› 日本が好き › 2015年09月10日
2015年09月10日
田んぼアート
ข้าวนั้นขึ้นชื่อว่าเป็นอาหารหลักของคนไทยเราและยังเป็นอาหารของคนทั้งโลกอีกด้วย แล้วหนึ่งในนั้นประเทศญี่ปุ่นเองก็มีเกษตรกรปลูกข้าวอยู่มากมาย แต่สำหรับชาวนาของหมู่บ้าน Inakadate ใน Aomori ประเทศญี่ปุ่นเขาไม่ธรรมดาเลยค่ะ
กว่า 2,000 ปี ที่ชาวนาในเขต อินากะดาเตะ (Inakadate) หมู่บ้านเล็กๆ ของจังหวัดอาโอโมริ (Aomori) ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น ชาวเมืองของ Aomori กว่า 8 พันคนยึดอาชีพเป็นเกษตรกร เดิมทีชาวนาที่นี่ก็ทำนาปลูกข้าวเหมือนกับชาวนาที่ประเทศไทย จนกระทั่งเมื่อปี 1993 ชาวบ้านในหมู่บ้านอินากะดาเตะ ได้เกิดไอเดียพัฒนามาปลูกข้าวแบบใหม่โดยนำต้นข้าวหลากหลายสายพันธุ์ที่มีลักษณะสีใบที่แตกต่างกันมาปลูกเป็นแถวตามรูปร่าง อย่างเช่นสีเขียวได้จาก Tsugaru Roman ข้าวท้องถิ่นของอินะกะดาเตะ Yukiasobi และ Beniasobi จะให้สีขาวและสีแดงและสายพันธุ์โบราณอื่นๆ ใช้สำหรับสีม่วงและสีเหลือง ซึ่งสีที่แตกต่างกันเหล่านี้
มาผสมผสานลงบนทุ่งนา จนเกิดเป็นรูปร่างอย่างที่ศิลปินร่างไว้ ราวกับเป็นผืนผ้าในการวาดภาพศิลปะ เป็นภาพวาดขนาดใหญ่ จนกลายเป็น “ศิลปะบนทุ่งนา” (ทัมโบะอาร์ท) ในภาษาญี่ปุ่นจะเรียกทุ่งนาว่า “田んぼ” มาผสมกับคำว่า “Art” จึงเกิดเป็น “田んぼアート” ขึ้นมา
ทุ่งกว้างนี้อาจเปรียบเหมือนเป็นมิวเซียม Open Air ขนาดใหญ่เลยก็ว่าได้ ซึ่งต่อมาเทคนิคฯ นี้ ได้แพร่หลายไปในหลายภูมิภาคของประเทศเพื่อเรียกนักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมชม สำหรับภาพศิลปะที่เกษตรกรญี่ปุ่นวาดลงบนพื้นนาจะเป็นภาพที่บ่งบอกความเป็นวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่น เช่นการแต่งกายชุดต่างๆ ภาพวาดการ์ตูนญี่ปุ่น และอีกหลายๆ ภาพ
เนื่องจากเป็นภาพงานที่ต้องมองจากมุมสูง จึงแนะนำให้ไปที่จุดชมวิวของศาลาว่าการของอินะกะดาเตะ จะเห็นความสวยงามได้ชัดเจนสุดยอด โดยงานศิลปะบนนาข้าวนี้จัดขึ้นทุกปี ตั้งแต่มิถุนายน – กันยายน โดยมีจุดชมวิวมากถึง100 จุด ให้ได้ยลโฉมศิลปะบนทุ่งนากันอย่างจุใจ ภาพศิลปะบนนาข้าวนี้จะถูกเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ทุกปี ในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยว มาชมนาข้าวแห่งนี้กว่า 200,000 คน ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนแห่งนี้เป็นจำนวนมาก
นอกจากการสร้างศิลปะรวงข้าวขนาดใหญ่แล้ว ชาวบ้านยังคิดค้น rice-code ขึ้นเพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำหรับการขายข้าวและสินค้าการเกษตรของชุมชน โดยเพียงแค่นักท่องเที่ยวติดตั้งแอพพลิเคชั่น Nature-barcode ที่หมู่บ้านเป็นผู้พัฒนาขึ้นลงในโทรศัพท์ แล้วใช้แอพพลิเคชั่นนี้สแกนรูปภาพบนนาข้าวเหมือนการสแกน QR Code เพียงเท่านี้พวกเขาก็สามารถสั่งซื้อข้าวจากหมู่บ้านอินาคาดาเตะได้ง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส แถมยังไม่ต้องเหนื่อยแบกข้าวกลับบ้านด้วย เพราะทางหมู่บ้านมีบริการส่งข้าวถึงที่ให้แก่ลูกค้าทุกคน
มาดูกระบวนการสร้างงานศิลปะบนผืนนากันดีกว่า
ขั้นตอนที่ 1 เคลียร์พื้นที่กันตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม คนในชุมชนกว่า 600 คน ช่วยกันทำ
ขั้นตอนที่ 2 ร่างภาพ
ขั้นตอนที่ 3 กำหนดสีสันของพืชพันธ์กับพื้นที่
ขั้นตอนที่ 4 ลงมือปลูกพืชตามเส้นร่าง
เริ่มเห็นเป็นรูปร่างแล้ว
หลังจากเก็บรายละเอียดทุกส่วนก็จะได้งานที่ศิลปะที่สวยงามบนผืนนาแล้ว
งานศิลปะบนนาข้าวที่หมู่บ้านอินะคะดะเตะ จังหวัดอะโอโมริของประเทศญี่ปุ่น จะจัดขึ้นทุกปี ซึ่งทุกๆปีก็จะมีไฮไลท์ของงานเป็นภาพวาดที่แตกต่างกันไป นอกจากนี้ยังมีทุ่งนาลวดลายอื่นๆอีกซึ่งทั้งสองจุดชมวิวนั้นจะมีรถรับ-ส่งฟรีให้ด้วย ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 200 เยน เด็ก 100 เยน วิธีการเดินทาง สำหรับ Tanbo Art (1) -รถไฟสาย JR ลงที่สถานี Kawabe Station ต่อรถแท็กซี่ 10 นาที -รถไฟสาย Konan Line ลงที่สถานี Inakadate Station ต่อรถแท็กซี่ 5 นาที
ส่วนศิลปะทุ่งนาชิ้นนี้เป็นทุ่งนาในจังหวัดไซตามะที่ถูกบันทึกกินเนสบุ๊คให้เป็นทุ่งนาศิลปะที่ใหญ่ที่สุดในโลก
Sep 9, 2015/0 Comments/in Japan, News /
เหล่าเกษตรกรในเมืองเกียวดะ ทางตอนเหนือของจังหวัดไซตามะ ได้เริ่มสร้างสรรค์พื้นที่ทุ่งนาศิลปะโดยการปลูกข้าวสีต่างๆ ลงไปจนออกมาเป็นลวดลายการ์ตูนมาตั้งแต่ 7 ปีก่อน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และสำหรับในปีนี้ ก็ได้มีการสร้างสรรค์ทุ่งนาขนาด 2.7 เฮกเตอร์ เป็นลายยานสำรวจอวกาศ “ฮายาบุสะ2” เด็กผู้ชาย และเด็กผู้หญิงที่กำลังลอยอยู่กลางอวกาศ โดยใช้ต้นข้าวทั้งหมด 7 ชนิด
เมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่จากทางกินเนสบุ๊คได้เข้ามาดูทุ่งนาดังกล่าว และทำการพิจารณากาตัดสินโดยการวัดความกว้างของทุ่งนาและการเจริญเติบโตของต้นข้าวโดยใช้เวลาตรวจสอบ 2 ชั่วโมง ก่อนที่จะตัดสินให้ทุ่งนาแห่งนี้เป็นทุ่งนาศิลปะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
สำหรับใครที่สนใจอยากมาชมทุ่งนาศิลปะแห่งนี้ สามารถเข้ามาชมได้จนถึงกลางเดือนตุลาคมนี้
Source : NHK
Photo Credit : NHK
เห็นแบบนี้แล้ว ประเทศไทยที่มีปัญหาเรื่องการประกันราคาข้าวนั้น ชาวนาไทยน่าจะลองใช้พื้นที่นาสร้างมูลค่าเพิ่มดูบ้างนะคะ อาจโด่งดังยิ่งกว่าญี่ปุ่นก็เป็นได้ เพราะคนไทยก็เก่งไม่แพ้ชาติอื่น
Posted by mod at
20:15
│Comments(0)