› 日本が好き › 2016年02月
2016年02月12日
"わたしの失敗" ในพิธีศพ
สวัสดี วันศุกร์ สุขสันต์นะคะ
วันก่อนกำลังเตรียมสอนนักเรียน ก็พบกับแบบฝึกการอ่านภาษาญี่ปุ่นเรื่องหนึ่ง ชื่อว่า "私の失敗"
ก็เป็นเรื่องความผิดพลาดของคนต่างชาติที่ไปใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่น ซึ่งฉันเองก็มีประสบการณ์ตรงหลายเรื่องค่ะ ล้วนแต่น่าอายทั้งนั้น แต่วันนี้ของนำเรื่องในแบบฝึกการอ่านมาให้ดูเรื่องหนึ่งก่อนนะคะ
"わたしの失敗"
課長のお母さんのお葬式がありました。わたしも会社の人といっしょにお葬式に行きました。人がたくさん並んでいました。 みんな写真の前で頭をさげて、手でなにか口に入れていました。
わたしの番になりました。台の上に粉がありました。あまりいいにおいではありませんでしたが、日本の習慣だと思って、食べてしまいました。
まずかったです。あとで友達があれは食べ物じゃないと教えてくれました。
เรื่องนี้เป็นเรื่องความเข้าใจผิดของคนต่างชาติในการเข้าร่วมพิธีงานศพ ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า "お葬式" (Osooshiki) คือเขาได้ไปร่วมงานศพของคุณแม่หัวหน้างานพร้อมกับเพื่อนที่บริษัท แต่เห็นว่ามีคนยืนเรียงแถวรออยู่เยอะ แล้วก็เห็นว่าทุกคนยืนคำนับหน้ารูปถ่าย แล้วเอาอะไรสักอย่างที่อยู่ในมือใส่เขาไปในปาก
พอถึงตาเขาที่ต้องเข้าไปเคารพศพ เห็นมีผงอะไรสักอย่างอยู่บนแท่น กลิ่นก็ไม่ค่อยหอมเท่าไร แต่คิดว่าเป็นประเพณีของคนญี่ปุ่น ก็เลยหยิบใส่ปากทานเข้าไป
รสชาติแย่มากเลย แต่มาทราบภายหลังจากเพื่อนว่านั่นไม่ใช่ของกิน ตายจริง แล้วมันคืออะไรล่ะ
ลองทายกันดูนะคะ
ติ๊กตอก ติ๊กตอก
เฉลยเลยก็แล้วกันค่ะ
นั่นก็คือผงกำยานนั่นเอง
จริงๆ แล้วเขาไม่ได้ให้ทานนะคะ ตามประเพณีของญี่ปุ่นเขา หลังจากทำความเคารพพระและครอบครัวผู้ตายแล้ว ให้เดินไปหน้าแท่นบูชาเพื่อเคารพรูปผู้ตาย 1 ครั้ง โดยถือลูกประคำไว้ที่มือซ้าย
ใช้มือขวาหยิบกำยานผง ก้มศีรษะเล็กน้อย ยกกำยานขึ้นมาในระดับสายตาแล้วคำนับ ใช้มือขวาหยิบธูปขึ้นมา 1 ดอก จุดธูปด้วยเทียน เสร็จแล้วให้โรยกำยานลงในกระถาง 1 หรือ 3 ครั้ง ถ้ามีคนรอต่อแถวยาว ให้โรยแค่ 1 ครั้งพอ แล้วปักธูปลงในกระถาง
ฉันคิดว่าตอนช่วงที่ยกกำยานขึ้นคำนับ คนต่างชาติคงมองเห็นไม่ชัดก็เลยคิดว่าคนญี่ปุ่นหยิบใส่ปากสินะ น่าสงสารจัง
วันก่อนกำลังเตรียมสอนนักเรียน ก็พบกับแบบฝึกการอ่านภาษาญี่ปุ่นเรื่องหนึ่ง ชื่อว่า "私の失敗"
ก็เป็นเรื่องความผิดพลาดของคนต่างชาติที่ไปใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่น ซึ่งฉันเองก็มีประสบการณ์ตรงหลายเรื่องค่ะ ล้วนแต่น่าอายทั้งนั้น แต่วันนี้ของนำเรื่องในแบบฝึกการอ่านมาให้ดูเรื่องหนึ่งก่อนนะคะ
"わたしの失敗"
課長のお母さんのお葬式がありました。わたしも会社の人といっしょにお葬式に行きました。人がたくさん並んでいました。 みんな写真の前で頭をさげて、手でなにか口に入れていました。
わたしの番になりました。台の上に粉がありました。あまりいいにおいではありませんでしたが、日本の習慣だと思って、食べてしまいました。
まずかったです。あとで友達があれは食べ物じゃないと教えてくれました。
เรื่องนี้เป็นเรื่องความเข้าใจผิดของคนต่างชาติในการเข้าร่วมพิธีงานศพ ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า "お葬式" (Osooshiki) คือเขาได้ไปร่วมงานศพของคุณแม่หัวหน้างานพร้อมกับเพื่อนที่บริษัท แต่เห็นว่ามีคนยืนเรียงแถวรออยู่เยอะ แล้วก็เห็นว่าทุกคนยืนคำนับหน้ารูปถ่าย แล้วเอาอะไรสักอย่างที่อยู่ในมือใส่เขาไปในปาก
พอถึงตาเขาที่ต้องเข้าไปเคารพศพ เห็นมีผงอะไรสักอย่างอยู่บนแท่น กลิ่นก็ไม่ค่อยหอมเท่าไร แต่คิดว่าเป็นประเพณีของคนญี่ปุ่น ก็เลยหยิบใส่ปากทานเข้าไป
รสชาติแย่มากเลย แต่มาทราบภายหลังจากเพื่อนว่านั่นไม่ใช่ของกิน ตายจริง แล้วมันคืออะไรล่ะ
ลองทายกันดูนะคะ
ติ๊กตอก ติ๊กตอก
เฉลยเลยก็แล้วกันค่ะ
นั่นก็คือผงกำยานนั่นเอง
จริงๆ แล้วเขาไม่ได้ให้ทานนะคะ ตามประเพณีของญี่ปุ่นเขา หลังจากทำความเคารพพระและครอบครัวผู้ตายแล้ว ให้เดินไปหน้าแท่นบูชาเพื่อเคารพรูปผู้ตาย 1 ครั้ง โดยถือลูกประคำไว้ที่มือซ้าย
ใช้มือขวาหยิบกำยานผง ก้มศีรษะเล็กน้อย ยกกำยานขึ้นมาในระดับสายตาแล้วคำนับ ใช้มือขวาหยิบธูปขึ้นมา 1 ดอก จุดธูปด้วยเทียน เสร็จแล้วให้โรยกำยานลงในกระถาง 1 หรือ 3 ครั้ง ถ้ามีคนรอต่อแถวยาว ให้โรยแค่ 1 ครั้งพอ แล้วปักธูปลงในกระถาง
ฉันคิดว่าตอนช่วงที่ยกกำยานขึ้นคำนับ คนต่างชาติคงมองเห็นไม่ชัดก็เลยคิดว่าคนญี่ปุ่นหยิบใส่ปากสินะ น่าสงสารจัง
Posted by mod at
14:17
│Comments(0)
2016年02月11日
"お見舞金" (omimaikin) เงินเยี่ยมไข้
สวัสดี วันพฤหัส สีแสดค่ะ
ช่วงนี้อากาศเดี๋ยวเย็นเดี๋ยวร้อน ทำให้ไม่สบายได้ง่ายนะคะ ทุกคนรักษาสุขภาพด้วยนะคะ
แต่ถ้าไม่สบายก็ต้องไปหาคุณหมอ และพักผ่อนเยอะๆ ค่ะ
กรณีที่เราเป็นฝ่ายต้องไปเยี่ยมไข้เพื่อนหรือคนรู้จักนั้น คนไทยอาจจะอยู่ๆ ไปเยี่ยมเลย แต่สำหรับมารยาทการเยี่ยมไข้ของคนญี่ปุ่นนั้น เราต้องคำนึงถึงผู้ป่วยเป็นสำคัญนะคะ ไม่ว่าจะการจังหวะไปเยี่ยมหรือของเยี่ยมไข้
อย่างถ้าเพื่อนผ่าตัด ก็ไม่ควรไปช่วงก่อนหรือหลังผ่าตัดนะคะ ให้สอบถามคนในครอบครัวเขาก่อนว่าสะดวกมัย ควรไปเยี่ยมตอนที่ฟื้นตัวแล้วจะดีกว่า
ตอนไปเยี่ยมก็ไม่ควรส่งเสียงดัง แล้วก็ควรใช้เวลาเยี่ยมไข้แค่ 15 นาทีแล้วลากลับ ผู้ป่วยจะได้พักผ่อน
ของเยี่ยมไข้นั้น ในการเข้าโรงพยาบาลแต่ละครั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก ของเยี่ยมไข้ที่เป็นเงินจึงช่วยได้มาก ถ้าใส่ซองสวยๆ แล้วส่งไปพร้อมกับการ์ดอวยพรก็จะยิ่งสร้างความประทับใจ แต่ถ้าสำหรับผู้อาวุโสกว่า การให้เงินถือว่าเป็นการเสียมารยาท NG! นะคะ
เงินเยี่ยมไข้ ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า "お見舞金" (omimaikin) โดยทั่วไปจะอยู่ในราวๆ 3,000-5,000 เยน ควรใส่ในซองสีขาวหรือซองสีอ่อนๆ แล้วเขียนที่หน้าซองว่า "お見舞い" (omimai) ผุ้ที่ได้รับเงินนี้ เมื่อหายแล้ว มักจะส่งของขวัญแทนคำขอบคุณในมูลค่าครึ่งหนึ่งของเงินที่ได้เพื่อ "ฉลองการฟื้นไข้" ประมาณว่า ไชโย! ฉันหายแล้ว
หรือถ้าให้เป็นของล่ะก็ ขอให้เป็นของที่เป็นประโยชน์กับการใช้ชีวิตในโรงพยาบาล เช่นผ้าขนหนู บัตรโทรศัพท์ หรือของที่ช่วยให้พักผ่อนสบาย เช่นผ้าปิดตา เพราะบางคนอาจรู้สึกกังวล นอนไม่ค่อยหลับ หรือจะเป็นของพวกนิตยสารหรือหนังสือรวมภาพก็ได้นะคะ จะช่วยเปลี่ยนบรรยากาศและทำให้เกิดความสนุกสนาน
ของที่ NG! อย่างเช่นดอกไม้สีหม่น จะยิ่งทำให้เศร้าเข้าไปใหญ่ ดอกไม้ที่มีกลิ่นฉุน กระถางต้นไม้ (มันจะสื่อความหมายว่าต้องนอนอยู่กับที่อีกนาน) เป็นต้น
ช่วงนี้อากาศเดี๋ยวเย็นเดี๋ยวร้อน ทำให้ไม่สบายได้ง่ายนะคะ ทุกคนรักษาสุขภาพด้วยนะคะ
แต่ถ้าไม่สบายก็ต้องไปหาคุณหมอ และพักผ่อนเยอะๆ ค่ะ
กรณีที่เราเป็นฝ่ายต้องไปเยี่ยมไข้เพื่อนหรือคนรู้จักนั้น คนไทยอาจจะอยู่ๆ ไปเยี่ยมเลย แต่สำหรับมารยาทการเยี่ยมไข้ของคนญี่ปุ่นนั้น เราต้องคำนึงถึงผู้ป่วยเป็นสำคัญนะคะ ไม่ว่าจะการจังหวะไปเยี่ยมหรือของเยี่ยมไข้
อย่างถ้าเพื่อนผ่าตัด ก็ไม่ควรไปช่วงก่อนหรือหลังผ่าตัดนะคะ ให้สอบถามคนในครอบครัวเขาก่อนว่าสะดวกมัย ควรไปเยี่ยมตอนที่ฟื้นตัวแล้วจะดีกว่า
ตอนไปเยี่ยมก็ไม่ควรส่งเสียงดัง แล้วก็ควรใช้เวลาเยี่ยมไข้แค่ 15 นาทีแล้วลากลับ ผู้ป่วยจะได้พักผ่อน
ของเยี่ยมไข้นั้น ในการเข้าโรงพยาบาลแต่ละครั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก ของเยี่ยมไข้ที่เป็นเงินจึงช่วยได้มาก ถ้าใส่ซองสวยๆ แล้วส่งไปพร้อมกับการ์ดอวยพรก็จะยิ่งสร้างความประทับใจ แต่ถ้าสำหรับผู้อาวุโสกว่า การให้เงินถือว่าเป็นการเสียมารยาท NG! นะคะ
เงินเยี่ยมไข้ ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า "お見舞金" (omimaikin) โดยทั่วไปจะอยู่ในราวๆ 3,000-5,000 เยน ควรใส่ในซองสีขาวหรือซองสีอ่อนๆ แล้วเขียนที่หน้าซองว่า "お見舞い" (omimai) ผุ้ที่ได้รับเงินนี้ เมื่อหายแล้ว มักจะส่งของขวัญแทนคำขอบคุณในมูลค่าครึ่งหนึ่งของเงินที่ได้เพื่อ "ฉลองการฟื้นไข้" ประมาณว่า ไชโย! ฉันหายแล้ว
หรือถ้าให้เป็นของล่ะก็ ขอให้เป็นของที่เป็นประโยชน์กับการใช้ชีวิตในโรงพยาบาล เช่นผ้าขนหนู บัตรโทรศัพท์ หรือของที่ช่วยให้พักผ่อนสบาย เช่นผ้าปิดตา เพราะบางคนอาจรู้สึกกังวล นอนไม่ค่อยหลับ หรือจะเป็นของพวกนิตยสารหรือหนังสือรวมภาพก็ได้นะคะ จะช่วยเปลี่ยนบรรยากาศและทำให้เกิดความสนุกสนาน
ของที่ NG! อย่างเช่นดอกไม้สีหม่น จะยิ่งทำให้เศร้าเข้าไปใหญ่ ดอกไม้ที่มีกลิ่นฉุน กระถางต้นไม้ (มันจะสื่อความหมายว่าต้องนอนอยู่กับที่อีกนาน) เป็นต้น
Posted by mod at
12:47
│Comments(0)
2016年02月10日
Musubimaru รับหนังสือขอบคุณจากไปรษณีย์ญี่ปุ่น
สวัสดี วันพุธค่ะ
เพื่อนๆ รู้จักตัวมาสคอตกันมัยคะ สำหรับญี่ปุ่นแล้วเขาจะมีมาสคอตประจำจังหวัดกันเลย จะเป็นตัวคาแรกเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดต่างๆ อย่างจังหวัดมิยางิเขาจะมีมาสคอตแสนน่ารักชื่อว่า “Musubimaru” 「むすび丸」 หรือเจ้าหนูข้าวปั้น (Rice Ball Boy) เปิดตัวครั้งแรกในปี ค.ศ.2008 ลักษณะเด่นจะอยู่ตรงส่วนหัวที่เป็นก้อนข้าวปั้นขนาดใหญ่ คำว่า “Musubi” นั่นก็คือข้าวปั้น ซึ่งทำมาจากข้าวที่เกี่ยวได้ในจังหวัดมิยางิซึ่งเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่เป็นแหล่งปลูกข้าวพันธ์ดีในญี่ปุ่น Musubimaru จะสวมใส่ชุดเกราะซามูไร แล้วสวมหมวกที่มีเครื่องหมายเป็นพระจันทร์เสี้ยว พกดาบเป็นอาวุธที่เป็นสัญลักษณ์ของท่าน Date
Musubimaru เป็นขุนศึกซามูไรผู้เลี่ยงชื่อแห่งเมืองเซนได จังหวัดมิยางิ เป็นการแสดงออกถึงความอุดมสมบูรณ์ทางอาหารและวัฒนธรรมของจังหวัดมิยางิได้เป็นอย่างดี
Musubimaru เกิดเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2007 มีนิสัยรักเด็กๆ และชอบทานปลาซัมมะ ชอบนอนกลางวันและแช่ออนเซน โดยปกติ Musubimaru มักจะไปโชว์ตัวตามงานเทศกาลและสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เพื่อช่วยโปรโมทจังหวัด กับสโลแกนประจำตัวที่ว่า “ฉันจะต้อนรับคุณด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ”
แล้วปีนี้เจ้า Musubimaru ก็เป็นลายบนไปรษณียบัตรอวยพรปีใหม่ที่มียอดการสั่งซื้อผ่านบนอินเตอร์เน็ตของสำนักงานไปรษณีย์ญี่ปุ่นเป็นอันดับ 1 ประจำปี 2016 ด้วย โดยเมื่อวันที่ 8 ก.พ.ที่ผ่านมา Musubimaru ได้เข้ารับหนังสือแสดงความขอบคุณจากสำนักงานไปรษณีย์ญี่ปุ่น แล้วในพิธีมอบรางวัลนั้น คุณ Honma Yukihito ซึ่งเป็นผู้อำนวยการภูมิภาคโทโฮคุได้ผูกเนคไทที่ออกแบบเป็นลาย Musubimaru มาร่วมงานด้วย แล้วยังได้กล่าวขอบคุณสำหรับการร่วมแรงร่วมใจในการจำหน่ายไปรษณียบัตรอวยพรปีใหม่ แสดงว่า Musubimaru ได้รับการต้อนรับและสนับสนุนจากคนทั่วทั้งประเทศ จึงน่าจะช่วยประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวมิยางิสำหรับปีนี้ได้เป็นอย่างดี
เพื่อนๆ รู้จักตัวมาสคอตกันมัยคะ สำหรับญี่ปุ่นแล้วเขาจะมีมาสคอตประจำจังหวัดกันเลย จะเป็นตัวคาแรกเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดต่างๆ อย่างจังหวัดมิยางิเขาจะมีมาสคอตแสนน่ารักชื่อว่า “Musubimaru” 「むすび丸」 หรือเจ้าหนูข้าวปั้น (Rice Ball Boy) เปิดตัวครั้งแรกในปี ค.ศ.2008 ลักษณะเด่นจะอยู่ตรงส่วนหัวที่เป็นก้อนข้าวปั้นขนาดใหญ่ คำว่า “Musubi” นั่นก็คือข้าวปั้น ซึ่งทำมาจากข้าวที่เกี่ยวได้ในจังหวัดมิยางิซึ่งเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่เป็นแหล่งปลูกข้าวพันธ์ดีในญี่ปุ่น Musubimaru จะสวมใส่ชุดเกราะซามูไร แล้วสวมหมวกที่มีเครื่องหมายเป็นพระจันทร์เสี้ยว พกดาบเป็นอาวุธที่เป็นสัญลักษณ์ของท่าน Date
Musubimaru เป็นขุนศึกซามูไรผู้เลี่ยงชื่อแห่งเมืองเซนได จังหวัดมิยางิ เป็นการแสดงออกถึงความอุดมสมบูรณ์ทางอาหารและวัฒนธรรมของจังหวัดมิยางิได้เป็นอย่างดี
Musubimaru เกิดเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2007 มีนิสัยรักเด็กๆ และชอบทานปลาซัมมะ ชอบนอนกลางวันและแช่ออนเซน โดยปกติ Musubimaru มักจะไปโชว์ตัวตามงานเทศกาลและสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เพื่อช่วยโปรโมทจังหวัด กับสโลแกนประจำตัวที่ว่า “ฉันจะต้อนรับคุณด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ”
แล้วปีนี้เจ้า Musubimaru ก็เป็นลายบนไปรษณียบัตรอวยพรปีใหม่ที่มียอดการสั่งซื้อผ่านบนอินเตอร์เน็ตของสำนักงานไปรษณีย์ญี่ปุ่นเป็นอันดับ 1 ประจำปี 2016 ด้วย โดยเมื่อวันที่ 8 ก.พ.ที่ผ่านมา Musubimaru ได้เข้ารับหนังสือแสดงความขอบคุณจากสำนักงานไปรษณีย์ญี่ปุ่น แล้วในพิธีมอบรางวัลนั้น คุณ Honma Yukihito ซึ่งเป็นผู้อำนวยการภูมิภาคโทโฮคุได้ผูกเนคไทที่ออกแบบเป็นลาย Musubimaru มาร่วมงานด้วย แล้วยังได้กล่าวขอบคุณสำหรับการร่วมแรงร่วมใจในการจำหน่ายไปรษณียบัตรอวยพรปีใหม่ แสดงว่า Musubimaru ได้รับการต้อนรับและสนับสนุนจากคนทั่วทั้งประเทศ จึงน่าจะช่วยประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวมิยางิสำหรับปีนี้ได้เป็นอย่างดี
Posted by mod at
19:31
│Comments(0)
2016年02月09日
เสื้อติดเซ็นเซอร์จับการเคลื่อนไหวของร่างกาย
สวัสดี วันอังคารที่อากาศเย็นสบายค่ะ
เมื่อวันก่อนได้รับข่าวจากเพื่อนคนหนึ่งว่า คุณแม่เขาหกล้ม แล้วกระดูกข้อมือหัก แต่ตอนนั้นไม่มีใครอยู่บ้านเลย กว่าจะติดต่อให้คนพาไปโรงพยาบาลก็ผ่านไปกว่า 1 ชั่วโมงแล้ว ซึ่งท่านก็คงต้องทนเจ็บน่าดู ยอมรับว่าสังคมสมัยนี้ เรามีผู้สูงอายุเยอะขึ้น แล้วลูกหลานก็ต้องไปทำงาน ทำให้ท่านต้องอยู่บ้านคนเดียว น่าเป็นห่วงจริงๆ
แต่พอได้อ่านข่าวของประเทศญีปุ่นว่า มีบริษัทแห่งหนึ่งชื่อว่า บริษัท 「Xenoma」ที่ตั้งอยู่ในกรุงโตเกียว ได้ผลิตเสื้อที่ติดตัวเซ็นเซอร์กว่า 30 ตัวที่มีความหนาแค่ 0.1 มม.ไว้บนเสื้อได้ เสื้อตัวนี้เรียกกันว่า "E-Skin" เมื่อสวมใส่แล้ว เราสามารถตรวจสอบ การเคลื่อนไหว, การหายใจ , ความดัน, อุณหภูมิของร่างกาย และหน้าที่อื่น ๆ ได้ แล้วไม่ว่าผู้สวมใส่เสื้อจะอยู่ที่ไหนก็ตาม เราสามารถดูการเคลื่อนไหวของเข้าได้ผ่านทางมือถือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้ ทำให้เราสามารถตรวจสอบได้ว่าไม่ได้เกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุใดกับผู้สูงอายุที่อยู่บ้านคนเดียวหรือทารกน้อยได้ ฉันว่ามันน่าสนใจมากเลยทีเดียว
เสื้อ E-Skin สามารถซักทำความสะอาดได้ และมีความคงทนสูง สวมใส่สบายเหมือนการสวมใส่เสื้อผ้าทั่วๆ ไป แล้วอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก็เป็นฉนวนเป็นอย่างดีเมื่อสัมผัสร่างกายจะช่วยปกป้องเราจากเหงื่อและความชื้นได้ด้วย เสื้อ E-Skin จึงช่วยให้คุณใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างสมบูรณ์
ด้วยเทคโนโลยีที่ใช้วงจรที่ยืดหยุ่นได้จึงสามารถวางตัวเซ็นเซอร์ได้ถึง 30 ตัวบนร่างกาย เสื้อ E-Skin จึงเป็นแบบแผนของเสื้อผ้าที่สวมใส่ที่วางจำนวนและตำแหน่งของตัวเซ็นเซอร์ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่
คุณอามิโมริ อิจิโร่ (網盛一郎) ซึ่งเป็น Co-Founder และ CEO ของบริษัทแห่งนี้ได้เล่าให้ฟังว่า “เสื้อตัวนี้สามารถซักทำความสะอาดได้ แล้วก็จะเริ่มวางจำหน่ายในช่วงปลายเดือนมี.ค. ปีหน้า ผมอยากจะทำให้มันเกิดประโยชน์ต่างๆ มากขึ้นด้วย”
ถ้าวางจำหน่ายแล้ว ว่าจะซื้อมาลองใส่สักตัว (ถ้าราคาไม่แพงเกินไปนะคะ)
ใครสนใจก็ลองเข้าไปดูได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=igNaZrnQQdA หรือ https://xenoma.com/
เมื่อวันก่อนได้รับข่าวจากเพื่อนคนหนึ่งว่า คุณแม่เขาหกล้ม แล้วกระดูกข้อมือหัก แต่ตอนนั้นไม่มีใครอยู่บ้านเลย กว่าจะติดต่อให้คนพาไปโรงพยาบาลก็ผ่านไปกว่า 1 ชั่วโมงแล้ว ซึ่งท่านก็คงต้องทนเจ็บน่าดู ยอมรับว่าสังคมสมัยนี้ เรามีผู้สูงอายุเยอะขึ้น แล้วลูกหลานก็ต้องไปทำงาน ทำให้ท่านต้องอยู่บ้านคนเดียว น่าเป็นห่วงจริงๆ
แต่พอได้อ่านข่าวของประเทศญีปุ่นว่า มีบริษัทแห่งหนึ่งชื่อว่า บริษัท 「Xenoma」ที่ตั้งอยู่ในกรุงโตเกียว ได้ผลิตเสื้อที่ติดตัวเซ็นเซอร์กว่า 30 ตัวที่มีความหนาแค่ 0.1 มม.ไว้บนเสื้อได้ เสื้อตัวนี้เรียกกันว่า "E-Skin" เมื่อสวมใส่แล้ว เราสามารถตรวจสอบ การเคลื่อนไหว, การหายใจ , ความดัน, อุณหภูมิของร่างกาย และหน้าที่อื่น ๆ ได้ แล้วไม่ว่าผู้สวมใส่เสื้อจะอยู่ที่ไหนก็ตาม เราสามารถดูการเคลื่อนไหวของเข้าได้ผ่านทางมือถือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้ ทำให้เราสามารถตรวจสอบได้ว่าไม่ได้เกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุใดกับผู้สูงอายุที่อยู่บ้านคนเดียวหรือทารกน้อยได้ ฉันว่ามันน่าสนใจมากเลยทีเดียว
เสื้อ E-Skin สามารถซักทำความสะอาดได้ และมีความคงทนสูง สวมใส่สบายเหมือนการสวมใส่เสื้อผ้าทั่วๆ ไป แล้วอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก็เป็นฉนวนเป็นอย่างดีเมื่อสัมผัสร่างกายจะช่วยปกป้องเราจากเหงื่อและความชื้นได้ด้วย เสื้อ E-Skin จึงช่วยให้คุณใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างสมบูรณ์
ด้วยเทคโนโลยีที่ใช้วงจรที่ยืดหยุ่นได้จึงสามารถวางตัวเซ็นเซอร์ได้ถึง 30 ตัวบนร่างกาย เสื้อ E-Skin จึงเป็นแบบแผนของเสื้อผ้าที่สวมใส่ที่วางจำนวนและตำแหน่งของตัวเซ็นเซอร์ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่
คุณอามิโมริ อิจิโร่ (網盛一郎) ซึ่งเป็น Co-Founder และ CEO ของบริษัทแห่งนี้ได้เล่าให้ฟังว่า “เสื้อตัวนี้สามารถซักทำความสะอาดได้ แล้วก็จะเริ่มวางจำหน่ายในช่วงปลายเดือนมี.ค. ปีหน้า ผมอยากจะทำให้มันเกิดประโยชน์ต่างๆ มากขึ้นด้วย”
ถ้าวางจำหน่ายแล้ว ว่าจะซื้อมาลองใส่สักตัว (ถ้าราคาไม่แพงเกินไปนะคะ)
ใครสนใจก็ลองเข้าไปดูได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=igNaZrnQQdA หรือ https://xenoma.com/
Posted by mod at
15:02
│Comments(0)
2016年02月08日
สุนัขนำทางหรือไกด์ด็อก (Guide Dog)
สวัสดีวันจันทร์ค่ะ วันแรกของการทำงาน
วันอาทิตย์ที่ผ่านมามีโอกาสได้พักผ่อนอ่านหนังสืออยู่บ้าน ได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งที่แนะนำการใช้ชีวิตในญี่ปุ่น
หัวข้อเรื่องเขาเขียนว่า “เมื่อเห็นสุนัขนำทาง “ทำเป็นมองไม่เห็นคือเมตตา” อ่านจั่วหัวแล้วก็งง มันยังไงกัน เห็นแล้วบอกให้ทำเป็นไม่เห็น อะไรกัน?
แต่พออ่านเข้าไปในเนื้อความถึงได้เข้าใจ เมื่อพบเห็นสุนัขนำทางคนตาบอดที่ผูกสายจูงและสวมสายรัดอก หมายถึง สุนัขตัวนั้นกำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ หากเราไปลูบหัว ให้อาหาร ส่งเสียงเรียก หรือคอยจ้องมอง จะทำให้สุนัขเสียสมาธิ และอาจเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อคนตาบอดที่จูงสุนัขนำทางได้
ตอนฉันเรียนที่มหาวิทยาลัย ก็มีอาจารย์ท่านหนึ่งเป็นผู้พิการทางสายตา แล้วท่านก็มีสุนัขนำทางหรือไกด์ด็อก (Guide Dog) ชื่อว่า “เจ้าสกี๊ด" สุนัขสีดำพันธุ์ ลาบราดอร์ รีทรีพเวอร์ (Labrador Retriever) มันเป็นสุนัขที่น่ารักมาก มันสามารถนอนอยู่นิ่งๆ ได้ในขณะที่อาจารย์บรรยาย พลอยทำให้ฉันรู้สึกเกรงใจไปด้วย จะคุยเล่นกับเพื่อนก็อายสุนัขเนอะ
แล้วในวันที่อาจารย์ไม่มีสุนัขนำทางเพราะมันตายไปนั้น อาจารย์ต้องกลับมาใช้ไม้เท้านำทาง อาจารย์แสดงความในใจว่า "สุนัขนำทางพาเราเข้าประตูถูก แต่ถ้าใช้ไม้เท้าต้องกะด้วยความรู้สึก ใช้ไม้เท้าเขี่ย อย่างวันนี้แท็กซี่ส่งไม่ตรงบันไดทำให้ไม่รู้บันไดอยู่ซ้ายหรือขวาต้องใช้ไม้เท้าเขี่ยไปยาวๆ แต่ถ้ามีสุนัขนำทางจะไม่มีปัญหา พอลงแท็กซี่ สุนัขสามารถพาเดินขึ้นบันไดได้ถูกต้องแน่นอน"
เส้นทาง ... กว่าจะมาเป็นสุนัขนำทาง
เส้นทางของสุนัขนำทางต้องผ่านการฝึกและบททดสอบอย่างหนัก สุนัขต้องมีความอดทนสูง ฝึกง่าย และมีใจรักการบริการ ซึ่งสุนัขที่ทำหน้าที่นี้ได้ดีมักจะเป็นสุนัขพันธุ์โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ เยอรมัน เชฟเพิร์ด เกรทเทอร์ สวิสส์ เมาน์เทนด็อก
ตามโรงเรียนฝึกสอนสุนัขจะผสมพันธุ์สุนัขใช้เอง จากนั้นในแต่ละปีจะมีอาสาสมัครนำสุนัขไปฝึกใช้ชีวิตในบ้านชุดละ 30 ตัว ปีละ 10-12 ชุด ซึ่งเมื่อครบกำหนดเวลาก็จะนำมาให้ทางโรงเรียนเพื่อคัดสุนัขตรงตามมาตรฐานที่กำหนด เมื่อประเมินแล้วว่าสุนัขมีความสามารถมาก-น้อยแค่ไหน จึงนำมาฝึกเป็นสุนัขนำทาง ส่วนสุนัขที่ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้จะมีอาสาสมัครนำกลับไปเลี้ยงเป็นสุนัขเฝ้าบ้านต่อไป
สุนัขที่ผ่านเกณฑ์จะถูกนำไปฝึกเพื่อทำหน้าที่สุนัขนำทางเป็นเวลา 6 เดือน และเมื่อครบกำหนดเวลาได้รับการฝึกตามหลักสูตรเรียบร้อย จากนั้นจึงให้ผู้พิการทางสายตาได้ฝึกทำความคุ้นเคยกับสุนัขเป็นเวลา 1 เดือน
ผู้พิการทางสายตาไม่มีสิทธิ์เลือกสุนัข ก่อนที่จะได้สุนัขไปฝึก ครูฝึกจะทำหน้าที่เหมือนสุนัขนำทาง พาเราเดินเป็นเวลา 2-3 วัน เพื่อดูจังหวะการเดินของเราเป็นอย่างไร ความแข็งแรง การต้านทานต่อแรงฉุดกระชากเป็นอย่างไร จากนั้นครูฝึกจะไปพิจารณาดูว่าสุนัขพันธุ์ไหน ตัวไหนเหมาะกับคนไหน
ตลอดระยะเวลา 1 เดือนนั้น ในช่วง 2-3 วันแรกจะทำการทดสอบการใช้คำสั่งบังคับสุนัขภายในโรงเรียน วันต่อมาจึงเคลื่อนย้ายออกไปฝึกในเมืองเล็กๆ
"ครูฝึกบอกแผนที่เมืองให้จินตนาการ อย่างเมืองนี้เป็นบล็อกสี่เหลี่ยม เมื่อเดินไปถึงแยกแรกให้เลี้ยวขวาแล้วกลับมาที่เดิม พอปล่อยให้สุนัขเดินตามบล็อกกลับมาที่เดิมแล้ว ครูฝึกจะเพิ่มปริมาณซอยมากขึ้นมีทั้งฝึกโดยให้รถวิ่งตัดหน้าและเบรกอย่างรวดเร็วตรงหน้าเราพอดี ทดสอบว่าสุนัขจะหยุดและเราจะหยุดตามสุนัขหรือไม่"
ใช้ระยะเวลาเพียง 11 วันก็เป็นที่รู้ผลว่าสุนัขนำทางและเจ้าของสามารถทำความคุ้นเคยกันได้หรือไม่ ใช้เวลา 11 วันก็รู้แล้วว่าสุนัขจะเชื่อฟังเราหรือเปล่า วันแรกๆ แน่นอนว่าสุนัขจะไม่ฟัง แต่ครูฝึกจะสอนวิธีบังคับบัญชาในการเป็นเจ้านาย ให้รางวัลเมื่อสุนัขทำตามคำสั่ง ถ้าเจ้าของสั่งแล้วสุนัขไม่ยอมทำงาน สั่งแล้วมันไม่สนใจก็ต้องเปลี่ยนสุนัขตัวใหม่
สำหรับที่ประเทศญี่ปุ่นนั้นเขาจะมีระบบในการบริจาคน้องหมา โดยจะเลือกสุนัขที่ผูกพันกับเจ้าของ มากกว่าสิ่งเร้ารอบตัว
สุนัขที่นำมาฝึก เป็นสุนัขนำทางได้ดี คือ
(1). สุขภาพพื้นฐานดี
(2). ตอบสนองต่อสิ่งเร้า อย่างพอดี
แล้วก็สุนัขที่ถนัดขวา (right pawed dogs) จะฝึกได้ง่ายกว่าถนัดซ้าย (left pawed dogs)
วิธีดู คือ สุนัขมักจะเดินด้วยขาข้างที่ถนัดก่อน ถ้าถนัดขวา จะยื่นขาขวาออกเดิน เป็นขาแรก
ถ้าให้ของเล่น หรือ อาหาร ถ้าถนัดขวา มักจะยื่นขาขวาไปก่อน แล้วมักจะฝึกเป็นสุนัขนำทางคนตาบอดได้ดีที่สุด
เพราะว่าสุนัขถนัดซ้าย มีความคิดสร้างสรรค์สูง (creative - ครีเอทีฟ) จะชอบเล่นพลิกแพลงและซน จึงไม่เหมาะเป็นสุนัขนำทางที่ต้องมีสมาธิและนิ่ง
ถ้าเพื่อนๆ สนใจเกี่ยวกับสุนัขนำทาง สามารถดูได้จากภาพยนตร์เกี่ยวกับสุนัขที่น่ารักจากญี่ปุ่นเรื่อง Quill หรือ โฮ่ง (ฮับ) เจ้าตัวเนี๊ยซี้ 100% เรื่องราวของความประทับใจ ระหว่างคนตาบอดกับสุนัขนำทางแสนรู้พันธุ์ลาบราดอร์ กำกับโดย Yoichi Sai ผู้กำกับฝีมือเยี่ยมเจ้าของผลงาน All Under The Moon ที่กวาดรางวัลมากถึง 53 รางวัล ภาพยนตร์เรื่องนี้เขียนบทภาพยนตร์โดย Shoichi Maruyama (Rex: A Dinosaur's Story, Double Cross) และ Yoshihiro Nakamura (To Sing of Love) โดยได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องจริง นำแสดงโดย Kaoru Kobayashi (Love Letter), Kippei Shiina (Hana), Teruyuki Kagawa
โฮ่ง(ฮับ) หรือ Quill สร้างจากเรื่องจริงของสุนัขพันธุ์ Labrador Retriever ตัวหนึ่ง ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นสัตว์นำทางคนตาบอดตั้งแต่ลืมตาดูโลก ช่วงหนึ่งปีแรก มันถูกเลี้ยงโดยครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวหนึ่ง ซึ่งให้ความเอ็นดูมันอย่างดียิ่ง มันใช้ชีวิตวัยเด็กในสวนขนาดย่อมหลังบ้าน วิ่งเล่นสนุกสนาน และศึกษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน
จนกระทั่งวันเกิดครบหนึ่งขวบ มันก็จำต้องจากบ้านน้อยหลังนี้ ไปพักที่โรงเรียนฝึกสุนัข ที่นี่มันได้พัฒนาทักษะต่างๆ มีครูฝึกที่เคี่ยวเข็นให้มันมีระเบียบวินัย เพราะในอนาคต มันต้องแบกรับความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่เกินตัว แม้ครูฝึกจะพบว่ามันเป็นสุนัขที่มีพรสวรรค์ แต่ก็ขาดสมาธิในการทำหน้าที่อย่างรุนแรง เขาจึงมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงนิสัยไม่ดีนี้ จนในที่สุด มันก็จบการศึกษา และพร้อมที่จะพบกับคู่หูคนใหม่ ซึ่งก็คือชายตาบอดวัยกลางคนจอมยโส ที่คิดว่าเขาสามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้โดยลำพัง แต่ด้วยอุบัติเหตุแม้จะเพียงเล็กน้อย กลับเกิดขึ้นติดๆ กันหลายครั้ง เขาจึงได้รับการแนะนำให้หัดใช้สุนัขนำทาง ก่อนที่จะเกิดอันตรายร้ายแรง
จากความสัมพันธ์แบบไม่ค่อยราบรื่นนักในช่วงต้น ก็ค่อยๆ คลี่คลายลง และกลายเป็นความผูกพัน ตลอดชีวิตที่เหลือของชายตาบอด ทั้งยังรวมถึงครอบครัว ประกอบด้วยภรรยา ลูกชาย และลูกสาว ซึ่งมีช่วงเวลาสุข เศร้า และประทับใจ ก่อนที่ 16 ปีจะผ่านไป สุนัขนำทางตัวนี้ก็ถูกปลดระวาง และย้ายกลับไปสู่บ้านแรกที่มันเคยถูกเลี้ยง
แล้วเมื่อถึงวันแห่งการจากกับลมหายใจสุดท้าย ภาพเก่าของชีวิตมันก็หวนกลับมาให้รำลึก แม้จะเป็นชีวิตที่เรียบง่ายแต่ก็เปี่ยมไปด้วยคุณค่า การจากไปอย่างสงบ ก็อาจทำให้คนที่อยู่ข้างหลังหลั่งน้ำตา...
ถ้าเพื่อนๆ คนไหนที่เป็นคนรักสุนัข ลองไปดูนะคะ จะซึ้งมากๆ เลยค่ะ
วันอาทิตย์ที่ผ่านมามีโอกาสได้พักผ่อนอ่านหนังสืออยู่บ้าน ได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งที่แนะนำการใช้ชีวิตในญี่ปุ่น
หัวข้อเรื่องเขาเขียนว่า “เมื่อเห็นสุนัขนำทาง “ทำเป็นมองไม่เห็นคือเมตตา” อ่านจั่วหัวแล้วก็งง มันยังไงกัน เห็นแล้วบอกให้ทำเป็นไม่เห็น อะไรกัน?
แต่พออ่านเข้าไปในเนื้อความถึงได้เข้าใจ เมื่อพบเห็นสุนัขนำทางคนตาบอดที่ผูกสายจูงและสวมสายรัดอก หมายถึง สุนัขตัวนั้นกำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ หากเราไปลูบหัว ให้อาหาร ส่งเสียงเรียก หรือคอยจ้องมอง จะทำให้สุนัขเสียสมาธิ และอาจเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อคนตาบอดที่จูงสุนัขนำทางได้
ตอนฉันเรียนที่มหาวิทยาลัย ก็มีอาจารย์ท่านหนึ่งเป็นผู้พิการทางสายตา แล้วท่านก็มีสุนัขนำทางหรือไกด์ด็อก (Guide Dog) ชื่อว่า “เจ้าสกี๊ด" สุนัขสีดำพันธุ์ ลาบราดอร์ รีทรีพเวอร์ (Labrador Retriever) มันเป็นสุนัขที่น่ารักมาก มันสามารถนอนอยู่นิ่งๆ ได้ในขณะที่อาจารย์บรรยาย พลอยทำให้ฉันรู้สึกเกรงใจไปด้วย จะคุยเล่นกับเพื่อนก็อายสุนัขเนอะ
แล้วในวันที่อาจารย์ไม่มีสุนัขนำทางเพราะมันตายไปนั้น อาจารย์ต้องกลับมาใช้ไม้เท้านำทาง อาจารย์แสดงความในใจว่า "สุนัขนำทางพาเราเข้าประตูถูก แต่ถ้าใช้ไม้เท้าต้องกะด้วยความรู้สึก ใช้ไม้เท้าเขี่ย อย่างวันนี้แท็กซี่ส่งไม่ตรงบันไดทำให้ไม่รู้บันไดอยู่ซ้ายหรือขวาต้องใช้ไม้เท้าเขี่ยไปยาวๆ แต่ถ้ามีสุนัขนำทางจะไม่มีปัญหา พอลงแท็กซี่ สุนัขสามารถพาเดินขึ้นบันไดได้ถูกต้องแน่นอน"
เส้นทาง ... กว่าจะมาเป็นสุนัขนำทาง
เส้นทางของสุนัขนำทางต้องผ่านการฝึกและบททดสอบอย่างหนัก สุนัขต้องมีความอดทนสูง ฝึกง่าย และมีใจรักการบริการ ซึ่งสุนัขที่ทำหน้าที่นี้ได้ดีมักจะเป็นสุนัขพันธุ์โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ เยอรมัน เชฟเพิร์ด เกรทเทอร์ สวิสส์ เมาน์เทนด็อก
ตามโรงเรียนฝึกสอนสุนัขจะผสมพันธุ์สุนัขใช้เอง จากนั้นในแต่ละปีจะมีอาสาสมัครนำสุนัขไปฝึกใช้ชีวิตในบ้านชุดละ 30 ตัว ปีละ 10-12 ชุด ซึ่งเมื่อครบกำหนดเวลาก็จะนำมาให้ทางโรงเรียนเพื่อคัดสุนัขตรงตามมาตรฐานที่กำหนด เมื่อประเมินแล้วว่าสุนัขมีความสามารถมาก-น้อยแค่ไหน จึงนำมาฝึกเป็นสุนัขนำทาง ส่วนสุนัขที่ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้จะมีอาสาสมัครนำกลับไปเลี้ยงเป็นสุนัขเฝ้าบ้านต่อไป
สุนัขที่ผ่านเกณฑ์จะถูกนำไปฝึกเพื่อทำหน้าที่สุนัขนำทางเป็นเวลา 6 เดือน และเมื่อครบกำหนดเวลาได้รับการฝึกตามหลักสูตรเรียบร้อย จากนั้นจึงให้ผู้พิการทางสายตาได้ฝึกทำความคุ้นเคยกับสุนัขเป็นเวลา 1 เดือน
ผู้พิการทางสายตาไม่มีสิทธิ์เลือกสุนัข ก่อนที่จะได้สุนัขไปฝึก ครูฝึกจะทำหน้าที่เหมือนสุนัขนำทาง พาเราเดินเป็นเวลา 2-3 วัน เพื่อดูจังหวะการเดินของเราเป็นอย่างไร ความแข็งแรง การต้านทานต่อแรงฉุดกระชากเป็นอย่างไร จากนั้นครูฝึกจะไปพิจารณาดูว่าสุนัขพันธุ์ไหน ตัวไหนเหมาะกับคนไหน
ตลอดระยะเวลา 1 เดือนนั้น ในช่วง 2-3 วันแรกจะทำการทดสอบการใช้คำสั่งบังคับสุนัขภายในโรงเรียน วันต่อมาจึงเคลื่อนย้ายออกไปฝึกในเมืองเล็กๆ
"ครูฝึกบอกแผนที่เมืองให้จินตนาการ อย่างเมืองนี้เป็นบล็อกสี่เหลี่ยม เมื่อเดินไปถึงแยกแรกให้เลี้ยวขวาแล้วกลับมาที่เดิม พอปล่อยให้สุนัขเดินตามบล็อกกลับมาที่เดิมแล้ว ครูฝึกจะเพิ่มปริมาณซอยมากขึ้นมีทั้งฝึกโดยให้รถวิ่งตัดหน้าและเบรกอย่างรวดเร็วตรงหน้าเราพอดี ทดสอบว่าสุนัขจะหยุดและเราจะหยุดตามสุนัขหรือไม่"
ใช้ระยะเวลาเพียง 11 วันก็เป็นที่รู้ผลว่าสุนัขนำทางและเจ้าของสามารถทำความคุ้นเคยกันได้หรือไม่ ใช้เวลา 11 วันก็รู้แล้วว่าสุนัขจะเชื่อฟังเราหรือเปล่า วันแรกๆ แน่นอนว่าสุนัขจะไม่ฟัง แต่ครูฝึกจะสอนวิธีบังคับบัญชาในการเป็นเจ้านาย ให้รางวัลเมื่อสุนัขทำตามคำสั่ง ถ้าเจ้าของสั่งแล้วสุนัขไม่ยอมทำงาน สั่งแล้วมันไม่สนใจก็ต้องเปลี่ยนสุนัขตัวใหม่
สำหรับที่ประเทศญี่ปุ่นนั้นเขาจะมีระบบในการบริจาคน้องหมา โดยจะเลือกสุนัขที่ผูกพันกับเจ้าของ มากกว่าสิ่งเร้ารอบตัว
สุนัขที่นำมาฝึก เป็นสุนัขนำทางได้ดี คือ
(1). สุขภาพพื้นฐานดี
(2). ตอบสนองต่อสิ่งเร้า อย่างพอดี
แล้วก็สุนัขที่ถนัดขวา (right pawed dogs) จะฝึกได้ง่ายกว่าถนัดซ้าย (left pawed dogs)
วิธีดู คือ สุนัขมักจะเดินด้วยขาข้างที่ถนัดก่อน ถ้าถนัดขวา จะยื่นขาขวาออกเดิน เป็นขาแรก
ถ้าให้ของเล่น หรือ อาหาร ถ้าถนัดขวา มักจะยื่นขาขวาไปก่อน แล้วมักจะฝึกเป็นสุนัขนำทางคนตาบอดได้ดีที่สุด
เพราะว่าสุนัขถนัดซ้าย มีความคิดสร้างสรรค์สูง (creative - ครีเอทีฟ) จะชอบเล่นพลิกแพลงและซน จึงไม่เหมาะเป็นสุนัขนำทางที่ต้องมีสมาธิและนิ่ง
ถ้าเพื่อนๆ สนใจเกี่ยวกับสุนัขนำทาง สามารถดูได้จากภาพยนตร์เกี่ยวกับสุนัขที่น่ารักจากญี่ปุ่นเรื่อง Quill หรือ โฮ่ง (ฮับ) เจ้าตัวเนี๊ยซี้ 100% เรื่องราวของความประทับใจ ระหว่างคนตาบอดกับสุนัขนำทางแสนรู้พันธุ์ลาบราดอร์ กำกับโดย Yoichi Sai ผู้กำกับฝีมือเยี่ยมเจ้าของผลงาน All Under The Moon ที่กวาดรางวัลมากถึง 53 รางวัล ภาพยนตร์เรื่องนี้เขียนบทภาพยนตร์โดย Shoichi Maruyama (Rex: A Dinosaur's Story, Double Cross) และ Yoshihiro Nakamura (To Sing of Love) โดยได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องจริง นำแสดงโดย Kaoru Kobayashi (Love Letter), Kippei Shiina (Hana), Teruyuki Kagawa
โฮ่ง(ฮับ) หรือ Quill สร้างจากเรื่องจริงของสุนัขพันธุ์ Labrador Retriever ตัวหนึ่ง ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นสัตว์นำทางคนตาบอดตั้งแต่ลืมตาดูโลก ช่วงหนึ่งปีแรก มันถูกเลี้ยงโดยครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวหนึ่ง ซึ่งให้ความเอ็นดูมันอย่างดียิ่ง มันใช้ชีวิตวัยเด็กในสวนขนาดย่อมหลังบ้าน วิ่งเล่นสนุกสนาน และศึกษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน
จนกระทั่งวันเกิดครบหนึ่งขวบ มันก็จำต้องจากบ้านน้อยหลังนี้ ไปพักที่โรงเรียนฝึกสุนัข ที่นี่มันได้พัฒนาทักษะต่างๆ มีครูฝึกที่เคี่ยวเข็นให้มันมีระเบียบวินัย เพราะในอนาคต มันต้องแบกรับความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่เกินตัว แม้ครูฝึกจะพบว่ามันเป็นสุนัขที่มีพรสวรรค์ แต่ก็ขาดสมาธิในการทำหน้าที่อย่างรุนแรง เขาจึงมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงนิสัยไม่ดีนี้ จนในที่สุด มันก็จบการศึกษา และพร้อมที่จะพบกับคู่หูคนใหม่ ซึ่งก็คือชายตาบอดวัยกลางคนจอมยโส ที่คิดว่าเขาสามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้โดยลำพัง แต่ด้วยอุบัติเหตุแม้จะเพียงเล็กน้อย กลับเกิดขึ้นติดๆ กันหลายครั้ง เขาจึงได้รับการแนะนำให้หัดใช้สุนัขนำทาง ก่อนที่จะเกิดอันตรายร้ายแรง
จากความสัมพันธ์แบบไม่ค่อยราบรื่นนักในช่วงต้น ก็ค่อยๆ คลี่คลายลง และกลายเป็นความผูกพัน ตลอดชีวิตที่เหลือของชายตาบอด ทั้งยังรวมถึงครอบครัว ประกอบด้วยภรรยา ลูกชาย และลูกสาว ซึ่งมีช่วงเวลาสุข เศร้า และประทับใจ ก่อนที่ 16 ปีจะผ่านไป สุนัขนำทางตัวนี้ก็ถูกปลดระวาง และย้ายกลับไปสู่บ้านแรกที่มันเคยถูกเลี้ยง
แล้วเมื่อถึงวันแห่งการจากกับลมหายใจสุดท้าย ภาพเก่าของชีวิตมันก็หวนกลับมาให้รำลึก แม้จะเป็นชีวิตที่เรียบง่ายแต่ก็เปี่ยมไปด้วยคุณค่า การจากไปอย่างสงบ ก็อาจทำให้คนที่อยู่ข้างหลังหลั่งน้ำตา...
ถ้าเพื่อนๆ คนไหนที่เป็นคนรักสุนัข ลองไปดูนะคะ จะซึ้งมากๆ เลยค่ะ
Posted by mod at
15:57
│Comments(0)
2016年02月04日
เรียนรู้การช่วยชีวิตผ่าน GAME
สวัสดีค่ะ
เพื่อนๆ คะ ถ้าวันหนึ่ง จู่ๆ เราเกิดพบเห็นคนล้มลงต่อหน้าต่อตา เพื่อนๆ จะทำอย่างไรคะ?
ถ้าเป็นฉันคงตกใจทำอะไรไม่ถูกแน่ๆ เลย แล้วถ้าเราไม่ช่วยเขา เขาจะตายมัย?
ดังนั้น การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (Cardio Pulmonary Resuscitation: #CPR) ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งเลย โดยเฉพาะคนธรรมดาอย่างพวกเรา เพราะผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันส่วนใหญ่เกิดขึ้นนอกโรงพยาบาล รวมทั้งผู้ที่จมน้ำ อุบัติเหตุ หรือถูกไฟฟ้าช็อต ดังนั้น ผู้ที่พบผู้ป่วยเป็นคนแรกคือคนธรรมดาอย่างพวกเรา หากคนธรรมดาทั่วไปอย่างพวกเรามีความรู้ทางด้าน CPR ก็จะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที เพราะเมื่อหัวใจหยุดเต้น เวลาทุกวินาทีมีค่าทันที การจะรอให้ผู้ป่วยถึงมือแพทย์จึงเป็นอะไรที่สายเกินไป
หากคนธรรมดาทั่วไปพบเห็นผู้ป่วยแล้วทำการ CPR และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า (Automated External Defibrillator: AED) อย่างถูกวิธีจะทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะฟื้นกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง
แล้วเจ้าเครื่อง AED คืออะไรล่ะ?
เครื่อง AED คืออุปกรณ์การแพทย์แบบพกพา ที่จะสามารถช่วยชีวิตบุคคลใดๆก็ตามที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน โดยเครื่องนี้จะส่งกระแสไฟฟ้าแรงสูงไปยังหัวใจเพื่อกู้ภาวะการเต้นของหัวใจปกติกลับคืนมา
ถ้าเราใช้เครื่อง AED กับคนที่ล้มลงเพราะหัวใจหยุดเต้นกะทันหันในระหว่างที่รอรถพยาบาลมาถึงล่ะก็ จะสามารถช่วยคนๆ นั้นได้ถึง 50% เชียวนะคะ
ในหลายๆ ประเทศ ได้มีการจัดวางเครื่องนี้ไว้ในสถานที่ต่างๆ ที่มีคนมารวมตัวกันอยู่เยอะๆ อย่างเช่นที่ญี่ปุ่น หรือว่าฮ่องกง จะมีการจัดวางเครื่องนี้ไว้ในดีสนีย์แลนด์หลายๆ จุดเลยทีเดียว แต่กลับพบว่าไม่ค่อยมีคนใช้ เพราะว่าใช้กันไม่เป็น
ดังนั้น The Japanese Circulation Society (略称:JCS) ได้สร้างเกมส์ขึ้นมาเพื่อประชาสัมพันธ์ให้มีคนใช้เครื่อง AED ให้เพิ่มขึ้น โดยเกมส์นี้ใครๆ ก็สามารถใช้บริการได้ไม่ว่าจะเป็นบนสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ก็ตาม
เกมส์นี้เขาได้ทำเป็นละครโดยสร้างสถานะการว่ามีชายคนหนึ่งล้มลงที่เรียวคัง แล้วลูกค้าท่านอื่นจะสามารถใช้เครื่อง AED ช่วยเหลือชีวิตไว้ได้หรือไม่ ในละครนั้น จะมีการตั้งคำถามให้ตอบทั้งหมด 10 ข้อ ซึ่งเราจะสามารถเรียนรู้อย่างเช่นวิธีการใช้เครื่อง AED ได้เป็นอย่างดี
แล้ว The Japanese Circulation Society ยังได้กล่าวถึงเกมส์นี้ว่า “อยากให้ได้เรียนรู้ถึงวิธีการช่วยเหลือคนไปพร้อมๆ กับการเล่นเกมส์ที่สนุกสนาน"
ส่วนด้านล่างนี้คืออีเมล์แอดเดรสของ website ที่สามารถเข้าไปเล่นเกมส์ได้ ฉันลองเข้าไปเล่นแล้วค่ะ สนุกดีแล้วก็ได้ความรู้ด้วย แต่ต้องเป็นคนที่สามารถเข้าใจภาษาญี่ปุ่นได้นะคะ ใครที่รู้ภาษาญี่ปุ่นลองเข้าไปเล่นดูนะคะ เป็นการฝึกภาษาไปในตัวด้วยค่ะ
http://aed-project.jp/suspence-drama/
เพื่อนๆ คะ ถ้าวันหนึ่ง จู่ๆ เราเกิดพบเห็นคนล้มลงต่อหน้าต่อตา เพื่อนๆ จะทำอย่างไรคะ?
ถ้าเป็นฉันคงตกใจทำอะไรไม่ถูกแน่ๆ เลย แล้วถ้าเราไม่ช่วยเขา เขาจะตายมัย?
ดังนั้น การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (Cardio Pulmonary Resuscitation: #CPR) ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งเลย โดยเฉพาะคนธรรมดาอย่างพวกเรา เพราะผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันส่วนใหญ่เกิดขึ้นนอกโรงพยาบาล รวมทั้งผู้ที่จมน้ำ อุบัติเหตุ หรือถูกไฟฟ้าช็อต ดังนั้น ผู้ที่พบผู้ป่วยเป็นคนแรกคือคนธรรมดาอย่างพวกเรา หากคนธรรมดาทั่วไปอย่างพวกเรามีความรู้ทางด้าน CPR ก็จะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที เพราะเมื่อหัวใจหยุดเต้น เวลาทุกวินาทีมีค่าทันที การจะรอให้ผู้ป่วยถึงมือแพทย์จึงเป็นอะไรที่สายเกินไป
หากคนธรรมดาทั่วไปพบเห็นผู้ป่วยแล้วทำการ CPR และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า (Automated External Defibrillator: AED) อย่างถูกวิธีจะทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะฟื้นกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง
แล้วเจ้าเครื่อง AED คืออะไรล่ะ?
เครื่อง AED คืออุปกรณ์การแพทย์แบบพกพา ที่จะสามารถช่วยชีวิตบุคคลใดๆก็ตามที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน โดยเครื่องนี้จะส่งกระแสไฟฟ้าแรงสูงไปยังหัวใจเพื่อกู้ภาวะการเต้นของหัวใจปกติกลับคืนมา
ถ้าเราใช้เครื่อง AED กับคนที่ล้มลงเพราะหัวใจหยุดเต้นกะทันหันในระหว่างที่รอรถพยาบาลมาถึงล่ะก็ จะสามารถช่วยคนๆ นั้นได้ถึง 50% เชียวนะคะ
ในหลายๆ ประเทศ ได้มีการจัดวางเครื่องนี้ไว้ในสถานที่ต่างๆ ที่มีคนมารวมตัวกันอยู่เยอะๆ อย่างเช่นที่ญี่ปุ่น หรือว่าฮ่องกง จะมีการจัดวางเครื่องนี้ไว้ในดีสนีย์แลนด์หลายๆ จุดเลยทีเดียว แต่กลับพบว่าไม่ค่อยมีคนใช้ เพราะว่าใช้กันไม่เป็น
ดังนั้น The Japanese Circulation Society (略称:JCS) ได้สร้างเกมส์ขึ้นมาเพื่อประชาสัมพันธ์ให้มีคนใช้เครื่อง AED ให้เพิ่มขึ้น โดยเกมส์นี้ใครๆ ก็สามารถใช้บริการได้ไม่ว่าจะเป็นบนสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ก็ตาม
เกมส์นี้เขาได้ทำเป็นละครโดยสร้างสถานะการว่ามีชายคนหนึ่งล้มลงที่เรียวคัง แล้วลูกค้าท่านอื่นจะสามารถใช้เครื่อง AED ช่วยเหลือชีวิตไว้ได้หรือไม่ ในละครนั้น จะมีการตั้งคำถามให้ตอบทั้งหมด 10 ข้อ ซึ่งเราจะสามารถเรียนรู้อย่างเช่นวิธีการใช้เครื่อง AED ได้เป็นอย่างดี
แล้ว The Japanese Circulation Society ยังได้กล่าวถึงเกมส์นี้ว่า “อยากให้ได้เรียนรู้ถึงวิธีการช่วยเหลือคนไปพร้อมๆ กับการเล่นเกมส์ที่สนุกสนาน"
ส่วนด้านล่างนี้คืออีเมล์แอดเดรสของ website ที่สามารถเข้าไปเล่นเกมส์ได้ ฉันลองเข้าไปเล่นแล้วค่ะ สนุกดีแล้วก็ได้ความรู้ด้วย แต่ต้องเป็นคนที่สามารถเข้าใจภาษาญี่ปุ่นได้นะคะ ใครที่รู้ภาษาญี่ปุ่นลองเข้าไปเล่นดูนะคะ เป็นการฝึกภาษาไปในตัวด้วยค่ะ
http://aed-project.jp/suspence-drama/
Posted by mod at
15:12
│Comments(0)
2016年02月02日
鎌倉大仏 พระใหญ่ไดบุทสึ แห่ง คะมะคุระ ปิดบรูณะ
พระพุทธรูปองค์นี้ เราคนไทยคงจะคุ้นตากันดี เพราะว่าเรามักจะเป็นอยู่ตามโปสเตอร์ของบริษัทนำเที่ยวที่มีทัวร์ไปญี่ปุ่น หรือไม่ก็ตามหนังสือคู่มือท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นกันบ่อยมาก จนแทบจะเป็น 1 ในสัญลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่นไปแล้ว
ฉันเองก็เคยไปนมัสการพระพุทธรูปองค์นี้มาแล้ว แต่เรียกว่านานมากๆ เลยทีเดียว
พระพุทธรูปองค์นี้ก็คือ “ พระใหญ่ไดบุทสึ แห่ง คะมะคุระ ” (鎌倉大仏 : かまくらだいぶつ : kamakura daibutsu) คนส่วนใหญ่มักจะรู้จักกันในนาม Daibutsu ซึ่งแปลตรงตัวได้ว่า “พระพุทธองค์ใหญ่” แต่น้อยคนที่ทราบว่าชื่อจริงของ Daibutsu ที่ Kamakura องค์นี้คือ พระอมิตตาพุทธ นิโอยุราอิ (Amida Nyoyurai) ตั้งอยู่ภายใน วัดโคโตกุอิน ((高徳院) Kotoku-in Temple) จังหวัด Kanagawa
องค์ที่เห็นในปัจจุบันสร้างจากสำริด เสร็จเมื่อปี พ.ศ.1795 ความสูงรวมฐานอยู่ที่ 13.35 เมตร เฉพาะตัวองค์พระนั้นสูง 11 เมตร น้ำหนักราว 122 ตัน ถ้ามองไกลๆ เราจะเห็นองค์พระดูไม่สมส่วน ดูจากพระหัตถ์จะดูเล็กนิดเดียว แต่หากอยากดูองค์พระนี้ให้สมส่วน ต้องเข้าไปยืนใกล้ๆ ห่างจากองค์พระ 4-5 เมตรแล้วแหงนหน้ามองขึ้นไป จะเห็นองค์พระดูสมส่วนรับกันทั้งองค์สวยงามขึ้น
ส่วนองค์พระที่มองเห็นเป็นสีเขียวนั้น เกิดจากการที่สำริดทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกับสภาพอากาศทั้งฝนและหิมะมายาวนานจนกลายเป็นสีเขียว หากสังเกตให้ดีจะเห็นรอยเชื่อมต่อโลหะ เชื่อมพระพุทธรูปองค์นี้ให้เป็นรูปร่างซ้อนกันขึ้นไปรวมทั้งหมด 8 ชิ้น แต่พระพุทธรูปองค์นี้ไม่ใช่พระพทธรูปที่ใหญ่ที่่สุดในญี่ปุ่น แต่พระใหญ่ ไดบุตสึ แห่งเมืองนารา มีขนาดใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น
ภายในบริเวณวัดนอกจากองค์พระใหญ่ที่สามารถเข้าไปชมในตัวองค์พระได้แล้ว ด้านซ้ายมือมีต้นสนที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปลูกในวโรกาสที่เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เยือนวัดโคโตกุอิน เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2474
แล้วตอนนี้ก็มีแผนการที่จะเตรียมปิดซ่อมแซม พระพุทธรูปใหญ่ Kamakura Daibutsu (鎌倉大仏) ในเดือนมกราคม 2016 โดยในครั้งนี้มีกำหนดการจะปิดเพื่อตรวจสอบ ซ่อมแซมและบำรุงรักษาจากวันที่ 13 มกราคม ถึงวันที่ 10 มีนาคม 2016 ในรอบ 57 ปี โดยใช้งบ 64.96 ล้านเยน แล้วก็ในระหว่างที่ทำการบูรณะ จะไม่สามารถเห็นองค์พระได้ เพราะเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายภายในระยะเวลาดังกล่าว จะไม่สามารถเข้าไปกราบไหว้สักการะได้ แต่สามารถดูการซ่อมแซมได้ผ่านทางทีวีจอใหญ่ที่อยู่ในวัด
สาเหตุที่ต้องปิดปรับปรุงก็เพราะ องค์พระไดบุทสึนั้นอยู่ภายนอกตัวอาคารไม่มีหลังคากันฝนที่มีลักษณะเป็นกรด หรือลมจากทะเล นอกจากนี้ยังมีฝุ่นละอองรวมไปถึงขี้นกที่ตกลงมา นับวันทำให้มีความเก่าแก่ทรุดโทรม
เมื่อวันที่ 28 ม.คที่ผ่านได้มีการแถลงข่าวการดำเนินการซ่อมแซมผ่านทั้งในหนังสือพิมพ์และทางโทรทัศน์ ว่าได้มีการไปสำรวจองค์พระแล้ว ได้พบความเสียหายประการใดบ้าง โดยได้สร้างนั่งร้านเพื่อเดินสำรวจรอบทั้งองค์พระและมีผู้เชี่ยวชาญปีนขึ้นไปสำรวจถึงบริเวณเศียรขององค์พระที่ความสูง 13 เมตรเลยทีเดียว พร้อมกันนั้นก็มีการถ่ายภาพความเสียหายเล็กๆ น้อยๆ และความเสื่อมโทรมบริเวณเศียรท่านด้วยเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยด้วย เมื่อได้ดูใกล้ๆ แล้วก็พบว่ามีบริเวณทึ่แตกหักเสียหายเล็กน้อย จะทำให้ซ่อมแซมและบูรณะไปจนถึงวันที่ 10 มีนาคมปีนี้
ถ้าใครมีแผนการจะไปนสัมการท่านก็ลองเช่นวันเวลาดูดีๆ นะคะ จะได้ไม่เสียเที่ยว
Posted by mod at
12:56
│Comments(0)
2016年02月01日
เกาะฮะจิโจจิมะ (八丈島) สวรรค์ของนักดำน้ำ
ขอต้อนรับวันจันทร์แห่งชาติของสัปดาห์นี้ด้วยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ใหญ่ติดอันดับโลกกันนะคะ นั่นก็คือ วาฬ นั่นเอง
วาฬในภาษาญี่ปุ่นเราเรียกกันว่า "鯨" (くじら) วันนี้เราจะพาไปดูวาฬที่มีชื่อว่า "วาฬหลังค่อม" (ザトウクジラ) กันค่ะ
วาฬหลังค่อม หรือ วาฬฮัมแบ็ก (อังกฤษ: Humpback whale; ชื่อวิทยาศาสตร์: Megaptera novaeangliae) เป็นวาฬขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในประเภทวาฬบาลีน ในวงศ์วาฬอกร่อง (Balaenopteridae) และจัดเป็นวาฬเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Megaptera [2] (มีที่มาจากภาษากรีกคำว่า μεγα-"mega" หมายถึง "ใหญ่" และ πτερα-"ptera" หมายถึง "ปีก") [3]
วาฬหลังค่อม จัดเป็นวาฬขนาดใหญ่เป็นอันดับ 8 ของวาฬทั้งหมด น้ำหนักตัวอาจถึง 45 ตัน มีความยาว 25 เมตร พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือราว 10,000 - 25,000 ตัว ในปี 2008[4] เป็นวาฬที่หากินด้วยการกรองกินด้วยบาลีน ซึ่งมีแผ่นกรองกว่า 800 แผ่นที่ขากรรไกรด้านบน เพื่อกรองอาหารประเภทปลาและสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ เช่น เคย, แพลงก์ตอน และเป็นวาฬที่รู้จักการหาอาหารร่วมกัน เช่น การไล่ต้อนฝูงปลา เป็นต้น โดยจะกินอาหารมากถึงวันละ 1 ตัน วาฬหลังค่อมเพศเมียตกลูกทุก 2-3 ปี มีระยะเวลาตั้งท้องนาน 11 เดือน ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกวาฬจะกินนมจากแม่เป็นปริมาณ 100 แกลลอนทุก ๆ วัน
เมื่อเรารู้ข้อมูลเกี่ยวกับวาฬหลังค่อมแล้ว ที่นี้เรามาดูกันว่าเราจะสามารถเห็นวาฬชนิดนี้แบบตัวเป็นๆ ไม่ได้อยู่ในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำที่ไหนกันได้บ้าง
สถานที่แห่งนี้เป็น 1 ในสถานที่ที่สามารถเห็นวาฬหลังค่อมได้ คือใกล้ๆ กับเกาะฮะจิโจจิมะ (八丈島 หรือ はちじょうじま ) ที่ห่างจากโตเกียวไปทางใต้ประมาณ 290 กิโลเมตร โดยเมื่อประมาณเดือนพ.ย.ปีที่แล้ว “วาฬหลังค่อม” ได้ปรากฏตัวเป็นจำนวนมากเป็นครั้งแรกเลย แล้วเมื่อวันที่ 28 ม.ค.ที่ผ่านมาเราก็ได้เห็นวาฬว่ายน้ำพร้อมกับ “พ่นน้ำขึ้นมา” เพื่อหายใจ ตื่นเต้นมาก
แล้วก็มีผู้คนจำนวนมากได้มาที่เมืองฮะจิโจมัตจิ (八丈町) เพื่อดูวาฬกัน แล้วก็มีการเปิดคอร์สเรียนรู้เกี่ยวกับวาฬให้กับชาวเมืองด้วย โดยมีเหล่าผู้คนอย่างพวกร้านค้าสอนดำน้ำ แล้วก็สถานที่ราชการของท้องถิ่นราวๆ 60 คนได้มารวมตัวกันเพื่อฟังศาสตราจารย์คาโต้ ฮิเดะฮิโระแห่งมหาวิทยาลัย Tokyo University of Marine Science and Technology บรรยาย
ศาตราจารย์คาโต้ได้บรรยายไว้ว่า ที่ผ่านนั้นวาฬหลังค่อมจะมาที่เกาะโอกาซาวาระ (Ogasawarashotou) และที่โอกินาว่า (Okinawa) ที่อยู่ค่อนไปทางใต้ของเกาะฮะจิโจจิมะ เพื่อที่จะออกลูก แต่ว่าก็ได้มีวาฬที่มาออกคลอดลูกใกล้ๆ กับเกาะฮะจิโจจิมะด้วย
พวกคนที่เข้าร่วมการประชุมนั้นก็ได้เล่าเรื่องราวอย่างเช่นตอนที่ดำน้ำหรือว่ายน้ำไปด้วยกันกับวาฬแล้วจะเกิดอันตรายอย่างไรบ้างด้วย 1 ในคนเหล่านั้นได้เล่าให้ฟังว่า “จะรู้สึกดีใจมากๆ เลย ถ้าต่อจากนี้ไปมีวาฬมาว่ายน้ำเล่น จะทำให้มีคนที่มาเที่ยวที่เกาะนี้เพิ่มมากขึ้นด้วย”
นอกจากมาดูวาฬแล้ว กิจกรรมสำหรับพักผ่อนบนเกาะแห่งนี้มีความหลากหลายตั้งแต่บ่อน้ำพุร้อน ทานอาหาร ดำน้ำ ตกปลา เดินเขา และท่องเที่ยวที่ "พาวเวอร์สป็อต" ต้นปาล์มที่ขึ้นเรียงรายไปตามถนนและดอกชบาสีแดงสดในช่วงเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนตุลาคมทำให้รู้สึกถึงความเป็นเกาะเขตร้อนได้มากขึ้น
เทศกาลดอกฟรีเซียกลับมาที่เกาะอีกครั้งพร้อมกลิ่นหอมสดชื่นไปทั่วทุกหนแห่ง เพียงแค่ได้ชมสีสันของดอกไม้ที่กำลังเบ่งบานก็นับว่าได้ผ่อนคลายอารมณ์แล้ว บางแห่งนักท่องเที่ยวสามารถเก็บดอกฟรีเซียได้ฟรี เพลิดเพลินกับการชมความงดงามของทุ่งดอกไม้ที่พิธีชงชากลางแจ้ง ดอกฟรีเซียและของที่ระลึกมีวางขายที่ตลาดขายของพื้นเมืองของฮะจิโจจิมะ และยังมีโอกาสได้รับดอกฟรีเซียฟรีจากการจับฉลากเมื่อเดินทางขึ้นเครื่องบินหรือเรือในช่วงเวลาที่มีแคมเปญ จะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคมปลาย – เมษายนต้น
นักท่องเที่ยวมักนิยมไปเกาะฮาชิโจจิมะในเดือนกันยายนและเดือนตุลาคม เพราะอุณหภูมิของน้ำทะเลจะอุ่นในช่วงเวลานี้ เกาะฮาชิโจจิมะมีจุดสำหรับการดำน้ำมากมาย จุดดำน้ำที่น่าสนใจจุดหนึ่งที่อยู่ถัดจากท่าเรือไปคือ จุดดำน้ำโซโกโดะ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีปะการังอ่อนและปะการังแข็งอยู่มากมาย และมีสิ่งที่น่าสนใจคืออุโมงค์ยักษ์และรอยแยกที่อยู่ใกล้กับผิวน้ำบริเวณนั้น อันเป็นสถานที่ดำน้ำชมความงามและสัตว์น้ำนานาพันธุ์ เมื่อดำน้ำไปได้ซักพักคุณจะพบกับส่วนเว้าของอ่าวที่ความลึก 3 เมตร แล้วคุณจะสามารถว่ายน้ำต่อไปเป็นเส้นตรงผ่านหินปูต่างๆเพื่อไปยังสะพานหินโค้งใต้น้ำ พื้นผิวใต้น้ำนั้นเป็นหิน และมีทัศนวิสัยไม่ค่อยชัดเจนนัก แต่ทว่าจุดเด่นก็คือสะพานหินโค้งต่างๆใต้น้ำที่เกิดขึ้นจากการขยายตัวของภูเขาไฟนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำมากมาย อาทิ ปลาผีเสื้อ ปลาปากนกแก้ว ทากทะเล และหอยเม่น
วาฬในภาษาญี่ปุ่นเราเรียกกันว่า "鯨" (くじら) วันนี้เราจะพาไปดูวาฬที่มีชื่อว่า "วาฬหลังค่อม" (ザトウクジラ) กันค่ะ
วาฬหลังค่อม หรือ วาฬฮัมแบ็ก (อังกฤษ: Humpback whale; ชื่อวิทยาศาสตร์: Megaptera novaeangliae) เป็นวาฬขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในประเภทวาฬบาลีน ในวงศ์วาฬอกร่อง (Balaenopteridae) และจัดเป็นวาฬเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Megaptera [2] (มีที่มาจากภาษากรีกคำว่า μεγα-"mega" หมายถึง "ใหญ่" และ πτερα-"ptera" หมายถึง "ปีก") [3]
วาฬหลังค่อม จัดเป็นวาฬขนาดใหญ่เป็นอันดับ 8 ของวาฬทั้งหมด น้ำหนักตัวอาจถึง 45 ตัน มีความยาว 25 เมตร พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือราว 10,000 - 25,000 ตัว ในปี 2008[4] เป็นวาฬที่หากินด้วยการกรองกินด้วยบาลีน ซึ่งมีแผ่นกรองกว่า 800 แผ่นที่ขากรรไกรด้านบน เพื่อกรองอาหารประเภทปลาและสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ เช่น เคย, แพลงก์ตอน และเป็นวาฬที่รู้จักการหาอาหารร่วมกัน เช่น การไล่ต้อนฝูงปลา เป็นต้น โดยจะกินอาหารมากถึงวันละ 1 ตัน วาฬหลังค่อมเพศเมียตกลูกทุก 2-3 ปี มีระยะเวลาตั้งท้องนาน 11 เดือน ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกวาฬจะกินนมจากแม่เป็นปริมาณ 100 แกลลอนทุก ๆ วัน
เมื่อเรารู้ข้อมูลเกี่ยวกับวาฬหลังค่อมแล้ว ที่นี้เรามาดูกันว่าเราจะสามารถเห็นวาฬชนิดนี้แบบตัวเป็นๆ ไม่ได้อยู่ในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำที่ไหนกันได้บ้าง
สถานที่แห่งนี้เป็น 1 ในสถานที่ที่สามารถเห็นวาฬหลังค่อมได้ คือใกล้ๆ กับเกาะฮะจิโจจิมะ (八丈島 หรือ はちじょうじま ) ที่ห่างจากโตเกียวไปทางใต้ประมาณ 290 กิโลเมตร โดยเมื่อประมาณเดือนพ.ย.ปีที่แล้ว “วาฬหลังค่อม” ได้ปรากฏตัวเป็นจำนวนมากเป็นครั้งแรกเลย แล้วเมื่อวันที่ 28 ม.ค.ที่ผ่านมาเราก็ได้เห็นวาฬว่ายน้ำพร้อมกับ “พ่นน้ำขึ้นมา” เพื่อหายใจ ตื่นเต้นมาก
แล้วก็มีผู้คนจำนวนมากได้มาที่เมืองฮะจิโจมัตจิ (八丈町) เพื่อดูวาฬกัน แล้วก็มีการเปิดคอร์สเรียนรู้เกี่ยวกับวาฬให้กับชาวเมืองด้วย โดยมีเหล่าผู้คนอย่างพวกร้านค้าสอนดำน้ำ แล้วก็สถานที่ราชการของท้องถิ่นราวๆ 60 คนได้มารวมตัวกันเพื่อฟังศาสตราจารย์คาโต้ ฮิเดะฮิโระแห่งมหาวิทยาลัย Tokyo University of Marine Science and Technology บรรยาย
ศาตราจารย์คาโต้ได้บรรยายไว้ว่า ที่ผ่านนั้นวาฬหลังค่อมจะมาที่เกาะโอกาซาวาระ (Ogasawarashotou) และที่โอกินาว่า (Okinawa) ที่อยู่ค่อนไปทางใต้ของเกาะฮะจิโจจิมะ เพื่อที่จะออกลูก แต่ว่าก็ได้มีวาฬที่มาออกคลอดลูกใกล้ๆ กับเกาะฮะจิโจจิมะด้วย
พวกคนที่เข้าร่วมการประชุมนั้นก็ได้เล่าเรื่องราวอย่างเช่นตอนที่ดำน้ำหรือว่ายน้ำไปด้วยกันกับวาฬแล้วจะเกิดอันตรายอย่างไรบ้างด้วย 1 ในคนเหล่านั้นได้เล่าให้ฟังว่า “จะรู้สึกดีใจมากๆ เลย ถ้าต่อจากนี้ไปมีวาฬมาว่ายน้ำเล่น จะทำให้มีคนที่มาเที่ยวที่เกาะนี้เพิ่มมากขึ้นด้วย”
นอกจากมาดูวาฬแล้ว กิจกรรมสำหรับพักผ่อนบนเกาะแห่งนี้มีความหลากหลายตั้งแต่บ่อน้ำพุร้อน ทานอาหาร ดำน้ำ ตกปลา เดินเขา และท่องเที่ยวที่ "พาวเวอร์สป็อต" ต้นปาล์มที่ขึ้นเรียงรายไปตามถนนและดอกชบาสีแดงสดในช่วงเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนตุลาคมทำให้รู้สึกถึงความเป็นเกาะเขตร้อนได้มากขึ้น
เทศกาลดอกฟรีเซียกลับมาที่เกาะอีกครั้งพร้อมกลิ่นหอมสดชื่นไปทั่วทุกหนแห่ง เพียงแค่ได้ชมสีสันของดอกไม้ที่กำลังเบ่งบานก็นับว่าได้ผ่อนคลายอารมณ์แล้ว บางแห่งนักท่องเที่ยวสามารถเก็บดอกฟรีเซียได้ฟรี เพลิดเพลินกับการชมความงดงามของทุ่งดอกไม้ที่พิธีชงชากลางแจ้ง ดอกฟรีเซียและของที่ระลึกมีวางขายที่ตลาดขายของพื้นเมืองของฮะจิโจจิมะ และยังมีโอกาสได้รับดอกฟรีเซียฟรีจากการจับฉลากเมื่อเดินทางขึ้นเครื่องบินหรือเรือในช่วงเวลาที่มีแคมเปญ จะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคมปลาย – เมษายนต้น
นักท่องเที่ยวมักนิยมไปเกาะฮาชิโจจิมะในเดือนกันยายนและเดือนตุลาคม เพราะอุณหภูมิของน้ำทะเลจะอุ่นในช่วงเวลานี้ เกาะฮาชิโจจิมะมีจุดสำหรับการดำน้ำมากมาย จุดดำน้ำที่น่าสนใจจุดหนึ่งที่อยู่ถัดจากท่าเรือไปคือ จุดดำน้ำโซโกโดะ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีปะการังอ่อนและปะการังแข็งอยู่มากมาย และมีสิ่งที่น่าสนใจคืออุโมงค์ยักษ์และรอยแยกที่อยู่ใกล้กับผิวน้ำบริเวณนั้น อันเป็นสถานที่ดำน้ำชมความงามและสัตว์น้ำนานาพันธุ์ เมื่อดำน้ำไปได้ซักพักคุณจะพบกับส่วนเว้าของอ่าวที่ความลึก 3 เมตร แล้วคุณจะสามารถว่ายน้ำต่อไปเป็นเส้นตรงผ่านหินปูต่างๆเพื่อไปยังสะพานหินโค้งใต้น้ำ พื้นผิวใต้น้ำนั้นเป็นหิน และมีทัศนวิสัยไม่ค่อยชัดเจนนัก แต่ทว่าจุดเด่นก็คือสะพานหินโค้งต่างๆใต้น้ำที่เกิดขึ้นจากการขยายตัวของภูเขาไฟนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำมากมาย อาทิ ปลาผีเสื้อ ปลาปากนกแก้ว ทากทะเล และหอยเม่น
Posted by mod at
14:13
│Comments(0)