› 日本が好き › 2016年01月27日
2016年01月27日
クロマグロ ปลามากุโร่
วันนี้ วันพุธที่ 27 ม.ค. กรุงเทพฯ ก็ยังมีอากาศเย็นอยู่เล็กน้อย พอให้ได้ชื่นใจ โดยส่วนตัวเป็นคนไม่ชอบอากาศเย็นสักเท่าไร
แต่เช่้านี้ต้องไปช่วยคุณแม่ซื้อของที่ตลาด ก็เลยต้องเดินฝ่าลมหนาวออกไป วัตถุดิบในการทำอาหารของคุณแม่ก็จะเป็นพวกผัก และปลา แล้วปลาที่คุณแม่เลือกสรรก็ต้องเป็นปลาที่ให้ไขมันดีด้วยนะคะ อย่างเช่นปลาแซลมอล ปลาหิมะ เป็นต้น
ทำให้นึกไปถึงตลาดปลาที่ญี่ปุ่นเลย นอกจากตลาดปลาซึกิจิ (Tsukiji Fish Market) ที่โตเกียวแล้ว ก็ยังมีตลาดปลาที่น่าสนใจอีกทีหนึ่งด้วยนะคะ
นั่นก็คือตลาดปลาท่าเรือคาซึอุระเกียว ที่จังหวัดวาคายามา เป็นท่าเรือที่มีชื่อเสียงในด้านการจับปลามากุโร่ และขึ้นปลามะกุโระได้มากที่สุด อย่างเมื่อวันที่ 24 ม.ค.ที่ผ่านมา ก็สามารถจับปลามากุโร่ได้ แถมเป็น "ฮงมากูโร่" (クロマグロ - ทูน่าครีบน้ำเงิน) เสียด้วย เพราะว่าเป็นปลาทูน่าสายพันธุ์ที่มีรสชาติดี ราคาสูง แล้วตัวที่จับได้ในครั้งนี้มีความยาวประมาณ 2.5 เมตรและมีน้ำหนักถึง 417 กก. จึงได้รับการประกาศว่าเป็นปลามากุโร่ที่มีน้ำหนักมากที่สุดที่จับได้ที่ท่าเรือแห่งนี้นับตั้งแต่เริ่มมีการจดบันทึกมาตั้งแต่ในปี 1998
ถ้าพูดถึงการประมูลปลาแล้ว ถ้าอยากสัมผัสบรรยากาศของการประมูลปลาที่ตลาดปลาซึกิจิที่โตเกียวแล้ว คุณจะต้องแหกขี้ตาตื่น ไปลงทะเบียนเพื่อชมบรรยากาศการประมูลตั้งแต่ก่อนตีห้า แต่ถ้าที่เมือง Katsuura นี้ ไม่ต้องดิ้นรนขนาดนั้นค่ะ เพราะตลาดปลาที่นี่เริ่มการประมูลในเวลา 7:00 น. สำหรับนักท่องเที่ยวที่มาชมการประมูล ทางตลาดจะจัดให้ชมจากชั้น 2 เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนกิจกรรมการประมูล แต่ถ้าอยากชมแบบใกล้ชิด ก็มีบริการไกด์พาลงไปชมด้านล่าง และให้ความรู้ในระยะใกล้แบบสัมผัสปลาได้ด้วย
กระบวนการประมูลจะเริ่มต้นจากนำปลาที่แยกตามขนาดมาวางเรียงกัน ที่ตัวปลาจะมีกระดาษแปะไว้ซึ่งเขียนน้ำหนักของตัวปลา โดยบนพื้นของตลาดที่วางปลาจะต้องมีการปล่อยน้ำให้ไหลผ่านตลอดเวลา ผู้ร่วมประมูลจะเดินสำรวจปลากัน จากนั้นจะเขียนเลขลงราคาลงในกระดาษและส่งประมูล ผู้ที่ให้ราคาสูงสุดก็จะได้ปลาไป
สังเกตเห็นได้ว่าปลาบางส่วนมีการเฉือนเนื้อบริเวณหางและเปิดออก หรือบางตัวที่ใหญ่ๆ จะตัดส่วนหางออกมาเลย เพื่อให้ผู้ประมูลเห็นถึงสีและความสดของเนื้อปลาได้นั่นเอง
สำหรับปลามากุโร่ตัวนี้ถูกประมูลได้ในราคาราวๆ 2 ล้านเยนเลยทีเดียว ปลาตัวนี้มีขนาดใหญ่มากจนใส่ลงไปในกล่องไม่ได้ ก็เลยต้องตัดหัวไปเล็กน้อยแล้วค่อยใส่เข้าไป
คุณโคดะมะ ฮิโรชิที่เป็นเจ้าของเรือที่จับปลามากุโรได้เล่าว่า “ผมเคยตกปลามากุโรที่มีน้ำหนักตัว 360 กก.มาแล้ว แต่สำหรับตัวนี้ ผมตกใจมากกับความใหญ่มหึมาขนาดนี้”
ส่วนต่างๆของปลามากุโร่ (ปลาทูน่า) ยังแยกความอร่อยที่แตกต่างกันด้วยนะ เช่น
Akami อะคามิ คือเนื้อส่วนกลางลำตัว ส่วนใหญ่จะทานตรงนี้เพราะมีเนื้อมากกว่าส่วนอื่นๆ
Otoro โอโทโร่ คือเนื้อบริเวณส่วนท้อง มีเนื้อนุ่มและอุดมไปด้วยไขมัน เป็นส่วนที่แพงที่สุด
Chutoro ชูโทโร่ คือเนื้อส่วนที่ถัดจากท้อง ไปที่บริเวณโคนหาง เป็นส่วนที่มีไขมันน้อย
Noten โนเต็น คือเนื้อส่วนหน้าผาก
Hoho โฮโฮ คือเนื้อส่วนแก้ม
Kamatoro คามะโทโร่ คือเนื้อระหว่างซอกเหงือกและคอ
Sekami เซกามิ คือเนื้อส่วนหัว
Senaka เซนะกะ คือเนื้อส่วนหลังที่มีเอ็นน้อย เนื้อละเอียด
Seshimo เซชิโมะ คือเนื้อส่วนหลังค่อนไปทางหาง
Harashimo ฮาระชิโมะ คือเนื้อท่อนล่างช่วงหาง
Nakaochi นากาโอชิ คือเนื้อที่ติดก้าง
Kawagishi คาวะกิชิ คือเศษเนื้อที่ติดหนังปลา
แต่เช่้านี้ต้องไปช่วยคุณแม่ซื้อของที่ตลาด ก็เลยต้องเดินฝ่าลมหนาวออกไป วัตถุดิบในการทำอาหารของคุณแม่ก็จะเป็นพวกผัก และปลา แล้วปลาที่คุณแม่เลือกสรรก็ต้องเป็นปลาที่ให้ไขมันดีด้วยนะคะ อย่างเช่นปลาแซลมอล ปลาหิมะ เป็นต้น
ทำให้นึกไปถึงตลาดปลาที่ญี่ปุ่นเลย นอกจากตลาดปลาซึกิจิ (Tsukiji Fish Market) ที่โตเกียวแล้ว ก็ยังมีตลาดปลาที่น่าสนใจอีกทีหนึ่งด้วยนะคะ
นั่นก็คือตลาดปลาท่าเรือคาซึอุระเกียว ที่จังหวัดวาคายามา เป็นท่าเรือที่มีชื่อเสียงในด้านการจับปลามากุโร่ และขึ้นปลามะกุโระได้มากที่สุด อย่างเมื่อวันที่ 24 ม.ค.ที่ผ่านมา ก็สามารถจับปลามากุโร่ได้ แถมเป็น "ฮงมากูโร่" (クロマグロ - ทูน่าครีบน้ำเงิน) เสียด้วย เพราะว่าเป็นปลาทูน่าสายพันธุ์ที่มีรสชาติดี ราคาสูง แล้วตัวที่จับได้ในครั้งนี้มีความยาวประมาณ 2.5 เมตรและมีน้ำหนักถึง 417 กก. จึงได้รับการประกาศว่าเป็นปลามากุโร่ที่มีน้ำหนักมากที่สุดที่จับได้ที่ท่าเรือแห่งนี้นับตั้งแต่เริ่มมีการจดบันทึกมาตั้งแต่ในปี 1998
ถ้าพูดถึงการประมูลปลาแล้ว ถ้าอยากสัมผัสบรรยากาศของการประมูลปลาที่ตลาดปลาซึกิจิที่โตเกียวแล้ว คุณจะต้องแหกขี้ตาตื่น ไปลงทะเบียนเพื่อชมบรรยากาศการประมูลตั้งแต่ก่อนตีห้า แต่ถ้าที่เมือง Katsuura นี้ ไม่ต้องดิ้นรนขนาดนั้นค่ะ เพราะตลาดปลาที่นี่เริ่มการประมูลในเวลา 7:00 น. สำหรับนักท่องเที่ยวที่มาชมการประมูล ทางตลาดจะจัดให้ชมจากชั้น 2 เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนกิจกรรมการประมูล แต่ถ้าอยากชมแบบใกล้ชิด ก็มีบริการไกด์พาลงไปชมด้านล่าง และให้ความรู้ในระยะใกล้แบบสัมผัสปลาได้ด้วย
กระบวนการประมูลจะเริ่มต้นจากนำปลาที่แยกตามขนาดมาวางเรียงกัน ที่ตัวปลาจะมีกระดาษแปะไว้ซึ่งเขียนน้ำหนักของตัวปลา โดยบนพื้นของตลาดที่วางปลาจะต้องมีการปล่อยน้ำให้ไหลผ่านตลอดเวลา ผู้ร่วมประมูลจะเดินสำรวจปลากัน จากนั้นจะเขียนเลขลงราคาลงในกระดาษและส่งประมูล ผู้ที่ให้ราคาสูงสุดก็จะได้ปลาไป
สังเกตเห็นได้ว่าปลาบางส่วนมีการเฉือนเนื้อบริเวณหางและเปิดออก หรือบางตัวที่ใหญ่ๆ จะตัดส่วนหางออกมาเลย เพื่อให้ผู้ประมูลเห็นถึงสีและความสดของเนื้อปลาได้นั่นเอง
สำหรับปลามากุโร่ตัวนี้ถูกประมูลได้ในราคาราวๆ 2 ล้านเยนเลยทีเดียว ปลาตัวนี้มีขนาดใหญ่มากจนใส่ลงไปในกล่องไม่ได้ ก็เลยต้องตัดหัวไปเล็กน้อยแล้วค่อยใส่เข้าไป
คุณโคดะมะ ฮิโรชิที่เป็นเจ้าของเรือที่จับปลามากุโรได้เล่าว่า “ผมเคยตกปลามากุโรที่มีน้ำหนักตัว 360 กก.มาแล้ว แต่สำหรับตัวนี้ ผมตกใจมากกับความใหญ่มหึมาขนาดนี้”
ส่วนต่างๆของปลามากุโร่ (ปลาทูน่า) ยังแยกความอร่อยที่แตกต่างกันด้วยนะ เช่น
Akami อะคามิ คือเนื้อส่วนกลางลำตัว ส่วนใหญ่จะทานตรงนี้เพราะมีเนื้อมากกว่าส่วนอื่นๆ
Otoro โอโทโร่ คือเนื้อบริเวณส่วนท้อง มีเนื้อนุ่มและอุดมไปด้วยไขมัน เป็นส่วนที่แพงที่สุด
Chutoro ชูโทโร่ คือเนื้อส่วนที่ถัดจากท้อง ไปที่บริเวณโคนหาง เป็นส่วนที่มีไขมันน้อย
Noten โนเต็น คือเนื้อส่วนหน้าผาก
Hoho โฮโฮ คือเนื้อส่วนแก้ม
Kamatoro คามะโทโร่ คือเนื้อระหว่างซอกเหงือกและคอ
Sekami เซกามิ คือเนื้อส่วนหัว
Senaka เซนะกะ คือเนื้อส่วนหลังที่มีเอ็นน้อย เนื้อละเอียด
Seshimo เซชิโมะ คือเนื้อส่วนหลังค่อนไปทางหาง
Harashimo ฮาระชิโมะ คือเนื้อท่อนล่างช่วงหาง
Nakaochi นากาโอชิ คือเนื้อที่ติดก้าง
Kawagishi คาวะกิชิ คือเศษเนื้อที่ติดหนังปลา
Posted by mod at
14:15
│Comments(0)