› 日本が好き › 防災の日
2015年09月23日
防災の日
ในเดือนกันยายนนั้น ช่วงครึ่งเดือนแรกของเดือนกันยายน ความกดอากาศในมหาสมุทรแปซิฟิกยังคงสูงอยู่ทำให้ช่วงปลายฤดูร้อน อากาศยังคงร้อนอยู่มาก แต่เมื่อผ่านช่วงกลางเดือนไปแล้ว อุณหภูมิในตอนเช้าและเย็นจะลดลง อากาศเริ่มมีลักษณะเหมือนอากาศในฤดูใบไม้ร่วงมากขึ้น ในญี่ปุ่นตอนกลางคืนในฤดูใบไม้ร่วง คนญี่ปุ่นจะรู้สึกเพลิดเพลินกับเสียงร้องอันไพเราะของจิ้งหรีด ตั๊กแตน และแมลงอื่น ๆ แต่สิ่งที่ต้องระวังก็คือในเดือนกันยายนยังเป็นเดือนที่มีไต้ฝุ่นมาก ทำให้เกิดน้ำท่วม เมื่อมีไต้ฝุ่นเคลื่อนตัวมาใกล้ประเทศญี่ปุ่นก็จะมีการถ่ายทอดรายงาน ความแรงของลม ความเร็วลม ปริมาณน้ำฝน ตลอดจนรายละเอียดอื่น ๆ เกี่ยกับไต้ฝุ่นทางโทรทัศน์และวิทยุตลอดวัน อย่างเมื่อตอนต้นเดือนกันยายนปีนี้ ญีปุ่นก็ต้องพบกับพายุ "เอตาว" ทำให้เกิดฝนตกหนักสุดในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดอุทกภัยใหญ่ในหลายส่วนของประเทศ บางแห่งน้ำท่วมสูงมิดอาคารชั้นล่าง และทางการต้องสั่งอพยพประชาชนกว่าแสนคนไปยังที่ปลอดภัย
ดังนั้นในวันที่ 1 กันยายนของทุกปีก็จะเป็นวัน 防災の日 (Bosai no hi) หรือวันป้องกันวินาศภัย จะมีการฝึกซ้อมหลบภัยตามโรงเรียน ที่ว่าการอำเภอ บริษัทและตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศญี่ปุ่น ที่ต้องมีการจัดให้วันที่ 1 กันยายน เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น ก็เพราะว่าเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ.1923 จากเมื่อวันที่ 1 กันยายน ปี 1923 ได้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ขึ้นในแถบคันโต วัดได้ค่าแมกนิจูดระหว่าง 7.9-8.2 ตามรายงานมีผู้เสียชีวิต 99,331 คน ผู้หายสาบสูญไป 43,476 คน ผู้บาดเจ็บ 103,733 คน บ้านเรือนเสียหาย 128,266 หลังคาเรือน บ้านที่ชำรุดเสียหาย 126,233 หลัง และบ้านที่ถูกไฟไหม้ 447,128 หลัง เพื่อป้องกันมิให้เกิดเรื่องน่าสลดใจดังกล่าวขึ้นอีก วันที่ 1 กันยายน จึงถูกประกาศให้เป็นวันป้องกันวินาศภัย ในวันนี้จะมีการซ้อมเพื่อทดสอบความพร้อมเมื่อเกิดแผ่นดินไหว และไฟไหม้ขึ้นทั่วประเทศ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะสวมหมวกนิรภัยและซ้อมภายใต้การกำกับดูแลของกองดับเพลิง
วันป้องกันวินาศภัย ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า
防災の日(ぼうさいのひ)
bousai no hi
คำว่า 防災 คือ การป้องกันภัยจากธรรมชาติ
防災訓練(ぼうさいくんれん)
bousai kunren
คือการฝึกซ้อมป้องกันวินาศภัย
คำว่า 訓練 คือการฝึกซ้อม
การฝึกซ้อมของญี่ปุ่นนั้นเขาจริงจังกันมาก ถึงขนาดว่ามีเฮลิคอปเตอร์ มีสถานการณ์ที่ทุกคนต้องเตรียมตัวถ้าเกิดเรื่องต่างๆ ขึ้นจริง เพราะปัจจุบันชาวญี่ปุ่นทำงานและอาศัยอยู่ในเมืองที่แออัดคับคั่ง จึงต้องมีการซ้อมบนตึกสูงๆ และใช้เฮลิคอปเตอร์ด้วย
ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีภัยธรรมชาติมากมาย ทั้งไต้ฝุ่น แผ่นดินไหว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีการฝึกซ้อมการหลบภัยอย่างจริงจัง และมีการจัดเตรียมถุงกู้ภัยยามฉุกเฉินไว้ด้วย เรามาดูถุงกู้ภัยกันว่าข้างในมีอะไรกันบ้าง
ถุงกู้ภัย (非常持出袋ーひじょうもちだしぶくろ)
非常 (ひじょう) แปลว่า ฉุกเฉิน
持出 (もちだし) แปลว่า ถือติดตัวออกไป
袋 (ふくろ) แปลว่า ถุง
รวมความแล้วก็คือ ถุงกู้ภัยฉุกเฉินนั่นเอง
ถุงกู้ภัยจะประกอบด้วย
1. เทียนไข
2. ไม้ขีดไฟหรือไฟแช็ก
3. น้ำดื่ม
4. ขนมปังกรอบ
5. ไฟฉาย
6. กล่องปฐมพยาบาล
7. วิทยุ
8. ผ้าขนหนู
9. ผ้าห่ม
10. ที่เปิดกระป๋อง
11. เงินสด
12. สมุดเงินฝาก
13. บัตรเครดิต
ถึงแม้ว่าจะมีภัยธรรมชาติมากมาย แต่ประเทศญี่ปุ่นก็ได้ภูมิประเทศที่สวยงามมาทดแทน ทำให้ยังเป็นประเทศที่ทุกคนใฝ่ฝันอยากไปเที่ยวอยู่เสมอ
ดังนั้นในวันที่ 1 กันยายนของทุกปีก็จะเป็นวัน 防災の日 (Bosai no hi) หรือวันป้องกันวินาศภัย จะมีการฝึกซ้อมหลบภัยตามโรงเรียน ที่ว่าการอำเภอ บริษัทและตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศญี่ปุ่น ที่ต้องมีการจัดให้วันที่ 1 กันยายน เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น ก็เพราะว่าเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ.1923 จากเมื่อวันที่ 1 กันยายน ปี 1923 ได้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ขึ้นในแถบคันโต วัดได้ค่าแมกนิจูดระหว่าง 7.9-8.2 ตามรายงานมีผู้เสียชีวิต 99,331 คน ผู้หายสาบสูญไป 43,476 คน ผู้บาดเจ็บ 103,733 คน บ้านเรือนเสียหาย 128,266 หลังคาเรือน บ้านที่ชำรุดเสียหาย 126,233 หลัง และบ้านที่ถูกไฟไหม้ 447,128 หลัง เพื่อป้องกันมิให้เกิดเรื่องน่าสลดใจดังกล่าวขึ้นอีก วันที่ 1 กันยายน จึงถูกประกาศให้เป็นวันป้องกันวินาศภัย ในวันนี้จะมีการซ้อมเพื่อทดสอบความพร้อมเมื่อเกิดแผ่นดินไหว และไฟไหม้ขึ้นทั่วประเทศ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะสวมหมวกนิรภัยและซ้อมภายใต้การกำกับดูแลของกองดับเพลิง
วันป้องกันวินาศภัย ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า
防災の日(ぼうさいのひ)
bousai no hi
คำว่า 防災 คือ การป้องกันภัยจากธรรมชาติ
防災訓練(ぼうさいくんれん)
bousai kunren
คือการฝึกซ้อมป้องกันวินาศภัย
คำว่า 訓練 คือการฝึกซ้อม
การฝึกซ้อมของญี่ปุ่นนั้นเขาจริงจังกันมาก ถึงขนาดว่ามีเฮลิคอปเตอร์ มีสถานการณ์ที่ทุกคนต้องเตรียมตัวถ้าเกิดเรื่องต่างๆ ขึ้นจริง เพราะปัจจุบันชาวญี่ปุ่นทำงานและอาศัยอยู่ในเมืองที่แออัดคับคั่ง จึงต้องมีการซ้อมบนตึกสูงๆ และใช้เฮลิคอปเตอร์ด้วย
ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีภัยธรรมชาติมากมาย ทั้งไต้ฝุ่น แผ่นดินไหว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีการฝึกซ้อมการหลบภัยอย่างจริงจัง และมีการจัดเตรียมถุงกู้ภัยยามฉุกเฉินไว้ด้วย เรามาดูถุงกู้ภัยกันว่าข้างในมีอะไรกันบ้าง
ถุงกู้ภัย (非常持出袋ーひじょうもちだしぶくろ)
非常 (ひじょう) แปลว่า ฉุกเฉิน
持出 (もちだし) แปลว่า ถือติดตัวออกไป
袋 (ふくろ) แปลว่า ถุง
รวมความแล้วก็คือ ถุงกู้ภัยฉุกเฉินนั่นเอง
ถุงกู้ภัยจะประกอบด้วย
1. เทียนไข
2. ไม้ขีดไฟหรือไฟแช็ก
3. น้ำดื่ม
4. ขนมปังกรอบ
5. ไฟฉาย
6. กล่องปฐมพยาบาล
7. วิทยุ
8. ผ้าขนหนู
9. ผ้าห่ม
10. ที่เปิดกระป๋อง
11. เงินสด
12. สมุดเงินฝาก
13. บัตรเครดิต
ถึงแม้ว่าจะมีภัยธรรมชาติมากมาย แต่ประเทศญี่ปุ่นก็ได้ภูมิประเทศที่สวยงามมาทดแทน ทำให้ยังเป็นประเทศที่ทุกคนใฝ่ฝันอยากไปเที่ยวอยู่เสมอ
Posted by mod at 20:19│Comments(0)
Information
S | M | T | W | T | F | S |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 |
カテゴリ
最近の記事
ช่วงไดเอท กินอะไรดี (3/23)
ヨン様はもう卒業したの! (2/16)
เทียบความอึ๋มขณะแช่ออนเซน (1/26)
หมึก....บิน (1/25)
学童保育 กิจกรรมหลังเลิกเรียน (1/18)
過去記事
最近のコメント
JacquesexAmy / ตุ๊กตากระดาษ Paper Dolls
XMC-PL-max / ตุ๊กตากระดาษ Paper Dolls
XMC-PL-max / ตุ๊กตากระดาษ Paper Dolls
JoesphSturo / ช่วงไดเอท กินอะไรดี
king / Taspo card กับตู้ขายบุหรี่อ・・・
お気に入り
ブログ内検索
QRコード
アクセスカウンタ
読者登録
プロフィール
mod