インバウンドでタイ人を集客! 事例多数で万全の用意 [PR]
ナムジャイブログ
ブログポータルサイト「ナムジャイ.CC」 › 日本が好き › 2016年03月01日

【PR】

本広告は、一定期間更新の無いブログにのみ表示されます。
ブログ更新が行われると本広告は非表示となります。
  

Posted by namjai at

2016年03月01日

ビックバイクと高速道路 Big Bike กับทางด่วน

สวัสดี วันอังคารค่ะ (火曜日) เมื่อคืนวานมีโอกาสได้ไปสังสรรค์กับเพื่อนร่วมงานเป็นครั้งแรก เพราะเวลาการทำงานเราไม่ตรงกัน ฉันมักจะเลิกดึกกว่าชาวบ้านเขา ถ้าเลิกแล้วตามไปก็คงจะเหลือแต่จานเปล่า เมื่อวานเลยแอบแว้บไปสังสรรค์ด้วย แล้วในโต๊ะสังสรรค์ก็คุยกันเรื่องทำไมมอเตอร์ที่ญี่ปุ่นขึ้นทางด่วนได้ ก็เลยจุดประกายความสงสัยของฉันขึ้นมา ก็เลยอยากหยิบเรื่องนี้มาคุยในวันนี้

ก่อนอื่นมาดูกันก่อนว่า ทางด่วน ภาษาญี่ปุ่น เรียกว่า "高速道路" (koosoku dooro)




ญี่ปุ่นขี่มอเตอร์ไซด์ขึ้นทางด่วนได้ แต่ก็ไม่ใช่มอเตอร์ไซด์คันไหนก็ขึ้นได้นะคะ มีเงื่อนไขคือ
1.ต้องเป็นมอไซด์ที่มีขนาดเครื่องยนต์ 250 ซีซี ขึ้นไป อย่างพวก Big Bike
2.ห้ามมีคนซ้อนท้าย อนุญาตให้ขับขี่คนเดียวเท่านั้น
3.ปัญหาใหญ่อีกอย่างคือราคาค่าทางด่วน ระหว่างมอไซด์หนึ่งคันกับรถยนต์หนึ่งคันเลย อัตราค่าใช้บริการทางด่วนราคาเท่ากัน ซึ่งราคาค่าทางด่วนที่ญี่ปุ่นก็ไม่ธรรมดา เพราะแพงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก

Big Bike เปรียบเสมือนรถหนึ่งคัน ต้องขับตามการจราจรโดยไม่มีการปาดซ้ายปาดขวา หากรถคันหน้าหยุด ก็ต้องหยุดตาม รวมไปถึงทางหลวงที่แม้ว่าการจราจรจะติดขัดขนาดไหน Big Bike ที่นั่นจะไม่มีการขับบนไหล่ทางเด็ดขาด

พอพูดถึงทางด่วน ก็มีคำถามอีกว่าทำไมค่าทางด่วนญี่ปุ่นถึงแพงจัง จะเห็นว่าค่าทางด่วนญี่ปุ่นมีราคาที่แพงมาก เฉลี่ยราคาต่อรถปกติทั่วไปก็ตกอยู่ที่ 24 เยน/กม *แต่ขับกลางคืนหรือในวันหยุดมีส่วนลดตั้งแต่ 10-50% แต่ละเส้นทางและเวลา ลดไม่เท่ากัน สงวนสิทธิ์คนใช้บัตร ETC จ่ายเงินอัตโนมัติเท่านั้น ใครจ่ายเงินสด อดได้รับส่วนลดนะจ๊ะ



แล้ว ETC คืออะไรล่ะ ชื่อวงดนตรีหรือเปล่า ไม่ใช่ค่ะ ETC ก็คือช่องจ่ายค่าทางด่วนที่มีลักษณะคล้ายอีซี่พาสในบ้านเรา เรียกว่า ETC (Electronic Toll Collection) แต่เหนือกว่าตรงที่ไม่ต้องชลอรถ คือสามารถขับผ่านไปได้เลย ไม่ต้องมาลุ้นว่าไม้กั้นจะเปิดหรือไม่

คราวนี้มาดูว่า ทำไมค่าทางด่วนถึงได้แพง เพราะว่า

1.สร้างโดยวิศวกรรมขั้นสูง

ทางด่วนญี่ปุ่นนั้นมีการสร้างที่ต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ก็คือมีการเจาะอุโมงค์ผ่านภูเขา สร้างยกสูงจากพื้นหลายสิบเมตร และพวกสะพานบางที่ก็สร้างเพื่อป้องกันภัยธรรมชาติ เช่น คลื่นซัด และอีกหลายที่เพื่อความแปลก สวยงาม โดยคงความสะดวกสบายในการเดินทางไปในที่ต่างๆ

2.ครอบคลุมทั่วประเทศ

ทางด่วนญี่ปุ่นสร้างไว้ครอบคลุมหลายพื้นที่เพื่อเชื่อมต่อเมืองต่างๆได้อย่างสะดวกสบาย มีตั้งแต่ Hokkaido ยาวลงมาจนถึงเกือบสุดเกาะ Kyushu และมีทางด่วนที่ Okinawa ด้วย โดยทางด่วนญี่ปุ่นมีระยะทางรวมกันกว่า 9,000 กม และสร้างเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเพื่อรองรับปริมาณรถ แก้ปัญหารถติดขัดที่เกิดขึ้นประจำ
ทางด่วนล่าสุดที่เพิ่งสร้างเสร็จ คือ Shin-Tomei Expressway สร้างเสร็จเมื่อปีที่แล้ว สร้างเลียบทางด่วนสาย Tomei เดิม เพื่อรองรับรถปริมาณมาก เพราะสาย Tomei เป็นทางด่วนสายหลักที่วิ่งจาก Tokyo เข้า Nagoya แล้วต่อไป Osaka ด้วยสาย Meishin สาย Chuo ก็เช่นกันจบที่ Nagoya มาชนกับ Tomei ตรง Komaki JCT ทางตอนเหนือของ Nagoya สาย Chuo จะไปทางตอนเหนือของภูเขาฟูจิ ส่วน Tomei จะใกล้ทะเลผ่านทางใต้ของภูเขาฟูจิ

(Shin-Tomei Expressway)







3.จุดพักรถสุดแสนสบาย
จุดพักทางด่วนของทางด่วนที่ญี่ปุ่นนั้น มีค่อนข้างเยอะ เพื่อให้คนขับรถและผู้โดยสารได้พักผ่อน ยืดเส้นยืดสาย หาของกิน หรือทำกิจกรรมต่างๆ มีทั้งที่พักทางด่วนแบบธรรมดาทั่วไป บางจุดจะพิเศษ เช่น ติดทะเล สามารถไปเล่นทะเลกันได้ บางที่เป็นสวนสนุก บางที่ก็มีสปาเท้าตอนกินข้าว แช่ออนเซ็น



ภาพด้านล่างคือภาพที่ฉันถ่ายจากรถที่นั่งไปฟูจิซัง โดยใช้เส้นทางด่วน Shin Tomei ค่ะ ข้างทางสวยมาก แม้ว่าตอนช่วงที่ไปหิมะบนฟูจิซังจะละลายแล้ว แต่ฟูจิซังก็คือฟูจิซัง ยังคงความสง่างามอยู่







  

Posted by mod at 13:50Comments(0)