนือย่างเข้าฤดูใบไม้ร่วง
ในตอนนั้นเราจะเห็นดวงอาทิตย์ทำมุมกับเส้นศูนย์สูตรของท้องฟ้าเท่ากับองศาของละติจูดพอดี ซึ่งถ้าเราไปอยู่ที่ขั้วโลกทั้งสอง เราก็จะเห็นพระอาทิตย์ยี่สิบสี่ชั่วโมงเลยครับ (แต่จะอยู่ที่ขอบฟ้าพอดี เพราะมันทำมุมฉาก)
Vernal Equinox = วสันตวิษุวัต หมายความว่า จุดที่มีกลางวันและกลางคืน เท่ากันในฤดูใบไม้ผลิ
Autumnal Equinox = ศารทวิษุวัต หมายความว่า จุดที่มีกลางวันและกลาง
คืนเท่ากันในฤดูใบไม้ร่วง (วันศารท คือวันเริ่มต้นของ
ฤดูใบไม้ร่วง)
ความสำคัญของวันนี้ก็คือ เป็นวันที่เวลากลางวันกับกลางคืนยาวเท่ากัน และเป็นวันแรกเริ่มของฤดูใบไม้ผลิที่แท้จริง คนญี่ปุ่นสมัยเก่าก่อนให้ความสำคัญกับวันนี้ค่อนข้างมาก โดยถือว่า “เป็นวันที่เราควรระลึกถึงพระคุณของธรรมชาติ และเป็นวันแห่งความเพียรพยายามเพื่ออนาคต”
เหตุที่ชาวญี่ปุ่นสมัยก่อนคิดว่าวันนี้ควรเป็นวันเริ่มต้นของความเพียรนั้น สันนิษฐานว่าอาจได้มาจากลักษณะการดำรงชีวิตของสัตว์หลากชนิด ที่ตื่นขึ้นจากการจำศีลในวันชุนบุน เพื่อหาอาหารอีกครั้ง อีกทั้งฤดูใบไม้ผลิยังเป็นสัญลักษณ์ของความกระปรี้กระเป่า หลังต้องซึมเศร้ากับความหนาวมาเป็นเวลานาน
รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศให้วันชุนบุนเป็นวันหยุดราชการเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1948 ซึ่งในช่วงก่อนหรือหลังวันชุนบุน ชาวญี่ปุ่นจะเดินทางไปเคารพหลุมศพบรรพบุรุษเพื่อแสดงความรู้สึกขอบคุณ
ในวันนี้ คนญี่ปุ่นจะเดินทางกลับไปยังบ้านเกิดเพื่อไปทำบุญให้กับบรรพบุรุษ โดยส่วนใหญ่มักจะทำพิธีกันที่บริเวณสุสานมากกว่าในบ้านครับ ตามความเชื่อของคนญี่ปุ่น โลกจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ โลกที่คนยังมีกิเลสตัณหาอยู่ (Bonno no sekai) ตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันออก สัญลักษณ์คือช่วงเวลากลางวันและโลกของผู้ที่หลุดพ้นแล้ว (Satori no sekai) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก สัญลักษณ์คือเวลากลางคืน ถ้าพูดง่ายๆก็คือ โลกของผู้ที่ยังมีชีวิตกับโลกของผู้ที่ล่วงลับ
สำหรับคนญี่ปุ่นที่นับถือพุทธศาสนานิกายมหายานซึ่งมีความเชื่อที่แตกต่างกับพุทธศาสนานิกายเถรวาทค่อนข้างมากนั้น เชื่อว่าในยามที่บุคคลในครอบครัวนั้นจะเสียชีวิตหรือเสียชีวิตไปแล้ว ถ้าลูกหลานทำบุญ สวดมนต์อุทิศส่วนกุศลไปให้ ดวงวิญญาณก็สามารถไปอยู่ในภพภูมิที่ดีได้
ดังนั้น ในวันที่กลางวันกลางคืนยาวเท่ากันนี้ โลกของเรากับโลกที่บรรพบุรุษอาศัยอยู่จะเชื่อมต่อกันทำให้สามารถติดต่อ ทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ที่ล่วงลับได้ง่ายขึ้น อีกทั้งเมื่อตรงกับฤดูใบไม้ผลิที่เป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นใหม่ ก็ถือเป็นการบอกกล่าวเรื่องดี ๆ ให้แก่บรรพบุรุษได้ทราบและไม่ต้องเป็นห่วงลูกหลานที่ยังมีชีวิตอีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีหลายพื้นที่ของประเทศญี่ปุ่นที่นิยมจัดงานมาราธอน คล้ายเพื่อเป็นการเรียกความมีชีวิตชีวาให้กับร่างกายอีกด้วย
และในวันนี้อาหารที่ชาวญี่ปุ่นนิยมรับประทานเป็นธรรมเนียมก็คือขนม “โบตะโมจิ” (牡丹餅) เป็นขนมโมจิประเภทหนึ่ง ทำจากข้าวสองชนิด (ส่วนใหญ่คือข้าวโมจิ) ผสมกัน นึ่งหรือหุงให้นิ่มแต่ยังพอเป็นเม็ด ปั้นเป็นก้อนกลมแล้วโปะชุบข้างนอกด้วยถั่วแดง คำว่าโบตะนั้นเชื่อว่าแผลงมาจากชื่อดอกโบตั๋น ซึ่งเป็นดอกไม้ที่บานในช่วงฤดูใบไม้ผลิ อีกทั้งรูปร่างของขนมซึ่งด้านนอกหุ้มด้วยถั่วแดงกวน ด้านในเป็นข้าวเหนียวนั้น มองเผินๆคล้ายดอกโบตั๋นที่นิยมนำมาประดับหิ้งพระ หรือวางหน้าสุสานบรรพบุรุษนั่นเอง
แล้วญี่ปุ่นก็มีสำนวนที่เกี่ยวกับ "โบตะโมจิ" ด้วยนะคะ
【棚から牡丹餅(たなからぼたもち)】
อันนี้เป็นสำนวนแปลสั้นๆ ว่า "ส้มหล่น" แปลตรงๆ คือมี "โมจิ (ของดี) หล่นลงจากหิ้ง (มาอยู่ในมือ)"
Posted by mod at 14:54│Comments(0)
Information
S | M | T | W | T | F | S |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 2 | 3 | 4 | |||
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
カテゴリ
最近の記事
ช่วงไดเอท กินอะไรดี (3/23)
ヨン様はもう卒業したの! (2/16)
เทียบความอึ๋มขณะแช่ออนเซน (1/26)
หมึก....บิน (1/25)
学童保育 กิจกรรมหลังเลิกเรียน (1/18)
過去記事
最近のコメント
Jamescar / ตุ๊กตากระดาษ Paper Dolls
Jimmiethalt / ตุ๊กตากระดาษ Paper Dolls
JacquesexAmy / ตุ๊กตากระดาษ Paper Dolls
XMC-PL-max / ตุ๊กตากระดาษ Paper Dolls
XMC-PL-max / ตุ๊กตากระดาษ Paper Dolls
お気に入り
ブログ内検索
QRコード
アクセスカウンタ
読者登録
プロフィール
mod