› 日本が好き › 月見
2015年09月15日
月見
เมื่อพูดถึงพระจันทร์แล้ว ก็อดไม่ได้ที่จะคิดถึงเทศกาลไหว้พระจันทร์ด้วย ฉันเป็นคนหนึ่งที่ชอบกินขนมไหว้พระจันทร์มาก แถมช่วงนี้ก็วางขายกันเยอะแยะเลย มีไส้ต่างๆ มากมาย เลือกกินไม่ถูกเลย (ว่าจะลดความอ้วนเสียหน่อย สงสัยต้องหลังจากนี้เสียแล้ว)
เทศกาลไหว้พระจันทร์เป็นเทศกาลอันดั้งเดิมของประเทศจีน นอกจากการทานขนมไห้วพระจันทร์และส้มโอแล้ว
พระจันทร์ดวงกลม ผู้คนกลมเกลียว ในขณะเดียวกันยังเป็นช่วงเวลาที่คนในครอบครัวมาชุมนุมกันอีกด้วย
ประวัติความเป็นมาของเทศกาลวันไหว้พระจันทร์
"จงชิว " คำนี้ ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในหนังสือโบราณของจีน "โจวหลี่" (หนังสือบันทึกระบบการเมืองราชวงศ์โจว
ระบบมารยาทสังคม และหน้าที่ของข้าราชการ) แต่ไม่ได้อธิบายไว้ว่าเป็นวันไหนของเดือนสิงหาคม
มีนักวิชาการประเพณีพื้นบ้านเชื่อว่าแท้จริงแล้วจงชิวเป็นฤดูการเก็บเกี่ยวสมัยโบราณ
เพราะเดือนสิงหาคมตามทางปฎิทินจันทรคติจีนนั้นเป็นฤดูแห่งการเก็บเกี่ยวในฤดูใบไม้ร่วง
ผู้คนจะกราบไหว้เทพเจ้าที่กัน
มาในสมัยราชวงศ์ถัง เทศกาลไหว้พระจันทร์ถึงได้เปลี่ยนมาเป็นเทศกาลประจำกัน
ตามตำนานเป็นเรื่องราวการละเมอไปยังดวงจันทร์ของหยางกุ้ยเฟย
มาถึงราชวงค์ซ่งเทศกาลไหว้พระจันทร์เริ่มต้นนิยมกว้างขวางขึ้นในหมู่ประชาชน ถึงราชวงศ์หมิง ราชวงศ์ชิง
เทศกาลไหว้พระจันทร์ได้เป็นเช่นเดียวกับวันขึ้นปีใหม่
กลายมาเป็นเทศกาลประเพณีที่สำคัญของประเทศจีนไปแล้ว
เทศกาลไหว้พระจันทร์ของแต่ละประเทศในเอเซีย
เขตเอเซียเป็นเขตที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีน รวมไปถึงญี่ปุ่น เวียดนาม เกาหลีเป็นต้น
ต่างก็มีเทศกาลประเพณีการไหว้พระจันทร์ที่ใกล้เคียงกัน
สำหรับเทศกาลไหว้พระจันทร์ของญี่ปุ่น หรือเทศกาลชมพระจันทร์นั้นมีคำเรียกว่า ทสึกิมิ ( 月見 ออกเสียง สึกิมิ) จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ตามปฏิทินเดิมหรือปฏิทินตามจันทรคติ ทำให้ทุกปีนั้นวันและเดือนของการไหว้พระจันทร์จะเปลี่ยนแปลงไป เทศกาลชมพระจันทร์ของญี่ปุ่นนั้นได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน เกิดขึ้นเมื่อมีขุนนางเป็นผู้ที่นำเข้ามาในช่วงสมัยนาระ-สมัยเฮอัน ในวันขึ้น 15 ค่ำ ไม่ได้มีแค่ขุนนางในวังเท่านั้นที่ชื่นชมพระจันทร์ประชาชนทั่วไปก็มีความเชื่อว่าพลังงานที่มาจากดวงจันทร์จะมีสิ่งลี้ลับที่จะสามารถให้พรที่ขอนั้นเป็นจริงขึ้นมาได้ (บางครั้งคนญี่ปุ่นจะจินตนาการเห็นเงาบนพื้นผิวพระจันทร์นั้นเป็นรูปร่างคล้ายกระต่ายที่กำลังตำขนมโมจิ) โดยส่วนใหญ่ชาวนามักจะไหว้เพื่อแสดงการขอบคุณหลังจากที่ได้เก็บเกี่ยวพืชผลที่อุดมสมบูรณ์ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง โดยส่วนใหญ่ชาวนามักจะขอพรจากดวงจันทร์ให้เก็บเกี่ยวได้ผลผลิตที่ดี พืชผลอุดมสมบูรณ์ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและเพื่อขอพรให้ได้พืชผลที่ดีในปีต่อๆ ไป
โดยในวันนั้นผู้คนจะเฉลิมฉลองด้วยการเตรียมอาหารประจำฤดูใบไม้ร่วงในการบวงสรวงพระจันทร์ คือขนมไหว้พระจันทร์ ซึกิมิ ดังโงะ (月見 団子 tsukimi dango) ขนมที่ทำจากแป้งข้าวเจ้าและน้ำตาล นำไปนึ่งพร้อมปั้นเป็นลูกกลมๆ ส่วนมากก็จะปั้นโมจิทรงกลมทั้งหมด 12 ลูกตาม 12เดือนในหนึ่งปี หรือ 15ลูกตามคำเรียก “คืนที่สิบห้า” หรือบางทีก็เรียกว่า กลางฤดูใบไม้ร่วง (中秋の名月 ออกเสียง จูชู โนะ เมเกะสึ), ซัมโบ (三方, Sanboo/Sanpoo) ถาดไม้ขนาดเล็กที่มีขาตั้ง, ซุซุกิยะฮางิ (すすきや萩, Susuki ya hagi) หญ้าจำพวกหญ้าแขมเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก หรือดอกไม้ประจำฤดูใบไม้ร่วงอื่นๆ ก็ได้
หมายเหตุ
月見 หรือ 中秋の名月 นั้นมีมาตั้งแต่สมัยเฮอัน (อยู่ในช่วง ค.ศ. 794 – ค.ศ. 1185) เป็นเทศกาลชมจันทร์อย่างเแท้จริง แต่ต่อมาถึงสมัยเอโดะ (ค.ศ. 1603 – ค.ศ. 1868) ก็ปรับเปลี่ยนมาเป็นการไหว้ขอบคุณหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตพืชพันธุ์ที่อุดมสมบูรณ์ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงแล้วก็ทำต่อๆกันมาจนเป็นเรื่องปกติในปัจจุบัน
นอกจากนั้นแล้ว ค่ำคืนนี้คนญี่ปุ่นจะเรียกว่า “คืนที่สิบห้า” ออกเสียง จูโกะยะ(十五夜) ซึ่งมีหมายความว่าเป็นคืนที่สิบห้าหลังจากขึ้นปีใหม่ คืนที่สิบห้าจะอยู่ในช่วงเดือนเจ็ดถึงเดือนสิบ (ตามปฏิทินเดิม)
ทุกวันนี้ ขนม “ทสึคิมิดังโกะ” ได้รับการพัฒนาให้มีความหลากหลายมากขึ้น โดยมีการใส่ไส้ถั่วแดงกวน บ้างก็เป็นถั่วแดงกวนผสมผิวส้มยุสึเพื่อเพิ่มความหอม อีกทั้งแต่ละภูมิภาคยังมีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น แถบคันโตจะปั้นเป็นก้อนกลมเหมือนพระจันทร์ แต่แถบคันไซจะปั้นให้คล้ายเผือกหัวเล็กแล้วหุ้มครึ่งหนึ่งด้วยถั่วแดงกวน ประหนึ่งว่าเป็นพระจันทร์ที่มีเมฆลอยมาบดบัง ซึ่งถือเป็นความงามอีกแบบตามความคิดชาวญี่ปุ่น (สาเหตุที่ปั้นเป็นรูปเผือกหัวเล็ก เพราะพืชชนิดนี้เปรียบเหมือนตัวแทนของการเก็บเกี่ยวประจำฤดูใบไม้ร่วงในสมัยก่อน) ส่วนที่จังหวัดชิซุโอกะจะปั้นให้แบนนิดๆแล้วทำรอยบุ๋มตรงกลางคล้ายสะดือ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “โมจิสะดือ” (へそもち) ในขณะที่จังหวัดโอกินาวะมี “ฟุจะงิโมจิ” (吹上餅) ซึ่งใช้แป้งข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนแบนนำไปนึ่ง โรยหน้าด้วยถั่วแดงต้ม
ทสึคิมิดังโกะแบบคันไซ
ฟุจะคิโมจิ ของโอกินาวะ
ทสึคิมิดังโกะแบบคันโต
จากนั้นจึงนำมาจัดตกแต่งด้วยผักและผลไม้ประจำฤดูใบไม้ร่วง เช่น เกาลัด, ฝักถั่วเหลืองสด, เผือก, ลูกพลับ พร้อมเครื่องเซ่นต่างๆ แล้วนำไปวางไว้ใกล้หน้าต่างหรือที่ระเบียงเพื่ออธิษฐานขอพรจากพระจันทร์
「栗」(Kuri)
「枝豆」(Edamame)
「里芋」(Satoimo)
「柿」(Kaki)
แล้วจัดดอกไม้ฤดูใบไม้ร่วงที่ขึ้นในธรรมชาติมาใส่แจกัน ตัวอย่าง พืชฤดูใบไม้ร่วง 7 ชนิดที่สามารถนำมาบรวงสรวงได้
ด้านบนจะเป็นขนมไหว้พระจันทร์แบบตามธรรมเนียมดังเดิม ทีนี้เรามาดูดีไซด์เก๋ๆ ของขนมไหว้พระจันทร์สมัยนี้กันว่าน่าลิ้มลองรสชาติขนาดไหน
เทศกาลไหว้พระจันทร์เป็นเทศกาลอันดั้งเดิมของประเทศจีน นอกจากการทานขนมไห้วพระจันทร์และส้มโอแล้ว
พระจันทร์ดวงกลม ผู้คนกลมเกลียว ในขณะเดียวกันยังเป็นช่วงเวลาที่คนในครอบครัวมาชุมนุมกันอีกด้วย
ประวัติความเป็นมาของเทศกาลวันไหว้พระจันทร์
"จงชิว " คำนี้ ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในหนังสือโบราณของจีน "โจวหลี่" (หนังสือบันทึกระบบการเมืองราชวงศ์โจว
ระบบมารยาทสังคม และหน้าที่ของข้าราชการ) แต่ไม่ได้อธิบายไว้ว่าเป็นวันไหนของเดือนสิงหาคม
มีนักวิชาการประเพณีพื้นบ้านเชื่อว่าแท้จริงแล้วจงชิวเป็นฤดูการเก็บเกี่ยวสมัยโบราณ
เพราะเดือนสิงหาคมตามทางปฎิทินจันทรคติจีนนั้นเป็นฤดูแห่งการเก็บเกี่ยวในฤดูใบไม้ร่วง
ผู้คนจะกราบไหว้เทพเจ้าที่กัน
มาในสมัยราชวงศ์ถัง เทศกาลไหว้พระจันทร์ถึงได้เปลี่ยนมาเป็นเทศกาลประจำกัน
ตามตำนานเป็นเรื่องราวการละเมอไปยังดวงจันทร์ของหยางกุ้ยเฟย
มาถึงราชวงค์ซ่งเทศกาลไหว้พระจันทร์เริ่มต้นนิยมกว้างขวางขึ้นในหมู่ประชาชน ถึงราชวงศ์หมิง ราชวงศ์ชิง
เทศกาลไหว้พระจันทร์ได้เป็นเช่นเดียวกับวันขึ้นปีใหม่
กลายมาเป็นเทศกาลประเพณีที่สำคัญของประเทศจีนไปแล้ว
เทศกาลไหว้พระจันทร์ของแต่ละประเทศในเอเซีย
เขตเอเซียเป็นเขตที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีน รวมไปถึงญี่ปุ่น เวียดนาม เกาหลีเป็นต้น
ต่างก็มีเทศกาลประเพณีการไหว้พระจันทร์ที่ใกล้เคียงกัน
สำหรับเทศกาลไหว้พระจันทร์ของญี่ปุ่น หรือเทศกาลชมพระจันทร์นั้นมีคำเรียกว่า ทสึกิมิ ( 月見 ออกเสียง สึกิมิ) จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ตามปฏิทินเดิมหรือปฏิทินตามจันทรคติ ทำให้ทุกปีนั้นวันและเดือนของการไหว้พระจันทร์จะเปลี่ยนแปลงไป เทศกาลชมพระจันทร์ของญี่ปุ่นนั้นได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน เกิดขึ้นเมื่อมีขุนนางเป็นผู้ที่นำเข้ามาในช่วงสมัยนาระ-สมัยเฮอัน ในวันขึ้น 15 ค่ำ ไม่ได้มีแค่ขุนนางในวังเท่านั้นที่ชื่นชมพระจันทร์ประชาชนทั่วไปก็มีความเชื่อว่าพลังงานที่มาจากดวงจันทร์จะมีสิ่งลี้ลับที่จะสามารถให้พรที่ขอนั้นเป็นจริงขึ้นมาได้ (บางครั้งคนญี่ปุ่นจะจินตนาการเห็นเงาบนพื้นผิวพระจันทร์นั้นเป็นรูปร่างคล้ายกระต่ายที่กำลังตำขนมโมจิ) โดยส่วนใหญ่ชาวนามักจะไหว้เพื่อแสดงการขอบคุณหลังจากที่ได้เก็บเกี่ยวพืชผลที่อุดมสมบูรณ์ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง โดยส่วนใหญ่ชาวนามักจะขอพรจากดวงจันทร์ให้เก็บเกี่ยวได้ผลผลิตที่ดี พืชผลอุดมสมบูรณ์ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและเพื่อขอพรให้ได้พืชผลที่ดีในปีต่อๆ ไป
โดยในวันนั้นผู้คนจะเฉลิมฉลองด้วยการเตรียมอาหารประจำฤดูใบไม้ร่วงในการบวงสรวงพระจันทร์ คือขนมไหว้พระจันทร์ ซึกิมิ ดังโงะ (月見 団子 tsukimi dango) ขนมที่ทำจากแป้งข้าวเจ้าและน้ำตาล นำไปนึ่งพร้อมปั้นเป็นลูกกลมๆ ส่วนมากก็จะปั้นโมจิทรงกลมทั้งหมด 12 ลูกตาม 12เดือนในหนึ่งปี หรือ 15ลูกตามคำเรียก “คืนที่สิบห้า” หรือบางทีก็เรียกว่า กลางฤดูใบไม้ร่วง (中秋の名月 ออกเสียง จูชู โนะ เมเกะสึ), ซัมโบ (三方, Sanboo/Sanpoo) ถาดไม้ขนาดเล็กที่มีขาตั้ง, ซุซุกิยะฮางิ (すすきや萩, Susuki ya hagi) หญ้าจำพวกหญ้าแขมเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก หรือดอกไม้ประจำฤดูใบไม้ร่วงอื่นๆ ก็ได้
หมายเหตุ
月見 หรือ 中秋の名月 นั้นมีมาตั้งแต่สมัยเฮอัน (อยู่ในช่วง ค.ศ. 794 – ค.ศ. 1185) เป็นเทศกาลชมจันทร์อย่างเแท้จริง แต่ต่อมาถึงสมัยเอโดะ (ค.ศ. 1603 – ค.ศ. 1868) ก็ปรับเปลี่ยนมาเป็นการไหว้ขอบคุณหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตพืชพันธุ์ที่อุดมสมบูรณ์ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงแล้วก็ทำต่อๆกันมาจนเป็นเรื่องปกติในปัจจุบัน
นอกจากนั้นแล้ว ค่ำคืนนี้คนญี่ปุ่นจะเรียกว่า “คืนที่สิบห้า” ออกเสียง จูโกะยะ(十五夜) ซึ่งมีหมายความว่าเป็นคืนที่สิบห้าหลังจากขึ้นปีใหม่ คืนที่สิบห้าจะอยู่ในช่วงเดือนเจ็ดถึงเดือนสิบ (ตามปฏิทินเดิม)
ทุกวันนี้ ขนม “ทสึคิมิดังโกะ” ได้รับการพัฒนาให้มีความหลากหลายมากขึ้น โดยมีการใส่ไส้ถั่วแดงกวน บ้างก็เป็นถั่วแดงกวนผสมผิวส้มยุสึเพื่อเพิ่มความหอม อีกทั้งแต่ละภูมิภาคยังมีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น แถบคันโตจะปั้นเป็นก้อนกลมเหมือนพระจันทร์ แต่แถบคันไซจะปั้นให้คล้ายเผือกหัวเล็กแล้วหุ้มครึ่งหนึ่งด้วยถั่วแดงกวน ประหนึ่งว่าเป็นพระจันทร์ที่มีเมฆลอยมาบดบัง ซึ่งถือเป็นความงามอีกแบบตามความคิดชาวญี่ปุ่น (สาเหตุที่ปั้นเป็นรูปเผือกหัวเล็ก เพราะพืชชนิดนี้เปรียบเหมือนตัวแทนของการเก็บเกี่ยวประจำฤดูใบไม้ร่วงในสมัยก่อน) ส่วนที่จังหวัดชิซุโอกะจะปั้นให้แบนนิดๆแล้วทำรอยบุ๋มตรงกลางคล้ายสะดือ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “โมจิสะดือ” (へそもち) ในขณะที่จังหวัดโอกินาวะมี “ฟุจะงิโมจิ” (吹上餅) ซึ่งใช้แป้งข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนแบนนำไปนึ่ง โรยหน้าด้วยถั่วแดงต้ม
ทสึคิมิดังโกะแบบคันไซ
ฟุจะคิโมจิ ของโอกินาวะ
ทสึคิมิดังโกะแบบคันโต
จากนั้นจึงนำมาจัดตกแต่งด้วยผักและผลไม้ประจำฤดูใบไม้ร่วง เช่น เกาลัด, ฝักถั่วเหลืองสด, เผือก, ลูกพลับ พร้อมเครื่องเซ่นต่างๆ แล้วนำไปวางไว้ใกล้หน้าต่างหรือที่ระเบียงเพื่ออธิษฐานขอพรจากพระจันทร์
「栗」(Kuri)
「枝豆」(Edamame)
「里芋」(Satoimo)
「柿」(Kaki)
แล้วจัดดอกไม้ฤดูใบไม้ร่วงที่ขึ้นในธรรมชาติมาใส่แจกัน ตัวอย่าง พืชฤดูใบไม้ร่วง 7 ชนิดที่สามารถนำมาบรวงสรวงได้
ด้านบนจะเป็นขนมไหว้พระจันทร์แบบตามธรรมเนียมดังเดิม ทีนี้เรามาดูดีไซด์เก๋ๆ ของขนมไหว้พระจันทร์สมัยนี้กันว่าน่าลิ้มลองรสชาติขนาดไหน
Posted by mod at 20:31│Comments(0)
Information
S | M | T | W | T | F | S |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
カテゴリ
最近の記事
ช่วงไดเอท กินอะไรดี (3/23)
ヨン様はもう卒業したの! (2/16)
เทียบความอึ๋มขณะแช่ออนเซน (1/26)
หมึก....บิน (1/25)
学童保育 กิจกรรมหลังเลิกเรียน (1/18)
過去記事
最近のコメント
Slotpark-Doops / 押し競饅頭 Oshikura Manju
Eugenepar / ตุ๊กตากระดาษ Paper Dolls
Jamescar / ตุ๊กตากระดาษ Paper Dolls
Jimmiethalt / ตุ๊กตากระดาษ Paper Dolls
JacquesexAmy / ตุ๊กตากระดาษ Paper Dolls
お気に入り
ブログ内検索
QRコード
アクセスカウンタ
読者登録
プロフィール
mod