› 日本が好き › 2016年01月
2016年01月15日
Genbi Shinkansen (現美新幹線)
ถ้าพูดกันถึงรถไฟความเร็วสูง คนไทยเราก็จะคุ้นหูกับ "รถไฟชินกังเซ็ง" กันอยู่แล้ว ซึ่งจะมีความสะดวกสบายและเดินทางได้รวดเร็ว ปลอดภัย
แต่ในปี 2016 นี้ เราจะได้เห็นรถไฟชินกังเซ็งโฉมใหม่ เมื่อ JR East (East Japan Railway Company) ได้เผยดีไซน์ชินกังเซ็งใหม่ที่จะวิ่งระหว่างสถานี Echigo –Yuzawa ถึง Niigata ในชื่อ Genbi Shinkansen (現美新幹線)ที่คาดว่าจะให้บริการได้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ โดยรถไฟขบวนนี้จะมีทั้งหมด 16 ตู้ รถไฟชินคันเซนขบวนนี้จะวิ่งให้บริการในวันเสาร์,วันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ระหว่างสถานี Niigata กับสถานี Ichigoyuzawa ของจังหวัด Niigata
บริษัท JR Higashi Nihon ยังให้สัมภาษณ์ว่า “ที่ตกแต่งรถไฟชินคันเซ็นให้สวยงามเช่นนี้ เพราะว่าอยากให้ผู้โดยสารได้รับความเพลิดเพลินในการนั่งรถไฟชินคันเซนไปพร้อมๆ กับได้ชมภาพวาดที่สวยงามตระการตาด้วย”
โดยตัวรถไฟด้านนอนจะทาเป็นสีกรมท่า แล้วการตกแต่งลวดลายภายนอกได้รับการออกแบบโดยคุณ Mika Nanigawa (ช่างภาพและผู้กำกับภาพยนต์) เป็นธีมของบรรยากาศท้องฟ้าในช่วงฤดูร้อนผสมผสานลายดอกไม้ไฟที่เป็นสีแดงและสีน้ำเงินซึ่งเป็นเทศกาลใหญ่ประจำปีของเมือง Nagaoka (Niigata)
คุณ Mika Nanigawa ผู้ออกแบบ
แล้วที่สำคัญยังได้บรรดาศิลปินอาร์ทติสท์ชื่อดังของญี่ปุ่นมาร่วมออกแบบภายในแต่ละโบกี้อีกด้วย ตั้งแต่ตู้โดยสารที่ 11
ตู้โดยสารที่ 11 ได้ Nao Matsumoto แสดงงานภาพวาด
ตู้โดยสารที่ 12 ได้ Yusuke Komuta แสดงงานศิลปะบนผนัง
ตู้โดยสารที่ 13 ได้ Paramodel แสดงงานภาพวาดและประติมากรรม ร่วมกับ Kentaro Kobuke แสดงงานภาพวาด แล้วก็ตู้ขบวนนี้จะเป็นคาเฟ่ มีบริการขนมหวานที่ทำจากเนยของเมือง Sado (Niigata)
ตู้โดยสารที่ 14 ได้ Naoki Ishikawa แสดงงานภาพถ่าย
ตู้โดยสารที่ 15 ได้ Haruka Kojin แสดงงานศิลปะสามมิติ และตู้โดยสารที่ 16 ได้ Brian Alfred แสดงงานภาพเคลื่อนไหว
ภายในตัวรถไฟยังมีที่นั่งกว้างขวาง นุ่มสบาย เนื่องจากมีจำนวนที่นั่งต่อตู้นั้นแค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แล้วนอกจากนี้ภายในรถไฟยังมีส่วนของร้านกาแฟ และพื้นที่สำหรับเด็กเพื่อชมงานศิลปะอีกด้วย สำหรับคนที่หลงใหลในงานศิลปะก็น่าไปลองนั่งแกเลอรี่เคลื่อนที่เร็วที่สุดในโลกกันนะคะ
แต่ในปี 2016 นี้ เราจะได้เห็นรถไฟชินกังเซ็งโฉมใหม่ เมื่อ JR East (East Japan Railway Company) ได้เผยดีไซน์ชินกังเซ็งใหม่ที่จะวิ่งระหว่างสถานี Echigo –Yuzawa ถึง Niigata ในชื่อ Genbi Shinkansen (現美新幹線)ที่คาดว่าจะให้บริการได้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ โดยรถไฟขบวนนี้จะมีทั้งหมด 16 ตู้ รถไฟชินคันเซนขบวนนี้จะวิ่งให้บริการในวันเสาร์,วันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ระหว่างสถานี Niigata กับสถานี Ichigoyuzawa ของจังหวัด Niigata
บริษัท JR Higashi Nihon ยังให้สัมภาษณ์ว่า “ที่ตกแต่งรถไฟชินคันเซ็นให้สวยงามเช่นนี้ เพราะว่าอยากให้ผู้โดยสารได้รับความเพลิดเพลินในการนั่งรถไฟชินคันเซนไปพร้อมๆ กับได้ชมภาพวาดที่สวยงามตระการตาด้วย”
โดยตัวรถไฟด้านนอนจะทาเป็นสีกรมท่า แล้วการตกแต่งลวดลายภายนอกได้รับการออกแบบโดยคุณ Mika Nanigawa (ช่างภาพและผู้กำกับภาพยนต์) เป็นธีมของบรรยากาศท้องฟ้าในช่วงฤดูร้อนผสมผสานลายดอกไม้ไฟที่เป็นสีแดงและสีน้ำเงินซึ่งเป็นเทศกาลใหญ่ประจำปีของเมือง Nagaoka (Niigata)
คุณ Mika Nanigawa ผู้ออกแบบ
แล้วที่สำคัญยังได้บรรดาศิลปินอาร์ทติสท์ชื่อดังของญี่ปุ่นมาร่วมออกแบบภายในแต่ละโบกี้อีกด้วย ตั้งแต่ตู้โดยสารที่ 11
ตู้โดยสารที่ 11 ได้ Nao Matsumoto แสดงงานภาพวาด
ตู้โดยสารที่ 12 ได้ Yusuke Komuta แสดงงานศิลปะบนผนัง
ตู้โดยสารที่ 13 ได้ Paramodel แสดงงานภาพวาดและประติมากรรม ร่วมกับ Kentaro Kobuke แสดงงานภาพวาด แล้วก็ตู้ขบวนนี้จะเป็นคาเฟ่ มีบริการขนมหวานที่ทำจากเนยของเมือง Sado (Niigata)
ตู้โดยสารที่ 14 ได้ Naoki Ishikawa แสดงงานภาพถ่าย
ตู้โดยสารที่ 15 ได้ Haruka Kojin แสดงงานศิลปะสามมิติ และตู้โดยสารที่ 16 ได้ Brian Alfred แสดงงานภาพเคลื่อนไหว
ภายในตัวรถไฟยังมีที่นั่งกว้างขวาง นุ่มสบาย เนื่องจากมีจำนวนที่นั่งต่อตู้นั้นแค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แล้วนอกจากนี้ภายในรถไฟยังมีส่วนของร้านกาแฟ และพื้นที่สำหรับเด็กเพื่อชมงานศิลปะอีกด้วย สำหรับคนที่หลงใหลในงานศิลปะก็น่าไปลองนั่งแกเลอรี่เคลื่อนที่เร็วที่สุดในโลกกันนะคะ
Posted by mod at
16:47
│Comments(0)
2016年01月14日
วันฉลองบรรลุนิติภาวะ 成人の日
ทุกวันจันทร์ที่ 2 มกราคมของทุกปี สำหรับคนญี่ปุ่นถือเป็น วันหนึ่งที่มีความสำคัญจนยกให้เป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์เลยทีเดียว ซึ่งวันนั้นก็คือ วันฉลองบรรลุนิติภาวะ 成人の日( seijin no hi )ถ้าแปลตรงตัวจริงๆ ก็เป็นวันสำคัญของการก้าวย่างสู่ความเป็นผู้ใหญ่
วันฉลองบรรลุนิติภาวะนี้ เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยเอโดะ (ค.ศ. 1603 – 1868) โดยมีรากฐานมาจากประเพณีและวัฒนธรรมที่มีมาแต่โบราณของญี่ปุ่น เพื่อแสดงการที่บุคคลจะต้องละทิ้งความเป็นเด็กและเริ่มต้นการเป็นผู้ใหญ่ โดยคำว่า Seijin นั้นก็แปลตรงๆ ตัวว่า “ผู้ใหญ่” นั่นเอง และเป็นการต้อนรับสมาชิกใหม่ของสังคม ผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้วมีสิทธิ์โดยสมบูรณ์ในฐานะประชาชนคนหนึ่งซึ่งรวมถึงสิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ผู้ที่บรรลุนิติภาวะควรพร้อมที่จะดำเนินชีวิตตามวิถีทางของตนเองด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม
โดยก่อนปี 2000 นั้น ถูกกำหนดไว้เป็นทุกวันที่ 15 มกราคมของทุกปี แต่เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทาง ด้านกฎหมาย ทำให้มีการเปลี่ยนวันฉลองบรรลุนิติภาวะนี้ ให้เป็นวันจันทร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมแทน เพื่อที่จะมีผลทำให้เกิดวันหยุด 3 วันติดต่อกัน (คือวันเสาร์ อาทิตย์ และจันทร์) ซึ่งมักเรียกกันโดยทั่วไปว่า “ซุปเปอร์มันเดย์” ซึ่งจะเป็นวันหยุดแรกหลังจากเปิดทำงานหลังเทศกาลขึ้นปีใหม่
วันฉลองบรรลุนิติภาวะ มีการจัดพิธีฉลองทั่วประเทศหญิงสาวที่เข้าร่วมพิธีเป็นจำนวนมากนิยมสวมชุดกิโมโนและถ่ายรูปเป็นที่ระลึกในโอกาสอันพิเศษนี้ สำหรับพิธีหลักๆ คือทางเมืองต่างๆ จะจัดพิธีมอบประกาศนียบัตร และให้โอวาทแก่วัยรุ่นที่มาร่วมงานที่ถือว่าเป็นผู้ใหญ่รุ่นใหม่ในพิธีบรรลุนิติภาวะ หรือ 成人式(seijin shiki )
เครื่องแต่งกายสำหรับผู้ชายนั้น โดยทั่วไปนิยมใส่ชุดสูท หรือไม่ก็จะเป็นชุดกิโมโนสำหรับผู้ชาย และที่สำคัญอีกประการ หนึ่งคือ วันฉลองบรรลุนิติภาวะสำหรับชายหนุ่มญี่ปุ่น ถือว่าเป็นวันที่มักจะประกาศความเป็นผู้ใหญ่ของตนเองออกมา เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้มีการดื่มฉลองกันมากมาย
ส่วนใหญ่หญิงสาวที่จะเข้าพิธีฉลองนั้น มักจจะใส่ชุดกิโมโน 着物 (kimono) แขนปล่อยชาย ที่เรียกว่า 振袖 ( furisode) ที่มีสีสันสวยงาม พร้อมทำผมแต่งหน้ากันอย่างเต็มที่ ซึ่งในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่มักจะนิยมเช่าจากร้านให้เช่าชุดกิโมโน สิ่งที่ขาดไม่ได้อีกประการหนึ่งสำหรับสาวๆ ที่แต่งชุดกิโมโน ในวันฉลองบรรลุนิติภาวะนี้ มักจะไปถ่ายรูป ในสตูดิโอเก็บไว้
ชุดกิโมโนแบบแขนยาวปล่อยชาย สำหรับสตรีที่ยังไม่แต่งงาน
นอกจากงานพิธีการแล้ว วันนั้นก็จะมีการไปฉลองกันต่างๆ เช่นสาวๆ ก็อาจจะไปเที่ยวในชุดกิโมโน
แต่การมีวันฉลองบรรลุนิติภาวะ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่พิธีกรรมเท่านั้น แต่เป็นเครื่องเตือนใจหนุ่มๆ สาวๆ ว่าการเป็นผู้ใหญ่นั้น ไม่ใช่แค่คำเรียกฐานะทางสังคม แต่การเป็นผู้ใหญ่ที่ดีนั้นต้องรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมในทางที่ถูกที่ควรด้วย
ถ้าประเทศไทย มีวันฉลองบรรลุนิติภาวะบ้างก็คงจะดีนะคะ จะได้เตือนสติว่าเขาได้โตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ต้องรับผิดชอบต่อตัวเองและสังคมด้วย แล้วในวันนั้นถ้าสาวๆ แต่งชุดไทยเต็มยศแบบญีปุ่นก็คงดูน่ารักดีนะ
ขอขอบคุณ ข้อมูลและภาพ จาก Marumaru
วันฉลองบรรลุนิติภาวะนี้ เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยเอโดะ (ค.ศ. 1603 – 1868) โดยมีรากฐานมาจากประเพณีและวัฒนธรรมที่มีมาแต่โบราณของญี่ปุ่น เพื่อแสดงการที่บุคคลจะต้องละทิ้งความเป็นเด็กและเริ่มต้นการเป็นผู้ใหญ่ โดยคำว่า Seijin นั้นก็แปลตรงๆ ตัวว่า “ผู้ใหญ่” นั่นเอง และเป็นการต้อนรับสมาชิกใหม่ของสังคม ผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้วมีสิทธิ์โดยสมบูรณ์ในฐานะประชาชนคนหนึ่งซึ่งรวมถึงสิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ผู้ที่บรรลุนิติภาวะควรพร้อมที่จะดำเนินชีวิตตามวิถีทางของตนเองด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม
โดยก่อนปี 2000 นั้น ถูกกำหนดไว้เป็นทุกวันที่ 15 มกราคมของทุกปี แต่เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทาง ด้านกฎหมาย ทำให้มีการเปลี่ยนวันฉลองบรรลุนิติภาวะนี้ ให้เป็นวันจันทร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมแทน เพื่อที่จะมีผลทำให้เกิดวันหยุด 3 วันติดต่อกัน (คือวันเสาร์ อาทิตย์ และจันทร์) ซึ่งมักเรียกกันโดยทั่วไปว่า “ซุปเปอร์มันเดย์” ซึ่งจะเป็นวันหยุดแรกหลังจากเปิดทำงานหลังเทศกาลขึ้นปีใหม่
วันฉลองบรรลุนิติภาวะ มีการจัดพิธีฉลองทั่วประเทศหญิงสาวที่เข้าร่วมพิธีเป็นจำนวนมากนิยมสวมชุดกิโมโนและถ่ายรูปเป็นที่ระลึกในโอกาสอันพิเศษนี้ สำหรับพิธีหลักๆ คือทางเมืองต่างๆ จะจัดพิธีมอบประกาศนียบัตร และให้โอวาทแก่วัยรุ่นที่มาร่วมงานที่ถือว่าเป็นผู้ใหญ่รุ่นใหม่ในพิธีบรรลุนิติภาวะ หรือ 成人式(seijin shiki )
เครื่องแต่งกายสำหรับผู้ชายนั้น โดยทั่วไปนิยมใส่ชุดสูท หรือไม่ก็จะเป็นชุดกิโมโนสำหรับผู้ชาย และที่สำคัญอีกประการ หนึ่งคือ วันฉลองบรรลุนิติภาวะสำหรับชายหนุ่มญี่ปุ่น ถือว่าเป็นวันที่มักจะประกาศความเป็นผู้ใหญ่ของตนเองออกมา เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้มีการดื่มฉลองกันมากมาย
ส่วนใหญ่หญิงสาวที่จะเข้าพิธีฉลองนั้น มักจจะใส่ชุดกิโมโน 着物 (kimono) แขนปล่อยชาย ที่เรียกว่า 振袖 ( furisode) ที่มีสีสันสวยงาม พร้อมทำผมแต่งหน้ากันอย่างเต็มที่ ซึ่งในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่มักจะนิยมเช่าจากร้านให้เช่าชุดกิโมโน สิ่งที่ขาดไม่ได้อีกประการหนึ่งสำหรับสาวๆ ที่แต่งชุดกิโมโน ในวันฉลองบรรลุนิติภาวะนี้ มักจะไปถ่ายรูป ในสตูดิโอเก็บไว้
ชุดกิโมโนแบบแขนยาวปล่อยชาย สำหรับสตรีที่ยังไม่แต่งงาน
นอกจากงานพิธีการแล้ว วันนั้นก็จะมีการไปฉลองกันต่างๆ เช่นสาวๆ ก็อาจจะไปเที่ยวในชุดกิโมโน
แต่การมีวันฉลองบรรลุนิติภาวะ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่พิธีกรรมเท่านั้น แต่เป็นเครื่องเตือนใจหนุ่มๆ สาวๆ ว่าการเป็นผู้ใหญ่นั้น ไม่ใช่แค่คำเรียกฐานะทางสังคม แต่การเป็นผู้ใหญ่ที่ดีนั้นต้องรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมในทางที่ถูกที่ควรด้วย
ถ้าประเทศไทย มีวันฉลองบรรลุนิติภาวะบ้างก็คงจะดีนะคะ จะได้เตือนสติว่าเขาได้โตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ต้องรับผิดชอบต่อตัวเองและสังคมด้วย แล้วในวันนั้นถ้าสาวๆ แต่งชุดไทยเต็มยศแบบญีปุ่นก็คงดูน่ารักดีนะ
ขอขอบคุณ ข้อมูลและภาพ จาก Marumaru
Posted by mod at
12:40
│Comments(0)
2016年01月13日
Antenna shop ร้านค้าสินค้า OTOP
ร้านค้าขายสินค้า OTOP ขึ้นชื่อของเมืองหรือจังหวัดต่างๆ ได้มาเปิดร้านอย่างในโตเกียวเพื่อจะประชาสัมพันธ์แนะนำให้คนต่างๆ ได้รู้จักอย่างเช่นเหล้าหรืออาหารประจำท้องถิ่น โดยร้านค้าเหล่านี้จะมีชื่อเรียกว่า “Antenna shop 「アンテナショップ」"
ตอนแรกที่อ่านเจอก็คิดว่าเป็นร้านขายจานดาวเทียมหรือเสาอากาศหรือเปล่าน้อ แต่ไม่ใช่นะคะ
Antenna shop เป็นร้านค้าประเภทหนึ่งซึ่งรวมสรรพสิ่งอันเป็นที่ร่ำลือจากทุกตำบล หรือจังหวัดต่างๆมารวมไว้ให้ได้เลือกสรรกันในร้านเดียว จะเรียกว่าร้าน 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ก็ได้นะ ซึ่งคอนเซ็ปท์หลักก็คือการรวบรวมของดีจากทุกภูมิภาคของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งหลายๆที่เป็นแหล่งผลิตงานฝีมือชั้นดีป้อนเข้าสู่แบรนด์ดังระดับโลกเลยทีเดียว
จากแหล่งข้อมูลของ Chiikikatsuseika Center ได้บอกว่าที่โตเกียวมีร้าน Antenna shop อยู่ถึง 55 ร้าน แล้วก็นับว่ามีมากที่สุดเท่าที่ผ่านมาเลยก็ว่าได้
แล้วในช่วงปี 2014 นั้นได้มีลูกค้ามากกว่า 1 ล้านคนมาที่ช้อปในร้านค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ของฮอคไกโด, โทจิงิ, นีงาตะและโอกินาว่าที่ตั้งอยู่ในโตเกียว (เยอะจัง)
ที่ร้านขายผลิตภัณฑ์ของฮอคไกโด, โอกินาว่าและฮิโรชิมะนั้นได้ขายอย่างผลิตภัณฑ์จำพวกอาหารได้มากกว่า 7 ร้อยล้านเยนเลยทีเดียว
ร้าน Ginza NAGANO 「銀座NAGANO」ที่เป็นร้าน Antenna shop ของจังหวัดนางาโนะนั้นนอกจากแนะนำผลิตภัณฑ์จำพวกอาหารแล้ว ก็ยังได้
ทำการแนะนำชีวิตความเป็นอยู่และการทำงานด้วย
ผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อของจังหวัด
มีการแนะนำสินค้าด้วย
ช่วงงานองุ่น น่าอร่อยจัง
เขาก็คิดว่าอยากให้คนได้มาอาศัยอยู่ในจังหวัดนางาโนะให้มากๆ แล้วจากการให้คำปรึกษานั้นก็มีคนเพิ่มขึ้นมากกว่าปีก่อนๆ ถึง 30%
สำหรับประเทศไทยเอง เราก็มีร้านค้า OTOP เช่นกัน เราก็ต้องก้าวไกลไปสู่ตลาดโลกให้ได้เช่นกันนะคะ
ตอนแรกที่อ่านเจอก็คิดว่าเป็นร้านขายจานดาวเทียมหรือเสาอากาศหรือเปล่าน้อ แต่ไม่ใช่นะคะ
Antenna shop เป็นร้านค้าประเภทหนึ่งซึ่งรวมสรรพสิ่งอันเป็นที่ร่ำลือจากทุกตำบล หรือจังหวัดต่างๆมารวมไว้ให้ได้เลือกสรรกันในร้านเดียว จะเรียกว่าร้าน 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ก็ได้นะ ซึ่งคอนเซ็ปท์หลักก็คือการรวบรวมของดีจากทุกภูมิภาคของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งหลายๆที่เป็นแหล่งผลิตงานฝีมือชั้นดีป้อนเข้าสู่แบรนด์ดังระดับโลกเลยทีเดียว
จากแหล่งข้อมูลของ Chiikikatsuseika Center ได้บอกว่าที่โตเกียวมีร้าน Antenna shop อยู่ถึง 55 ร้าน แล้วก็นับว่ามีมากที่สุดเท่าที่ผ่านมาเลยก็ว่าได้
แล้วในช่วงปี 2014 นั้นได้มีลูกค้ามากกว่า 1 ล้านคนมาที่ช้อปในร้านค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ของฮอคไกโด, โทจิงิ, นีงาตะและโอกินาว่าที่ตั้งอยู่ในโตเกียว (เยอะจัง)
ที่ร้านขายผลิตภัณฑ์ของฮอคไกโด, โอกินาว่าและฮิโรชิมะนั้นได้ขายอย่างผลิตภัณฑ์จำพวกอาหารได้มากกว่า 7 ร้อยล้านเยนเลยทีเดียว
ร้าน Ginza NAGANO 「銀座NAGANO」ที่เป็นร้าน Antenna shop ของจังหวัดนางาโนะนั้นนอกจากแนะนำผลิตภัณฑ์จำพวกอาหารแล้ว ก็ยังได้
ทำการแนะนำชีวิตความเป็นอยู่และการทำงานด้วย
ผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อของจังหวัด
มีการแนะนำสินค้าด้วย
ช่วงงานองุ่น น่าอร่อยจัง
เขาก็คิดว่าอยากให้คนได้มาอาศัยอยู่ในจังหวัดนางาโนะให้มากๆ แล้วจากการให้คำปรึกษานั้นก็มีคนเพิ่มขึ้นมากกว่าปีก่อนๆ ถึง 30%
สำหรับประเทศไทยเอง เราก็มีร้านค้า OTOP เช่นกัน เราก็ต้องก้าวไกลไปสู่ตลาดโลกให้ได้เช่นกันนะคะ
Posted by mod at
12:56
│Comments(0)
2016年01月12日
七草がゆ ข้าวต้มสมุนไพร 7 อย่างช่วยผ่อนคลายกระเพาะ
วันนี้ก็เป็นวันที่ 12 ม.ค.แล้วนะคะ เราก็ได้ผ่านพ้นช่วงการฉลองปีใหม่มาได้ 10 กว่าวันแล้ว เป็นอย่างไรบ้างคะ ช่วงปีใหม่สังสรรค์กันเต็มที่มัยคะ สำหรับฉันเรียกว่าฉลองหนักมาก กระเพาะแทบระเบิดเลยทีเดียว ช่วงนี้ก็เลยต้องไดเอทกันนิดนึง สำหรับคนญี่ปุ่นแล้ว หลังการฉลองหนัก เขาก็มีการทานอาหารเพื่อผ่อนคลายกระเพาะที่ต้องทำงานหนักด้วยนะคะ
แล้วหนึ่งในธรรมเนียมที่ต้องปฏิบัตินั้นคือ การทานข้าวต้มสมุนไพรทั้ง 7 และเลข 7 ก็ถือเป็นเลขมงคลของญี่ปุ่นอีกด้วย
เมื่อเข้าวันที่ 7 หลังเทศกาลปีใหม่ของทุกปี คนญี่ปุ่นเค้ามีประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนานตั้งแต่ยุคเฮอัน นั่นก็คือการทานข้าวต้มสมุนไพร 7 ชนิด ซึ่งเรียกว่า Nanakusa Gayu (七草がゆ) เค้าเชื่อกันว่าเมื่อได้ทานเมนูนี้แล้วจะช่วยป้องกันรักษาโรคหวัด และโรคอื่นๆ ได้อีกด้วย และยังช่วยปรับสภาพกระเพาะอาหารหลังจากที่สังสรรค์กันเป็นเวลาหลายวันในช่วงปีใหม่ที่ผ่านมาได้ดีอีกด้วย ถ้าทานข้าวต้มที่เป็นอาหารอ่อนๆ จะดีต่อสุขภาพนั่นเอง
สมุนไพร 7 ชนิดที่ว่าไม่ใช่ว่าจะกำหนดขึ้นมาเองได้นะคะ ต้องเป็นพืชผลสมุนไพรในช่วงฤดูใบไม้ผลิเท่านั้น เรียกว่า Haru no Nanakusa (春の七草) มาดูกันว่าทั้ง 7 ชนิดนั้นมีอะไรกันบ้าง
Seri (せり) เป็นพืชสมุนไพรที่มีธาตุเหล็กสูงช่วยบำรุงระบบไหลเวียนของเลือดได้ดี
Nazuna (なずな) เป็นพืชสมุนไพรที่มีมีลักษณะเป็นดอกหญ้า เป็นสมุนไพรธาตุเย็น ขับความร้อนในร่างกายและช่วยขับปัสสาวะได้ดีอีกด้วย
Gogyou (ごぎょう) เป็นพืชสมุนไพรที่ช่วยลดอาการไอแก้อาการมีเสมหะได้ดี และยังช่วยในเรื่องการขับของเสียออกทางขับปัสสาวะได้ดีอีกด้วย
Hakobera (はこべら) เป็นพืชสมุนไพรที่อุดมไปด้วยโปรตีนและสารอาหารแร่ธาตุต่างๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย
Hotokenoza (ほとけのざ) เป็นพืชสมุนไพรที่ช่วยปรับสภาพบำรุงร่างกายทั่วๆ ไป
Suzuna (すずな) เป็นพืชสมุนไพรที่ช่วยในระบบการย่อยอาหารได้ดี ช่วยละลายเสมหะ ขยายหลอดลมหลอดเลือด เป็นพืชที่ควรอยู่ในเมนูของผู้ป่วยโรคหวัด แก้พิษไข้ได้ด้วย
Suzushiro (すずしろ) เป็นพืชสมุนไพรที่ช่วยในระบบการย่อยอาหารได้ดี ช่วยละลายเสมหะ ขยายหลอดลมหลอดเลือด เป็นพืชที่ควรอยู่ในเมนูของผู้ป่วยโรคหวัด แก้พิษไข้ได้ด้วย
หลายคนอาจสงสัยว่าสมุนไพรทั้ง 7 หายากไหม? นี่มันฤดูหนาวนะ คำตอบคือ หาไม่ยากเลย จริงๆ เค้าก็มีขายทุกฤดูนั่นแหละเพียงแต่พืชทั้ง 7 ชนิดนี้จะเติบโตได้ดีในฤดูใบไม้ผลินั่นเอง ปัจจุบันตามห้างสรรพสินค้าได้มีวางขายเป็นเซตสำเร็จรูปอยู่มากมาย
ในบางพื้นที่เค้าก็มีทำเป็นหม้อใหญ่ๆ แล้วแจกจ่ายให้ทุกคนในพื้นที่ได้ทานอีกด้วยนะ ถือเป็นเมนูเด็ดในวันนั้นเลย ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงแค่ข้าวต้มกับสมุนไพร แต่ถือว่าเป็นสิ่งมงคลอย่างหนึ่ง อย่างเช่นที่วัดในเมืองคามากุระ จังหวัดคานางาว่าได้จัดข้าวต้มสมุนไพรเลี้ยงฟรีในวันที่ 7 ม.ค.ของทุกปีเลยก็ว่าได้
ขั้นตอนแรกนั้น จะวางถวายสมุนไพรของฤดูใบไม้ผลิไว้ที่ด้านหน้าขององค์พระพุทธรูป แล้วขอพรให้ปีใหม่นี้อย่าได้มีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน แล้วก็ขอให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสดใสราบรื่น
หลังจากนั้น จะใส่สมุนไพรฤดูใบไม้ผลิลงในข้าวต้มที่ปรุงไว้ในหม้อใบใหญ่ แล้วนำมาเลี้ยงทุกๆ คน
วัดแห่งนี้ได้จัดเตรียมข้าวต้มสมุนไพร 7 ชนิดที่สามารถเลี้ยงคนให้ทานได้ราวๆ 300 คนกันเลยทีเดียว ผู้หญิงคนหนึ่งที่มาทานข้าวต้มสมุนไพร 7 ชนิดได้บอกว่า “หวังว่าอยากให้เป็น 1 ปีที่ครอบครัวทุกคนมีความสุขและแข็งแรงสดใสคะ”
เห็นแล้วก็รู้สึกอยากทานขึ้นมาเลยนะคะ เดี๋ยวลองทำทานดีกว่า แต่คงไม่ได้ใส่สมุนไพรทั้ง 7 ชนิดแบบนี้หรอกค่ะ เอาผักบ้านเรานี่แหละ
แล้วหนึ่งในธรรมเนียมที่ต้องปฏิบัตินั้นคือ การทานข้าวต้มสมุนไพรทั้ง 7 และเลข 7 ก็ถือเป็นเลขมงคลของญี่ปุ่นอีกด้วย
เมื่อเข้าวันที่ 7 หลังเทศกาลปีใหม่ของทุกปี คนญี่ปุ่นเค้ามีประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนานตั้งแต่ยุคเฮอัน นั่นก็คือการทานข้าวต้มสมุนไพร 7 ชนิด ซึ่งเรียกว่า Nanakusa Gayu (七草がゆ) เค้าเชื่อกันว่าเมื่อได้ทานเมนูนี้แล้วจะช่วยป้องกันรักษาโรคหวัด และโรคอื่นๆ ได้อีกด้วย และยังช่วยปรับสภาพกระเพาะอาหารหลังจากที่สังสรรค์กันเป็นเวลาหลายวันในช่วงปีใหม่ที่ผ่านมาได้ดีอีกด้วย ถ้าทานข้าวต้มที่เป็นอาหารอ่อนๆ จะดีต่อสุขภาพนั่นเอง
สมุนไพร 7 ชนิดที่ว่าไม่ใช่ว่าจะกำหนดขึ้นมาเองได้นะคะ ต้องเป็นพืชผลสมุนไพรในช่วงฤดูใบไม้ผลิเท่านั้น เรียกว่า Haru no Nanakusa (春の七草) มาดูกันว่าทั้ง 7 ชนิดนั้นมีอะไรกันบ้าง
Seri (せり) เป็นพืชสมุนไพรที่มีธาตุเหล็กสูงช่วยบำรุงระบบไหลเวียนของเลือดได้ดี
Nazuna (なずな) เป็นพืชสมุนไพรที่มีมีลักษณะเป็นดอกหญ้า เป็นสมุนไพรธาตุเย็น ขับความร้อนในร่างกายและช่วยขับปัสสาวะได้ดีอีกด้วย
Gogyou (ごぎょう) เป็นพืชสมุนไพรที่ช่วยลดอาการไอแก้อาการมีเสมหะได้ดี และยังช่วยในเรื่องการขับของเสียออกทางขับปัสสาวะได้ดีอีกด้วย
Hakobera (はこべら) เป็นพืชสมุนไพรที่อุดมไปด้วยโปรตีนและสารอาหารแร่ธาตุต่างๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย
Hotokenoza (ほとけのざ) เป็นพืชสมุนไพรที่ช่วยปรับสภาพบำรุงร่างกายทั่วๆ ไป
Suzuna (すずな) เป็นพืชสมุนไพรที่ช่วยในระบบการย่อยอาหารได้ดี ช่วยละลายเสมหะ ขยายหลอดลมหลอดเลือด เป็นพืชที่ควรอยู่ในเมนูของผู้ป่วยโรคหวัด แก้พิษไข้ได้ด้วย
Suzushiro (すずしろ) เป็นพืชสมุนไพรที่ช่วยในระบบการย่อยอาหารได้ดี ช่วยละลายเสมหะ ขยายหลอดลมหลอดเลือด เป็นพืชที่ควรอยู่ในเมนูของผู้ป่วยโรคหวัด แก้พิษไข้ได้ด้วย
หลายคนอาจสงสัยว่าสมุนไพรทั้ง 7 หายากไหม? นี่มันฤดูหนาวนะ คำตอบคือ หาไม่ยากเลย จริงๆ เค้าก็มีขายทุกฤดูนั่นแหละเพียงแต่พืชทั้ง 7 ชนิดนี้จะเติบโตได้ดีในฤดูใบไม้ผลินั่นเอง ปัจจุบันตามห้างสรรพสินค้าได้มีวางขายเป็นเซตสำเร็จรูปอยู่มากมาย
ในบางพื้นที่เค้าก็มีทำเป็นหม้อใหญ่ๆ แล้วแจกจ่ายให้ทุกคนในพื้นที่ได้ทานอีกด้วยนะ ถือเป็นเมนูเด็ดในวันนั้นเลย ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงแค่ข้าวต้มกับสมุนไพร แต่ถือว่าเป็นสิ่งมงคลอย่างหนึ่ง อย่างเช่นที่วัดในเมืองคามากุระ จังหวัดคานางาว่าได้จัดข้าวต้มสมุนไพรเลี้ยงฟรีในวันที่ 7 ม.ค.ของทุกปีเลยก็ว่าได้
ขั้นตอนแรกนั้น จะวางถวายสมุนไพรของฤดูใบไม้ผลิไว้ที่ด้านหน้าขององค์พระพุทธรูป แล้วขอพรให้ปีใหม่นี้อย่าได้มีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน แล้วก็ขอให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสดใสราบรื่น
หลังจากนั้น จะใส่สมุนไพรฤดูใบไม้ผลิลงในข้าวต้มที่ปรุงไว้ในหม้อใบใหญ่ แล้วนำมาเลี้ยงทุกๆ คน
วัดแห่งนี้ได้จัดเตรียมข้าวต้มสมุนไพร 7 ชนิดที่สามารถเลี้ยงคนให้ทานได้ราวๆ 300 คนกันเลยทีเดียว ผู้หญิงคนหนึ่งที่มาทานข้าวต้มสมุนไพร 7 ชนิดได้บอกว่า “หวังว่าอยากให้เป็น 1 ปีที่ครอบครัวทุกคนมีความสุขและแข็งแรงสดใสคะ”
เห็นแล้วก็รู้สึกอยากทานขึ้นมาเลยนะคะ เดี๋ยวลองทำทานดีกว่า แต่คงไม่ได้ใส่สมุนไพรทั้ง 7 ชนิดแบบนี้หรอกค่ะ เอาผักบ้านเรานี่แหละ
Posted by mod at
12:55
│Comments(0)
2016年01月11日
ฝึกการเป็นไมโกะหรือเกโกะ
เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นเกียวโตอย่างหนึ่ง นอกจากสถาปัตยกรรม วัด และสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่าบ่งบอกความเป็นญี่ปุ่นดั้งเดิมได้เป็นอย่างดี ก็ยังมีสาวหน้าขาวใส่ชุดกิโมโน หรือทั่วโลกรู้จักกันในนาม “เกอิชา” (芸者)
อันที่จริง เกอิชามีอยู่เกือบทั่วทุกภูมิภาคในประเทศญี่ปุ่น แต่คนส่วนมากพอพูดถึงเกอิชาก็จะนึกไปถึงเมืองเกียวโตเสียส่วนใหญ่
เกอิชา “芸者” (げいしゃ) แปลตรงตัวก็คือ “นักศิลปะ” หรือ "ผู้มีความชำนาญ ความสามารถทางด้านศิลปะศาสตร์" หรือก็คือ "ศิลปิน" นั่นเองที่สร้างความสำราญด้วยความสามารถทางศิลปะให้กับลูกค้า เช่น การร้องรำทำเพลง เต้นรำ เป่าขลุ่ย ตีกลอง เป็นต้น ส่วนทางภูมิภาคคันไซ (เกียวโต) นิยมเรียกเกอิชาว่า "เกอิงิ" (Geigi / 芸妓) หรือบางครั้งก็เรียกว่า เกโกะ “芸妓” (げいこ)
เกอิชาส่วนมากมักได้รับการว่าจ้างให้รับรองลูกค้าที่มาเป็นหมู่คณะ (ประมาณระดับมหาเศรษฐี หรือไม่ก็นักการเมืองระดับสูง) ในโรงน้ำชา (Chaya / 茶屋) หรือไม่ก็ เรียวเท (Ryotei / 料亭) หรือร้านอาหารญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม ส่วนระยะเวลาการให้บริการจะใช้ธูปเป็นเกณฑ์วัด ซึ่งในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า "ค่าธูป" (Senkoudai / 線香代) หรือ เคียวคุได (玉代 "ค่าเพชร") ลูกค้าจะติดต่อโดยผ่านสำนักติดต่อเกอิชา หรือ “เคนบัน” (検番) ซึ่งจะมีตารางนัดของเกอิชาแต่ละคน และทำการนัดหมาย ทั้งเพื่อการทำงานและการฝึกฝนอาชีพ เมื่อหญิงที่ทำงานเป็นเกอิชาแต่งงาน ก็จะเลิกจากอาชีพนี้ หากไม่แต่งงาน เมื่ออายุมากขึ้น ก็จะเลิกอาชีพนี้เช่นกัน แต่อาจทำงานเป็นเจ้าของร้านอาหาร ครูสอนดนตรี เต้นรำ หรือครูสอนเกอิชาต่อไปก็ได้
เกอิชาถือเป็นอาชีพหนึ่งของสตรีญี่ปุ่นในสมัยก่อน ซึ่งมีหน้าที่มอบความเพลิดเพลินบันเทิงใจให้แก่แขกเหรื่อ โดยหญิงสาวที่จะเป็นเกอิชา ต้องเข้ารับการฝึกอบรมศิลปะวัฒนธรรมหลากแขนงของญี่ปุ่นตั้งแต่เด็ก ไม่ว่าจะเป็นวิชาการขับร้อง, การร่ายรำ, การบรรเลงเครื่องดนตรี, การจัดดอกไม้, การชงชา, การแต่งชุดกิโมโน ฯลฯ นอกจากนี้ ยังต้องฝึกฝนเทคนิคการสนทนา การโต้ตอบกับแขก รวมไปถึงการพนันแบบต่างๆอีกด้วย
อันที่จริง เกอิชามีอยู่เกือบทั่วทุกภูมิภาคในประเทศญี่ปุ่น แต่คนส่วนมากพอพูดถึงเกอิชาก็จะนึกไปถึงเมืองเกียวโตเสียส่วนใหญ่ ซึ่งทางภูมิภาคคันไซ (เกียวโต) นิยมเรียกเกอิชาว่า "เกอิงิ" (Geigi / 芸妓) และเรียกเกอิชาฝึกหัดว่า "เกอิโกะ" (Geiko / 芸子) ส่วนคำว่า "ไมโกะ" (Maiko / 舞子) ที่มักได้ยินกันบ่อยๆนั้น ก็หมายถึงเกอิชะฝึกหัดเช่นกัน
หลายคนมักเข้าใจผิดว่าเกอิชะคือหญิงขายบริการ ทั้งที่จริงๆแล้วไม่ใช่เลย จริงอยู่ว่ามีลูกค้าบางคนจ่ายเงินเพื่อซื้อเรือนร่างของหญิงสาวที่ทำอาชีพเกอิชะ แต่พวกเธอมีสิทธิ์ที่จะเลือกปฏิเสธลูกค้า
ส่วนหญิงขายบริการในสมัยเอโดะจะมีชื่อเรียกว่า "ทะยู" (太夫) แต่ถ้าเป็นในโตเกียว จะเรียกว่า "โออิรัน" (おいらん) ซึ่งทั้งสองคำนี้ใช้เรียกหญิงขายบริการซึ่งมีตำแหน่งสูงสุดในบรรดาผู้หญิง ที่ทำอาชีพเดียวกัน และแทบเรียกได้ว่าเป็นที่หมายปองที่สุดของหนุ่มทั่วเอโดะ
ส่วนไมโกะ “舞妓” (まいこ) นั้นเป็นคำเรียกหญิงสาวฝึกหัดก่อนที่จะเติบโตเป็น “เกโกะ” ไมโกะส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 15 ถึง 20 ปี รูปแบบการแต่งกายเฉพาะของไมโกะ คือผูกโอบิปล่อยชาย สวมรองเท้าพื้นสูงให้ดูเป็นเด็กสาวน่ารัก ส่วนทรงผมจะเกล้ามวยด้วยจริง และประดับปิ่นดอกไม้หรือสัญลักษณ์ประจำฤดูกาลขนาดใหญ่ ไมโกะถือว่ามีสถานะทางสังคมค่อนข้างดี ซึ่งในเกียวโต สิ่งสำคัญคือการที่จะเลื่อนขึ้นเป็นเกอิชาได้นั้นต้องผ่านบททดสอบและฝึกฝนที่ยากลำบากพอสมควร ดูเหมือนว่าโลกของไมโกะจะสวยงามแต่ความเป็นจริงแล้วพวกเธอนั้นได้รับการฝึกหัดกันอย่างหนัก และเพื่อไปสู่การเป็น “เกโกะ” ไมโกะจะร่ำเรียนการแสดงนาฏศิลป์ ขับร้อง ดนตรี เช่น ชามิเซง และมารยาท ดังนั้นไมโกะจึงต้องฝึกฝนศิลปวิทยาเหล่านี้ ตลอดจนเรียนรู้วัฒนธรรม อาทิ พิธีชงชา ทุกวัน ไม่ได้เป็นกันง่ายๆ ทำให้ปัจจุบันไมโกะที่ล้มเลิกความตั้งใจกลางคันทั้งๆ ที่ยังไม่ได้เป็นเกอิชาจึงมีมากขึ้น
ในวันที่ 7ม.ค.ที่ผ่านมานั้นได้มีการจัดพิธีเปิดภาคการศึกษา “始業式” (しぎょうしき) ที่จะฝึกฝนเกี่ยวกับการร้องและการร่ายรำเป็นครั้งแรกของปีนี้
เหล่าไมโกะและเกโกะราวๆ 100คนได้สวมกิโมโนสีดำและประดับผมด้วยปิ่นปักผมที่เป็นต้นข้าวมารวมตัวกันที่สถาบันฝึกการร้องเพลงและร่ายรำ Kionkoubukaburenjyo「祇園甲部歌舞練場」ที่ตั้งอยู่ที่เขตฮิงาชิยามะ จังหวัดเกียวโต
ในพิธีนั้น จะได้รับชมการร่ายรำอวยพรของคุณ Inoue Yachiyo ซึ่งเป็นศิลปินแห่งชาติที่สอนการร่ายรำ
คุณ Inoue Yachiyo ซึ่งเป็นศิลปินแห่งชาติ
เหล่าไมโกะและเกโกะได้พูดว่า “Onedetousandosu 「おめでとうさんどす」” แล้วก็กล่าวคำทักทายกันในช่วงต้อนรับปีใหม่
คุณ Katsu Tomo ซึ่งเป็นเกโกะกล่ววว่า “การได้มาในพิธีเปิดภาคการศึกษานั้นทำให้มีความรู้สึกว่าจะตั้งใจพยายามที่จะฝึกฝนในการร้องและร่ายรำเพิ่มมากขึ้นด้วย”
ปัจจุบันเกอิชายังคงอาศัยอยู่มากในสำนักเกอิชา ในบริเวณพื้นที่ซึ่งเรียกว่า ฮะนะมะชิ (花街 "เมืองดอกไม้") หรือ คะเรียวไค (花柳界 " โลกของดอกไม้และต้นหลิว") ซึ่งปัจจุบันในเกียวมีอยู่ 5 แห่ง คือ ย่านกิองโคบุ ย่านมิยะกะวะ ย่านโจ ปนโตะโจ ย่านคะมิชิจิเคง และย่านกิองฮิงะชิ
การแสดงศิลปะนาฏศิลป์ไมโกะและเกงิจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง โดยเฉพาะเดือนมิถุนายนจะมีการแสดงร่วมกัน 5 สำนักซึ่งโอกาสเข้ารับชมแสดงที่เรียกว่า “โอะชะยะ” อาจหาได้ยากมาก
ถึงอย่างไรการเข้าชมในแต่ละโรงละครก็เป็นโอกาสดีสำหรับการสัมผัสศิลปะการแสดง
ขอบคุณข้อมูลจาก : Gotoknow
อันที่จริง เกอิชามีอยู่เกือบทั่วทุกภูมิภาคในประเทศญี่ปุ่น แต่คนส่วนมากพอพูดถึงเกอิชาก็จะนึกไปถึงเมืองเกียวโตเสียส่วนใหญ่
เกอิชา “芸者” (げいしゃ) แปลตรงตัวก็คือ “นักศิลปะ” หรือ "ผู้มีความชำนาญ ความสามารถทางด้านศิลปะศาสตร์" หรือก็คือ "ศิลปิน" นั่นเองที่สร้างความสำราญด้วยความสามารถทางศิลปะให้กับลูกค้า เช่น การร้องรำทำเพลง เต้นรำ เป่าขลุ่ย ตีกลอง เป็นต้น ส่วนทางภูมิภาคคันไซ (เกียวโต) นิยมเรียกเกอิชาว่า "เกอิงิ" (Geigi / 芸妓) หรือบางครั้งก็เรียกว่า เกโกะ “芸妓” (げいこ)
เกอิชาส่วนมากมักได้รับการว่าจ้างให้รับรองลูกค้าที่มาเป็นหมู่คณะ (ประมาณระดับมหาเศรษฐี หรือไม่ก็นักการเมืองระดับสูง) ในโรงน้ำชา (Chaya / 茶屋) หรือไม่ก็ เรียวเท (Ryotei / 料亭) หรือร้านอาหารญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม ส่วนระยะเวลาการให้บริการจะใช้ธูปเป็นเกณฑ์วัด ซึ่งในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า "ค่าธูป" (Senkoudai / 線香代) หรือ เคียวคุได (玉代 "ค่าเพชร") ลูกค้าจะติดต่อโดยผ่านสำนักติดต่อเกอิชา หรือ “เคนบัน” (検番) ซึ่งจะมีตารางนัดของเกอิชาแต่ละคน และทำการนัดหมาย ทั้งเพื่อการทำงานและการฝึกฝนอาชีพ เมื่อหญิงที่ทำงานเป็นเกอิชาแต่งงาน ก็จะเลิกจากอาชีพนี้ หากไม่แต่งงาน เมื่ออายุมากขึ้น ก็จะเลิกอาชีพนี้เช่นกัน แต่อาจทำงานเป็นเจ้าของร้านอาหาร ครูสอนดนตรี เต้นรำ หรือครูสอนเกอิชาต่อไปก็ได้
เกอิชาถือเป็นอาชีพหนึ่งของสตรีญี่ปุ่นในสมัยก่อน ซึ่งมีหน้าที่มอบความเพลิดเพลินบันเทิงใจให้แก่แขกเหรื่อ โดยหญิงสาวที่จะเป็นเกอิชา ต้องเข้ารับการฝึกอบรมศิลปะวัฒนธรรมหลากแขนงของญี่ปุ่นตั้งแต่เด็ก ไม่ว่าจะเป็นวิชาการขับร้อง, การร่ายรำ, การบรรเลงเครื่องดนตรี, การจัดดอกไม้, การชงชา, การแต่งชุดกิโมโน ฯลฯ นอกจากนี้ ยังต้องฝึกฝนเทคนิคการสนทนา การโต้ตอบกับแขก รวมไปถึงการพนันแบบต่างๆอีกด้วย
อันที่จริง เกอิชามีอยู่เกือบทั่วทุกภูมิภาคในประเทศญี่ปุ่น แต่คนส่วนมากพอพูดถึงเกอิชาก็จะนึกไปถึงเมืองเกียวโตเสียส่วนใหญ่ ซึ่งทางภูมิภาคคันไซ (เกียวโต) นิยมเรียกเกอิชาว่า "เกอิงิ" (Geigi / 芸妓) และเรียกเกอิชาฝึกหัดว่า "เกอิโกะ" (Geiko / 芸子) ส่วนคำว่า "ไมโกะ" (Maiko / 舞子) ที่มักได้ยินกันบ่อยๆนั้น ก็หมายถึงเกอิชะฝึกหัดเช่นกัน
หลายคนมักเข้าใจผิดว่าเกอิชะคือหญิงขายบริการ ทั้งที่จริงๆแล้วไม่ใช่เลย จริงอยู่ว่ามีลูกค้าบางคนจ่ายเงินเพื่อซื้อเรือนร่างของหญิงสาวที่ทำอาชีพเกอิชะ แต่พวกเธอมีสิทธิ์ที่จะเลือกปฏิเสธลูกค้า
ส่วนหญิงขายบริการในสมัยเอโดะจะมีชื่อเรียกว่า "ทะยู" (太夫) แต่ถ้าเป็นในโตเกียว จะเรียกว่า "โออิรัน" (おいらん) ซึ่งทั้งสองคำนี้ใช้เรียกหญิงขายบริการซึ่งมีตำแหน่งสูงสุดในบรรดาผู้หญิง ที่ทำอาชีพเดียวกัน และแทบเรียกได้ว่าเป็นที่หมายปองที่สุดของหนุ่มทั่วเอโดะ
ส่วนไมโกะ “舞妓” (まいこ) นั้นเป็นคำเรียกหญิงสาวฝึกหัดก่อนที่จะเติบโตเป็น “เกโกะ” ไมโกะส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 15 ถึง 20 ปี รูปแบบการแต่งกายเฉพาะของไมโกะ คือผูกโอบิปล่อยชาย สวมรองเท้าพื้นสูงให้ดูเป็นเด็กสาวน่ารัก ส่วนทรงผมจะเกล้ามวยด้วยจริง และประดับปิ่นดอกไม้หรือสัญลักษณ์ประจำฤดูกาลขนาดใหญ่ ไมโกะถือว่ามีสถานะทางสังคมค่อนข้างดี ซึ่งในเกียวโต สิ่งสำคัญคือการที่จะเลื่อนขึ้นเป็นเกอิชาได้นั้นต้องผ่านบททดสอบและฝึกฝนที่ยากลำบากพอสมควร ดูเหมือนว่าโลกของไมโกะจะสวยงามแต่ความเป็นจริงแล้วพวกเธอนั้นได้รับการฝึกหัดกันอย่างหนัก และเพื่อไปสู่การเป็น “เกโกะ” ไมโกะจะร่ำเรียนการแสดงนาฏศิลป์ ขับร้อง ดนตรี เช่น ชามิเซง และมารยาท ดังนั้นไมโกะจึงต้องฝึกฝนศิลปวิทยาเหล่านี้ ตลอดจนเรียนรู้วัฒนธรรม อาทิ พิธีชงชา ทุกวัน ไม่ได้เป็นกันง่ายๆ ทำให้ปัจจุบันไมโกะที่ล้มเลิกความตั้งใจกลางคันทั้งๆ ที่ยังไม่ได้เป็นเกอิชาจึงมีมากขึ้น
ในวันที่ 7ม.ค.ที่ผ่านมานั้นได้มีการจัดพิธีเปิดภาคการศึกษา “始業式” (しぎょうしき) ที่จะฝึกฝนเกี่ยวกับการร้องและการร่ายรำเป็นครั้งแรกของปีนี้
เหล่าไมโกะและเกโกะราวๆ 100คนได้สวมกิโมโนสีดำและประดับผมด้วยปิ่นปักผมที่เป็นต้นข้าวมารวมตัวกันที่สถาบันฝึกการร้องเพลงและร่ายรำ Kionkoubukaburenjyo「祇園甲部歌舞練場」ที่ตั้งอยู่ที่เขตฮิงาชิยามะ จังหวัดเกียวโต
ในพิธีนั้น จะได้รับชมการร่ายรำอวยพรของคุณ Inoue Yachiyo ซึ่งเป็นศิลปินแห่งชาติที่สอนการร่ายรำ
คุณ Inoue Yachiyo ซึ่งเป็นศิลปินแห่งชาติ
เหล่าไมโกะและเกโกะได้พูดว่า “Onedetousandosu 「おめでとうさんどす」” แล้วก็กล่าวคำทักทายกันในช่วงต้อนรับปีใหม่
คุณ Katsu Tomo ซึ่งเป็นเกโกะกล่ววว่า “การได้มาในพิธีเปิดภาคการศึกษานั้นทำให้มีความรู้สึกว่าจะตั้งใจพยายามที่จะฝึกฝนในการร้องและร่ายรำเพิ่มมากขึ้นด้วย”
ปัจจุบันเกอิชายังคงอาศัยอยู่มากในสำนักเกอิชา ในบริเวณพื้นที่ซึ่งเรียกว่า ฮะนะมะชิ (花街 "เมืองดอกไม้") หรือ คะเรียวไค (花柳界 " โลกของดอกไม้และต้นหลิว") ซึ่งปัจจุบันในเกียวมีอยู่ 5 แห่ง คือ ย่านกิองโคบุ ย่านมิยะกะวะ ย่านโจ ปนโตะโจ ย่านคะมิชิจิเคง และย่านกิองฮิงะชิ
การแสดงศิลปะนาฏศิลป์ไมโกะและเกงิจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง โดยเฉพาะเดือนมิถุนายนจะมีการแสดงร่วมกัน 5 สำนักซึ่งโอกาสเข้ารับชมแสดงที่เรียกว่า “โอะชะยะ” อาจหาได้ยากมาก
ถึงอย่างไรการเข้าชมในแต่ละโรงละครก็เป็นโอกาสดีสำหรับการสัมผัสศิลปะการแสดง
ขอบคุณข้อมูลจาก : Gotoknow
Posted by mod at
14:00
│Comments(0)
2016年01月08日
เสียดายอดดูลิงหิมะแช่บ่อน้ำพุร้อน
สวัสดีค่ะ ไหนๆ ปีนี้ก็เป็นปีลิง เรามาดูกันสิว่ามีเรื่องเกี่ยวกับลิงอะไรน่าสนใจบ้าง
ถ้าพูดถึงลิงที่ญี่ปุ่นแล้ว ก็อดคิดถึงความน่ารักของลิงที่ลงแช่บ่อน้ำพุร้อนไม่ได้เลย ทราบกันมัยคะว่า ลิงเหล่านั้นเขาอยู่กันที่ไหน
ลิงเหล่านั้นจะอยู่กันที่สวนลิงจิโกคุดานิ(Jigokudani Monkey Park) ซึ่งตั้งอยู่ท่ามกลางหุบเขาจิโกคุดานิ(Jigokudani valley) ในยามาโนอูจิ(Yamanouchi) ไม่ไกลจาก Shibu Onsen และ Yudanaka Onsen เท่าไรนัก เป็นน้ำพุร้อนธรรมชาติที่ลิงป่าลงมาอาบน้ำ และเป็นที่อยู่อาศัยของลิงหิมะชนิดนี้จำนวน 200 ตัวอีกด้วย
แม้จะอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศที่โหดร้าย (มีหิมะปกคลุม 1 ใน 3 ของปี) โขดหินหยาบและขรุขระและน้ำพุร้อนที่พุ่งขึ้นมาจากพื้นดิน (ด้วยเหตุนี้จึงชื่อว่าจิโกกุดานิหมายถึง“หุบเขาอเวจี”) ก็ตามแต่บริเวณที่แห่งนี้ก็เปรียบเสมือนสวรรค์ของลิงภูเขาเหล่านี้ได้ เนื่องจากมีน้ำพุร้อนที่สะสมในบ่ออันเป็นที่ที่ฝูงลิงลงแช่น้ำอย่างคลายความหนาวอย่างสำราญทำให้มนุษย์เรามีโอกาสได้ชมลิงภูเขาอย่างใกล้ชิด และยังสามารถสังเกตุพฤติกรรมที่น่าสนใจ (เช่น สีหน้าอันมีความสุขผ่อนคลายบนใบหน้าของพวกมันเมื่อมันลงแช่น้ำพุร้อน) ก่อนที่จะเข้าไปสู่อุทยานจะมีปล่องไอน้ำจิโกกุดานิได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานธรรมชาติ ฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำโยโคขุคือโรงแรมแบบญี่ปุ่นโกะราขุคังที่ซึ่งผู้คนสามารถเพลิดเพลินกับการแช่น้ำพุร้อนได้เช่นกัน
แม้ว่าสวนสาธารณะแห่งนี้จะเปิดตลอดทั้งปี แต่ลิงจะลงมาอาบน้ำพุร้อนในช่วงฤดูหนาว ประมาณเดือนธันวาคม-มีนาคมเท่านั้น และช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการมาชมคือเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์
ภายในพื้นที่สวนสาธารณะ มีสระว่ายน้ำที่สร้างขึ้นสำหรับเจ้าลิงทั้งหลาย ซึ่งจากประตูทางเข้าสวนเดินเข้าไปเพียง 5 นาที นักท่องเที่ยวจะพบเห็นลิงตลอดเส้นทางที่ไปยังสระน้ำ โดยพวกมันจะจับกลุ่มกันเป็นกลุ่มใหญ่ๆ มีความคุ้นเคยกับมนุษย์ แต่อย่างไรก็ตามห้ามเข้าไปจับหรือให้อาหารโดยเด็ดขาด
แม้แต่ในต่างประเทศพวกมันก็มีชื่อเสียงมากๆ โดยจะรู้จักในกันชื่อว่า “Snow Monkey” ในตอนที่มีลิงเยอะๆ เคยมีลิงถึงราวๆ 50 ตัวลงแช่ในบ่อน้ำพุร้อนพร้อมๆ กันเลย
แต่น่าเสียดายที่ปีนี้อากาศอบอุ่น แล้วหิมะก็แทบจะไม่ตก จึงทำให้ไม่ค่อยเห็นลิงลงแช่ในบ่อน้ำพุร้อน
แต่ก็ใช่ว่าจะไม่เห็นเลยนะ จะเห็นก็แค่ลิงลงไปเก็บอาหารที่ตกลงไปในน้ำร้อน หรือไม่ก็นั่งเล่นอยู่รอบๆ บ่อน้ำพุร้อนเท่านั้น คนที่ตั้งใจจะมาดูลิงก็ได้เห็นแค่ลิงที่อยู่ข้างนอกบ่อน้ำพุร้อน แล้วก็ถ่ายรูปกลับเท่านั้น
คนต่างชาติเล่าให้ฟังว่า “ถึงแม้ว่าลิงจะไม่ค่อยลงไปแช่ในบ่อน้ำพุร้อน แต่การได้เห็นลิงสักนิดก็นับว่าโชคดีแล้ว”
ถ้าพูดถึงลิงที่ญี่ปุ่นแล้ว ก็อดคิดถึงความน่ารักของลิงที่ลงแช่บ่อน้ำพุร้อนไม่ได้เลย ทราบกันมัยคะว่า ลิงเหล่านั้นเขาอยู่กันที่ไหน
ลิงเหล่านั้นจะอยู่กันที่สวนลิงจิโกคุดานิ(Jigokudani Monkey Park) ซึ่งตั้งอยู่ท่ามกลางหุบเขาจิโกคุดานิ(Jigokudani valley) ในยามาโนอูจิ(Yamanouchi) ไม่ไกลจาก Shibu Onsen และ Yudanaka Onsen เท่าไรนัก เป็นน้ำพุร้อนธรรมชาติที่ลิงป่าลงมาอาบน้ำ และเป็นที่อยู่อาศัยของลิงหิมะชนิดนี้จำนวน 200 ตัวอีกด้วย
แม้จะอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศที่โหดร้าย (มีหิมะปกคลุม 1 ใน 3 ของปี) โขดหินหยาบและขรุขระและน้ำพุร้อนที่พุ่งขึ้นมาจากพื้นดิน (ด้วยเหตุนี้จึงชื่อว่าจิโกกุดานิหมายถึง“หุบเขาอเวจี”) ก็ตามแต่บริเวณที่แห่งนี้ก็เปรียบเสมือนสวรรค์ของลิงภูเขาเหล่านี้ได้ เนื่องจากมีน้ำพุร้อนที่สะสมในบ่ออันเป็นที่ที่ฝูงลิงลงแช่น้ำอย่างคลายความหนาวอย่างสำราญทำให้มนุษย์เรามีโอกาสได้ชมลิงภูเขาอย่างใกล้ชิด และยังสามารถสังเกตุพฤติกรรมที่น่าสนใจ (เช่น สีหน้าอันมีความสุขผ่อนคลายบนใบหน้าของพวกมันเมื่อมันลงแช่น้ำพุร้อน) ก่อนที่จะเข้าไปสู่อุทยานจะมีปล่องไอน้ำจิโกกุดานิได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานธรรมชาติ ฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำโยโคขุคือโรงแรมแบบญี่ปุ่นโกะราขุคังที่ซึ่งผู้คนสามารถเพลิดเพลินกับการแช่น้ำพุร้อนได้เช่นกัน
แม้ว่าสวนสาธารณะแห่งนี้จะเปิดตลอดทั้งปี แต่ลิงจะลงมาอาบน้ำพุร้อนในช่วงฤดูหนาว ประมาณเดือนธันวาคม-มีนาคมเท่านั้น และช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการมาชมคือเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์
ภายในพื้นที่สวนสาธารณะ มีสระว่ายน้ำที่สร้างขึ้นสำหรับเจ้าลิงทั้งหลาย ซึ่งจากประตูทางเข้าสวนเดินเข้าไปเพียง 5 นาที นักท่องเที่ยวจะพบเห็นลิงตลอดเส้นทางที่ไปยังสระน้ำ โดยพวกมันจะจับกลุ่มกันเป็นกลุ่มใหญ่ๆ มีความคุ้นเคยกับมนุษย์ แต่อย่างไรก็ตามห้ามเข้าไปจับหรือให้อาหารโดยเด็ดขาด
แม้แต่ในต่างประเทศพวกมันก็มีชื่อเสียงมากๆ โดยจะรู้จักในกันชื่อว่า “Snow Monkey” ในตอนที่มีลิงเยอะๆ เคยมีลิงถึงราวๆ 50 ตัวลงแช่ในบ่อน้ำพุร้อนพร้อมๆ กันเลย
แต่น่าเสียดายที่ปีนี้อากาศอบอุ่น แล้วหิมะก็แทบจะไม่ตก จึงทำให้ไม่ค่อยเห็นลิงลงแช่ในบ่อน้ำพุร้อน
แต่ก็ใช่ว่าจะไม่เห็นเลยนะ จะเห็นก็แค่ลิงลงไปเก็บอาหารที่ตกลงไปในน้ำร้อน หรือไม่ก็นั่งเล่นอยู่รอบๆ บ่อน้ำพุร้อนเท่านั้น คนที่ตั้งใจจะมาดูลิงก็ได้เห็นแค่ลิงที่อยู่ข้างนอกบ่อน้ำพุร้อน แล้วก็ถ่ายรูปกลับเท่านั้น
คนต่างชาติเล่าให้ฟังว่า “ถึงแม้ว่าลิงจะไม่ค่อยลงไปแช่ในบ่อน้ำพุร้อน แต่การได้เห็นลิงสักนิดก็นับว่าโชคดีแล้ว”
Posted by mod at
19:33
│Comments(0)
2016年01月07日
อร่อยมรณะรับปีใหม่
แหม!! ขึ้นต้นหัวเรื่องขึ้นมาก็สยองเสียแล้ว อะไรนะ? "อร่อยมรณะรับปีใหม่"
สำนักงานกู้ภัยของญี่ปุ่นได้ออกประกาศเตือนให้ลูกหลานช่วยกันระมัดระวังผู้สูงอายุที่อาจเกิดอันตรายจาก "โมจิติดคอ" โดยในช่วงวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ที่ผ่านมามีผู้สูงอายุเสียชีวิตจากเหตุดังกล่าวถึง 9 ราย และอีก 13 รายอาการสาหัส
โดยลำพังแค่ที่กรุงโตเกียวเมืองเดียว ปรากฏว่ามีประชาชน 18 ราย ถูกหามส่งโรงพยาบาล เนื่องจากกินขนมโมจิ แล้วเกิดติดคอ จนหายใจไม่ออก และในจำนวนนี้ เสียชีวิตไป 3 ราย
ชาวญี่ปุ่นนิยมทานโมจิ หรือขนมแป้งข้าวเหนียวในช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยชาวญี่ปุ่นจะปรุงอาหาร น้ำซุบและผัก ที่เรียกว่า ‘โอะโซนิ’ และจะมีการใส่ขนมโมจิลงไปด้วย ทำให้ในช่วงเดือนมกราคมมีสถิติผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุโมจิติดคอจนหายใจไม่ออกมากที่สุดในรอบปี โดยในปีที่แล้วมีผู้สูงอายุต้องถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลเพราะอาหารติดคอ หรือสำลักอาหารมากถึง 1,673 ราย
"โอะโซนิ" แหมดูน่าทานมาก แต่ต้องระวังนะ
สำนักงานกู้ภัยของญี่ปุ่นได้ให้คำแนะนำแก่ประชาชน โดยเฉพาะผู้สูงอายุและเด็กๆ ให้หั่นโมจิออกเป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนกิน แล้วก็ให้ค่อยๆ กินช้าๆ รวมทั้งควรมีลูกหลานคอยดูแลอยู่ใกล้ๆ ด้วย เนื่องจากเป็นประจำทุกปีเลยก็ว่าได้ ที่จะมีชาวญี่ปุ่นต้องเสียชีวิตหลายรายหลังกินขนมโมจิแล้วเกิดติดคอจนเสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจ
สำนักงานกู้ภัยของญี่ปุ่นได้ออกประกาศเตือนให้ลูกหลานช่วยกันระมัดระวังผู้สูงอายุที่อาจเกิดอันตรายจาก "โมจิติดคอ" โดยในช่วงวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ที่ผ่านมามีผู้สูงอายุเสียชีวิตจากเหตุดังกล่าวถึง 9 ราย และอีก 13 รายอาการสาหัส
โดยลำพังแค่ที่กรุงโตเกียวเมืองเดียว ปรากฏว่ามีประชาชน 18 ราย ถูกหามส่งโรงพยาบาล เนื่องจากกินขนมโมจิ แล้วเกิดติดคอ จนหายใจไม่ออก และในจำนวนนี้ เสียชีวิตไป 3 ราย
ชาวญี่ปุ่นนิยมทานโมจิ หรือขนมแป้งข้าวเหนียวในช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยชาวญี่ปุ่นจะปรุงอาหาร น้ำซุบและผัก ที่เรียกว่า ‘โอะโซนิ’ และจะมีการใส่ขนมโมจิลงไปด้วย ทำให้ในช่วงเดือนมกราคมมีสถิติผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุโมจิติดคอจนหายใจไม่ออกมากที่สุดในรอบปี โดยในปีที่แล้วมีผู้สูงอายุต้องถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลเพราะอาหารติดคอ หรือสำลักอาหารมากถึง 1,673 ราย
"โอะโซนิ" แหมดูน่าทานมาก แต่ต้องระวังนะ
สำนักงานกู้ภัยของญี่ปุ่นได้ให้คำแนะนำแก่ประชาชน โดยเฉพาะผู้สูงอายุและเด็กๆ ให้หั่นโมจิออกเป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนกิน แล้วก็ให้ค่อยๆ กินช้าๆ รวมทั้งควรมีลูกหลานคอยดูแลอยู่ใกล้ๆ ด้วย เนื่องจากเป็นประจำทุกปีเลยก็ว่าได้ ที่จะมีชาวญี่ปุ่นต้องเสียชีวิตหลายรายหลังกินขนมโมจิแล้วเกิดติดคอจนเสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจ
Posted by mod at
15:39
│Comments(0)
2016年01月07日
แอปเปิ้ลอาโอโมริ 青森りんご
ช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา ได้รับของขวัญปีใหม่เยอะเลยค่ะ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นพวกคุ้กกี้ หรือไม่ก็ขนมเค้ก แหมถึงกับทำให้น้ำหนักขึ้นกันเลยทีเดียว
แต่ที่ถูกใจมากหน่อยก็น่าจะเป็นผลไม้นะคะ แล้ว 1 ในผลไม้ที่ให้นั่นก็คือ แอปเปิ้ล ค่ะ ( りんごー ringo)
แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพนะคะ ฉันชอบมากเลย สำหรับประโยชน์ของแอปเปิ้ลนั้นมีมากมายเลยทีเดียวค่ะ ทั้งบำรุงหัวใจ ลดคอเลสเตอรอล ลดความดัน ควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด สาวๆ ที่กำลังลดความอ้วน การทานแอปเปิ้ลจะช่วยให้อยู่ท้อง อิ่มนาน และไม่อ้วน ในแง่ความสวยความงาม การทานแอปเปิ้ลจะไปกระตุ้นการทำงานของระบบขับถ่ายให้เป็นปกติ และทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส เพียงทานแอปเปิ้ลวันละหนึ่งผลก็จะทำให้ร่างกายสวยจากภายในสู่ภายนอกแล้วค่ะ
พอพูดถึง "りんご" ก็อดไม่ได้ที่จะคิดถึงแอปเปิ้ลอาโอโมริ 青森りんご (อาโอโมริ ริงโงะ) ของดังขึ้นชื่อของจังหวัดอาโอโมริ
อาโอโมริ(青森県) เป็นจังหวัดที่ขึ้นชื่อว่ามีแอปเปิ้ลอร่อยที่สุดในญี่ปุ่นและแอปเปิ้ลยังเป็นของ OTOP ของจังหวัดนี้ การปลูกแอปเปิ้ลในอาโอโมริเริ่มเมื่อ 130 ปีก่อน ขณะนี้มีประมาณ 300 สายพันธุ์ แถมเป็นแหล่งปลูกแอปเปิ้ลที่ใหญ่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย โดยเฉพาะที่เมือง Hirosaki แล้วชาวเมืองฮิโรซากิเขายังคุยด้วยว่าแอปเปิ้ลทุกๆหนึ่งในเจ็ดลูกจะเป็นแอปเปิ้ลที่มาจากฮิโรซากิ เขาเรียกเมืองฮิโรซากิว่าเป็น “Apple Kingdom”
โดยเฉพาะ สายพันธ์ SEKAICHI เซไคอิจิ (แปลว่าที่หนึ่งในโลก หรือหมายถึงแอปเปิ้ลสายพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก) พันธุ์ฟูจิ และ คินเซย ด้วยกรรมวิธีการปลูกที่พิถีพิถัน เริ่มตั้งแต่การห่อแอปเปิ้ลตั้งแต่เป็นผลเล็กๆและจะแกะห่อออกเมื่อผลแอปเปิ้ลแข็งแรงเพื่อให้ผลแอปเปิลได้มีการสังเคราะห์แสงตามธรรมชาติ ทำให้แอปเปิ้ลมีเนื้อสีทองหอมหวานตามธรรมชาติอย่างแท้จริง
แอปเปิ้ลแดงสายพันธุ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดก็ต้องยกให้ แอปเปิ้ลฟูจิ (Fuji) ซึ่งมีสีแดงสดใส เนื้อกรอบ รสชาติหวานฉ่ำชุ่มน้ำผลไม้ และอีกสายพันธุ์ที่เป็นที่รู้จักก็คือ แอปเปิ้ลซันฟูจิ (Sun Fuji) ที่ถึงแม้จะไม่ได้มีเปลือกสีแดงสดสวยงามเหมือนฟูจิ แต่แอปเปิ้ลซันฟูจิโตมาภายใต้แสงแดด ทำให้มีรสหวานและอร่อยกว่า ส่วนแอปเปิ้ลเขียวยอดนิยมที่สุดในญี่ปุ่นคือ โอริน (Orin) มีรสชาติเปรี้ยวอมหวานลงตัว
แล้วเมื่อวันที่ 5 ม.ค.ที่ผ่านมาได้มีการจัดการประมูลแอปเปิ้ลเป็นครั้งแรกของปีนี้ที่ตลาดเมืองฮิโรซากิ จังหวัดอาโอโมริ โดยเริ่มต้นการประมูลด้วยแอปเปิ้ลจำนวน 16,000 ลูก ซึ่งเป็นพันธุ์ "ซันฟูจิ (Sun fuji)” และ “โอริน (Orin)” ที่ใส่ไว้ในกล่อง หลังจากนั้นเหล่าคนที่มาที่ตลาดแห่งนี้ก็จะเสนอราคาที่ตนพอใจด้วยการชูนิ้ว คนที่ให้ราคาสูงที่สุดก็จะได้ซื้อไป แล้วการประมูลก็ดำเนินต่อไปเรื่อยๆ
แถมเมื่อเร็วๆ นี้ก็ยังได้มีการส่งออกแอ็ปเปิ้ลจำนวนมากไปขายที่ต่างประเทศอย่างเช่นไต้หวันเป็นต้น ประกอบกับเมื่อปีที่แล้วในช่วงเดือนต.ค.เกิดลมพัดแรง จึงทำให้มีแอ็ปเปิ้ลบางส่วนที่เสียหายใช้ไม่ได้ด้วย
ดังนั้น ปริมาณแอปเปิ้ลจึงมีจำนวนน้อยลง ทำให้ราคาเฉลี่ยของแอปเปิ้ล “ซันฟูจิi” ในปริมาณ 20 กิโลกรัมนั้นตกอยู่ที่ราคา 5,616 เยน ซึ่งมีราคาสูงขึ้นกว่าปีที่แล้วราวๆ 430 เยนเลยทีเดียว
นอกจากจะนำมาทานกันสดๆ แล้ว แอปเปิ้ลอาโอโมริก็ถูกแปรรูปเป็นขนมต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น พายแอปเปิ้ล แอปเปิ้ลกรอบ ลูกอมแอปเปิ้ล
นอกจากนี้ เมืองฮิโรซากิยังขึ้นชื่อเรื่อง ”แอปเปิ้ลพาย” ด้วย ร้านค้าที่เรียงรายอยู่รอบเมืองฮิโรซากิก็ล้วนแต่มีร้านที่ขายพายแอปเปิ้ลขายอยู่เต็มไปหมด วัตถุดิบที่ใช้ก็จะเป็นแอปเปิ้ลสดๆ จากแหล่งเพาะปลูกในจังหวัดอาโอโมริด้วยเช่นกัน
ถ้าใครชื่นชอบแอปเปิ้ลมากๆ ก็ยังไปเที่ยวที่ Hirosaki City Apple Park นั้นอยู่เชิงเขาอิวากิ (Mt. Iwaki) ได้อีกด้วย ซึ่งเขาจะปลูกแอปเปิ้ลไว้ 1000 ต้น และมี 60 ชนิด จุดประสงค์คือทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวและศูนย์เรียนรู้เรื่องแอปเปิ้ล
เขามีส่วนที่จัดไว้เพื่อเรียนรู้การขยายพันธุ์ การปลูก คุณค่าทางอาหาร และการจัดการตลาดของแอปเปิ้ล เรียกว่า Apple House มีส่วนเป็นร้านอาหารแบบคาเฟ่ มีเมนูทั้งคาวหวานปรุงจากแอปเปิ้ล และมีร้านขายของซึ่งมีทั้งของที่ระลึกหลากรูปแบบหลายร้อยชนิด ตั้งแต่ที่คาดผม เสื้อผ้า เหยือกน้ำ ถุงผ้า ไปจนถึงแอปเปิ้ลหลากชนิดเก็บใหม่ๆ และมีน้ำแอปเปิ้ลคั้นสดให้ชิมฟรีด้วย
แต่ที่ถูกใจมากหน่อยก็น่าจะเป็นผลไม้นะคะ แล้ว 1 ในผลไม้ที่ให้นั่นก็คือ แอปเปิ้ล ค่ะ ( りんごー ringo)
แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพนะคะ ฉันชอบมากเลย สำหรับประโยชน์ของแอปเปิ้ลนั้นมีมากมายเลยทีเดียวค่ะ ทั้งบำรุงหัวใจ ลดคอเลสเตอรอล ลดความดัน ควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด สาวๆ ที่กำลังลดความอ้วน การทานแอปเปิ้ลจะช่วยให้อยู่ท้อง อิ่มนาน และไม่อ้วน ในแง่ความสวยความงาม การทานแอปเปิ้ลจะไปกระตุ้นการทำงานของระบบขับถ่ายให้เป็นปกติ และทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส เพียงทานแอปเปิ้ลวันละหนึ่งผลก็จะทำให้ร่างกายสวยจากภายในสู่ภายนอกแล้วค่ะ
พอพูดถึง "りんご" ก็อดไม่ได้ที่จะคิดถึงแอปเปิ้ลอาโอโมริ 青森りんご (อาโอโมริ ริงโงะ) ของดังขึ้นชื่อของจังหวัดอาโอโมริ
อาโอโมริ(青森県) เป็นจังหวัดที่ขึ้นชื่อว่ามีแอปเปิ้ลอร่อยที่สุดในญี่ปุ่นและแอปเปิ้ลยังเป็นของ OTOP ของจังหวัดนี้ การปลูกแอปเปิ้ลในอาโอโมริเริ่มเมื่อ 130 ปีก่อน ขณะนี้มีประมาณ 300 สายพันธุ์ แถมเป็นแหล่งปลูกแอปเปิ้ลที่ใหญ่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย โดยเฉพาะที่เมือง Hirosaki แล้วชาวเมืองฮิโรซากิเขายังคุยด้วยว่าแอปเปิ้ลทุกๆหนึ่งในเจ็ดลูกจะเป็นแอปเปิ้ลที่มาจากฮิโรซากิ เขาเรียกเมืองฮิโรซากิว่าเป็น “Apple Kingdom”
โดยเฉพาะ สายพันธ์ SEKAICHI เซไคอิจิ (แปลว่าที่หนึ่งในโลก หรือหมายถึงแอปเปิ้ลสายพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก) พันธุ์ฟูจิ และ คินเซย ด้วยกรรมวิธีการปลูกที่พิถีพิถัน เริ่มตั้งแต่การห่อแอปเปิ้ลตั้งแต่เป็นผลเล็กๆและจะแกะห่อออกเมื่อผลแอปเปิ้ลแข็งแรงเพื่อให้ผลแอปเปิลได้มีการสังเคราะห์แสงตามธรรมชาติ ทำให้แอปเปิ้ลมีเนื้อสีทองหอมหวานตามธรรมชาติอย่างแท้จริง
แอปเปิ้ลแดงสายพันธุ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดก็ต้องยกให้ แอปเปิ้ลฟูจิ (Fuji) ซึ่งมีสีแดงสดใส เนื้อกรอบ รสชาติหวานฉ่ำชุ่มน้ำผลไม้ และอีกสายพันธุ์ที่เป็นที่รู้จักก็คือ แอปเปิ้ลซันฟูจิ (Sun Fuji) ที่ถึงแม้จะไม่ได้มีเปลือกสีแดงสดสวยงามเหมือนฟูจิ แต่แอปเปิ้ลซันฟูจิโตมาภายใต้แสงแดด ทำให้มีรสหวานและอร่อยกว่า ส่วนแอปเปิ้ลเขียวยอดนิยมที่สุดในญี่ปุ่นคือ โอริน (Orin) มีรสชาติเปรี้ยวอมหวานลงตัว
แล้วเมื่อวันที่ 5 ม.ค.ที่ผ่านมาได้มีการจัดการประมูลแอปเปิ้ลเป็นครั้งแรกของปีนี้ที่ตลาดเมืองฮิโรซากิ จังหวัดอาโอโมริ โดยเริ่มต้นการประมูลด้วยแอปเปิ้ลจำนวน 16,000 ลูก ซึ่งเป็นพันธุ์ "ซันฟูจิ (Sun fuji)” และ “โอริน (Orin)” ที่ใส่ไว้ในกล่อง หลังจากนั้นเหล่าคนที่มาที่ตลาดแห่งนี้ก็จะเสนอราคาที่ตนพอใจด้วยการชูนิ้ว คนที่ให้ราคาสูงที่สุดก็จะได้ซื้อไป แล้วการประมูลก็ดำเนินต่อไปเรื่อยๆ
แถมเมื่อเร็วๆ นี้ก็ยังได้มีการส่งออกแอ็ปเปิ้ลจำนวนมากไปขายที่ต่างประเทศอย่างเช่นไต้หวันเป็นต้น ประกอบกับเมื่อปีที่แล้วในช่วงเดือนต.ค.เกิดลมพัดแรง จึงทำให้มีแอ็ปเปิ้ลบางส่วนที่เสียหายใช้ไม่ได้ด้วย
ดังนั้น ปริมาณแอปเปิ้ลจึงมีจำนวนน้อยลง ทำให้ราคาเฉลี่ยของแอปเปิ้ล “ซันฟูจิi” ในปริมาณ 20 กิโลกรัมนั้นตกอยู่ที่ราคา 5,616 เยน ซึ่งมีราคาสูงขึ้นกว่าปีที่แล้วราวๆ 430 เยนเลยทีเดียว
นอกจากจะนำมาทานกันสดๆ แล้ว แอปเปิ้ลอาโอโมริก็ถูกแปรรูปเป็นขนมต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น พายแอปเปิ้ล แอปเปิ้ลกรอบ ลูกอมแอปเปิ้ล
นอกจากนี้ เมืองฮิโรซากิยังขึ้นชื่อเรื่อง ”แอปเปิ้ลพาย” ด้วย ร้านค้าที่เรียงรายอยู่รอบเมืองฮิโรซากิก็ล้วนแต่มีร้านที่ขายพายแอปเปิ้ลขายอยู่เต็มไปหมด วัตถุดิบที่ใช้ก็จะเป็นแอปเปิ้ลสดๆ จากแหล่งเพาะปลูกในจังหวัดอาโอโมริด้วยเช่นกัน
ถ้าใครชื่นชอบแอปเปิ้ลมากๆ ก็ยังไปเที่ยวที่ Hirosaki City Apple Park นั้นอยู่เชิงเขาอิวากิ (Mt. Iwaki) ได้อีกด้วย ซึ่งเขาจะปลูกแอปเปิ้ลไว้ 1000 ต้น และมี 60 ชนิด จุดประสงค์คือทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวและศูนย์เรียนรู้เรื่องแอปเปิ้ล
เขามีส่วนที่จัดไว้เพื่อเรียนรู้การขยายพันธุ์ การปลูก คุณค่าทางอาหาร และการจัดการตลาดของแอปเปิ้ล เรียกว่า Apple House มีส่วนเป็นร้านอาหารแบบคาเฟ่ มีเมนูทั้งคาวหวานปรุงจากแอปเปิ้ล และมีร้านขายของซึ่งมีทั้งของที่ระลึกหลากรูปแบบหลายร้อยชนิด ตั้งแต่ที่คาดผม เสื้อผ้า เหยือกน้ำ ถุงผ้า ไปจนถึงแอปเปิ้ลหลากชนิดเก็บใหม่ๆ และมีน้ำแอปเปิ้ลคั้นสดให้ชิมฟรีด้วย
Posted by mod at
14:07
│Comments(0)
2016年01月06日
花粉症 โรคแพ้ละอองเกสรต้นไม้
ช่วงนี้สำหรับประเทศไทยเราไม่รู้ว่าจะเรียกว่าเป็นฤดูอะไรนะคะ ตอนเช้าเย็นนิดๆ สายเริ่มร้อน กลางวันร้อนมาก ตอนค่ำก็แอบเย็นๆ ทำให้ช่วงนี้มีคนที่แพ้อากาศจากอากาศเปลี่่ยนกันเยอะนะคะ
โรคภูมิแพ้นั้นคนสมัยนี้เป็นกันเยอะนะคะ โรคภูมิแพ้ เราเรียกกันว่า "allergy" ในภาษาญี่ปุ่นก็คือ アレルギー (arerugii) ค่ะ แต่ 1 ในโรคภูมิแพ้ที่คนญี่ปุ่นมักจะเป็นกันก็คือ โรคแพ้ละอองเกสรต้นไม้ "花粉症 (かふんしょう คะฟุงโช) หรือเรียกอีกชื่อว่า "ไข้ละอองฟาง" จะเกิดมากที่สุดจากเกสรของต้นสน Cryptomeria japonica (ที่รู้จักกัน ในภาษาญี่ปุ่น 杉 (すぎ Sugi) แต่คนมักเข้าใจผิดว่าเป็นต้นสน" ซีดาร์ " และต้น Hinoki (Japanese Cypress)
ต้นสน Sugi
ต้นสน Hinoki
ประเทศญี่ปุ่นมีผู้เป็นโรคแพ้ละอองเกสรต้นไม้เป็นจำนวนมาก คนญี่ปุ่นกว่า 25 ล้านคนเป็นโรคภูมิแพ้เกสรต้น Sugi (Japanese Cedar) และ Hinoki (Japanese Cypress) แล้วชาวต่างชาติที่อาศัยในญี่ปุ่นก็มีการแพ้ด้วย ดังนั้นในการพยากรณ์อากาศจึงมีการพยากรณ์เกี่ยวกับการกระจายของละอองเกสรต้นไม้ด้วย (สุดยอดมากๆ)
การกระจายของละอองเกสรต้นไม้มีมากในช่วงเดือนพฤศจิกายน ( 秋 (aki) ฤดูใบไม้ร่วง) และเดือนมีนาคม (春 (haru) ฤดูใบไม้ผลิ)
(ฟุ้งกระจายราวกับควันของไฟไหม้ป่าเลยนะเนี่ย)
โรคแพ้ละออกเกสรต้นไม้นั้นจะเริ่มเกิดในช่วงเริ่มฤดูใบไม้ผลิในเดือนมกราคม และจะพีคมากที่สุดในช่วงปลายเดือนมีนาคมจนถึงต้นเดือมนเมษายน โดยอาการของโรคคือ จามบ่อย คัดจมูกหรือน้ำมูกไหล คันหรือน้ำตาไหล คันคอ ปาก และหู โรคนี้เคยเป็นโรคที่หาได้ยากในอดีต จนกระทั่งเมื่อช่วงปี 60 เพื่อฟื้นฟูประเทศหลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้ปลูกต้นสน Sugi และ Hinoki จำนวนมากทั่วญี่ปุ่น ซึ่งการปลูกต้นไม้สายพันธุ์เดียวนี้ ทำให้ลดความหลากหลายของป่าไม้ญี่ปุ่นลง
สาเหตุนั้นก็มาจากปฏิกิริยาแพ้ที่มีต่อเกสรดอกไม้ หรือสปอร์ที่ผลิตจากหญ้า ดอกไม้ ต้นไม้ และเชื้อรา และเพราะร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเกสรดอกไม้เหมือนว่ามันเป็นไวรัสหรือสารพิษที่คุกคามร่างกาย ดังนั้นร่างกายจึงตอบสนองโดยการผลิตสารที่เรียกว่า Histamine ออกมาเป็นจำนวนมาก และนี่แหละคือที่มาของอาการไข้ละอองฟาง
ถ้าคนที่แพ้ก็จะมีอาการอย่างเช่น มึน งงศีรษะ ตาแดง คันและเคือง มีน้ำตาไหล น้ำมูกไหล คัดจมูก หายใจติดขัด ไอ จาม
เพราะฉะนั้นพอเข้าฤดูใบไม้ผลิ เกสรของต้นสน Sugi ก็จะกระจายและเริ่มปลิวไปตามลม จะทำให้คนที่แพ้เกสรต้นไม้จามอย่างรุนแรง หรือไม่ก็มีอาการคันตาทำให้รู้สึกลำบากในการใช้ชีวิตมาก
ดังนั้นกระทรวงสิ่งแวดล้อมของญี่ปุ่นจึงได้ออกมาประกาศว่าในฤดูใบไม้ผลิปีนี้จะมีการกระจายของเกสรต้นสนมากน้อยขนาดไหนในแต่ละพื้นที่
มีการพยากรณ์ออกมาว่า เมื่อเทียบกับฤดูใบไม้ผลิปีที่แล้วนั้นดูเหมือนปีนี้จะมีการกรจายของเกสรมากขึ้นโดยส่วนใหญ่จะเป็นในแถบชูโงะคุฝั่งตะวันตก,ชิโกะกุและบริเวณคิวชู (ยกเว้นโอกินาว่า)
เพราะว่าเมื่อฤดูร้อนปีที่แล้วนั้นมีวันที่อากาศแจ่มใสมากและมีอากาศร้อน จึงทำให้แม้แต่ "แถบโทไก" ซึ่งหมายถึง "ทะเลตะวันออก" ก็มีการกระจายตัวมากขึ้นด้วย
ส่วนภาคพื้นคันโตและโฮะกุริกุนั้นจะเหมือนกับเมื่อปีที่แล้ว แล้วก็บริเวณเกือบทั้งหมดของกินกิกับโคชิน (จังหวัดยามานาชิและจังหวัดนางาโนะ) นั้นจะเหมือนกับเมื่อปีที่แล้ว หรือไม่ก็จะมีการกระจายที่ลดลงนิดหน่อย
แล้วก็บริเวณเกือบทั้งหมดของโทโฮคุก็จะกระจายน้อยลงนิดหน่อยด้วย
ดังนั้น กระทรวงสิ่งแวดล้อมจึงได้ออกมาประกาศเตือนว่า “ในฤดูที่มีการกระจายของเกสรต้นไม้นั้น ให้ทุกคนสวมหน้ากากอนามัยและสวมแว่นตาด้วย แล้วก็หมั่นทำความสะอาดให้บ่อยๆ
นี่ก็คือสาเหตุที่ทำไมคนญี่ปุ่น ต้องสวมหน้ากากอนามัยในช่วงฤดูใบไม้ผลิ?
นอกเหนือจากการรับประทานยาแล้ว เราก็ยังสามารถป้องกันหรือบรรเทาได้ด้วย :
- ตรวจดูสภาพอากาศจากหนังสือพิมพ์หรือข่าวโทรทัศน์ เพื่อให้ทราบถึงช่วงเวลาที่ละอองเกสรต้นไม้จะกระจายมาก และหลีกเลี่ยงการออกจากบ้านในช่วงเวลานั้น
- ก่อนออกจากบ้าน ควรสวมแว่นตา จะเป็นแว่นตาสำหรับผู้เป็นโรคแพ้ละอองเกสรต้นไม้โดยเฉพาะ หรือแว่นตาธรรมดาทั่วไปก็ได้ และสวมหน้ากากอนามัย จะสามารถช่วยลดปริมาณละอองเกสรต้นไม้ที่เข้าสู่ร่างกายลงเหลือ 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 6
- สวมใส่เสื้อผ้าที่เนื้อผ้าลื่นหรือเนื้อผ้าธรรมดา ดีกว่าส่วมใส่เนื้อผ้าที่เนื้อผ้าเป็นขน หนา หรือนุ่ม เพราะละอองเกสรต้นไม้จะติดตามเสื้อผ้าน้อยกว่ามาก
- เมื่อกลับบ้าน ควรสะบัดหรือปัดละอองเกสรต้นไม้ที่ติดตามเสื้อผ้าออกให้มากที่สุด ล้างหน้า กลั้วคอ และสั่งน้ำมูกออกทุกครั้ง ควรปฏิบัติจนเป็นนิสัยและให้เกิดความเคยชิน
- เสื้อผ้าที่ซักแล้ว และชุดเครื่องนอนรวมทั้งที่นอนควรตากในบ้าน เพื่อป้องกันละอองเกสรต้นไม้ปลิวมาติด
ใครจะไปญีปุ่นช่วงดังกล่าวก็ต้องเตรียมตัวให้พร้อมด้วยนะคะ จะได้เที่ยวให้สนุกเต็มที่
โรคภูมิแพ้นั้นคนสมัยนี้เป็นกันเยอะนะคะ โรคภูมิแพ้ เราเรียกกันว่า "allergy" ในภาษาญี่ปุ่นก็คือ アレルギー (arerugii) ค่ะ แต่ 1 ในโรคภูมิแพ้ที่คนญี่ปุ่นมักจะเป็นกันก็คือ โรคแพ้ละอองเกสรต้นไม้ "花粉症 (かふんしょう คะฟุงโช) หรือเรียกอีกชื่อว่า "ไข้ละอองฟาง" จะเกิดมากที่สุดจากเกสรของต้นสน Cryptomeria japonica (ที่รู้จักกัน ในภาษาญี่ปุ่น 杉 (すぎ Sugi) แต่คนมักเข้าใจผิดว่าเป็นต้นสน" ซีดาร์ " และต้น Hinoki (Japanese Cypress)
ต้นสน Sugi
ต้นสน Hinoki
ประเทศญี่ปุ่นมีผู้เป็นโรคแพ้ละอองเกสรต้นไม้เป็นจำนวนมาก คนญี่ปุ่นกว่า 25 ล้านคนเป็นโรคภูมิแพ้เกสรต้น Sugi (Japanese Cedar) และ Hinoki (Japanese Cypress) แล้วชาวต่างชาติที่อาศัยในญี่ปุ่นก็มีการแพ้ด้วย ดังนั้นในการพยากรณ์อากาศจึงมีการพยากรณ์เกี่ยวกับการกระจายของละอองเกสรต้นไม้ด้วย (สุดยอดมากๆ)
การกระจายของละอองเกสรต้นไม้มีมากในช่วงเดือนพฤศจิกายน ( 秋 (aki) ฤดูใบไม้ร่วง) และเดือนมีนาคม (春 (haru) ฤดูใบไม้ผลิ)
(ฟุ้งกระจายราวกับควันของไฟไหม้ป่าเลยนะเนี่ย)
โรคแพ้ละออกเกสรต้นไม้นั้นจะเริ่มเกิดในช่วงเริ่มฤดูใบไม้ผลิในเดือนมกราคม และจะพีคมากที่สุดในช่วงปลายเดือนมีนาคมจนถึงต้นเดือมนเมษายน โดยอาการของโรคคือ จามบ่อย คัดจมูกหรือน้ำมูกไหล คันหรือน้ำตาไหล คันคอ ปาก และหู โรคนี้เคยเป็นโรคที่หาได้ยากในอดีต จนกระทั่งเมื่อช่วงปี 60 เพื่อฟื้นฟูประเทศหลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้ปลูกต้นสน Sugi และ Hinoki จำนวนมากทั่วญี่ปุ่น ซึ่งการปลูกต้นไม้สายพันธุ์เดียวนี้ ทำให้ลดความหลากหลายของป่าไม้ญี่ปุ่นลง
สาเหตุนั้นก็มาจากปฏิกิริยาแพ้ที่มีต่อเกสรดอกไม้ หรือสปอร์ที่ผลิตจากหญ้า ดอกไม้ ต้นไม้ และเชื้อรา และเพราะร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเกสรดอกไม้เหมือนว่ามันเป็นไวรัสหรือสารพิษที่คุกคามร่างกาย ดังนั้นร่างกายจึงตอบสนองโดยการผลิตสารที่เรียกว่า Histamine ออกมาเป็นจำนวนมาก และนี่แหละคือที่มาของอาการไข้ละอองฟาง
ถ้าคนที่แพ้ก็จะมีอาการอย่างเช่น มึน งงศีรษะ ตาแดง คันและเคือง มีน้ำตาไหล น้ำมูกไหล คัดจมูก หายใจติดขัด ไอ จาม
เพราะฉะนั้นพอเข้าฤดูใบไม้ผลิ เกสรของต้นสน Sugi ก็จะกระจายและเริ่มปลิวไปตามลม จะทำให้คนที่แพ้เกสรต้นไม้จามอย่างรุนแรง หรือไม่ก็มีอาการคันตาทำให้รู้สึกลำบากในการใช้ชีวิตมาก
ดังนั้นกระทรวงสิ่งแวดล้อมของญี่ปุ่นจึงได้ออกมาประกาศว่าในฤดูใบไม้ผลิปีนี้จะมีการกระจายของเกสรต้นสนมากน้อยขนาดไหนในแต่ละพื้นที่
มีการพยากรณ์ออกมาว่า เมื่อเทียบกับฤดูใบไม้ผลิปีที่แล้วนั้นดูเหมือนปีนี้จะมีการกรจายของเกสรมากขึ้นโดยส่วนใหญ่จะเป็นในแถบชูโงะคุฝั่งตะวันตก,ชิโกะกุและบริเวณคิวชู (ยกเว้นโอกินาว่า)
เพราะว่าเมื่อฤดูร้อนปีที่แล้วนั้นมีวันที่อากาศแจ่มใสมากและมีอากาศร้อน จึงทำให้แม้แต่ "แถบโทไก" ซึ่งหมายถึง "ทะเลตะวันออก" ก็มีการกระจายตัวมากขึ้นด้วย
ส่วนภาคพื้นคันโตและโฮะกุริกุนั้นจะเหมือนกับเมื่อปีที่แล้ว แล้วก็บริเวณเกือบทั้งหมดของกินกิกับโคชิน (จังหวัดยามานาชิและจังหวัดนางาโนะ) นั้นจะเหมือนกับเมื่อปีที่แล้ว หรือไม่ก็จะมีการกระจายที่ลดลงนิดหน่อย
แล้วก็บริเวณเกือบทั้งหมดของโทโฮคุก็จะกระจายน้อยลงนิดหน่อยด้วย
ดังนั้น กระทรวงสิ่งแวดล้อมจึงได้ออกมาประกาศเตือนว่า “ในฤดูที่มีการกระจายของเกสรต้นไม้นั้น ให้ทุกคนสวมหน้ากากอนามัยและสวมแว่นตาด้วย แล้วก็หมั่นทำความสะอาดให้บ่อยๆ
นี่ก็คือสาเหตุที่ทำไมคนญี่ปุ่น ต้องสวมหน้ากากอนามัยในช่วงฤดูใบไม้ผลิ?
นอกเหนือจากการรับประทานยาแล้ว เราก็ยังสามารถป้องกันหรือบรรเทาได้ด้วย :
- ตรวจดูสภาพอากาศจากหนังสือพิมพ์หรือข่าวโทรทัศน์ เพื่อให้ทราบถึงช่วงเวลาที่ละอองเกสรต้นไม้จะกระจายมาก และหลีกเลี่ยงการออกจากบ้านในช่วงเวลานั้น
- ก่อนออกจากบ้าน ควรสวมแว่นตา จะเป็นแว่นตาสำหรับผู้เป็นโรคแพ้ละอองเกสรต้นไม้โดยเฉพาะ หรือแว่นตาธรรมดาทั่วไปก็ได้ และสวมหน้ากากอนามัย จะสามารถช่วยลดปริมาณละอองเกสรต้นไม้ที่เข้าสู่ร่างกายลงเหลือ 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 6
- สวมใส่เสื้อผ้าที่เนื้อผ้าลื่นหรือเนื้อผ้าธรรมดา ดีกว่าส่วมใส่เนื้อผ้าที่เนื้อผ้าเป็นขน หนา หรือนุ่ม เพราะละอองเกสรต้นไม้จะติดตามเสื้อผ้าน้อยกว่ามาก
- เมื่อกลับบ้าน ควรสะบัดหรือปัดละอองเกสรต้นไม้ที่ติดตามเสื้อผ้าออกให้มากที่สุด ล้างหน้า กลั้วคอ และสั่งน้ำมูกออกทุกครั้ง ควรปฏิบัติจนเป็นนิสัยและให้เกิดความเคยชิน
- เสื้อผ้าที่ซักแล้ว และชุดเครื่องนอนรวมทั้งที่นอนควรตากในบ้าน เพื่อป้องกันละอองเกสรต้นไม้ปลิวมาติด
ใครจะไปญีปุ่นช่วงดังกล่าวก็ต้องเตรียมตัวให้พร้อมด้วยนะคะ จะได้เที่ยวให้สนุกเต็มที่
Posted by mod at
12:54
│Comments(0)
2016年01月05日
日本ワイン ไวน์ญี่ปุ่น
พวกเราก็ได้ผ่านช่วงเวลาการเฉลิมฉลองในช่วงปีใหม่กันไปแล้วนะคะ คราวนี้ก็คงต้องมาตั้งใจทำงานกันอย่างจริงจังเสียที
แต่ขอย้อนกลับช่วงเฉลิมฉลองนิดนึง มีใครได้เฉลิมฉลองช่วงปีใหม่กันด้วยเครื่องดื่ม "ไวน์" กันบ้างมัยคะ
ไวน์ ในภาษาญี่ปุ่นก็เขียนเป็นตัวคาตาคานะได้แบบนี้ค่ะ "ワイン"
ไวน์คือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง ที่ได้จากการหมักผลไม้ชนิดต่างๆ โดยส่วนมากใช้องุ่น มาหมักกับยีสต์ทำให้น้ำตาลของผลไม้เปลี่ยนเป็นแอลกอฮอล์และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และจะระเหยเหลือแต่น้ำผลไท้ที่หมักและแอลกอฮอล์ผสมกันอยู่ซึ่งมีผสมอยู่เล็กน้อยเท่านั้นและยังมีแร่ธาตุต่างๆ ไวน์ดีทำมาจากผลไม้จะมีการเรียกตามผลไม้ชนิดนั้นเช่น ไวน์แอปเปิล ไวน์มังคุด ไวน์หม่อน เป็นต้น แม้แต่ผักบางชนิดก็สามารถที่จะหมกทำเป็นไวน์ได้ ซึ่งมีรสที่แตกต่างกันไป
ถ้าเราจะพูดถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของญี่ปุ่นล่ะก็ คนไทยส่วนใหญ่ก็คงจะนึกถึงสาเกหรือไม่ก็เบียร์สินะคะ แต่ญีปุ่นเองก็มีไวน์ขึ้นชื่อด้วย แล้วก็อุตสาหกรรมการผลิตไวน์ของญีปุ่นก็ก้าวล้ำนำหน้าไม่แพ้ยุโรป อเมริกา และออสเตรเลียเลย
สำหรับ "日本ワイン" (Nihon Wine) นั้นจะเป็นไวน์ที่ผลิตจากองุ่นสายพันธุ์ญี่ปุ่นเอง
การผลิตไวน์สมัยใหม่ของญี่ปุ่นเริ่มเมื่อประมาณ 140 ปีที่แล้ว แหล่งปลูกองุ่นสำคัญ ๆ มี 2 เขตใหญ่ ๆ คือ ยามานาชิ (Yamanashi) อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของโตเกียวประมาณ 100 กม. และนากาโน (Nagano) อยู่ทางตะวันตกของโตเกียวถัดจากยามานาชิ เขตยามานาชิใหญ่กว่าและมีไร่องุ่นประมาณ 100 แห่งจากไร่องุ่นในญี่ปุ่นทั้งหมดประมาณ 200 แห่ง ทั้ง 2 เขตยังมีเขตย่อยอีกหลายเขต
ที่สำคัญญี่ปุ่นสามารถผสมพันธุ์องุ่นเป็นของตนเอง เช่น องุ่นพันธุ์ยามาโซวีญยอง (Yama Sauvignon) ใช้องุ่นพื้นเมืองที่ปลูกบนภูเขาผสมสายพันธุ์กับกาแบร์เนต์ โซวีญยอง (Cabernet Sauvignon) ขณะที่องุ่นโชโยชิ(Shoyoshi) ผสมจากองุ่นพื้นเมืองยามาบุโด (Yamabudo) กับองุ่นCabernet Sauvignon โดยบริษัทคัตสุนุมา ไวนะรี (Katsunuma Winery) สามารถทำไวน์จากองุ่นพันธุ์ Shoyoshi ได้ดี และอีกหลายยี่ห้อผลิตไวน์จากองุ่นพื้นเมืองโคชุ (Koshu) ซึ่งเป็นองุ่นที่มาจากยุโรปสู่ญี่ปุ่นเมื่อประมาณ 1,200 ปีที่แล้ว แต่เริ่มทำไวน์เมื่อ 140 ปีที่ผ่านมา
วันนี้เราจะพาไปรู้จักจังหวัดยามานาชิที่ได้ชื่อว่าเป็น “ดินแดนแห่งไวน์” ด้วย เพราะว่าเป็นแหล่งผลิตไวน์อันดับ 1 ของประเทศญี่ปุ่น หรือประมาณ 40% ของตลาดไวน์ทั้งหมดในประเทศญี่ปุ่น ภายในจังหวัดมีโรงบ่มไวน์อยู่มากกว่า 80 แห่ง
แล้วที่พิเศษสุดเห็นจะเป็น “โคชุไวน์” (甲州 ワイン) ที่ผลิตจากองุ่นพันธ์โคฌุ ซึ่งเป็นองุ่นพันธุ์ขึ้นชื่อของจังหวัด ไวน์ที่ได้มีรสชาติดีเยี่ยมและแฝงกลิ่นอายแบบญี่ปุ่นเอาไว้ด้วย กลายเป็นไวน์ตัวแทนของประเทศญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียง และได้รับการยอมรับเป็นอย่างมากในระดับสากล
Koshu เป็นองุ่นเปลือกสีชมพู เปลือกค่อนข้างหนา เนื้อหวาน และแอซสิดต่ำ จากการตรวจพิสูจน์ของมหาวิทยาลัย University of California UC Davis พบว่าอยู่ในสายพันธุ์ Vitis Vinifera เช่นเดียวพันธุ์ดัง ๆ ในยุโรป ปัจจุบันในญี่ปุ่นมีการปลูกองุ่นพันธุ์นี้ประมาณ 480 เฮกตาร์ (1 เฮกตาร์ = 6 ไร่ 1 งาน)
นอกจากสายพันธ์ุ Koshu แล้ว ผู้ผลิตองุ่นรายใหญ่จะปลูกองุ่นอีกหลากหลายสายพันธุ์ซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวได้ในฤดูที่แตกต่างกันของปี ความหลายหลายนี้ถือเป็นความอัศจรรย์ซึ่งแตกต่างกันทั้งด้านรูปลักษณ์และรสชาติ พันธุ์เดลาแวร์(Delaware)ผลมีขนาดเล็ก สีม่วงเข้ม และมีรสหวาน พันธุ์เคียวโฮะ(Kyoho) ผลมีขนาดใหญ่และมีรสชาติเข้มข้น วิธีที่จะได้ลิ้มลององุ่นทุกสายพันธุ์คือการมาเที่ยวที่จังหวัดยามานาชิหลายๆครั้งในช่วงฤดูกาลที่แตกต่างกันไป และคุณจะได้เพลิดเพลินไปกับการเปรียบเทียบรสชาติขององุ่นพันธุ์ต่างๆ และได้ค้นหารสชาติที่ตนเองชอบได้อีกด้วย
ฤดูเก็บเกี่ยว:ต้นเดือนสิงหาคม-ปลายเดือนตุลาคม
แต่สำหรับผู้ที่ชื่นชอบในไวน์จริงๆ ก็ยังสามารถไปเที่ยวชมโรงกลั่นเหล้าองุ่น Katsunuma ตั้งอยู่ที่ Katsunuma, เมืองKoshu, จังหวัดYamanashi ที่นี่จะผลิตไวน์จากองุ่น Koshu พันธุ์พิเศษที่ปลูกขึ้นใน Katsunuma ในการเที่ยวในโรงกลั่นเหล้าองุ่น Katsunuma มีโปรแกรมหนึ่งที่น่าสนใจคือโปรแกรมชิมไวน์ คุณสามารถสนุกไปกับการชิมไวน์ (500เยนต่อ30นาที) นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมของพนักงาน โดยที่พนักงานและบริกรที่ปฏิบัติงานจริงๆ จะสาธิตการทำไวน์ให้คุณได้ชม (2,000เยนต่อ2ชั่วโมง) โรงกลั่นเหล้าองุ่นKatsunuma มีขนาดเล็กและโปรแกรมของชชพนักงานไม่ได้เปิดให้บริการทุกวัน คุณควรตรวจสอบวันเวลาและจองตั๋วไว้ถ้าจำเป็น สำหรับโปรแกรมชิมจะรับสมาชิกได้มากสุดเพียง10คน คุณควรจองไว้ล่วงหน้าเช่นกัน ทัวร์โรงกลั่นเหล้าองุ่น Katsunuma เป็นทัวร์สำหรับผู้ใหญ่อายุมากว่า 20 ปีเท่านั้น จึงไม่สามารถพาเด็กๆ เข้าชมได้
ชมไร่องุ่น
ชมโรงกลั่นไวน์
Tunnel wine cave
เมื่อ 2-3 ปีมานี้ คนญีปุ่นมีการดื่มไวน์เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้บริษัทต่างๆ คิดว่าจะผลิตและวางจำหน่ายไวน์ให้มากขึ้นตามมาด้วย แล้วในเดือนธ.ค.ปีที่แล้วได้ได้มีการเปิดร้านขาย “ไวน์ญี่ปุ่น” ที่กินซ่าในกรุงโตเกียวด้วย ร้านนี้เปิดโดยบริษัทเบียร์ซึ่งก็ได้ผลิตไวน์ด้วย จากการสำรวจมานั้น “ไวน์ญี่ปุ่น” ที่ผลิตโดยบริษัทฯ นี้ได้เพิ่มการผลิตมากขึ้นถึง 3 เท่าในช่วงเวลา 5 ปีเลยทีเดียว
แต่อย่างที่รู้กันดีว่า ในปีนี้มีสินค้าที่ราคาแพงมากมาย บริษัทฯ ก็เลยคิดว่าจะค่อยๆ ขายไปเรื่อยๆ
ส่วนบริษัทไวน์อื่นๆ ก็มีโครงการที่จะขยายไร่องุ่นของบริษัทให้กว้างขึ้นจนถึงประมาณ 70 เฮกตาร์ ภายในปี 2027 เพราะการเก็บเกี่ยวองุ่นนั้นจำเป็นมากสำหรับการผลิต “ไวน์ญี่ปุ่น”
“ไวน์ญี่ปุ่น” นั้นใช้เทคโนโลยีในการผลิตชั้นสูง จนได้รับรางวัลที่มีชื่อเสียงระดับโลกมาแล้วด้วย บริษัทจำนวนมากคิดว่าต่อจากนี้ไปจะมีคนญี่ปุ่นที่จะดื่มไวน์คู่กับอาหารญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้นด้วย
เราก็คอยติดตามต่อไปนะคะว่า อีกไม่นานในชุดอาหารญี่ปุ่นบางเซตอาจเสิร์ฟพร้อมไวน์ญี่ปุ่นก็เป็นได้
แต่ขอย้อนกลับช่วงเฉลิมฉลองนิดนึง มีใครได้เฉลิมฉลองช่วงปีใหม่กันด้วยเครื่องดื่ม "ไวน์" กันบ้างมัยคะ
ไวน์ ในภาษาญี่ปุ่นก็เขียนเป็นตัวคาตาคานะได้แบบนี้ค่ะ "ワイン"
ไวน์คือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง ที่ได้จากการหมักผลไม้ชนิดต่างๆ โดยส่วนมากใช้องุ่น มาหมักกับยีสต์ทำให้น้ำตาลของผลไม้เปลี่ยนเป็นแอลกอฮอล์และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และจะระเหยเหลือแต่น้ำผลไท้ที่หมักและแอลกอฮอล์ผสมกันอยู่ซึ่งมีผสมอยู่เล็กน้อยเท่านั้นและยังมีแร่ธาตุต่างๆ ไวน์ดีทำมาจากผลไม้จะมีการเรียกตามผลไม้ชนิดนั้นเช่น ไวน์แอปเปิล ไวน์มังคุด ไวน์หม่อน เป็นต้น แม้แต่ผักบางชนิดก็สามารถที่จะหมกทำเป็นไวน์ได้ ซึ่งมีรสที่แตกต่างกันไป
ถ้าเราจะพูดถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของญี่ปุ่นล่ะก็ คนไทยส่วนใหญ่ก็คงจะนึกถึงสาเกหรือไม่ก็เบียร์สินะคะ แต่ญีปุ่นเองก็มีไวน์ขึ้นชื่อด้วย แล้วก็อุตสาหกรรมการผลิตไวน์ของญีปุ่นก็ก้าวล้ำนำหน้าไม่แพ้ยุโรป อเมริกา และออสเตรเลียเลย
สำหรับ "日本ワイン" (Nihon Wine) นั้นจะเป็นไวน์ที่ผลิตจากองุ่นสายพันธุ์ญี่ปุ่นเอง
การผลิตไวน์สมัยใหม่ของญี่ปุ่นเริ่มเมื่อประมาณ 140 ปีที่แล้ว แหล่งปลูกองุ่นสำคัญ ๆ มี 2 เขตใหญ่ ๆ คือ ยามานาชิ (Yamanashi) อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของโตเกียวประมาณ 100 กม. และนากาโน (Nagano) อยู่ทางตะวันตกของโตเกียวถัดจากยามานาชิ เขตยามานาชิใหญ่กว่าและมีไร่องุ่นประมาณ 100 แห่งจากไร่องุ่นในญี่ปุ่นทั้งหมดประมาณ 200 แห่ง ทั้ง 2 เขตยังมีเขตย่อยอีกหลายเขต
ที่สำคัญญี่ปุ่นสามารถผสมพันธุ์องุ่นเป็นของตนเอง เช่น องุ่นพันธุ์ยามาโซวีญยอง (Yama Sauvignon) ใช้องุ่นพื้นเมืองที่ปลูกบนภูเขาผสมสายพันธุ์กับกาแบร์เนต์ โซวีญยอง (Cabernet Sauvignon) ขณะที่องุ่นโชโยชิ(Shoyoshi) ผสมจากองุ่นพื้นเมืองยามาบุโด (Yamabudo) กับองุ่นCabernet Sauvignon โดยบริษัทคัตสุนุมา ไวนะรี (Katsunuma Winery) สามารถทำไวน์จากองุ่นพันธุ์ Shoyoshi ได้ดี และอีกหลายยี่ห้อผลิตไวน์จากองุ่นพื้นเมืองโคชุ (Koshu) ซึ่งเป็นองุ่นที่มาจากยุโรปสู่ญี่ปุ่นเมื่อประมาณ 1,200 ปีที่แล้ว แต่เริ่มทำไวน์เมื่อ 140 ปีที่ผ่านมา
วันนี้เราจะพาไปรู้จักจังหวัดยามานาชิที่ได้ชื่อว่าเป็น “ดินแดนแห่งไวน์” ด้วย เพราะว่าเป็นแหล่งผลิตไวน์อันดับ 1 ของประเทศญี่ปุ่น หรือประมาณ 40% ของตลาดไวน์ทั้งหมดในประเทศญี่ปุ่น ภายในจังหวัดมีโรงบ่มไวน์อยู่มากกว่า 80 แห่ง
แล้วที่พิเศษสุดเห็นจะเป็น “โคชุไวน์” (甲州 ワイン) ที่ผลิตจากองุ่นพันธ์โคฌุ ซึ่งเป็นองุ่นพันธุ์ขึ้นชื่อของจังหวัด ไวน์ที่ได้มีรสชาติดีเยี่ยมและแฝงกลิ่นอายแบบญี่ปุ่นเอาไว้ด้วย กลายเป็นไวน์ตัวแทนของประเทศญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียง และได้รับการยอมรับเป็นอย่างมากในระดับสากล
Koshu เป็นองุ่นเปลือกสีชมพู เปลือกค่อนข้างหนา เนื้อหวาน และแอซสิดต่ำ จากการตรวจพิสูจน์ของมหาวิทยาลัย University of California UC Davis พบว่าอยู่ในสายพันธุ์ Vitis Vinifera เช่นเดียวพันธุ์ดัง ๆ ในยุโรป ปัจจุบันในญี่ปุ่นมีการปลูกองุ่นพันธุ์นี้ประมาณ 480 เฮกตาร์ (1 เฮกตาร์ = 6 ไร่ 1 งาน)
นอกจากสายพันธ์ุ Koshu แล้ว ผู้ผลิตองุ่นรายใหญ่จะปลูกองุ่นอีกหลากหลายสายพันธุ์ซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวได้ในฤดูที่แตกต่างกันของปี ความหลายหลายนี้ถือเป็นความอัศจรรย์ซึ่งแตกต่างกันทั้งด้านรูปลักษณ์และรสชาติ พันธุ์เดลาแวร์(Delaware)ผลมีขนาดเล็ก สีม่วงเข้ม และมีรสหวาน พันธุ์เคียวโฮะ(Kyoho) ผลมีขนาดใหญ่และมีรสชาติเข้มข้น วิธีที่จะได้ลิ้มลององุ่นทุกสายพันธุ์คือการมาเที่ยวที่จังหวัดยามานาชิหลายๆครั้งในช่วงฤดูกาลที่แตกต่างกันไป และคุณจะได้เพลิดเพลินไปกับการเปรียบเทียบรสชาติขององุ่นพันธุ์ต่างๆ และได้ค้นหารสชาติที่ตนเองชอบได้อีกด้วย
ฤดูเก็บเกี่ยว:ต้นเดือนสิงหาคม-ปลายเดือนตุลาคม
แต่สำหรับผู้ที่ชื่นชอบในไวน์จริงๆ ก็ยังสามารถไปเที่ยวชมโรงกลั่นเหล้าองุ่น Katsunuma ตั้งอยู่ที่ Katsunuma, เมืองKoshu, จังหวัดYamanashi ที่นี่จะผลิตไวน์จากองุ่น Koshu พันธุ์พิเศษที่ปลูกขึ้นใน Katsunuma ในการเที่ยวในโรงกลั่นเหล้าองุ่น Katsunuma มีโปรแกรมหนึ่งที่น่าสนใจคือโปรแกรมชิมไวน์ คุณสามารถสนุกไปกับการชิมไวน์ (500เยนต่อ30นาที) นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมของพนักงาน โดยที่พนักงานและบริกรที่ปฏิบัติงานจริงๆ จะสาธิตการทำไวน์ให้คุณได้ชม (2,000เยนต่อ2ชั่วโมง) โรงกลั่นเหล้าองุ่นKatsunuma มีขนาดเล็กและโปรแกรมของชชพนักงานไม่ได้เปิดให้บริการทุกวัน คุณควรตรวจสอบวันเวลาและจองตั๋วไว้ถ้าจำเป็น สำหรับโปรแกรมชิมจะรับสมาชิกได้มากสุดเพียง10คน คุณควรจองไว้ล่วงหน้าเช่นกัน ทัวร์โรงกลั่นเหล้าองุ่น Katsunuma เป็นทัวร์สำหรับผู้ใหญ่อายุมากว่า 20 ปีเท่านั้น จึงไม่สามารถพาเด็กๆ เข้าชมได้
ชมไร่องุ่น
ชมโรงกลั่นไวน์
Tunnel wine cave
เมื่อ 2-3 ปีมานี้ คนญีปุ่นมีการดื่มไวน์เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้บริษัทต่างๆ คิดว่าจะผลิตและวางจำหน่ายไวน์ให้มากขึ้นตามมาด้วย แล้วในเดือนธ.ค.ปีที่แล้วได้ได้มีการเปิดร้านขาย “ไวน์ญี่ปุ่น” ที่กินซ่าในกรุงโตเกียวด้วย ร้านนี้เปิดโดยบริษัทเบียร์ซึ่งก็ได้ผลิตไวน์ด้วย จากการสำรวจมานั้น “ไวน์ญี่ปุ่น” ที่ผลิตโดยบริษัทฯ นี้ได้เพิ่มการผลิตมากขึ้นถึง 3 เท่าในช่วงเวลา 5 ปีเลยทีเดียว
แต่อย่างที่รู้กันดีว่า ในปีนี้มีสินค้าที่ราคาแพงมากมาย บริษัทฯ ก็เลยคิดว่าจะค่อยๆ ขายไปเรื่อยๆ
ส่วนบริษัทไวน์อื่นๆ ก็มีโครงการที่จะขยายไร่องุ่นของบริษัทให้กว้างขึ้นจนถึงประมาณ 70 เฮกตาร์ ภายในปี 2027 เพราะการเก็บเกี่ยวองุ่นนั้นจำเป็นมากสำหรับการผลิต “ไวน์ญี่ปุ่น”
“ไวน์ญี่ปุ่น” นั้นใช้เทคโนโลยีในการผลิตชั้นสูง จนได้รับรางวัลที่มีชื่อเสียงระดับโลกมาแล้วด้วย บริษัทจำนวนมากคิดว่าต่อจากนี้ไปจะมีคนญี่ปุ่นที่จะดื่มไวน์คู่กับอาหารญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้นด้วย
เราก็คอยติดตามต่อไปนะคะว่า อีกไม่นานในชุดอาหารญี่ปุ่นบางเซตอาจเสิร์ฟพร้อมไวน์ญี่ปุ่นก็เป็นได้
Posted by mod at
12:35
│Comments(0)