› 日本が好き › 一番茶 ใบชาแรกผลิ
2016年04月26日
一番茶 ใบชาแรกผลิ
เวลาช่างเดินไวราวกับโกหกเลยนะคะ อีกไม่กี่วันก็จะเข้าสู่เดือนพฤษภาคม เดือนที่ 5 ของปีแล้ว เดือนพฤษภาคมสำหรับประเทศไทย ก็จะช่วงของการเปิดเทอมใหม่ของเด็กๆ
สำหรับญี่ปุ่นก็จะเข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวชา นั่นก็คือ Cha Tsumi (茶つみ) จะเป็นการเก็บใบชาอ่อนหลังจากเริ่มฤดูใบไม้ผลิแล้วราว 88 วัน เราเรียกใบชาชนิดนี้ว่า อิจิบังฉะ (一番茶) หรือใบชาแรกผลิ จะเป็นใบชาเกรดหนึ่ง ซึ่งเด็ดเป็นครั้งแรกของฤดูกาลนั้น จะมีรสอร่อย มีกลิ่นหอม ซึ่งคนญี่ปุ่นนิยมดื่มกัน ในอดีตที่เคยปฏิบัติกันมา จะใช้คนเก็บใบชาจากต้น แต่จากภาวการณ์ขาดแคลนแรงงานคน ทำให้ปัจจุบันต้องใช้เครื่องจักรเข้าช่วย
ในประเทศญี่ปุ่นมีแหล่งเพาะปลูกชาเขียวหลัก ๆ ได้แก่ เมือง Uji จังหวัด Kyoto , จังหวัด Shizuoka และจังหวัด Kagoshima
ช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวยอดชาเขียวในญี่ปุ่นแบ่งออกเป็น
•Shincha (新茶)หรือ Ichibancha (一番茶) คือ การเก็บเกี่ยวชาในครั้งแรก หรือ ชาใหม่ ซึ่งจะเก็บเกี่ยวในช่วงปลายเดือนเมษายนถึงกลาง
พฤษภาคม
•Nibancha (二番茶) การเก็บเกี่ยวชาในครั้งที่สอง จะเก็บเกี่ยวในช่วงกลางเดือนมิถุนายนถึงต้นกรกฎาคม
•Sanbancha (三番茶)การเก็บเกี่ยวชาในครั้งที่สาม จะเก็บเกี่ยวช่วงปลายเดือนกรกฎาคมถึงต้นสิงหาคม
•Yonbancha (四番茶)การเก็บเกี่ยวชาในครั้งที่สี่ ในบางพื้นที่ จะเก็บเกี่ยวกันในช่วงปลายเดือนกันยายนถึงต้นตุลาคม
•ส่วนชาที่เหลือจากปีก่อนๆ เรียกว่า Kocha (古茶) หมายถึง ชาเก่า
โดยชาวญี่ปุ่นเชื่อกันว่า ผู้ที่ได้ดื่ม shin-cha ของปีนั้นจะมีสุขภาพดีไปตลอดทั้งปี ด้วยความเชื่อนี้บวกกับกลิ่นสดใหม่และรสชาติหวานหอมจากใบอ่อน และจำนวนกรดอะมิโนที่มีอยู่สูงมาก ชาชนิดนี้จึงมีราคาสูง และหาได้ค่อนข้างยากนอกประเทศญี่ปุ่น
วิธีการเก็บชาเขียว
•การเก็บเกี่ยวชาเขียวนั้นมีอยู่สามวิธี ได้แก่ ใช้มือเด็ด ใช้กรรไกรตัด และใช้เครื่องจักร
•การเก็บยอดใบชาที่ดี คือ นับจำนวนยอดช่อแรกให้ได้สามใบแล้วเด็ดยอดชาอ่อนได้เลย
พอพูดถึงยอดชาอ่อนก็ทำให้นึกไปถึงโฆษณาเมื่อ 10 กว่าปี คนไทยทั้งประเทศจะคุ้นเคยกับวลีเด็ดที่ว่า “新芽 ちょうだい” (ชินเม โจได๋) ที่หนอนชาเขียวพูดสะกดจิตชาวสวน คำว่า “新芽” ก็คือยอดอ่อนของพืช ส่วนคำว่า “ちょうだい” มีความหมายว่า ขอ…. มีความหมายเหมือนกับคำว่า “ください” (Kudasai) ดังนั้นประโยคที่เจ้าหนอนชาเขียวพูดว่า “新芽ちょうだい 新芽ちょうだい” ก็เป็นการสะกดจิตว่า “ส่งยอดอ่อนชาเขียวมานะ ส่งยอดอ่อนชาเขียวมานะ” นั่นเอง
แล้วที่ญี่ปุ่นเขาก็มีทริปกิจกรรมเก็บชาเขียวกันด้วยนะคะ ใครสนใจก็ไปร่วมได้ค่ะ
การเตรียมไปเป็นสาวเก็บใบชา
ก่อนจะเริ่มกิจกรรมเก็บชา เราก็ต้องมาเตรียมตัวกันก่อน ด้วยการเปลี่ยนเสื้อผ้ากันก่อน อย่างเช่นที่ไร่ชา Nihondaira ที่จังหวัด Shizuoka เจ้าหน้าที่ของไร่ชา จะนำเครื่องแต่งกายมาให้ทุกท่านได้เปลี่ยนกัน โดยจะมีชุดพนักงานเก็บชา ตะกร้าสะพายหลังสำหรับใส่ใบชา ผ้าคลุมผม โดยทั้งผู้ชายและผู้หญิงจะใส่ชุดเหมือนกัน เมื่อเตรียมตัว เมื่อแต่งกายเรียบร้อยแล้ว ก็ไปเก็บชากันได้
พนักงานจะพาทุกคนเดินขึ้นไปที่ไร่ชา จากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้นตอน “การเก็บใบชา” (Tea plucking) เป็นขั้นตอนที่สำคัญเนื่องจากต้องอาศัยความละเอียดในการเก็บ การเก็บใบชาให้ได้ใบชาที่มีคุณภาพดีต้องใช้แรงงานคนในการเก็บ การเก็บจะต้องเลือกเก็บเฉพาะยอดชาที่ตูมและใบที่ต่ำจากยอดตูมลงมา 2-3 ใบ (เก็บ 1 ยอด 2-3 ใบ) เนื่องจากสารประกอบพอลิฟีนอลซึ่งเป็นสารสำคัญที่ส่งผลต่อสี กลิ่น และรสชาติของชาจะมีอยู่มากเฉพาะในยอดชาเท่านั้น
คนญี่ปุ่นเรียกชาเขียวพวกนี้ว่า “เรียวกุฉะ” (緑茶 – Ryokucha) แปลว่า ชาที่มีสีเขียว นั่นเอง เป็นชาที่คนญี่ปุ่นนิยมดื่มมากที่สุด ชาเขียวญี่ปุ่นมีอยู่มากมายหลายชนิด เราสามารถแบ่งชนิดของชาเขียวได้จากวิธีการปลูก, วิธีการผลิต, และช่วงเวลาของการเก็บเกี่ยว ซึ่งหลักๆ แล้ว ชาเขียวญี่ปุ่นจะแบ่งเป็น 3 เกรด ดังนี้
1.เกียวคุโระ (玉露 – Gyokuro)
ชาเขียวที่มีคุณภาพดีที่สุด ทำจากใบชาที่เก็บเกี่ยวในครั้งแรกของปีราวเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน โดยต้นชาจะถูกคลุมไม่ให้โดนแดด 20-30 วันก่อนจะเก็บใบ ชาเขียวประเภทนี้นิยมใช้ในพิธีการต่างๆ เท่านั้น เพราะมีราคาแพงมาก โดยทั่วไปในญี่ปุ่นมีการผลิตชาเขียวเกียวคุโระไม่ถึง 1% ของการผลิตชาทั้งหมดในญี่ปุ่น
2.เซนฉะ (煎茶 – Sencha)
ชาเขียวระดับมาตรฐานที่มีคุณภาพรองจากเกียวคุโระ เป็นชาที่คนญี่ปุ่นดื่มในชีวิตประจำวัน มีการผลิตชาเขียวเซนฉะมากถึง 80% ของชาที่ผลิตในประเทศทั้งหมด ชาเขียวเซนฉะใช้ใบชาที่ได้จากการเก็บเกี่ยวในครั้งแรกหรือครั้งที่สองก็ได้ จะเป็นใบชาที่มีการปลูกโดนแสงแดดตลอดเวลาจนถึงช่วงเก็บเกี่ยว หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วจะนำใบชาไปอบไอน้ำทันทีและม้วนภายในระยะเวลาที่สั้นที่สุด
3.บันฉะ (番茶 – Bancha) หรือ โฮจิฉะ (ほうじ茶 – Hojicha)
ชาเขียวที่มีคุณภาพต่ำที่สุด เนื่องจากใช้ใบชาส่วนที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวในช่วงแรงและช่วงที่สอง ส่วนใหญ่จะทำจากใบชาที่มีลักษณะเป็นใบแข็ง ไม่ค่อยสมบูรณ์ มีสีน้ำตาลอ่อนออกเหลือง และมีรสชาติขมกว่าเกียวคุโระและเซนฉะ ถ้าเรานำบันฉะไปอบด้วยความร้อนในอุณหภูมิที่พอเหมาะ จะได้ใบชาหอม สีน้ำตาลแดง เรียกว่า “โฮจิฉะ” นั่นเอง
นอกจากชาเขียว 3 ประเภทที่เล่ามานี้ ยังมีชาเขียวอีกประเภทหนึ่งที่มีชื่อเสียงมาก นั่นก็คือ มัตฉะ (抹茶 – Matcha) หรือ ชาเขียวผง (powdered green tea) มัตฉะเป็นชารูปแบบใหม่ที่พระเอย์ไซได้รับมาจากราชวงศ์ซ้อง (ค.ศ.960-1279) ของจีน โดยพระเอย์ไซได้นำยอดอ่อนใบชาสีเขียวสดที่เพิ่งเก็บมาอบด้วยไอน้ำ ตากให้แห้งในอุณหภูมิอุ่นกำลังดี จากนั้นก็นำใบชาไปบดให้ละเอียด นำผงชาเขียวที่ได้ใส่ลงในชาม เติมน้ำร้อน คนจนผงชาละลายแล้วนำมาดื่ม การบดชาเขียวจนเป็นผงจะช่วยให้ชาเขียวมีกลิ่นหอมและมีรสชาติกลมกล่อมขึ้น ซึ่งการดื่มชาในลักษณะนี้ได้กลายเป็นต้นแบบของชาที่ใช้ดื่มในพิธีชงชา (茶道 – Chadou) ที่มีชื่อเสียงนั่นเอง
สำหรับญี่ปุ่นก็จะเข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวชา นั่นก็คือ Cha Tsumi (茶つみ) จะเป็นการเก็บใบชาอ่อนหลังจากเริ่มฤดูใบไม้ผลิแล้วราว 88 วัน เราเรียกใบชาชนิดนี้ว่า อิจิบังฉะ (一番茶) หรือใบชาแรกผลิ จะเป็นใบชาเกรดหนึ่ง ซึ่งเด็ดเป็นครั้งแรกของฤดูกาลนั้น จะมีรสอร่อย มีกลิ่นหอม ซึ่งคนญี่ปุ่นนิยมดื่มกัน ในอดีตที่เคยปฏิบัติกันมา จะใช้คนเก็บใบชาจากต้น แต่จากภาวการณ์ขาดแคลนแรงงานคน ทำให้ปัจจุบันต้องใช้เครื่องจักรเข้าช่วย
ในประเทศญี่ปุ่นมีแหล่งเพาะปลูกชาเขียวหลัก ๆ ได้แก่ เมือง Uji จังหวัด Kyoto , จังหวัด Shizuoka และจังหวัด Kagoshima
ช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวยอดชาเขียวในญี่ปุ่นแบ่งออกเป็น
•Shincha (新茶)หรือ Ichibancha (一番茶) คือ การเก็บเกี่ยวชาในครั้งแรก หรือ ชาใหม่ ซึ่งจะเก็บเกี่ยวในช่วงปลายเดือนเมษายนถึงกลาง
พฤษภาคม
•Nibancha (二番茶) การเก็บเกี่ยวชาในครั้งที่สอง จะเก็บเกี่ยวในช่วงกลางเดือนมิถุนายนถึงต้นกรกฎาคม
•Sanbancha (三番茶)การเก็บเกี่ยวชาในครั้งที่สาม จะเก็บเกี่ยวช่วงปลายเดือนกรกฎาคมถึงต้นสิงหาคม
•Yonbancha (四番茶)การเก็บเกี่ยวชาในครั้งที่สี่ ในบางพื้นที่ จะเก็บเกี่ยวกันในช่วงปลายเดือนกันยายนถึงต้นตุลาคม
•ส่วนชาที่เหลือจากปีก่อนๆ เรียกว่า Kocha (古茶) หมายถึง ชาเก่า
โดยชาวญี่ปุ่นเชื่อกันว่า ผู้ที่ได้ดื่ม shin-cha ของปีนั้นจะมีสุขภาพดีไปตลอดทั้งปี ด้วยความเชื่อนี้บวกกับกลิ่นสดใหม่และรสชาติหวานหอมจากใบอ่อน และจำนวนกรดอะมิโนที่มีอยู่สูงมาก ชาชนิดนี้จึงมีราคาสูง และหาได้ค่อนข้างยากนอกประเทศญี่ปุ่น
วิธีการเก็บชาเขียว
•การเก็บเกี่ยวชาเขียวนั้นมีอยู่สามวิธี ได้แก่ ใช้มือเด็ด ใช้กรรไกรตัด และใช้เครื่องจักร
•การเก็บยอดใบชาที่ดี คือ นับจำนวนยอดช่อแรกให้ได้สามใบแล้วเด็ดยอดชาอ่อนได้เลย
พอพูดถึงยอดชาอ่อนก็ทำให้นึกไปถึงโฆษณาเมื่อ 10 กว่าปี คนไทยทั้งประเทศจะคุ้นเคยกับวลีเด็ดที่ว่า “新芽 ちょうだい” (ชินเม โจได๋) ที่หนอนชาเขียวพูดสะกดจิตชาวสวน คำว่า “新芽” ก็คือยอดอ่อนของพืช ส่วนคำว่า “ちょうだい” มีความหมายว่า ขอ…. มีความหมายเหมือนกับคำว่า “ください” (Kudasai) ดังนั้นประโยคที่เจ้าหนอนชาเขียวพูดว่า “新芽ちょうだい 新芽ちょうだい” ก็เป็นการสะกดจิตว่า “ส่งยอดอ่อนชาเขียวมานะ ส่งยอดอ่อนชาเขียวมานะ” นั่นเอง
แล้วที่ญี่ปุ่นเขาก็มีทริปกิจกรรมเก็บชาเขียวกันด้วยนะคะ ใครสนใจก็ไปร่วมได้ค่ะ
การเตรียมไปเป็นสาวเก็บใบชา
ก่อนจะเริ่มกิจกรรมเก็บชา เราก็ต้องมาเตรียมตัวกันก่อน ด้วยการเปลี่ยนเสื้อผ้ากันก่อน อย่างเช่นที่ไร่ชา Nihondaira ที่จังหวัด Shizuoka เจ้าหน้าที่ของไร่ชา จะนำเครื่องแต่งกายมาให้ทุกท่านได้เปลี่ยนกัน โดยจะมีชุดพนักงานเก็บชา ตะกร้าสะพายหลังสำหรับใส่ใบชา ผ้าคลุมผม โดยทั้งผู้ชายและผู้หญิงจะใส่ชุดเหมือนกัน เมื่อเตรียมตัว เมื่อแต่งกายเรียบร้อยแล้ว ก็ไปเก็บชากันได้
พนักงานจะพาทุกคนเดินขึ้นไปที่ไร่ชา จากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้นตอน “การเก็บใบชา” (Tea plucking) เป็นขั้นตอนที่สำคัญเนื่องจากต้องอาศัยความละเอียดในการเก็บ การเก็บใบชาให้ได้ใบชาที่มีคุณภาพดีต้องใช้แรงงานคนในการเก็บ การเก็บจะต้องเลือกเก็บเฉพาะยอดชาที่ตูมและใบที่ต่ำจากยอดตูมลงมา 2-3 ใบ (เก็บ 1 ยอด 2-3 ใบ) เนื่องจากสารประกอบพอลิฟีนอลซึ่งเป็นสารสำคัญที่ส่งผลต่อสี กลิ่น และรสชาติของชาจะมีอยู่มากเฉพาะในยอดชาเท่านั้น
คนญี่ปุ่นเรียกชาเขียวพวกนี้ว่า “เรียวกุฉะ” (緑茶 – Ryokucha) แปลว่า ชาที่มีสีเขียว นั่นเอง เป็นชาที่คนญี่ปุ่นนิยมดื่มมากที่สุด ชาเขียวญี่ปุ่นมีอยู่มากมายหลายชนิด เราสามารถแบ่งชนิดของชาเขียวได้จากวิธีการปลูก, วิธีการผลิต, และช่วงเวลาของการเก็บเกี่ยว ซึ่งหลักๆ แล้ว ชาเขียวญี่ปุ่นจะแบ่งเป็น 3 เกรด ดังนี้
1.เกียวคุโระ (玉露 – Gyokuro)
ชาเขียวที่มีคุณภาพดีที่สุด ทำจากใบชาที่เก็บเกี่ยวในครั้งแรกของปีราวเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน โดยต้นชาจะถูกคลุมไม่ให้โดนแดด 20-30 วันก่อนจะเก็บใบ ชาเขียวประเภทนี้นิยมใช้ในพิธีการต่างๆ เท่านั้น เพราะมีราคาแพงมาก โดยทั่วไปในญี่ปุ่นมีการผลิตชาเขียวเกียวคุโระไม่ถึง 1% ของการผลิตชาทั้งหมดในญี่ปุ่น
2.เซนฉะ (煎茶 – Sencha)
ชาเขียวระดับมาตรฐานที่มีคุณภาพรองจากเกียวคุโระ เป็นชาที่คนญี่ปุ่นดื่มในชีวิตประจำวัน มีการผลิตชาเขียวเซนฉะมากถึง 80% ของชาที่ผลิตในประเทศทั้งหมด ชาเขียวเซนฉะใช้ใบชาที่ได้จากการเก็บเกี่ยวในครั้งแรกหรือครั้งที่สองก็ได้ จะเป็นใบชาที่มีการปลูกโดนแสงแดดตลอดเวลาจนถึงช่วงเก็บเกี่ยว หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วจะนำใบชาไปอบไอน้ำทันทีและม้วนภายในระยะเวลาที่สั้นที่สุด
3.บันฉะ (番茶 – Bancha) หรือ โฮจิฉะ (ほうじ茶 – Hojicha)
ชาเขียวที่มีคุณภาพต่ำที่สุด เนื่องจากใช้ใบชาส่วนที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวในช่วงแรงและช่วงที่สอง ส่วนใหญ่จะทำจากใบชาที่มีลักษณะเป็นใบแข็ง ไม่ค่อยสมบูรณ์ มีสีน้ำตาลอ่อนออกเหลือง และมีรสชาติขมกว่าเกียวคุโระและเซนฉะ ถ้าเรานำบันฉะไปอบด้วยความร้อนในอุณหภูมิที่พอเหมาะ จะได้ใบชาหอม สีน้ำตาลแดง เรียกว่า “โฮจิฉะ” นั่นเอง
นอกจากชาเขียว 3 ประเภทที่เล่ามานี้ ยังมีชาเขียวอีกประเภทหนึ่งที่มีชื่อเสียงมาก นั่นก็คือ มัตฉะ (抹茶 – Matcha) หรือ ชาเขียวผง (powdered green tea) มัตฉะเป็นชารูปแบบใหม่ที่พระเอย์ไซได้รับมาจากราชวงศ์ซ้อง (ค.ศ.960-1279) ของจีน โดยพระเอย์ไซได้นำยอดอ่อนใบชาสีเขียวสดที่เพิ่งเก็บมาอบด้วยไอน้ำ ตากให้แห้งในอุณหภูมิอุ่นกำลังดี จากนั้นก็นำใบชาไปบดให้ละเอียด นำผงชาเขียวที่ได้ใส่ลงในชาม เติมน้ำร้อน คนจนผงชาละลายแล้วนำมาดื่ม การบดชาเขียวจนเป็นผงจะช่วยให้ชาเขียวมีกลิ่นหอมและมีรสชาติกลมกล่อมขึ้น ซึ่งการดื่มชาในลักษณะนี้ได้กลายเป็นต้นแบบของชาที่ใช้ดื่มในพิธีชงชา (茶道 – Chadou) ที่มีชื่อเสียงนั่นเอง
Posted by mod at 16:40│Comments(0)
Information
S | M | T | W | T | F | S |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 |
カテゴリ
最近の記事
ช่วงไดเอท กินอะไรดี (3/23)
ヨン様はもう卒業したの! (2/16)
เทียบความอึ๋มขณะแช่ออนเซน (1/26)
หมึก....บิน (1/25)
学童保育 กิจกรรมหลังเลิกเรียน (1/18)
過去記事
最近のコメント
JacquesexAmy / ตุ๊กตากระดาษ Paper Dolls
XMC-PL-max / ตุ๊กตากระดาษ Paper Dolls
XMC-PL-max / ตุ๊กตากระดาษ Paper Dolls
JoesphSturo / ช่วงไดเอท กินอะไรดี
king / Taspo card กับตู้ขายบุหรี่อ・・・
お気に入り
ブログ内検索
QRコード
アクセスカウンタ
読者登録
プロフィール
mod