インバウンドでタイ人を集客! 事例多数で万全の用意 [PR]
ナムジャイブログ
ブログポータルサイト「ナムジャイ.CC」 › 日本が好き › 2015年09月

【PR】

本広告は、一定期間更新の無いブログにのみ表示されます。
ブログ更新が行われると本広告は非表示となります。
  

Posted by namjai at

2015年09月15日

月見

เมื่อพูดถึงพระจันทร์แล้ว ก็อดไม่ได้ที่จะคิดถึงเทศกาลไหว้พระจันทร์ด้วย ฉันเป็นคนหนึ่งที่ชอบกินขนมไหว้พระจันทร์มาก แถมช่วงนี้ก็วางขายกันเยอะแยะเลย มีไส้ต่างๆ มากมาย เลือกกินไม่ถูกเลย (ว่าจะลดความอ้วนเสียหน่อย สงสัยต้องหลังจากนี้เสียแล้ว)

เทศกาลไหว้พระจันทร์เป็นเทศกาลอันดั้งเดิมของประเทศจีน นอกจากการทานขนมไห้วพระจันทร์และส้มโอแล้ว
พระจันทร์ดวงกลม ผู้คนกลมเกลียว ในขณะเดียวกันยังเป็นช่วงเวลาที่คนในครอบครัวมาชุมนุมกันอีกด้วย

ประวัติความเป็นมาของเทศกาลวันไหว้พระจันทร์

"จงชิว " คำนี้ ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในหนังสือโบราณของจีน "โจวหลี่" (หนังสือบันทึกระบบการเมืองราชวงศ์โจว
ระบบมารยาทสังคม และหน้าที่ของข้าราชการ) แต่ไม่ได้อธิบายไว้ว่าเป็นวันไหนของเดือนสิงหาคม
มีนักวิชาการประเพณีพื้นบ้านเชื่อว่าแท้จริงแล้วจงชิวเป็นฤดูการเก็บเกี่ยวสมัยโบราณ
เพราะเดือนสิงหาคมตามทางปฎิทินจันทรคติจีนนั้นเป็นฤดูแห่งการเก็บเกี่ยวในฤดูใบไม้ร่วง
ผู้คนจะกราบไหว้เทพเจ้าที่กัน

มาในสมัยราชวงศ์ถัง เทศกาลไหว้พระจันทร์ถึงได้เปลี่ยนมาเป็นเทศกาลประจำกัน
ตามตำนานเป็นเรื่องราวการละเมอไปยังดวงจันทร์ของหยางกุ้ยเฟย
มาถึงราชวงค์ซ่งเทศกาลไหว้พระจันทร์เริ่มต้นนิยมกว้างขวางขึ้นในหมู่ประชาชน ถึงราชวงศ์หมิง ราชวงศ์ชิง
เทศกาลไหว้พระจันทร์ได้เป็นเช่นเดียวกับวันขึ้นปีใหม่
กลายมาเป็นเทศกาลประเพณีที่สำคัญของประเทศจีนไปแล้ว

เทศกาลไหว้พระจันทร์ของแต่ละประเทศในเอเซีย

เขตเอเซียเป็นเขตที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีน รวมไปถึงญี่ปุ่น เวียดนาม เกาหลีเป็นต้น
ต่างก็มีเทศกาลประเพณีการไหว้พระจันทร์ที่ใกล้เคียงกัน





สำหรับเทศกาลไหว้พระจันทร์ของญี่ปุ่น หรือเทศกาลชมพระจันทร์นั้นมีคำเรียกว่า ทสึกิมิ ( 月見 ออกเสียง สึกิมิ) จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ตามปฏิทินเดิมหรือปฏิทินตามจันทรคติ ทำให้ทุกปีนั้นวันและเดือนของการไหว้พระจันทร์จะเปลี่ยนแปลงไป เทศกาลชมพระจันทร์ของญี่ปุ่นนั้นได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน เกิดขึ้นเมื่อมีขุนนางเป็นผู้ที่นำเข้ามาในช่วงสมัยนาระ-สมัยเฮอัน ในวันขึ้น 15 ค่ำ ไม่ได้มีแค่ขุนนางในวังเท่านั้นที่ชื่นชมพระจันทร์ประชาชนทั่วไปก็มีความเชื่อว่าพลังงานที่มาจากดวงจันทร์จะมีสิ่งลี้ลับที่จะสามารถให้พรที่ขอนั้นเป็นจริงขึ้นมาได้ (บางครั้งคนญี่ปุ่นจะจินตนาการเห็นเงาบนพื้นผิวพระจันทร์นั้นเป็นรูปร่างคล้ายกระต่ายที่กำลังตำขนมโมจิ) โดยส่วนใหญ่ชาวนามักจะไหว้เพื่อแสดงการขอบคุณหลังจากที่ได้เก็บเกี่ยวพืชผลที่อุดมสมบูรณ์ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง โดยส่วนใหญ่ชาวนามักจะขอพรจากดวงจันทร์ให้เก็บเกี่ยวได้ผลผลิตที่ดี พืชผลอุดมสมบูรณ์ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและเพื่อขอพรให้ได้พืชผลที่ดีในปีต่อๆ ไป

โดยในวันนั้นผู้คนจะเฉลิมฉลองด้วยการเตรียมอาหารประจำฤดูใบไม้ร่วงในการบวงสรวงพระจันทร์ คือขนมไหว้พระจันทร์ ซึกิมิ ดังโงะ (月見 団子 tsukimi dango) ขนมที่ทำจากแป้งข้าวเจ้าและน้ำตาล นำไปนึ่งพร้อมปั้นเป็นลูกกลมๆ ส่วนมากก็จะปั้นโมจิทรงกลมทั้งหมด 12 ลูกตาม 12เดือนในหนึ่งปี หรือ 15ลูกตามคำเรียก “คืนที่สิบห้า” หรือบางทีก็เรียกว่า กลางฤดูใบไม้ร่วง (中秋の名月 ออกเสียง จูชู โนะ เมเกะสึ), ซัมโบ (三方, Sanboo/Sanpoo) ถาดไม้ขนาดเล็กที่มีขาตั้ง, ซุซุกิยะฮางิ (すすきや萩, Susuki ya hagi) หญ้าจำพวกหญ้าแขมเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก หรือดอกไม้ประจำฤดูใบไม้ร่วงอื่นๆ ก็ได้




หมายเหตุ

月見 หรือ 中秋の名月 นั้นมีมาตั้งแต่สมัยเฮอัน (อยู่ในช่วง ค.ศ. 794 – ค.ศ. 1185) เป็นเทศกาลชมจันทร์อย่างเแท้จริง แต่ต่อมาถึงสมัยเอโดะ (ค.ศ. 1603 – ค.ศ. 1868) ก็ปรับเปลี่ยนมาเป็นการไหว้ขอบคุณหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตพืชพันธุ์ที่อุดมสมบูรณ์ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงแล้วก็ทำต่อๆกันมาจนเป็นเรื่องปกติในปัจจุบัน

นอกจากนั้นแล้ว ค่ำคืนนี้คนญี่ปุ่นจะเรียกว่า “คืนที่สิบห้า” ออกเสียง จูโกะยะ(十五夜) ซึ่งมีหมายความว่าเป็นคืนที่สิบห้าหลังจากขึ้นปีใหม่ คืนที่สิบห้าจะอยู่ในช่วงเดือนเจ็ดถึงเดือนสิบ (ตามปฏิทินเดิม)


ทุกวันนี้ ขนม “ทสึคิมิดังโกะ” ได้รับการพัฒนาให้มีความหลากหลายมากขึ้น โดยมีการใส่ไส้ถั่วแดงกวน บ้างก็เป็นถั่วแดงกวนผสมผิวส้มยุสึเพื่อเพิ่มความหอม อีกทั้งแต่ละภูมิภาคยังมีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น แถบคันโตจะปั้นเป็นก้อนกลมเหมือนพระจันทร์ แต่แถบคันไซจะปั้นให้คล้ายเผือกหัวเล็กแล้วหุ้มครึ่งหนึ่งด้วยถั่วแดงกวน ประหนึ่งว่าเป็นพระจันทร์ที่มีเมฆลอยมาบดบัง ซึ่งถือเป็นความงามอีกแบบตามความคิดชาวญี่ปุ่น (สาเหตุที่ปั้นเป็นรูปเผือกหัวเล็ก เพราะพืชชนิดนี้เปรียบเหมือนตัวแทนของการเก็บเกี่ยวประจำฤดูใบไม้ร่วงในสมัยก่อน) ส่วนที่จังหวัดชิซุโอกะจะปั้นให้แบนนิดๆแล้วทำรอยบุ๋มตรงกลางคล้ายสะดือ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “โมจิสะดือ” (へそもち) ในขณะที่จังหวัดโอกินาวะมี “ฟุจะงิโมจิ” (吹上餅) ซึ่งใช้แป้งข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนแบนนำไปนึ่ง โรยหน้าด้วยถั่วแดงต้ม

ทสึคิมิดังโกะแบบคันไซ



ฟุจะคิโมจิ ของโอกินาวะ


ทสึคิมิดังโกะแบบคันโต



จากนั้นจึงนำมาจัดตกแต่งด้วยผักและผลไม้ประจำฤดูใบไม้ร่วง เช่น เกาลัด, ฝักถั่วเหลืองสด, เผือก, ลูกพลับ พร้อมเครื่องเซ่นต่างๆ แล้วนำไปวางไว้ใกล้หน้าต่างหรือที่ระเบียงเพื่ออธิษฐานขอพรจากพระจันทร์

「栗」(Kuri)

「枝豆」(Edamame)


「里芋」(Satoimo)




「柿」(Kaki)


แล้วจัดดอกไม้ฤดูใบไม้ร่วงที่ขึ้นในธรรมชาติมาใส่แจกัน ตัวอย่าง พืชฤดูใบไม้ร่วง 7 ชนิดที่สามารถนำมาบรวงสรวงได้


ด้านบนจะเป็นขนมไหว้พระจันทร์แบบตามธรรมเนียมดังเดิม ทีนี้เรามาดูดีไซด์เก๋ๆ ของขนมไหว้พระจันทร์สมัยนี้กันว่าน่าลิ้มลองรสชาติขนาดไหน








  

Posted by mod at 20:31Comments(0)

2015年09月15日

กระต่ายจันทร์

เผอิญเมื่อวันก่อนตอนดึกมองขึ้นไปบนท้องฟ้า เห็นพระจันทร์พอดีเลย นานแล้วที่ไม่ได้เห็นพระจันทร์แบบนี้ ไม่ใช่ว่าพระจันทร์ไม่มีนะ แต่เพราะชีวิตคนสมัยนี้มันเร่งรีบจนลืมที่จะมองธรรมชาติยามค่ำคืน เมื่อมองพระจันทร์เราก็จะเห็นเหมือนมีกระต่ายอยู่บนนั้น ตอนเด็กๆ ฉันคิดว่ากระต่ายบนพระจันทร์มีแค่ที่ประเทศไทยเท่านั้น แต่ที่ไหนได้ล่ะ กระต่ายบนพระจันทร์นั้นเป็นความเชื่อของคนหลากหลายเชื้อชาติเลยทีเดียว



กระต่ายจันทร์ เป็นความเชื่อรวมกันของหลายชนชาติ ที่เชื่อว่าบนดวงจันทร์มีกระต่ายอาศัยอยู่ โดยพิจารณาจากจันทรสมุทร (หลุมดำบนดวงจันทร์) แล้วเกิดเป็นพาเรียโดเลีย (จินตภาพ) รูปกระต่ายขึ้นมา

ความเชื่อนี้มีในหลายชนชาติทั่วโลก เช่น แอฟริกา, ทิเบต, จีน, ญี่ปุ่น รวมถึงอเมริกากลางและอเมริกาใต้

ในปกรณัมของฮินดู พระจันทร์ เทพเจ้าแห่งดวงจันทร์ เป็นผู้ถือกระต่ายไว้ในพระหัตถ์ เนื่องจากคำว่ากระต่ายในภาษาสันสกฤต คือ "ศศะ" ดังนั้นจึงเรียกดวงจันทร์ว่า "ศศิน" (ศศินฺ) แปลว่า "ซึ่งมีกระต่าย

ในปกรณัมของจีน ภาพที่ปรากฏบนดวงจันทร์ คือ กระต่ายขาวกำลังตำข้าวในครก กระต่ายนี้เชื่อกันว่าเป็นผู้รับใช้เซียนหรือผู้วิเศษ โดยมีหน้าที่ปรุงยาอายุวัฒนะ หรือเป็นสัตว์เลี้ยงของฉางเอ๋อ เทพธิดาแห่งดวงจันทร์

ในชาดก ซึ่งเป็นนิทานของพุทธศาสนา มีเรื่องหนึ่งเล่าว่า มีชายคนหนึ่งหลงทางในป่า ขณะที่หมดสติไปเพราะความหิวและยากลำบาก มีสัตว์ป่า 3 ชนิดมาพบเข้า ได้แก่ หมี, หมาจิ้งจอก และกระต่าย สัตว์ทั้ง 3 ตกลงกันที่จะช่วยชายผู้นี้ หมีนำปลามาให้ ขณะที่หมาจิ้งจอกนำองุ่นมาให้ แต่กระต่ายไม่อาจหาอะไรมาได้ เพราะกินเป็นแต่หญ้า จึงเสียสละตัวเองกระโดดเข้ากองไฟเพื่อเป็นอาหารให้แก่ชายผู้นี้ พระอินทร์จึงวาดภาพกระต่ายจารึกไว้บนดวงจันทร์เพื่อระลึกถึง อย่างไรก็ตามชาดกเรื่องนี้ได้มีรายละเอียดต่างไปเล็กน้อย ๆ เช่น ชายผู้นี้บ้างก็ว่าเป็นพระพุทธเจ้า หรือเป็นพราหมณ์บ้าง หรือกระทั่งว่า กระต่ายตัวนี้คือพระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้าก็มี

แล้วเราสังเกตกันหรือไม่ว่า ตอนเด็กๆ เราจะได้ฟังนิทานเกี่ยวกับกระต่ายบนดวงจันทร์มากมาย นิทานของแต่ละประเทศก็จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป

อย่างนิทานของคนญี่ปุ่นก็จะเริ่มต้นเรื่องที่ชายชราที่อาศัยอยู่บนดวงจันทร์ ได้มองลงมายังพื้นโลกและพบเห็นสิ่งมีชีวิตสามเกลอ หนึ่งนั้นคือลิง หนึ่งนั้นคือหมาป่าและอีกหนึ่งคือกระต่าย และเพื่อจะทำการทดสอบจิตใจที่เปี่ยมเมตตา ว่าสัตว์ตัวไหนใจดีที่สุด ชายชราผู้นั้นจึงจำแลงตัวกลายมาเป็นขอทานและลงมายังพื้นโลกและได้กล่าวขอให้สัตว์ทั้งสามนี้หาอาหารให้แก่ตน

" โปรดช่วยผมด้วย ผมหิว หิวเหลือเกิน" เขาพูดกับสัตว์ทั้งสาม สัตว์ทั้งสามรู้สึกสงสาร ต่างแยกกันไปหาอาหารมาให้ขอทาน

ลิงได้นำเอาผลไม้มาให้ ส่วนหมาป่านำเอาปลามาให้แก่ขอทานเฒ่าผู้นี้ แต่กระต่ายไม่สามารถหาสิ่งใดมาได้เลย
กระต่ายร้องคร่ำครวญ แต่แล้วก็ได้ความคิดขึ้นมา

" ได้โปรดเถอะ คุณลิง ช่วยกรุณานำไม้ฟืนมาให้ฉันหน่อย
ส่วนคุณสุนัขจิ้งจอก ขอได้โปรดนำไม้ฟืนกองนั้นก่อไฟกองใหญ่ให้ฉันด้วย"

สัตว์ทั้งสองทำตามคำขอของกระต่าย
เมื่อไฟลุกไหม้สว่างดีแล้ว กระต่ายก็พูดกับขอทานว่า

" ผมไม่มีสิ่งใดจะให้คุณ ดังนั้นผมจะโยนตัวเองลงไปในกองไฟนี้
จากนั้นเมื่อผมถูกไฟเผาจนสุกดีแล้ว ขอให้คุณกินเนื้อของผมแทนก็แล้วกัน"

กระต่ายเตรียมพร้อมที่จะกระโจนลงไปในกองไฟและย่างตัวเอง
แต่ทันใดนั้นขอทานก็เปลี่ยนร่างเป็นชายชราบนดวงจันทร์ตามเดิม

" เธอเป็นสัตว์ที่ใจดีมาก เจ้ากระต่าย
แต่เธอไม่ควรทำสิ่งใดที่เป็นการทำร้ายตัวของเธอเอง
เนื่องจากเธอเป็นสัตว์ที่ใจดีที่สุดในบรรดาสัตว์ทั้งหมด
ฉันจึงขอนำเธอกลับขึ้นไปอยู่กับฉัน"

เมื่อขอทานเฒ่าได้ยินดังนั้น จึงกลับร่างกลายเป็นชายชราจากดวงจันทร์และเชื้อเชิญให้กระต่ายขึ้นไปอยู่บนดวงจันทร์
และนี่คือที่มาของความเชื่อของชาวญี่ปุ่นแต่ดั้งเดิมที่ว่า คืนใดที่ดวงจันทร์สาดแสงสวยงามกระจ่างตา
พวกเขาจะเห็นกระต่ายกำลังตำข้าวอยู่บนดวงจันทร์




คืนนี้ลองแหงนหน้ามองฟ้า เพื่อนๆ อาจจะเห็นกระต่ายน้อยตัวนั้นกำลังตำข้าวอยู่ก็เป็นได้













  

Posted by mod at 19:32Comments(0)

2015年09月14日

เทศกาล "Baby-cry Sumo"

เมื่อพูดถึงกีฬาของประเทศญี่ปุ่นแล้ว ก็ต้องนึกถึงกีฬา "ซูโม่" ที่มีเอกลักษณ์และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก ในความคิดของฉันจะนึกถึงนักกีฬาตัวอ้วนๆ สองคน มาประลองพละกำลังกันอย่างดุเดือด ...




แต่ในอีกมุมนึงประเทศญี่ปุ่นเค้าก็มีประเพณีน่ารักๆ เกี่ยวกับกีฬาซูโม่เหมือนกัน ... ประเพณีที่ว่านี้มีชื่อว่า "Konaki Sumo" หรืออาจจะเรียกแบบน่ารักๆ ว่า "ประเพณี...ซูโม่แกล้งเด็ก" ก็ได้ จะไม่ให้เรียกว่าแกล้งเด็กได้อย่างไร เพราะซูโม่ฝึกหัดจะมาแข่งกันทำให้ทารกร้องไห้ โดยมีกติกาอยู่ว่า ให้ซูโม่อุ้มเด็กทารกไว้ในมือแล้ว ทั้งสองจะหันหน้าเข้าหากัน ทำให้เด็กร้องไห้ ด้วยหน้าตา ท่าทางและน้ำเสียงเท่านั้น ห้ามทำให้เด็กเจ็บตัวเด็ดขาด ฝ่ายใดที่สามารถทำให้ทารกในมือร้องไห้ได้ก่อนก็เป็นฝ่ายชนะ แต่ถ้าทารกเกิดใจตรงกันร้องไห้พร้อมกัน ก็ต้องมาวัดฝีมือที่เจ้าหนูกันแล้วว่า คนไหนร้องไห้เสียงดังกว่ากัน




คงมีคนสงสัยสินะคะว่า พ่อแม่ที่ไหนจะยอมให้เอาลูกน้อยของตัวเองมาทำแบบนี้ ก็ต้องบอกว่าชาวญี่ปุ่นมีความสุภาษิตโบราณที่ว่า ยิ่งทารกร้องไห้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งช่วยให้ทารกโตเร็วขึ้นเท่านั้น ซึ่งความเชื่อนี้สืบเนื่องมากว่า 400 ปีแล้ว โดยประเพณีจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขับไล่ภูตผีปีศาจ ดังนั้นจึงไม่ต้องสงสัยว่าทำไมทุกๆปีจึงมีคุณพ่อคุณแม่ชาวญี่ปุ่นยินดีนำลูกน้อยมาร่วมพิธินี้

สำหรับประเพณี "Konaki Sumo" จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมาก็เพิ่งมีการจัดประเพณีนี้ขึ้นที่ ไดเซ็นโซจิ ในกรุงโตเกียว ซึ่งในปีนี้มีพ่อแม่ผู้ปกครองพาเด็กน้อยอายุต่ำกว่าหนึ่งขวบราว 100 คนเข้าร่วม  

Posted by mod at 19:36Comments(0)

2015年09月11日

SUMO

ทริปท่องเที่ยวญี่ปุ่นที่น่าสนใจอย่างหนึ่งในเดือนกันยายนก็คือ การแข่งขันซูโม่ ปะจำฤดูใบไม้ร่วง
ถือเป็นทัวร์นาเมนท์สุดท้ายของปี จึงเป็นการแข่งขันที่ยาวนานมาก เพราะเริ่มจัดตั้งแต่เช้าสิ้นสุด 6 โมงเย็น 13-27 กันยายน ที่โตเกียว




ซูโม่ถือว่าเป็นกีฬาประจำชาติของญี่ปุ่น โดยจะมีนักซูโม่ตัวใหญ่ๆ แข่งกันกันอย่างดุดัน ซึ่งกฎกติกาของซูโม่นั้นเข้าใจง่ายแม้จะดูเป็นครั้งแรก คือใครถูกดันออกนอกวงกลมก่อนถือว่าแพ้ และที่สถานที่จัดซูโม่ จะมีข้าวกล่องเบนโต ไก่ปิ้งรวมทั้งเหล้าสาเกจำหน่าย ดงนั้นจึงสามารถทานอาหารพร้อมทั้งชมการแข่งขันซูโม่แบบสบายๆ ซึ่งนับว่าเป็นความสุขอย่างหนึ่งในการชมซูโม่



สถานที่จัดแข่งขันซูโม่จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ทั้งในโตเกียว โอซาก้า นาโงย่า คิวชู โดยจะจัดแข่งขันทุกเดือนที่เป็นเลขคี่ หนึ่งครั้งใช้เวลา 15 วัน ถ้าใครมีโอกาสไปเที่ยวญี่ปุ่นในเดือนที่มีการแข่งซูโม่ ขอแนะนำให้ลองไปดูกัน
ตั๋ว : มีสองแบบ แบบสำหรับ 4 คน และ แบบสำหรับ 1คน
ราคา : แบบสำหรับ 4 คน ราคา 36,800 เยน แบบสำหรับ 1 คน ราคา 3,600 เยน
วิธีการซื้อตั๋ว : ซื้อผ่านอินเตอร์เน็ตหรือบริษัททัวร์ต่างๆ


ทีนี้เรามาดูประวัติของกีฬาซูโม่กัน




ซูโม่ คือรูปแบบหนึ่งของมวยปล้ำ เป็นกีฬาที่นักมวยปล้ำ (ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า Rikishi) ต้องพยายามบังคับให้คู่ต่อสู้ออกจากวงแหวน (ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า Dohyo) หรือบังคับให้ส่วนอื่นของคู่แข่งยกเว้นฝ่าเท้าสัมผัสกับพื้น โดยวงแหวน (Dohyo) จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4.55 เมตร (14.9 ฟุต)และมีพื้นที่ขนาด 16.26 ตารางเมตร (175.0 ตารางฟุต) โดยเป็นสนามแข่งที่ทำจากดินเหนียวผสมทรายและฟางข้าว สนามแข่งจะถูกสร้างขึ้นสำหรับการแข่งขันแต่ละรายการ ตรงกลางวงแหวนจะมีเส้นสีขาว 2 เส้นไว้สำหรับนักกีฬาเตรียมพร้อมปล้ำ โดยนักซูโม่จะอยู่หลังเส้นของตนเอง ย่อเข่าและกำหมัดทั้ง 2 ข้างไว้ที่พื้น (ท่าเตรียม) และอาจมีการติดตั้งหลังคาที่คล้ายกับศาลเจ้าชินโตซึ่งจะแขวนไว้เหนือเวที




โดยคู่ปล้ำจะมีรูปร่างอ้วนใหญ่ และจะต้องมีน้ำหนักตัวจะต้องไม่ต่ำกว่า 75 กก.ซูโม่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศเดียวที่มีการฝึกฝนเป็นอาชีพ ประเพณีที่ยึดถือในกีฬาซูโม่นั้นมีความเก่าแก่มาก และยึดถือเป็นแบบปฏิบัติต่อเนื่องกันมาถึงปัจจุบัน เช่น การโปรยเกลืออันเป็นสัญลักษณ์แสดงความบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นประเพณีที่ซูโม่ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในศาสนาชินโต (Shinto) ชีวิตของนักซูโม่ต้องเคร่งครัดในกฎระเบียบที่วางไว้ โดยสมาคมซูโม่ นักกีฬาส่วนใหญ่จะต้องอาศัยอยู่ในค่ายฝึกซูโม่ “Sumo Training Stables” (Heya) ซึ่งชีวิตประจำวันของพวกเขาเหล่านี้จะถูกกำหนดโดยประเพณีที่เข้มงวดตามประวัติศาสตร์และขนบธรรมเนียมของซูโม่ อย่างเช่นอาหารตลอดจนเครื่องแต่งกาย




เริ่มแรก ซูโม่เป็นพิธีบูชาเทพพระเจ้าของชาวญี่ปุ่นเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ดี คนญี่ปุ่นเชื่อว่าการปล้ำซูโม่เกิดขึ้นระหว่างทวยเทพ ซูโม่ได้รับการอุปถัมภ์จากราชสำนักในศตวรรษที่ 8 และยังคงเป็นที่นิยมถึงปัจจุบัน ในยุคโชกุนและซามูไร ซูโม่ถูกนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางทหาร ซึ่งนอกจากจะเป็นเครื่องวัดความแข็งแรงในการต่อสู้แล้ว ซูโม่ยังเกี่ยวโยงกับลัทธิชินโตดังจะเห็นได้จากพิธีกรรมการฟ้อนรำที่กล่าวอ้างว่าเป็นการสู้กันระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า (Kami)

ซูโม่ มีการจัดแข่งขันถึง 6 ฤดูกาลต่อ 1 ปี ซึ่งมี 3 ครั้ง ที่โตเกียวและอีก 3 ครั้ง ที่โอซากา และ นาโงย่า และคิวชิว โดยจะจัดในเดือนมกราคม มีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคม กันยายน และพฤศจิกายน โดยแต่ละครั้งใช้เวลานาน 15 วัน ผลของการแข่งขันแต่ละฤดูกาลจะเป็นการวัดอันดับ ระดับซูโม จะแบ่งออกเป็น 4 ระดับ แบ่งเป็นฝ่ายตะวันออกกับฝ่ายตะวันตก ฝ่ายละเท่า ๆ กัน ซูโม่ ที่เข้าสู่ระดับอาชีพอย่างแท้จริง คือ “บันซูเกะ” เรียกว่าระดับ “จูเรียว” ซึ่งได้รับการรับรองและรับเงินเดือนจากสมาคมซูโม มี 26 คน จากตะวันออก 13 คน ตะวันตก 13 คน ซูโม่ทุกคนต้องผ่านการฝึกฝนการพิสูจน์ ตัวเองหลายครั้งหลายหน และต้องผ่านการคัดเลือกจากสำนักซูโม่ มีการฝึกซ้อมที่หนักแต่สิ่งที่ได้รับ คือ วิถีของชายชาตรีหรือเรียกว่า “ผู้พิชิตอุปสรรค” และผู้ที่ก้าวไปถึงตำแหน่ง “โยโกสุนะ” ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดของซูโม่ถือว่าเป็นผู้พิชิตอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ที่สุด จะเป็นผู้ที่มีความทนงที่ยิ่งใหญ่และงดงามไม่มีใครเข้ามาอยู่จุดนี้ได้ง่าย ๆ ต้องฝ่าฟันอุปสรรคมากมายหลายขั้นตอน



กติกาซูโม่
การแข่งขันซูโม่ จะไม่มีการแบ่งรุ่นตามน้ำหนัก นักซูโม่ที่ตัวเล็กสุดอาจต้องต่อสู้กับนักซูโม่ที่ตัวใหญ่สุดอย่างช่วยไม่ได้ เป้าหมายของนักซูโม่คือการล้มคู่ต่อสู้ให้ลงไปนอนบนพื้นสังเวียน หรือให้ก้าวเท้าออกไปนอกวงให้ได้ ผู้ชนะการแข่งขันซูโม่ คือ 1. นักมวยปล้ำคนแรกที่บังคับให้ฝ่ายตรงข้ามก้าวออกมาจากวงแหวน หรือ 2. นักมวยปล้ำคนแรกที่บังคับให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายฝ่ายตรงข้ามนอกเหนือจากฝ่าเท้าสัมผัสพื้นดิน และในบางโอกาสผู้ตัดสินอาจให้ชัยชนะแก่นักมวยปล้ำที่สัมผัสพื้นก่อนก็ต่อเมื่อนักซูโม่ทั้งสองสัมผัสพื้นดินแทบจะพร้อมกัน แต่นักซูโม่ที่แตะพื้นทีหลังไม่มีโอกาสชนะหรือหมดทางสู้ เป็นเพราะฝ่ายตรงข้ามเหนือกว่า นักมวยปล้ำที่แพ้ในกรณีนี้เรียกว่า ศพ (Shini-Tai)

นอกจากนี้ยังมีกฎที่ไม่ค่อยได้ใช้แต่สามารถนำมาหาผู้ชนะ อย่างนักมวยปล้ำที่ใช้เทคนิคผิดกติกา (Kinjite) จะถูกปรับแพ้ เช่น การรัดเข็มขัด (Kawashi) ไม่เรียบร้อย หรือ ไม่สามารถมาปรากฏตัวในการแข่งขัน (ซึ่งรวมถึงการบาดเจ็บด้วย) ก็จะถูกปรับแพ้ (Fusenpai) หลังจากประกาศชื่อผู้ชนะ ผู้ตัดสินด้านล่าง (Gyoji) จะระบุถึงเทคนิคที่ใช้เอาชนะ(Kimarite) ในการแข่งขัน ซึ่งจะมีการประกาศให้ผู้ชมรับทราบต่อจากนั้น การแข่งขันยกนึงจะใช้เวลาประมาณ 6วินาที สำหรับข้อห้ามในการแข่งขันนั้นคือ ห้ามโจมตีต่ำกว่าเอวลงไป ช่วงเอวของนักซูโม่จะพันไว้ด้วยผ้าขนมีลักษณะคล้ายเข็มขัดที่เรียกว่า“มาวาชิ” ซึ่งเป็นผ้าแถบแข็งพับทบซ้ำ เพื่อรัดกระชับหน้าท้อง และประคองกระดูกสันหลังส่วนล่างของนักกีฬาที่มีรูปร่างใหญ่และน้ำหนักมาก เพื่อที่จะได้เคลื่อนไหวได้โดยไม่เกิดอันตราย


ตำแหน่งในกีฬาซูโม่ก็เริ่มจาก “โยโคะสึนะ”–>”โอเซกิ”–>”มาคุโนะอุจิ”–>”เซกิวาเกะ”–>”โคมุซูบิ”–>”มาเอะกะชิระ (นักซูโม่ธรรมดา)” นักซูโม่ที่ทำ”คาจิโกชิ (ชนะได้8/15ยก)”จะได้เลื่อนขึ้นโดยอัตโนมัติ แต่ถ้าเกิด”มาเคะโกชิ (แพ้8/15ยก)” ก็จะถูกลดระดับลงเช่นกัน

ถ้ามีโอกาส อยากจะไปดูสักครั้งหนึ่ง

  

Posted by mod at 20:20Comments(0)

2015年09月10日

田んぼアート




ข้าวนั้นขึ้นชื่อว่าเป็นอาหารหลักของคนไทยเราและยังเป็นอาหารของคนทั้งโลกอีกด้วย แล้วหนึ่งในนั้นประเทศญี่ปุ่นเองก็มีเกษตรกรปลูกข้าวอยู่มากมาย แต่สำหรับชาวนาของหมู่บ้าน Inakadate ใน Aomori ประเทศญี่ปุ่นเขาไม่ธรรมดาเลยค่ะ

กว่า 2,000 ปี ที่ชาวนาในเขต อินากะดาเตะ (Inakadate) หมู่บ้านเล็กๆ ของจังหวัดอาโอโมริ (Aomori) ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น ชาวเมืองของ Aomori กว่า 8 พันคนยึดอาชีพเป็นเกษตรกร เดิมทีชาวนาที่นี่ก็ทำนาปลูกข้าวเหมือนกับชาวนาที่ประเทศไทย จนกระทั่งเมื่อปี 1993 ชาวบ้านในหมู่บ้านอินากะดาเตะ ได้เกิดไอเดียพัฒนามาปลูกข้าวแบบใหม่โดยนำต้นข้าวหลากหลายสายพันธุ์ที่มีลักษณะสีใบที่แตกต่างกันมาปลูกเป็นแถวตามรูปร่าง อย่างเช่นสีเขียวได้จาก Tsugaru Roman ข้าวท้องถิ่นของอินะกะดาเตะ Yukiasobi และ Beniasobi จะให้สีขาวและสีแดงและสายพันธุ์โบราณอื่นๆ ใช้สำหรับสีม่วงและสีเหลือง ซึ่งสีที่แตกต่างกันเหล่านี้



มาผสมผสานลงบนทุ่งนา จนเกิดเป็นรูปร่างอย่างที่ศิลปินร่างไว้ ราวกับเป็นผืนผ้าในการวาดภาพศิลปะ เป็นภาพวาดขนาดใหญ่ จนกลายเป็น “ศิลปะบนทุ่งนา” (ทัมโบะอาร์ท) ในภาษาญี่ปุ่นจะเรียกทุ่งนาว่า “田んぼ” มาผสมกับคำว่า “Art” จึงเกิดเป็น “田んぼアート” ขึ้นมา




ทุ่งกว้างนี้อาจเปรียบเหมือนเป็นมิวเซียม Open Air ขนาดใหญ่เลยก็ว่าได้ ซึ่งต่อมาเทคนิคฯ นี้ ได้แพร่หลายไปในหลายภูมิภาคของประเทศเพื่อเรียกนักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมชม สำหรับภาพศิลปะที่เกษตรกรญี่ปุ่นวาดลงบนพื้นนาจะเป็นภาพที่บ่งบอกความเป็นวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่น เช่นการแต่งกายชุดต่างๆ ภาพวาดการ์ตูนญี่ปุ่น และอีกหลายๆ ภาพ






เนื่องจากเป็นภาพงานที่ต้องมองจากมุมสูง จึงแนะนำให้ไปที่จุดชมวิวของศาลาว่าการของอินะกะดาเตะ จะเห็นความสวยงามได้ชัดเจนสุดยอด โดยงานศิลปะบนนาข้าวนี้จัดขึ้นทุกปี ตั้งแต่มิถุนายน – กันยายน โดยมีจุดชมวิวมากถึง100 จุด ให้ได้ยลโฉมศิลปะบนทุ่งนากันอย่างจุใจ ภาพศิลปะบนนาข้าวนี้จะถูกเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ทุกปี ในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยว มาชมนาข้าวแห่งนี้กว่า 200,000 คน ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนแห่งนี้เป็นจำนวนมาก

นอกจากการสร้างศิลปะรวงข้าวขนาดใหญ่แล้ว ชาวบ้านยังคิดค้น rice-code ขึ้นเพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำหรับการขายข้าวและสินค้าการเกษตรของชุมชน โดยเพียงแค่นักท่องเที่ยวติดตั้งแอพพลิเคชั่น Nature-barcode ที่หมู่บ้านเป็นผู้พัฒนาขึ้นลงในโทรศัพท์ แล้วใช้แอพพลิเคชั่นนี้สแกนรูปภาพบนนาข้าวเหมือนการสแกน QR Code เพียงเท่านี้พวกเขาก็สามารถสั่งซื้อข้าวจากหมู่บ้านอินาคาดาเตะได้ง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส แถมยังไม่ต้องเหนื่อยแบกข้าวกลับบ้านด้วย เพราะทางหมู่บ้านมีบริการส่งข้าวถึงที่ให้แก่ลูกค้าทุกคน




มาดูกระบวนการสร้างงานศิลปะบนผืนนากันดีกว่า

ขั้นตอนที่ 1 เคลียร์พื้นที่กันตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม คนในชุมชนกว่า 600 คน ช่วยกันทำ


ขั้นตอนที่ 2 ร่างภาพ


ขั้นตอนที่ 3 กำหนดสีสันของพืชพันธ์กับพื้นที่


ขั้นตอนที่ 4 ลงมือปลูกพืชตามเส้นร่าง


เริ่มเห็นเป็นรูปร่างแล้ว


หลังจากเก็บรายละเอียดทุกส่วนก็จะได้งานที่ศิลปะที่สวยงามบนผืนนาแล้ว


งานศิลปะบนนาข้าวที่หมู่บ้านอินะคะดะเตะ จังหวัดอะโอโมริของประเทศญี่ปุ่น จะจัดขึ้นทุกปี ซึ่งทุกๆปีก็จะมีไฮไลท์ของงานเป็นภาพวาดที่แตกต่างกันไป นอกจากนี้ยังมีทุ่งนาลวดลายอื่นๆอีกซึ่งทั้งสองจุดชมวิวนั้นจะมีรถรับ-ส่งฟรีให้ด้วย ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 200 เยน เด็ก 100 เยน วิธีการเดินทาง สำหรับ Tanbo Art (1) -รถไฟสาย JR ลงที่สถานี Kawabe Station ต่อรถแท็กซี่ 10 นาที -รถไฟสาย Konan Line ลงที่สถานี Inakadate Station ต่อรถแท็กซี่ 5 นาที




ส่วนศิลปะทุ่งนาชิ้นนี้เป็นทุ่งนาในจังหวัดไซตามะที่ถูกบันทึกกินเนสบุ๊คให้เป็นทุ่งนาศิลปะที่ใหญ่ที่สุดในโลก



Sep 9, 2015/0 Comments/in Japan, News /

เหล่าเกษตรกรในเมืองเกียวดะ ทางตอนเหนือของจังหวัดไซตามะ ได้เริ่มสร้างสรรค์พื้นที่ทุ่งนาศิลปะโดยการปลูกข้าวสีต่างๆ ลงไปจนออกมาเป็นลวดลายการ์ตูนมาตั้งแต่ 7 ปีก่อน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และสำหรับในปีนี้ ก็ได้มีการสร้างสรรค์ทุ่งนาขนาด 2.7 เฮกเตอร์ เป็นลายยานสำรวจอวกาศ “ฮายาบุสะ2” เด็กผู้ชาย และเด็กผู้หญิงที่กำลังลอยอยู่กลางอวกาศ โดยใช้ต้นข้าวทั้งหมด 7 ชนิด
เมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่จากทางกินเนสบุ๊คได้เข้ามาดูทุ่งนาดังกล่าว และทำการพิจารณากาตัดสินโดยการวัดความกว้างของทุ่งนาและการเจริญเติบโตของต้นข้าวโดยใช้เวลาตรวจสอบ 2 ชั่วโมง ก่อนที่จะตัดสินให้ทุ่งนาแห่งนี้เป็นทุ่งนาศิลปะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
สำหรับใครที่สนใจอยากมาชมทุ่งนาศิลปะแห่งนี้ สามารถเข้ามาชมได้จนถึงกลางเดือนตุลาคมนี้

Source : NHK
Photo Credit : NHK

เห็นแบบนี้แล้ว ประเทศไทยที่มีปัญหาเรื่องการประกันราคาข้าวนั้น ชาวนาไทยน่าจะลองใช้พื้นที่นาสร้างมูลค่าเพิ่มดูบ้างนะคะ อาจโด่งดังยิ่งกว่าญี่ปุ่นก็เป็นได้ เพราะคนไทยก็เก่งไม่แพ้ชาติอื่น

  

Posted by mod at 20:15Comments(0)

2015年09月09日

Free Work Shop - Study Japanese

วันนี้ขอเม้าส์เรื่องห้องน้ำของญี่ปุ่นต่ออีกนิดนะคะ วันที่ได้เข้าสัมมนากับคุณเกตุวดีนั้น ทำให้ฉันตาสว่างว่าที่ฝาชักโครกห้องน้ำปิดไว้นั้น ไม่ใช่เพราะว่ามันเสียแต่อย่างใด แต่เพราะชักโครกของญี่ปุ่นเขาจะอุ่นตัวฝาชักโครกให้อุ่นอยู่เสมอ การที่เขาปิดฝาชักโครกก็เพื่อประหยัดไฟนั่นเอง




ดังนั้น ถ้าเพื่อนๆ ไปญี่ปุ่นแล้วใช้ชักโครกเสร็จก็อย่าลืมช่วยปิดเพื่อประหยัดไฟให้เขาด้วยนะคะ จะบอกว่าอายมากๆ ตอนไปอยู่บ้านโฮสแฟมิลี่ เราก็ไม่รู้เนอะ เราใช้แล้วเราก็ไม่ได้ปิดฝาชักโครกให้ สงสัยค่าไฟบานแน่





ขอจบเรื่องห้องน้ำแต่เพียงเท่านี้

เรื่องต่อไปก็คือวันที่ไปสัมมนาที่โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท ได้มีโอกาสทดลองเรียนภาษาญี่ปุ่นฟรีกับอาจารย์ชาวญี่ปุ่น อาจารย์ญี่ปุ่นน่ารักมากเลยค่ะ พยายามเตรียมสไลด์และเอกสารมาแจก และให้พวกเราทำ Work Shop กันด้วย สนุกสนานมากเลยค่ะ อาจารย์ญี่ปุ่นเขาก็จะมีเอกลักษณ์ประจำตัวที่น่ารักนะคะ เขาจะพูดไปทำท่าประกอบไปด้วยเพื่อให้เราเข้าใจ วันนี้ก็เอาตัวอย่างการทำ Work Shop มาให้ดูกันด้วยนะคะ
เริ่มต้นจากคำทักทาย อาจารย์ก็จะแนะนำตัวว่าชื่อ Shibamori





ยกตัวอย่างสถานการณ์ที่จะเจอที่ญี่ปุ่นขึ้นมา



เช่นการสอบถามถึงสถานที่



สถานที่ wa doko desu ka. สถานที่นี้อยู่ที่ไหน?



แล้วก็จะมีช่วงที่ให้พวกเราทำ Work shop โดยการจับคู่กับคนที่นั่งข้างๆ ส่วนอาจารย์ก็เดินไปฟังแต่ละคู่



การถามเกี่ยวกับสิ่งของ เช่น โน้นคืออะไร Are wa nan desu ka.





สำหรับสไลด์นี้ จะสอนเกี่ยวกับการนับ ก็จะมี Hitotsu, Futatsu, Mittsu..... 1 อัน, 2 อัน, 3 อัน......



เมื่อจบช่วงเวลาสัมมนาแล้ว ก็ขอถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกับอาจารย์เสียหน่อย ขอบคุณ Shibamori Sensei มากค่ะ ที่มาให้ความรู้วันนี้

しばもり先生、どうもありがとうございました。


  

Posted by mod at 19:58Comments(0)

2015年09月08日

“Culture (ไม่) Shock! รู้ไว้ก่อนไปญี่ปุ่น” โดยคุณเกตุวดี

เมื่อวันเสาร์ที่ 5 ก.ย.ได้ไปร่วมงานสัมมนาที่โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิทค่ะ โชคดีได้เข้าห้องสัมมนา ชวนฟัง เจ๊เกตุ เม้าท์เจแปน! ตอน “Culture (ไม่) Shock! รู้ไว้ก่อนไปญี่ปุ่น” โดยคุณเกตุวดี จากเวป Marumaru ฉันติดตามอ่านคอลัมภ์ของคุณเกตุวดีบ่อยๆ คราวนี้ได้เจอตัวจริง ดีใจสุดๆ เลยคะ คุณเกตุวดีเป็นคนที่น่ารัก เล่าเรื่องสนุกมากเลยค่ะ ไม่น่าเชื่อว่างานประจำจะเป็นอาจารย์สอนมหาวิทยาลัย แถมเป็นคณะที่ไม่เกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่นด้วย






คุณเกตุวดีเล่าเรื่องญี่ปุ่นให้ฟังมากมาย ได้ทั้งความรู้และความสนุกค่ะ เธอเปิดเรื่องด้วยการเล่าที่มาที่ไปของเธอ ว่าเธอไปเรียนที่มหาวิทยาลัย Kobe เธออยู่ญี่ปุ่นทั้งหมด 8 ปี (น่าอิจฉาจัง อยากไปนานๆ บ้าง) เธอเล่าว่าตอนไปญี่ปุ่นแรกๆ นั้น ใน 1 อาทิตย์เธอต้องจำคันจิให้ได้ 50 ตัว นับว่าสุดยอดมาก มหาวิทยาลัยของญี่ปุ่นนั้นต่างจากมหาวิทยาลัยของไทยในเรื่องของกิจกรรมคือมหาลัยญี่ปุ่นจะมีชมรมต่างๆ เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างคณะ เธอจึงเลือกชมรมกีร์ต้า แล้วยังทำงานพิเศษต่างๆ มากมาย ที่น่าแปลกก็คือเธอไปเป็นมิโกะซังด้วย




แล้วเธอก็เข้าหัวข้อการพูดคุยเกี่ยวกับคนญี่ปุ่นด้วยการให้แขกที่อยู่ในห้องสัมมนาตอบคำถามความเป็นคนญี่ปุ่น 3 ข้อ
สนุกมากเลยค่ะ




เมื่อประมวลผลแล้วก็ได้บทสรุปความเป็นคนญี่ปุ่นมา 3 ข้อคือ
1.คนญี่ปุ่นจะตั้งอกตั้งใจทำงาน
2.คนญี่ปุ่นจะขี้เกรงใจ/ไม่พูดตรงๆ
3.คนญี่ปุ่นจะคิดถึงผู้อื่น



การตั้งอกตั้งใจของคนญี่ปุ่นในด้านการสนทนาเช่น คนญี่ปุ่นเมื่อฟังใครพูดอะไรมักจะมี Reaction อยู่เสมอ ด้วยการพยักหน้าและพูดว่า “ぞうなんだ” ดังนั้นเวลาเราคุยกับคนญี่ปุ่นก็ “อย่า”
1.นั่งฟังนิ่งๆ
2.พยักเชิดหน้า โดยเฉพาะคนไทยเวลาพยักหน้ารับมักจะพยักหน้าขึ้น ทำหน้าเชิดๆ ซึ่งคนญี่ปุ่นเขารู้สึกไม่ค่อยดี ถ้าจะพยักหน้าให้พยักหน้าแบบก้มหัวลงมานะคะ

การตั้งอกตั้งใจของคนญี่ปุ่นในด้านการบริการ คืออย่างการไปรับประทานอาหารตามร้านอาหารญี่ปุ่นนั้น เชฟจะตั้งใจทำและปรุงอาหารอย่างเต็มที่ เริ่มตั้งแต่การเลือกสรรวัตถุดิบอย่างดี ส่วนพนักงานบริการก็จะต้อนรับด้วยรอยยิ้มเสมอ และจะคอยเฝ้าสังเกตใส่ใจในลูกค้าตลอดเวลา เช่นเมื่อลูกค้าทานอาหารเซตหมดปั๊บ ก็จะเข้ามาถามว่าจะรับผลไม้เลยมัย หรือรับชากาแฟในเซตเลยมัย ช่างดูแลลูกค้าดีจริงๆ ดังนั้นก่อนกลับออกจากร้าน ควรขอบคุณทั้งเชฟและการบริการของพนักงานด้วยการกล่าวว่า ごちそうさまでした ทุกครั้งที่ไปทานอาหารที่ร้าน

ในกรณีของการเลี้ยงรับรองลูกค้านั้น ฝ่ายพนักงานที่ดูแลเรื่องการเลี้ยงอาหารจะตั้งใจอย่างมาก คือจะคิดหนักมากว่าจะพาไปกินอะไรดี ที่ไหนดี ถึงขั้นว่าต้องแอบโทรไปถามเลขา¬ของอีกฝ่ายเลยว่า นายชอบทานอาหารประเภทไหน แพ้อาหารอะไร ชอบสีอะไร ชอบบรรยากาศแบบไหนกันเลยทีเดียว แล้วก็ต้องเช็คให้ดีด้วยว่าร้านอาหารแห่งนั้นทุกคนที่ไปจะต้องเดินทางสะดวก เมื่อเราได้รับการเลี้ยงอาหารแล้ว แม้กระทั่งว่าเราได้กล่าวขอบคุณเจ้าภาพก่อนลาจากกันแล้ว มารยาททางธุรกิจนั้นเราต้องส่ง E-mail ไปขอบคุณเจ้าภาพอีกครั้งด้วย อย่าให้เลย 24 ชม.

กรณีได้รับการเชิญไปบ้านคนญี่ปุ่นนั้น ถือว่าได้รับเกียรติอย่างมากเลย เพราะถ้าไม่รักกันจริง เขาจะไม่ชวนไปบ้านเขา เพราะว่าก่อนเราไปบ้านเขานั้น เขาจะต้องความสะอาดบ้านยกใหญ่กันเลย เรียกว่าทุกซอกทุกมุม เตรียมล้างถ้วยจานชาม เก็บกวาด เปลี่ยนผ้าปูโต๊ะ สารพัดอย่าง เรียกว่าเป็นงานช้างเลย
เพราะฉะนั้น...... สิ่งที่เราควรทำคือ



1.การเอาของฝากติดไม้ติดมือไปด้วย แต่ย้ำว่าไม่ต้องแพงนะคะ เดี๋ยวเจ้าของบ้านจะลำบากใจ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นขนมคุ้กกี้ ขนมเค้ก ผลไม้เล็กๆ น้อยๆ ราคาสัก 1-3 พันเยนก็พอ
2.อย่าไปก่อนเวลานัด เช่นนัดกันบ่าย 3 โมง ให้ไปราวๆ บ่าย 3 โมง 3 นาที แต่ห้ามเกิน 5 นาทีเพราะเจ้าของบ้านจะเป็นกังวล
3.ถ้าไปบ้านคนญี่ปุ่นในช่วงหน้าหนาว ให้ถอดเสื้อโค้ทพาดไว้บนแขนก่อนกดกริ่งบ้าน เพราะว่าฝุ่นจากเสื้อเราอาจฟุ้งกระจายในบ้าน หรือถ้ามีเกสรดอกสนที่คนญี่ปุ่นมักจะแพ้ติดเสื้อผ้าเรา จะทำให้เขาจามได้

เวลาเข้าบ้าน เมื่อถอดรองเท้าแล้ว ให้ก้มลงนั่งหันหัวรองเท้าออกไปทางประตู ถ้าเราไม่ทำ เจ้าของบ้านจะต้องแอบออกมาหันรองเท้า (อันสกปรก) ของเราให้




ถ้าเข้าไปในห้องเสื่อ Tatami ให้ถอดรองเท้าใส่ในบ้านออก เพราะจะทำให้เสื่อเป็นรอยได้ แล้วนำของฝากออกมาจากถุง แล้วยื่นกล่องให้กับเจ้าของบ้าน

คนญี่ปุ่นจะเป็นคนขี้เกรงใจ / ไม่พูดตรงๆ ดังนั้น ถ้าเรารู้จักเพื่อนหรือคนญี่ปุ่น เราจะต้องเป็นคนที่ช่างสังเกต เช่นประโยคต่อไปนี้
“ห้องนี้ แอร์ร้อนเหมือนกันนะคะ/นะครับ” เขาจะหมายถึงว่า ร้อน ช่วยเปิดแอร์ให้หน่อย

กรณีไปนำเสนอสินค้าให้กับลูกค้าคนญี่ปุ่น ถ้าเขาพูดว่า “เดี๋ยวขอคิดดูก่อน” แปลว่า เขาไม่ซื้อ กรุณาอย่าตื้อ

คนญี่ปุ่นจะเป็นคนที่คิดถึงผู้อื่น คืออย่างตามร้านอาหาร ข้างๆ โต๊ะจะมีตระกร้าวางอยู่ นั่นไม่ใช่ตระกร้าทิ้งขยะนะคะ นั่นคือตระกร้าที่ทางร้านเตรียมไว้ให้เราใส่กระเป๋าสะพาย กระเป๋าเราจะได้ไม่สกปรกถ้าวางกับพื้น



หรืออย่างกรณีธนาคาร เมื่อเราเบิกเงิน ทางธนาคารจะเตรียมซองเอาไว้ให้ใส่เงิน เพราะญี่ปุ่นจะไม่ค่อยให้เงินสดกับมือ จะต้องใส่ซองให้เรียบร้อย


ขอบคุณคุณเกตุวดีมากนะคะ ที่มาบอกเล่าเรื่องราวดีๆ ถ้าเพื่อนๆ สนใจก็ลองติดตามคุณเกตุวดีได้ในเวป Marumaru นะคะ
  

Posted by mod at 20:06Comments(0)

2015年09月07日

Jeducation fair 2015 เตรียมตัวเรียนต่อญี่ปุ่น

เมื่อวันเสาร์ที่ 5 ก.ย.นี้ ได้มีโอกาสไปร่วมงานสัมมนา Jeducation Fair 2015 ที่โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท เพื่อไปหาข้อมูลการเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่น





มีบูธของโรงเรียนสอนภาษา, วิทยาลัยอาชีวะ และมหาวิทยาลัยของญี่ปุ่นมาร่วมงานมากมาย มีคนให้ความสนใจกันมากเลยค่ะ เห็นแต่ละบูธเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษากันอย่างตั้งใจ แน่นเกือบทุกบูธเลยค่ะ







นอกจากมีบูธต่างๆ แล้ว ก็ยังมีงานสัมมนาดีให้ได้ฟังกันด้วยค่ะ



งานสัมมนาแรกคือเตรียมตัวเข้าเรียนปริญญาตรี และข้อมูลการสอบ EJU โดย องค์การสนับสนุนนักศึกษาแห่งประเทศไทย (JASSO) ผู้ที่มาให้ความรู้อธิบายได้ดีมากค่ะ เข้าใจเรื่องการสอบ และการเตรียมตัวต่างๆ มากมาย เช่นอยากจะไปเรียนมหาวิทยาลัยควรเตรียมตัวตั้งแต่ ม.5 และควรหาข้อมูลมหาวิทยาลัยให้แน่นอนว่าเขาต้องการเอกสาร หรือผลการสอบอะไรบ้าง แล้วเพิ่งเข้าใจว่านอกจากสอบวัดระดับความรู้ภาษาญี่ปุ่นแล้ว ยังต้องมีการสอบ EJU อีกด้วย ซึ่งปีหนึ่งจะมีสอบ 2 ครั้ง เราสามารถเลือกครั้งที่มีผลคะแนนการสอบที่ดีที่สุดส่งให้มหาวิทยาลัยได้ และการเรียนเป็นภาษาญี่ปุ่นหรือเรียนแบบอินเตอร์นั้นค่าใช้จ่ายเท่ากัน ตอนแรกนึกว่าเรียนอินเตอร์ค่าเรียนจะแพงกว่าเหมือนประเทศไทยเสียอีก




เรียกได้ว่าไปงานนี้งานเดียวคุ้มมากๆ เลยค่ะ ขอขอบคุณการสัมมนาดีๆ แบบนี้นะคะ
  

Posted by mod at 19:53Comments(0)

2015年09月04日

Big Cleaning Day

มีอยู่วันหนึ่งฉันกำลังนั่งรถไปกับโฮสแฟมิลี่เพื่อไปซื้อของที่ซุปเปอร์มาเก็ต สายตาของฉันก็เหลือบไปเห็นกลุ่มคนญี่ปุ่นทั้งชายและหญิง แล้วก็มีเด็กๆ ด้วย ถือถุงขยะ บางคนก็กำลังนั่งถอนหญ้ารอบๆ ต้นไม้บนทางเท้า ฉันก็เลยถามโฮสแฟมิลี่ว่า พวกเขาทำอะไรกันอยู่ ก็ได้รับคำตอบว่าวันนี้เป็น "วันความสะอาดชุมชน" ถ้าเป็นคนไทยก็น่าจะเป็นวัน Big Cleaning Day ล่ะนะ





เขาจะมีการกำหนดวันเก็บขยะและทำความสะอาดชุมชน โดยแต่ละครอบครัวก็จะส่งตัวแทนมา แต่ฉันก็เห็นมีพวกเด็กๆ มาร่วมด้วยนะคะ เรียกได้ว่าคนในชุมชนจะร่วมมือร่วมใจกันในการเก็บกวาดทำความสะอาด ดูแลต้นไม้ กำจัดหญ้ารอบบริเวณรอบเขตชุมชนของบ้านตัวเอง พวกเขาจะทำงานกันอย่างรื่นเริง หัวเราะต่อกระซิกกัน พอพักเที่ยงพวกเขาก็จะปูผ้าพลาสติคลงกับพื้นดิน เป็นวงใหญ่ๆ แล้วร่วมกันรับประทานอาหารเที่ยง ส่วนใหญ่ก็จะพวกข้าวปั้นห่อสาหร่าย หรือพวกอาหารกล่อง แล้วก็มีเอากับข้าวมาแบ่งปันกันทานด้วย นี่คือมารยาทของคนญี่ปุ่น

  

Posted by mod at 20:14Comments(0)

2015年09月03日

和式 トイレ

วันก่อนไปเที่ยวต่างจังหวัด ได้แวะปั๊มน้ำมันทำธุระส่วนตัว แต่พอเห็นห้องน้ำแล้วเกือบทำธุระส่วนตัวไม่ไหว แต่มันก็สุดจะทานทนแล้ว ก็เลยจำใจต้องเข้าไปทำธุระ ทำให้หวนคิดไปถึงห้องน้ำของประเทศญี่ปุ่น ที่ไม่ว่าจะเข้าที่ไหนก็สะอาดเอี่ยม ไม่มีกลิ่นให้ทุกข์ทรมานใจ



เมื่อเร็วๆ นี้ ฉันไปประเทศญี่ปุ่นมา ห้องน้ำของญี่ปุ่นก็ยังคงสะอาดเหมือนเมื่อครั้ง 20 ปีก่อนที่ฉันเคยไปเรียนเลย เรียกว่ารักษาคุณภาพความสะอาดได้เยี่ยมยอด



ฉันจำได้แม่นยำเลยว่าส้วมสาธารณะในประเทศญี่ปุ่นจะเป็นส้วมแบบนั่งยองๆ แต่ที่ฉันแปลกใจคือจะหันหน้าไปทางไหนล่ะ ส้วมแบบนี้เป็นส้วมแบบญี่ปุ่นโบราณ ปกติคนไทยจะนั่งหันหน้าออกประตูและขับถ่ายลงไปในคอห่าน แต่ส้วมแบบ "Washiki Toilet" ของญี่ปุ่นจะนั่งยองขับถ่ายโดยหันก้นให้ประตู และขับถ่ายลงตัวส้วมก่อนที่จะกดชักโครก บางแห่งจะมีรูปป้ายบอกวิธีการนั่งที่ถูกต้องคือให้หันหน้าเข้าด้านที่เป็นกระบัง เวลาปัสสาวะจะได้ไม่กระเด็นออกไปด้านนอก เพราะมีกระ้บังกันไว้ ถ้าสังเกตเวลาเราปัสสาวะในส้วมแบบนั่งยองๆ ที่บ้านเรา เวลาปัสสาวะจะกระเด็นออกไปบนพื้น ทำให้ห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น แล้วที่สงสัยก็คือถ้าอุจจาระ มันก็ต้องกองอยู่บนตัวส้วมก่อน แล้วทำไมต้องเป็นอย่างนั้นด้วย เขาก็คำตอบที่ฟังดูมีเหตุผลดีนะคะ ว่าเราจะได้เห็นว่าสภาพสิ่งที่เราขับถ่ายออกมามีสีและลักษณะอย่างไร เพราะว่าอุจจาระสามารถบอกถึงสุขภาพของเราได้


และอีกอย่างที่ฉันสงสัยก็คือว่า ทำไมเขียนป้ายแปะประตูห้องน้ำทุกแห่งว่า “กรุณาทิ้งกระดาษชำระลงในชักโครก” ซึ่งต่างกับประเทศไทยที่เขียนว่า "กรุณาอย่าทิ้งกระดาษชำระลงชักโครก”

เมื่อเราสงสัยเราก็ต้องถามใช่มัยคะ ก็ได้รับคำตอบมาว่า เพราะไม่อยากให้เกิดกลิ่นเหม็นจากกระดาษชำระที่ทิ้งค้างไว้ในถัง และป้องกันการแพร่เชื้้อโรคด้วยค่ะ ก็จริงนะ ห้องน้ำเขาถึงสะอาดและไม่มีกลิ่นเหม็น แต่ฉันเองก็เผลอติดนิสัยคนไทย มักจะทิ้งกระดาษชำระลงในถังอยู่บ่อยๆ

เราจะสังเกตมัยค่ะว่า ในห้องน้ำที่ญี่ปุ่นเกือบทุกที่จะมีทิชชู่พร้อมเสมอ

แต่ห้องส้วมแต่ละที่เขาก็จะมีการชำระล้างหรือการกดชักโครกไม่เหมือนกัน บางทีพอลุกขึ้นมันก็จะชักโครกให้โดยอัตโนมัติ ทำเอาตกใจ เพราะยังไม่ได้ทำอะไรเลย แต่บางที่ก็ต้องเอามือไปผ่านตรงเซ็นเซอร์ก่อน แล้วมันก็จะจัดการชักโครกให้เรา


แต่ปัจจุบันนี้ เราคงเห็นห้องน้ำแบบญี่ปุ่นโบราณน้อยลงแล้ว ไม่แน่ในอนาคตอาจเป็นของแปลกที่หาดูได้ยากก็เป็นได้
  

Posted by mod at 20:38Comments(0)