インバウンドでタイ人を集客! 事例多数で万全の用意 [PR]
ナムジャイブログ
ブログポータルサイト「ナムジャイ.CC」 › 日本が好き › "お見舞金" (omimaikin) เงินเยี่ยมไข้

2016年02月11日

"お見舞金" (omimaikin) เงินเยี่ยมไข้

สวัสดี วันพฤหัส สีแสดค่ะ

ช่วงนี้อากาศเดี๋ยวเย็นเดี๋ยวร้อน ทำให้ไม่สบายได้ง่ายนะคะ ทุกคนรักษาสุขภาพด้วยนะคะ

แต่ถ้าไม่สบายก็ต้องไปหาคุณหมอ และพักผ่อนเยอะๆ ค่ะ

กรณีที่เราเป็นฝ่ายต้องไปเยี่ยมไข้เพื่อนหรือคนรู้จักนั้น คนไทยอาจจะอยู่ๆ ไปเยี่ยมเลย แต่สำหรับมารยาทการเยี่ยมไข้ของคนญี่ปุ่นนั้น เราต้องคำนึงถึงผู้ป่วยเป็นสำคัญนะคะ ไม่ว่าจะการจังหวะไปเยี่ยมหรือของเยี่ยมไข้

お見舞金 (omimaikin) เงินเยี่ยมไข้

อย่างถ้าเพื่อนผ่าตัด ก็ไม่ควรไปช่วงก่อนหรือหลังผ่าตัดนะคะ ให้สอบถามคนในครอบครัวเขาก่อนว่าสะดวกมัย ควรไปเยี่ยมตอนที่ฟื้นตัวแล้วจะดีกว่า
ตอนไปเยี่ยมก็ไม่ควรส่งเสียงดัง แล้วก็ควรใช้เวลาเยี่ยมไข้แค่ 15 นาทีแล้วลากลับ ผู้ป่วยจะได้พักผ่อน

お見舞金 (omimaikin) เงินเยี่ยมไข้

ของเยี่ยมไข้นั้น ในการเข้าโรงพยาบาลแต่ละครั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก ของเยี่ยมไข้ที่เป็นเงินจึงช่วยได้มาก ถ้าใส่ซองสวยๆ แล้วส่งไปพร้อมกับการ์ดอวยพรก็จะยิ่งสร้างความประทับใจ แต่ถ้าสำหรับผู้อาวุโสกว่า การให้เงินถือว่าเป็นการเสียมารยาท NG! นะคะ

お見舞金 (omimaikin) เงินเยี่ยมไข้

お見舞金 (omimaikin) เงินเยี่ยมไข้

お見舞金 (omimaikin) เงินเยี่ยมไข้


เงินเยี่ยมไข้ ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า "お見舞金" (omimaikin) โดยทั่วไปจะอยู่ในราวๆ 3,000-5,000 เยน ควรใส่ในซองสีขาวหรือซองสีอ่อนๆ แล้วเขียนที่หน้าซองว่า "お見舞い" (omimai) ผุ้ที่ได้รับเงินนี้ เมื่อหายแล้ว มักจะส่งของขวัญแทนคำขอบคุณในมูลค่าครึ่งหนึ่งของเงินที่ได้เพื่อ "ฉลองการฟื้นไข้" ประมาณว่า ไชโย! ฉันหายแล้ว

お見舞金 (omimaikin) เงินเยี่ยมไข้
お見舞金 (omimaikin) เงินเยี่ยมไข้


หรือถ้าให้เป็นของล่ะก็ ขอให้เป็นของที่เป็นประโยชน์กับการใช้ชีวิตในโรงพยาบาล เช่นผ้าขนหนู บัตรโทรศัพท์ หรือของที่ช่วยให้พักผ่อนสบาย เช่นผ้าปิดตา เพราะบางคนอาจรู้สึกกังวล นอนไม่ค่อยหลับ หรือจะเป็นของพวกนิตยสารหรือหนังสือรวมภาพก็ได้นะคะ จะช่วยเปลี่ยนบรรยากาศและทำให้เกิดความสนุกสนาน

お見舞金 (omimaikin) เงินเยี่ยมไข้


ของที่ NG! อย่างเช่นดอกไม้สีหม่น จะยิ่งทำให้เศร้าเข้าไปใหญ่ ดอกไม้ที่มีกลิ่นฉุน กระถางต้นไม้ (มันจะสื่อความหมายว่าต้องนอนอยู่กับที่อีกนาน) เป็นต้น


Posted by mod at 12:47│Comments(0)
上の画像に書かれている文字を入力して下さい
 
<ご注意>
書き込まれた内容は公開され、ブログの持ち主だけが削除できます。