› 日本が好き › 2015年08月21日
2015年08月21日
8月21日の記事
ฉันเป็นอีกคนที่มีโอกาสมาเยือนเมืองฟุจิโนะมิยะ (Fujinomiya) เมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในจังหวัดชิซุโอะกะ (Shizuoka) จังหวัดที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคชูบุ (Chubu) บนเกาะฮอนชู (Honshu) เกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่น
โดยตัวเมืองฟุจิโนะมิยะนั้นตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางของจังหวัดชิซุโอะกะ ในบริเวณที่ราบสูงเชิงเขาสลับเนินลูกระนาดขนาดเล็ก ตั้งอยู่ห่างจากภูเขาไฟฟุจิ ประมาณ 35 กิโลเมตร ปัจจุบันเป็นเมืองหนึ่งที่นิยมเริ่มต้นในการเดินทางปีนภูเขาไฟฟุจิ
สำหรับการท่องเที่ยวในเมืองฟุจิโนะมิยะนั้น จุดหมายปลายทางของฉันคือ "น้ำตกชิระอิโตะ" (ญี่ปุ่น: Shiraito Falls 白糸の滝 Shiraito-no-taki ) น้ำตกที่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติฟุจิ-ฮะโกะเนะ-อิซุ และได้รับการอนุรักษ์ในฐานะอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1936
ป้ายสลักหินที่ท่านโชกุนได้มาที่นี่
น้ำตกชิระอิโตะถือเป็นน้ำตกที่ศักดิ์สิทธิ์ มีศาลเจ้าอะซะมะตั้งอยู่ ในบริเวณใกล้เคียงยังมีน้ำตกโอะโตะโดะเมะซึ่งใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 5 นาที
นอกจากนี้ ยังได้รับการจัดอันดับให้อยู่ใน 1 ใน 100 น้ำตกในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจัดทำโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติแห่งประเทศญี่ปุ่น ในปี 1990
น้ำตกชิระอิดตะได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกพร้อมกันกับภูเขาไฟฟูจิ อุทยานแห่งชาติฟุจิ-ฮะโกะเนะ-อิซุ และทะเลสาบฟูจิทั้งห้าภายใต้ชื่อ "ฟุจิซัง - สถานที่ศักดิ์สิทธิ์และแหล่งบันดาลใจทางศิลปะ"เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมา
ทิวทัศน์ของภูเขาไฟฟูจิตอนฉันไปนั้นเป็นช่วงเดือนพฤษภาคม หิมะจึงละลายเกือบหมดแล้ว แต่ก็ยังเป็นฟูจิซังที่สง่างดงามไม่เปลี่ยนแปลง
โดยตัวเมืองฟุจิโนะมิยะนั้นตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางของจังหวัดชิซุโอะกะ ในบริเวณที่ราบสูงเชิงเขาสลับเนินลูกระนาดขนาดเล็ก ตั้งอยู่ห่างจากภูเขาไฟฟุจิ ประมาณ 35 กิโลเมตร ปัจจุบันเป็นเมืองหนึ่งที่นิยมเริ่มต้นในการเดินทางปีนภูเขาไฟฟุจิ
สำหรับการท่องเที่ยวในเมืองฟุจิโนะมิยะนั้น จุดหมายปลายทางของฉันคือ "น้ำตกชิระอิโตะ" (ญี่ปุ่น: Shiraito Falls 白糸の滝 Shiraito-no-taki ) น้ำตกที่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติฟุจิ-ฮะโกะเนะ-อิซุ และได้รับการอนุรักษ์ในฐานะอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1936
ป้ายสลักหินที่ท่านโชกุนได้มาที่นี่
น้ำตกชิระอิโตะถือเป็นน้ำตกที่ศักดิ์สิทธิ์ มีศาลเจ้าอะซะมะตั้งอยู่ ในบริเวณใกล้เคียงยังมีน้ำตกโอะโตะโดะเมะซึ่งใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 5 นาที
นอกจากนี้ ยังได้รับการจัดอันดับให้อยู่ใน 1 ใน 100 น้ำตกในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจัดทำโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติแห่งประเทศญี่ปุ่น ในปี 1990
น้ำตกชิระอิดตะได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกพร้อมกันกับภูเขาไฟฟูจิ อุทยานแห่งชาติฟุจิ-ฮะโกะเนะ-อิซุ และทะเลสาบฟูจิทั้งห้าภายใต้ชื่อ "ฟุจิซัง - สถานที่ศักดิ์สิทธิ์และแหล่งบันดาลใจทางศิลปะ"เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมา
ทิวทัศน์ของภูเขาไฟฟูจิตอนฉันไปนั้นเป็นช่วงเดือนพฤษภาคม หิมะจึงละลายเกือบหมดแล้ว แต่ก็ยังเป็นฟูจิซังที่สง่างดงามไม่เปลี่ยนแปลง
Posted by mod at
19:44
│Comments(0)
2015年08月21日
狛犬, Komainu
ศาลเจ้าญี่ปุ่นถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกหนึ่งที่ที่ได้รับความนิยม ถ้าใครได้เคยไปสักการะเยี่ยมชมศาลเจ้าต่างในประเทศญี่ปุ่น อาจจะได้เคยเห็นรูปปั้นสิงโตที่ตั้งอยู่บริเวณหน้าศาลเจ้าของลัทธิชินโตหรือทางเข้าหลัก ซึ่งเราจะเรียกรูปปั้นนี้ว่า รูปปั้นโคมะอินะ (狛犬, Komainu)
เป็นรูปปั้นสัตว์คู่ที่ลักษณะคล้ายสิงโตที่เป็นเทพพิทักษ์ ตั้งขนาบซ้ายขวาตรงหน้าทางเข้าศาลเจ้าของลัทธิชินโตเพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้าย แต่ จริงๆแล้วไม่ใช่สิงโตแท้ๆ เพราะตามตำนานกล่าวไว้ว่าโคะมะอินุ เป็นสิ่งที่ถูกสร้างมาจาก สิงโต (狛) และสุนัข (犬) ที่เรียกกันว่า อินุ แต่มีต้นกำเนิดมาจากรูปปั้นสิงโตของจีน รูปปั้นโคมะอินุส่วนใหญ่ประกอบด้วยด้านหนึ่งเป็นรูปปั้นนั่งเปิดปาก เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการเริ่มต้น ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นรูปปั้นนั่งปิดปาก เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการสิ้นสุด
ส่วนที่โอกินาว่า จะเรียกว่า “ซีซ่า” (シーサー) โดยคนโอกินาวะนิยมนำมาวางเป็นคู่บริเวณหน้าประตูหรือหลังคาบ้าน เพราะเชื่อกันว่าซีซ่าจะช่วยปกป้องบ้านหรือคนที่อาศัยอยู่ในบ้านนั้นๆ ให้พ้นจากภยันตรายทั้งปวง อีกทั้งขับไล่ภูติผีปิศาจให้ห่างไกล
คำว่า “ซีซ่า” เป็นภาษาถิ่นโอกินาวะหมายถึง “สิงโต” (shishi 獅子) ส่วนรูปร่างหน้าตาก็คล้ายคลึงกับสิงโตหิน ของประเทศจีน และ “โคมะอินุ” ที่มักตั้งอยู่หน้าวัดหรือศาลเจ้าของญี่ปุ่นบนเกาะฮอนชู
แรกเริมเดิมทีชาวโอกินาวะจะวางซีซ่าแค่ตัวเดียว แต่กล่าวกันว่าเป็นเพราะได้รับอิทธิพลความเชื่อในการตั้งวาง “โคมะอินุ” ในวัดหรือศาลเจ้า หรือรูปปั้นเทพพิทักษ์ “อะอุน” (阿吽) ที่ด้านหนึ่งรูปปั้นจะต้องมีลักษณะอ้าปาก ส่วนอีกด้านหนึ่งหุบปาก ซึ่งตามความคิดเชิงศาสนาสมัยโบราณ เสียง “อะ” คือเสียงเริ่มแรกของสรรพชีวิตยามเปิดปาก ส่วนเสียง “อุน” หรือ “อึม” เป็นเสียงสุดท้ายยามหุบปากสนิท จึงเปรียบได้กับเสียงแห่งการเริ่มต้นและสิ้นสุดจักรวาล
ไม่เพียงเท่านั้น “อะ” และ “อุน” ยังมีหน้าที่กับเพศแบ่งแยกชัดเจน โดยสำหรับซีซ่าที่อ้าปากถือเป็นตัวผู้ ทำหน้าที่กวักโชคลาภเข้ามา และต้องวางไว้ด้านขวา ส่วนซีซ่าที่หุบปากคือตัวเมีย ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ภยันตรายต่างๆเข้าสู่เคหะสถาน และต้องวางไว้ด้านซ้าย อันที่จริง ประชาชนคนทั่วไปเพิ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งวางซีซ่าไว้หน้าบ้านตัวเองในช่วงหลังสมัยเมจิ เพราะเดิมทีซีซ่าถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์ ที่จะต้องตั้งวางไว้หน้าประตูวัด ปราสาท สุสานขุนนาง หรือหน้าทางเข้าหมู่บ้านเท่านั้น
ภาพนี้ถ่ายตอนไปเที่ยวชมศาลเจ้าแถว Fuji San
เป็นรูปปั้นสัตว์คู่ที่ลักษณะคล้ายสิงโตที่เป็นเทพพิทักษ์ ตั้งขนาบซ้ายขวาตรงหน้าทางเข้าศาลเจ้าของลัทธิชินโตเพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้าย แต่ จริงๆแล้วไม่ใช่สิงโตแท้ๆ เพราะตามตำนานกล่าวไว้ว่าโคะมะอินุ เป็นสิ่งที่ถูกสร้างมาจาก สิงโต (狛) และสุนัข (犬) ที่เรียกกันว่า อินุ แต่มีต้นกำเนิดมาจากรูปปั้นสิงโตของจีน รูปปั้นโคมะอินุส่วนใหญ่ประกอบด้วยด้านหนึ่งเป็นรูปปั้นนั่งเปิดปาก เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการเริ่มต้น ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นรูปปั้นนั่งปิดปาก เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการสิ้นสุด
ส่วนที่โอกินาว่า จะเรียกว่า “ซีซ่า” (シーサー) โดยคนโอกินาวะนิยมนำมาวางเป็นคู่บริเวณหน้าประตูหรือหลังคาบ้าน เพราะเชื่อกันว่าซีซ่าจะช่วยปกป้องบ้านหรือคนที่อาศัยอยู่ในบ้านนั้นๆ ให้พ้นจากภยันตรายทั้งปวง อีกทั้งขับไล่ภูติผีปิศาจให้ห่างไกล
คำว่า “ซีซ่า” เป็นภาษาถิ่นโอกินาวะหมายถึง “สิงโต” (shishi 獅子) ส่วนรูปร่างหน้าตาก็คล้ายคลึงกับสิงโตหิน ของประเทศจีน และ “โคมะอินุ” ที่มักตั้งอยู่หน้าวัดหรือศาลเจ้าของญี่ปุ่นบนเกาะฮอนชู
แรกเริมเดิมทีชาวโอกินาวะจะวางซีซ่าแค่ตัวเดียว แต่กล่าวกันว่าเป็นเพราะได้รับอิทธิพลความเชื่อในการตั้งวาง “โคมะอินุ” ในวัดหรือศาลเจ้า หรือรูปปั้นเทพพิทักษ์ “อะอุน” (阿吽) ที่ด้านหนึ่งรูปปั้นจะต้องมีลักษณะอ้าปาก ส่วนอีกด้านหนึ่งหุบปาก ซึ่งตามความคิดเชิงศาสนาสมัยโบราณ เสียง “อะ” คือเสียงเริ่มแรกของสรรพชีวิตยามเปิดปาก ส่วนเสียง “อุน” หรือ “อึม” เป็นเสียงสุดท้ายยามหุบปากสนิท จึงเปรียบได้กับเสียงแห่งการเริ่มต้นและสิ้นสุดจักรวาล
ไม่เพียงเท่านั้น “อะ” และ “อุน” ยังมีหน้าที่กับเพศแบ่งแยกชัดเจน โดยสำหรับซีซ่าที่อ้าปากถือเป็นตัวผู้ ทำหน้าที่กวักโชคลาภเข้ามา และต้องวางไว้ด้านขวา ส่วนซีซ่าที่หุบปากคือตัวเมีย ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ภยันตรายต่างๆเข้าสู่เคหะสถาน และต้องวางไว้ด้านซ้าย อันที่จริง ประชาชนคนทั่วไปเพิ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งวางซีซ่าไว้หน้าบ้านตัวเองในช่วงหลังสมัยเมจิ เพราะเดิมทีซีซ่าถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์ ที่จะต้องตั้งวางไว้หน้าประตูวัด ปราสาท สุสานขุนนาง หรือหน้าทางเข้าหมู่บ้านเท่านั้น
ภาพนี้ถ่ายตอนไปเที่ยวชมศาลเจ้าแถว Fuji San
Posted by mod at
17:09
│Comments(0)