インバウンドでタイ人を集客! 事例多数で万全の用意 [PR]
ナムジャイブログ
ブログポータルサイト「ナムジャイ.CC」 › 日本が好き › 敬老の日

2015年09月22日

敬老の日

ถ้าให้พวกเราลองคิดดูว่าประเทศไหนที่มีประชากรอายุยืนยาวและมีสุขภาพดีที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของโลก หลายคนคงนึกถึงประเทศญี่ปุ่นใช่มัยค่ะ ฉันเองก็คิดเช่นนั้น

敬老の日


ญี่ปุ่นนับเป็นประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับประชากรผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก ส่วนหนึ่งก็เพราะรัฐบาลตระหนักถึงจำนวนประชากรเด็กที่ลดต่ำลงขัดกับผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ และอยากให้คนส่วนใหญ่ที่แยกออกมาอยู่อาศัยเป็นครอบครัวเดี่ยวมีโอกาสกลับไปเยี่ยมพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ที่ตนเคารพรักในวันสำคัญ จึงกำหนดให้มี วันเคารพผู้สูงอายุ เรียกว่า เคโร โนะ ฮิ(敬老の日) ซึ่งเดิมตรงกับวันที่ 15 กันยายน และเป็นวันหยุดราชการมาตั้งแต่ปี 1966 ก่อนที่ปัจจุบันจะกำหนดให้ตรงกับวันจันทร์ที่ 3 ของเดือนกันยายนของทุกปี

敬老の日

ภาษาญี่ปุ่นเรียกวันนี้ว่า

敬老の日(けいろうのひ)
keiroo no hi

แปล:วันเคารพผู้สูงอายุ

ซึ่งคันจินี้มาจากความหมายของสองคำนี้

尊敬(そんけい)ความเคารพ

老人(ろうじん)ผู้อาวุโส

นอกจากวันเคารพผู้สูงอายุแล้ว ประเทศญี่ปุ่นยังให้ความสำคัญกับการจัดงานฉลองเพื่อการมีอายุยืนยาวของผู้สูงอายุในช่วงวัยต่าง ๆ ด้วย ไม่เพียงแต่ฉลองการมีอายุยืนยาวให้กับผู้ที่มีอายุครบ 60 ปี และ 70 ปี ตามอย่างประเพณีของจีนเท่านั้น แต่ยังฉลองเมื่ออายุครบ 77 ปี 88 ปี และ 99 ปีด้วย เนื่องจากเลขซ้อนนี้เป็นที่นิยมในญี่ปุ่น เพราะเชื่อกันว่าจะมีโชคลาภเป็นสองเท่าในปีดังกล่าวด้วยดังนี้

☺ ครบรอบ 60 ปี เรียกว่า คันเรกิ (還暦 : 還 = กลับ 暦 = ปฏิทิน)
หมายถึง การเวียนมาบรรจบของปีนักษัตรที่เป็นปีเกิดของตนเองหลังจากอายุครบ 60 ปี

☺ ครบรอบ 70 ปี เรียกว่า โคกิ (古稀 : 古 = เก่า แก่ 稀 = หายาก)
มาจากการเปรียบเปรยว่า ในสมัยโบราณคนที่จะมีอายุยืนยาวถึง 70 ปีนั้นมีน้อย

☺ ครบรอบ 77 ปี เรียกว่า คิจุ (喜寿)
แปลตรงตัวว่า การฉลองอย่างปิติยินดี เนื่องจากตัวอักษร 喜 เมื่อเขียนหวัด ๆ จะคล้ายกับตัวอักษร 㐂 ที่เป็นเลข 7 (七) ซ้อนกัน

☺ ครบรอบ 80 ปี เรียกว่า ซันจุ (傘寿)
แปลตรงตัวว่า การฉลองร่ม เพราะอักษรคันจิของเลข 80 (八十) เขียนหวัด ๆ จะคล้ายกับตัวอักษร 仐 à 傘 หมายถึง ร่ม

☺ วันครบรอบ 99 ปี เรียกว่า ฮากุจุ (白寿)
แปลตรงตัวว่า งานฉลองสีขาว เพราะถ้าลบเส้นนอนด้านบนสุดจากตัวอักษร 百 ที่หมายถึง 100 ออกก็จะกลายเป็นตัวอักษร 白 ที่หมายถึง สีขาว

ในงานฉลองเพื่อการมีอายุยืนยาว ลูกหลานจะให้ผู้สูงอายุใส่เสื้อที่เรียกว่า ชันชังโกะ (ちゃんちゃんこ)
และหมวกที่เข้ากับเสื้อสีต่าง ๆ

敬老の日


ได้แก่ 60 ปี สีแดง 70 และ 77 ปี สีม่วง 80 ปี สีเหลือง (ทอง) และ 99 ปี สีขาว
พร้อมพัดสีขาว เพื่อไปงานเลี้ยงฉลองวันเกิดของตนตามช่วงวัย

敬老の日

敬老の日


70 และ 77 ปี สีม่วง

敬老の日

敬老の日


80 ปี สีเหลือง (ทอง)

敬老の日

ฉันได้ลองไปดูข้อมูลของวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ทำการวิจัยและเก็บข้อมูลของคนสูงอายุมาค่ะ

อัตราร้อยละของประชากรสูงอายุ (60 ปี+)
ต่อประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น
敬老の日

ปี ค.ศ. 1970 อัตราร้อยละของประชากรผู้สูงอายุ (60+ปี) ต่อประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่นมีร้อยละผู้สูงอายุเพศหญิง 11.5 และผู้สูงอายุเพศชายร้อยละ 9.8 นับเป็นอัตราร้อยละผู้สูงอายุที่สูงที่สุดในทวีปเอเชียในปี ค.ศ. 1970 หลังจากปี ค.ศ. 1995 อัตราร้อยละของประชากรสูงอายุ (60+ปี) ของประเทศญี่ปุ่นจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและค่อยๆ เพิ่มช้าลงหลังปี ค.ศ. 2025 ในปี ค.ศ. 2050 อัตราร้อยละของประชากรสูงอายุเพศหญิงของญี่ปุ่นมีเพิ่มเป็นร้อยละ 38.5 และผู้สูงอายุชายเพิ่มเป็นร้อยละ 32.9 นับว่าสูงเป็นอันดับที่สองในทวีปเอเชียรองจากฮ่องกง อัตราร้อยละของผู้สูงอายุเพศหญิงจะมีสูงกว่าผู้สูงอายุเพศชายเสมอ

ที่นี้เราลองมาดูข้อมูลของประเทศไทยกันบ้างนะคะ

อัตราร้อยละของผู้สูงอายุ (60 ปี+)
ต่อประชากรทั้งหมดของประเทศไทย
ปี ค.ศ.1970-2050

敬老の日

อัตราร้อยละของประชากรสูงอายุของประเทศไทยทั้งในอดีตและอนาคตมีลักษณะใกล้เคียงกับประเทศจีน ศรีลังกา คือในอดีตปี ค.ศ. 1970 อัตราร้อยละของผู้สูงอายุเพศหญิงมีร้อยละ 5.2 และเพศชายมีร้อยละ 4.4 ในปี ค.ศ. 1995 อัตราร้อยละของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเล็กน้อยคือเพศหญิงเพิ่มเป็นร้อยละ 8.4 เพศชายเพิ่มเป็นร้อยละ 6.8 หลังจากปี ค.ศ. 1995 เป็นต้นไป คือช่วงปี ค.ศ. 1995-2025 และช่วงปี ค.ศ. 2025-2050 จะเพิ่มขึ้นประมาณหนึ่งเท่าตัวทั้งสองช่วง โดยในปี ค.ศ. 2025 อัตราร้อยละของผู้สูงอายุเพศหญิงจะเพิ่มเป็นร้อยละ 18.0 และเพศชายเป็นร้อยละ 14.6 และในปี ค.ศ. 2050 ผู้สูงอายุเพศหญิงจะเพิ่มเป็นร้อยละ 26.9 และผู้สูงอายุเพศชายจะเพิ่มเป็นร้อยละ 22.7

ดูไปแล้วประเทศไทยก็มีอัตราผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วไม่แพ้กันเลยนะคะ แต่ประเทศไทยจะมีระบบการจัดการรองรับดูแลผู้สูงอายุได้ดีหรือเปล่านั้นก็ต้องค่อยๆ ดูกันไปนะคะ จากแหล่งข่าวเมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม ปีนี้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้เดินทางเข้าร่วมการประชุมระดับนโยบายด้านคนพิการ และผู้สูงอายุ ณ ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 12-16 พฤษภาคม 2558 ได้พบปะแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์กับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายของกระทรวง เช่น การดูแลผู้สูงอายุและคนพิการ การจัดสวัสดิการสังคม ได้เห็นการจัดระบบงานต่าง ๆ ตลอดจนเห็นความมุ่งมั่น ความตั้งใจทำงานของคนญี่ปุ่น และประเด็นการขยายอายุการเกษียณจาก 60 ปี เป็น 65 ปี ซึ่งตนเองเห็นด้วย เนื่องจากเป็นการเพิ่มคุณค่าและโอกาสให้ผู้สูงอายุ ที่เป็นคลังความรู้และมีกำลังสามารถปฏิบัติงานเพื่อสังคมได้ จึงอยากนำนโยบายนี้มาปรับใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานด้านผู้สูงอายุและคนพิการ ของกระทรวงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป


Posted by mod at 20:08│Comments(0)
上の画像に書かれている文字を入力して下さい
 
<ご注意>
書き込まれた内容は公開され、ブログの持ち主だけが削除できます。