インバウンドでタイ人を集客! 事例多数で万全の用意 [PR]
ナムジャイブログ
ブログポータルサイト「ナムジャイ.CC」 › 日本が好き › 2015年10月12日

【PR】

本広告は、一定期間更新の無いブログにのみ表示されます。
ブログ更新が行われると本広告は非表示となります。
  

Posted by namjai at

2015年10月12日

福島・飯舘村 季節外れのひまわり咲く



นับตั้งแต่เกิดอุบัติเหตุด้านพลังงานที่เกิดขึ้นที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ หมายเลข I ในจังหวัดฟุกุชิมะเมื่อปี 2011 แม้ว่าจะผ่านมา 4 ปีแล้วก็ตาม แต่ว่าในหมู่บ้าน Iitate ของจังหวัด Fukushima นั้น ตอนนี้เองก็ยังไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ตามปกติ

แม้ว่าในเขต Nimaibashi ของหมู่บ้าน Iitate จะทำการขจัดการเปื้อนของสารกัมมันตรังสีของที่นาประมาณ 2 เฮกเตอร์ (1 เฮกเตอร์ เท่ากับ 6 ไร่ 1 งาน) เสร็จเรียบร้อยไปแล้วก็ตาม แต่เพราะว่าไม่สามารถปลูกพืชผลทางเกษตรได้เป็นเวลานาน จึงทำให้สารอาหารที่อยู่ในดินของที่นานั้นหมดไป

ดังนั้นในฤดูร้อนปีนี้ พวกชาวนาก็เลยคิดกันว่าจะหว่านเมล็ดดอกทานตะวันลงในที่นาแล้วปลูกให้เจริญเติบโต พอหลังจากที่ดอกทานตะวันบานแล้วก็จะไถกลบไปพร้อมกับดิน เพื่อทำให้ที่นาได้รับสารอาหารเพิ่มขึ้น

ในตอนนี้ต้นทานตะวันก็สูงประมาณ 50 เซนติเมตรแล้ว ในฤดูใบไม้ร่วงนี้ ดอกทานตะวันก็ได้เบ่งบานสวยงาม พวกชาวนากล่าวกันว่า “ดอกทานตะวันทำให้ความรู้สึกของพวกเขารู้สึกสดชื่นขึ้น” หลังจากที่ดอกทานตะวันบานแล้ว พวกเขาก็จะไถ่กลบต้นทานตะวันไปพร้อมกับดินเพื่อฟื้นฟูดินให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ดังเดิม




ทำไมถึงต้องใช้ทานตะวันด้วย?

เนื่องจากในปี 1986 (พ.ศ.2529) จากเหตุวินาศภัยโรงปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่เชอร์โนบิล ได้มีการนำดอกทานตะวันมาใช้เพื่อขจัดสารกัมมันตรังสีที่ปนเปื้อนอยู่ในดิน ที่ประเทศยูเครน ซึ่งก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ดังนั้นจึงใช้ดอกทานตะวันมากำจัดสารพิษในครั้งนี้ด้วย เพราะดอกทานตะวันจะดูดเอาสารซีเซียมเป็นสารอาหาร ซึ่งเป็นสารที่ปนเปื้อนในดิน (สารซีเซียมคล้ายกับโพแทสเซียม (kalium) เป็นสารอาหารพื้นฐานในปุ๋ยหากไม่มีโพแทสเซียมในดิน ดอกทานตะวันจะดูดเอาสารซีเซียมเป็นสารอาหารดอกทานตะวันจะดูดเอาสารซีเซียมเป็นสารอาหาร ซึ่งเป็นสารที่ปนเปื้อนในดิน (สารซีเซียมคล้ายกับโพแทสเซียม (kalium) เป็นสารอาหารพื้นฐานในปุ๋ยหากไม่มีโพแทสเซียมในดิน ดอกทานตะวันจะดูดเอาสารซีเซียมเป็นสารอาหารแทน)

*ทานตะวันเป็นพืชที่มีบทบาทมากในการฟื้นฟูดิน ตัวอย่างเช่น ทานตะวันสะสมตะกั่วได้ 0.86 mg/kg เมื่อเลี้ยงแบบไฮโดรโพนิกส์และส่งเสริมการย่อยสลายคาร์โบฟูรานได้ 46.71 mg/kg (จาก wikipedia)*
หลังจากที่ปลูกดอกทานตะวันแล้ว ทีมนักวิจัยจะใช้แบคทีเรียในการย่อยสลาย เนื่องจากหากเผาดอกทานตะวันที่ดูดซับสารเอาไว้ เขม่าควันจะทำให้สารซีเซียมแพร่กระจายได้อีก โดยในกระบวนการย่อยสลายจะลดจำนวนสารกัมมันตรังสีที่อยู่ในดอกทานตะวันลงเหลือเพียง 1% และหวังว่าดอกทานตะวันจะกลายเป็นสัญลักษณ์ในการฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตินิวเคลียร์



ช่วงเวลาที่สามารถชมดอกทานตะวันในจังหวัดฟุกุชิมา:ต้นเดือนสิงหาคม~ต้นเดือนกันยายน






  

Posted by mod at 20:01Comments(0)