インバウンドでタイ人を集客! 事例多数で万全の用意 [PR]
ナムジャイブログ
ブログポータルサイト「ナムジャイ.CC」 › 日本が好き › 2015年09月18日

【PR】

本広告は、一定期間更新の無いブログにのみ表示されます。
ブログ更新が行われると本広告は非表示となります。
  

Posted by namjai at

2015年09月18日

秋 ฤดูแห่งการเปลี่ยนสีของใบไม้

ปีๆ หนึ่งเร็วมากเลยนะคะ เพิ่งเข้าช่วงหน้าร้อนไปไม่นาน อีกไม่กี่วันก็จะเริ่มเข้าฤดูใบไม้ร่วงของญี่ปุ่นแล้ว ราวๆ วันที่ 23 กันยายนของทุกปี



พอย่างเข้าเดือนก.ย. แม้อากาศยังคงร้อนอยู่ แต่ในความรู้สึกของคนญี่ปุ่น ฤดูร้อนได้สิ้นสุดลงแล้ว สำหรับคนญี่ปุ่นแล้วฤดูใบไม้ร่วงคือฤดูแห่งการเปลี่ยนสีของใบไม้ (紅葉 โคโย) ฤดูใบไม้ร่วงในญีปุ่นอากาศจะเปลี่ยนแปลงได้ง่ายมาก จนมีคำกล่าวว่า

"男心と秋の空" (おとこごころとあきのそら otoko gokoro to aki no sora) : 秋の天候は変わりやすいものだが、男の心も同じように変わりやすく移り気だということ。

"ใจชายดั่งท้องฟ้าในฤดูใบไม้ร่วง"

เป็นคำเปรียบเทียบว่า ใจของผู้ชายเปลี่ยนแปลงได้ง่ายราวกับท้องฟ้าในฤดูใบไม้ร่วง

โดยเฉพาะมักจะหมายถึงจิตใจรักหรือความเจ้าชู้ของผู้ชาย



นอกจากนั้นก็ยังมีสำนวนว่า

秋荒れ半作 (あきあれはんさく aki are hansaku)

ฤดูใบไม้ร่วงแปรปรวน ผลผลิตครึ่งเดียว

เป็นคำสอนว่าฤดูใบไม้ร่วงซึ่งเป็นฤดูเก็บเกี่ยว มักจะมีดินฟ้าอากาศแปรปรวน และอาจทำให้ผลผลิตของไร่นามีเพียงครึ่งเดียว





ญี่ปุ่นนั้นฤดูใบไม้ร่วงจะอยู่ในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน : ช่วงนี้อากาศกำลังเย็นสบาย ใบไม้ค่อยๆเปลี่ยนสีจากเขียวเป็นแดง ส้ม และเหลือง จนได้ชื่อว่าฤดูใบไม้แดง ผู้คนก็จะออกไปชมดอกไม้เปลี่ยนสีตามสวนและตามสถานที่ต่างๆ กันอย่างคึกคักจัดได้ว่าเป็นฤดูที่มีสีสันที่สุดตามป่าเขาค่ะ เหมาะที่จะไปเที่ยวตามชนบทเพื่อชมความงามตามธรรมชาติ และสัมผัสอากาศที่กำลังเย็นสบาย ช่วงนี้มีเทศกาลดอกเบญจมาสเป็นงานเทศกาลเด่นค่ะ เพราะด้วยเป็นฤดูที่คาบเกี่ยวระหว่างฤดูฝนตก ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ราวเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม กับฤดูหนาว เดือนพฤศจิกายน (ฤดูปลายต้นฝนหนาว) ทำให้อากาศเย็นกำลังดี แต่มีฝนตกบ้างเป็นบางเวลาค่ะ

สำหรับญี่ปุ่นนั้นเขาจะมีวันแบ่งฤดูกาลด้วย โดยวันแบ่งฤดูกาลช่วงฤดูใบไม้ร่วงนั้นคือวันที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากันในหนึ่งปีมีสองวัน เรียกว่า “วันชุนบุน” (ราววันที่ 21 มีนาคม) กับ “วันชูบุน” (ราววันที่ 23 กันยายน) เป็นวันหยุดราชการและวันก่อนหน้าหลังสามวันรวมทั้งหมดเป็น 7 วัน เรียกว่า “โอะฮิงัน” (สัปดาห์วิษุวัติ) คนญี่ปุ่นจะพากันไปไหว้สุสานบรรพบุรุษ โดยนิยมนำดอกไม้ธูปเทียน พร้อมอาหารคาวหวานไปที่หลุมฝังศพของบรรพบุรุษเพื่อเซ่นไหว้




ซึ่งประเพณีนี้ไม่มีทั้งในประเทศจีนและประเทศอินเดีย ในสุภาษิตญี่ปุ่นกล่าวไว้ว่า “ความร้อนกับความหนาวจะสิ้นสุดลงเมื่อถึงช่วงโอะฮิงัน” หมายความว่า ช่วงนี้เป็นจุดแบ่งเขตเวลาที่บอกให้รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลอย่างชัดเจน


คำว่า “โอะฮิงัน” (お彼岸) เป็นคำทางพุทธศาสนา มาจากคำว่า “ฮิงัน” (彼岸)หรือ “ชิงัน” (此岸) คำว่า “ฮิงัน” หมายถึง สวรรค์ชั้นสุขาวดี หรือสถานที่บรรลุมรรคผลหลุดพ้นจากความหมกมุ่นลุ่มหลง ส่วนคำว่า “ชิงัน” หมายถึง โลกปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความโลภโกรธหลง คนญี่ปุ่นเข้าใจว่าดินแดนแห่งสุขาวดีนี้อยู่ทางทิศตะวันตกอันไกลโพ้นของประเทศญี่ปุ่น (น่าจะหมายถึงประเทศอินเดีย) การรำลึกถึงวิญญาณบรรพบุรุษที่เชื่อว่าสถิตอยู่ ณ สวรรค์ชั้นสุขาวดี ในช่วงที่พระอาทิตย์กำลังจะตกดิน เป็นจุดเริ่มต้นของเทศกาลฮิงันอันเป็นธรรมเนียมเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 9


สิ่งที่คนญี่ปุ่นนิยมนำไปไหว้ในงานเทศกาลช่วงโอะฮิงันมากที่สุดเรียกว่า “ขนมโบตะโมจิ” หรือ “ขนมโอะฮางิ” เป็นขนมที่นำข้าวสวยมาบดหยาบๆ จนเหมือนข้าวเหนียวแล้วคลุกถั่วแดงบด แป้งถั่วเหลือง หรืองาดำบด ขนมทั้งสองอย่างนั้นเป็นขนมอย่างเดียวกัน แต่ขนมที่กินช่วงโอะฮิงันในฤดูใบไม้ผลิ เรียกว่า “ขนมโบตะโมจิ” ส่วนขนมที่กินในฤดูใบไม้ร่วง เรียกว่า “ขนมโอะฮางิ” เนื่องจากดอกไม้ที่บานในฤดูใบไม้ผลิคือ ดอกโบตั๋น ส่วนดอกไม้ที่บานในฤดูใบไม้ร่วงคือ ดอกฮางิ นอกจากนี้ ขนมโบตะโมจิยังเป็นตัวแทนของอาหารพิเศษที่มีรสหวานซึ่งนานๆ จะได้มีโอกาสลิ้มรสสักครั้ง จึงเกิดสำนวนเรียกโชคลาภที่บังเอิญได้มาโดยไม่คาดฝันว่า “โบตะโมจิที่หล่นลงมาจากหิ้ง”


ขนมโบตะโมจิ


ขนมโอะฮางิ

คำว่า โบตะโมจิถูกใช้ในสำนวนญี่ปุ่นหลายสำนวนเช่น 棚から牡丹餅 (tanakara botamochi) ขนมโบตะโมจิหล่นจากบนหิ้ง เป็นคำเปรียบเปรยว่าการที่มีโชคโดยที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน โดยไม่ต้องออกแรงใดๆ เฉกเช่นเดียวกับการที่นอนเล่นอยู่ใกล้ๆหิ้ง แล้วอยู่ดีๆก็มีขนมโมจิหล่นลงมาให้กิน



คำพ้อง :棚牡丹(たなぼた)/勿怪の幸い/ 開いた口へ牡丹餅
สุภาษิตไทย :ส้มหล่น

หรือ
戌亥の夕立と叔母御の牡丹餅は来ぬためし無し (inui no yuudachi to obago no botamochi wa konu tameshi nashi ) แปลตรงๆว่า ฝนยามเย็นในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ กับขนมโมจิไส้ถั่วแดงของป้าและน้า เป็นสิ่งที่ไม่เคยไม่มา ความหมายคือ ฝนที่เริ่มตกทางตะวันตกเฉียงเหนือ จะกลายเป็นฝนที่ตกหนัก และมุ่งหน้ามาทางนี้เสมอ เช่นเดียวกับ ป้าและน้าที่จะรักเอ็นดูหลาน และมีของมาฝากอยู่เสมอ เป็นสำนวนเปรียบเทียบกับเรื่องที่ย่อมต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เป็นต้น



  

Posted by mod at 19:52Comments(0)