› 日本が好き › 2015年09月08日
2015年09月08日
“Culture (ไม่) Shock! รู้ไว้ก่อนไปญี่ปุ่น” โดยคุณเกตุวดี
เมื่อวันเสาร์ที่ 5 ก.ย.ได้ไปร่วมงานสัมมนาที่โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิทค่ะ โชคดีได้เข้าห้องสัมมนา ชวนฟัง เจ๊เกตุ เม้าท์เจแปน! ตอน “Culture (ไม่) Shock! รู้ไว้ก่อนไปญี่ปุ่น” โดยคุณเกตุวดี จากเวป Marumaru ฉันติดตามอ่านคอลัมภ์ของคุณเกตุวดีบ่อยๆ คราวนี้ได้เจอตัวจริง ดีใจสุดๆ เลยคะ คุณเกตุวดีเป็นคนที่น่ารัก เล่าเรื่องสนุกมากเลยค่ะ ไม่น่าเชื่อว่างานประจำจะเป็นอาจารย์สอนมหาวิทยาลัย แถมเป็นคณะที่ไม่เกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่นด้วย
คุณเกตุวดีเล่าเรื่องญี่ปุ่นให้ฟังมากมาย ได้ทั้งความรู้และความสนุกค่ะ เธอเปิดเรื่องด้วยการเล่าที่มาที่ไปของเธอ ว่าเธอไปเรียนที่มหาวิทยาลัย Kobe เธออยู่ญี่ปุ่นทั้งหมด 8 ปี (น่าอิจฉาจัง อยากไปนานๆ บ้าง) เธอเล่าว่าตอนไปญี่ปุ่นแรกๆ นั้น ใน 1 อาทิตย์เธอต้องจำคันจิให้ได้ 50 ตัว นับว่าสุดยอดมาก มหาวิทยาลัยของญี่ปุ่นนั้นต่างจากมหาวิทยาลัยของไทยในเรื่องของกิจกรรมคือมหาลัยญี่ปุ่นจะมีชมรมต่างๆ เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างคณะ เธอจึงเลือกชมรมกีร์ต้า แล้วยังทำงานพิเศษต่างๆ มากมาย ที่น่าแปลกก็คือเธอไปเป็นมิโกะซังด้วย
แล้วเธอก็เข้าหัวข้อการพูดคุยเกี่ยวกับคนญี่ปุ่นด้วยการให้แขกที่อยู่ในห้องสัมมนาตอบคำถามความเป็นคนญี่ปุ่น 3 ข้อ
สนุกมากเลยค่ะ
เมื่อประมวลผลแล้วก็ได้บทสรุปความเป็นคนญี่ปุ่นมา 3 ข้อคือ
1.คนญี่ปุ่นจะตั้งอกตั้งใจทำงาน
2.คนญี่ปุ่นจะขี้เกรงใจ/ไม่พูดตรงๆ
3.คนญี่ปุ่นจะคิดถึงผู้อื่น
การตั้งอกตั้งใจของคนญี่ปุ่นในด้านการสนทนาเช่น คนญี่ปุ่นเมื่อฟังใครพูดอะไรมักจะมี Reaction อยู่เสมอ ด้วยการพยักหน้าและพูดว่า “ぞうなんだ” ดังนั้นเวลาเราคุยกับคนญี่ปุ่นก็ “อย่า”
1.นั่งฟังนิ่งๆ
2.พยักเชิดหน้า โดยเฉพาะคนไทยเวลาพยักหน้ารับมักจะพยักหน้าขึ้น ทำหน้าเชิดๆ ซึ่งคนญี่ปุ่นเขารู้สึกไม่ค่อยดี ถ้าจะพยักหน้าให้พยักหน้าแบบก้มหัวลงมานะคะ
การตั้งอกตั้งใจของคนญี่ปุ่นในด้านการบริการ คืออย่างการไปรับประทานอาหารตามร้านอาหารญี่ปุ่นนั้น เชฟจะตั้งใจทำและปรุงอาหารอย่างเต็มที่ เริ่มตั้งแต่การเลือกสรรวัตถุดิบอย่างดี ส่วนพนักงานบริการก็จะต้อนรับด้วยรอยยิ้มเสมอ และจะคอยเฝ้าสังเกตใส่ใจในลูกค้าตลอดเวลา เช่นเมื่อลูกค้าทานอาหารเซตหมดปั๊บ ก็จะเข้ามาถามว่าจะรับผลไม้เลยมัย หรือรับชากาแฟในเซตเลยมัย ช่างดูแลลูกค้าดีจริงๆ ดังนั้นก่อนกลับออกจากร้าน ควรขอบคุณทั้งเชฟและการบริการของพนักงานด้วยการกล่าวว่า ごちそうさまでした ทุกครั้งที่ไปทานอาหารที่ร้าน
ในกรณีของการเลี้ยงรับรองลูกค้านั้น ฝ่ายพนักงานที่ดูแลเรื่องการเลี้ยงอาหารจะตั้งใจอย่างมาก คือจะคิดหนักมากว่าจะพาไปกินอะไรดี ที่ไหนดี ถึงขั้นว่าต้องแอบโทรไปถามเลขา¬ของอีกฝ่ายเลยว่า นายชอบทานอาหารประเภทไหน แพ้อาหารอะไร ชอบสีอะไร ชอบบรรยากาศแบบไหนกันเลยทีเดียว แล้วก็ต้องเช็คให้ดีด้วยว่าร้านอาหารแห่งนั้นทุกคนที่ไปจะต้องเดินทางสะดวก เมื่อเราได้รับการเลี้ยงอาหารแล้ว แม้กระทั่งว่าเราได้กล่าวขอบคุณเจ้าภาพก่อนลาจากกันแล้ว มารยาททางธุรกิจนั้นเราต้องส่ง E-mail ไปขอบคุณเจ้าภาพอีกครั้งด้วย อย่าให้เลย 24 ชม.
กรณีได้รับการเชิญไปบ้านคนญี่ปุ่นนั้น ถือว่าได้รับเกียรติอย่างมากเลย เพราะถ้าไม่รักกันจริง เขาจะไม่ชวนไปบ้านเขา เพราะว่าก่อนเราไปบ้านเขานั้น เขาจะต้องความสะอาดบ้านยกใหญ่กันเลย เรียกว่าทุกซอกทุกมุม เตรียมล้างถ้วยจานชาม เก็บกวาด เปลี่ยนผ้าปูโต๊ะ สารพัดอย่าง เรียกว่าเป็นงานช้างเลย
เพราะฉะนั้น...... สิ่งที่เราควรทำคือ
1.การเอาของฝากติดไม้ติดมือไปด้วย แต่ย้ำว่าไม่ต้องแพงนะคะ เดี๋ยวเจ้าของบ้านจะลำบากใจ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นขนมคุ้กกี้ ขนมเค้ก ผลไม้เล็กๆ น้อยๆ ราคาสัก 1-3 พันเยนก็พอ
2.อย่าไปก่อนเวลานัด เช่นนัดกันบ่าย 3 โมง ให้ไปราวๆ บ่าย 3 โมง 3 นาที แต่ห้ามเกิน 5 นาทีเพราะเจ้าของบ้านจะเป็นกังวล
3.ถ้าไปบ้านคนญี่ปุ่นในช่วงหน้าหนาว ให้ถอดเสื้อโค้ทพาดไว้บนแขนก่อนกดกริ่งบ้าน เพราะว่าฝุ่นจากเสื้อเราอาจฟุ้งกระจายในบ้าน หรือถ้ามีเกสรดอกสนที่คนญี่ปุ่นมักจะแพ้ติดเสื้อผ้าเรา จะทำให้เขาจามได้
เวลาเข้าบ้าน เมื่อถอดรองเท้าแล้ว ให้ก้มลงนั่งหันหัวรองเท้าออกไปทางประตู ถ้าเราไม่ทำ เจ้าของบ้านจะต้องแอบออกมาหันรองเท้า (อันสกปรก) ของเราให้
ถ้าเข้าไปในห้องเสื่อ Tatami ให้ถอดรองเท้าใส่ในบ้านออก เพราะจะทำให้เสื่อเป็นรอยได้ แล้วนำของฝากออกมาจากถุง แล้วยื่นกล่องให้กับเจ้าของบ้าน
คนญี่ปุ่นจะเป็นคนขี้เกรงใจ / ไม่พูดตรงๆ ดังนั้น ถ้าเรารู้จักเพื่อนหรือคนญี่ปุ่น เราจะต้องเป็นคนที่ช่างสังเกต เช่นประโยคต่อไปนี้
“ห้องนี้ แอร์ร้อนเหมือนกันนะคะ/นะครับ” เขาจะหมายถึงว่า ร้อน ช่วยเปิดแอร์ให้หน่อย
กรณีไปนำเสนอสินค้าให้กับลูกค้าคนญี่ปุ่น ถ้าเขาพูดว่า “เดี๋ยวขอคิดดูก่อน” แปลว่า เขาไม่ซื้อ กรุณาอย่าตื้อ
คนญี่ปุ่นจะเป็นคนที่คิดถึงผู้อื่น คืออย่างตามร้านอาหาร ข้างๆ โต๊ะจะมีตระกร้าวางอยู่ นั่นไม่ใช่ตระกร้าทิ้งขยะนะคะ นั่นคือตระกร้าที่ทางร้านเตรียมไว้ให้เราใส่กระเป๋าสะพาย กระเป๋าเราจะได้ไม่สกปรกถ้าวางกับพื้น
หรืออย่างกรณีธนาคาร เมื่อเราเบิกเงิน ทางธนาคารจะเตรียมซองเอาไว้ให้ใส่เงิน เพราะญี่ปุ่นจะไม่ค่อยให้เงินสดกับมือ จะต้องใส่ซองให้เรียบร้อย
ขอบคุณคุณเกตุวดีมากนะคะ ที่มาบอกเล่าเรื่องราวดีๆ ถ้าเพื่อนๆ สนใจก็ลองติดตามคุณเกตุวดีได้ในเวป Marumaru นะคะ
คุณเกตุวดีเล่าเรื่องญี่ปุ่นให้ฟังมากมาย ได้ทั้งความรู้และความสนุกค่ะ เธอเปิดเรื่องด้วยการเล่าที่มาที่ไปของเธอ ว่าเธอไปเรียนที่มหาวิทยาลัย Kobe เธออยู่ญี่ปุ่นทั้งหมด 8 ปี (น่าอิจฉาจัง อยากไปนานๆ บ้าง) เธอเล่าว่าตอนไปญี่ปุ่นแรกๆ นั้น ใน 1 อาทิตย์เธอต้องจำคันจิให้ได้ 50 ตัว นับว่าสุดยอดมาก มหาวิทยาลัยของญี่ปุ่นนั้นต่างจากมหาวิทยาลัยของไทยในเรื่องของกิจกรรมคือมหาลัยญี่ปุ่นจะมีชมรมต่างๆ เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างคณะ เธอจึงเลือกชมรมกีร์ต้า แล้วยังทำงานพิเศษต่างๆ มากมาย ที่น่าแปลกก็คือเธอไปเป็นมิโกะซังด้วย
แล้วเธอก็เข้าหัวข้อการพูดคุยเกี่ยวกับคนญี่ปุ่นด้วยการให้แขกที่อยู่ในห้องสัมมนาตอบคำถามความเป็นคนญี่ปุ่น 3 ข้อ
สนุกมากเลยค่ะ
เมื่อประมวลผลแล้วก็ได้บทสรุปความเป็นคนญี่ปุ่นมา 3 ข้อคือ
1.คนญี่ปุ่นจะตั้งอกตั้งใจทำงาน
2.คนญี่ปุ่นจะขี้เกรงใจ/ไม่พูดตรงๆ
3.คนญี่ปุ่นจะคิดถึงผู้อื่น
การตั้งอกตั้งใจของคนญี่ปุ่นในด้านการสนทนาเช่น คนญี่ปุ่นเมื่อฟังใครพูดอะไรมักจะมี Reaction อยู่เสมอ ด้วยการพยักหน้าและพูดว่า “ぞうなんだ” ดังนั้นเวลาเราคุยกับคนญี่ปุ่นก็ “อย่า”
1.นั่งฟังนิ่งๆ
2.พยักเชิดหน้า โดยเฉพาะคนไทยเวลาพยักหน้ารับมักจะพยักหน้าขึ้น ทำหน้าเชิดๆ ซึ่งคนญี่ปุ่นเขารู้สึกไม่ค่อยดี ถ้าจะพยักหน้าให้พยักหน้าแบบก้มหัวลงมานะคะ
การตั้งอกตั้งใจของคนญี่ปุ่นในด้านการบริการ คืออย่างการไปรับประทานอาหารตามร้านอาหารญี่ปุ่นนั้น เชฟจะตั้งใจทำและปรุงอาหารอย่างเต็มที่ เริ่มตั้งแต่การเลือกสรรวัตถุดิบอย่างดี ส่วนพนักงานบริการก็จะต้อนรับด้วยรอยยิ้มเสมอ และจะคอยเฝ้าสังเกตใส่ใจในลูกค้าตลอดเวลา เช่นเมื่อลูกค้าทานอาหารเซตหมดปั๊บ ก็จะเข้ามาถามว่าจะรับผลไม้เลยมัย หรือรับชากาแฟในเซตเลยมัย ช่างดูแลลูกค้าดีจริงๆ ดังนั้นก่อนกลับออกจากร้าน ควรขอบคุณทั้งเชฟและการบริการของพนักงานด้วยการกล่าวว่า ごちそうさまでした ทุกครั้งที่ไปทานอาหารที่ร้าน
ในกรณีของการเลี้ยงรับรองลูกค้านั้น ฝ่ายพนักงานที่ดูแลเรื่องการเลี้ยงอาหารจะตั้งใจอย่างมาก คือจะคิดหนักมากว่าจะพาไปกินอะไรดี ที่ไหนดี ถึงขั้นว่าต้องแอบโทรไปถามเลขา¬ของอีกฝ่ายเลยว่า นายชอบทานอาหารประเภทไหน แพ้อาหารอะไร ชอบสีอะไร ชอบบรรยากาศแบบไหนกันเลยทีเดียว แล้วก็ต้องเช็คให้ดีด้วยว่าร้านอาหารแห่งนั้นทุกคนที่ไปจะต้องเดินทางสะดวก เมื่อเราได้รับการเลี้ยงอาหารแล้ว แม้กระทั่งว่าเราได้กล่าวขอบคุณเจ้าภาพก่อนลาจากกันแล้ว มารยาททางธุรกิจนั้นเราต้องส่ง E-mail ไปขอบคุณเจ้าภาพอีกครั้งด้วย อย่าให้เลย 24 ชม.
กรณีได้รับการเชิญไปบ้านคนญี่ปุ่นนั้น ถือว่าได้รับเกียรติอย่างมากเลย เพราะถ้าไม่รักกันจริง เขาจะไม่ชวนไปบ้านเขา เพราะว่าก่อนเราไปบ้านเขานั้น เขาจะต้องความสะอาดบ้านยกใหญ่กันเลย เรียกว่าทุกซอกทุกมุม เตรียมล้างถ้วยจานชาม เก็บกวาด เปลี่ยนผ้าปูโต๊ะ สารพัดอย่าง เรียกว่าเป็นงานช้างเลย
เพราะฉะนั้น...... สิ่งที่เราควรทำคือ
1.การเอาของฝากติดไม้ติดมือไปด้วย แต่ย้ำว่าไม่ต้องแพงนะคะ เดี๋ยวเจ้าของบ้านจะลำบากใจ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นขนมคุ้กกี้ ขนมเค้ก ผลไม้เล็กๆ น้อยๆ ราคาสัก 1-3 พันเยนก็พอ
2.อย่าไปก่อนเวลานัด เช่นนัดกันบ่าย 3 โมง ให้ไปราวๆ บ่าย 3 โมง 3 นาที แต่ห้ามเกิน 5 นาทีเพราะเจ้าของบ้านจะเป็นกังวล
3.ถ้าไปบ้านคนญี่ปุ่นในช่วงหน้าหนาว ให้ถอดเสื้อโค้ทพาดไว้บนแขนก่อนกดกริ่งบ้าน เพราะว่าฝุ่นจากเสื้อเราอาจฟุ้งกระจายในบ้าน หรือถ้ามีเกสรดอกสนที่คนญี่ปุ่นมักจะแพ้ติดเสื้อผ้าเรา จะทำให้เขาจามได้
เวลาเข้าบ้าน เมื่อถอดรองเท้าแล้ว ให้ก้มลงนั่งหันหัวรองเท้าออกไปทางประตู ถ้าเราไม่ทำ เจ้าของบ้านจะต้องแอบออกมาหันรองเท้า (อันสกปรก) ของเราให้
ถ้าเข้าไปในห้องเสื่อ Tatami ให้ถอดรองเท้าใส่ในบ้านออก เพราะจะทำให้เสื่อเป็นรอยได้ แล้วนำของฝากออกมาจากถุง แล้วยื่นกล่องให้กับเจ้าของบ้าน
คนญี่ปุ่นจะเป็นคนขี้เกรงใจ / ไม่พูดตรงๆ ดังนั้น ถ้าเรารู้จักเพื่อนหรือคนญี่ปุ่น เราจะต้องเป็นคนที่ช่างสังเกต เช่นประโยคต่อไปนี้
“ห้องนี้ แอร์ร้อนเหมือนกันนะคะ/นะครับ” เขาจะหมายถึงว่า ร้อน ช่วยเปิดแอร์ให้หน่อย
กรณีไปนำเสนอสินค้าให้กับลูกค้าคนญี่ปุ่น ถ้าเขาพูดว่า “เดี๋ยวขอคิดดูก่อน” แปลว่า เขาไม่ซื้อ กรุณาอย่าตื้อ
คนญี่ปุ่นจะเป็นคนที่คิดถึงผู้อื่น คืออย่างตามร้านอาหาร ข้างๆ โต๊ะจะมีตระกร้าวางอยู่ นั่นไม่ใช่ตระกร้าทิ้งขยะนะคะ นั่นคือตระกร้าที่ทางร้านเตรียมไว้ให้เราใส่กระเป๋าสะพาย กระเป๋าเราจะได้ไม่สกปรกถ้าวางกับพื้น
หรืออย่างกรณีธนาคาร เมื่อเราเบิกเงิน ทางธนาคารจะเตรียมซองเอาไว้ให้ใส่เงิน เพราะญี่ปุ่นจะไม่ค่อยให้เงินสดกับมือ จะต้องใส่ซองให้เรียบร้อย
ขอบคุณคุณเกตุวดีมากนะคะ ที่มาบอกเล่าเรื่องราวดีๆ ถ้าเพื่อนๆ สนใจก็ลองติดตามคุณเกตุวดีได้ในเวป Marumaru นะคะ
Posted by mod at
20:06
│Comments(0)