› 日本が好き › 2015年09月15日
2015年09月15日
月見
เมื่อพูดถึงพระจันทร์แล้ว ก็อดไม่ได้ที่จะคิดถึงเทศกาลไหว้พระจันทร์ด้วย ฉันเป็นคนหนึ่งที่ชอบกินขนมไหว้พระจันทร์มาก แถมช่วงนี้ก็วางขายกันเยอะแยะเลย มีไส้ต่างๆ มากมาย เลือกกินไม่ถูกเลย (ว่าจะลดความอ้วนเสียหน่อย สงสัยต้องหลังจากนี้เสียแล้ว)
เทศกาลไหว้พระจันทร์เป็นเทศกาลอันดั้งเดิมของประเทศจีน นอกจากการทานขนมไห้วพระจันทร์และส้มโอแล้ว
พระจันทร์ดวงกลม ผู้คนกลมเกลียว ในขณะเดียวกันยังเป็นช่วงเวลาที่คนในครอบครัวมาชุมนุมกันอีกด้วย
ประวัติความเป็นมาของเทศกาลวันไหว้พระจันทร์
"จงชิว " คำนี้ ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในหนังสือโบราณของจีน "โจวหลี่" (หนังสือบันทึกระบบการเมืองราชวงศ์โจว
ระบบมารยาทสังคม และหน้าที่ของข้าราชการ) แต่ไม่ได้อธิบายไว้ว่าเป็นวันไหนของเดือนสิงหาคม
มีนักวิชาการประเพณีพื้นบ้านเชื่อว่าแท้จริงแล้วจงชิวเป็นฤดูการเก็บเกี่ยวสมัยโบราณ
เพราะเดือนสิงหาคมตามทางปฎิทินจันทรคติจีนนั้นเป็นฤดูแห่งการเก็บเกี่ยวในฤดูใบไม้ร่วง
ผู้คนจะกราบไหว้เทพเจ้าที่กัน
มาในสมัยราชวงศ์ถัง เทศกาลไหว้พระจันทร์ถึงได้เปลี่ยนมาเป็นเทศกาลประจำกัน
ตามตำนานเป็นเรื่องราวการละเมอไปยังดวงจันทร์ของหยางกุ้ยเฟย
มาถึงราชวงค์ซ่งเทศกาลไหว้พระจันทร์เริ่มต้นนิยมกว้างขวางขึ้นในหมู่ประชาชน ถึงราชวงศ์หมิง ราชวงศ์ชิง
เทศกาลไหว้พระจันทร์ได้เป็นเช่นเดียวกับวันขึ้นปีใหม่
กลายมาเป็นเทศกาลประเพณีที่สำคัญของประเทศจีนไปแล้ว
เทศกาลไหว้พระจันทร์ของแต่ละประเทศในเอเซีย
เขตเอเซียเป็นเขตที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีน รวมไปถึงญี่ปุ่น เวียดนาม เกาหลีเป็นต้น
ต่างก็มีเทศกาลประเพณีการไหว้พระจันทร์ที่ใกล้เคียงกัน
สำหรับเทศกาลไหว้พระจันทร์ของญี่ปุ่น หรือเทศกาลชมพระจันทร์นั้นมีคำเรียกว่า ทสึกิมิ ( 月見 ออกเสียง สึกิมิ) จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ตามปฏิทินเดิมหรือปฏิทินตามจันทรคติ ทำให้ทุกปีนั้นวันและเดือนของการไหว้พระจันทร์จะเปลี่ยนแปลงไป เทศกาลชมพระจันทร์ของญี่ปุ่นนั้นได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน เกิดขึ้นเมื่อมีขุนนางเป็นผู้ที่นำเข้ามาในช่วงสมัยนาระ-สมัยเฮอัน ในวันขึ้น 15 ค่ำ ไม่ได้มีแค่ขุนนางในวังเท่านั้นที่ชื่นชมพระจันทร์ประชาชนทั่วไปก็มีความเชื่อว่าพลังงานที่มาจากดวงจันทร์จะมีสิ่งลี้ลับที่จะสามารถให้พรที่ขอนั้นเป็นจริงขึ้นมาได้ (บางครั้งคนญี่ปุ่นจะจินตนาการเห็นเงาบนพื้นผิวพระจันทร์นั้นเป็นรูปร่างคล้ายกระต่ายที่กำลังตำขนมโมจิ) โดยส่วนใหญ่ชาวนามักจะไหว้เพื่อแสดงการขอบคุณหลังจากที่ได้เก็บเกี่ยวพืชผลที่อุดมสมบูรณ์ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง โดยส่วนใหญ่ชาวนามักจะขอพรจากดวงจันทร์ให้เก็บเกี่ยวได้ผลผลิตที่ดี พืชผลอุดมสมบูรณ์ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและเพื่อขอพรให้ได้พืชผลที่ดีในปีต่อๆ ไป
โดยในวันนั้นผู้คนจะเฉลิมฉลองด้วยการเตรียมอาหารประจำฤดูใบไม้ร่วงในการบวงสรวงพระจันทร์ คือขนมไหว้พระจันทร์ ซึกิมิ ดังโงะ (月見 団子 tsukimi dango) ขนมที่ทำจากแป้งข้าวเจ้าและน้ำตาล นำไปนึ่งพร้อมปั้นเป็นลูกกลมๆ ส่วนมากก็จะปั้นโมจิทรงกลมทั้งหมด 12 ลูกตาม 12เดือนในหนึ่งปี หรือ 15ลูกตามคำเรียก “คืนที่สิบห้า” หรือบางทีก็เรียกว่า กลางฤดูใบไม้ร่วง (中秋の名月 ออกเสียง จูชู โนะ เมเกะสึ), ซัมโบ (三方, Sanboo/Sanpoo) ถาดไม้ขนาดเล็กที่มีขาตั้ง, ซุซุกิยะฮางิ (すすきや萩, Susuki ya hagi) หญ้าจำพวกหญ้าแขมเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก หรือดอกไม้ประจำฤดูใบไม้ร่วงอื่นๆ ก็ได้
หมายเหตุ
月見 หรือ 中秋の名月 นั้นมีมาตั้งแต่สมัยเฮอัน (อยู่ในช่วง ค.ศ. 794 – ค.ศ. 1185) เป็นเทศกาลชมจันทร์อย่างเแท้จริง แต่ต่อมาถึงสมัยเอโดะ (ค.ศ. 1603 – ค.ศ. 1868) ก็ปรับเปลี่ยนมาเป็นการไหว้ขอบคุณหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตพืชพันธุ์ที่อุดมสมบูรณ์ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงแล้วก็ทำต่อๆกันมาจนเป็นเรื่องปกติในปัจจุบัน
นอกจากนั้นแล้ว ค่ำคืนนี้คนญี่ปุ่นจะเรียกว่า “คืนที่สิบห้า” ออกเสียง จูโกะยะ(十五夜) ซึ่งมีหมายความว่าเป็นคืนที่สิบห้าหลังจากขึ้นปีใหม่ คืนที่สิบห้าจะอยู่ในช่วงเดือนเจ็ดถึงเดือนสิบ (ตามปฏิทินเดิม)
ทุกวันนี้ ขนม “ทสึคิมิดังโกะ” ได้รับการพัฒนาให้มีความหลากหลายมากขึ้น โดยมีการใส่ไส้ถั่วแดงกวน บ้างก็เป็นถั่วแดงกวนผสมผิวส้มยุสึเพื่อเพิ่มความหอม อีกทั้งแต่ละภูมิภาคยังมีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น แถบคันโตจะปั้นเป็นก้อนกลมเหมือนพระจันทร์ แต่แถบคันไซจะปั้นให้คล้ายเผือกหัวเล็กแล้วหุ้มครึ่งหนึ่งด้วยถั่วแดงกวน ประหนึ่งว่าเป็นพระจันทร์ที่มีเมฆลอยมาบดบัง ซึ่งถือเป็นความงามอีกแบบตามความคิดชาวญี่ปุ่น (สาเหตุที่ปั้นเป็นรูปเผือกหัวเล็ก เพราะพืชชนิดนี้เปรียบเหมือนตัวแทนของการเก็บเกี่ยวประจำฤดูใบไม้ร่วงในสมัยก่อน) ส่วนที่จังหวัดชิซุโอกะจะปั้นให้แบนนิดๆแล้วทำรอยบุ๋มตรงกลางคล้ายสะดือ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “โมจิสะดือ” (へそもち) ในขณะที่จังหวัดโอกินาวะมี “ฟุจะงิโมจิ” (吹上餅) ซึ่งใช้แป้งข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนแบนนำไปนึ่ง โรยหน้าด้วยถั่วแดงต้ม
ทสึคิมิดังโกะแบบคันไซ
ฟุจะคิโมจิ ของโอกินาวะ
ทสึคิมิดังโกะแบบคันโต
จากนั้นจึงนำมาจัดตกแต่งด้วยผักและผลไม้ประจำฤดูใบไม้ร่วง เช่น เกาลัด, ฝักถั่วเหลืองสด, เผือก, ลูกพลับ พร้อมเครื่องเซ่นต่างๆ แล้วนำไปวางไว้ใกล้หน้าต่างหรือที่ระเบียงเพื่ออธิษฐานขอพรจากพระจันทร์
「栗」(Kuri)
「枝豆」(Edamame)
「里芋」(Satoimo)
「柿」(Kaki)
แล้วจัดดอกไม้ฤดูใบไม้ร่วงที่ขึ้นในธรรมชาติมาใส่แจกัน ตัวอย่าง พืชฤดูใบไม้ร่วง 7 ชนิดที่สามารถนำมาบรวงสรวงได้
ด้านบนจะเป็นขนมไหว้พระจันทร์แบบตามธรรมเนียมดังเดิม ทีนี้เรามาดูดีไซด์เก๋ๆ ของขนมไหว้พระจันทร์สมัยนี้กันว่าน่าลิ้มลองรสชาติขนาดไหน
เทศกาลไหว้พระจันทร์เป็นเทศกาลอันดั้งเดิมของประเทศจีน นอกจากการทานขนมไห้วพระจันทร์และส้มโอแล้ว
พระจันทร์ดวงกลม ผู้คนกลมเกลียว ในขณะเดียวกันยังเป็นช่วงเวลาที่คนในครอบครัวมาชุมนุมกันอีกด้วย
ประวัติความเป็นมาของเทศกาลวันไหว้พระจันทร์
"จงชิว " คำนี้ ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในหนังสือโบราณของจีน "โจวหลี่" (หนังสือบันทึกระบบการเมืองราชวงศ์โจว
ระบบมารยาทสังคม และหน้าที่ของข้าราชการ) แต่ไม่ได้อธิบายไว้ว่าเป็นวันไหนของเดือนสิงหาคม
มีนักวิชาการประเพณีพื้นบ้านเชื่อว่าแท้จริงแล้วจงชิวเป็นฤดูการเก็บเกี่ยวสมัยโบราณ
เพราะเดือนสิงหาคมตามทางปฎิทินจันทรคติจีนนั้นเป็นฤดูแห่งการเก็บเกี่ยวในฤดูใบไม้ร่วง
ผู้คนจะกราบไหว้เทพเจ้าที่กัน
มาในสมัยราชวงศ์ถัง เทศกาลไหว้พระจันทร์ถึงได้เปลี่ยนมาเป็นเทศกาลประจำกัน
ตามตำนานเป็นเรื่องราวการละเมอไปยังดวงจันทร์ของหยางกุ้ยเฟย
มาถึงราชวงค์ซ่งเทศกาลไหว้พระจันทร์เริ่มต้นนิยมกว้างขวางขึ้นในหมู่ประชาชน ถึงราชวงศ์หมิง ราชวงศ์ชิง
เทศกาลไหว้พระจันทร์ได้เป็นเช่นเดียวกับวันขึ้นปีใหม่
กลายมาเป็นเทศกาลประเพณีที่สำคัญของประเทศจีนไปแล้ว
เทศกาลไหว้พระจันทร์ของแต่ละประเทศในเอเซีย
เขตเอเซียเป็นเขตที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีน รวมไปถึงญี่ปุ่น เวียดนาม เกาหลีเป็นต้น
ต่างก็มีเทศกาลประเพณีการไหว้พระจันทร์ที่ใกล้เคียงกัน
สำหรับเทศกาลไหว้พระจันทร์ของญี่ปุ่น หรือเทศกาลชมพระจันทร์นั้นมีคำเรียกว่า ทสึกิมิ ( 月見 ออกเสียง สึกิมิ) จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ตามปฏิทินเดิมหรือปฏิทินตามจันทรคติ ทำให้ทุกปีนั้นวันและเดือนของการไหว้พระจันทร์จะเปลี่ยนแปลงไป เทศกาลชมพระจันทร์ของญี่ปุ่นนั้นได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน เกิดขึ้นเมื่อมีขุนนางเป็นผู้ที่นำเข้ามาในช่วงสมัยนาระ-สมัยเฮอัน ในวันขึ้น 15 ค่ำ ไม่ได้มีแค่ขุนนางในวังเท่านั้นที่ชื่นชมพระจันทร์ประชาชนทั่วไปก็มีความเชื่อว่าพลังงานที่มาจากดวงจันทร์จะมีสิ่งลี้ลับที่จะสามารถให้พรที่ขอนั้นเป็นจริงขึ้นมาได้ (บางครั้งคนญี่ปุ่นจะจินตนาการเห็นเงาบนพื้นผิวพระจันทร์นั้นเป็นรูปร่างคล้ายกระต่ายที่กำลังตำขนมโมจิ) โดยส่วนใหญ่ชาวนามักจะไหว้เพื่อแสดงการขอบคุณหลังจากที่ได้เก็บเกี่ยวพืชผลที่อุดมสมบูรณ์ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง โดยส่วนใหญ่ชาวนามักจะขอพรจากดวงจันทร์ให้เก็บเกี่ยวได้ผลผลิตที่ดี พืชผลอุดมสมบูรณ์ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและเพื่อขอพรให้ได้พืชผลที่ดีในปีต่อๆ ไป
โดยในวันนั้นผู้คนจะเฉลิมฉลองด้วยการเตรียมอาหารประจำฤดูใบไม้ร่วงในการบวงสรวงพระจันทร์ คือขนมไหว้พระจันทร์ ซึกิมิ ดังโงะ (月見 団子 tsukimi dango) ขนมที่ทำจากแป้งข้าวเจ้าและน้ำตาล นำไปนึ่งพร้อมปั้นเป็นลูกกลมๆ ส่วนมากก็จะปั้นโมจิทรงกลมทั้งหมด 12 ลูกตาม 12เดือนในหนึ่งปี หรือ 15ลูกตามคำเรียก “คืนที่สิบห้า” หรือบางทีก็เรียกว่า กลางฤดูใบไม้ร่วง (中秋の名月 ออกเสียง จูชู โนะ เมเกะสึ), ซัมโบ (三方, Sanboo/Sanpoo) ถาดไม้ขนาดเล็กที่มีขาตั้ง, ซุซุกิยะฮางิ (すすきや萩, Susuki ya hagi) หญ้าจำพวกหญ้าแขมเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก หรือดอกไม้ประจำฤดูใบไม้ร่วงอื่นๆ ก็ได้
หมายเหตุ
月見 หรือ 中秋の名月 นั้นมีมาตั้งแต่สมัยเฮอัน (อยู่ในช่วง ค.ศ. 794 – ค.ศ. 1185) เป็นเทศกาลชมจันทร์อย่างเแท้จริง แต่ต่อมาถึงสมัยเอโดะ (ค.ศ. 1603 – ค.ศ. 1868) ก็ปรับเปลี่ยนมาเป็นการไหว้ขอบคุณหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตพืชพันธุ์ที่อุดมสมบูรณ์ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงแล้วก็ทำต่อๆกันมาจนเป็นเรื่องปกติในปัจจุบัน
นอกจากนั้นแล้ว ค่ำคืนนี้คนญี่ปุ่นจะเรียกว่า “คืนที่สิบห้า” ออกเสียง จูโกะยะ(十五夜) ซึ่งมีหมายความว่าเป็นคืนที่สิบห้าหลังจากขึ้นปีใหม่ คืนที่สิบห้าจะอยู่ในช่วงเดือนเจ็ดถึงเดือนสิบ (ตามปฏิทินเดิม)
ทุกวันนี้ ขนม “ทสึคิมิดังโกะ” ได้รับการพัฒนาให้มีความหลากหลายมากขึ้น โดยมีการใส่ไส้ถั่วแดงกวน บ้างก็เป็นถั่วแดงกวนผสมผิวส้มยุสึเพื่อเพิ่มความหอม อีกทั้งแต่ละภูมิภาคยังมีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น แถบคันโตจะปั้นเป็นก้อนกลมเหมือนพระจันทร์ แต่แถบคันไซจะปั้นให้คล้ายเผือกหัวเล็กแล้วหุ้มครึ่งหนึ่งด้วยถั่วแดงกวน ประหนึ่งว่าเป็นพระจันทร์ที่มีเมฆลอยมาบดบัง ซึ่งถือเป็นความงามอีกแบบตามความคิดชาวญี่ปุ่น (สาเหตุที่ปั้นเป็นรูปเผือกหัวเล็ก เพราะพืชชนิดนี้เปรียบเหมือนตัวแทนของการเก็บเกี่ยวประจำฤดูใบไม้ร่วงในสมัยก่อน) ส่วนที่จังหวัดชิซุโอกะจะปั้นให้แบนนิดๆแล้วทำรอยบุ๋มตรงกลางคล้ายสะดือ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “โมจิสะดือ” (へそもち) ในขณะที่จังหวัดโอกินาวะมี “ฟุจะงิโมจิ” (吹上餅) ซึ่งใช้แป้งข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนแบนนำไปนึ่ง โรยหน้าด้วยถั่วแดงต้ม
ทสึคิมิดังโกะแบบคันไซ
ฟุจะคิโมจิ ของโอกินาวะ
ทสึคิมิดังโกะแบบคันโต
จากนั้นจึงนำมาจัดตกแต่งด้วยผักและผลไม้ประจำฤดูใบไม้ร่วง เช่น เกาลัด, ฝักถั่วเหลืองสด, เผือก, ลูกพลับ พร้อมเครื่องเซ่นต่างๆ แล้วนำไปวางไว้ใกล้หน้าต่างหรือที่ระเบียงเพื่ออธิษฐานขอพรจากพระจันทร์
「栗」(Kuri)
「枝豆」(Edamame)
「里芋」(Satoimo)
「柿」(Kaki)
แล้วจัดดอกไม้ฤดูใบไม้ร่วงที่ขึ้นในธรรมชาติมาใส่แจกัน ตัวอย่าง พืชฤดูใบไม้ร่วง 7 ชนิดที่สามารถนำมาบรวงสรวงได้
ด้านบนจะเป็นขนมไหว้พระจันทร์แบบตามธรรมเนียมดังเดิม ทีนี้เรามาดูดีไซด์เก๋ๆ ของขนมไหว้พระจันทร์สมัยนี้กันว่าน่าลิ้มลองรสชาติขนาดไหน
Posted by mod at
20:31
│Comments(0)
2015年09月15日
กระต่ายจันทร์
เผอิญเมื่อวันก่อนตอนดึกมองขึ้นไปบนท้องฟ้า เห็นพระจันทร์พอดีเลย นานแล้วที่ไม่ได้เห็นพระจันทร์แบบนี้ ไม่ใช่ว่าพระจันทร์ไม่มีนะ แต่เพราะชีวิตคนสมัยนี้มันเร่งรีบจนลืมที่จะมองธรรมชาติยามค่ำคืน เมื่อมองพระจันทร์เราก็จะเห็นเหมือนมีกระต่ายอยู่บนนั้น ตอนเด็กๆ ฉันคิดว่ากระต่ายบนพระจันทร์มีแค่ที่ประเทศไทยเท่านั้น แต่ที่ไหนได้ล่ะ กระต่ายบนพระจันทร์นั้นเป็นความเชื่อของคนหลากหลายเชื้อชาติเลยทีเดียว
กระต่ายจันทร์ เป็นความเชื่อรวมกันของหลายชนชาติ ที่เชื่อว่าบนดวงจันทร์มีกระต่ายอาศัยอยู่ โดยพิจารณาจากจันทรสมุทร (หลุมดำบนดวงจันทร์) แล้วเกิดเป็นพาเรียโดเลีย (จินตภาพ) รูปกระต่ายขึ้นมา
ความเชื่อนี้มีในหลายชนชาติทั่วโลก เช่น แอฟริกา, ทิเบต, จีน, ญี่ปุ่น รวมถึงอเมริกากลางและอเมริกาใต้
ในปกรณัมของฮินดู พระจันทร์ เทพเจ้าแห่งดวงจันทร์ เป็นผู้ถือกระต่ายไว้ในพระหัตถ์ เนื่องจากคำว่ากระต่ายในภาษาสันสกฤต คือ "ศศะ" ดังนั้นจึงเรียกดวงจันทร์ว่า "ศศิน" (ศศินฺ) แปลว่า "ซึ่งมีกระต่าย
ในปกรณัมของจีน ภาพที่ปรากฏบนดวงจันทร์ คือ กระต่ายขาวกำลังตำข้าวในครก กระต่ายนี้เชื่อกันว่าเป็นผู้รับใช้เซียนหรือผู้วิเศษ โดยมีหน้าที่ปรุงยาอายุวัฒนะ หรือเป็นสัตว์เลี้ยงของฉางเอ๋อ เทพธิดาแห่งดวงจันทร์
ในชาดก ซึ่งเป็นนิทานของพุทธศาสนา มีเรื่องหนึ่งเล่าว่า มีชายคนหนึ่งหลงทางในป่า ขณะที่หมดสติไปเพราะความหิวและยากลำบาก มีสัตว์ป่า 3 ชนิดมาพบเข้า ได้แก่ หมี, หมาจิ้งจอก และกระต่าย สัตว์ทั้ง 3 ตกลงกันที่จะช่วยชายผู้นี้ หมีนำปลามาให้ ขณะที่หมาจิ้งจอกนำองุ่นมาให้ แต่กระต่ายไม่อาจหาอะไรมาได้ เพราะกินเป็นแต่หญ้า จึงเสียสละตัวเองกระโดดเข้ากองไฟเพื่อเป็นอาหารให้แก่ชายผู้นี้ พระอินทร์จึงวาดภาพกระต่ายจารึกไว้บนดวงจันทร์เพื่อระลึกถึง อย่างไรก็ตามชาดกเรื่องนี้ได้มีรายละเอียดต่างไปเล็กน้อย ๆ เช่น ชายผู้นี้บ้างก็ว่าเป็นพระพุทธเจ้า หรือเป็นพราหมณ์บ้าง หรือกระทั่งว่า กระต่ายตัวนี้คือพระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้าก็มี
แล้วเราสังเกตกันหรือไม่ว่า ตอนเด็กๆ เราจะได้ฟังนิทานเกี่ยวกับกระต่ายบนดวงจันทร์มากมาย นิทานของแต่ละประเทศก็จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป
อย่างนิทานของคนญี่ปุ่นก็จะเริ่มต้นเรื่องที่ชายชราที่อาศัยอยู่บนดวงจันทร์ ได้มองลงมายังพื้นโลกและพบเห็นสิ่งมีชีวิตสามเกลอ หนึ่งนั้นคือลิง หนึ่งนั้นคือหมาป่าและอีกหนึ่งคือกระต่าย และเพื่อจะทำการทดสอบจิตใจที่เปี่ยมเมตตา ว่าสัตว์ตัวไหนใจดีที่สุด ชายชราผู้นั้นจึงจำแลงตัวกลายมาเป็นขอทานและลงมายังพื้นโลกและได้กล่าวขอให้สัตว์ทั้งสามนี้หาอาหารให้แก่ตน
" โปรดช่วยผมด้วย ผมหิว หิวเหลือเกิน" เขาพูดกับสัตว์ทั้งสาม สัตว์ทั้งสามรู้สึกสงสาร ต่างแยกกันไปหาอาหารมาให้ขอทาน
ลิงได้นำเอาผลไม้มาให้ ส่วนหมาป่านำเอาปลามาให้แก่ขอทานเฒ่าผู้นี้ แต่กระต่ายไม่สามารถหาสิ่งใดมาได้เลย
กระต่ายร้องคร่ำครวญ แต่แล้วก็ได้ความคิดขึ้นมา
" ได้โปรดเถอะ คุณลิง ช่วยกรุณานำไม้ฟืนมาให้ฉันหน่อย
ส่วนคุณสุนัขจิ้งจอก ขอได้โปรดนำไม้ฟืนกองนั้นก่อไฟกองใหญ่ให้ฉันด้วย"
สัตว์ทั้งสองทำตามคำขอของกระต่าย
เมื่อไฟลุกไหม้สว่างดีแล้ว กระต่ายก็พูดกับขอทานว่า
" ผมไม่มีสิ่งใดจะให้คุณ ดังนั้นผมจะโยนตัวเองลงไปในกองไฟนี้
จากนั้นเมื่อผมถูกไฟเผาจนสุกดีแล้ว ขอให้คุณกินเนื้อของผมแทนก็แล้วกัน"
กระต่ายเตรียมพร้อมที่จะกระโจนลงไปในกองไฟและย่างตัวเอง
แต่ทันใดนั้นขอทานก็เปลี่ยนร่างเป็นชายชราบนดวงจันทร์ตามเดิม
" เธอเป็นสัตว์ที่ใจดีมาก เจ้ากระต่าย
แต่เธอไม่ควรทำสิ่งใดที่เป็นการทำร้ายตัวของเธอเอง
เนื่องจากเธอเป็นสัตว์ที่ใจดีที่สุดในบรรดาสัตว์ทั้งหมด
ฉันจึงขอนำเธอกลับขึ้นไปอยู่กับฉัน"
เมื่อขอทานเฒ่าได้ยินดังนั้น จึงกลับร่างกลายเป็นชายชราจากดวงจันทร์และเชื้อเชิญให้กระต่ายขึ้นไปอยู่บนดวงจันทร์
และนี่คือที่มาของความเชื่อของชาวญี่ปุ่นแต่ดั้งเดิมที่ว่า คืนใดที่ดวงจันทร์สาดแสงสวยงามกระจ่างตา
พวกเขาจะเห็นกระต่ายกำลังตำข้าวอยู่บนดวงจันทร์
คืนนี้ลองแหงนหน้ามองฟ้า เพื่อนๆ อาจจะเห็นกระต่ายน้อยตัวนั้นกำลังตำข้าวอยู่ก็เป็นได้
กระต่ายจันทร์ เป็นความเชื่อรวมกันของหลายชนชาติ ที่เชื่อว่าบนดวงจันทร์มีกระต่ายอาศัยอยู่ โดยพิจารณาจากจันทรสมุทร (หลุมดำบนดวงจันทร์) แล้วเกิดเป็นพาเรียโดเลีย (จินตภาพ) รูปกระต่ายขึ้นมา
ความเชื่อนี้มีในหลายชนชาติทั่วโลก เช่น แอฟริกา, ทิเบต, จีน, ญี่ปุ่น รวมถึงอเมริกากลางและอเมริกาใต้
ในปกรณัมของฮินดู พระจันทร์ เทพเจ้าแห่งดวงจันทร์ เป็นผู้ถือกระต่ายไว้ในพระหัตถ์ เนื่องจากคำว่ากระต่ายในภาษาสันสกฤต คือ "ศศะ" ดังนั้นจึงเรียกดวงจันทร์ว่า "ศศิน" (ศศินฺ) แปลว่า "ซึ่งมีกระต่าย
ในปกรณัมของจีน ภาพที่ปรากฏบนดวงจันทร์ คือ กระต่ายขาวกำลังตำข้าวในครก กระต่ายนี้เชื่อกันว่าเป็นผู้รับใช้เซียนหรือผู้วิเศษ โดยมีหน้าที่ปรุงยาอายุวัฒนะ หรือเป็นสัตว์เลี้ยงของฉางเอ๋อ เทพธิดาแห่งดวงจันทร์
ในชาดก ซึ่งเป็นนิทานของพุทธศาสนา มีเรื่องหนึ่งเล่าว่า มีชายคนหนึ่งหลงทางในป่า ขณะที่หมดสติไปเพราะความหิวและยากลำบาก มีสัตว์ป่า 3 ชนิดมาพบเข้า ได้แก่ หมี, หมาจิ้งจอก และกระต่าย สัตว์ทั้ง 3 ตกลงกันที่จะช่วยชายผู้นี้ หมีนำปลามาให้ ขณะที่หมาจิ้งจอกนำองุ่นมาให้ แต่กระต่ายไม่อาจหาอะไรมาได้ เพราะกินเป็นแต่หญ้า จึงเสียสละตัวเองกระโดดเข้ากองไฟเพื่อเป็นอาหารให้แก่ชายผู้นี้ พระอินทร์จึงวาดภาพกระต่ายจารึกไว้บนดวงจันทร์เพื่อระลึกถึง อย่างไรก็ตามชาดกเรื่องนี้ได้มีรายละเอียดต่างไปเล็กน้อย ๆ เช่น ชายผู้นี้บ้างก็ว่าเป็นพระพุทธเจ้า หรือเป็นพราหมณ์บ้าง หรือกระทั่งว่า กระต่ายตัวนี้คือพระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้าก็มี
แล้วเราสังเกตกันหรือไม่ว่า ตอนเด็กๆ เราจะได้ฟังนิทานเกี่ยวกับกระต่ายบนดวงจันทร์มากมาย นิทานของแต่ละประเทศก็จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป
อย่างนิทานของคนญี่ปุ่นก็จะเริ่มต้นเรื่องที่ชายชราที่อาศัยอยู่บนดวงจันทร์ ได้มองลงมายังพื้นโลกและพบเห็นสิ่งมีชีวิตสามเกลอ หนึ่งนั้นคือลิง หนึ่งนั้นคือหมาป่าและอีกหนึ่งคือกระต่าย และเพื่อจะทำการทดสอบจิตใจที่เปี่ยมเมตตา ว่าสัตว์ตัวไหนใจดีที่สุด ชายชราผู้นั้นจึงจำแลงตัวกลายมาเป็นขอทานและลงมายังพื้นโลกและได้กล่าวขอให้สัตว์ทั้งสามนี้หาอาหารให้แก่ตน
" โปรดช่วยผมด้วย ผมหิว หิวเหลือเกิน" เขาพูดกับสัตว์ทั้งสาม สัตว์ทั้งสามรู้สึกสงสาร ต่างแยกกันไปหาอาหารมาให้ขอทาน
ลิงได้นำเอาผลไม้มาให้ ส่วนหมาป่านำเอาปลามาให้แก่ขอทานเฒ่าผู้นี้ แต่กระต่ายไม่สามารถหาสิ่งใดมาได้เลย
กระต่ายร้องคร่ำครวญ แต่แล้วก็ได้ความคิดขึ้นมา
" ได้โปรดเถอะ คุณลิง ช่วยกรุณานำไม้ฟืนมาให้ฉันหน่อย
ส่วนคุณสุนัขจิ้งจอก ขอได้โปรดนำไม้ฟืนกองนั้นก่อไฟกองใหญ่ให้ฉันด้วย"
สัตว์ทั้งสองทำตามคำขอของกระต่าย
เมื่อไฟลุกไหม้สว่างดีแล้ว กระต่ายก็พูดกับขอทานว่า
" ผมไม่มีสิ่งใดจะให้คุณ ดังนั้นผมจะโยนตัวเองลงไปในกองไฟนี้
จากนั้นเมื่อผมถูกไฟเผาจนสุกดีแล้ว ขอให้คุณกินเนื้อของผมแทนก็แล้วกัน"
กระต่ายเตรียมพร้อมที่จะกระโจนลงไปในกองไฟและย่างตัวเอง
แต่ทันใดนั้นขอทานก็เปลี่ยนร่างเป็นชายชราบนดวงจันทร์ตามเดิม
" เธอเป็นสัตว์ที่ใจดีมาก เจ้ากระต่าย
แต่เธอไม่ควรทำสิ่งใดที่เป็นการทำร้ายตัวของเธอเอง
เนื่องจากเธอเป็นสัตว์ที่ใจดีที่สุดในบรรดาสัตว์ทั้งหมด
ฉันจึงขอนำเธอกลับขึ้นไปอยู่กับฉัน"
เมื่อขอทานเฒ่าได้ยินดังนั้น จึงกลับร่างกลายเป็นชายชราจากดวงจันทร์และเชื้อเชิญให้กระต่ายขึ้นไปอยู่บนดวงจันทร์
และนี่คือที่มาของความเชื่อของชาวญี่ปุ่นแต่ดั้งเดิมที่ว่า คืนใดที่ดวงจันทร์สาดแสงสวยงามกระจ่างตา
พวกเขาจะเห็นกระต่ายกำลังตำข้าวอยู่บนดวงจันทร์
คืนนี้ลองแหงนหน้ามองฟ้า เพื่อนๆ อาจจะเห็นกระต่ายน้อยตัวนั้นกำลังตำข้าวอยู่ก็เป็นได้
Posted by mod at
19:32
│Comments(0)