› 日本が好き › 2017年01月
2017年01月04日
Toridoshi 酉年
สวัสดีปีใหม่ค่ะ コケコッコー♪ โค่ะเคะคกโค้ ขันต้อนรับปีระกากันค่ะ
สำหรับปีระกาใน ภาษาญี่ปุ่นคือ酉 (Tori) ไก่ซึ่งถือว่าเป็นไก่ตัวผู้ คนเกิดปีระกาจะมีลักษณะนิสัยคือเป็นคนที่มีระเบียบแบบแผน ยึดถือประเพณี หัวโบราณ สง่างามดูภูมิฐาน พิถีพิถันเรื่องการแต่งตัว วางตัวได้ดี มานะอดทนชอบพึ่งตัวเอง หงุดหงิดง่าย มีวาทศิลป์ในการพูด พูดจาเปิดเผยตรงไปตรงมา บางครั้งก็พูดจาขวานผ่าซาก พูดจาไม่เข้าหูคนจนกลายเป็นการประชดประชันเหน็บแหนม มักมีมุมมองที่แปลกแตกต่างไปจากคนอื่น เป็นคนรักครอบครัว
ไม่ทราบว่าปีระกาทองนี้ มีใครที่เป็นปีชงบ้างมัยคะ? สำหรับฉันปีนี้รอดตัวไปค่ะ
สำหรับคนญี่ปุ่นเขาก็มีความเชื่อเรื่องปีชงกันด้วยนะคะ ในภาษาญี่ปุ่นใช้คำว่า “厄年:やくどし:Yaku Doshi” โดยความเชื่อนี้มีมาตั้งแต่สมัยเฮอัน (平安時代: Heian) แล้ว
ปีชงสำหรับคนญี่ปุ่นนั้นจะนำความเชื่อทางด้านโหราศาสตร์มาบวกกับหลักสถิติของเหตุการณ์สำคัญๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงอายุของคน แล้วนำมาประยุกต์เข้าด้วยกันเพื่อใช้เป็น “คำเตือน” ให้ใช้ชีวิตโดยไม่ประมาท ดังนั้นคนญี่ปุ่น จึงนับ “ปีชงตรง” 本厄年:Hon Yaku Doshi ที่ช่วงอายุที่แตกต่างกันระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย
ปีชงตรงของผู้ชายจะอยู่ที่ 25-42-61 ปี และปีชงของผู้หญิงจะอยู่ที่ 19-33-37 ปีโดยจะได้รับอิทธิพลจากปีชงตรงในช่วง 1 ปีก่อนและหลังปีชงตรงด้วย
เริ่มจากปีชงช่วงแรกคือช่วงวัย 19 ปีของผู้หญิงและ 25 ปีของผู้ชาย ถือว่าเป็นช่วงวัยหนุ่มสาวที่อาจจะยังไม่มีความคิดที่รอบคอบพอ ซึ่งอาจจะเลือกทางเดินชีวิตที่ผิดพลาดได้
ช่วงที่ 2 คือช่วงอายุ 33 ปีของผู้หญิง และ 42 ปีของผู้ชาย นับเป็นช่วงวัยกลางคนซึ่งเป็นเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต
สำหรับผู้ชายนับว่าเป็นช่วงสำคัญของความก้าวหน้าในชีวิตการงาน ความรับผิดชอบที่มีอยู่รอบตัว ที่อาจจะทำให้เกิดความเครียดแก่จิตใจและร่างกายได้ จึงให้ระมัดระวังเรื่องสุขภาพให้มาก ๆ
สำหรับผู้หญิงก็นับว่าเป็นช่วงที่ค่อนข้างมีความยุ่งเหยิงในชีวิตจากการเริ่มคลอดบุตรหรือดูแลบุตร ซึ่งอาจทำให้ไม่มีเวลาดูแลสุขภาพของตนเองได้ โดยเชื่อกันว่า “ปีชงตรง” ที่รุนแรงที่สุดของชายจะอยู่ที่ “อายุ 42 ปี” และผู้หญิงอยู่ที่ “อายุ 33 ปี” นี่เอง
ปีชงในญี่ปุ่นก็มีการสะเดาะเคราะห์ ส่วนใหญ่จะไปวัดหรือศาลเจ้าเพื่อขอพรให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยคุ้มครอง และส่วนใหญ่จะนิยมทำการสะเดาะเคราะห์กันในช่วงหลังปีใหม่จนถึงช่วงวันก่อนหน้าวันเริ่มเข้าสู่ฤดู ใบไม้ผลิ ราวๆ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ (節分:せつぶん:Setsubun)
ในแต่ละปี ผู้คนต่างเดินทางไปที่วัดโซชูจิ (惣宗寺:そうしゅうじ:Soshuji) ซึ่งเป็นวัดที่คนนิยมไปมากที่สุด ซึ่งในการรับสวดภาวนา สะเดาะเคราะห์นั้นก็จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 5,000 – 10,000 เยนโดยขึ้นอยู่กับค่าธรรมเนียมของแต่ละวัดที่แตกต่างกันไป
นอกจากการทำบุญสะเดาะเคราะห์แล้วยังนิยมมอบของให้กับผู้ที่อยู่ในปีชงด้วยของที่มีลักษณะยาวๆ เช่น เนคไท เข็มขัดให้กับผู้ชาย หรือผ้าพันคอ สร้อยคอให้กับผู้หญิง
ขอบคุณข้อมูลจาก Marumura
สำหรับปีระกาใน ภาษาญี่ปุ่นคือ酉 (Tori) ไก่ซึ่งถือว่าเป็นไก่ตัวผู้ คนเกิดปีระกาจะมีลักษณะนิสัยคือเป็นคนที่มีระเบียบแบบแผน ยึดถือประเพณี หัวโบราณ สง่างามดูภูมิฐาน พิถีพิถันเรื่องการแต่งตัว วางตัวได้ดี มานะอดทนชอบพึ่งตัวเอง หงุดหงิดง่าย มีวาทศิลป์ในการพูด พูดจาเปิดเผยตรงไปตรงมา บางครั้งก็พูดจาขวานผ่าซาก พูดจาไม่เข้าหูคนจนกลายเป็นการประชดประชันเหน็บแหนม มักมีมุมมองที่แปลกแตกต่างไปจากคนอื่น เป็นคนรักครอบครัว
ไม่ทราบว่าปีระกาทองนี้ มีใครที่เป็นปีชงบ้างมัยคะ? สำหรับฉันปีนี้รอดตัวไปค่ะ
สำหรับคนญี่ปุ่นเขาก็มีความเชื่อเรื่องปีชงกันด้วยนะคะ ในภาษาญี่ปุ่นใช้คำว่า “厄年:やくどし:Yaku Doshi” โดยความเชื่อนี้มีมาตั้งแต่สมัยเฮอัน (平安時代: Heian) แล้ว
ปีชงสำหรับคนญี่ปุ่นนั้นจะนำความเชื่อทางด้านโหราศาสตร์มาบวกกับหลักสถิติของเหตุการณ์สำคัญๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงอายุของคน แล้วนำมาประยุกต์เข้าด้วยกันเพื่อใช้เป็น “คำเตือน” ให้ใช้ชีวิตโดยไม่ประมาท ดังนั้นคนญี่ปุ่น จึงนับ “ปีชงตรง” 本厄年:Hon Yaku Doshi ที่ช่วงอายุที่แตกต่างกันระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย
ปีชงตรงของผู้ชายจะอยู่ที่ 25-42-61 ปี และปีชงของผู้หญิงจะอยู่ที่ 19-33-37 ปีโดยจะได้รับอิทธิพลจากปีชงตรงในช่วง 1 ปีก่อนและหลังปีชงตรงด้วย
เริ่มจากปีชงช่วงแรกคือช่วงวัย 19 ปีของผู้หญิงและ 25 ปีของผู้ชาย ถือว่าเป็นช่วงวัยหนุ่มสาวที่อาจจะยังไม่มีความคิดที่รอบคอบพอ ซึ่งอาจจะเลือกทางเดินชีวิตที่ผิดพลาดได้
ช่วงที่ 2 คือช่วงอายุ 33 ปีของผู้หญิง และ 42 ปีของผู้ชาย นับเป็นช่วงวัยกลางคนซึ่งเป็นเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต
สำหรับผู้ชายนับว่าเป็นช่วงสำคัญของความก้าวหน้าในชีวิตการงาน ความรับผิดชอบที่มีอยู่รอบตัว ที่อาจจะทำให้เกิดความเครียดแก่จิตใจและร่างกายได้ จึงให้ระมัดระวังเรื่องสุขภาพให้มาก ๆ
สำหรับผู้หญิงก็นับว่าเป็นช่วงที่ค่อนข้างมีความยุ่งเหยิงในชีวิตจากการเริ่มคลอดบุตรหรือดูแลบุตร ซึ่งอาจทำให้ไม่มีเวลาดูแลสุขภาพของตนเองได้ โดยเชื่อกันว่า “ปีชงตรง” ที่รุนแรงที่สุดของชายจะอยู่ที่ “อายุ 42 ปี” และผู้หญิงอยู่ที่ “อายุ 33 ปี” นี่เอง
ปีชงในญี่ปุ่นก็มีการสะเดาะเคราะห์ ส่วนใหญ่จะไปวัดหรือศาลเจ้าเพื่อขอพรให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยคุ้มครอง และส่วนใหญ่จะนิยมทำการสะเดาะเคราะห์กันในช่วงหลังปีใหม่จนถึงช่วงวันก่อนหน้าวันเริ่มเข้าสู่ฤดู ใบไม้ผลิ ราวๆ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ (節分:せつぶん:Setsubun)
ในแต่ละปี ผู้คนต่างเดินทางไปที่วัดโซชูจิ (惣宗寺:そうしゅうじ:Soshuji) ซึ่งเป็นวัดที่คนนิยมไปมากที่สุด ซึ่งในการรับสวดภาวนา สะเดาะเคราะห์นั้นก็จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 5,000 – 10,000 เยนโดยขึ้นอยู่กับค่าธรรมเนียมของแต่ละวัดที่แตกต่างกันไป
นอกจากการทำบุญสะเดาะเคราะห์แล้วยังนิยมมอบของให้กับผู้ที่อยู่ในปีชงด้วยของที่มีลักษณะยาวๆ เช่น เนคไท เข็มขัดให้กับผู้ชาย หรือผ้าพันคอ สร้อยคอให้กับผู้หญิง
ขอบคุณข้อมูลจาก Marumura
Posted by mod at
17:41
│Comments(0)