インバウンドでタイ人を集客! 事例多数で万全の用意 [PR]
ナムジャイブログ
ブログポータルサイト「ナムジャイ.CC」 › 日本が好き › 3 MU คือ?

2016年02月25日

3 MU คือ?

สวัสดี วันพฤหัสค่ะ

เมื่อวานคนเมือง (都会の人)อย่างพวกเรา คงรู้สึกติดขัดกันเล็กน้อยนะคะ เกี่ยวกับการเดินทาง ฉันเองก็เป็นคนหนึ่งที่ไม่ค่อยชินกับการขึ้นรถเมล์เท่าไร แต่การได้กลับมาใช้บริการรถเมล์อีกครั้งก็สนุกดีนะคะ

อาจจะมีหลายคนที่รู้สึกหงุดหงิดบ้างกับ BTS แต่ฉันเองก็คิดว่าทางด้าน BTS ก็พยายามทำอย่างดีที่สุดแล้วล่ะคะ

เรื่องนี้ทำให้ฉันคิดไปถึงระบบการทำงานของญี่ปุ่นขึ้นมา ไม่ทราบว่า เพื่อนๆ คุ้นเคยกับหลักการ 3 MU กันบ้างมัยคะ

3 MU คือ?


คำว่า MU เอามาจากคำแรกของภาษาญี่ปุ่น ได้แก่
ムダ MUDA มุดะ = ความสูญเปล่า
ムラ MURA มุระ = ความไม่สม่ำเสมอ
ムリ MURI มุริ = การฝืนทำ,เกินกำลัง

ถ้า 3 สิ่งนี้ แทรกตัวอยู่ในการปฏิบัติงานจะทำให้การทำงานไม่มีประสิทธิภาพ สร้างปัญหาในการทำงาน เราจึงต้องทำการกำจัด 3 MU นี้ออกไป ถ้าเราสามารถกำจัด 3 สิ่งนี้ได้ เราจะสามารถลดเวลาที่ไม่ทำให้เกิดผลงานได้ ในทางกลับกันก็สามารถเพิ่มเวลาที่ทำให้เกิดผลงานได้มากขึ้น
เรามาดูกันดีกว่าว่าแต่ละตัวมีรายละเอียดอะไรกันบ้าง

Muda หรือความสูญเปล่า อาจเกิดได้หลายแบบ เช่น ความสูญเปล่าที่เกิดจากการรอ การเคลื่อนย้าย การปรับเปลี่ยน การทำใหม่ การถกเถียง เช่น การประชุมอาจเกิดความสูญเปล่าได้ หากการประชุมนั้นกลายเป็นการถกเถียงกัน ทำให้เสียเวลาไปกับการประชุมที่ไม่ได้ข้อสรุป หรือในการทำกิจกรรมการขาย ถ้าไม่มีการวางแผนในการจัดพื้นที่การไปพบลูกค้า ก็จะเสียเวลาในการเดินทางและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น

Mura คือ ความไม่สม่ำเสมอ หากทำงานด้วยความไม่สม่ำเสมอตั้งแต่กระบวนการทำงาน ปริมาณงาน หรือ อารมณ์ในการทำงาน ผลของงานย่อมเกิดความไม่สม่ำเสมอ กระบวนการที่ถูกขัดจังหวะไม่ราบรื่น ดังนั้น คนทำงานจึงต้องมีความพร้อมในการทำงาน พร้อมด้านความรู้ ความเข้าใจ พร้อมด้านทัศนคติ และพร้อมด้านอารมณ์ ผลของงานที่ออกมาจะเป็นไปตามมาตรฐาน

Muri คือ การฝืนทำอาจจะเกิดจากความเครียด ความเหนื่อยยาก สภาพความพร้อมของปัจจัยด้านต่างๆ รวมถึง การดำเนินการที่ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดหรือแนวปฏิบัติที่เหมาะสม การฝืนทำสิ่งใดๆ ที่สุดวิสัยความสามารถมักจะทำให้เกิดผลกระทบในระยะยาว เช่น การวางแผนงานที่เป็นไปได้ยากในการปฏิบัติ ความไม่เหมาะสมในการวางแผนงาน ความไม่สอดคล้องกันในเรื่องของปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อย่างเรื่องของเวลา ทรัพยากร และปริมาณงาน อาจจะก่อให้เกิดการทำงานให้เสร็จๆ ไปอย่างไม่ตั้งใจ หรือ การทำงานที่ฝืนความสามารถของตนทั้งความรู้ ร่างกาย และจิตใจ การทำงานล่วงเวลาเป็นประจำ เป็นการฝืนร่างกายซึ่งไม่เป็นผลดีในระยะยาว อาจทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง

หลักการง่ายๆ ในการปฏิบัติ คือ เราทุกคนควรพัฒนาตนด้วยการปฏิบัติตนในบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย อย่างสม่ำเสมอตามความรู้ ความสามารถ อย่างเป็นระบบและต่อเนื่องนะคะ


Posted by mod at 11:57│Comments(0)
上の画像に書かれている文字を入力して下さい
 
<ご注意>
書き込まれた内容は公開され、ブログの持ち主だけが削除できます。