› 日本が好き › 2016年01月18日
2016年01月18日
คนดื่มเบียร์เพิ่มมากขึ้น แม้ราคาจะแพงก็ตาม
เพื่อนๆ คนไหนเป็นคอเบียร์บ้างคะ โดยเฉพาะเบียร์ญี่ปุ่น ซึ่งเบียร์ญี่ปุ่นนั้นจะมี 4 ยี่ห้อหลักคือ Kirin (กิเลน) Asahi Suntory และ Supporo
แต่เคยมีใครสงสัยกันบ้างมัยค่ะว่า "ทำไมราคาเบียร์ในร้านสะดวกซื้อหรือซุเปอร์มาร์เกตถึงราคาไม่เท่ากัน?"
เบียร์ญี่ปุ่นนั้น ถ้าดูเผินๆ จะคิดว่าเหมือนกัน แต่จริงๆแล้วเบียร์ญี่ปุ่นนั้นแบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ ビール (biru) , 発泡酒 (happoshu) และ 発泡性(happosei)
ความแตกต่างระหว่างทั้ง 3 ประเภทคือ
1.ประเภทแรก ビール (biru) คือเบียร์ที่มีปริมาณมอลท์ 67% ขึ้นไป
2.ประเภทที่สอง 発泡酒 (happoshu) คือเบียร์ที่มีปริมาณมอลท์ 25%-66% และไม่ผสมเหล้าหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอลชนิดอื่น คือจะเป็น Low-Malt Beer แต่ถ้าจะแปลชื่อ Happoushu ให้ตรงตัวก็คือ เหล้าที่มีฟอง ซึ้งมาจากคำว่า Happou ที่แปลว่า เป็นฟอง ส่วนคำว่า Shu ก็คือ เหล้า ที่ปกติเราอ่านว่า Sake
3.ประเภทที่สาม 発泡性 (happosei) หรือจะเรียกอีกอย่างก็คือ 第三のビール (daisan biru) คือมีปริมาณมอลท์ต่ำกว่า 25% หรือไม่มีมอลท์เลย และผสมกับเหล้าหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอลชนิดอื่น ในปี 2004 ได้เริ่มมีการผลิตเบียร์ชนิดนี้ขึ้นมา โดยใช้คำว่า Sei ที่แปลว่าประเภท แทนคำว่า Shu เนื่องจากมันถูกผลิตโดยใช้วัตถุดิบส่วนใหญ่จาก ถั่วเหลือง ข้าว ข้าวโพด มันฝรั่ง แทนการใช้ Malt ซึ่งในตอนนี้กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะราคาที่ถูกกว่า สังเกตได้จากที่กระป๋องจะเขียนคำว่า Liquor แทน
จากข้อมูลที่บริษัทผู้ผลิตเบียร์ได้ออกมาแถลงนั้น เมื่อปีที่แล้ว “เบียร์”「ビール」, “happoshu” 「発泡酒」 และ "Daisan Biru" (第三のビール) ที่ส่งจากโรงงานไปยังร้านค้าต่างๆ นั้นมีปริมาณทั้งหมดประมาณ 5,380,000 kL ซึ่งมีปริมาณลดน้อยลงกว่าปีก่อนๆ 0.5% แล้วก็มีปริมาณลดน้อยลงต่อเนื่องกันมา ถึง 11 ปีแล้ว
แต่ในบรรดาเครื่องดิ่มเหล่านั้น มีแค่เบียร์เท่านั้นที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น 0.1% แต่ตัว "เบียร์" เอง ตลอด 19 ปีที่ผ่านมาก็ประสบปัญหาเรื่องปริมาณที่ลดลงต่อเนื่องทุกๆ ปี แต่เมื่อปีที่แล้วกลับมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น
แต่บริษัทผลิตเบียร์นั้นก็คิดว่า ถึงแม้เบียร์จะมีราคาที่สูงกว่าพวก “Happoshu (発泡酒) และ “Daisan Beer (第 3のビール) ซึ่งเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีรสชาติคล้ายกับเบียร์ แต่ก็มีคนที่อยากลิ้มลองและเพลิดเพลินกับรสชาติเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้น เมื่อปีที่แล้ว บริษัทฯ จึงได้ออกผลิตภัณฑ์เบียร์ใหม่ๆ ที่มีรสชาติต่างจากที่เคยมีมากก่อนมากมาย
แล้วในปีนี้ ก็มีแผนการที่จะออกวางจำหน่ายเบียร์ที่คำนึงถึงสุขภาพและเบียร์ที่มีรสชาติต่างจากเดิมในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ
เบียร์เด็ก
อ้อแล้วอีกอย่างที่น่าสนใจเกี่ยวกับเบียร์ญี่ปุ่นก็คือ ญี่ปุ่นมีสูตรการเก็บภาษีเครื่องดื่มน้ำเมาประเภทนี้เฉพาะตัว นั่นคือเก็บตามปริมาณส่วนผสมของ Malt ถ้ามี Malt มากก็จะเสียภาษีมาก ยกตัวอย่างเบียร์ 1 ขวดราคา 337 เยน จะเป็นภาษีรวมแล้วถึง 157 เยน หรือ 47% เลยทีเดียว
แต่ถ้าส่วนผสมของ Malt ต่ำกว่า 67% จะเสียภาษีถูกลงเหลือเพียง 36% เท่านั้น ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าห้ามเขียนที่ขวดหรือกระป๋องว่าเบียร์ ต้องใช้คำอื่นแทน ดังนั้นถ้าอยากจะกินเบียร์แท้ๆแบบต้นตำรับ จึงต้องสังเกตให้ดีก่อนซื้อ
แล้วในระยะหลัง เบียร์ญี่ปุ่นก็ยังพยายามทำให้เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพมากขึ้นด้วย จะมีคำว่า Zero ปรากฎอยู่ เช่น Zero Alcohol คือ เบียร์ที่ไม่มี Alcohol
สำหรับคอเบียร์ทั้งหลายคงต้องติดตามเบียร์รสชาติต่าง ของญี่ปุ่นต่อไปนะคะ
แต่เคยมีใครสงสัยกันบ้างมัยค่ะว่า "ทำไมราคาเบียร์ในร้านสะดวกซื้อหรือซุเปอร์มาร์เกตถึงราคาไม่เท่ากัน?"
เบียร์ญี่ปุ่นนั้น ถ้าดูเผินๆ จะคิดว่าเหมือนกัน แต่จริงๆแล้วเบียร์ญี่ปุ่นนั้นแบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ ビール (biru) , 発泡酒 (happoshu) และ 発泡性(happosei)
ความแตกต่างระหว่างทั้ง 3 ประเภทคือ
1.ประเภทแรก ビール (biru) คือเบียร์ที่มีปริมาณมอลท์ 67% ขึ้นไป
2.ประเภทที่สอง 発泡酒 (happoshu) คือเบียร์ที่มีปริมาณมอลท์ 25%-66% และไม่ผสมเหล้าหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอลชนิดอื่น คือจะเป็น Low-Malt Beer แต่ถ้าจะแปลชื่อ Happoushu ให้ตรงตัวก็คือ เหล้าที่มีฟอง ซึ้งมาจากคำว่า Happou ที่แปลว่า เป็นฟอง ส่วนคำว่า Shu ก็คือ เหล้า ที่ปกติเราอ่านว่า Sake
3.ประเภทที่สาม 発泡性 (happosei) หรือจะเรียกอีกอย่างก็คือ 第三のビール (daisan biru) คือมีปริมาณมอลท์ต่ำกว่า 25% หรือไม่มีมอลท์เลย และผสมกับเหล้าหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอลชนิดอื่น ในปี 2004 ได้เริ่มมีการผลิตเบียร์ชนิดนี้ขึ้นมา โดยใช้คำว่า Sei ที่แปลว่าประเภท แทนคำว่า Shu เนื่องจากมันถูกผลิตโดยใช้วัตถุดิบส่วนใหญ่จาก ถั่วเหลือง ข้าว ข้าวโพด มันฝรั่ง แทนการใช้ Malt ซึ่งในตอนนี้กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะราคาที่ถูกกว่า สังเกตได้จากที่กระป๋องจะเขียนคำว่า Liquor แทน
จากข้อมูลที่บริษัทผู้ผลิตเบียร์ได้ออกมาแถลงนั้น เมื่อปีที่แล้ว “เบียร์”「ビール」, “happoshu” 「発泡酒」 และ "Daisan Biru" (第三のビール) ที่ส่งจากโรงงานไปยังร้านค้าต่างๆ นั้นมีปริมาณทั้งหมดประมาณ 5,380,000 kL ซึ่งมีปริมาณลดน้อยลงกว่าปีก่อนๆ 0.5% แล้วก็มีปริมาณลดน้อยลงต่อเนื่องกันมา ถึง 11 ปีแล้ว
แต่ในบรรดาเครื่องดิ่มเหล่านั้น มีแค่เบียร์เท่านั้นที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น 0.1% แต่ตัว "เบียร์" เอง ตลอด 19 ปีที่ผ่านมาก็ประสบปัญหาเรื่องปริมาณที่ลดลงต่อเนื่องทุกๆ ปี แต่เมื่อปีที่แล้วกลับมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น
แต่บริษัทผลิตเบียร์นั้นก็คิดว่า ถึงแม้เบียร์จะมีราคาที่สูงกว่าพวก “Happoshu (発泡酒) และ “Daisan Beer (第 3のビール) ซึ่งเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีรสชาติคล้ายกับเบียร์ แต่ก็มีคนที่อยากลิ้มลองและเพลิดเพลินกับรสชาติเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้น เมื่อปีที่แล้ว บริษัทฯ จึงได้ออกผลิตภัณฑ์เบียร์ใหม่ๆ ที่มีรสชาติต่างจากที่เคยมีมากก่อนมากมาย
แล้วในปีนี้ ก็มีแผนการที่จะออกวางจำหน่ายเบียร์ที่คำนึงถึงสุขภาพและเบียร์ที่มีรสชาติต่างจากเดิมในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ
เบียร์เด็ก
อ้อแล้วอีกอย่างที่น่าสนใจเกี่ยวกับเบียร์ญี่ปุ่นก็คือ ญี่ปุ่นมีสูตรการเก็บภาษีเครื่องดื่มน้ำเมาประเภทนี้เฉพาะตัว นั่นคือเก็บตามปริมาณส่วนผสมของ Malt ถ้ามี Malt มากก็จะเสียภาษีมาก ยกตัวอย่างเบียร์ 1 ขวดราคา 337 เยน จะเป็นภาษีรวมแล้วถึง 157 เยน หรือ 47% เลยทีเดียว
แต่ถ้าส่วนผสมของ Malt ต่ำกว่า 67% จะเสียภาษีถูกลงเหลือเพียง 36% เท่านั้น ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าห้ามเขียนที่ขวดหรือกระป๋องว่าเบียร์ ต้องใช้คำอื่นแทน ดังนั้นถ้าอยากจะกินเบียร์แท้ๆแบบต้นตำรับ จึงต้องสังเกตให้ดีก่อนซื้อ
แล้วในระยะหลัง เบียร์ญี่ปุ่นก็ยังพยายามทำให้เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพมากขึ้นด้วย จะมีคำว่า Zero ปรากฎอยู่ เช่น Zero Alcohol คือ เบียร์ที่ไม่มี Alcohol
สำหรับคอเบียร์ทั้งหลายคงต้องติดตามเบียร์รสชาติต่าง ของญี่ปุ่นต่อไปนะคะ
Posted by mod at
16:06
│Comments(0)