インバウンドでタイ人を集客! 事例多数で万全の用意 [PR]
ナムジャイブログ
ブログポータルサイト「ナムジャイ.CC」 › 日本が好き › SUMO

2015年09月11日

SUMO

ทริปท่องเที่ยวญี่ปุ่นที่น่าสนใจอย่างหนึ่งในเดือนกันยายนก็คือ การแข่งขันซูโม่ ปะจำฤดูใบไม้ร่วง
ถือเป็นทัวร์นาเมนท์สุดท้ายของปี จึงเป็นการแข่งขันที่ยาวนานมาก เพราะเริ่มจัดตั้งแต่เช้าสิ้นสุด 6 โมงเย็น 13-27 กันยายน ที่โตเกียว

SUMO


ซูโม่ถือว่าเป็นกีฬาประจำชาติของญี่ปุ่น โดยจะมีนักซูโม่ตัวใหญ่ๆ แข่งกันกันอย่างดุดัน ซึ่งกฎกติกาของซูโม่นั้นเข้าใจง่ายแม้จะดูเป็นครั้งแรก คือใครถูกดันออกนอกวงกลมก่อนถือว่าแพ้ และที่สถานที่จัดซูโม่ จะมีข้าวกล่องเบนโต ไก่ปิ้งรวมทั้งเหล้าสาเกจำหน่าย ดงนั้นจึงสามารถทานอาหารพร้อมทั้งชมการแข่งขันซูโม่แบบสบายๆ ซึ่งนับว่าเป็นความสุขอย่างหนึ่งในการชมซูโม่

SUMO

สถานที่จัดแข่งขันซูโม่จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ทั้งในโตเกียว โอซาก้า นาโงย่า คิวชู โดยจะจัดแข่งขันทุกเดือนที่เป็นเลขคี่ หนึ่งครั้งใช้เวลา 15 วัน ถ้าใครมีโอกาสไปเที่ยวญี่ปุ่นในเดือนที่มีการแข่งซูโม่ ขอแนะนำให้ลองไปดูกัน
ตั๋ว : มีสองแบบ แบบสำหรับ 4 คน และ แบบสำหรับ 1คน
ราคา : แบบสำหรับ 4 คน ราคา 36,800 เยน แบบสำหรับ 1 คน ราคา 3,600 เยน
วิธีการซื้อตั๋ว : ซื้อผ่านอินเตอร์เน็ตหรือบริษัททัวร์ต่างๆ


ทีนี้เรามาดูประวัติของกีฬาซูโม่กัน

SUMO


ซูโม่ คือรูปแบบหนึ่งของมวยปล้ำ เป็นกีฬาที่นักมวยปล้ำ (ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า Rikishi) ต้องพยายามบังคับให้คู่ต่อสู้ออกจากวงแหวน (ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า Dohyo) หรือบังคับให้ส่วนอื่นของคู่แข่งยกเว้นฝ่าเท้าสัมผัสกับพื้น โดยวงแหวน (Dohyo) จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4.55 เมตร (14.9 ฟุต)และมีพื้นที่ขนาด 16.26 ตารางเมตร (175.0 ตารางฟุต) โดยเป็นสนามแข่งที่ทำจากดินเหนียวผสมทรายและฟางข้าว สนามแข่งจะถูกสร้างขึ้นสำหรับการแข่งขันแต่ละรายการ ตรงกลางวงแหวนจะมีเส้นสีขาว 2 เส้นไว้สำหรับนักกีฬาเตรียมพร้อมปล้ำ โดยนักซูโม่จะอยู่หลังเส้นของตนเอง ย่อเข่าและกำหมัดทั้ง 2 ข้างไว้ที่พื้น (ท่าเตรียม) และอาจมีการติดตั้งหลังคาที่คล้ายกับศาลเจ้าชินโตซึ่งจะแขวนไว้เหนือเวที

SUMO


โดยคู่ปล้ำจะมีรูปร่างอ้วนใหญ่ และจะต้องมีน้ำหนักตัวจะต้องไม่ต่ำกว่า 75 กก.ซูโม่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศเดียวที่มีการฝึกฝนเป็นอาชีพ ประเพณีที่ยึดถือในกีฬาซูโม่นั้นมีความเก่าแก่มาก และยึดถือเป็นแบบปฏิบัติต่อเนื่องกันมาถึงปัจจุบัน เช่น การโปรยเกลืออันเป็นสัญลักษณ์แสดงความบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นประเพณีที่ซูโม่ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในศาสนาชินโต (Shinto) ชีวิตของนักซูโม่ต้องเคร่งครัดในกฎระเบียบที่วางไว้ โดยสมาคมซูโม่ นักกีฬาส่วนใหญ่จะต้องอาศัยอยู่ในค่ายฝึกซูโม่ “Sumo Training Stables” (Heya) ซึ่งชีวิตประจำวันของพวกเขาเหล่านี้จะถูกกำหนดโดยประเพณีที่เข้มงวดตามประวัติศาสตร์และขนบธรรมเนียมของซูโม่ อย่างเช่นอาหารตลอดจนเครื่องแต่งกาย

SUMO


เริ่มแรก ซูโม่เป็นพิธีบูชาเทพพระเจ้าของชาวญี่ปุ่นเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ดี คนญี่ปุ่นเชื่อว่าการปล้ำซูโม่เกิดขึ้นระหว่างทวยเทพ ซูโม่ได้รับการอุปถัมภ์จากราชสำนักในศตวรรษที่ 8 และยังคงเป็นที่นิยมถึงปัจจุบัน ในยุคโชกุนและซามูไร ซูโม่ถูกนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางทหาร ซึ่งนอกจากจะเป็นเครื่องวัดความแข็งแรงในการต่อสู้แล้ว ซูโม่ยังเกี่ยวโยงกับลัทธิชินโตดังจะเห็นได้จากพิธีกรรมการฟ้อนรำที่กล่าวอ้างว่าเป็นการสู้กันระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า (Kami)

ซูโม่ มีการจัดแข่งขันถึง 6 ฤดูกาลต่อ 1 ปี ซึ่งมี 3 ครั้ง ที่โตเกียวและอีก 3 ครั้ง ที่โอซากา และ นาโงย่า และคิวชิว โดยจะจัดในเดือนมกราคม มีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคม กันยายน และพฤศจิกายน โดยแต่ละครั้งใช้เวลานาน 15 วัน ผลของการแข่งขันแต่ละฤดูกาลจะเป็นการวัดอันดับ ระดับซูโม จะแบ่งออกเป็น 4 ระดับ แบ่งเป็นฝ่ายตะวันออกกับฝ่ายตะวันตก ฝ่ายละเท่า ๆ กัน ซูโม่ ที่เข้าสู่ระดับอาชีพอย่างแท้จริง คือ “บันซูเกะ” เรียกว่าระดับ “จูเรียว” ซึ่งได้รับการรับรองและรับเงินเดือนจากสมาคมซูโม มี 26 คน จากตะวันออก 13 คน ตะวันตก 13 คน ซูโม่ทุกคนต้องผ่านการฝึกฝนการพิสูจน์ ตัวเองหลายครั้งหลายหน และต้องผ่านการคัดเลือกจากสำนักซูโม่ มีการฝึกซ้อมที่หนักแต่สิ่งที่ได้รับ คือ วิถีของชายชาตรีหรือเรียกว่า “ผู้พิชิตอุปสรรค” และผู้ที่ก้าวไปถึงตำแหน่ง “โยโกสุนะ” ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดของซูโม่ถือว่าเป็นผู้พิชิตอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ที่สุด จะเป็นผู้ที่มีความทนงที่ยิ่งใหญ่และงดงามไม่มีใครเข้ามาอยู่จุดนี้ได้ง่าย ๆ ต้องฝ่าฟันอุปสรรคมากมายหลายขั้นตอน

SUMO

กติกาซูโม่
การแข่งขันซูโม่ จะไม่มีการแบ่งรุ่นตามน้ำหนัก นักซูโม่ที่ตัวเล็กสุดอาจต้องต่อสู้กับนักซูโม่ที่ตัวใหญ่สุดอย่างช่วยไม่ได้ เป้าหมายของนักซูโม่คือการล้มคู่ต่อสู้ให้ลงไปนอนบนพื้นสังเวียน หรือให้ก้าวเท้าออกไปนอกวงให้ได้ ผู้ชนะการแข่งขันซูโม่ คือ 1. นักมวยปล้ำคนแรกที่บังคับให้ฝ่ายตรงข้ามก้าวออกมาจากวงแหวน หรือ 2. นักมวยปล้ำคนแรกที่บังคับให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายฝ่ายตรงข้ามนอกเหนือจากฝ่าเท้าสัมผัสพื้นดิน และในบางโอกาสผู้ตัดสินอาจให้ชัยชนะแก่นักมวยปล้ำที่สัมผัสพื้นก่อนก็ต่อเมื่อนักซูโม่ทั้งสองสัมผัสพื้นดินแทบจะพร้อมกัน แต่นักซูโม่ที่แตะพื้นทีหลังไม่มีโอกาสชนะหรือหมดทางสู้ เป็นเพราะฝ่ายตรงข้ามเหนือกว่า นักมวยปล้ำที่แพ้ในกรณีนี้เรียกว่า ศพ (Shini-Tai)

นอกจากนี้ยังมีกฎที่ไม่ค่อยได้ใช้แต่สามารถนำมาหาผู้ชนะ อย่างนักมวยปล้ำที่ใช้เทคนิคผิดกติกา (Kinjite) จะถูกปรับแพ้ เช่น การรัดเข็มขัด (Kawashi) ไม่เรียบร้อย หรือ ไม่สามารถมาปรากฏตัวในการแข่งขัน (ซึ่งรวมถึงการบาดเจ็บด้วย) ก็จะถูกปรับแพ้ (Fusenpai) หลังจากประกาศชื่อผู้ชนะ ผู้ตัดสินด้านล่าง (Gyoji) จะระบุถึงเทคนิคที่ใช้เอาชนะ(Kimarite) ในการแข่งขัน ซึ่งจะมีการประกาศให้ผู้ชมรับทราบต่อจากนั้น การแข่งขันยกนึงจะใช้เวลาประมาณ 6วินาที สำหรับข้อห้ามในการแข่งขันนั้นคือ ห้ามโจมตีต่ำกว่าเอวลงไป ช่วงเอวของนักซูโม่จะพันไว้ด้วยผ้าขนมีลักษณะคล้ายเข็มขัดที่เรียกว่า“มาวาชิ” ซึ่งเป็นผ้าแถบแข็งพับทบซ้ำ เพื่อรัดกระชับหน้าท้อง และประคองกระดูกสันหลังส่วนล่างของนักกีฬาที่มีรูปร่างใหญ่และน้ำหนักมาก เพื่อที่จะได้เคลื่อนไหวได้โดยไม่เกิดอันตราย
SUMO

ตำแหน่งในกีฬาซูโม่ก็เริ่มจาก “โยโคะสึนะ”–>”โอเซกิ”–>”มาคุโนะอุจิ”–>”เซกิวาเกะ”–>”โคมุซูบิ”–>”มาเอะกะชิระ (นักซูโม่ธรรมดา)” นักซูโม่ที่ทำ”คาจิโกชิ (ชนะได้8/15ยก)”จะได้เลื่อนขึ้นโดยอัตโนมัติ แต่ถ้าเกิด”มาเคะโกชิ (แพ้8/15ยก)” ก็จะถูกลดระดับลงเช่นกัน

ถ้ามีโอกาส อยากจะไปดูสักครั้งหนึ่ง



Posted by mod at 20:20│Comments(0)
上の画像に書かれている文字を入力して下さい
 
<ご注意>
書き込まれた内容は公開され、ブログの持ち主だけが削除できます。