› 日本が好き › 2016年02月16日
2016年02月16日
ทิป หรือสินน้ำใจ
สวัสดี วันอังคารสีชมพูค่ะ
เมื่อวันก่อนไปทานข้าวกับเพื่อนคนญี่ปุ่นมาค่ะ ก็ไปร้านอาหารญี่ปุ่นน่ะแหละค่ะ ขณะทานไปคุยไปอย่างสนุกสนาน ก็มีโต๊ะข้างๆ เรียกเก็บเงิน แล้วตอนที่พนักงานบริการมาทอนเงิน คนโต๊ะข้างๆ ก็ให้ทิปพนักงานคนนั้น เพื่อนคนญี่ปุ่นก็หันมาถามว่า คนไทยต้องให้ทิปกันด้วยเหรอ ฉันก็ตอบเข้าไปว่าบางคนก็ให้ บางคนก็ไม่ให้ เพราะการให้ทิปก็ไม่ถือว่าเป็นธรรมเนียมปฎิบัติของคนไทยเสียทีเดียว
แต่ในสังคมของประเทศญี่ปุ่นนั้นจะไม่มีธรรมเนียมในการให้ทิป ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นรถแท็กซี่ การทานอาหารที่ร้านอาหาร การเข้าพักที่โรงแรม ฯลฯ เพราะจะมีการรวมค่าบริการเข้าไปอยู่ในราคาสิ่งของและการบริการแล้ว เช่นในโรงแรมหรือที่พักสไตล์ญี่ปุ่นจะมีการเรียกเก็บค่าบริการ 5-10% ของยอดค่าใช้จ่ายทั้งหมด เพื่อจะนำเงินค่าบริการเหล่านี้มาให้กับผู้ที่ทำหน้าที่คอยดูแลและบริการแขกที่เข้ามาพัก เป็นต้น
ดังนั้นจึงไม่ต้องให้ทิป เพราะคนญี่ปุ่นจะถือเรื่องการบริการที่ทำให้ด้วยใจ พนักงานในญี่ปุ่นจะไม่รับทิป
แต่ก็มีกรณียกเว้น อย่างเช่นที่พักสไตล์ญี่ปุ่น หรือที่เรียกว่าเรียวกัง (ryokan) แต่อย่าเรียกว่าเป็น "ทิป" เลยนะคะ เรียกว่า "สินน้ำใจ" จะดีกว่า เพราะสินน้ำใจเป็นสิ่งที่ใช้แทนคำว่า "ขอความกรุณาช่วยดูแลด้วย " คือ これからお世話になります。よろしくお願いします。(korekara osewa ni narimasu. yoroshiku onegai shimasu) ปกติเราไม่จำเป็นต้องให้นะคะ
แต่ในกรณีที่ร้องขอความช่วยเหลือในเรื่องต่อไปนี้ ก็ควรมีสินน้ำใจเล็กๆ น้อยๆ
1.เมื่อพาเด็กเล็กๆ ไปด้วยหรือเมื่อไปเป็นหมู่คณะ
2.เดินเหินไม่สะดวก เวลาเคลื่อนย้ายต้องขอแรงจากพนักงาน
3.กรณีที่ขอเปลี่ยนห้องเป็นห้องที่ดีกว่า เมื่อมีห้องว่าง
จำนวนเงินที่เหมาะสม :โดยทั่วไปก็ประมาณ 2,000-3,000 เยน แต่น้อยกว่านั้นก็ได้เพราะว่าจำนวนเงินไม่ใช่สิ่งสำคัญเท่ากับการแสดงความขอบคุณ
จังหวะในการให้ :ให้ทิปกับเจ้าหน้าที่ของโรงแรมคนที่พาลูกค้าไปที่ห้องพัก ไม่ได้ให้ทิปตอนจ่ายเงินนะคะ แต่จะให้ทิปตอนถึงห้องพักในตอนแรกเลย เพราะคนญี่ปุ่นจะคิดว่า "หากให้ทิปไว้ตั้งแต่ตอนแรก หลังจากนี้ก็จะไหว้วานให้ช่วยเรื่องต่างๆได้ง่ายขึ้น ไม่ใช่เพราะว่าให้ทิปไปเพื่อขอบคุณที่บริการให้อย่างดีนะคะ ค่าทิปที่เหมาะสมที่สุด คือ 1,000 เยนต่อหนึ่งคืน จะไม่มีการส่งให้กับมือเพราะถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม การทิปจะต้องให้อย่างมิดชิด อาจจะใส่ซองให้ สามารถหาซื้อซองได้ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป เรียกกันว่า "โปชิบุกุโระ" (ぽ詩袋)
ตอนที่ให้ก็พูดว่า "รบกวนช่วยดูแลด้วย" よろしくお願いします (Yoroshiku onegai shimasu) แล้วจึงส่งซองเงินให้ หรือไม่ก็สอดไว้ข้างๆ โถข้าว ตอนที่พนักงานมาเก็บภาชนะหลังจากกินอาหารเสร็จแล้ว
กรณีไม่มีซองจริงๆ ก็ควรเสียบไว้ในกระดาษโน้ตสีขาว แล้วส่งให้จะดูดีกว่า แต่ไม่ใช่ห่อด้วยกระดาษทิชชู่นะคะ
สำหรับฉันเองก็มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับเรื่องทิปเหมือนกัน ตอนที่เป็นไกด์ทัวร์ญี่ปุ่นนั้น ก็พาลูกค้าชาวญี่ปุ่นไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ตามโปรแกรม ตอนช่วงที่ไปส่งที่โรงแรมเขาก็มีสินน้ำใจเล็กๆ น้อยๆ ให้ด้วย เขาก็ยื่นแบงค์ 20 ให้
ก็รู้สึกขอบคุณเขานะคะ ก็เข้าใจว่าการให้ทิปไม่ใช่ธรรมเนียมของคนญี่ปุ่น และจำนวนเงินก็ไม่เท่ากับการแสดงน้ำใจ แต่ที่ลำบากใจนิดๆ คือให้มา 20 บาท มีเรากับคนขับรถ จะแบ่งกันคนละ 10 บาทก็คงฮา ฉันเห็นพี่คนขับรถน่าจะเหนื่อยกว่าก็เลยมอบเงินจำนวนนั้นเป็นสินน้ำใจให้เขาแทน
เมื่อวันก่อนไปทานข้าวกับเพื่อนคนญี่ปุ่นมาค่ะ ก็ไปร้านอาหารญี่ปุ่นน่ะแหละค่ะ ขณะทานไปคุยไปอย่างสนุกสนาน ก็มีโต๊ะข้างๆ เรียกเก็บเงิน แล้วตอนที่พนักงานบริการมาทอนเงิน คนโต๊ะข้างๆ ก็ให้ทิปพนักงานคนนั้น เพื่อนคนญี่ปุ่นก็หันมาถามว่า คนไทยต้องให้ทิปกันด้วยเหรอ ฉันก็ตอบเข้าไปว่าบางคนก็ให้ บางคนก็ไม่ให้ เพราะการให้ทิปก็ไม่ถือว่าเป็นธรรมเนียมปฎิบัติของคนไทยเสียทีเดียว
แต่ในสังคมของประเทศญี่ปุ่นนั้นจะไม่มีธรรมเนียมในการให้ทิป ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นรถแท็กซี่ การทานอาหารที่ร้านอาหาร การเข้าพักที่โรงแรม ฯลฯ เพราะจะมีการรวมค่าบริการเข้าไปอยู่ในราคาสิ่งของและการบริการแล้ว เช่นในโรงแรมหรือที่พักสไตล์ญี่ปุ่นจะมีการเรียกเก็บค่าบริการ 5-10% ของยอดค่าใช้จ่ายทั้งหมด เพื่อจะนำเงินค่าบริการเหล่านี้มาให้กับผู้ที่ทำหน้าที่คอยดูแลและบริการแขกที่เข้ามาพัก เป็นต้น
ดังนั้นจึงไม่ต้องให้ทิป เพราะคนญี่ปุ่นจะถือเรื่องการบริการที่ทำให้ด้วยใจ พนักงานในญี่ปุ่นจะไม่รับทิป
แต่ก็มีกรณียกเว้น อย่างเช่นที่พักสไตล์ญี่ปุ่น หรือที่เรียกว่าเรียวกัง (ryokan) แต่อย่าเรียกว่าเป็น "ทิป" เลยนะคะ เรียกว่า "สินน้ำใจ" จะดีกว่า เพราะสินน้ำใจเป็นสิ่งที่ใช้แทนคำว่า "ขอความกรุณาช่วยดูแลด้วย " คือ これからお世話になります。よろしくお願いします。(korekara osewa ni narimasu. yoroshiku onegai shimasu) ปกติเราไม่จำเป็นต้องให้นะคะ
แต่ในกรณีที่ร้องขอความช่วยเหลือในเรื่องต่อไปนี้ ก็ควรมีสินน้ำใจเล็กๆ น้อยๆ
1.เมื่อพาเด็กเล็กๆ ไปด้วยหรือเมื่อไปเป็นหมู่คณะ
2.เดินเหินไม่สะดวก เวลาเคลื่อนย้ายต้องขอแรงจากพนักงาน
3.กรณีที่ขอเปลี่ยนห้องเป็นห้องที่ดีกว่า เมื่อมีห้องว่าง
จำนวนเงินที่เหมาะสม :โดยทั่วไปก็ประมาณ 2,000-3,000 เยน แต่น้อยกว่านั้นก็ได้เพราะว่าจำนวนเงินไม่ใช่สิ่งสำคัญเท่ากับการแสดงความขอบคุณ
จังหวะในการให้ :ให้ทิปกับเจ้าหน้าที่ของโรงแรมคนที่พาลูกค้าไปที่ห้องพัก ไม่ได้ให้ทิปตอนจ่ายเงินนะคะ แต่จะให้ทิปตอนถึงห้องพักในตอนแรกเลย เพราะคนญี่ปุ่นจะคิดว่า "หากให้ทิปไว้ตั้งแต่ตอนแรก หลังจากนี้ก็จะไหว้วานให้ช่วยเรื่องต่างๆได้ง่ายขึ้น ไม่ใช่เพราะว่าให้ทิปไปเพื่อขอบคุณที่บริการให้อย่างดีนะคะ ค่าทิปที่เหมาะสมที่สุด คือ 1,000 เยนต่อหนึ่งคืน จะไม่มีการส่งให้กับมือเพราะถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม การทิปจะต้องให้อย่างมิดชิด อาจจะใส่ซองให้ สามารถหาซื้อซองได้ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป เรียกกันว่า "โปชิบุกุโระ" (ぽ詩袋)
ตอนที่ให้ก็พูดว่า "รบกวนช่วยดูแลด้วย" よろしくお願いします (Yoroshiku onegai shimasu) แล้วจึงส่งซองเงินให้ หรือไม่ก็สอดไว้ข้างๆ โถข้าว ตอนที่พนักงานมาเก็บภาชนะหลังจากกินอาหารเสร็จแล้ว
กรณีไม่มีซองจริงๆ ก็ควรเสียบไว้ในกระดาษโน้ตสีขาว แล้วส่งให้จะดูดีกว่า แต่ไม่ใช่ห่อด้วยกระดาษทิชชู่นะคะ
สำหรับฉันเองก็มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับเรื่องทิปเหมือนกัน ตอนที่เป็นไกด์ทัวร์ญี่ปุ่นนั้น ก็พาลูกค้าชาวญี่ปุ่นไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ตามโปรแกรม ตอนช่วงที่ไปส่งที่โรงแรมเขาก็มีสินน้ำใจเล็กๆ น้อยๆ ให้ด้วย เขาก็ยื่นแบงค์ 20 ให้
ก็รู้สึกขอบคุณเขานะคะ ก็เข้าใจว่าการให้ทิปไม่ใช่ธรรมเนียมของคนญี่ปุ่น และจำนวนเงินก็ไม่เท่ากับการแสดงน้ำใจ แต่ที่ลำบากใจนิดๆ คือให้มา 20 บาท มีเรากับคนขับรถ จะแบ่งกันคนละ 10 บาทก็คงฮา ฉันเห็นพี่คนขับรถน่าจะเหนื่อยกว่าก็เลยมอบเงินจำนวนนั้นเป็นสินน้ำใจให้เขาแทน
Posted by mod at
14:08
│Comments(1)