› 日本が好き › 2016年02月19日
2016年02月19日
大好きなお寿司 Part 2
สวัสดี วันศุกร์สีฟ้านะคะ วันศุกร์แล้ว อย่าลืมคิดถึงกันวันเสาร์-อาทิตย์นะคะ
เมื่อวานพูดเรื่องซูชิ แต่ยังไม่สะใจคะ ขอต่ออีกนิดนะคะ
บางครั้งเราไม่อยากออกไปทานข้าวนอกบ้าน ก็จะมีการสั่งมาทานที่บ้านบ้าง อย่างบางครั้งเราสั่งซูชิให้มาส่งที่บ้าน สมัยนี้อาจไม่ค่อยมีร้านที่ใส่ภาชนะที่เป็นถาดที่ต้องคืนแล้ว อาจใส่เป็นพวกถาดพลาสติกที่กินแล้วทิ้งได้เลยนะคะ
แต่ถ้าเป็นร้านซูชิแบบดั้งเดิม ถ้าเราสั่งซูชิมาส่งที่บ้านล่ะก็ เมนูอาหารของซูชิที่ส่งตามบ้านนั้นมีหลากหลาย บางทีก็จะระบุเป็น “โช (ต้นสน), ชิกุ (ต้นไผ่), ไบ (ต้นท้อ) ซึ่งบ่งบอกถึงลำดับขั้นของซูชิ ที่ญี่ปุ่น ต้นสน ต้นไผ่ ต้นท้อ ถือเป็นพันธุ์ไม้นำโชค จึงถูกใช้เป็นชื่อเรียกอาหาร โดยทั่วไปจะมีความหมาย ดังนี้ ต้นสน = ชุดพิเศษมาก ต้นไผ่=ชุดพิเศษ ต้นท้อ=ชุดธรรมดา
การสั่งซูชิมาทานที่บ้านนั้น ถ้าภาชนะที่ใส่มาเป็นถาดที่ต้องคืนร้านล่ะก็ เราต้องล้างถาดใส่ซูชิให้สะอาดก่อนคืน เมื่อทำความสะอาดเสร็จแล้ว จะนำไปวางที่หน้าประตูบ้าน พนักงานของร้านจะมาเก็บภายหลัง
แล้วฉันก็แอบชอบรหัสลับที่รู้กันในร้านซูชินะคะ อย่างเช่น
อางาริ = น้ำชา หรือแสดงความหมายว่า “อิ่มแล้ว”
แล้วทำไมเรียก “ชา” ว่า 「あがり」(Agari) ?
ปกติภาษาญี่ปุ่น เราจะเรียกชาว่า お茶 Ocha โอะฉะ กันอย่างง่ายๆ
แต่สำหรับต้นกำเนิดของคำว่า 上がり อาการิซึ่งแปลว่า ยก ที่ใช้ในร้านซูชินั้น มีต้นกำเนิดมาจากหอนางโลมหรือย่านเที่ยวกลางคืนในสมัยก่อน งานชงชาจะเป็นงานของเกอิชาที่ขายไม่ออกไม่มีงานอะไรทำเลยว่างจัดในวันนั้น เวลามีแขกมาหา เกอิชาที่เป็นผู้รับแขกก็จะเรียกกับเกอิชาที่มีหน้าที่ชงชาว่า“おあがりさん” โอะอาการิซัง หรือผู้ยก (น้ำชา) นั่นเอง ซึ่งกลายเป็นว่า คำว่า โอะฉะหรือน้ำชาจะกลายเป็นคำล้อเลียนไป จึงเลี่ยงไปเรียกว่า “ยกมา” แทน
ทั้งนี้ ยังมีคำว่า 上がり花 AgariBana อาการิบานะ ใช้เรียกน้ำชาที่ยกมาตอนแขกเพิ่งจะมาเดี๋ยวนี้เอง ยังไม่ทันทำอะไรก็ยกมาเสียแล้ว คำว่า 花 hana ที่ปกติแปลว่าดอกไม้ แต่จริงๆแล้วแปลว่า “แรกสุด”ได้อีกด้วย (คงมีที่มาจากซากุระที่ผลิดอกทันทีหลังฤดูหนาวเป็นการบอกว่าใบไม้ผลิจะเริ่มต้น – ซากุระเป็นต้นไม้ที่ออกดอกก่อนใบ)
★お茶のことを「あがり」とは、何があがりになった?
寿司のお店にゆくと、お茶のことを「あがり」と言っています。お茶があがりとはどうしてなのか? これはもともと花柳界の縁起をかついだ言葉から出たものです。その昔、お茶の葉は粗製のままのものを買って、家の茶臼で挽いていました。このお茶を挽く仕事は、花柳界では、その日売れ残った芸者の仕事でした。そこで売れ残りの芸者さんを「お茶ぴき」と言うようになり、また、お呼びのかかった芸者さんは、「おあがりさん」と言ってお座敷にあがりました。このように「お茶」という言葉は、売れ残りを指す縁起の悪い言葉であると思われたので、お茶のことを縁起を担いで、「あがり」というようになりました。また遊郭では、お客が来るとすぐに出したお茶の「上がり花」からお茶を「あがり」と呼ぶようになり、これが寿司店にも次第に入ってきたようです。
お茶は「あがり」
ต่อมาคือ วาซาบิของร้านซูชิจะถูกเรียกว่า “ซาบิ” หรือ 涙 Namida (น้ำตา) นั่นเอง เดาว่าน่าจะมาจากวาซาบิฉุน และพอกินเข้าไปแล้วน้ำตาจะไหลพรากนั่นเอง
อีกคำนึงก็คือ โชยุร้านซูชิจะถูกเรียกว่า 紫Murasaki หรือ สีม่วง นั่นเอง เนื่องจากในสมัยเอโดะนั้น โชยุเป็นเครื่องปรุงสำหรับชนชั้นสูงที่ราคาแพงงงลิบ แพงกว่าเกลือสักแปดเท่าได้ และในสมัยนั้นเอง สีม่วงคือสีที่ถูกกำหนดมาแต่โบราณว่าเป็นสีของชนชั้นสูง เครื่องย้อมสีม่วงเองก็ถือว่าเป็นของมีราคา และสีของโชยุที่เข้มข้นแลคล้ายสีม่วง จึงแทนคำว่าสีม่วงให้กับโชยุเพื่อยกว่าเป็นของล้ำค่านั่นเอง
แต่มีอีกตำนานหนึ่งบอกว่า โชยุนั้นมีต้นกำเนิดจากชนเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ใกล้ตีนเขาทสึคุบะ(筑波山) ซึ่งเขาทสึคุบะนั้นมีฉายาว่า 紫峰 Shihou แปลว่า ยอดเขาสีม่วง(เวลาพลบค่ำแล้วจะเห็นเป็นสีม่วง) ซึ่งเป็นแหล่งผลิตโชยุ โชยุก็เลยถูกเรียกว่าสีม่วงไปโดยปริยาย
醤油のことをどうして「むらさき」と言うのだろう?
江戸時代、八代将軍の吉宗のころになると、町には料理屋が多くでき、醤油は調味料として重宝に使われるようになりました。しかし当時は非常に高いもので、塩の8倍にもなる価格であったそうです。また紫という色は昔から高貴な色とされ、染物でも紫は高価なものでした。こんなことと、醤油の色が濃い紫色のようであることから、いつしか貴重なものの代名詞として醤油のことを「むらさき」と言うようになりました。
もう一つの説があります。醤油は、筑波山の麓付近で多く生産されていました。また筑波山の雅称が紫峰(しほう)といったことから、醤油の産地でもあることから、醤油のことを「むらさき」と言うようになりました。
醤油のことは「むらさき」という。
ขอฝากไว้แค่เล็กๆ น้อยๆ ก่อนนะคะ จริงๆ แล้วยังมีรหัสลับอีกเยอะค่ะ ไว้มีโอกาสจะมาเล่าให้ฟังใหม่นะคะ
Posted by mod at
15:26
│Comments(0)