› 日本が好き › 2016年03月24日
2016年03月24日
เสียงร้องของนกก็มีไวยากรณ์นะ
สวัสดีค่ะ วันนี้ตื่นเช้ากว่าทุกๆ วัน อากาศตอนเช้าเย็นสบายดี แถมมีเสียงของนกร้องประกอบด้วย ทำให้บรรยากาศยิ่งดีเข้าไปใหญ่เลย
วันนี้ก็ขอมาคุยเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติต่อนะคะ ไหนๆ ก็พูดเรื่องนกร้องแล้ว เราก็มาดูกันว่าเสียงนกนั้นไม่ได้แต่จะฟังไพเราะและเพลินเท่านั้น ในหมู่นกด้วยกันเองยังเป็นวิธีการสื่อสารกันด้วยนะคะ
อย่างที่กลุ่มนักวิจัยของมหาวิทยาลัย SOKENDAI, the Graduate University for Advanced Studies หรือย่อว่า โซเค็นได เป็นมหาวิทยาลัยการศึกษาขั้นสูงในประเทศญี่ปุ่น ในลักษณะของความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยของรัฐบาลของประเทศญี่ปุ่น มีการศึกษาครอบคลุมในหลายหลายสาขาวิชา ได้ทำการค้นคว้าวิจัยมากว่า 10 ปีแล้วว่านกที่ชื่อว่า “นกติ๊ดหลังสีไพล” (シジュウカラ- The Japanese tit) นั้นสามารถถ่ายทอดความหมายด้วยเสียงร้องมัน
นกติ๊ดหลังสีไพลมีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างนกติ๊ดใหญ่ และนกติ๊ดหลังเทา คือมันมีหลังสีเขียวไพลเหมือนนกติ๊ดใหญ่ แต่มีลำตัวสีขาวนวลเหมือนนกติ๊ดหลังเทา ชนิดหลังนี้ในเมืองไทยเป็นนกที่มีถิ่นอาศัยจำกัดมากๆ พบตามป่าโปร่งระดับต่ำทางภาคอีสาน และป่าชายเลนทางภาคใต้ เพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น ในขณะที่นกติ๊ดหลังสีไพล มักพบกระโดดหากินห้อยโหนตีลังกาได้อย่างคล่องแคล่วตามกิ่งไม้โล่งๆ พบง่ายบนดอยสูงหลายแห่ง
ในการวิจัยนี้ ได้ทำการศึกษาว่านกติ๊ดหลังสีไพล ตอนที่จะแจ้งข่าวให้มีนกตัวอื่นๆ เข้าใจว่ามีสัตว์ที่อันตรายอยู่ใกล้ๆ จะส่งเสียงร้องเสียงสูงว่า “pi-tsupi” (ピーツピ) แล้วตอนที่นกทุกตัวมาอยู่รวมกันจะส่งเสียงร้องว่า “Ji Ji Ji Ji” (ヂヂヂヂ)
บางครั้งนกติ๊ดหลังสีไพลจะสร้างประโยคด้วยการส่งเสียงร้อง 2 เสียง โดยส่งเสียงร้องว่า “Pi-tsupi Ji ji ji ji ” (ピーツピ・ヂヂヂヂ)
ซึ่งเสียงร้องนี้จะมีความหมายว่า “มีสัตว์อันตรายเข้ามาใกล้แล้ว ให้ทุกตัวมารวมตัวกัน แล้วระวังอันตรายด้วย”
แต่ว่า ถ้าส่งเสียงร้อง 2 เสียงนี้ตรงกันข้ามกัน คือ “Ji ji ji ji Pi-tsupi” (ヂヂヂヂ・ピーツピ) แล้วล่ะก็ จะไม่สามารถถ่ายทอดความหมายได้
ด้วยเหตุผลนี้ จึงเข้าใจได้ว่าการส่งเสียงร้องของนกติ๊ดหลังสีไพลนั้นมีรูปไวยากรณ์ด้วย ไม่ได้เพียงแค่สื่อสารให้เข้าใจกันได้ โดยการส่งอารมณ์และความรู้สึกผ่านไปทางเสียงเท่านั้น
กลุ่มนักวิจัยยังได้บอกด้วยว่า “การศึกษาครั้งนี้ยังเป็นครั้งแรกที่ทำให้เข้าใจว่า นอกจากคนแล้ว สัตว์ก็ยังสามารถถ่ายทอดความหมายได้ด้วยรูปประโยคด้วย”
วันนี้ก็ขอมาคุยเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติต่อนะคะ ไหนๆ ก็พูดเรื่องนกร้องแล้ว เราก็มาดูกันว่าเสียงนกนั้นไม่ได้แต่จะฟังไพเราะและเพลินเท่านั้น ในหมู่นกด้วยกันเองยังเป็นวิธีการสื่อสารกันด้วยนะคะ
อย่างที่กลุ่มนักวิจัยของมหาวิทยาลัย SOKENDAI, the Graduate University for Advanced Studies หรือย่อว่า โซเค็นได เป็นมหาวิทยาลัยการศึกษาขั้นสูงในประเทศญี่ปุ่น ในลักษณะของความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยของรัฐบาลของประเทศญี่ปุ่น มีการศึกษาครอบคลุมในหลายหลายสาขาวิชา ได้ทำการค้นคว้าวิจัยมากว่า 10 ปีแล้วว่านกที่ชื่อว่า “นกติ๊ดหลังสีไพล” (シジュウカラ- The Japanese tit) นั้นสามารถถ่ายทอดความหมายด้วยเสียงร้องมัน
นกติ๊ดหลังสีไพลมีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างนกติ๊ดใหญ่ และนกติ๊ดหลังเทา คือมันมีหลังสีเขียวไพลเหมือนนกติ๊ดใหญ่ แต่มีลำตัวสีขาวนวลเหมือนนกติ๊ดหลังเทา ชนิดหลังนี้ในเมืองไทยเป็นนกที่มีถิ่นอาศัยจำกัดมากๆ พบตามป่าโปร่งระดับต่ำทางภาคอีสาน และป่าชายเลนทางภาคใต้ เพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น ในขณะที่นกติ๊ดหลังสีไพล มักพบกระโดดหากินห้อยโหนตีลังกาได้อย่างคล่องแคล่วตามกิ่งไม้โล่งๆ พบง่ายบนดอยสูงหลายแห่ง
ในการวิจัยนี้ ได้ทำการศึกษาว่านกติ๊ดหลังสีไพล ตอนที่จะแจ้งข่าวให้มีนกตัวอื่นๆ เข้าใจว่ามีสัตว์ที่อันตรายอยู่ใกล้ๆ จะส่งเสียงร้องเสียงสูงว่า “pi-tsupi” (ピーツピ) แล้วตอนที่นกทุกตัวมาอยู่รวมกันจะส่งเสียงร้องว่า “Ji Ji Ji Ji” (ヂヂヂヂ)
บางครั้งนกติ๊ดหลังสีไพลจะสร้างประโยคด้วยการส่งเสียงร้อง 2 เสียง โดยส่งเสียงร้องว่า “Pi-tsupi Ji ji ji ji ” (ピーツピ・ヂヂヂヂ)
ซึ่งเสียงร้องนี้จะมีความหมายว่า “มีสัตว์อันตรายเข้ามาใกล้แล้ว ให้ทุกตัวมารวมตัวกัน แล้วระวังอันตรายด้วย”
แต่ว่า ถ้าส่งเสียงร้อง 2 เสียงนี้ตรงกันข้ามกัน คือ “Ji ji ji ji Pi-tsupi” (ヂヂヂヂ・ピーツピ) แล้วล่ะก็ จะไม่สามารถถ่ายทอดความหมายได้
ด้วยเหตุผลนี้ จึงเข้าใจได้ว่าการส่งเสียงร้องของนกติ๊ดหลังสีไพลนั้นมีรูปไวยากรณ์ด้วย ไม่ได้เพียงแค่สื่อสารให้เข้าใจกันได้ โดยการส่งอารมณ์และความรู้สึกผ่านไปทางเสียงเท่านั้น
กลุ่มนักวิจัยยังได้บอกด้วยว่า “การศึกษาครั้งนี้ยังเป็นครั้งแรกที่ทำให้เข้าใจว่า นอกจากคนแล้ว สัตว์ก็ยังสามารถถ่ายทอดความหมายได้ด้วยรูปประโยคด้วย”
Posted by mod at
14:19
│Comments(0)