› 日本が好き › 2015年09月22日
2015年09月22日
敬老の日
ถ้าให้พวกเราลองคิดดูว่าประเทศไหนที่มีประชากรอายุยืนยาวและมีสุขภาพดีที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของโลก หลายคนคงนึกถึงประเทศญี่ปุ่นใช่มัยค่ะ ฉันเองก็คิดเช่นนั้น
ญี่ปุ่นนับเป็นประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับประชากรผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก ส่วนหนึ่งก็เพราะรัฐบาลตระหนักถึงจำนวนประชากรเด็กที่ลดต่ำลงขัดกับผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ และอยากให้คนส่วนใหญ่ที่แยกออกมาอยู่อาศัยเป็นครอบครัวเดี่ยวมีโอกาสกลับไปเยี่ยมพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ที่ตนเคารพรักในวันสำคัญ จึงกำหนดให้มี วันเคารพผู้สูงอายุ เรียกว่า เคโร โนะ ฮิ(敬老の日) ซึ่งเดิมตรงกับวันที่ 15 กันยายน และเป็นวันหยุดราชการมาตั้งแต่ปี 1966 ก่อนที่ปัจจุบันจะกำหนดให้ตรงกับวันจันทร์ที่ 3 ของเดือนกันยายนของทุกปี
ภาษาญี่ปุ่นเรียกวันนี้ว่า
敬老の日(けいろうのひ)
keiroo no hi
แปล:วันเคารพผู้สูงอายุ
ซึ่งคันจินี้มาจากความหมายของสองคำนี้
尊敬(そんけい)ความเคารพ
老人(ろうじん)ผู้อาวุโส
นอกจากวันเคารพผู้สูงอายุแล้ว ประเทศญี่ปุ่นยังให้ความสำคัญกับการจัดงานฉลองเพื่อการมีอายุยืนยาวของผู้สูงอายุในช่วงวัยต่าง ๆ ด้วย ไม่เพียงแต่ฉลองการมีอายุยืนยาวให้กับผู้ที่มีอายุครบ 60 ปี และ 70 ปี ตามอย่างประเพณีของจีนเท่านั้น แต่ยังฉลองเมื่ออายุครบ 77 ปี 88 ปี และ 99 ปีด้วย เนื่องจากเลขซ้อนนี้เป็นที่นิยมในญี่ปุ่น เพราะเชื่อกันว่าจะมีโชคลาภเป็นสองเท่าในปีดังกล่าวด้วยดังนี้
☺ ครบรอบ 60 ปี เรียกว่า คันเรกิ (還暦 : 還 = กลับ 暦 = ปฏิทิน)
หมายถึง การเวียนมาบรรจบของปีนักษัตรที่เป็นปีเกิดของตนเองหลังจากอายุครบ 60 ปี
☺ ครบรอบ 70 ปี เรียกว่า โคกิ (古稀 : 古 = เก่า แก่ 稀 = หายาก)
มาจากการเปรียบเปรยว่า ในสมัยโบราณคนที่จะมีอายุยืนยาวถึง 70 ปีนั้นมีน้อย
☺ ครบรอบ 77 ปี เรียกว่า คิจุ (喜寿)
แปลตรงตัวว่า การฉลองอย่างปิติยินดี เนื่องจากตัวอักษร 喜 เมื่อเขียนหวัด ๆ จะคล้ายกับตัวอักษร 㐂 ที่เป็นเลข 7 (七) ซ้อนกัน
☺ ครบรอบ 80 ปี เรียกว่า ซันจุ (傘寿)
แปลตรงตัวว่า การฉลองร่ม เพราะอักษรคันจิของเลข 80 (八十) เขียนหวัด ๆ จะคล้ายกับตัวอักษร 仐 à 傘 หมายถึง ร่ม
☺ วันครบรอบ 99 ปี เรียกว่า ฮากุจุ (白寿)
แปลตรงตัวว่า งานฉลองสีขาว เพราะถ้าลบเส้นนอนด้านบนสุดจากตัวอักษร 百 ที่หมายถึง 100 ออกก็จะกลายเป็นตัวอักษร 白 ที่หมายถึง สีขาว
ในงานฉลองเพื่อการมีอายุยืนยาว ลูกหลานจะให้ผู้สูงอายุใส่เสื้อที่เรียกว่า ชันชังโกะ (ちゃんちゃんこ)
และหมวกที่เข้ากับเสื้อสีต่าง ๆ
ได้แก่ 60 ปี สีแดง 70 และ 77 ปี สีม่วง 80 ปี สีเหลือง (ทอง) และ 99 ปี สีขาว
พร้อมพัดสีขาว เพื่อไปงานเลี้ยงฉลองวันเกิดของตนตามช่วงวัย
70 และ 77 ปี สีม่วง
80 ปี สีเหลือง (ทอง)
ฉันได้ลองไปดูข้อมูลของวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ทำการวิจัยและเก็บข้อมูลของคนสูงอายุมาค่ะ
อัตราร้อยละของประชากรสูงอายุ (60 ปี+)
ต่อประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น
ปี ค.ศ. 1970 อัตราร้อยละของประชากรผู้สูงอายุ (60+ปี) ต่อประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่นมีร้อยละผู้สูงอายุเพศหญิง 11.5 และผู้สูงอายุเพศชายร้อยละ 9.8 นับเป็นอัตราร้อยละผู้สูงอายุที่สูงที่สุดในทวีปเอเชียในปี ค.ศ. 1970 หลังจากปี ค.ศ. 1995 อัตราร้อยละของประชากรสูงอายุ (60+ปี) ของประเทศญี่ปุ่นจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและค่อยๆ เพิ่มช้าลงหลังปี ค.ศ. 2025 ในปี ค.ศ. 2050 อัตราร้อยละของประชากรสูงอายุเพศหญิงของญี่ปุ่นมีเพิ่มเป็นร้อยละ 38.5 และผู้สูงอายุชายเพิ่มเป็นร้อยละ 32.9 นับว่าสูงเป็นอันดับที่สองในทวีปเอเชียรองจากฮ่องกง อัตราร้อยละของผู้สูงอายุเพศหญิงจะมีสูงกว่าผู้สูงอายุเพศชายเสมอ
ที่นี้เราลองมาดูข้อมูลของประเทศไทยกันบ้างนะคะ
อัตราร้อยละของผู้สูงอายุ (60 ปี+)
ต่อประชากรทั้งหมดของประเทศไทย
ปี ค.ศ.1970-2050
อัตราร้อยละของประชากรสูงอายุของประเทศไทยทั้งในอดีตและอนาคตมีลักษณะใกล้เคียงกับประเทศจีน ศรีลังกา คือในอดีตปี ค.ศ. 1970 อัตราร้อยละของผู้สูงอายุเพศหญิงมีร้อยละ 5.2 และเพศชายมีร้อยละ 4.4 ในปี ค.ศ. 1995 อัตราร้อยละของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเล็กน้อยคือเพศหญิงเพิ่มเป็นร้อยละ 8.4 เพศชายเพิ่มเป็นร้อยละ 6.8 หลังจากปี ค.ศ. 1995 เป็นต้นไป คือช่วงปี ค.ศ. 1995-2025 และช่วงปี ค.ศ. 2025-2050 จะเพิ่มขึ้นประมาณหนึ่งเท่าตัวทั้งสองช่วง โดยในปี ค.ศ. 2025 อัตราร้อยละของผู้สูงอายุเพศหญิงจะเพิ่มเป็นร้อยละ 18.0 และเพศชายเป็นร้อยละ 14.6 และในปี ค.ศ. 2050 ผู้สูงอายุเพศหญิงจะเพิ่มเป็นร้อยละ 26.9 และผู้สูงอายุเพศชายจะเพิ่มเป็นร้อยละ 22.7
ดูไปแล้วประเทศไทยก็มีอัตราผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วไม่แพ้กันเลยนะคะ แต่ประเทศไทยจะมีระบบการจัดการรองรับดูแลผู้สูงอายุได้ดีหรือเปล่านั้นก็ต้องค่อยๆ ดูกันไปนะคะ จากแหล่งข่าวเมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม ปีนี้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้เดินทางเข้าร่วมการประชุมระดับนโยบายด้านคนพิการ และผู้สูงอายุ ณ ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 12-16 พฤษภาคม 2558 ได้พบปะแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์กับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายของกระทรวง เช่น การดูแลผู้สูงอายุและคนพิการ การจัดสวัสดิการสังคม ได้เห็นการจัดระบบงานต่าง ๆ ตลอดจนเห็นความมุ่งมั่น ความตั้งใจทำงานของคนญี่ปุ่น และประเด็นการขยายอายุการเกษียณจาก 60 ปี เป็น 65 ปี ซึ่งตนเองเห็นด้วย เนื่องจากเป็นการเพิ่มคุณค่าและโอกาสให้ผู้สูงอายุ ที่เป็นคลังความรู้และมีกำลังสามารถปฏิบัติงานเพื่อสังคมได้ จึงอยากนำนโยบายนี้มาปรับใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานด้านผู้สูงอายุและคนพิการ ของกระทรวงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
ญี่ปุ่นนับเป็นประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับประชากรผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก ส่วนหนึ่งก็เพราะรัฐบาลตระหนักถึงจำนวนประชากรเด็กที่ลดต่ำลงขัดกับผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ และอยากให้คนส่วนใหญ่ที่แยกออกมาอยู่อาศัยเป็นครอบครัวเดี่ยวมีโอกาสกลับไปเยี่ยมพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ที่ตนเคารพรักในวันสำคัญ จึงกำหนดให้มี วันเคารพผู้สูงอายุ เรียกว่า เคโร โนะ ฮิ(敬老の日) ซึ่งเดิมตรงกับวันที่ 15 กันยายน และเป็นวันหยุดราชการมาตั้งแต่ปี 1966 ก่อนที่ปัจจุบันจะกำหนดให้ตรงกับวันจันทร์ที่ 3 ของเดือนกันยายนของทุกปี
ภาษาญี่ปุ่นเรียกวันนี้ว่า
敬老の日(けいろうのひ)
keiroo no hi
แปล:วันเคารพผู้สูงอายุ
ซึ่งคันจินี้มาจากความหมายของสองคำนี้
尊敬(そんけい)ความเคารพ
老人(ろうじん)ผู้อาวุโส
นอกจากวันเคารพผู้สูงอายุแล้ว ประเทศญี่ปุ่นยังให้ความสำคัญกับการจัดงานฉลองเพื่อการมีอายุยืนยาวของผู้สูงอายุในช่วงวัยต่าง ๆ ด้วย ไม่เพียงแต่ฉลองการมีอายุยืนยาวให้กับผู้ที่มีอายุครบ 60 ปี และ 70 ปี ตามอย่างประเพณีของจีนเท่านั้น แต่ยังฉลองเมื่ออายุครบ 77 ปี 88 ปี และ 99 ปีด้วย เนื่องจากเลขซ้อนนี้เป็นที่นิยมในญี่ปุ่น เพราะเชื่อกันว่าจะมีโชคลาภเป็นสองเท่าในปีดังกล่าวด้วยดังนี้
☺ ครบรอบ 60 ปี เรียกว่า คันเรกิ (還暦 : 還 = กลับ 暦 = ปฏิทิน)
หมายถึง การเวียนมาบรรจบของปีนักษัตรที่เป็นปีเกิดของตนเองหลังจากอายุครบ 60 ปี
☺ ครบรอบ 70 ปี เรียกว่า โคกิ (古稀 : 古 = เก่า แก่ 稀 = หายาก)
มาจากการเปรียบเปรยว่า ในสมัยโบราณคนที่จะมีอายุยืนยาวถึง 70 ปีนั้นมีน้อย
☺ ครบรอบ 77 ปี เรียกว่า คิจุ (喜寿)
แปลตรงตัวว่า การฉลองอย่างปิติยินดี เนื่องจากตัวอักษร 喜 เมื่อเขียนหวัด ๆ จะคล้ายกับตัวอักษร 㐂 ที่เป็นเลข 7 (七) ซ้อนกัน
☺ ครบรอบ 80 ปี เรียกว่า ซันจุ (傘寿)
แปลตรงตัวว่า การฉลองร่ม เพราะอักษรคันจิของเลข 80 (八十) เขียนหวัด ๆ จะคล้ายกับตัวอักษร 仐 à 傘 หมายถึง ร่ม
☺ วันครบรอบ 99 ปี เรียกว่า ฮากุจุ (白寿)
แปลตรงตัวว่า งานฉลองสีขาว เพราะถ้าลบเส้นนอนด้านบนสุดจากตัวอักษร 百 ที่หมายถึง 100 ออกก็จะกลายเป็นตัวอักษร 白 ที่หมายถึง สีขาว
ในงานฉลองเพื่อการมีอายุยืนยาว ลูกหลานจะให้ผู้สูงอายุใส่เสื้อที่เรียกว่า ชันชังโกะ (ちゃんちゃんこ)
และหมวกที่เข้ากับเสื้อสีต่าง ๆ
ได้แก่ 60 ปี สีแดง 70 และ 77 ปี สีม่วง 80 ปี สีเหลือง (ทอง) และ 99 ปี สีขาว
พร้อมพัดสีขาว เพื่อไปงานเลี้ยงฉลองวันเกิดของตนตามช่วงวัย
70 และ 77 ปี สีม่วง
80 ปี สีเหลือง (ทอง)
ฉันได้ลองไปดูข้อมูลของวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ทำการวิจัยและเก็บข้อมูลของคนสูงอายุมาค่ะ
อัตราร้อยละของประชากรสูงอายุ (60 ปี+)
ต่อประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น
ปี ค.ศ. 1970 อัตราร้อยละของประชากรผู้สูงอายุ (60+ปี) ต่อประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่นมีร้อยละผู้สูงอายุเพศหญิง 11.5 และผู้สูงอายุเพศชายร้อยละ 9.8 นับเป็นอัตราร้อยละผู้สูงอายุที่สูงที่สุดในทวีปเอเชียในปี ค.ศ. 1970 หลังจากปี ค.ศ. 1995 อัตราร้อยละของประชากรสูงอายุ (60+ปี) ของประเทศญี่ปุ่นจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและค่อยๆ เพิ่มช้าลงหลังปี ค.ศ. 2025 ในปี ค.ศ. 2050 อัตราร้อยละของประชากรสูงอายุเพศหญิงของญี่ปุ่นมีเพิ่มเป็นร้อยละ 38.5 และผู้สูงอายุชายเพิ่มเป็นร้อยละ 32.9 นับว่าสูงเป็นอันดับที่สองในทวีปเอเชียรองจากฮ่องกง อัตราร้อยละของผู้สูงอายุเพศหญิงจะมีสูงกว่าผู้สูงอายุเพศชายเสมอ
ที่นี้เราลองมาดูข้อมูลของประเทศไทยกันบ้างนะคะ
อัตราร้อยละของผู้สูงอายุ (60 ปี+)
ต่อประชากรทั้งหมดของประเทศไทย
ปี ค.ศ.1970-2050
อัตราร้อยละของประชากรสูงอายุของประเทศไทยทั้งในอดีตและอนาคตมีลักษณะใกล้เคียงกับประเทศจีน ศรีลังกา คือในอดีตปี ค.ศ. 1970 อัตราร้อยละของผู้สูงอายุเพศหญิงมีร้อยละ 5.2 และเพศชายมีร้อยละ 4.4 ในปี ค.ศ. 1995 อัตราร้อยละของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเล็กน้อยคือเพศหญิงเพิ่มเป็นร้อยละ 8.4 เพศชายเพิ่มเป็นร้อยละ 6.8 หลังจากปี ค.ศ. 1995 เป็นต้นไป คือช่วงปี ค.ศ. 1995-2025 และช่วงปี ค.ศ. 2025-2050 จะเพิ่มขึ้นประมาณหนึ่งเท่าตัวทั้งสองช่วง โดยในปี ค.ศ. 2025 อัตราร้อยละของผู้สูงอายุเพศหญิงจะเพิ่มเป็นร้อยละ 18.0 และเพศชายเป็นร้อยละ 14.6 และในปี ค.ศ. 2050 ผู้สูงอายุเพศหญิงจะเพิ่มเป็นร้อยละ 26.9 และผู้สูงอายุเพศชายจะเพิ่มเป็นร้อยละ 22.7
ดูไปแล้วประเทศไทยก็มีอัตราผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วไม่แพ้กันเลยนะคะ แต่ประเทศไทยจะมีระบบการจัดการรองรับดูแลผู้สูงอายุได้ดีหรือเปล่านั้นก็ต้องค่อยๆ ดูกันไปนะคะ จากแหล่งข่าวเมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม ปีนี้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้เดินทางเข้าร่วมการประชุมระดับนโยบายด้านคนพิการ และผู้สูงอายุ ณ ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 12-16 พฤษภาคม 2558 ได้พบปะแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์กับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายของกระทรวง เช่น การดูแลผู้สูงอายุและคนพิการ การจัดสวัสดิการสังคม ได้เห็นการจัดระบบงานต่าง ๆ ตลอดจนเห็นความมุ่งมั่น ความตั้งใจทำงานของคนญี่ปุ่น และประเด็นการขยายอายุการเกษียณจาก 60 ปี เป็น 65 ปี ซึ่งตนเองเห็นด้วย เนื่องจากเป็นการเพิ่มคุณค่าและโอกาสให้ผู้สูงอายุ ที่เป็นคลังความรู้และมีกำลังสามารถปฏิบัติงานเพื่อสังคมได้ จึงอยากนำนโยบายนี้มาปรับใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานด้านผู้สูงอายุและคนพิการ ของกระทรวงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
Posted by mod at
20:08
│Comments(0)