› 日本が好き › ความรักการอ่านหนังสือของสังคมญี่ปุ่น
2016年05月10日
ความรักการอ่านหนังสือของสังคมญี่ปุ่น
เมื่อวันหยุดที่ผ่านมา ฉันได้นั่งรถไฟฟ้าไปทำธุระ ตอนช่วงบ่ายๆ ของวันหยุดคนจะแน่นมาก พอถึงสถานีหนึ่งก็มีผู้หญิงกับเด็กขึ้นรถไฟฟ้ามา ปรากฏว่ามีชายคนหนึ่งลุกให้เด็กนั่ง ทั้งที่สัมภาระเขาก็เยอะ แถมอ่านหนังสือด้วย ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเขาเป็นคนชาติอะไร?
เขาก็คนญี่ปุ่นนั่นเอง เพราะถ้าใครเคยไปญี่ปุ่นแล้วล่ะก็ ภาพที่เห็นชินตา คือชาวญี่ปุ่นที่ใช้บริการรถไฟฟ้าส่วนใหญ่จะอ่านหนังสือ พวกเขาเหล่านั้นล้วนกำลังมีความสุขในการอ่านหนังสือ ในขณะที่กำลังเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทาง ซึ่งฉันว่าต่างจากคนไทยมากเลย คนไทยเราอ่านหนังสือกันน้อยมาก อย่างอยู่บนรถไฟฟ้าหรืออยู่บนรถสาธารณะก็มักจะนั่งเหม่อลอยมองวิวข้างทาง หรือก็คุยโทรศัพท์หรือส่งไลน์กันให้วุ่นวายกันไปหมด
สถิติการอ่านหนังสือของคนไทย เฉลี่ยแล้วอ่านคนละ 2 เล่มต่อปีเท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมาก ต่างกับคนญี่ปุ่นที่อ่านหนังสือเฉลี่ยคนละ 40-50 เล่มต่อปีเลยทีเดียว นั่นก็เพราะว่าการอ่านหนังสือสำหรับคนญี่ปุ่นนั้นได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก เราจะเห็นว่าเด็กญี่ปุ่นเติบโตมากับหนังสือตั้งแต่การอ่านการ์ตูนมังงะ ที่มีภาพประกอบซึ่งเป็นการช่วยให้เด็กอยากอ่านหนังสือมากขึ้น และอีกทั้งมีเนื้อหาที่สนุกสนาน และก็กลายเป็นนิสัยติดตัวชาวญี่ปุ่นมาจนโต เราไม่เคยเห็นคนญี่ปุ่นละทิ้งการอ่านหนังสือเลย หากเราได้ไปเดินตามร้านหนังสือในญี่ปุ่น เราก็จะได้เห็นถึงความหลากหลายของหนังสือทุกแบบ ทุกกลุ่มวัยวางไว้ต้อนรับผู้มาเยือน นอกจากนั้นยังมีระบบการค้นหาหนังสือที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ซื้อเป็นอย่างดี โดยทางร้านจะมีเครื่องสำหรับค้นหาหนังสือ ผู้ซื้อสามารถจะค้นหาได้จาก ชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง หรือหมายเลข ISBN ของหนังสือเล่มนั้นๆ ที่ผู้ซื้อต้องการ เมื่อเราใส่ข้อมูลที่ต้องการค้นหาแล้วเครื่องก็จะบอกว่าหนังสือนั้นมีรายละเอียดของผู้แต่ง ราคา วันผลิต และจะบอกว่าหนังสือเล่มนี้อยู่ตรงส่วนไหนของร้าน ช่างสะดวกสบายเสียเหลือเกิน
ภายในร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่นอกจากจะให้บริการเล่นอินเตอร์เน็ตแล้ว ก็ยังมีหนังสือให้เช่าอ่านอีกด้วย มีหนังสือให้เลือกสรรหลายต่อหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งถ้าเป็นที่เมืองไทยเวลาเช่าหนังสือต้องเอากลับไปอ่านที่บ้าน แต่ที่ญี่ปุ่นสามารถเช่าอ่านในร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ได้เลย โดยอ่านกี่เล่มก็ได้เพราะเค้าคิดค่าเช่าเป็นชั่วโมง หากอ่านหนังสือแล้วรู้สึกหิวก็จะมีกาแฟ มีขนมหรือจะทานอาหารก็มีให้บริการเหมือนกัน ถือเป็นบริการที่ครบวงจรจริงๆ ซึ่งที่ญี่ปุ่นจะมีร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่แบบนี้ไม่ต่ำกว่า 2,000 แห่งทั่วประเทศ
แล้วที่ญี่ปุ่นก็ยังมีการจัดงานที่เรียกว่า “読書週間(どくしょしゅうかん) สัปดาห์แห่งการอ่านหนังสือของญี่ปุ่น” ด้วย พอฤดูใบไม้ร่วงมาเยือน สิ่งหนึ่งที่คนญี่ปุ่นนึกถึงคือ " การอ่านหนังสือ " การส่งเสริมการอ่านหนังสือเป็นนโยบายทางการศึกษาที่รัฐบาลทุ่มงบประมาณอย่างเต็มที่ เช่น การพัฒนาห้องสมุดของโรงเรียน ห้องสมุดชุมชน อีกทั้งยังมีการรวมตัวกันขององค์กรภาคเอกชนจัดตั้ง สภาส่งเสริมการอ่านหนังสือแห่งประเทศญี่ปุ่น 読書推進運動協議会 ปลูกฝังนิสัย " รักการอ่าน" ให้แก่เยาวชน จัดทำหนังสือที่มีความรู้ทุกแขนงให้เป็นการ์ตูนเพื่อให้เด็กสามารถเข้าใจได้ง่าย ๆ และจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการอ่านหนังสือ
ตอนฉันอยู่ที่ญี่ปุ่นก็มักจะไปซื้อหนังสืออ่านบ่อยๆ ส่วนใหญ่เป็นการ์ตูน ตอนนั้นฉันเองก็สงสัยว่าทำไมคนญี่ปุ่น ชอบห่อปกหนังสือ โดยใช้กระดาษน้ำตาล หรือ กระดาษทึบ ปิดหน้าปกเอาไว้ แล้วฉันก็ได้คำตอบมาว่า เพราะคนญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญกับคำว่า Privacy อย่างมาก ทุกคนจะห่อปกกระดาษนั่งอ่านบนรถไฟโดยไม่ต้องสนใจว่าใครอ่านหนังสืออะไร เพราะฉะนั้นเวลาซื้อหนังสือทางร้านจะถามว่าจะให้ห่อปกไหม? ถ้าบอกให้ห่อก็จะเป็นปกกระดาษสีน้ำตาลตุ่นๆเหมือนกันหมด
แล้วการอ่านหนังสือก็ยังบ่งบอกรสนิยมของผู้อ่านเช่นเดียวกับการกินอาหาร การอ่านหนังสือ ก็คือการให้อาหารสมองเช่นเดียวกัน แล้ววันนี้...เพื่อน ๆ อ่านหนังสือกันหรือยังคะ
เขาก็คนญี่ปุ่นนั่นเอง เพราะถ้าใครเคยไปญี่ปุ่นแล้วล่ะก็ ภาพที่เห็นชินตา คือชาวญี่ปุ่นที่ใช้บริการรถไฟฟ้าส่วนใหญ่จะอ่านหนังสือ พวกเขาเหล่านั้นล้วนกำลังมีความสุขในการอ่านหนังสือ ในขณะที่กำลังเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทาง ซึ่งฉันว่าต่างจากคนไทยมากเลย คนไทยเราอ่านหนังสือกันน้อยมาก อย่างอยู่บนรถไฟฟ้าหรืออยู่บนรถสาธารณะก็มักจะนั่งเหม่อลอยมองวิวข้างทาง หรือก็คุยโทรศัพท์หรือส่งไลน์กันให้วุ่นวายกันไปหมด
สถิติการอ่านหนังสือของคนไทย เฉลี่ยแล้วอ่านคนละ 2 เล่มต่อปีเท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมาก ต่างกับคนญี่ปุ่นที่อ่านหนังสือเฉลี่ยคนละ 40-50 เล่มต่อปีเลยทีเดียว นั่นก็เพราะว่าการอ่านหนังสือสำหรับคนญี่ปุ่นนั้นได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก เราจะเห็นว่าเด็กญี่ปุ่นเติบโตมากับหนังสือตั้งแต่การอ่านการ์ตูนมังงะ ที่มีภาพประกอบซึ่งเป็นการช่วยให้เด็กอยากอ่านหนังสือมากขึ้น และอีกทั้งมีเนื้อหาที่สนุกสนาน และก็กลายเป็นนิสัยติดตัวชาวญี่ปุ่นมาจนโต เราไม่เคยเห็นคนญี่ปุ่นละทิ้งการอ่านหนังสือเลย หากเราได้ไปเดินตามร้านหนังสือในญี่ปุ่น เราก็จะได้เห็นถึงความหลากหลายของหนังสือทุกแบบ ทุกกลุ่มวัยวางไว้ต้อนรับผู้มาเยือน นอกจากนั้นยังมีระบบการค้นหาหนังสือที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ซื้อเป็นอย่างดี โดยทางร้านจะมีเครื่องสำหรับค้นหาหนังสือ ผู้ซื้อสามารถจะค้นหาได้จาก ชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง หรือหมายเลข ISBN ของหนังสือเล่มนั้นๆ ที่ผู้ซื้อต้องการ เมื่อเราใส่ข้อมูลที่ต้องการค้นหาแล้วเครื่องก็จะบอกว่าหนังสือนั้นมีรายละเอียดของผู้แต่ง ราคา วันผลิต และจะบอกว่าหนังสือเล่มนี้อยู่ตรงส่วนไหนของร้าน ช่างสะดวกสบายเสียเหลือเกิน
ภายในร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่นอกจากจะให้บริการเล่นอินเตอร์เน็ตแล้ว ก็ยังมีหนังสือให้เช่าอ่านอีกด้วย มีหนังสือให้เลือกสรรหลายต่อหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งถ้าเป็นที่เมืองไทยเวลาเช่าหนังสือต้องเอากลับไปอ่านที่บ้าน แต่ที่ญี่ปุ่นสามารถเช่าอ่านในร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ได้เลย โดยอ่านกี่เล่มก็ได้เพราะเค้าคิดค่าเช่าเป็นชั่วโมง หากอ่านหนังสือแล้วรู้สึกหิวก็จะมีกาแฟ มีขนมหรือจะทานอาหารก็มีให้บริการเหมือนกัน ถือเป็นบริการที่ครบวงจรจริงๆ ซึ่งที่ญี่ปุ่นจะมีร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่แบบนี้ไม่ต่ำกว่า 2,000 แห่งทั่วประเทศ
แล้วที่ญี่ปุ่นก็ยังมีการจัดงานที่เรียกว่า “読書週間(どくしょしゅうかん) สัปดาห์แห่งการอ่านหนังสือของญี่ปุ่น” ด้วย พอฤดูใบไม้ร่วงมาเยือน สิ่งหนึ่งที่คนญี่ปุ่นนึกถึงคือ " การอ่านหนังสือ " การส่งเสริมการอ่านหนังสือเป็นนโยบายทางการศึกษาที่รัฐบาลทุ่มงบประมาณอย่างเต็มที่ เช่น การพัฒนาห้องสมุดของโรงเรียน ห้องสมุดชุมชน อีกทั้งยังมีการรวมตัวกันขององค์กรภาคเอกชนจัดตั้ง สภาส่งเสริมการอ่านหนังสือแห่งประเทศญี่ปุ่น 読書推進運動協議会 ปลูกฝังนิสัย " รักการอ่าน" ให้แก่เยาวชน จัดทำหนังสือที่มีความรู้ทุกแขนงให้เป็นการ์ตูนเพื่อให้เด็กสามารถเข้าใจได้ง่าย ๆ และจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการอ่านหนังสือ
ตอนฉันอยู่ที่ญี่ปุ่นก็มักจะไปซื้อหนังสืออ่านบ่อยๆ ส่วนใหญ่เป็นการ์ตูน ตอนนั้นฉันเองก็สงสัยว่าทำไมคนญี่ปุ่น ชอบห่อปกหนังสือ โดยใช้กระดาษน้ำตาล หรือ กระดาษทึบ ปิดหน้าปกเอาไว้ แล้วฉันก็ได้คำตอบมาว่า เพราะคนญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญกับคำว่า Privacy อย่างมาก ทุกคนจะห่อปกกระดาษนั่งอ่านบนรถไฟโดยไม่ต้องสนใจว่าใครอ่านหนังสืออะไร เพราะฉะนั้นเวลาซื้อหนังสือทางร้านจะถามว่าจะให้ห่อปกไหม? ถ้าบอกให้ห่อก็จะเป็นปกกระดาษสีน้ำตาลตุ่นๆเหมือนกันหมด
แล้วการอ่านหนังสือก็ยังบ่งบอกรสนิยมของผู้อ่านเช่นเดียวกับการกินอาหาร การอ่านหนังสือ ก็คือการให้อาหารสมองเช่นเดียวกัน แล้ววันนี้...เพื่อน ๆ อ่านหนังสือกันหรือยังคะ
Posted by mod at 13:02│Comments(0)
Information
S | M | T | W | T | F | S |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 2 | 3 | 4 | |||
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
カテゴリ
最近の記事
ช่วงไดเอท กินอะไรดี (3/23)
ヨン様はもう卒業したの! (2/16)
เทียบความอึ๋มขณะแช่ออนเซน (1/26)
หมึก....บิน (1/25)
学童保育 กิจกรรมหลังเลิกเรียน (1/18)
過去記事
最近のコメント
Jamescar / ตุ๊กตากระดาษ Paper Dolls
Jimmiethalt / ตุ๊กตากระดาษ Paper Dolls
JacquesexAmy / ตุ๊กตากระดาษ Paper Dolls
XMC-PL-max / ตุ๊กตากระดาษ Paper Dolls
XMC-PL-max / ตุ๊กตากระดาษ Paper Dolls
お気に入り
ブログ内検索
QRコード
アクセスカウンタ
読者登録
プロフィール
mod