› 日本が好き › 2016年01月11日
2016年01月11日
ฝึกการเป็นไมโกะหรือเกโกะ
เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นเกียวโตอย่างหนึ่ง นอกจากสถาปัตยกรรม วัด และสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่าบ่งบอกความเป็นญี่ปุ่นดั้งเดิมได้เป็นอย่างดี ก็ยังมีสาวหน้าขาวใส่ชุดกิโมโน หรือทั่วโลกรู้จักกันในนาม “เกอิชา” (芸者)
อันที่จริง เกอิชามีอยู่เกือบทั่วทุกภูมิภาคในประเทศญี่ปุ่น แต่คนส่วนมากพอพูดถึงเกอิชาก็จะนึกไปถึงเมืองเกียวโตเสียส่วนใหญ่
เกอิชา “芸者” (げいしゃ) แปลตรงตัวก็คือ “นักศิลปะ” หรือ "ผู้มีความชำนาญ ความสามารถทางด้านศิลปะศาสตร์" หรือก็คือ "ศิลปิน" นั่นเองที่สร้างความสำราญด้วยความสามารถทางศิลปะให้กับลูกค้า เช่น การร้องรำทำเพลง เต้นรำ เป่าขลุ่ย ตีกลอง เป็นต้น ส่วนทางภูมิภาคคันไซ (เกียวโต) นิยมเรียกเกอิชาว่า "เกอิงิ" (Geigi / 芸妓) หรือบางครั้งก็เรียกว่า เกโกะ “芸妓” (げいこ)
เกอิชาส่วนมากมักได้รับการว่าจ้างให้รับรองลูกค้าที่มาเป็นหมู่คณะ (ประมาณระดับมหาเศรษฐี หรือไม่ก็นักการเมืองระดับสูง) ในโรงน้ำชา (Chaya / 茶屋) หรือไม่ก็ เรียวเท (Ryotei / 料亭) หรือร้านอาหารญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม ส่วนระยะเวลาการให้บริการจะใช้ธูปเป็นเกณฑ์วัด ซึ่งในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า "ค่าธูป" (Senkoudai / 線香代) หรือ เคียวคุได (玉代 "ค่าเพชร") ลูกค้าจะติดต่อโดยผ่านสำนักติดต่อเกอิชา หรือ “เคนบัน” (検番) ซึ่งจะมีตารางนัดของเกอิชาแต่ละคน และทำการนัดหมาย ทั้งเพื่อการทำงานและการฝึกฝนอาชีพ เมื่อหญิงที่ทำงานเป็นเกอิชาแต่งงาน ก็จะเลิกจากอาชีพนี้ หากไม่แต่งงาน เมื่ออายุมากขึ้น ก็จะเลิกอาชีพนี้เช่นกัน แต่อาจทำงานเป็นเจ้าของร้านอาหาร ครูสอนดนตรี เต้นรำ หรือครูสอนเกอิชาต่อไปก็ได้
เกอิชาถือเป็นอาชีพหนึ่งของสตรีญี่ปุ่นในสมัยก่อน ซึ่งมีหน้าที่มอบความเพลิดเพลินบันเทิงใจให้แก่แขกเหรื่อ โดยหญิงสาวที่จะเป็นเกอิชา ต้องเข้ารับการฝึกอบรมศิลปะวัฒนธรรมหลากแขนงของญี่ปุ่นตั้งแต่เด็ก ไม่ว่าจะเป็นวิชาการขับร้อง, การร่ายรำ, การบรรเลงเครื่องดนตรี, การจัดดอกไม้, การชงชา, การแต่งชุดกิโมโน ฯลฯ นอกจากนี้ ยังต้องฝึกฝนเทคนิคการสนทนา การโต้ตอบกับแขก รวมไปถึงการพนันแบบต่างๆอีกด้วย
อันที่จริง เกอิชามีอยู่เกือบทั่วทุกภูมิภาคในประเทศญี่ปุ่น แต่คนส่วนมากพอพูดถึงเกอิชาก็จะนึกไปถึงเมืองเกียวโตเสียส่วนใหญ่ ซึ่งทางภูมิภาคคันไซ (เกียวโต) นิยมเรียกเกอิชาว่า "เกอิงิ" (Geigi / 芸妓) และเรียกเกอิชาฝึกหัดว่า "เกอิโกะ" (Geiko / 芸子) ส่วนคำว่า "ไมโกะ" (Maiko / 舞子) ที่มักได้ยินกันบ่อยๆนั้น ก็หมายถึงเกอิชะฝึกหัดเช่นกัน
หลายคนมักเข้าใจผิดว่าเกอิชะคือหญิงขายบริการ ทั้งที่จริงๆแล้วไม่ใช่เลย จริงอยู่ว่ามีลูกค้าบางคนจ่ายเงินเพื่อซื้อเรือนร่างของหญิงสาวที่ทำอาชีพเกอิชะ แต่พวกเธอมีสิทธิ์ที่จะเลือกปฏิเสธลูกค้า
ส่วนหญิงขายบริการในสมัยเอโดะจะมีชื่อเรียกว่า "ทะยู" (太夫) แต่ถ้าเป็นในโตเกียว จะเรียกว่า "โออิรัน" (おいらん) ซึ่งทั้งสองคำนี้ใช้เรียกหญิงขายบริการซึ่งมีตำแหน่งสูงสุดในบรรดาผู้หญิง ที่ทำอาชีพเดียวกัน และแทบเรียกได้ว่าเป็นที่หมายปองที่สุดของหนุ่มทั่วเอโดะ
ส่วนไมโกะ “舞妓” (まいこ) นั้นเป็นคำเรียกหญิงสาวฝึกหัดก่อนที่จะเติบโตเป็น “เกโกะ” ไมโกะส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 15 ถึง 20 ปี รูปแบบการแต่งกายเฉพาะของไมโกะ คือผูกโอบิปล่อยชาย สวมรองเท้าพื้นสูงให้ดูเป็นเด็กสาวน่ารัก ส่วนทรงผมจะเกล้ามวยด้วยจริง และประดับปิ่นดอกไม้หรือสัญลักษณ์ประจำฤดูกาลขนาดใหญ่ ไมโกะถือว่ามีสถานะทางสังคมค่อนข้างดี ซึ่งในเกียวโต สิ่งสำคัญคือการที่จะเลื่อนขึ้นเป็นเกอิชาได้นั้นต้องผ่านบททดสอบและฝึกฝนที่ยากลำบากพอสมควร ดูเหมือนว่าโลกของไมโกะจะสวยงามแต่ความเป็นจริงแล้วพวกเธอนั้นได้รับการฝึกหัดกันอย่างหนัก และเพื่อไปสู่การเป็น “เกโกะ” ไมโกะจะร่ำเรียนการแสดงนาฏศิลป์ ขับร้อง ดนตรี เช่น ชามิเซง และมารยาท ดังนั้นไมโกะจึงต้องฝึกฝนศิลปวิทยาเหล่านี้ ตลอดจนเรียนรู้วัฒนธรรม อาทิ พิธีชงชา ทุกวัน ไม่ได้เป็นกันง่ายๆ ทำให้ปัจจุบันไมโกะที่ล้มเลิกความตั้งใจกลางคันทั้งๆ ที่ยังไม่ได้เป็นเกอิชาจึงมีมากขึ้น
ในวันที่ 7ม.ค.ที่ผ่านมานั้นได้มีการจัดพิธีเปิดภาคการศึกษา “始業式” (しぎょうしき) ที่จะฝึกฝนเกี่ยวกับการร้องและการร่ายรำเป็นครั้งแรกของปีนี้
เหล่าไมโกะและเกโกะราวๆ 100คนได้สวมกิโมโนสีดำและประดับผมด้วยปิ่นปักผมที่เป็นต้นข้าวมารวมตัวกันที่สถาบันฝึกการร้องเพลงและร่ายรำ Kionkoubukaburenjyo「祇園甲部歌舞練場」ที่ตั้งอยู่ที่เขตฮิงาชิยามะ จังหวัดเกียวโต
ในพิธีนั้น จะได้รับชมการร่ายรำอวยพรของคุณ Inoue Yachiyo ซึ่งเป็นศิลปินแห่งชาติที่สอนการร่ายรำ
คุณ Inoue Yachiyo ซึ่งเป็นศิลปินแห่งชาติ
เหล่าไมโกะและเกโกะได้พูดว่า “Onedetousandosu 「おめでとうさんどす」” แล้วก็กล่าวคำทักทายกันในช่วงต้อนรับปีใหม่
คุณ Katsu Tomo ซึ่งเป็นเกโกะกล่ววว่า “การได้มาในพิธีเปิดภาคการศึกษานั้นทำให้มีความรู้สึกว่าจะตั้งใจพยายามที่จะฝึกฝนในการร้องและร่ายรำเพิ่มมากขึ้นด้วย”
ปัจจุบันเกอิชายังคงอาศัยอยู่มากในสำนักเกอิชา ในบริเวณพื้นที่ซึ่งเรียกว่า ฮะนะมะชิ (花街 "เมืองดอกไม้") หรือ คะเรียวไค (花柳界 " โลกของดอกไม้และต้นหลิว") ซึ่งปัจจุบันในเกียวมีอยู่ 5 แห่ง คือ ย่านกิองโคบุ ย่านมิยะกะวะ ย่านโจ ปนโตะโจ ย่านคะมิชิจิเคง และย่านกิองฮิงะชิ
การแสดงศิลปะนาฏศิลป์ไมโกะและเกงิจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง โดยเฉพาะเดือนมิถุนายนจะมีการแสดงร่วมกัน 5 สำนักซึ่งโอกาสเข้ารับชมแสดงที่เรียกว่า “โอะชะยะ” อาจหาได้ยากมาก
ถึงอย่างไรการเข้าชมในแต่ละโรงละครก็เป็นโอกาสดีสำหรับการสัมผัสศิลปะการแสดง
ขอบคุณข้อมูลจาก : Gotoknow
อันที่จริง เกอิชามีอยู่เกือบทั่วทุกภูมิภาคในประเทศญี่ปุ่น แต่คนส่วนมากพอพูดถึงเกอิชาก็จะนึกไปถึงเมืองเกียวโตเสียส่วนใหญ่
เกอิชา “芸者” (げいしゃ) แปลตรงตัวก็คือ “นักศิลปะ” หรือ "ผู้มีความชำนาญ ความสามารถทางด้านศิลปะศาสตร์" หรือก็คือ "ศิลปิน" นั่นเองที่สร้างความสำราญด้วยความสามารถทางศิลปะให้กับลูกค้า เช่น การร้องรำทำเพลง เต้นรำ เป่าขลุ่ย ตีกลอง เป็นต้น ส่วนทางภูมิภาคคันไซ (เกียวโต) นิยมเรียกเกอิชาว่า "เกอิงิ" (Geigi / 芸妓) หรือบางครั้งก็เรียกว่า เกโกะ “芸妓” (げいこ)
เกอิชาส่วนมากมักได้รับการว่าจ้างให้รับรองลูกค้าที่มาเป็นหมู่คณะ (ประมาณระดับมหาเศรษฐี หรือไม่ก็นักการเมืองระดับสูง) ในโรงน้ำชา (Chaya / 茶屋) หรือไม่ก็ เรียวเท (Ryotei / 料亭) หรือร้านอาหารญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม ส่วนระยะเวลาการให้บริการจะใช้ธูปเป็นเกณฑ์วัด ซึ่งในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า "ค่าธูป" (Senkoudai / 線香代) หรือ เคียวคุได (玉代 "ค่าเพชร") ลูกค้าจะติดต่อโดยผ่านสำนักติดต่อเกอิชา หรือ “เคนบัน” (検番) ซึ่งจะมีตารางนัดของเกอิชาแต่ละคน และทำการนัดหมาย ทั้งเพื่อการทำงานและการฝึกฝนอาชีพ เมื่อหญิงที่ทำงานเป็นเกอิชาแต่งงาน ก็จะเลิกจากอาชีพนี้ หากไม่แต่งงาน เมื่ออายุมากขึ้น ก็จะเลิกอาชีพนี้เช่นกัน แต่อาจทำงานเป็นเจ้าของร้านอาหาร ครูสอนดนตรี เต้นรำ หรือครูสอนเกอิชาต่อไปก็ได้
เกอิชาถือเป็นอาชีพหนึ่งของสตรีญี่ปุ่นในสมัยก่อน ซึ่งมีหน้าที่มอบความเพลิดเพลินบันเทิงใจให้แก่แขกเหรื่อ โดยหญิงสาวที่จะเป็นเกอิชา ต้องเข้ารับการฝึกอบรมศิลปะวัฒนธรรมหลากแขนงของญี่ปุ่นตั้งแต่เด็ก ไม่ว่าจะเป็นวิชาการขับร้อง, การร่ายรำ, การบรรเลงเครื่องดนตรี, การจัดดอกไม้, การชงชา, การแต่งชุดกิโมโน ฯลฯ นอกจากนี้ ยังต้องฝึกฝนเทคนิคการสนทนา การโต้ตอบกับแขก รวมไปถึงการพนันแบบต่างๆอีกด้วย
อันที่จริง เกอิชามีอยู่เกือบทั่วทุกภูมิภาคในประเทศญี่ปุ่น แต่คนส่วนมากพอพูดถึงเกอิชาก็จะนึกไปถึงเมืองเกียวโตเสียส่วนใหญ่ ซึ่งทางภูมิภาคคันไซ (เกียวโต) นิยมเรียกเกอิชาว่า "เกอิงิ" (Geigi / 芸妓) และเรียกเกอิชาฝึกหัดว่า "เกอิโกะ" (Geiko / 芸子) ส่วนคำว่า "ไมโกะ" (Maiko / 舞子) ที่มักได้ยินกันบ่อยๆนั้น ก็หมายถึงเกอิชะฝึกหัดเช่นกัน
หลายคนมักเข้าใจผิดว่าเกอิชะคือหญิงขายบริการ ทั้งที่จริงๆแล้วไม่ใช่เลย จริงอยู่ว่ามีลูกค้าบางคนจ่ายเงินเพื่อซื้อเรือนร่างของหญิงสาวที่ทำอาชีพเกอิชะ แต่พวกเธอมีสิทธิ์ที่จะเลือกปฏิเสธลูกค้า
ส่วนหญิงขายบริการในสมัยเอโดะจะมีชื่อเรียกว่า "ทะยู" (太夫) แต่ถ้าเป็นในโตเกียว จะเรียกว่า "โออิรัน" (おいらん) ซึ่งทั้งสองคำนี้ใช้เรียกหญิงขายบริการซึ่งมีตำแหน่งสูงสุดในบรรดาผู้หญิง ที่ทำอาชีพเดียวกัน และแทบเรียกได้ว่าเป็นที่หมายปองที่สุดของหนุ่มทั่วเอโดะ
ส่วนไมโกะ “舞妓” (まいこ) นั้นเป็นคำเรียกหญิงสาวฝึกหัดก่อนที่จะเติบโตเป็น “เกโกะ” ไมโกะส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 15 ถึง 20 ปี รูปแบบการแต่งกายเฉพาะของไมโกะ คือผูกโอบิปล่อยชาย สวมรองเท้าพื้นสูงให้ดูเป็นเด็กสาวน่ารัก ส่วนทรงผมจะเกล้ามวยด้วยจริง และประดับปิ่นดอกไม้หรือสัญลักษณ์ประจำฤดูกาลขนาดใหญ่ ไมโกะถือว่ามีสถานะทางสังคมค่อนข้างดี ซึ่งในเกียวโต สิ่งสำคัญคือการที่จะเลื่อนขึ้นเป็นเกอิชาได้นั้นต้องผ่านบททดสอบและฝึกฝนที่ยากลำบากพอสมควร ดูเหมือนว่าโลกของไมโกะจะสวยงามแต่ความเป็นจริงแล้วพวกเธอนั้นได้รับการฝึกหัดกันอย่างหนัก และเพื่อไปสู่การเป็น “เกโกะ” ไมโกะจะร่ำเรียนการแสดงนาฏศิลป์ ขับร้อง ดนตรี เช่น ชามิเซง และมารยาท ดังนั้นไมโกะจึงต้องฝึกฝนศิลปวิทยาเหล่านี้ ตลอดจนเรียนรู้วัฒนธรรม อาทิ พิธีชงชา ทุกวัน ไม่ได้เป็นกันง่ายๆ ทำให้ปัจจุบันไมโกะที่ล้มเลิกความตั้งใจกลางคันทั้งๆ ที่ยังไม่ได้เป็นเกอิชาจึงมีมากขึ้น
ในวันที่ 7ม.ค.ที่ผ่านมานั้นได้มีการจัดพิธีเปิดภาคการศึกษา “始業式” (しぎょうしき) ที่จะฝึกฝนเกี่ยวกับการร้องและการร่ายรำเป็นครั้งแรกของปีนี้
เหล่าไมโกะและเกโกะราวๆ 100คนได้สวมกิโมโนสีดำและประดับผมด้วยปิ่นปักผมที่เป็นต้นข้าวมารวมตัวกันที่สถาบันฝึกการร้องเพลงและร่ายรำ Kionkoubukaburenjyo「祇園甲部歌舞練場」ที่ตั้งอยู่ที่เขตฮิงาชิยามะ จังหวัดเกียวโต
ในพิธีนั้น จะได้รับชมการร่ายรำอวยพรของคุณ Inoue Yachiyo ซึ่งเป็นศิลปินแห่งชาติที่สอนการร่ายรำ
คุณ Inoue Yachiyo ซึ่งเป็นศิลปินแห่งชาติ
เหล่าไมโกะและเกโกะได้พูดว่า “Onedetousandosu 「おめでとうさんどす」” แล้วก็กล่าวคำทักทายกันในช่วงต้อนรับปีใหม่
คุณ Katsu Tomo ซึ่งเป็นเกโกะกล่ววว่า “การได้มาในพิธีเปิดภาคการศึกษานั้นทำให้มีความรู้สึกว่าจะตั้งใจพยายามที่จะฝึกฝนในการร้องและร่ายรำเพิ่มมากขึ้นด้วย”
ปัจจุบันเกอิชายังคงอาศัยอยู่มากในสำนักเกอิชา ในบริเวณพื้นที่ซึ่งเรียกว่า ฮะนะมะชิ (花街 "เมืองดอกไม้") หรือ คะเรียวไค (花柳界 " โลกของดอกไม้และต้นหลิว") ซึ่งปัจจุบันในเกียวมีอยู่ 5 แห่ง คือ ย่านกิองโคบุ ย่านมิยะกะวะ ย่านโจ ปนโตะโจ ย่านคะมิชิจิเคง และย่านกิองฮิงะชิ
การแสดงศิลปะนาฏศิลป์ไมโกะและเกงิจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง โดยเฉพาะเดือนมิถุนายนจะมีการแสดงร่วมกัน 5 สำนักซึ่งโอกาสเข้ารับชมแสดงที่เรียกว่า “โอะชะยะ” อาจหาได้ยากมาก
ถึงอย่างไรการเข้าชมในแต่ละโรงละครก็เป็นโอกาสดีสำหรับการสัมผัสศิลปะการแสดง
ขอบคุณข้อมูลจาก : Gotoknow
Posted by mod at
14:00
│Comments(0)